SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 8
Baixar para ler offline
1
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน
พื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
โดย
เชิญ ไกรนรา
Choen@nesdb.go.th
สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
7 เมษายน 2559
2
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน
พื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
ขอบเขตของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมี 4 ระดับคือ
-ระดับโรงงาน เข้าสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ GI1 – GI 5 ตามเกณฑ์ของ
กระทรวงอุตสาหกรรม
-ระดับนิคมอุตสาหกรรม พัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งโรงงาน ชุมชนและหน่วยงานส่วน
ท้องถิ่นให้เป็น “นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเครือข่าย”หรือ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” (Eco-
Industrial Estate & Networks)
• ระดับเมือง ที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่โดยการพัฒนาในด้านต่างๆของท้องถิ่นควบคู่กันไปกับภาคส่วน
อุตสาหกรรมซึ่งเป็นหลักในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นหรือเมืองนั้นๆสู่การเป็น “เมืองน่าอยู่
คู่อุตสาหกรรม” (Eco-Industrial Town)
• ระดับจังหวัด พัฒนาในทุกภาคส่วนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่เกษตรยั่งยืน ประมงยั่งยืน
ท่องเที่ยวยั่งยืนและอุตสาหกรรมยั่งยืนเพื่อเป็น“เมืองน่าอยู่เมืองยั่งยืน” (Eco City)
1.ความก้าวหน้าของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีสาระสาคัญดังนี้
1.1 ความก้าวหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวหรือการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับโรงงาน
ในพื้นที่ภาคกลางระหว่างปี 2555-2558
ระหว่างปี 2555-2556 พื้นที่ภาคกลาง 25 จังหวัดรวมกรุงเทพมหานครมีจานวนโรงงานอุตสาหกรรมจาพวกที่
3 ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ก่อปัญหามลพิษทางราชการต้องควบคุมดูแลและจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบ
กิจการก่อนประกอบการ จานวน 48,723 โรงงาน หากรวมเฉพาะพื้นที่ ทั้งภาคกลางจานวน 25 จังหวัดจะมี
โรงงานอุตสาหกรรม จาพวกที่ 3 จานวน 39,255 โรงงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.54 ของจานวนโรงงาน
อุตสาหกรรมทั้งพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทาโครงการอุตสาหกรรม
สีเขียว(Green Industry: GI) ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2554 จนถึงถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการทางานเชิงรุกโดยมุ่งเน้น
ส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดทั้งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มี
การประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต่อสังคมเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีภาพลักษณ์ทีดี น่าเชื่อถือและ
ประชาชนไว้วางใจ และเกิดการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งจะทาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ (Green
GDP) มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็น
อุตสาหกรรมสีเขียวใน 5 ระดับ ประกอบด้วย
 ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
 ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือการดาเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมได้สาเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
 ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการ
ติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่
เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
3
 ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือในการ
ดาเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
องค์กร
 ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่
อุปทานสีเขียวโดยสนับสนุนให้คู่ค้าและและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
โดยระหว่างปี 2555-2556 และปี 2558 มีจานวนโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลางจาก 6 กลุ่มจังหวัด
ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวทุกระดับรวมกันประมาณ 7 ,871 โรงงาน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ
20.05 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือได้ว่ามีความก้าวหน้าอย่าง
ช้าๆ โดยโรงงานที่ได้รับใบรับรองส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและกรุงเทพและ
ปริมณฑล โดยสามารถจาแนกจานวนใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวสะสมของแต่ละระดับได้คือ
 โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 1 จานวนประมาณ 4 ,548 โรงงาน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 11.58 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร
 โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 2 จานวนประมาณ 1 ,969 โรงงาน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 5.01 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร
 โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 3 จานวนประมาณ 1 ,277 โรงงาน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 3.25 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร
 โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 4 จานวนประมาณ 74 โรงงาน และ
 โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 4 จานวนประมาณ 5 โรงงาน
1.2 ความก้าวหน้าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับ
จังหวัด
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ
กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งคณะทางานเพื่อศึกษารูปแบบการ
จัดทาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่อุตสาหกรรมเดิม ได้แก่ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาครและ จ.ระยอง
และจัดทาแผนการยกระดับเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา และ
จ.ปราจีนบุรี โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดาเนินการและได้จัดทา
โครงการภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศดังนี้
1) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ระดับนิคมอุตสาหกรรม (Eco-Industrial Complex)
ดาเนินการในปี 2555 โดยคัดเลือกพื้นที่อุตสาหกรรมนาร่อง 5 พื้นที่ ได้แก่ (1) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์
ศรีราชา จ.ชลบุรี (2) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (3) สวนอุตสาหกรรม 304
อินดัสเตรียลปาร์ค จ.ปราจีนบุรี (4) เขตประกอบการสวนอุตสาหกรรมบริษัทไออาร์พีซี จ.ระยอง และ (5)
ชุมชนอุตสาหกรรมไอ.พี.พี ไทยแลนด์ จ.ระยอง เพื่อจัดทาแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศของแต่ละ
พื้นที่ให้ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริม
ให้พื้นที่อุตสาหกรรมนาร่องดาเนินการตามแผนพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
2) โครงการศึกษาเพื่อจัดทาแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด ดาเนินการในปี 2557
สาหรับ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสงคราม จ.ระยอง จ.ปราจีนบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา โดยได้
4
ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาพเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์และความต้องการพัฒนาของจังหวัด เพื่อเป็นข้อมูล
สาหรับการจัดทาแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมทั้งจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (Eco
Forum) จังหวัดละ 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาปัญหาในแต่ละพื้นที่ เช่น ปัญหาของผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง
จากภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคการค้าและอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน
ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการพัฒนาแผนแม่บทเมือง
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัด
3) โครงการศึกษาจัดทาแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด ดาเนินการในปี 2558 สาหรับ
10 จังหวัด โดยครอบคลุม 6 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ราชบุรี จ.นครปฐม จ.ปทุมธานี
จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.สระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจานวนโรงงานและเงินลงทุนสูงรวมถึงมีศักยภาพใน
การเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรม และจัดทาโครงการตามแผนแม่บทการพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิง
นิเวศประกอบด้วย จ.ระยอง จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ปราจีนบุรี โดยได้
ดาเนินการพัฒนาและปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมให้มีการประกอบกิจการ
ตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โรงงานอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนในการดาเนินงาน โดย
กิจกรรมประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ การทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่
ดาเนินการในปีงบประมาณ 2557 และการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคมในการดาเนินงาน
เข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เช่น การยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
1.3 ความก้าวหน้าการดาเนินงานเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Clean Technology-CT) สาหรับโรงงาน
อุตสาหกรรม
เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด หมายถึงการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้ การ
ใช้วัตถุดิบ พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด
หรือไม่มีเลย จึงเป็นการลดมลพิษที่แหล่งกาเนิด รวมทั้งการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้าและการนากลับมาใช้ใหม่
ซึ่งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมการ
ดาเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับ
ใบรับรองเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดได้รับการยอมรับเทียบเท่าโรงงานที่ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 2 โดยระหว่างปี 2555-255 8 ได้จัดทา 4 โครงการหลัก มีโรงงานเข้าร่วม ทั้ง 4 โครงการรวมทั้งสิ้น
123 โรงงาน ทาให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 1,749,272 ลบ.ม.ต่อปี สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย
ด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66.42 ล้านบาท/ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า
สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 68.70 ล้านบาท/ปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ได้ 3,794,934 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยมีรายละเอียดความก้าวหน้าการดาเนินงานแต่
ละโครงการดังนี้
1) โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม ดาเนินการระหว่างปี 2555-
2558 โดยมุ่งเน้น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ (1) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ (2) อุตสาหกรรมผักและ
ผลไม้บรรจุกระป๋อง (3) อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร (4) อุตสาหกรรมโลหะ และ (5) อุตสาหกรรมแก้ว
มีโรงงานเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 37 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุง
กระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ
5
พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66.42 ล้านบาท/ปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกได้ 3,774,534 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งสามารถจาแนกความก้าวหน้าของ
การดาเนินงานของอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ดังนี้
(1) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ดาเนินการในปี 2555 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ
จานวน 8 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.ปทุมธานีจานวน 2 โรงงาน จ.สมุทรปราการจานวน 2 โรงงาน จ.นนทบุรี
จานวน 2 โรงงาน จ.ชลบุรีจานวน 1 โรงงาน และกรุงเทพมหานครจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงาน
ดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้
สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4 .43 ล้านบาทต่อปี
รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 317,668 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
(2) อุตสาหกรรมผักและผลไม้บรรจุกระป่อง ดาเนินการในปี 2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วม
โครงการจานวน 3 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.กาญจนบุรีจานวน 2 โรงงาน และ จ.ชลบุรีจานวน 1 โรงงาน
ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไป
ปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น
1.29 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 65 ,093 กิโลกรัม
คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
(3) อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ดาเนินการในปี 2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ
จานวน 8 โรงงาน โดยแบ่งออกเป็น จ.สมุทรปราการจานวน 4 โรงงาน จ.สมุทรสาครจานวน 2 โรงงาน
จ.ปทุมธานีและ จ.นครปฐม แห่งละ 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุง
กระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ
พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10.41 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกได้ 1,300,448 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
(4) อุตสาหกรรมโลหะ ดาเนินการในปี 2557 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 9
โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.ปทุมธานีจานวน 2 โรงงาน จ.ระยองจานวน 2 โรงงาน จ.ฉะเชิงเทราจานวน 2 โรงงาน
จ.ปราจีนบุรี จ.สมุทรปราการและ จ.ชลบุรี แห่งละจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือก
เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัด
ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30.96 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถ
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,270,780 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
(5) อุตสาหกรรมแก้ว ดาเนินการในปี 2558 ดาเนินการในโรงงานนาร่องจานวน 9 โรงงาน ประกอบด้วย
จ.นครปฐม 2 โรงงาน จ.สมุทรปราการ 2 โรงงาน จ.ระยอง 2 โรงงาน จ.ฉะเชิงเทรา 1 โรงงาน
จ.พระนครศรีอยุธยา 1 โรงงาน และ จ.สมุทรสาคร 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อ
การปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย
6
ด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19.33 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลด
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 820,545 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
2) โครงการลดมลพิษโรงงานอุตสาหกรรมนอกเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ดาเนินการปี
2555 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 18 โรงงาน ภายหลังโรงงานดังกล่าวนา
ทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถลด
ปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 70,164 ลบ.ม.ต่อเดือน หรือ 814,968 ลบ.ม.ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 12.93 ของ
ปริมาณการใช้น้าทั้งหมด และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30.90
ล้านบาท/ปี
3) โครงการศึกษาศักยภาพในการลดปริมาณการใช้น้าในอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ามาก ดาเนินการระหว่าง
ปี 2555-2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 19 โรงงาน แบ่งออกเป็น
จ.สมุทรปราการจานวน 6 โรงงาน จ.สมุทรสาครและ จ.นครปฐม แห่งละจานวน 3 โรงงาน จ.ชลบุรีและ
จ.ปทุมธานี แห่งละจานวน 2 โรงงาน จ.นนทบุรี จ.สิงห์บุรีและ จ.ประจวบคีรีขันธ์แห่งละจานวน 1 โรงงาน
ภายหลังจากจาก โรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่
สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 934,304 ลบ.ม.ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ
23.50 ของปริมาณการใช้น้าทั้งหมด และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงิน
ทั้งสิ้น 37.80 ล้านบาท/ปี
4) โครงการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้าหลัก ดาเนินการ
ระหว่างปี 2555-2556 ครอบคลุมลุ่มน้าเจ้าพระยา ลุ่มน้าบางปะกง ลุ่มน้าท่าจีน ลุ่มน้าแม่กลองและพื้นที่
ใกล้เคียง มีจานวนโรงงานเข้าร่วมโครงการจานวน 60 โรงงาน โดยมี โรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินและ
รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจานวน 49 โรงงาน พนักงานในโรงงานได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
สิ่งแวดล้อมจานวน 927 คน สามารถลดปริมาณบีโอดี ซีโอดีโหลดและสารแขวนลอย ได้จานวน 348 ตัน/ปี
และสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้จานวน 20,400 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
2.ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลาง มีดังนี้
2.1 การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวหรือการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับโรงงาน
ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ยังขาดความรู้ความเข้าใจและ ความตระหนักใน
ความสาคัญ เพื่อปรับปรุงกิจการที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม้ว่าอาจมีศักยภาพในการปรับปรุง
วิธีการในการบริหารจัดการอย่างง่ายๆให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมัก
ต่อรองกับภาครัฐ เกี่ยวกับมาตรการจูงใจทั้งในด้านการเงินและสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงความพร้อม ด้าน
เทคโนโลยีและเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการประกอบกิจการ ทาให้เป็น
อุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของอุตสาหกรรมสีเขียวที่ตั้งไว้
7
2.2 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับจังหวัด
ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ ความเข้าใจถึงความสาคัญของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ยังมีความไม่
ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการหรือแรงจูงใจที่จะได้รับจากภาครัฐภายหลังการเข้าร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ ขาดการลงทุนตั้งโรงงานเพื่อรับกากของเสียอุตสาหกรรมไปแปรรูเพื่อใช้เป็น
วัตถุดิบสาหรับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆเป็นต้น
2.3 การดาเนินการเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม
 จานวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความสนใจยังมีค่อนข้างจากัดเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมและ
บุคลากรยังขาดความรู้และความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด รวมทั้งมีภาระรับผิดชอบต่องาน
ประจามาก ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นไม่มีนโยบายในการดาเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด
 ขาดการมีส่วนร่วมอย่างสม่าเสมอของบุคลากรในทุกระดับของโรงงานอุตสาหกรรม
 โรงงานที่เข้าร่วมโครงการไม่เปิดเผยข้อมูล
 ขาดแคลนงบประมาณเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่เป้าหมายเทคโนโลยีสะอาด และขาดการ
สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐก็ประสบปัญหา ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน
เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด
 ระยะเวลาการดาเนินงานระหว่างปีงบประมาณสั้น ส่งผลให้ตัวอย่างความสาเร็จของเทคโนโลยีการ
ผลิตที่สะอาดในเชิงรูปธรรมมีน้อย
3.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
3.1 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวระดับโรงงาน
ควรกาหนดแนวทางเชิงรุกเพื่อเพิ่มจานวนโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่
อุตสาหกรรมหลักของภาคกลางให้มากขึ้น และส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินแล้วพัฒนา
กระบวนการผลิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้สามารถยกระดับ (Upgrade) การ
พัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวสู่ระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการการให้คาปรึกษาเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการ
ทุกขนาด การกาหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนที่เน้นกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การแบ่งระดับ
โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดขั้นตอนในการกากับดูแล การส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียว การ
สร้างกระแสความนิยมในการบริโภคสินค้าสีเขียวและการสนับสนุนมาตรการภาษีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
3.2 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับจังหวัด
ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมหลักของภาคกลางให้สอดคล้องกับ
ตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและสร้างเครือข่ายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริม
การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสาคัญของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้แก่
ผู้ประกอบการ สร้างมาตรการหรือแรงจูงใจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ โดย
ผลักดันให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดาเนินการที่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูล
เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรและการบริหารจัดการของเสียร่วมกัน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชนที่
มีการใช้ประโยชน์ของคุณค่าร่วมกัน (Creating Shared Value: CSV) รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามประเมินผล
8
เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินการผ่านศูนย์ประสานงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน
ส่วนกลางและเชื่อมโยงกับศูนย์เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด
3.3 การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด
ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลักของภาคกลางมีการพัฒนาการบริหารจัดการของโรงงาน
ให้เป็นฐานสาหรับการมุ่งไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการ
ผลิตที่ทันสมัยและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้าง/พัฒนาตัวอย่างที่ดี (Best Practices) และ
ถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม ตลอดทั้งส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างเกื้อกูล
รวมทั้งภาครัฐควรสนับสนุนความช่วยเหลือที่จาเป็นต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม เช่น
การฝึกอบรม และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการ การสนับสนุนเครื่องมือ และเครื่องจักรที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด การสนับสนุนการลดมลพิษในโรงงานและการติดตามและประเมินผล
ผลการดาเนินงานเทคโนโลยีสะอาดอย่างต่อเนื่อง
-------------------------------

