SlideShare a Scribd company logo
Enviar pesquisa
Carregar
Entrar
Cadastre-se
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
Denunciar
ณัฐพล บัวพันธ์
Seguir
ครูชำนาญการพิเศษ em โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม
18 de Nov de 2019
•
0 gostou
•
95,799 visualizações
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
18 de Nov de 2019
•
0 gostou
•
95,799 visualizações
ณัฐพล บัวพันธ์
Seguir
ครูชำนาญการพิเศษ em โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม
Denunciar
Educação
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
1 de 172
Baixar agora
1
de
172
Recomendados
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
น้องยีน' ปีนโต๊ะ
264.4K visualizações
•
14 slides
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Kittichai Pinlert
812.9K visualizações
•
19 slides
หน้าปกโครงงาน
Kanistha Chudchum
391K visualizações
•
1 slide
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
พัน พัน
1.7M visualizações
•
23 slides
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
Suricha Phichan
612.2K visualizações
•
40 slides
บทที่1 บทนำ
Champ Wachwittayakhang
614.3K visualizações
•
3 slides
Mais conteúdo relacionado
Mais procurados
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
สมศรี หอมเนียม
44.9K visualizações
•
5 slides
กิตติกรรมประกาศ
maerimwittayakom school
934.2K visualizações
•
5 slides
ตัวอย่างบทคัดย่อ
sukanya5729
1.3M visualizações
•
6 slides
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
พัน พัน
1.3M visualizações
•
18 slides
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
KruKaiNui
107.6K visualizações
•
2 slides
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ssuserf8d051
32.8K visualizações
•
62 slides
Mais procurados
(20)
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
สมศรี หอมเนียม
•
44.9K visualizações
กิตติกรรมประกาศ
maerimwittayakom school
•
934.2K visualizações
ตัวอย่างบทคัดย่อ
sukanya5729
•
1.3M visualizações
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
พัน พัน
•
1.3M visualizações
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
KruKaiNui
•
107.6K visualizações
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ssuserf8d051
•
32.8K visualizações
สารบัญ.
Kanistha Chudchum
•
537.8K visualizações
คำนำ
A'ye Oranee
•
91.9K visualizações
กิตติกรรมประกาศ
ศุภกรณ์ วัฒนศรี
•
25.6K visualizações
รูปเล่มวิชาโครงงาน
AjBenny Pong
•
185.2K visualizações
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
chaipalat
•
1.4M visualizações
บทที่ 1-5 โครงงาน
Ariyaporn Suaekong
•
69K visualizações
แบบสอบถามความพึงพอใจ
Duangnapa Inyayot
•
136.3K visualizações
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
Lamai Fungcholjitt
•
396.1K visualizações
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
ณัฐพล แสงทวี
•
932.9K visualizações
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
kessara61977
•
239.3K visualizações
กิตติกรรมประกาศ
Pa'rig Prig
•
45.6K visualizações
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
Kruthai Kidsdee
•
705.7K visualizações
หน้าปกคำนำสารบัญ
ธิติพงศ์ กุลภา College of Local Administration,KhonKaen University
•
330.1K visualizações
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
Phongsak Kongkham
•
88K visualizações
Similar a ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
Keydesign
ตะกั่วป่าเสนานุกูล
24.7K visualizações
•
145 slides
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
Nong Earthiiz
103 visualizações
•
17 slides
เปรียบเทียบหลักสูตร
Winmixhaha TheJude
24 visualizações
•
4 slides
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
Ham Had
6.8K visualizações
•
9 slides
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
natthasarttier
5.8K visualizações
•
10 slides
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
Atigarn Tingchart
9.3K visualizações
•
15 slides
Similar a ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
(20)
Keydesign
ตะกั่วป่าเสนานุกูล
•
24.7K visualizações
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
Nong Earthiiz
•
103 visualizações
เปรียบเทียบหลักสูตร
Winmixhaha TheJude
•
24 visualizações
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
Ham Had
•
6.8K visualizações
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
natthasarttier
•
5.8K visualizações
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
Atigarn Tingchart
•
9.3K visualizações
บทที่ 1
Rathapon Silachan
•
624 visualizações
Book design example
ตะกั่วป่าเสนานุกูล
•
9.6K visualizações
Ast.c2560.6tp
มะดาโอะ มะเซ็ง
•
1.4K visualizações
เปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลา...
Pornwipa Onlamul
•
1.2K visualizações
บทที่ 1
Rathapon Silachan
•
357 visualizações
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
Meenarat Bunkanha
•
122 visualizações
ตารางเปรียบเทียบ ตัวชี้วัด(วิชาคอมพิวเตอร์)
maitree_s
•
150 visualizações
เปรียบเทียบหลักสูตร
sirato2539
•
1.5K visualizações
Aect present wichit-current issue in edu tech
Wichit Chawaha
•
528 visualizações
"aect ecucational technology"
Wichit Chawaha
•
555 visualizações
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง...
