O slideshow foi denunciado.
Seu SlideShare está sendo baixado. ×

การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการ

Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio
Anúncio

Confira estes a seguir

1 de 7 Anúncio

Mais Conteúdo rRelacionado

Semelhante a การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการ (20)

Mais de kulachai (14)

Anúncio

การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการ

  1. 1. การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนาเข้ามาใช้ในหน่วยงานนั้นจะถูกนามาใช้สนับสนุนการทางานทางด้าน บริหาร (Directing) การประสานงาน (Co-ordinating) การรายงาน (Reporting) และการจัดทา งบประมาณ (Budgeting) ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งระดับผู้ใช้งานระบบออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ใช้ระดับผู้บริหาร เป็นผู้ใช้ระดับสูงสุดที่มีการใช้งานในลักษณะการวางแผนกลยุทธ์เป็นหลัก ต้องการข้อมูลโดยสรุปที่ซับซ้อนเกี่ยวโยงกับงานหลายฝ่ายมาประกอบการตัดสินใจกาหนดแนวทางการ ทางานขององค์กร ผู้ใช้ในระดับนี้คือ คณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อานวยการ ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ ในการสนับสนุนผู้ใช้ในระดับนี้จะมีคุณสมบัติของ Expert System (ES) ซึ่งจะช่วยสร้างตัวเลือกการ ตัดสินใจจากข้อมูลอันซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะมองเห็น และ Executive Support System (ESS) ซึ่งจะ ช่วยสร้างรายงานสรุปโดยใช้ข้อมูลจากหลายๆ ส่วนงาน เพื่อประกอบการกาหนดกลยุทธ์ นโยบายในการ บริหาร ตามสถานการณ์ต่างๆ ผู้ใช้ระดับหัวหน้างาน เป็นผู้ใช้งานระดับกลางมีการใช้งานในลักษณะการตัดสินใจงานต่างๆ จากผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหลัก ต้องการข้อมูลโดยสรุปที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ผู้ใช้ในระดับนี้คือ หัวหน้า ฝ่ายทั้ง 3 ฝ่าย ของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสนับสนุนผู้ใช้ในระดับนี้จะมีคุณสมบัติของ Decision Support System (DSS) ซึ่งจะช่วยสร้างรายงานสรุปโดยใช้ข้อมูลภายในฝ่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของหัวหน้างาน เช่น การตรวจสอบแนวโน้มของวัสดุคงคลัง การตรวจสอบสถิติการขาดลามาสาย เป็นต้น ผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ เป็นผู้ใช้งานระดับล่างสุด มีความต้องการใช้งานเพียงหน้าที่ประจาวันของ ตน ลักษณะข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบซ้าๆกัน ผู้ใช้งานในระดับนี้คือ บุคลากรที่อยู่ตามตาแหน่งงานต่างๆ ภายในแผนกทั้ง 3 ของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสนับสนุนผู้ใช้ในระดับนี้จะมีคุณสมบัติของ Transaction Processing System (TPS) ซึ่งจะช่วยบันทึกข้อมูลในงานของตน เพื่อประกอบการตัดสินใจของหัวหน้างาน เช่น การ บันทึกเบิกจ่ายอุปกรณ์ การบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นต้น
  2. 2. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับผู้ใช้งานและชนิดของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรที่จะเลือกใช้ ระบบ SAP (Systems, Applications and Products) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศชนิด ERP (Enterprise Resource Planning) ที่มีรูปแบบการทางานครอบคลุมทุกระดับผู้ใช้งาน เนื่องจาก SAP มีระบบ TPS, DSS, ESS และ ES รวมอยู่ในระบบ SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดาเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น การจัดทาเหมืองข้อมูล การจัดทาคลังข้อมูล ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปใน ระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บเบราวเซอร์ การทา Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดาเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์ สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร ซึ่งตอบสนองการทางานทางด้านบริหาร (Directing) การ ประสานงาน (Co-ordinating) การรายงาน (Reporting) และการจัดทางบประมาณ (Budgeting) ที่ศูนย์ ทางศูนย์ได้ตั้งไว้ ESS, ES DSS TPS COMMUNICATION SYSTEM
  3. 3. องค์ประกอบของระบบ SAP ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนงาน ได้แก่ 1. FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน 2. CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร 3. AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร 4. SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า 5. MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ 6. PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต 7. QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ 8. PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบารุงโรงงาน 9. HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล 10. TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน 11. WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทางาน 12. IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่ ง จ ะ มี ทั้ ง ร ะ บ บ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products, Engineering and Construction, Healthcare, Higher Education and Research, High Tech, Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail, Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities
  4. 4. เครื่องมือในการที่จะช่วยให้หัวหน้าฝ่ายสามารถวางแผนการทางานและบริหารงานได้ดีอีกอย่าง หนึ่งคือ Gantt chart ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะ โปรแกรม Project Management เข้ามาช่วยในการทาเพื่อความรวดเร็วในการสร้างและตรวจสอบแผนการ ดาเนินงานของโครงการอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น Microsoft Project ระบบการสื่อสารที่จะนามาใช้ในศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเป็นระบบการสื่อสารที่สามารถสื่อสารได้ทั้งจากระดับบนลงล่าง และจากระดับล่างขึ้นบน เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารแบบผสม โดยจะแบ่งระบบสื่อสารออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ระบบการสื่อสาร ชนิดประสานเวลา และระบบการสื่อสารชนิดไม่ประสานเวลา
  5. 5. ระบบการสื่อสารชนิดประสานเวลา จะใช้เทคโนโลยี Voice over IP (VoIP) ที่สามารถช่วยให้ บุคลากรสามารถโทรศัพท์ผ่านระบบเครือข่ายได้ ซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกในการติดต่อภายในบริเวณ ที่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ทเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยี VoIP สามารถให้บุคลากรใช้งานได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC to PC) 2) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน (PC to Phone) 3) โทรศัพท์ ไปยัง โทรศัพท์ (Telephony)
  6. 6. นอกจากการสนับสนุนการติดต่อด้วยเสียงแล้วเพื่อสนับสนุนการทางานที่รวดเร็วทันต่อเวลา ศูนย์ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะนาเทคโนโลยี Video conference เข้ามาใช้งานในการประชุมซักถามงานในวาระย่อยๆ ระหว่างทีมทางาน ตัวอย่างเช่น Red 5 ระบบการสื่อสารชนิดไม่ประสานเวลา จะใช้ระบบการสื่อสารในรูปของศูนย์ประกาศ (Information Center) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนจดหมายเวียน หรือเอกสารต่างๆ ที่เป็นกระดาษเพื่อลดค่าใช้จ่าย และป้องกันการสูญหายของข้อมูล และความรวดเร็วในการออกคาสั่ง ในกรณีที่ไม่ใช่เอกสารที่ต้องเซ็น อนุมัติ ตัวอย่างเช่น Lotus Note จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถวางโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับสนับสนุนการ บริหารงานของศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาออกมาได้ดังแผนภาพนี้
  7. 7. แผนภาพแสดงโครงสร้างทางสารสนเทศ แผนภาพแสดงโครงสร้างข้อมูลและระบบ

×