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560nok Piyaporn
 
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_comment
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_commentเล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_comment
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_commentKitipan Kitbamroong Ph.D. CISA
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfkittithaithana
 
45100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-13534445100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-135344Nuttinee
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์IM_SRWM
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Keng Sangwattu
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Keng Sangwattu
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Keng Sangwattu
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์S'kae Nfc
 
45100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-13534445100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-135344Puripat Duangin
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานGoofy Bec
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์Woraprom Hinmani
 

Semelhante a แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (20)

จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
 
ดร.เจษฎา ชาตรี
ดร.เจษฎา  ชาตรีดร.เจษฎา  ชาตรี
ดร.เจษฎา ชาตรี
 
Fertilizer Service
Fertilizer ServiceFertilizer Service
Fertilizer Service
 
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_comment
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_commentเล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_comment
เล่ม (ร่าง) แผนจัดการมลพิษ ปี 66-70 (22ส.ค.65)_comment
 
1
11
1
 
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdfทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
ทิศทางอุตสาหกรรม4.0.pdf
 
45100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-13534445100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-135344
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
45100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-13534445100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-135344
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Asean project
Asean projectAsean project
Asean project
 
33104657 0 20130621-155311
33104657 0 20130621-15531133104657 0 20130621-155311
33104657 0 20130621-155311
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Asean project
Asean projectAsean project
Asean project
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
AseanProject.pdf
AseanProject.pdfAseanProject.pdf
AseanProject.pdf
 
45100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-13534445100731 0 20130611-135344
45100731 0 20130611-135344
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 