HeroFirst BirdBird
•
328 visualizações
Book st chapter1
Sangdao Phrommat
•
82 visualizações
บทที่ 1
Rathapon Silachan
•
585 visualizações
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
visanu murijun
•
59 visualizações
Mais de ณัฐพล บัวพันธ์
เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ Coding Kidbright
ณัฐพล บัวพันธ์
6.4K visualizações
•
119 slides
วิทยาการคำนวณ3
ณัฐพล บัวพันธ์
43.4K visualizações
•
130 slides
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น62
ณัฐพล บัวพันธ์
392 visualizações
•
2 slides
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น62
ณัฐพล บัวพันธ์
171 visualizações
•
2 slides
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น
ณัฐพล บัวพันธ์
220 visualizações
•
1 slide
กำหนดการรับสมัครนักเรียน
ณัฐพล บัวพันธ์
239 visualizações
•
2 slides
Mais de ณัฐพล บัวพันธ์
(20)
เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ Coding Kidbright
ณัฐพล บัวพันธ์
•
6.4K visualizações
วิทยาการคำนวณ3
ณัฐพล บัวพันธ์
•
43.4K visualizações
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น62
ณัฐพล บัวพันธ์
•
392 visualizações
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น62
ณัฐพล บัวพันธ์
•
171 visualizações
รายนามศิษย์เก่าดีเด่น
ณัฐพล บัวพันธ์
•
220 visualizações
กำหนดการรับสมัครนักเรียน
ณัฐพล บัวพันธ์
•
239 visualizações
บทที่ 7 เล่นกับเวลา
ณัฐพล บัวพันธ์
•
515 visualizações
บทที่ 6 ตะลุย โลกดนตรี
ณัฐพล บัวพันธ์
•
358 visualizações
บทที่ 5 คิดอย่างไร ได้อย่างนั้น
ณัฐพล บัวพันธ์
•
479 visualizações
บทที่ 4 สนุกคณิตกับ KidBright
ณัฐพล บัวพันธ์
•
1.1K visualizações
บทที่ 3 การสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วย Kidbrigh
ณัฐพล บัวพันธ์
•
614 visualizações
บทที่ 2 ท่องไปในโลก Kidbright
ณัฐพล บัวพันธ์
•
1.8K visualizações
บทที่ 1 คิดคำนวณชวนสนุก
ณัฐพล บัวพันธ์
•
1.1K visualizações
ผลการสอบม1
ณัฐพล บัวพันธ์
•
447 visualizações
การจัดห้องเรียน ม4
ณัฐพล บัวพันธ์
•
414 visualizações
ผลการสอบม4
ณัฐพล บัวพันธ์
•
250 visualizações
การจัดห้องเรียน
ณัฐพล บัวพันธ์
•
216 visualizações
ผลการสอบม1
ณัฐพล บัวพันธ์
•
84 visualizações
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ณัฐพล บัวพันธ์
•
1.8K visualizações
โครงงานคอมพิวเตอร์
ณัฐพล บัวพันธ์
•
1.7K visualizações
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
1.
ตู�ควบคุม ตู�ควบคุม ๕ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
3.
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดทำ�โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ copyright@2019
4.
คำ�นำ� สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ การประเมินผล การจัดทำ�หนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึกทักษะ กิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๕ นี้จัดทำ�ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ตารางวิเคราะห์การจัดทำ�หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งตัวอย่างแผนการจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่ต้องใช้ควบคู่กัน สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือครูเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญ ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้ (ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำ�นงค์) ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
5.
คำ�ชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียม กับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ แก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป โรงเรียนจะต้องใช้ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยได้มีการย้ายสาระเทคโนโลยี ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เนื่องจากความรู้ด้านเทคโนโลยี ทั้งการออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำ�นวณ เป็นพื้นฐานที่สำ�คัญ และเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี สสวท. จึงได้จัดทำ�คู่มือครูประกอบการใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่เป็นไปตาม มาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนนำ�ไปจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๕ นี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) คำ�ชี้แจงการใช้คู่มือครู ตาราง วิเคราะห์การจัดทำ�หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหนังสือเรียน โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้และการคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา โครงงานกับการแก้ปัญหา และการสร้างประโยชน์จากผลงาน ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตาม ความเหมาะสมและความพร้อมของโรงเรียน ในการจัดทำ�คู่มือครูเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากสถาบัน และสถานศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและ เทคโนโลยี) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
6.
สารบัญ สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) 1 คำ�ชี้แจงการใช้คู่มือครู
6 ตารางวิเคราะห์การจัดทำ�หน่วยการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) 15 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้และการคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา 21 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 โครงงานกับการแก้ปัญหา 61 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างประโยชน์จากผลงาน 111 ภาคผนวก 153 เนื้อหา หน้า
7.
สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) 1. เป้าหมายของสาระเทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นสาระ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ โดยเป็นสาระเกี่ยวกับ การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อดำ�รงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมโดยคำ�นึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. คุณภาพผู้เรียนของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) จัดให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีความคาดหวังเพื่อให้ได้คุณภาพผู้เรียน เมื่อจบการศึกษา ดังนี้ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยี โดยคำ�นึงถึงผลกระทบ ต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ทรัพยากรเพื่อออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสำ�หรับแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนำ�เสนอผลงาน เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือได้ อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งคำ�นึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา 3. มาตรฐานการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 การออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำ�รงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือ พัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมโดยคำ�นึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8.
เป้าหมายของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี
เพื่อดำ�รงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้ และทักษะเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่าง มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม บูรณาการกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างเหมาะสม เลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำ�นึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ และความรู้และทักษะพื้นฐานเฉพาะด้าน หัวข้อหลักที่ 1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ต่อไปนี้ 1) ความหมายของเทคโนโลยี 2) ระบบทางเทคโนโลยี 3) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 4) ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น 5) ผลกระทบของเทคโนโลยี หัวข้อหลักที่ 2 กระบวนการออกแบบ กระบวนการออกแบบ (design process) ในสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) เป็นกระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ความรู้และทักษะ รวมทั้งความคิด สร้างสรรค์ ซึ่งในที่นี้ใช้กระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (engineering design process) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ระบุปัญหา 2) รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 3) ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 4) วางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา 5) ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน 6) นำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน หัวข้อหลักที่ 3 ความรู้และทักษะพื้นฐานเฉพาะด้าน ความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำ�เป็นสำ�หรับการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานในสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ได้แก่ 1) วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือพื้นฐาน 2) กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9.
ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.5
ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะ จากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้ง ทรัพยากรในการทำ�โครงงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน 1. การทำ�โครงงาน เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจาก ศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการสร้างหรือพัฒนา ชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหาหรืออำ�นวยความสะดวก ในการทำ�งาน 2. การทำ�โครงงานการออกแบบและเทคโนโลยีสามารถ ดำ�เนินการได้ โดยเริ่มจาก การสำ�รวจสถานการณ์ปัญหา ที่สนใจ เพื่อกำ�หนดหัวข้อโครงงาน แล้วรวบรวมข้อมูลและ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ออกแบบแนวทางการแก้ ปัญหา วางแผน และดำ�เนินการแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน และนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา 4. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและ เทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5. ทักษะและกระบวนการที่สำ�คัญในสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) เพื่อพัฒนาความสามารถ ของผู้เรียนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะและ กระบวนการที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตผ่านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ ซึ่งทักษะและ กระบวนการสำ�คัญของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ได้แก่ 1) กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นกระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประกอบ ไปด้วย ขั้นตอนดังนี้ ขั้นระบุปัญหา (problem identification) เป็นการทำ�ความเข้าใจปัญหาหรือความ ต้องการ วิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำ�กัดของสถานการณ์ปัญหา เพื่อกำ�หนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งจะนำ�ไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการในการแก้ปัญหา ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (related information search) เป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อนำ�ไปสู่การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา 3 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10.
ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (solution design)
เป็นการนำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำ�เป็นสำ�หรับการแก้ปัญหา โดยคำ�นึงถึงเงื่อนไขหรือ ทรัพยากรที่มีอยู่ แล้วออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา โดยอาจร่างภาพ เขียนเป็นแผนภาพ หรือผังงาน ขั้นวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา (planning and development) เป็นการ กำ�หนดลำ�ดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา และเวลาในการดำ�เนินงานแต่ละขั้นตอน แล้วลงมือแก้ปัญหา ตามที่ออกแบบและวางแผนไว้ ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (testing, evaluation and design improvement) เป็นการทดสอบและประเมินผลการทำ�งานของชิ้นงาน หรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำ�มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขั้นนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (presentation) เป็นการ นำ�เสนอแนวคิดและขั้นตอนการสร้างชิ้นงานหรือการพัฒนาวิธีการให้ผู้อื่นเข้าใจ ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมนั้นไม่ได้มีลำ�ดับขั้นตอน ที่แน่นอนโดยขั้นตอนทั้งหมดสามารถย้อนกลับไปมาได้ และอาจมีการทำ�งานซ้ำ� (iterative cycle) ในบางขั้นตอนหากต้องการพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น 2) การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มองภาพรวมเป็นระบบ โดยมีหลักการและ เหตุผล มีการจัดระเบียบข้อมูลหรือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นแบบแผนหรือ กระบวนการที่ชัดเจน 3) ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์มุมมองอย่างหลากหลายและ แปลกใหม่ ซึ่งอาจจะพัฒนาจากของเดิมหรือคิดใหม่ วิเคราะห์และประเมินแนวคิดเพื่อพัฒนาความ คิดสร้างสรรค์ให้ได้มากที่สุด นำ�ไปสู่การลงมือปฏิบัติตามความคิดสร้างสรรค์ให้ได้ผลสำ�เร็จที่เป็น รูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ 1) ความคิดริเริ่ม เป็นความสามารถในการคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ ไม่ซ้ำ�กับของเดิม 2) ความคิดคล่อง เป็นความสามารถในการคิดหาคำ�ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณมากในเวลาจำ�กัด 3) ความคิดยืดหยุ่น เป็นความสามารถในการคิดหาคำ�ตอบได้หลายประเภทและหลาย ทิศทาง ดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ 4) ความคิดละเอียดลออ เป็นความสามารถในการคิดรายละเอียดหรือขยายความคิดหลัก ให้สมบูรณ์ และรวมถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างมีความหมาย 4 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11.
4) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการคิดโดยใช้เหตุผลที่หลากหลายเหมาะสมกับ สถานการณ์
มีการวิเคราะห์และประเมินหลักฐานและข้อคิดเห็นด้วยมุมมองที่หลากหลาย สังเคราะห์ แปลความหมาย และลงข้อสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งสะท้อนความคิดโดยใช้ประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ 5) การคิดวิเคราะห์ เป็นการจําแนก แจกแจงองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุ ที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น 6) การสื่อสาร เป็นการเรียบเรียงความคิดและสื่อสารแนวคิดในการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ อย่างชัดเจน สามารถใช้วิธีการสื่อสารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การพูด การเขียน บรรยาย การร่างภาพ และการใช้สื่อมัลติมีเดีย 7) การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น เป็นความสามารถในการทำ�งานร่วมกับผู้อื่น มีความยืดหยุ่น มีความรับผิดชอบร่วมกัน เคารพในความคิด เห็นคุณค่า และเข้าใจบทบาทของผู้อื่น เพื่อทำ�งาน ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน 5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
12.
คำ�ชี้แจงการใช้คู่มือครู สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำ�คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำ�หรับใช้ควบคู่กับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาระเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่ออำ�นวยประโยชน์แก่ผู้สอน ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เสนอให้ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความพร้อมของโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ผู้สอนควรศึกษา และทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้เสนอแนะไว้ อย่างไรก็ตามผู้สอนอาจปรับเปลี่ยน กิจกรรมและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม โดยคำ�นึงถึงความพร้อมและศักยภาพ ของผู้เรียนรวมทั้งเป้าหมายการจัดการเรียนรู้เป็นสำ�คัญ 1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำ�คู่มือครู คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำ�ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางสำ�หรับผู้สอนใช้ออกแบบการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) 2. ขอบข่ายของหนังสือเรียน การนำ�คู่มือครูนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้ควบคู่กับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนควรศึกษาขอบข่ายของหนังสือเรียน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยกิจกรรมการเรียนรู้ของ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบ่งเป็น 3 บท ได้แก่ 6 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
13.
ตอนที่ 1 ความรู้กับกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา
บทที่ 1 ความรู้และการคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำ�คัญของความรู้ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นเพื่อใช้แก้ปัญหา กระบวนการออกแบบหรือการคิดเชิงออกแบบ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทำ�ความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่ตรง กับความต้องการ ประกอบด้วยหัวข้อ 1.1 ความรู้กับการแก้ปัญหา 1.2 การคิดเชิงออกแบบกับการแก้ปัญหา ตอนที่ 2 การพัฒนาโครงงาน บทที่ 2 โครงงานกับการแก้ปัญหา เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาโครงงานโดยผ่าน กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้สามารถนำ�ไปแก้ปัญหาที่ตนเองสนใจ ประกอบด้วยหัวข้อ 2.1 การแก้ปัญหาด้วยการทำ�โครงงาน 2.2 การพัฒนาโครงงานโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ตอนที่ 3 การพัฒนาต่อยอดผลงาน บทที่ 3 การสร้างประโยชน์จากผลงาน เป็นบทเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลงาน การสร้าง ประโยชน์จากผลงาน และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและ สามารถนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหรือสร้างประโยชน์จากผลงานของตนเอง และการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักและก่อให้เกิดประโยชน์ ประกอบด้วยหัวข้อ 3.1 การสร้างประโยชน์ 3.2 สิทธิและการคุ้มครองผลงาน 3.3 การนำ�เสนอผลงาน 7 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14.
3. สัญลักษณ์หัวข้อในหนังสือเรียน ภายในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยสัญลักษณ์สำ�คัญ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ดังนี้ เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหากับ การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ชวนคิดเป็นคำ�ถามหรือ กิจกรรมให้ลองคิดหรือปฏิบัติ เนื้อหาสาระที่เป็นแนวคิด สำ�คัญของบท เป็นการแนะนำ�แหล่งข้อมูล เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นคำ�เตือนให้คำ�นึงถึงความ ปลอดภัยหรือประเด็นสำ�คัญ เกี่ยวกับเนื้อหานั้น เป็นการสรุปเนื้อหาของ บทเรียน กิจกรรมความร่วมมือ หรือการคิดแบบกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ให้ปฏิบัติเพื่อ ตรวจสอบความรู้หลังจากเรียน จบบทเรียน การนำ�ไปใช้ จุดประสงค์ของบทเรียน ทบทวนความรู้ก่อนเรียน สื่อเสริมเพิ่มความรู้ กิจกรรม กิจกรรมท้ายบท ชวนคิด เกร็ดน่ารู้ 1 3 5 7 9 2 4 6 8 10 การสื่อความหมายของรูปภาพและกรอบที่ควรรู้ ข้อควรระวัง สรุปท้ายบท เป็นการทบทวนความรู้เพื่อ เชื่อมโยงเนื้อหาที่จะเรียนต่อไป เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ของบทเรียน 8 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
15.
4. การออกแบบการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) การออกแบบการเรียนรู้เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ซึ่งกำ�หนดไว้ในหลักสูตรไปสู่หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลาง เพื่อให้ทราบว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ใด แล้วกำ�หนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ทักษะและกระบวนการที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน 2) การกำ�หนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการพิจารณาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับสาระการเรียนรู้แกนกลาง ทักษะและกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก ๆ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการกำ�หนดสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำ�เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำ�หนด ควรเขียน เป็นลำ�ดับขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อลำ�ดับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มองเห็นภาพต่อเนื่องว่าผู้เรียนต้องทำ�สิ่งใด ก่อนหลัง และมีกระบวนการอย่างไรบ้าง หากสามารถระบุถึงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนได้ว่ามีส่วน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้กันได้อย่างไรจะทำ�ให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ถือเป็นเครื่องมือสำ�คัญยิ่งสำ�หรับการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยเชื่อมโยงความรู้ จากผู้สอนไปถึงผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งเนื้อหาอยู่ในรูปที่เป็นนามธรรม สื่อการเรียนรู้จะช่วยทำ�ให้ ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งสื่อการจัดการเรียนรู้มีหลากหลายประเภท ผู้สอนต้อง ผลิตหรือเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ 3) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ที่กำ�หนดไว้หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงต้องพิจารณา ถึงจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสำ�คัญ 5. สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ผู้เรียนและผู้สอนสามารถศึกษาหรือ เรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ได้หลายแนวทางนอกจากในหนังสือเรียนและคู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) โดยอาจใช้แหล่งเรียนรู้อื่นเพิ่มเติมได้ เช่น 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ หรือปราชญ์ชาวบ้านที่มีประสบการณ์ บุคคลที่ประสบความ สำ�เร็จในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียน สามารถเป็นผู้ให้ความรู้กับผู้เรียนได้ โดยผู้สอนอาจใช้ วิธีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในโรงเรียน หรืออาจพาผู้เรียนไปศึกษาดูงานในพื้นที่จริงได้ ทั้งนี้ ผู้สอนควรให้ ประเด็นกับผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องบันทึกหรือศึกษาระหว่างการศึกษาดูงานแล้วนำ�มาสรุป อภิปรายข้อคิด ที่ได้ระหว่างเพื่อนสมาชิกในชั้นเรียนและผู้สอน 9 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16.