Mais de Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsDr.Choen Krainara
 

Mais de Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

  • 2. 2 แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน พื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ขอบเขตของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมี 4 ระดับคือ -ระดับโรงงาน เข้าสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ GI1 – GI 5 ตามเกณฑ์ของ กระทรวงอุตสาหกรรม -ระดับนิคมอุตสาหกรรม พัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งโรงงาน ชุมชนและหน่วยงานส่วน ท้องถิ่นให้เป็น “นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเครือข่าย”หรือ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” (Eco- Industrial Estate & Networks) • ระดับเมือง ที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่โดยการพัฒนาในด้านต่างๆของท้องถิ่นควบคู่กันไปกับภาคส่วน อุตสาหกรรมซึ่งเป็นหลักในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นหรือเมืองนั้นๆสู่การเป็น “เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม” (Eco-Industrial Town) • ระดับจังหวัด พัฒนาในทุกภาคส่วนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่เกษตรยั่งยืน ประมงยั่งยืน ท่องเที่ยวยั่งยืนและอุตสาหกรรมยั่งยืนเพื่อเป็น“เมืองน่าอยู่เมืองยั่งยืน” (Eco City) 1.ความก้าวหน้าของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีสาระสาคัญดังนี้ 1.1 ความก้าวหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวหรือการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับโรงงาน ในพื้นที่ภาคกลางระหว่างปี 2555-2558 ระหว่างปี 2555-2556 พื้นที่ภาคกลาง 25 จังหวัดรวมกรุงเทพมหานครมีจานวนโรงงานอุตสาหกรรมจาพวกที่ 3 ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ก่อปัญหามลพิษทางราชการต้องควบคุมดูแลและจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการก่อนประกอบการ จานวน 48,723 โรงงาน หากรวมเฉพาะพื้นที่ ทั้งภาคกลางจานวน 25 จังหวัดจะมี โรงงานอุตสาหกรรม จาพวกที่ 3 จานวน 39,255 โรงงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.54 ของจานวนโรงงาน อุตสาหกรรมทั้งพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทาโครงการอุตสาหกรรม สีเขียว(Green Industry: GI) ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2554 จนถึงถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการทางานเชิงรุกโดยมุ่งเน้น ส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดทั้งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มี การประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต่อสังคมเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีภาพลักษณ์ทีดี น่าเชื่อถือและ ประชาชนไว้วางใจ และเกิดการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งจะทาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ (Green GDP) มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็น อุตสาหกรรมสีเขียวใน 5 ระดับ ประกอบด้วย  ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน  ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือการดาเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมได้สาเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้  ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการ ติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่ เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
  • 3. 3  ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือในการ ดาเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ องค์กร  ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่ อุปทานสีเขียวโดยสนับสนุนให้คู่ค้าและและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย โดยระหว่างปี 2555-2556 และปี 2558 มีจานวนโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคกลางจาก 6 กลุ่มจังหวัด ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวทุกระดับรวมกันประมาณ 7 ,871 โรงงาน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20.05 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือได้ว่ามีความก้าวหน้าอย่าง ช้าๆ โดยโรงงานที่ได้รับใบรับรองส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและกรุงเทพและ ปริมณฑล โดยสามารถจาแนกจานวนใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวสะสมของแต่ละระดับได้คือ  โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 1 จานวนประมาณ 4 ,548 โรงงาน หรือคิดเป็น ร้อยละ 11.58 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร  โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 2 จานวนประมาณ 1 ,969 โรงงาน หรือคิดเป็น ร้อยละ 5.01 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร  โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 3 จานวนประมาณ 1 ,277 โรงงาน หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.25 ของจานวนโรงงานทั้งหมดของพื้นที่ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร  โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 4 จานวนประมาณ 74 โรงงาน และ  โรงงานที่ผ่านการประเมินและได้รับใบรับรองระดับ 4 จานวนประมาณ 5 โรงงาน 1.2 ความก้าวหน้าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับ จังหวัด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งคณะทางานเพื่อศึกษารูปแบบการ จัดทาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่อุตสาหกรรมเดิม ได้แก่ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาครและ จ.ระยอง และจัดทาแผนการยกระดับเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ปราจีนบุรี โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดาเนินการและได้จัดทา โครงการภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศดังนี้ 1) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ระดับนิคมอุตสาหกรรม (Eco-Industrial Complex) ดาเนินการในปี 2555 โดยคัดเลือกพื้นที่อุตสาหกรรมนาร่อง 5 พื้นที่ ได้แก่ (1) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จ.ชลบุรี (2) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (3) สวนอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียลปาร์ค จ.ปราจีนบุรี (4) เขตประกอบการสวนอุตสาหกรรมบริษัทไออาร์พีซี จ.ระยอง และ (5) ชุมชนอุตสาหกรรมไอ.พี.พี ไทยแลนด์ จ.ระยอง เพื่อจัดทาแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศของแต่ละ พื้นที่ให้ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริม ให้พื้นที่อุตสาหกรรมนาร่องดาเนินการตามแผนพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 2) โครงการศึกษาเพื่อจัดทาแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด ดาเนินการในปี 2557 สาหรับ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสงคราม จ.ระยอง จ.ปราจีนบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา โดยได้
  • 4. 4 ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์และความต้องการพัฒนาของจังหวัด เพื่อเป็นข้อมูล สาหรับการจัดทาแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมทั้งจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น (Eco Forum) จังหวัดละ 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาปัญหาในแต่ละพื้นที่ เช่น ปัญหาของผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง จากภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคการค้าและอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการพัฒนาแผนแม่บทเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัด 3) โครงการศึกษาจัดทาแผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด ดาเนินการในปี 2558 สาหรับ 10 จังหวัด โดยครอบคลุม 6 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ราชบุรี จ.นครปฐม จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.สระบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจานวนโรงงานและเงินลงทุนสูงรวมถึงมีศักยภาพใน การเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรม และจัดทาโครงการตามแผนแม่บทการพัฒนาเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิง นิเวศประกอบด้วย จ.ระยอง จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ปราจีนบุรี โดยได้ ดาเนินการพัฒนาและปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมให้มีการประกอบกิจการ ตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โรงงานอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนในการดาเนินงาน โดย กิจกรรมประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ การทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ ดาเนินการในปีงบประมาณ 2557 และการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคมในการดาเนินงาน เข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เช่น การยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 1.3 ความก้าวหน้าการดาเนินงานเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Clean Technology-CT) สาหรับโรงงาน อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด หมายถึงการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้ การ ใช้วัตถุดิบ พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย จึงเป็นการลดมลพิษที่แหล่งกาเนิด รวมทั้งการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้าและการนากลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมกัน กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมการ ดาเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับ ใบรับรองเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดได้รับการยอมรับเทียบเท่าโรงงานที่ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 โดยระหว่างปี 2555-255 8 ได้จัดทา 4 โครงการหลัก มีโรงงานเข้าร่วม ทั้ง 4 โครงการรวมทั้งสิ้น 123 โรงงาน ทาให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 1,749,272 ลบ.ม.ต่อปี สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66.42 ล้านบาท/ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 68.70 ล้านบาท/ปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 3,794,934 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยมีรายละเอียดความก้าวหน้าการดาเนินงานแต่ ละโครงการดังนี้ 1) โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม ดาเนินการระหว่างปี 2555- 2558 โดยมุ่งเน้น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ (1) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ (2) อุตสาหกรรมผักและ ผลไม้บรรจุกระป๋อง (3) อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร (4) อุตสาหกรรมโลหะ และ (5) อุตสาหกรรมแก้ว มีโรงงานเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 37 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุง กระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ
  • 5. 5 พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66.42 ล้านบาท/ปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้ 3,774,534 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งสามารถจาแนกความก้าวหน้าของ การดาเนินงานของอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ดังนี้ (1) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ดาเนินการในปี 2555 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ จานวน 8 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.ปทุมธานีจานวน 2 โรงงาน จ.สมุทรปราการจานวน 2 โรงงาน จ.นนทบุรี จานวน 2 โรงงาน จ.ชลบุรีจานวน 1 โรงงาน และกรุงเทพมหานครจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงาน ดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4 .43 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 317,668 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (2) อุตสาหกรรมผักและผลไม้บรรจุกระป่อง ดาเนินการในปี 2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วม โครงการจานวน 3 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.กาญจนบุรีจานวน 2 โรงงาน และ จ.ชลบุรีจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไป ปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1.29 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 65 ,093 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (3) อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ดาเนินการในปี 2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการ จานวน 8 โรงงาน โดยแบ่งออกเป็น จ.สมุทรปราการจานวน 4 โรงงาน จ.สมุทรสาครจานวน 2 โรงงาน จ.ปทุมธานีและ จ.นครปฐม แห่งละ 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุง กระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10.41 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ 1,300,448 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (4) อุตสาหกรรมโลหะ ดาเนินการในปี 2557 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 9 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.ปทุมธานีจานวน 2 โรงงาน จ.ระยองจานวน 2 โรงงาน จ.ฉะเชิงเทราจานวน 2 โรงงาน จ.ปราจีนบุรี จ.สมุทรปราการและ จ.ชลบุรี แห่งละจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือก เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30.96 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,270,780 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (5) อุตสาหกรรมแก้ว ดาเนินการในปี 2558 ดาเนินการในโรงงานนาร่องจานวน 9 โรงงาน ประกอบด้วย จ.นครปฐม 2 โรงงาน จ.สมุทรปราการ 2 โรงงาน จ.ระยอง 2 โรงงาน จ.ฉะเชิงเทรา 1 โรงงาน จ.พระนครศรีอยุธยา 1 โรงงาน และ จ.สมุทรสาคร 1 โรงงาน ภายหลังจากโรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อ การปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย
  • 6. 6 ด้านวัตถุดิบ พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19.33 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสามารถลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 820,545 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 2) โครงการลดมลพิษโรงงานอุตสาหกรรมนอกเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ดาเนินการปี 2555 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 18 โรงงาน ภายหลังโรงงานดังกล่าวนา ทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถลด ปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 70,164 ลบ.ม.ต่อเดือน หรือ 814,968 ลบ.ม.ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 12.93 ของ ปริมาณการใช้น้าทั้งหมด และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30.90 ล้านบาท/ปี 3) โครงการศึกษาศักยภาพในการลดปริมาณการใช้น้าในอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ามาก ดาเนินการระหว่าง ปี 2555-2556 มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการจานวน 19 โรงงาน แบ่งออกเป็น จ.สมุทรปราการจานวน 6 โรงงาน จ.สมุทรสาครและ จ.นครปฐม แห่งละจานวน 3 โรงงาน จ.ชลบุรีและ จ.ปทุมธานี แห่งละจานวน 2 โรงงาน จ.นนทบุรี จ.สิงห์บุรีและ จ.ประจวบคีรีขันธ์แห่งละจานวน 1 โรงงาน ภายหลังจากจาก โรงงานดังกล่าวนาทางเลือกเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตของเทคโนโลยีการผลิตที่ สะอาดไปปฏิบัติจริง ทาให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ารวมทั้งสิ้น 934,304 ลบ.ม.ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 23.50 ของปริมาณการใช้น้าทั้งหมด และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้า สารเคมีและพลังงานรวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 37.80 ล้านบาท/ปี 4) โครงการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้าหลัก ดาเนินการ ระหว่างปี 2555-2556 ครอบคลุมลุ่มน้าเจ้าพระยา ลุ่มน้าบางปะกง ลุ่มน้าท่าจีน ลุ่มน้าแม่กลองและพื้นที่ ใกล้เคียง มีจานวนโรงงานเข้าร่วมโครงการจานวน 60 โรงงาน โดยมี โรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินและ รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจานวน 49 โรงงาน พนักงานในโรงงานได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการ สิ่งแวดล้อมจานวน 927 คน สามารถลดปริมาณบีโอดี ซีโอดีโหลดและสารแขวนลอย ได้จานวน 348 ตัน/ปี และสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้จานวน 20,400 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 2.ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลาง มีดังนี้ 2.1 การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวหรือการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับโรงงาน ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ยังขาดความรู้ความเข้าใจและ ความตระหนักใน ความสาคัญ เพื่อปรับปรุงกิจการที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม้ว่าอาจมีศักยภาพในการปรับปรุง วิธีการในการบริหารจัดการอย่างง่ายๆให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมัก ต่อรองกับภาครัฐ เกี่ยวกับมาตรการจูงใจทั้งในด้านการเงินและสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงความพร้อม ด้าน เทคโนโลยีและเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการประกอบกิจการ ทาให้เป็น อุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของอุตสาหกรรมสีเขียวที่ตั้งไว้
  • 7. 7 2.2 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับจังหวัด ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ ความเข้าใจถึงความสาคัญของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ยังมีความไม่ ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการหรือแรงจูงใจที่จะได้รับจากภาครัฐภายหลังการเข้าร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา อุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ ขาดการลงทุนตั้งโรงงานเพื่อรับกากของเสียอุตสาหกรรมไปแปรรูเพื่อใช้เป็น วัตถุดิบสาหรับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆเป็นต้น 2.3 การดาเนินการเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสาหรับโรงงานอุตสาหกรรม  จานวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความสนใจยังมีค่อนข้างจากัดเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมและ บุคลากรยังขาดความรู้และความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด รวมทั้งมีภาระรับผิดชอบต่องาน ประจามาก ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นไม่มีนโยบายในการดาเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด  ขาดการมีส่วนร่วมอย่างสม่าเสมอของบุคลากรในทุกระดับของโรงงานอุตสาหกรรม  โรงงานที่เข้าร่วมโครงการไม่เปิดเผยข้อมูล  ขาดแคลนงบประมาณเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่เป้าหมายเทคโนโลยีสะอาด และขาดการ สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐก็ประสบปัญหา ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด  ระยะเวลาการดาเนินงานระหว่างปีงบประมาณสั้น ส่งผลให้ตัวอย่างความสาเร็จของเทคโนโลยีการ ผลิตที่สะอาดในเชิงรูปธรรมมีน้อย 3.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 3.1 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวระดับโรงงาน ควรกาหนดแนวทางเชิงรุกเพื่อเพิ่มจานวนโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่ อุตสาหกรรมหลักของภาคกลางให้มากขึ้น และส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินแล้วพัฒนา กระบวนการผลิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้สามารถยกระดับ (Upgrade) การ พัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวสู่ระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการการให้คาปรึกษาเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการ ทุกขนาด การกาหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนที่เน้นกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การแบ่งระดับ โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดขั้นตอนในการกากับดูแล การส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียว การ สร้างกระแสความนิยมในการบริโภคสินค้าสีเขียวและการสนับสนุนมาตรการภาษีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 3.2 การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับนิคมอุตสาหกรรม ระดับเมืองและระดับจังหวัด ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมหลักของภาคกลางให้สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและสร้างเครือข่ายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริม การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสาคัญของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้แก่ ผู้ประกอบการ สร้างมาตรการหรือแรงจูงใจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ โดย ผลักดันให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดาเนินการที่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูล เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรและการบริหารจัดการของเสียร่วมกัน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชนที่ มีการใช้ประโยชน์ของคุณค่าร่วมกัน (Creating Shared Value: CSV) รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามประเมินผล
  • 8. 8 เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินการผ่านศูนย์ประสานงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน ส่วนกลางและเชื่อมโยงกับศูนย์เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับจังหวัด 3.3 การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลักของภาคกลางมีการพัฒนาการบริหารจัดการของโรงงาน ให้เป็นฐานสาหรับการมุ่งไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการ ผลิตที่ทันสมัยและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้าง/พัฒนาตัวอย่างที่ดี (Best Practices) และ ถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม ตลอดทั้งส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างเกื้อกูล รวมทั้งภาครัฐควรสนับสนุนความช่วยเหลือที่จาเป็นต่อการปรับตัวของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การฝึกอบรม และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการ การสนับสนุนเครื่องมือ และเครื่องจักรที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด การสนับสนุนการลดมลพิษในโรงงานและการติดตามและประเมินผล ผลการดาเนินงานเทคโนโลยีสะอาดอย่างต่อเนื่อง -------------------------------