2) แหล่งวิทยาการ ได้แก่
สถาบัน องค์กร หน่วยงาน ห้องสมุด ศูนย์วิชาการทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งให้บริการความรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยผู้สอนอาจมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ที่กำ�ลังเรียนรู้แล้วทำ�สรุปรายงานเพื่อนำ�เสนอในชั้นเรียน 3) สถานประกอบการ สถานประกอบวิชาชีพอิสระ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยในท้องถิ่น ซึ่งให้บริการความรู้ ฝึกอบรมเกี่ยวกับงาน และวิชาชีพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น โดยผู้สอนสามารถ นำ�ผู้เรียนไปศึกษาดูงานในแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์จริง สามารถเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนกับบริบทของชีวิตจริง และยังช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการนำ�มาซึ่งการพัฒนาหรือสร้างแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมได้อีกด้วย 4) สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ วารสาร หนังสืออ้างอิง หนังสือพิมพ์ สื่อเหล่านี้เป็นสิ่งสำ�คัญ ที่สามารถจัดหาได้ง่ายเพื่อให้ผู้สอนสามารถนำ�มาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หรืออาจเป็นสถานการณ์ปัญหา จากข่าวในหนังสือพิมพ์เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นโจทย์สถานการณ์ปัญหาในการทำ�กิจกรรมการเรียนรู้ได้ 5) สื่อดิจิทัล ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่สำ�คัญในการใช้ประกอบ การสืบค้นข้อมูลในสังคมปัจจุบันที่มีสื่อต่าง ๆ จากเว็บไซต์จำ�นวนมาก โดยมีทั้งในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือวีดิทัศน์ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ต้องคิดวิเคราะห์ และมีวิจารณญาณในการเลือกใช้ รวมทั้งต้องอ้างอิงข้อมูลที่ได้มา ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญที่ผู้สอนต้องสร้าง ความตระหนักให้กับผู้เรียนในการเคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ของ สสวท. (http://learningspace.ipst.ac.th/) แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ของสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (http://www.dlit.ac.th/pages/classroom.php) 6. การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) การจัดการเรียนรู้ที่สามารถสะท้อนหลักสูตร และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำ�หนด ควรเป็นการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติมีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตนเอง ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง แก้ปัญหาในชีวิตจริงผ่านการวางแผน ออกแบบ ประเมินผล และนำ�เสนอผลงานร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยสร้างชิ้นงานหรือวิธีการอย่างสร้างสรรค์ (Prince, 2004 ; Bonwell, 1991) ผู้สอนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด และจุดเน้นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการจัดการ เรียนรู้ของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ตัวอย่างแนวทางในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ ผู้เรียนเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ เช่น 10 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
17.
การจัดการเรียนรู้โดยมีกิจกรรมเป็นฐาน (activity-based learning)
เป็นการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมและมีบทบาทในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้เรียน รู้จักคิดวิเคราะห์และเรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทำ�จริง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์และการร่วมมือกัน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ ที่นำ�ปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่เพื่ออธิบาย หรือแก้ปัญหา โดยมีกระบวนการการจัดการเรียนรู้คือ ผู้เรียนจะได้รับสถานการณ์และทำ�ความเข้าใจ ในสถานการณ์นั้นและร่วมกันระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา อภิปรายหาคำ�อธิบาย ตั้งสมมติฐานเพื่อหา คำ�ตอบของปัญหา พร้อมจัดลำ�ดับความสำ�คัญของสมมติฐานที่เป็นไปได้อย่างมีเหตุผล และต้องพิจารณาว่า จะต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้างที่จำ�เป็นในการแก้ปัญหา ผู้เรียนร่วมกันกำ�หนดประเด็นการเรียนรู้หรือ วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อจะไปค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป ผู้เรียนแต่ละคนค้นคว้าหาข้อมูลและศึกษาเพิ่มเติม พร้อมทั้งประเมินความถูกต้อง และนำ�ข้อมูลมาใช้เพื่อช่วยในการออกแบบการแก้ปัญหาเพื่อแก้ปัญหาต่อไป (Barrows, 2000) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (project-based learning) เป็นการให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำ�รวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้นโดยมีกระบวนการจัดการ เรียนรู้ คือ ผู้สอนกำ�หนดขอบเขตของโครงงานอย่างกว้าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายวิชา สภาพปัญหาหรือ ความถนัดของผู้เรียน และให้ผู้เรียนออกแบบโครงงานร่วมกันเพื่อนำ�ไปสู่การเขียนเค้าโครงและลงมือปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้ในเค้าโครง ผู้เรียนสรุปผ่านการเขียนรายงานและมีการประเมินโครงงาน (MacDonell, 2007) จะเห็นว่า การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) จะให้ผู้เรียนได้ฝึก กระบวนการทำ�งานอย่างเป็นระบบผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การคิดวิเคราะห์ ลงมือ แก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง (real-world problems) ผู้เรียนต้องฝึกการทำ�งาน เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมตามเงื่อนไข ทรัพยากรที่มีด้วยวิธีการที่หลากหลาย 11 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
18.
7. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผลของสาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
มุ่งเน้นที่การประเมิน ตามสภาพจริง (authentic assessment) โดยวัดและประเมินผล 3 ด้าน คือ ความสามารถด้านสติปัญญา ความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยการประเมินตามสภาพจริงในสาระ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ผู้สอนสามารถประเมินจากผลงานหรือการทำ�งานของผู้เรียน เป็นหลัก ผ่านกระบวนการสังเกต บันทึก หรือตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับชิ้นงานและวิธีการของผู้เรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีความต่อเนื่อง โดยลักษณะสำ�คัญของการประเมินจากสภาพจริง มีดังนี้ 1) ผสมผสานไปกับการจัดการเรียนรู้และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย 2) ให้ความสำ�คัญกับการประเมินกระบวนการคิดที่ซับซ้อน ความสามารถในการปฏิบัติงาน ศักยภาพ ของผู้เรียนในแง่ของผู้ผลิต และกระบวนการที่ได้ผลผลิตมากกว่าที่จะประเมินว่าผู้เรียนสามารถจดจำ� ความรู้อะไรได้บ้าง 3) มุ่งเน้นศักยภาพโดยรวมของผู้เรียนทั้งด้านความรู้พื้นฐาน ความคิดระดับสูง ความสามารถในการ แก้ปัญหา การสื่อสาร เจตคติ ลักษณะนิสัย ทักษะในด้านต่าง ๆ และความสามารถในการทำ�งานร่วมกับผู้อื่น 4) ให้ความสำ�คัญต่อพัฒนาการของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินหลาย ๆ ด้าน และหลากหลาย วิธีสามารถนำ�มาใช้ในการวินิจฉัยจุดเด่นของผู้เรียนที่ควรจะให้การส่งเสริม และวินิจฉัยจุดด้อยที่จะต้องให้ ความช่วยเหลือหรือแก้ไข เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจ และความสามารถของ แต่ละบุคคล 5) ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวางแผน การสอนของผู้สอนว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ผู้สอนสามารถนำ�ข้อมูลจาก การประเมินมาปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมและตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อไป 6) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อส่งเสริมให้รู้จักตัวเอง เชื่อมั่นในตนเองและสามารถพัฒนา ตนเองได้ ทั้งนี้ผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย โดยต้องมีความ สอดคล้องและความเหมาะสมกับจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งวิธีการหรือเครื่องมือวัดที่สามารถ นำ�มาใช้ เช่น 1) การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ เป็นวิธีการประเมินด้วยการเขียนตอบตามประเด็นคำ�ถามที่ผู้สอน กำ�หนด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการ ซึ่งสามารถประเมินได้ทั้งระหว่างเรียนและ หลังเรียน คำ�ตอบของผู้เรียนจะสะท้อนถึงความเข้าใจ ความก้าวหน้าในผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่นิยมใช้ เช่น แบบบันทึกการเรียนรู้ แบบสะท้อนการเรียนรู้ 12 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
19.
2) การทดสอบ เป็นวิธีการประเมินความรู้
ความเข้าใจ และทักษะของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนควรเลือกใช้ เครื่องมือทดสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินผลนั้น ๆ และต้องมีคุณภาพ มีความ เที่ยงตรง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability) เครื่องมือที่นิยมใช้ เช่น แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ 3) แฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินด้วยการรวบรวมผลงานและหลักฐานการเรียนรู้ที่แสดงถึง ความรู้ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และพัฒนาการของผู้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้ในการประเมินความสามารถของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ผู้สอนจะเลือกผลงานและหลักฐานชิ้นใด ที่รวบรวมอยู่ในแฟ้มมาประเมินก็ย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการประเมิน เช่น หากต้องการประเมิน ความสามารถของผู้เรียนควรเลือกผลงานหรือชิ้นงานที่ดีที่สุดของผู้เรียนมาประเมิน หากต้องการประเมิน พัฒนาการทางการเรียนควรเลือกตัวแทนผลงานในแต่ละช่วงมาประเมิน หากต้องการประเมินกระบวนการ ทำ�งานและการแก้ปัญหาควรนำ�บันทึกการปฏิบัติงานของผู้เรียนมาประเมิน 4) ผลการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการประเมินงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบถึงผลการพัฒนาของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนต้องเตรียมการประเมิน 2 ส่วน คือ การประเมินภาระงาน หรือชิ้นงาน และการประเมินกระบวนการทำ�งาน เครื่องมือที่นิยมใช้ คือ แบบมาตรประมาณค่า และ แบบบันทึกการปฏิบัติงาน 5) การสังเกตพฤติกรรม เป็นวิธีการประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนระหว่าง การทำ�กิจกรรม เพื่อประเมินทั้งด้านทักษะการทำ�งาน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เครื่องมือวัดที่นิยมใช้ เช่น แบบสังเกตพฤติกรรม แบบตรวจสอบรายการ (check list) 6) การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการประเมินด้วยการพูดคุย การซักถามตามประเด็นการประเมินที่สนใจ ซึ่งการสัมภาษณ์สามารถกระทำ�ได้ 2 ลักษณะ คือ การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เครื่องมือวัดที่นิยมใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง 13 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
21.
ตารางวิเคราะห์ การจัดทำ�หน่วยการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
22.
ตารางวิเคราะห์การจัดทำ�หน่วยการเรียนรู้ สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้กับกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ แกนกลาง จำ�นวน ชั่วโมง จุดประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผล ประยุกต์ใช้ความ รู้และทักษะจาก ศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร ในการทำ� โครงงานเพื่อ แก้ปัญหาหรือ พัฒนางาน การทำ�โครงงาน เป็นการ ประยุกต์ใช้ความรู้และ ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการ สร้างหรือพัฒนาชิ้นงาน หรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหา หรืออำ�นวยความสะดวก ในการทำ�งาน 8 ชั่วโมง 1. อธิบายประโยชน์ ของการคิด เชิงออกแบบ 2. วิเคราะห์ สถานการณ์หรือ ความต้องการ ที่คำ�นึงถึงผู้ใช้ ด้วยการคิด เชิงออกแบบ และความรู้จาก ศาสตร์ต่าง ๆ กิจกรรมที่ 1 ความรู้กับการคิดเชิง ออกแบบเพื่อแก้ปัญหา ภาระงาน: 1.1 วิเคราะห์จุดคุ้มทุนใน การลงทุนผลิตพืช 4 ชนิด เพื่อออกแบบฟาร์มอัจฉริยะ 1.2 ออกแบบการวางระบบน้ำ� ในโรงเรือนสำ�หรับปลูก มะเขือเทศในฟาร์มอัจฉริยะ 1.3 ออกแบบสนามเด็กเล่น โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ภายใต้ความต้องการและ ข้อมูลที่กำ�หนด 1.4 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ที่ตนเองสนใจโดยใช้การคิด เชิงออกแบบ 1. การอธิบาย ประโยชน์ของการ คิดเชิงออกแบบ 2. การวิเคราะห์ สถานการณ์หรือ ความต้องการที่ คำ�นึงถึงผู้ใช้ด้วย การคิดเชิงออกแบบ และความรู้จาก ศาสตร์ต่าง ๆ 16 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
23.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาโครงงาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ แกนกลาง จำ�นวน ชั่วโมง จุดประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผล ประยุกต์ใช้ความ รู้และทักษะจาก ศาสตร์ต่าง
ๆ รวมทั้งทรัพยากร ในการทำ� โครงงานเพื่อ แก้ปัญหาหรือ พัฒนางาน 1. การทำ�โครงงานเป็น การประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะจากศาสตร์ ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร ในการสร้างหรือพัฒนา ชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหาหรือ อำ�นวยความสะดวก ในการทำ�งาน 20 ชั่วโมง พัฒนาโครงงาน เพื่อแก้ปัญหา ด้วยกระบวน การออกแบบ เชิงวิศวกรรม กิจกรรมที่ 2 โครงงานกับ การแก้ปัญหา ภาระงาน: 2.1 วิเคราะห์โครงงาน 2.2 สำ�รวจสถานการณ์ที่สนใจ ระบุปัญหา และตัดสินใจ เลือกปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ ในการพัฒนาโครงงาน 2.3 กำ�หนดกรอบแนวคิดและ ขอบเขตของปัญหาในการทำ� โครงงาน 1. การวิเคราะห์ โครงงาน 2. การพัฒนา โครงงานด้วย กระบวนการ ออกแบบ เชิงวิศวกรรม 3. การนำ�เสนอ โครงงาน 2. การทำ�โครงงาน การออกแบบและ เทคโนโลยี สามารถ ดำ�เนินการได้ โดย เริ่มจากการสำ�รวจ สถานการณ์ปัญหา ที่สนใจ เพื่อกำ�หนด หัวข้อโครงงาน แล้วรวบรวมข้อมูล 2.4 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ โครงงาน 2.5 พัฒนาทางเลือกในการ แก้ปัญหาและตัดสินใจเลือก โดยกำ�หนดเงื่อนไขในการ พิจารณาที่เหมาะสม 17 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาโครงงาน
(ต่อ) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ แกนกลาง จำ�นวน ชั่วโมง จุดประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผล และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา ออกแบบ แนวทางการแก้ปัญหา วางแผน และดำ�เนิน การแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุง แก้ไขวิธีการแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน และ นำ�เสนอวิธีการ แก้ปัญหา 2.6 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา และถ่ายทอดความคิดของ แนวทางการแก้ปัญหาเป็น ผังกราฟิก ภาพ 3 มิติ หรือ ภาพฉาย 2.7 เขียนเค้าโครงโครงงาน 2.8 วางแผนปฏิบัติงานและ ดำ�เนินการแก้ปัญหา 2.9 กำ�หนดเกณฑ์ในการทดสอบ ชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหา ที่สอดคล้องกับขอบเขตของ ปัญหา และทำ�การทดสอบ ประเมินผล 2.10 นำ�เสนอแนวคิดในการ ปรับปรุงแก้ไขวิธีการ แก้ปัญหาหรือชิ้นงาน 2.11 นำ�เสนอโครงงาน 18 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
25.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การพัฒนาต่อยอดผลงาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ แกนกลาง จำ�นวน ชั่วโมง จุดประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและ ประเมินผล ประยุกต์ใช้ ความรู้และ ทักษะจาก ศาสตร์ต่าง
ๆ รวมทั้งทรัพยากร ในการทำ� โครงงานเพื่อ แก้ปัญหาหรือ พัฒนางาน การทำ�โครงงาน เป็นการประยุกต์ใช้ ความรู้และทักษะจาก ศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้ง ทรัพยากรในการสร้าง หรือพัฒนาชิ้นงานหรือ วิธีการ เพื่อแก้ปัญหา หรืออำ�นวยความ สะดวกในการทำ�งาน 12 ชั่วโมง ประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะจาก ศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้ง ทรัพยากรเพื่อสร้าง หรือพัฒนาผลงาน กิจกรรมที่ 3 การสร้างประโยชน์ จากผลงาน ภาระงาน: 3.1 วิเคราะห์ถึงวิธีการเพิ่มมูลค่า และการสร้างมูลค่าจาก ผลงานของผู้อื่น 3.2 ออกแบบแนวทางการสร้าง ประโยชน์จากผลงานของ ผู้เรียน (ตนเอง) 3.3 วิเคราะห์ผลงานของตนเอง กับสิทธิและการคุ้มครอง ผลงาน 3.4 วิเคราะห์และนำ�เสนอผลงาน ของผู้อื่น ถึงแนวทางการสร้าง ประโยชน์จากผลงาน 3.5 วิเคราะห์และนำ�เสนอผลงาน ของผู้เรียน (ตนเอง) ถึงแนวทางการสร้าง ประโยชน์จากผลงาน 1. การวิเคราะห์วิธีการ การสร้างประโยชน์ จากผลงานโดย การเพิ่มมูลค่า หรือสร้างมูลค่า 2. การออกแบบ แนวทางการสร้าง ประโยชน์จาก ผลงาน 3. การวิเคราะห์สิทธิ และการคุ้มครอง ผลงาน 4. การนำ�เสนอ ผลงานอย่าง มืออาชีพ 19 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
27.
1 ความรู้และการคิดเชิงออกแบบ เพื่อการแก้ปัญหา ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ทักษะและกระบวนการที่เป็นจุดเน้น ความรู้เดิมที่ผู้เรียนต้องมี สาระสำ�คัญ สื่อและอุปกรณ์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แหล่งเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ แนวคำ�ตอบกิจกรรม แผนการจัด การเรียนรู้ที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เวลา 8 ชั่วโมง
28.
1. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ 1.1 ตัวชี้วัด ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการทำ�โครงงานเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน 1.2 สาระการเรียนรู้ การทำ�โครงงาน
เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรในการ สร้างหรือพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อแก้ปัญหาหรืออำ�นวยความสะดวกในการทำ�งาน ความรู้และการคิดเชิงออกแบบ เพื่อการแก้ปัญหา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 22 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
29.
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 อธิบายประโยชน์ของการคิดเชิงออกแบบ 2.2 วิเคราะห์สถานการณ์หรือความต้องการที่คำ�นึงถึงผู้ใช้ด้วยการคิดเชิงออกแบบและความรู้
จากศาสตร์ต่าง ๆ 3. ทักษะและกระบวนการที่เป็นจุดเน้น 3.1 ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3.2 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3.3 ทักษะการสื่อสาร 3.4 ทักษะการทำ�งานร่วมกับผู้อื่น 4. ความรู้เดิมที่ผู้เรียนต้องมี ธรรมชาติของเทคโนโลยี ได้แก่ ความหมายและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ระบบทาง เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ตลอดจนผลกระทบของเทคโนโลยี ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อวางแผนและทำ�งานอย่างเป็น ระบบตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (engineering design process) โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการ ต่าง ๆ มาช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา กำ�หนดประเด็นและรวบรวมข้อมูล ออกแบบ วางแผนและสร้าง ชิ้นงาน ทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน และนำ�เสนอผลการแก้ปัญหา 5. สาระสำ�คัญ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาอย่างรอบด้านภายใต้กรอบความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ รวมทั้งการใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับการทำ�งานตามกระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพิจารณากิจกรรมและปัญหาที่เกิดในสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเข้าใจผู้ใช้งานซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลผู้นำ�เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้และ การคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา 23คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30.
7. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 1) ผู้สอนนำ�เข้าสู่บทเรียน
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า “เทคโนโลยีใน ชีวิตประจำ�วัน ถูกคิดค้นขึ้นจากสาเหตุใดบ้าง” 6. สื่อและอุปกรณ์ 6.1 ใบกิจกรรม ใบกิจกรรม เรื่อง เวลา (นาที) กิจกรรมเสนอแนะที่ 1 สำ�รวจก่อนสร้าง 30 กิจกรรมเสนอแนะที่ 2 สร้างอย่างมีความรู้ 45 กิจกรรมเสนอแนะที่ 3 ปฏิบัติงานอย่างมีทักษะ 45 กิจกรรมเสนอแนะที่ 4 พัฒนาแนวคิดพิชิตปัญหา 60 กิจกรรมเสนอแนะที่ 5 คิดอย่างไรให้คุ้มทุน 30 กิจกรรม 1.1 ช่วยคุณสมาร์ทหาจุดคุ้มทุน 60 กิจกรรม 1.2 ช่วยคุณสมาร์ทวางระบบน้ำ� 60 กิจกรรม 1.3 ความรู้กับการออกแบบสนามเด็กเล่น 60 กิจกรรมเสนอแนะที่ 6 ประมวลกระบวนการคิด 30 กิจกรรมท้ายบท การใช้ความรู้และการคิดเชิงออกแบบเพื่อแก้ปัญหา จากสถานการณ์ที่สนใจ 60 6.2 สื่ออื่น ๆ - แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้และ การคิดเชิงออกแบบเพื่อการแก้ปัญหา24 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี