SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 20
Baixar para ler offline
โซเชียลมีเดียกับสังคมไทย
Social Media คืออะไร
 มีเดีย (Media) หมายถึง สื่อหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร
 โซเชียล (Social) หมายถึง สังคม
ในบริบทของโซเชียลมีเดีย โซเชียลมีเดียหมายถึงการแบ่งปันในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งปัน
เนื้อหา ( ไฟล์, รสนิยม, ความคิดเห็น ) หรือปฏิสัมพันธ์ในสังคม (การรวมกันเป็นกลุ่ม) และหมายถึง สื่ออิเล็ก -
ทรอนิกส์ ที่ทาให้ผู้ใช้แสดงความเป็นตัวตนของตนเอง เพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันหรือแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น
(กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว, ม.ป.ป.)
ความสาคัญของโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย
สื่อโซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางที่คนไทยนิยมใช้กันมาก และจากสถิติของ socialbakers.com
พบว่า อัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กของคนไทยมีประมาณ 9% แสดงให้เห็นถึงความสนใจและความนิยมใน
การติดต่อสื่อสารกับสังคมออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกัน
เป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่
อดีต เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้า ผนังกาแพง ผนังวัด ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ใน
วงจากัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโมบายแอปหรือเว็บแอป
ซึ่งออนไลน์อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทาให้ส่งที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลัง
มาก
โซเชียลมีเดียนอกจากจะเป็นช่องทางในการติดต่อกันแล้ว ยังเป็นช่องทางในการศึกษา การช่วยหา
งานและการทางาน และยังมีผลต่อสถาบันทางสังคมในอีกหลายๆด้าน เช่น ด้านครอบครัว สาธารณสุข ศาสนา
และวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์แล้วก็ยังส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกัน
พัฒนาการของโซเชียลมีเดีย
สิ่งที่น่าจับตามองและเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือการเติบโตและพัฒนาการของ
โซเชียลมีเดีย ซึ่งก้าวเข้ามามีบทบาทสาคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารและเครื่องมือในการสร้าง
แบรนด์และโปรโมตสินค้าของนักการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ต่างๆ สืบเนื่องมาจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
ของโมบายโซเชียลมีเดีย ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและสะดวกกว่าในอดีตที่ผ่าน
มา ทาให้เฟซบุ๊ก เว็บไซต์โซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งของโลก คาดการณ์เอาไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อัตราการเติบโต
ของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตจะสูงกว่าอัตราเติบโตของการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) คากล่าว
ของเฟซบุ๊กสอดคล้องกับการประเมินของบริษัทวิจัยไอดีซี ที่เปิดเผยออกมาเมื่อเดือนกันยายนว่า ผู้ใช้งานโมบาย
อินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาจะแซงหน้าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางพีซีภายในปี 2558
ไอดีซี (Internet Data Center :องค์กรที่ให้บริการคุ้มครองเก็บรักษาข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์แก่ลูกค้า)
คาดการณ์ว่าจานวนผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตจะเติบโตด้วยอัตรา 16.6% ต่อปีระหว่างปี 2553-2558 โดย
ผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเลตมากขึ้น จะทาให้จานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนพีซี
คงที่ในช่วงแรกก่อนที่จะค่อยๆ ลดลง เพราะไม่มีความสะดวกสบายเท่าโมบายอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียจึง
เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มิใช่แค่เพียงเพื่อการสื่อสารหรือธุรกิจเท่านั้น ผู้ศึกษาจึงได้ทาการศึกษาอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย
ต่อสังคมว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
กฎหมายการใช้โซเชียลมีเดีย
ในการใช้โซเชียลมีเดียต้องไม่ทาให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อน ในลักษณะเสื่อมเสียชื่อเสียง ดูหมิ่น
หรือปลุกระดมให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรือทาการที่ผิดกฎหมาย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจึงต้องระวังการส่งต่อข้อมูล
สื่อสารที่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และผู้รับสารก็ต้องเสพสารอย่างมีสติ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ความ
น่าสนใจของโซเชียลมีเดียนั้นอยู่ที่การมีอิสระในการแสดงออกทางความคิดเห็น และอาจจะทาให้ผู้อื่นเกิดความ
เสียหายได้ง่าย ซึ่งการจะเอาผิดผู้ที่ทาความเสียหายแก่ผู้อื่นได้นั้น ต้องมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องเรียน และ
ดาเนินการเอาผิดโดยกองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
อิทธิพลและบทบาทของโซเชียลมีเดียที่มีต่อสังคมไทย
1. โซเชียลมีเดียกับครอบครัว
2. โซเชียลมีเดียกับการศึกษา
3. โซเชียลมีเดียกับสาธารณสุข
4. โซเชียลมีเดียกับการทาธุรกิจ
5. โซเชียลมีเดียต่อวัฒนธรรมและศาสนา
6. โซเชียลมีเดียกับการเมืองการปกครอง
1. โซเชียลมีเดียกับครอบครัว
ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้เข้ามามีบทบาทสาคัญต่อการดาเนินชีวิตของคนเรา พื้นฐานการเกิดโซเชียล
มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0
ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บ
พัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า Web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพพลิเคชันหรือ
โปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ จากการ
วิวัฒนาการของโซเชียลมีเดียดังกล่าวทาให้สังคมไทยและสังคมโลกกลายเป็นสังคมก้มหน้า ทั้งกลุ่มเด็กและ
เยาวชน และกลุ่มผู้ใหญ่ต่างก็ให้ความสาคัญกับการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น
1.1 การใช้โซเชียลมีเดียกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว
สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า
โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของมนุษย์เกือบทุกอิริยาบถ และคาดว่าในอนาคตโซเชียลมีเดีย จะมี
อิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งความคิดของผู้คน จน
นาไปสู่การประกอบสร้างตัวตนผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งโซเชียลมีเดียจะมีลักษณะการทางานอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. แยกคนออกจากกัน คือ โซเชียลมีเดียจะเปิดพื้นที่ของความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ทาให้ผู้ใช้งานปลีกตัวออกจาก
กันและกัน และทุกคนก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ ทาให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง 2. โซเชียลมีเดียนาคนเรา
กลับมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากลักษณะแรกแม้ว่าโซเชียลมีเดียจะแยกคนในสังคม หรือครอบครัวออก
จากกันแต่ตามธรรมชาติของมนุษย์คือการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและมีการปฏิสัมพันธ์กัน การนาคนเรากลับมาอยู่
ด้วยกันของโซเชียลมีเดียจึงเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
1.2 ความสัมพันธ์ในทางบวก
การใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์ถูกนามาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและแลกเปลี่ยน
รูปภาพระหว่างกัน จากผลการสารวจของ Microsoft พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะใช้
ช่วงเวลาในวันหยุด เพื่อติดต่อสื่อสาร กับคนในครอบครัว โดยร้อยละ 51 กาหนดไว้ที่ 15 – 30 นาทีต่อวัน และ
อีกร้อยละ 14 กาหนดไว้ที่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนผลสารวจต่อคาถามเรื่องข้อมูลที่ต้องการแลกเปลี่ยน ร้อยละ 45
ตอบว่าภาพถ่าย โดยผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ตอบว่าจะอัพเดทสถานะในโซเชียลมีเดีย
เป็นประจาเพื่อแลกเปลี่ยนความเป็นไปกับคนในครอบครัว (ไทยรัฐออนไลน์, 2555)
จะเห็นได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์กลายมาเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน
ครอบครัว ซึ่งคนส่วนใหญ่มั่นใจว่าสื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียช่วยให้สามารถติดต่อกันได้ดีขึ้น สิ่งที่เห็นได้คือ
คนทุกวัยในครอบครัว ตั้งแต่รุ่นเด็กจนถึงรุ่นผู้สูงอายุเห็นว่า การนาเทคโนโลยีมาใช้งานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
1.3 ความสัมพันธ์ในทางลบ
คนเรามักใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นติดงอมแงม พฤติกรรมการเสพติดโซเชียล
มีเดียนี้ทาให้การปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมลดลงอย่างเห็นได้ชัด และความสัมพันธ์ในระดับครอบครัวก็ลดลงตาม
ไปด้วย โลกของโซเชียลมีเดียทาให้คนเห็นว่าเรื่องส่วนตัวสาคัญกว่าเรื่องอื่นๆ ต่างคนต่างก้มหน้าใช้โซเชียลมีเดีย
ผลกระทบที่ตามมาก็คือ มนุษยสัมพันธ์หายไป การที่จะสื่อสารด้วยอารมณ์ ความรู้สึกก็จะน้อยลง กลายเป็น
คาพูดน้อย คาพิมพ์มากขึ้น
ข้อมูลของสานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เผยผลสารวจว่า ชีวิต
ของเด็กไทยใน 1 วัน จะเริ่มตื่นนอนตั้งแต่เวลา 06.18 น. และเข้านอน 22.21 น.วันหยุดจะเข้านอนดึกกว่าวัน
ธรรมดาเวลาประมาณ 23.30 น.เฉลี่ยเด็กไทยมีเวลานอน 7-8 ชั่วโมง สิ่งที่น่าสนใจ คือ สิ่งแรกที่ทาก่อนเวลานอน
และหลังเวลาตื่นคือการใช้โทรศัพท์มือถือ และสิ่งสุดท้ายที่เด็กร้อยละ 35 ทาก่อนนอนคือการใช้โทรศัพท์มือถือ
เพราะในโทรศัพท์มือถือมีทุกอย่างที่เด็กต้องการ สสค. ยังระบุอีกว่า เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่นโซเชียลมีเดีย
โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ไลน์บ่อยจนถึงประจา (จิราณี ทิศรีชัย, ม.ป.ป.) จากพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของเด็กและ
เยาวชนจะส่งผลให้การปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลงและการปลีกตัวออกจากครอบครัวก็จะเพิ่ม
มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า เด็กยุคใหม่ถูกเลี้ยงดูด้วยมือถือและอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งตรงนี้เปรียบเสมือนดาบ
สองคม คุณประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าเทียมกัน การดูแลเด็กและเยาวชนในยุค
ของโซเชียลมีเดียจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสาหรับผู้ปกครองหลายคน
2. โซเชียลมีเดียกับการศึกษา
โซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคม เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่บูรณาการด้านเนื้อหาและการถ่ายทอด
โดยวิธีการที่หลากหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เหมาะสมกับพฤตกรรมของผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายทาง
วัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้โซเชียลมีเดียจึงเป็นการสื่อสารที่ข้ามมิติทางสังคม จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกใน
เวลาอันรวดเร็ว
เนื่องจากการที่โซเชียลมีเดียเป็นการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยวิธีการที่หลากหลายซึ่งมีจุดเริ่มต้นเพื่อ
ใช้ในการบันเทิง ในการติดต่อสื่อสาร เมื่อได้รับความนิยมเป็นจานวนมากจนกลายเป็นสังคมขนาดใหญ่เทียบเท่าได้กับ
ประเทศที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบกับขนาดประชากร (รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน) โซเชียลมีเดียจึง
เปรียบเสมือนเป็นสังคมหนึ่งที่มีการติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดนและเสรีจึงเรียกอีกชื่อว่า “สังคมเสมือนจริง”
เมื่อโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจึงขยายขอบเขตจากเพื่อใช้ในการบันเทิงและสื่อสาร เป็น
พื้นฐานของการติดต่อสื่อสารของคนในสังคมเป็นวงกว้าง ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียจึงขยายเป็นวงกว้าง และมีบทบาท
สาคัญต่อด้านต่างๆ รวมถึงการศึกษาด้วย
เทคโนโลยี 2.0 ซึ่งเป็นพื้นฐานของโซเชียลมีเดียนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษาและการเรียนรู้โดยการ
ผสมผสานปรัชญาการเรียนรู้ 3 ปรัชญาใหญ่เข้าด้วยกัน คือ ปรัชญาพฤติกรรมนิยม ปรัชญาพฤติกรรมนิยม และ
ปรัชญาสรรคนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาใหม่คือ “ปรัชญาการเชื่อมโยง” หรือ “ปรัชญาของสื่อโซเชียลมีเดีย” ซึ่งเป็น
การเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างกันของปัจจัยต่างๆ โดยแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการ
เชื่อโยงข้อมูลที่หลากหลาย มีการพัฒนาและสั่งสมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงในปัจจุบันเป็นจุดเน้นของ
การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นจากพลังความคิดของ
มนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง (สุรศักดิ์ ปาเฮ, ม.ป.ป.)
ด้วยเหตุที่โซเชียลมีเดียมีส่วนสาคัญที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้และเป็นการจากัดช่องทางให้
เหมาะสมกับผู้เรียนจึงมีการนาโซเชียลมีเดียเข้ามาสู่หลักสูตรและการสอน ซึ่งมีด้วยการหลายประเภทคือ สิ่งตีพิมพ์ เช่น
วิกิพิเดีย บล็อก เว็บที่สามารถโพสต์ข่าวหรือข้อความ เป็นต้น การแบ่งปัน เช่น วิดีโอ ลิงก์ ภาพ ดนตรี เป็นต้น การ
อภิปราย เครื่องข่ายสังคม สิ่งพิมพ์ไม่โครบล็อก และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากโซเชีลมีเดียหลายแหล่งเข้าด้วยกัน
โซเซียลมีเดียนั้นเมื่อนามาใช้ในการจัดการศึกษาแล้วเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
และการสอนของครู ดังนี้
1. สร้างศักยภาพทางการสื่อสาร
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา
3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การทางานร่วมกัน การ
ช่วยเหลือ
4. เสริมสร้างทักษะการรู้อย่างมีวิจารณญาณ คือ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการรับสารในยุคที่มีความ
หลากหลายของข้อมูล
5. เสริมสร้างสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล การอ่าน การเขียน การมองเห็น
6. เสริมสร้างเจตคติและแรงจูงใจ เช่น การควบคุมตนเอง ความพยายามในการเรียนรู้
7. การบริหารจัดการการศึกษา เช่น การวางการสอน การสั่งและส่งงาน การขอคาปรึกษา การวัดประเมินผล
การสื่อสารกับผู้ปกครอง ไม่ต้องพึงห้องเรียนปกติ เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เป็นต้น
จะเห็นว่าประโยชน์ของโซเชียลมีเดียที่มีต่อการศึกษาข้างต้นนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากการคาดเดาผลที่
อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการนาโซเชียลมีเดียมาใช้เท่านั้น และคุณประโยชน์ในแต่ละข้อนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามีความ
เสี่ยงที่จะเกิดเป็นผลเสียมากกว่า อาทิ การเสริมสร้างทักษะการรู้อย่างวิจารณญาณนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะเป็น
ทักษะที่จะต้องประกอบด้วยทักษะอื่นอีกหลายทักษะ การที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดทักษะนี้ได้นั้นจะต้องอาศัยการปลูกฝัง
และการฝึกฝนอยู่เสมอ การใช้โซเชียลมีเดียช่วยในการจัดการศึกษานั้นอาจทาให้ผู้เรียนเกิดทักษะดังกล่าวได้แต่จะต้อง
ได้รับการแนะนาจากผู้สอนอย่างต่อเนื่อง และฝึกฝนเป็นประจา ซึ่งแสดงว่าผู้สอนจะต้องทางานหนักมากขั้น และหากไม่
ทาดังกล่าวมานี้ผู้เรียนก็อาจจะไม่เกิดทักษะการรู้อย่างวิจารณญาณและทาให้เกิดการเสพข่าวแบบ “พวกใครพวกมัน” ได้
ประโยชน์ข้อต่อมาคือโซเชียลมีเดียส่งเสริมสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล เสริมสมรรถนะในการเขียน
การมองเห็น ซึ่งจากประสบการณ์ในการสังเกตการเรียนการสอนของผู้เขียนนั้นเห็นว่าหลังจากที่มีการนาโซเชียลมีเดีย
เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนแล้วนั้นปัญหาที่ตามมาเป็นอันดับต้นๆ คือ ผู้เรียนอ่านและเขียนไม่ได้ ทั้งนี้
เนื่องจากว่า การเรียนการสอนนั้นเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่ครูจัดหาให้แต่ด้วยธรรมชาติของผู้เรียนซึ่ง
เป็นเด็ก ความสนใจจึงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาสาระหรือการฝึกฝน แต่จะให้ความสาคัญกับสิ่งอื่น เช่น เกมคอมพิวเตอร์
สังคมออนไลน์ วีดิโอ เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้ผ่านสื่อในโซเชียลมีเดียนั้นก็ไม่ได้เป็นการฝึกทักษะการอ่านและเขียนอันเป็น
พื้นฐานของการเรียนรู้ในวิชาอื่น จึงทาให้ผู้เรียนมีปัญหาในการใช้ภาษาตามมา เช่น เขียนไม่ได้เขียนไม่ถูกต้อง อ่านไม่
คล่อง ไม่ชอบอ่านเนื้อหาขนาดยาว สมาธิสั้น ไม่ตั้งใจเรียน เป็นต้น ฉะนั้นสาหรับประโยชน์ในข้อนี้จึงต้องมีการพิจารณา
ใหม่ว่าแท้จริงแล้วคือประโยชน์ของการนาโซเชียลมาใช้ในการจัดการศึกษาหรือไม่
ปัญหาของการนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้นโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่การจัดการเรียนการ
สอนของครูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการทางการศึกษาที่ใช้โซเชียลมีเดีย เพราะครูโดยส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่
คุ้ยเคยกับการสอนแบบเดิมและบางท่านเองก็ไม่สามารถใช้งานสื่อสังคมเหล่านี้ได้จึงทาให้มีปัญหาในการสอนและการ
นาไปใช้ไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร หรือกลายเป็นผลเสียไป
แต่สาหรับโรงเรียนที่เชื่อว่าการนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในการศึกษาแล้วจะเกิดผลดีตามมาและเชื่อว่าสามารถ
บริหารจัดการได้เหมาะสมก็มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อโซเชียลมีเดียเต็มรูปแบบ เช่น โรงเรียนสางที่นาโซเชียล
มีเดียเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการจัดการได้เหมาะสมจึงทาให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้และมีทักษะอันเป็นประโยชน์ ยังผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย จึงทาให้โรงเรียนสางกลายเป็น
โรงเรียนต้นแบบในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการจัดการศึกษาของภาคเหนือ
ไม่ใช่แต่เพียงการจัดการศึกษาในผู้เรียนเท่านั้นที่นาสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย การพัฒนาครูก็ได้นาแนวคิดนี้
เข้ามาใช้ด้วยนั่นก็คือการมีโทรทัศน์ครู ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านศาสตร์การสอน เทคนิควิธีการสอนที่เป็น
ประโยชน์ให้กับครูที่ห่างไกลหรือผู้ที่สนใจในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ครูได้เกิดการพัฒนาวิธีการสอนของตนเอง
อันจะเป็นการพัฒนาผู้เรียนด้วย
อาจารย์อรภัค สุวรรณภักดี (อ้างใน ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง และ อรปวีณ์ บัวชู, 2553) หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน
โซเชียลมีเดีย ในเมืองไทย อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ก่อตั้ง MIT OCW Club Thailand &
Free Education ได้แสดงทัศนะไว้ว่า
“โซเชียล เทคโนโลยี ทาให้ข้อมูลทางการศึกษาถูกกระจายไปทั่วโลก การศึกษาจะไม่
ถูกจากัดอยู่แค่ในหนังสือ ในห้องเรียน แต่อยู่ทุกที่...ที่มีอุปกรณ์ดิจิตอล มีอินเทอร์เน็ต เข้าถึง
อินเทอร์เน็ตได้....ที่นั่นมีการศึกษา”
จากทัศนะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในมุมมองของอาจารย์อรภัคนั้นที่ใดที่มีอุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่
นั่นจะสามารถรับรู้ข่าวสารได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงว่าเกิดความเหลื่อมล้าหรือความไม่เท่าเทียมในการรับข้อมูลข่าวสาร
ของคนในสังคมไทย หรือความไม่เท่าเทียมของชาติที่พัฒนาแล้วกับยังไม่พัฒนา ซึ่งในที่นี้จะพิจารณาด้านการศึกษาของ
ไทยเท่านั้น
ในสังคมไทยประชากรโดยส่วนใหญ่ (80 %) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการ
เข้าถึงข้อมูล การรับรู้ข่าวสารโดยส่วนใหญ่จึงจากัดและการรับข่าวสารก็จะเป็นไปในรูปแบบ “พวกใครพวกมัน” นั่นคือ
บริโภคข่าวสารด้านเดียวหรือจากสื่อเดียวไม่มีความหลากหลาย จึงไม่มีการวิเคราะห์ข่าวนั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการ
นาเสนอข่าวด้านเดียวของสื่อมวลชนตามมา ซึ่งลักษณะการสื่อสารเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงกับผู้ใหญ่เท่านั้นแม้แต่เด็ก
ในวัยเรียนก็มีการสื่อสารในลักษณะนี้เกิดขึ้นด้วย
ลักษณะการสื่อสารในยุคทีเรียกว่า “การระบิดของข้อมูล” นี้ ทาให้เด็กในพื้นที่ที่ห่างไกลและไม่มีอุปกรณ์ใน
การเข้าถึงข้อมูลเกิดการเสียโอกาสหลายประการ เห็นได้ชัดเจนจากโอกาสในการศึกษาต่อ จากประสบการณ์ในการแนะ
แนวการศึกษาต่อแก่นักเรียนในพื้นที่ชนบทของผู้เขียนทาให้ทราบว่าการที่เด็กในชนบทไม่นิยมศึกษาต่อนั้นเกิดจากการ
ไม่รับรู้ข่าวสาร หรือข่าวสารไปถึงพื้นที่ล่าช้า เพราะการประกาศรับสมัครเรียนต่อหรือดาเนินการต่างๆ จะทาผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมด จึงทาให้หลายครั้งที่เสียโอกาสไป
การขาดโอกาสดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในยุคที่ยังไม่พร้อมเท่านั้น เพราะการ
เรียนรู้ในแนวคิดนี้เหมาสาหรับโรงเรียนที่มีความพร้อม และโรงเรียนที่สามารถทาได้ก็จะพัฒนาผู้เรียนได้ดี ในขณะที่
โรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นแบบเดิม ยิ่งทาให้เกิดการเหลื่อมล้าทางการเรียนรู้ของ
เด็กมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นอยู่ นั่นคือการศึกษาไทยไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นหากจะมีการนาโซเชียลมีเดีย
เข้ามาใช้จัดการศึกษาอย่างจริงจังทั้งประเทศแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความพร้อมในหลายๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัว
ผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน จะได้ไม่เกิดความล้มเหลวดังเช่นโครงการแทบเลทที่เพิ่งล้มเหลวเมื่อไม่นานมานี้
3. โซเชียลมีเดียกับสาธารณสุข
การนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในทางสารธารณสุขเทื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการแพทย์และการพัฒนา
สุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้น ดังนี้
3.1 การใช้โซเซียลมีเดียกับการแพทย์ในปัจจุบัน
1.1 ใช้เทคโนโลยีในเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง CDMA2000 EV-DO เพื่อส่งเสริมการให้บริการ
ทางด้านการแพทย์และการรักษาในกรณีเจ็บป่วยรุนแรงอย่างทันท่วงที การให้บริการทางการแพทย์ด้วยบริการสื่อสาร
ไร้สาย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลและสถานีอนามัยขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยแพทย์ทั่วประเทศจะสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยมีกระบวนการให้บริการเบื้องต้น คือ ให้ผู้ป่วยกับแพทย์นั่งหน้าเว็บแคม มี
เจ้าหน้าที่สอบถามอาการผู้ป่วยโดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่อยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดฟังการสนทนาและดูบาดแผลหรือ
อาการของผู้ป่วย หากพบว่ามีอาการรุนแรงก็จะสามารส่งทันท่วงที (3G สาหรับการแพทย์ในชนบท, 2557)
1.2 การให้บริการเกี่ยวกับการตรวจสิทธิและการให้บริการทางสุขภาพ ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้นา
ระบบสารสนเทศไร้สายหรือโซเชียลมีเดียมาใช้ในการจัดข้อมูลและให้บริการต่าง ๆ (พรรณี ศรียุทธศักดิ์, 2542) เช่น
การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล การจัดระบบข้อมูลผู้ป่วย การถ่ายทอดความรู้และงานวิจัย เป็นต้น
1.3 การปรึกษาปัญหาทางสุขภาพผ่านทางออนไลน์
3.2 ข้อประโยชน์ – ข้อโทษการใช้โซเซียลมีเดียกับการแพทย์
ในการใช้โซเชียลมีเดียเกี่ยวกับสุขภาพมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งจะสามารถแบ่งได้ดังนี้
ข้อประโยชน์
1. แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย นอกจากนี้แพทย์เองยังสามารถแลกเปลี่ยน
ข้อมูลกันเองได้ภายได้การให้บริการของโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วทาให้สดอาการและรักษาอาการของ
ผู้ป่วยได้ทันท่วงที
2. ตรวจสอบสิทธิและการบริการสาธารณสุข ซึ่งสามารถออนไลน์ข้อมูลฐานระบบของ
ผู้ป่วยให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศได้และง่ายต่อการตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง
ข้อโทษ
การใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากจนเกินไปอาจทาให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต จาก
ผลการวิจัยพบว่า การรับสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นจะได้รับผลเสียเมื่อเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ไม่ว่าจะด้านไหนก็จะทาให้
เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตในด้านบันเทิงเพื่อคลาย
เครียด แต่ในบางกรณีกลับพบว่า วิธีแก้ปัญหาแบบนั้นจะทาให้ติดและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน
หรือปัญหาสุขภาพ ในบางครั้งถึงกลับเกิดอาการกระวนกระวายเมื่อไม่ได้เล่น (ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏและนอัจศรา
ประเสริฐสิน, 2552)
จะเห็นได้ว่า การใช้โซเชียลมีเดียในทางการแพทย์ทาให้เกิดความสะดวกและความแม่นยาในการรักษามาก
ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นลดการสูญเสียที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
4. โซเชียลมีเดียกับการทาธุรกิจ
เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญในการดาเนินชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นแหล่ง
รวมกลุ่มของผู้คนในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชนเสมือนจริงซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มคนที่อยู่
ในแวดวงเดียวกัน หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งต่างๆร่วมกันหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเครือข่ายสังคมออนไลน์มัก
ถูกใช้เป็นแหล่งพบปะติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนๆหรือคนรู้จักหรือแม้แต่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะในการแบ่งปันข้อมูล
ต่างๆให้กับผู้คนที่อยู่ในชุมชนโดยผู้คนในชุมชนสามารถทากิจกรรมต่างๆทั้งเพื่อการศึกษาธุรกิจและความบันเทิงร่วมกัน
ได้
ในการทาธุรกิจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียนั้น มิได้หมายถึงแค่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึง
การให้บริการด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจความบันเทิง การทาประกันชีวิต ฯลฯ ที่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารและ
ประชาสัมพันธ์กันระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับการบริการที่สะดวกและครบครันทั้งสองฝ่าย จาก
ลักษณะความสัมพันธ์เชิงสังคมดังกล่าว ทาให้ธุรกิจต่างๆในปัจจุบันหันมาใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่ง
ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับลูกค้ามากขึ้นและองค์กรปัจจุบันต่างตื่นตัวนาเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารการตลาดมากขึ้น
4.1 การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง(Social media maketing)เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง
สาหรับติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยใช้หลักการด้านโฆษณา,ด้านประชาสัมพันธ์,ด้านการขายและอื่นๆผ่านผู้
ให้บริการด้านโซเชียลมีเดียต่างๆเช่นเฟสบุ๊ค(Facebook),ทวิตเตอร์ (Twitter),ยูทูบ (Youtube),ฟลิคเกอร์(Flickrs)
และอื่นๆเพราะมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับต้นทุนในการทาการตลาดผ่านทางสื่อแบบดั้งเดิม
อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) คือการปรับกระบวนการทางธุรกิจหรือการค้า จากรูปแบบดั้งเดิมให้ทันสมัยมาก
ขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการกับข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล เครื่องมือที่ใช้เป็น
เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยในการส่งข้อมูลและนาเสนอข้อมูล ซึ่งทาให้ลดค่าใช้จ่ายสาหรับผู้ประการในต้นทุน
การผลิต เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน
ในสื่อออนไลน์ทาให้ทราบจานวนผู้เข้าชม Website ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งทาให้
ผู้ประกอบการสามารถวางแผนได้ว่า ในช่วงวันหรือเวลาใดที่มีผู้นิยมเข้ามาชมสินค้า เพื่อที่จะอัพเดตรายการขายต่างๆ
หรือจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลานั้นๆเพื่อทาการโปรโมตสินค้าและบริการ
ในสื่อออนไลน์บางสื่อ สามารถบอกได้ว่าผู้เข้ามาชมสินค้านั้นมาจากประเทศใด โดยตรวจสอบได้จาก
บราวเซอร์และระบบปฏิบัติการ ซึ่งบางครั้งพบว่าการทาธุรกิจผ่านทาง social media นั้น ทาให้ได้ลูกค้าที่เป็น
ชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้าสามารถรับชมสินค้าได้จากทั่วโลกอย่างง่ายดายด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
มากกว่าอดีตที่ผ่านมา
การโปรโมตสินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมอีกวิธีการหนึ่งคือ การใช้กลยุทธ์ของการบอกต่อ ทั้งวิธีการ
บอกต่อจากคนรู้จักและวิธีการบอกต่อด้วยการสร้างปุ่มคลิกหรือลิงค์ สาหรับการบอกต่อเมื่อคลิกแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น
ต่อมาคือเป็นแบบฟอร์มให้กรอกอีเมลล์แอดเดรสบุคคลที่เราต้องการส่งข่าวสารไปให้ เมื่อกรอกเสร็จก็ทาการคลิกปุ่ม
เพื่อส่งข่าวสารไปบอกบุคคลที่ต้องการให้ทราบว่า เว็บไซต์แห่งนี้มีบริการที่น่าสนใจ อยากให้เข้ามาชม เป็นต้น
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการบอกต่อได้แก่ เว็บไซต์ของ News.com http://www.news.com
ปัจจุบันรูปแบบหลักในการทาการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีดังนี้
1. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่
เมื่อชอบในสินค้าใดแล้วก็จะเป็นสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ของสินค้านั้นและคอยติดตามข่าวสารต่างๆของ
สินค้าผ่านทางช่องทางดังกล่าวจึงทาให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันหันมาสื่อสารถึงสินค้าหรือบริการต่างๆผ่านช่องทาง
ดังกล่าวมากขึ้นโดยถ้าผู้บริโภคชอบหรือสนใจในสินค้าหรือบริการก็จะเกิดการบอกต่อในสังคมออนไลน์ของตนซึ่งจะ
เป็นไปในลักษณะเพื่อนบอกเพื่อนจึงทาให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผลได้ง่ายกว่าการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์โดยตรง
เช่น ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในการส่งต่อข้อมูลคือ Facebook ที่มีการแบ่งปันข้อมูลของสินค้า ด้วย
วิธีการสร้างหน้าเพจของตนเอง โดยวิธีการนี้เป็นแนวทางในการกาหนดทิศทางของการทาการตลาดคือ เมื่อหน้าเพจเป็น
ที่รู้จักของคนในสังคมออนไลน์มากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะสร้าง Website ของตนเองขึ้นมา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล
สินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
2. ใช้เป็นช่องทางในการสอบถามความคิดเห็นด้วยลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นพื้นที่ที่
สมาชิกสามารเขียนข้อความรูปภาพหรือวีดีโอเพื่อให้เพื่อนๆมาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันทาให้มีผู้ประกอบการ
หันมาใช้ช่องทางดังกล่าวในการสารวจตลาดและสอบถามหรือรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าหรือ
บริการเพื่อนามาปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
3. ใช้เป็นช่องทางการจัดกิจกรรมทางการตลาดจากฐานสมาชิกที่กว้างขวางของเครือข่ายสังคม
ออนไลน์และลักษณะของสมาชิกที่อยู่ในรูปแบบชุมชนที่มีภูมิหลังหรือความสนใจในลักษณะเดียวกันทาให้การจัด
กิจกรรมทางการตลาดต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรงเช่นการทากิจกรรมส่งผ่านข้อความ
เกี่ยวกับข้อดีของสินค้าหรือบริการที่ออกใหม่ให้แก่เพื่อนๆ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตนโดยผู้ที่สามารถบอก
กล่าวถึงข้อดีและส่งผ่านข้อความดังกล่าวได้มากที่สุดจะได้รับคูปองส่วนลดสาหรับสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งกิจกรรม
ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการที่ออกใหม่แล้วแต่ยังเป็นวิธีการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
นั้นๆที่มีประสิทธิผลด้วยเนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความเชื่อถือในโฆษณาเกี่ยวกับข้อดีของสินค้าหรือบริการที่มา
จากผู้ประกอบการโดยตรงนั้นน้อยลงต่างจากการบอกกล่าวโดยตรงจากผู้คนในชุมชนออนไลน์โดยตรงซึ่งมีอิทธิพลต่อ
ความสนใจในสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคมากกว่า
จุดแข็ง- จุดอ่อน- โอกาส - อุปสรรค ของธุรกิจที่ประยุกต์ใช้การตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
Strengths: จุดแข็ง
- ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก และสามารถวัดผลได้ จากสถิต
ของผู้เป็นสมาชิกในชุมชนออนไลน์ และการเข้าเยี่ยมชม
หรือร่วมกิจกรรม
- ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
เยี่ยมชมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟนแท็บ
Weaknesses : จุดอ่อน
- กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์
ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งแม้ว่าจะ
มีการเติบโตสูงแต่ยังมีจานวนไม่มาก เมื่อเทียบกับ
จานวนผู้บริโภคในช่องทางสื่อสารการตลาด
แบบเดิม
เล็ต เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
-ช่องทางการตลาดเน้นความทันสมัย และความคิด
สร้างสรรค์ เหมาะสาหรับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีกาลังซื้อ
สูง
- สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และติดต่อสื่อสาร
รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นได้โดยตรง
- ผู้ประกอบการที่ยังขาดความชานาญในช่อง
ทางการสื่อสารสมัยใหม่ อาจต้องมีต้นทุนส่วนเพิ่ม
ในการจ้างบุคลากรในสายงานที่มีความชานาญเข้า
มาปฏิบัติงาน
- ธุรกิจอาจไม่สามารถควบคุมการแสดงความ
คิดเห็นในแง่ลบต่อสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีผลต่อ
ภาพลักษณ์ของธุรกิจได้
- ธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังในการสื่อสารอย่าง
มาก เนื่องจากเป็นการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์
ซึ่งสามารถส่งสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหาก
สื่อสารผิดพลาดจนสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อน
ให้กับผู้บริโภค อาจแก้ไขได้ยากลาบาก
Opportunities : โอกาส
- จากการขยายตัวของเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงไร้สาย
3G ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และ
เข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ง่ายและบ่อยขึ้น
- เนื่องจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังคงเป็นช่องทาง
การตลาดรูปแบบใหม่ของธุรกิจในไทย จึงยังคงมีคู่แข่งที่
ใช้ช่องทางดังกล่าวในปริมาณไม่มากนัก จึงนับเป็นโอกาสที่
ดีสาหรับผู้ประกอบการที่สามารถจะเข้ามาพัฒนาช่องทาง
การตลาดที่เข้าถึงและสร้างฐานสมาชิกได้ก่อน พร้อมทั้ง
สร้างความได้เปรียบในสื่อดิจิตอลยุคใหม่นี้
Threats : อุปสรรค
- เทคโนโลยีและรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคใน
การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทาให้ผู้ประกอบการที่
ขาดประสบการณ์ด้านการตลาดที่สอดรับกับ
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ไม่
สามารถตามกระแสความต้องการของตลาดได้ทัน
ทาให้เข้าถึงลูกค้าได้ช้ากว่าคู่แข่ง
- ต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสบการณ์และความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งมีจานวนไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน หรือมีต้นทุน
ค่าจ้างแรงงานที่สูง
ข้อพึงระวังในการทาการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทางการตลาดเป็นเหมือนดาบสองคม ซึ่งอาจส่งผลในทางลบต่อผู้ประกอบการได้
ซึ่งผู้ประกอบการควรพึงระวังในประเด็นต่างๆ ดังนี้
 อย่ามุ่งการขายสินค้าหรือบริการมากจนเกินไป เพราะการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคนอกจากจะเป็นการขาย
สินค้าและบริการแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าด้วย การนาเสนอสินค้าหรือบริการมาก
เกินไปอาจสร้างความราคาญให้แก่ผู้บริโภค อาจจะทาให้ผู้บริโภคยกเลิกการเป็นสมาชิกในที่สุด
ดังนั้น การเชิญชวนผู้บริโภคจึงต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมการบริโภคและช่วงระยะเวลาในการสื่อสารกับ
ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจใช้บริการ
 รู้ข้อจากัดของตนเอง เพราะการทากิจกรรมส่งเสริมการตลาดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์มักจะส่งผลในวงกว้าง
สู่ผู้บริโภคจานวนมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรประเมินความสามารถของตนเองในการทาตามสัญญาใน
กิจกรรมทางการตลาด เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาเพราะขาดการเตรียมความพร้อม
 ตอบปัญหาให้ผู้บริโภคอย่างทันท่วงที เมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาและแจ้งผ่านทางสื่อออนไลน์ ผู้ประกอบการ
ต้องตอบปัญหาอย่างทันท่วงทีเมื่อรับทราบปัญหานั้นแล้ว เพื่อสร้างความสบายใจแก่ผู้บริโภค เพราะ
ไม่เช่นนั้น อาจจะทาให้ผู้บริโภคไม่พอใจและยกเลิกการเป็นสมาชิกในที่สุด
กลุ่มผู้ศึกษามองว่า จุดเด่นสาคัญในการทาการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ การเข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อเชื่อมโยงสู่ยอดขายสินค้าหรือบริการที่มากขึ้น ทาให้ธุรกิจขยายออกไปในวง
กว้างอย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการทาธุรกิจผ่านสังคมออนไลน์แล้ว ทาให้ผู้ศึกษาเห็นด้วยกับ
วิธีการทาธุรกิจทางสื่อสังคมออนไลน์ เพราะช่องทางสื่อออนไลน์นั้นทาให้การทาธุรกิจมีความสะดวกสบาย
มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีการประชาสัมพันธ์
ผ่านทางสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลาย เพราะข้อมูลมีความใหม่และปรับให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ทาให้ได้รับ
ความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งยังมีผลการสารวจมุมมองของผู้บริโภคจาก
การใช้งานอินเทอร์เน็ตว่ามีการใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อเป็นช่องทางที่ช่วยในการตัดสินใจก่อนซื้อสินค้า จึงเป็น
การยืนยันถึงบทบาทของสื่อออนไลน์ในการทาการตลาดได้เป็นอย่างดี
อาจจะกล่าวได้ว่าการตลาดโซเชียลมีเดียไม่มีสูตรสาเร็จตายตัวก็คงไม่ผิดนัก แม้ว่าเราจะมีโอกาสได้
ศึกษาตัวอย่างมากมายจากต่างประเทศ แต่นั่นมิได้หมายความว่า จะหยิบยืมมาใช้แล้วสาเร็จอย่างต้นแบบ
เสมอไป เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก สภาวะการแข่งขันของธุรกิจก็เริ่ม
รุนแรง มีการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจโต้ตอบกันตลอดเวลา ทั้งในแง่ของตัวสินค้า บริการ และการสื่อสารการตลาด
ในการทาธุรกิจผ่านทางสื่อออนไลน์นั้นจึงมีความเสี่ยง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะอาจ
เกิดการโจรกรรมข้อมูลและการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จข้อมูลที่ปรากฏในสื่อออนไลน์จึงมีทั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ
ไม่น่าเชื่อถือ ในการทาการตลาดผ่านทางสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อมและเลือก
วิธีการทาการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติกรรมและสังคมของผู้บริโภค
เพราะการทาธุรกิจในสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างมากมาย หากเกิดความผิดพลาดก็อาจจะทาให้
เกิดความเสียหายตามมาได้ผู้ประกอบการจึงต้องมีการวางแผนและติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด
5. โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรมไทย
โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรม คือ การที่โซเชียลมีบทบาทต่อวัฒนธรรมของสังคมไทย เพราะการประกอบขึ้นเป็น
สังคมนั้นย่อมเกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นพื้นฐาน ก่อนให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ พัฒนาเป็น
โครงสร้างทางสังคม และยึดถือจนเป็นธรรมเนียม รูปแบบ หรือวัฒนธรรม
โซเชียลมีเดียได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันซึ่งหลายบุคคลหลายหน่วยงาน
เลือกที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านโซเชียลมีเดีย เพราะมีวิธีการที่หลากหลายและน่าสนใจ จึงทาให้รูปแบบความสัมพันธ์ของ
คนในสังคมเปลี่ยนไป ยังผลให้วัฒนธรรมทางสังคมเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย
ต่อวัฒนธรรมไทย คือ ภาษา และ ศาสนา
5.1 โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรมทางภาษา
ภาษา ตามความหมายทางภาษาศาสตร์คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งไม่รวมเสียง
ของสัตว์ ฉะนั้นภาษาจึงหมายถึงคาพูดของมนุษย์เท่านั้น และต้องเป็นคาพูดที่สามารถเข้าใจได้ตรงกันในกลุ่มประชากร
หนึ่ง ในระยะต่อมาภาษาพูดได้รับการบันทึกโดยใช้การขีด ขูด เขียน ลงบนวัสดุโดยให้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนเสียงที่
เปล่งออกมา เรียกสัญลักษณ์เหล่านี้ว่า “อักษร” ในทางภาษาศาสตร์ไม่นับว่าอักษรเป็นภาษา เพียงแต่เป็นตัวแทนของ
ภาษาเท่านั้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงการที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารของคนไทย ซึ่งการเป็นตัวกลางในการสื่อสาร
นี้นับว่าเป็นหน้าที่หลักและหน้าที่เริ่มต้นของโซเชียลมีเดีย โดยอันดับแรกต้องยอมรับว่าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียนั้น
เป็นสิ่งที่สะดวกสบายอย่างยิ่ง เพราะมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าได้จากสถานที่ห่างไกล การ
พูดคุยสนทนาผ่าน “แชท” การสื่อสารผ่านวีดิโอคลิป การเขียนบล็อกเผยแพร่ความรู้ฯลฯ แล้วแต่ความพึงพอใจและ
ความเหมาะสมของการสนทนา
หลังจากที่คนไทยได้ใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารก็พบว่ามีข้อดีหลายประการดังที่ได้กล่าวแล้ว และ
ปรากฏการณ์ “วัฒนธรรมการใช้ภาษาที่รุนแรง” และ “วัฒนธรรมการใช้อักษรวิบัติ”
5.2 วัฒนธรรมการใช้ภาษาที่รุนแรง คือการใช้ภาษาผ่านโซเชียลมีเดียโดยใช้ถ้อยคาที่รุนแรงมุ่งโน้มน้าวใจ
เนื่องจากว่าการสื่อสารพูดคุยบนโซเชียลมีเดียนั้นผู้ส่งสารและผู้รับสารจะไม่เห็นหน้ากัน และบางครั้งก็ไม่อาจทราบได้ว่า
ผู้ส่งสารคือใครจึงทาให้มีการเผยแพร่ข้อความได้อย่างอิสระ โดยส่วนใหญ่ข้อความจะมีลักษณะสั้น กระซับ และใช้คาที่
สะเทือนอารมณ์ผู้อ่าน
ส่วนใหญ่ของการใช้ภาษาลักษณะนี้มักจะใช้ในทางการเมืองหรือต้องการก่อให้เกิดความขัดแย้ง ดังเช่น
เหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กทาให้เกิดการส่งต่ออย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ซึ่ง
ลักษณะภาษาที่ใช้จะใช้ถ้อยคาที่รุนแรงที่ทาให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามและมีอารมณ์ร่วมโจมตีฝ่ายตรงข้ามไปด้วย ซึ่งจาก
การสารวจผู้ใช้โซเชียลมีเดียพบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าการใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องที่ปกติ ไม่แปลก หรือ
รุนแรงแต่อย่างใด (สานักข่าวอิศรา, 2556) แต่หากลงเปลี่ยนข้อความเหล่านั้นเป็นเสียงพูดจะเห็นว่าถ้อยคาเหล่านั้นมี
ความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในชีวิตประจาวันคนไทยไม่ได้มีการพูดคุยเช่นนี้กันมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่ม
คุ้นชินกับลักษณะการใช้ภาษาที่รุนแรง
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นที่น่าสังเกตอีกประการคือ พิธีกรรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันนิยมใช้ถ้อยคาที่ค่อนข้างรุนแรงที่
เรียกว่า “จิก” หรือ “กัด” หรือ “ด่า” ผู้ที่มาร่วมรายการ ซึ่งผู้ฟังหรือผู้ชมก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจหรือผิดปกติอย่างใด กลับ
นิยมชมชอบและสนุกสนานกับพฤติกรรมเหล่านั้น พูดได้ว่าพึงพอใจที่เห็นคู่สนทนาถูก จิก กัด และด่า แม้แต่คู่สนทนา
ที่ถูกพูดด้วยถ้อยคารุนแรงก็ไม่ได้รู้สึกโกรธเคือง แต่กลับสนุกสนานพึงพอใจมากกว่าด้วย
5.3 วัฒนธรรมการใช้อักษรวิบัติ คือ การพิมพ์คาหรือข้อความโดยใช้อักขรวิธีที่ผิด เขียนสะกดคาไม่ถูกต้อง มี
การแผลงคา และใช้ศัพท์สแลงเป็นวงกว้างและเป็นเรื่องปกติ เช่น พิมพ์คาว่า ครับ เป็น ครัช, อะไร เป็น อัลไล, ตัวเอง
เป็น เตง ฯลฯ คาสแลง เช่น เฟดเฟ่ เซเลป จิ้น รั่ว ฯลฯ ซึ่งในทางภาษาศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะภาษาย่อมมีการ
เปลี่ยนแปลงหรือที่เรียกว่าพลวัตทางภาษาอยู่เสมอ แต่ในสังคมไทยผู้ใหญ่หลายท่านไม่พอใจและเป็นกังวลกับเรื่องนี้
อย่างมากเพราะเกรงว่าจะทาให้ภาษาไทยวิบัติ
นักวิชาการหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นว่าการสนทนาโดยใช้ภาษาลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติ และมีใช้เพียงแค่
ในวงแคบหรือเฉพาะในโซเชียลมีเดียเท่านั้น ไม่ได้นามาใช้จริงกับการสนทนาในชีวิตประจาวัน แต่หากผู้ใช้ภาษาเกิด
ความเคยชินแล้วการใช้ภาษาลักษณะนี้อาจติดมาสู่การใช้ภาษาการสนทนาหรือการเขียนในชีวิตประจาวันได้เช่น การ
เขียนตอบข้อสอบโดยใช้ภาษาแชท การพูดต่อสาธารณชนโดยใช้ภาษาที่หรือสานวนภาษาที่ติดมาจากในอินเทอร์เน็ต
อย่างไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะว่าในปัจจุบันคนไทยใช้ชีวิตอยู่กับโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน ดังสถิติที่สารวจออกมาว่า กรุงเทพ
เป็นเมืองหลวงที่มีคนใช้เพซบุ๊กมากที่สุดในโลก ประเทศไทยมีบัญชีผู้ใช้ไลน์มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น (ไพ
รัตน์ พงศ์พานิชย์, 2557)
5.4 โซเชียลมีเดียกับศาสนา
ศาสนาเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสาคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวและขัดเกลาจิตใจของคนในสังคม
ทั้งยังช่วยอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งหลังจากที่โซเชียลมีเดียได้เข้ามาอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคน
แล้ว ศาสนาก็ต้องมีการปรับวิธีเพื่อให้สามารถทันต่อสถานการณ์ โดยการนาโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในการเผยแผ่
ศาสนา เช่น การใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในการชักนาให้เยาวชนเข้าวัดทาบุญ การเผยแผ่หลักธรรมโดยใช้วีดีโอ
การสร้างบล็อกเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา การเปิดให้ทาบุญผ่านอินเทอร์เน็ต หรือทากิจกรรมต่างๆ อาทิ ลอยกระทง
ดูดวง ทาบุญ ฟังเทศน์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ทาให้ประชาชนหันมาสนใจได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถ
ออกจากบ้านไปทากิจกรรมเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ยังมีกระแสเมื่อทาบุญแล้วจะมีการโพสต์ข้อความหรือภาพผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้รับความนิยม
อย่างมาก เพราะในสังคมไทยมีค่านิยมที่ดีต่อการเข้าวัดหรือการไปทาบุญ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการทาบุญแล้วจึงนิยม
เผยแพร่การกระทาดังกล่าวให้ผู้อื่นทราบ ซึ่งก็นับเป็นเรื่องดีประการหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจทาให้การทาบุญนั้นไม่ใช่
การทาบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ตามค่านิยมของสังคมให้ตนเองเท่านั้น
ในการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีส่วนในการเผยแผ่ศาสนานั้นหากมองแล้วก็เห็นเป็นเรื่องดีที่มีการปรับเปลี่ยนให้
เข้ากับสมัยนิยม แต่หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าในคุณประโยชน์ดังกล่าวก็เกิดเป็นข้อเสียได้เช่นกัน หากไม่มีการควบคุม
หรือจัดระบบให้ดีเสียก่อน เพราะยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าการที่พระสงฆ์พกพาเครื่องมือสื่อสารหรือมีบัญชีเฟซบุ๊ก
ไลน์ อีเมลล์ ฯลฯ เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะขัดต่อวัตรปฏิบัติ แต่กระนั้นหลายท่านก็แสดงให้เห็นว่าหาก
พระสงฆ์สามารถสนทนากับศาสนิกชนได้การพกพาเครื่องมือสื่อสารก็ไม่ถือเป็นเรื่องที่ผิด เพราะเครื่องมือเหล่านั้นเป็น
เพียงสื่อกลางเท่านั้น
หลังจากที่มีการนาเสนอข่าวพระสงฆ์เผยแพร่ภาพถ่ายที่ไม่เหมาะสมหลายครั้งผ่านโซเชียลมีเดีย ทาให้วงการ
ศาสนาแปดเปื้อนจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างมาก ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการพกเครื่องมือสื่อสารไม่
เหมาะสาหรับพระสงฆ์ ฉะนั้นในการเผยแผ่ศาสนาผ่านโซเชียลมีเดียนั้นควรให้เป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระสงฆ์
แต่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความรู้เป็นผู้รับผิดชอบโดยพระสงฆ์อาจเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนาเท่านั้น เพื่อเป็น
การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่จะทาให้ศาสนาเสื่อมเสีย
Social media with Thailand
Social media with Thailand
Social media with Thailand
Social media with Thailand
Social media with Thailand

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)Float Jo
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์NATTAWANKONGBURAN
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีKawinTheSinestron
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องShe's Mammai
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจPawit Chamruang
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กAriaty KiKi Sang
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์Pimrada Seehanam
 
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงานChamp Wachwittayakhang
 
การผูกเงื่อน
การผูกเงื่อนการผูกเงื่อน
การผูกเงื่อนPalasut
 
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5kruwaeo
 
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศบทคัดย่อ กิติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศAtsada Pasee
 
ตัวอย่างโครงงานคอม
ตัวอย่างโครงงานคอมตัวอย่างโครงงานคอม
ตัวอย่างโครงงานคอมปยล วชย.
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทAekapoj Poosathan
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัล
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัลกฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัล
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัลJanchai Pokmoonphon
 
8 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
8 บทที่  3  อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ8 บทที่  3  อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
8 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการAugusts Programmer
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานpam123145
 

Mais procurados (20)

เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)
 
กิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศกิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศ
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และ มนุษย์
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
 
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
 
บทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำบทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำ
 
การผูกเงื่อน
การผูกเงื่อนการผูกเงื่อน
การผูกเงื่อน
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5รายงานวิจัยบทที่ 1 5
รายงานวิจัยบทที่ 1 5
 
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศบทคัดย่อ กิติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ กิติกรรมประกาศ
 
ตัวอย่างโครงงานคอม
ตัวอย่างโครงงานคอมตัวอย่างโครงงานคอม
ตัวอย่างโครงงานคอม
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัล
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัลกฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัล
กฏหมายเเละมารยาทในสังคมดิจิทัล
 
8 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
8 บทที่  3  อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ8 บทที่  3  อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
8 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 

Semelhante a Social media with Thailand

02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องTanyarad Chansawang
 
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Media
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Mediaเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Media
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social MediaTeemtaro Chaiwongkhot
 
Social media use in higher education
Social  media  use  in  higher educationSocial  media  use  in  higher education
Social media use in higher educationoajirapa
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926CUPress
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องSirintip Kongchanta
 
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตรThanich Suwannabutr
 
คู่มือการใช้งานFacebook
คู่มือการใช้งานFacebookคู่มือการใช้งานFacebook
คู่มือการใช้งานFacebookssuser72c983
 
คู่มือการใช้งาน Facebook
คู่มือการใช้งาน Facebookคู่มือการใช้งาน Facebook
คู่มือการใช้งาน FacebookareeyaPhumchaichoti
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nongnamsab1
 

Semelhante a Social media with Thailand (20)

Social media
Social mediaSocial media
Social media
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Media
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Mediaเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Media
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Social Media
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
Social media use in higher education
Social  media  use  in  higher educationSocial  media  use  in  higher education
Social media use in higher education
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร
06550131 ฐานิช สุวรรณบุตร
 
Sociel
SocielSociel
Sociel
 
Facebook
FacebookFacebook
Facebook
 
คู่มือการใช้งานFacebook
คู่มือการใช้งานFacebookคู่มือการใช้งานFacebook
คู่มือการใช้งานFacebook
 
คู่มือการใช้งาน Facebook
คู่มือการใช้งาน Facebookคู่มือการใช้งาน Facebook
คู่มือการใช้งาน Facebook
 
Facebook
FacebookFacebook
Facebook
 
10
1010
10
 
2
22
2
 
Aw22
Aw22Aw22
Aw22
 
Grown Up Digital
Grown Up DigitalGrown Up Digital
Grown Up Digital
 
2
22
2
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

Mais de Chinnakorn Pawannay

สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยสรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยChinnakorn Pawannay
 
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1Chinnakorn Pawannay
 
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)Chinnakorn Pawannay
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาChinnakorn Pawannay
 
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลวิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลChinnakorn Pawannay
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายChinnakorn Pawannay
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงChinnakorn Pawannay
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองChinnakorn Pawannay
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงChinnakorn Pawannay
 

Mais de Chinnakorn Pawannay (9)

สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยสรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
 
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
 
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
 
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลวิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
 

Social media with Thailand

  • 1. โซเชียลมีเดียกับสังคมไทย Social Media คืออะไร  มีเดีย (Media) หมายถึง สื่อหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร  โซเชียล (Social) หมายถึง สังคม ในบริบทของโซเชียลมีเดีย โซเชียลมีเดียหมายถึงการแบ่งปันในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งปัน เนื้อหา ( ไฟล์, รสนิยม, ความคิดเห็น ) หรือปฏิสัมพันธ์ในสังคม (การรวมกันเป็นกลุ่ม) และหมายถึง สื่ออิเล็ก - ทรอนิกส์ ที่ทาให้ผู้ใช้แสดงความเป็นตัวตนของตนเอง เพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันหรือแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น (กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว, ม.ป.ป.) ความสาคัญของโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย สื่อโซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางที่คนไทยนิยมใช้กันมาก และจากสถิติของ socialbakers.com พบว่า อัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กของคนไทยมีประมาณ 9% แสดงให้เห็นถึงความสนใจและความนิยมใน การติดต่อสื่อสารกับสังคมออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ อดีต เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้า ผนังกาแพง ผนังวัด ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ใน วงจากัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโมบายแอปหรือเว็บแอป ซึ่งออนไลน์อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทาให้ส่งที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลัง มาก โซเชียลมีเดียนอกจากจะเป็นช่องทางในการติดต่อกันแล้ว ยังเป็นช่องทางในการศึกษา การช่วยหา งานและการทางาน และยังมีผลต่อสถาบันทางสังคมในอีกหลายๆด้าน เช่น ด้านครอบครัว สาธารณสุข ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์แล้วก็ยังส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกัน พัฒนาการของโซเชียลมีเดีย สิ่งที่น่าจับตามองและเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือการเติบโตและพัฒนาการของ โซเชียลมีเดีย ซึ่งก้าวเข้ามามีบทบาทสาคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารและเครื่องมือในการสร้าง แบรนด์และโปรโมตสินค้าของนักการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ต่างๆ สืบเนื่องมาจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
  • 2. ของโมบายโซเชียลมีเดีย ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและสะดวกกว่าในอดีตที่ผ่าน มา ทาให้เฟซบุ๊ก เว็บไซต์โซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งของโลก คาดการณ์เอาไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อัตราการเติบโต ของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตจะสูงกว่าอัตราเติบโตของการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) คากล่าว ของเฟซบุ๊กสอดคล้องกับการประเมินของบริษัทวิจัยไอดีซี ที่เปิดเผยออกมาเมื่อเดือนกันยายนว่า ผู้ใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาจะแซงหน้าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางพีซีภายในปี 2558 ไอดีซี (Internet Data Center :องค์กรที่ให้บริการคุ้มครองเก็บรักษาข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์แก่ลูกค้า) คาดการณ์ว่าจานวนผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตจะเติบโตด้วยอัตรา 16.6% ต่อปีระหว่างปี 2553-2558 โดย ผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเลตมากขึ้น จะทาให้จานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนพีซี คงที่ในช่วงแรกก่อนที่จะค่อยๆ ลดลง เพราะไม่มีความสะดวกสบายเท่าโมบายอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียจึง เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มิใช่แค่เพียงเพื่อการสื่อสารหรือธุรกิจเท่านั้น ผู้ศึกษาจึงได้ทาการศึกษาอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ต่อสังคมว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร กฎหมายการใช้โซเชียลมีเดีย ในการใช้โซเชียลมีเดียต้องไม่ทาให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อน ในลักษณะเสื่อมเสียชื่อเสียง ดูหมิ่น หรือปลุกระดมให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรือทาการที่ผิดกฎหมาย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจึงต้องระวังการส่งต่อข้อมูล สื่อสารที่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และผู้รับสารก็ต้องเสพสารอย่างมีสติ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ความ น่าสนใจของโซเชียลมีเดียนั้นอยู่ที่การมีอิสระในการแสดงออกทางความคิดเห็น และอาจจะทาให้ผู้อื่นเกิดความ เสียหายได้ง่าย ซึ่งการจะเอาผิดผู้ที่ทาความเสียหายแก่ผู้อื่นได้นั้น ต้องมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องเรียน และ ดาเนินการเอาผิดโดยกองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อิทธิพลและบทบาทของโซเชียลมีเดียที่มีต่อสังคมไทย 1. โซเชียลมีเดียกับครอบครัว 2. โซเชียลมีเดียกับการศึกษา 3. โซเชียลมีเดียกับสาธารณสุข 4. โซเชียลมีเดียกับการทาธุรกิจ 5. โซเชียลมีเดียต่อวัฒนธรรมและศาสนา 6. โซเชียลมีเดียกับการเมืองการปกครอง
  • 3. 1. โซเชียลมีเดียกับครอบครัว ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้เข้ามามีบทบาทสาคัญต่อการดาเนินชีวิตของคนเรา พื้นฐานการเกิดโซเชียล มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บ พัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า Web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพพลิเคชันหรือ โปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ จากการ วิวัฒนาการของโซเชียลมีเดียดังกล่าวทาให้สังคมไทยและสังคมโลกกลายเป็นสังคมก้มหน้า ทั้งกลุ่มเด็กและ เยาวชน และกลุ่มผู้ใหญ่ต่างก็ให้ความสาคัญกับการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น 1.1 การใช้โซเชียลมีเดียกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของมนุษย์เกือบทุกอิริยาบถ และคาดว่าในอนาคตโซเชียลมีเดีย จะมี อิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งความคิดของผู้คน จน นาไปสู่การประกอบสร้างตัวตนผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งโซเชียลมีเดียจะมีลักษณะการทางานอยู่ 2 ลักษณะคือ 1. แยกคนออกจากกัน คือ โซเชียลมีเดียจะเปิดพื้นที่ของความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ทาให้ผู้ใช้งานปลีกตัวออกจาก กันและกัน และทุกคนก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ ทาให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง 2. โซเชียลมีเดียนาคนเรา กลับมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากลักษณะแรกแม้ว่าโซเชียลมีเดียจะแยกคนในสังคม หรือครอบครัวออก จากกันแต่ตามธรรมชาติของมนุษย์คือการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและมีการปฏิสัมพันธ์กัน การนาคนเรากลับมาอยู่ ด้วยกันของโซเชียลมีเดียจึงเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ 1.2 ความสัมพันธ์ในทางบวก การใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์ถูกนามาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและแลกเปลี่ยน รูปภาพระหว่างกัน จากผลการสารวจของ Microsoft พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะใช้ ช่วงเวลาในวันหยุด เพื่อติดต่อสื่อสาร กับคนในครอบครัว โดยร้อยละ 51 กาหนดไว้ที่ 15 – 30 นาทีต่อวัน และ อีกร้อยละ 14 กาหนดไว้ที่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนผลสารวจต่อคาถามเรื่องข้อมูลที่ต้องการแลกเปลี่ยน ร้อยละ 45 ตอบว่าภาพถ่าย โดยผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ตอบว่าจะอัพเดทสถานะในโซเชียลมีเดีย เป็นประจาเพื่อแลกเปลี่ยนความเป็นไปกับคนในครอบครัว (ไทยรัฐออนไลน์, 2555)
  • 4. จะเห็นได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์กลายมาเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว ซึ่งคนส่วนใหญ่มั่นใจว่าสื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียช่วยให้สามารถติดต่อกันได้ดีขึ้น สิ่งที่เห็นได้คือ คนทุกวัยในครอบครัว ตั้งแต่รุ่นเด็กจนถึงรุ่นผู้สูงอายุเห็นว่า การนาเทคโนโลยีมาใช้งานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น 1.3 ความสัมพันธ์ในทางลบ คนเรามักใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นติดงอมแงม พฤติกรรมการเสพติดโซเชียล มีเดียนี้ทาให้การปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมลดลงอย่างเห็นได้ชัด และความสัมพันธ์ในระดับครอบครัวก็ลดลงตาม ไปด้วย โลกของโซเชียลมีเดียทาให้คนเห็นว่าเรื่องส่วนตัวสาคัญกว่าเรื่องอื่นๆ ต่างคนต่างก้มหน้าใช้โซเชียลมีเดีย ผลกระทบที่ตามมาก็คือ มนุษยสัมพันธ์หายไป การที่จะสื่อสารด้วยอารมณ์ ความรู้สึกก็จะน้อยลง กลายเป็น คาพูดน้อย คาพิมพ์มากขึ้น ข้อมูลของสานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เผยผลสารวจว่า ชีวิต ของเด็กไทยใน 1 วัน จะเริ่มตื่นนอนตั้งแต่เวลา 06.18 น. และเข้านอน 22.21 น.วันหยุดจะเข้านอนดึกกว่าวัน ธรรมดาเวลาประมาณ 23.30 น.เฉลี่ยเด็กไทยมีเวลานอน 7-8 ชั่วโมง สิ่งที่น่าสนใจ คือ สิ่งแรกที่ทาก่อนเวลานอน และหลังเวลาตื่นคือการใช้โทรศัพท์มือถือ และสิ่งสุดท้ายที่เด็กร้อยละ 35 ทาก่อนนอนคือการใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะในโทรศัพท์มือถือมีทุกอย่างที่เด็กต้องการ สสค. ยังระบุอีกว่า เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่นโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ไลน์บ่อยจนถึงประจา (จิราณี ทิศรีชัย, ม.ป.ป.) จากพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของเด็กและ เยาวชนจะส่งผลให้การปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลงและการปลีกตัวออกจากครอบครัวก็จะเพิ่ม มากขึ้น จะเห็นได้ว่า เด็กยุคใหม่ถูกเลี้ยงดูด้วยมือถือและอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งตรงนี้เปรียบเสมือนดาบ สองคม คุณประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าเทียมกัน การดูแลเด็กและเยาวชนในยุค ของโซเชียลมีเดียจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสาหรับผู้ปกครองหลายคน
  • 5. 2. โซเชียลมีเดียกับการศึกษา โซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคม เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่บูรณาการด้านเนื้อหาและการถ่ายทอด โดยวิธีการที่หลากหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เหมาะสมกับพฤตกรรมของผู้ใช้งานที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้โซเชียลมีเดียจึงเป็นการสื่อสารที่ข้ามมิติทางสังคม จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกใน เวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากการที่โซเชียลมีเดียเป็นการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยวิธีการที่หลากหลายซึ่งมีจุดเริ่มต้นเพื่อ ใช้ในการบันเทิง ในการติดต่อสื่อสาร เมื่อได้รับความนิยมเป็นจานวนมากจนกลายเป็นสังคมขนาดใหญ่เทียบเท่าได้กับ ประเทศที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบกับขนาดประชากร (รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน) โซเชียลมีเดียจึง เปรียบเสมือนเป็นสังคมหนึ่งที่มีการติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดนและเสรีจึงเรียกอีกชื่อว่า “สังคมเสมือนจริง” เมื่อโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจึงขยายขอบเขตจากเพื่อใช้ในการบันเทิงและสื่อสาร เป็น พื้นฐานของการติดต่อสื่อสารของคนในสังคมเป็นวงกว้าง ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียจึงขยายเป็นวงกว้าง และมีบทบาท สาคัญต่อด้านต่างๆ รวมถึงการศึกษาด้วย เทคโนโลยี 2.0 ซึ่งเป็นพื้นฐานของโซเชียลมีเดียนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษาและการเรียนรู้โดยการ ผสมผสานปรัชญาการเรียนรู้ 3 ปรัชญาใหญ่เข้าด้วยกัน คือ ปรัชญาพฤติกรรมนิยม ปรัชญาพฤติกรรมนิยม และ ปรัชญาสรรคนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาใหม่คือ “ปรัชญาการเชื่อมโยง” หรือ “ปรัชญาของสื่อโซเชียลมีเดีย” ซึ่งเป็น การเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างกันของปัจจัยต่างๆ โดยแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการ เชื่อโยงข้อมูลที่หลากหลาย มีการพัฒนาและสั่งสมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงในปัจจุบันเป็นจุดเน้นของ การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นจากพลังความคิดของ มนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง (สุรศักดิ์ ปาเฮ, ม.ป.ป.) ด้วยเหตุที่โซเชียลมีเดียมีส่วนสาคัญที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้และเป็นการจากัดช่องทางให้ เหมาะสมกับผู้เรียนจึงมีการนาโซเชียลมีเดียเข้ามาสู่หลักสูตรและการสอน ซึ่งมีด้วยการหลายประเภทคือ สิ่งตีพิมพ์ เช่น วิกิพิเดีย บล็อก เว็บที่สามารถโพสต์ข่าวหรือข้อความ เป็นต้น การแบ่งปัน เช่น วิดีโอ ลิงก์ ภาพ ดนตรี เป็นต้น การ อภิปราย เครื่องข่ายสังคม สิ่งพิมพ์ไม่โครบล็อก และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากโซเชีลมีเดียหลายแหล่งเข้าด้วยกัน โซเซียลมีเดียนั้นเมื่อนามาใช้ในการจัดการศึกษาแล้วเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสอนของครู ดังนี้ 1. สร้างศักยภาพทางการสื่อสาร 2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา 3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การทางานร่วมกัน การ ช่วยเหลือ 4. เสริมสร้างทักษะการรู้อย่างมีวิจารณญาณ คือ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการรับสารในยุคที่มีความ หลากหลายของข้อมูล 5. เสริมสร้างสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล การอ่าน การเขียน การมองเห็น
  • 6. 6. เสริมสร้างเจตคติและแรงจูงใจ เช่น การควบคุมตนเอง ความพยายามในการเรียนรู้ 7. การบริหารจัดการการศึกษา เช่น การวางการสอน การสั่งและส่งงาน การขอคาปรึกษา การวัดประเมินผล การสื่อสารกับผู้ปกครอง ไม่ต้องพึงห้องเรียนปกติ เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เป็นต้น จะเห็นว่าประโยชน์ของโซเชียลมีเดียที่มีต่อการศึกษาข้างต้นนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากการคาดเดาผลที่ อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการนาโซเชียลมีเดียมาใช้เท่านั้น และคุณประโยชน์ในแต่ละข้อนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามีความ เสี่ยงที่จะเกิดเป็นผลเสียมากกว่า อาทิ การเสริมสร้างทักษะการรู้อย่างวิจารณญาณนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะเป็น ทักษะที่จะต้องประกอบด้วยทักษะอื่นอีกหลายทักษะ การที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดทักษะนี้ได้นั้นจะต้องอาศัยการปลูกฝัง และการฝึกฝนอยู่เสมอ การใช้โซเชียลมีเดียช่วยในการจัดการศึกษานั้นอาจทาให้ผู้เรียนเกิดทักษะดังกล่าวได้แต่จะต้อง ได้รับการแนะนาจากผู้สอนอย่างต่อเนื่อง และฝึกฝนเป็นประจา ซึ่งแสดงว่าผู้สอนจะต้องทางานหนักมากขั้น และหากไม่ ทาดังกล่าวมานี้ผู้เรียนก็อาจจะไม่เกิดทักษะการรู้อย่างวิจารณญาณและทาให้เกิดการเสพข่าวแบบ “พวกใครพวกมัน” ได้ ประโยชน์ข้อต่อมาคือโซเชียลมีเดียส่งเสริมสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล เสริมสมรรถนะในการเขียน การมองเห็น ซึ่งจากประสบการณ์ในการสังเกตการเรียนการสอนของผู้เขียนนั้นเห็นว่าหลังจากที่มีการนาโซเชียลมีเดีย เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนแล้วนั้นปัญหาที่ตามมาเป็นอันดับต้นๆ คือ ผู้เรียนอ่านและเขียนไม่ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากว่า การเรียนการสอนนั้นเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่ครูจัดหาให้แต่ด้วยธรรมชาติของผู้เรียนซึ่ง เป็นเด็ก ความสนใจจึงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาสาระหรือการฝึกฝน แต่จะให้ความสาคัญกับสิ่งอื่น เช่น เกมคอมพิวเตอร์ สังคมออนไลน์ วีดิโอ เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้ผ่านสื่อในโซเชียลมีเดียนั้นก็ไม่ได้เป็นการฝึกทักษะการอ่านและเขียนอันเป็น พื้นฐานของการเรียนรู้ในวิชาอื่น จึงทาให้ผู้เรียนมีปัญหาในการใช้ภาษาตามมา เช่น เขียนไม่ได้เขียนไม่ถูกต้อง อ่านไม่ คล่อง ไม่ชอบอ่านเนื้อหาขนาดยาว สมาธิสั้น ไม่ตั้งใจเรียน เป็นต้น ฉะนั้นสาหรับประโยชน์ในข้อนี้จึงต้องมีการพิจารณา ใหม่ว่าแท้จริงแล้วคือประโยชน์ของการนาโซเชียลมาใช้ในการจัดการศึกษาหรือไม่ ปัญหาของการนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้นโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่การจัดการเรียนการ สอนของครูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการทางการศึกษาที่ใช้โซเชียลมีเดีย เพราะครูโดยส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ คุ้ยเคยกับการสอนแบบเดิมและบางท่านเองก็ไม่สามารถใช้งานสื่อสังคมเหล่านี้ได้จึงทาให้มีปัญหาในการสอนและการ นาไปใช้ไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร หรือกลายเป็นผลเสียไป แต่สาหรับโรงเรียนที่เชื่อว่าการนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในการศึกษาแล้วจะเกิดผลดีตามมาและเชื่อว่าสามารถ บริหารจัดการได้เหมาะสมก็มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อโซเชียลมีเดียเต็มรูปแบบ เช่น โรงเรียนสางที่นาโซเชียล มีเดียเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการจัดการได้เหมาะสมจึงทาให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้และมีทักษะอันเป็นประโยชน์ ยังผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย จึงทาให้โรงเรียนสางกลายเป็น โรงเรียนต้นแบบในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการจัดการศึกษาของภาคเหนือ ไม่ใช่แต่เพียงการจัดการศึกษาในผู้เรียนเท่านั้นที่นาสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย การพัฒนาครูก็ได้นาแนวคิดนี้ เข้ามาใช้ด้วยนั่นก็คือการมีโทรทัศน์ครู ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านศาสตร์การสอน เทคนิควิธีการสอนที่เป็น ประโยชน์ให้กับครูที่ห่างไกลหรือผู้ที่สนใจในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ครูได้เกิดการพัฒนาวิธีการสอนของตนเอง อันจะเป็นการพัฒนาผู้เรียนด้วย
  • 7. อาจารย์อรภัค สุวรรณภักดี (อ้างใน ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง และ อรปวีณ์ บัวชู, 2553) หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน โซเชียลมีเดีย ในเมืองไทย อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ก่อตั้ง MIT OCW Club Thailand & Free Education ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “โซเชียล เทคโนโลยี ทาให้ข้อมูลทางการศึกษาถูกกระจายไปทั่วโลก การศึกษาจะไม่ ถูกจากัดอยู่แค่ในหนังสือ ในห้องเรียน แต่อยู่ทุกที่...ที่มีอุปกรณ์ดิจิตอล มีอินเทอร์เน็ต เข้าถึง อินเทอร์เน็ตได้....ที่นั่นมีการศึกษา” จากทัศนะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในมุมมองของอาจารย์อรภัคนั้นที่ใดที่มีอุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่ นั่นจะสามารถรับรู้ข่าวสารได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงว่าเกิดความเหลื่อมล้าหรือความไม่เท่าเทียมในการรับข้อมูลข่าวสาร ของคนในสังคมไทย หรือความไม่เท่าเทียมของชาติที่พัฒนาแล้วกับยังไม่พัฒนา ซึ่งในที่นี้จะพิจารณาด้านการศึกษาของ ไทยเท่านั้น ในสังคมไทยประชากรโดยส่วนใหญ่ (80 %) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการ เข้าถึงข้อมูล การรับรู้ข่าวสารโดยส่วนใหญ่จึงจากัดและการรับข่าวสารก็จะเป็นไปในรูปแบบ “พวกใครพวกมัน” นั่นคือ บริโภคข่าวสารด้านเดียวหรือจากสื่อเดียวไม่มีความหลากหลาย จึงไม่มีการวิเคราะห์ข่าวนั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการ นาเสนอข่าวด้านเดียวของสื่อมวลชนตามมา ซึ่งลักษณะการสื่อสารเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงกับผู้ใหญ่เท่านั้นแม้แต่เด็ก ในวัยเรียนก็มีการสื่อสารในลักษณะนี้เกิดขึ้นด้วย ลักษณะการสื่อสารในยุคทีเรียกว่า “การระบิดของข้อมูล” นี้ ทาให้เด็กในพื้นที่ที่ห่างไกลและไม่มีอุปกรณ์ใน การเข้าถึงข้อมูลเกิดการเสียโอกาสหลายประการ เห็นได้ชัดเจนจากโอกาสในการศึกษาต่อ จากประสบการณ์ในการแนะ แนวการศึกษาต่อแก่นักเรียนในพื้นที่ชนบทของผู้เขียนทาให้ทราบว่าการที่เด็กในชนบทไม่นิยมศึกษาต่อนั้นเกิดจากการ ไม่รับรู้ข่าวสาร หรือข่าวสารไปถึงพื้นที่ล่าช้า เพราะการประกาศรับสมัครเรียนต่อหรือดาเนินการต่างๆ จะทาผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมด จึงทาให้หลายครั้งที่เสียโอกาสไป การขาดโอกาสดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในยุคที่ยังไม่พร้อมเท่านั้น เพราะการ เรียนรู้ในแนวคิดนี้เหมาสาหรับโรงเรียนที่มีความพร้อม และโรงเรียนที่สามารถทาได้ก็จะพัฒนาผู้เรียนได้ดี ในขณะที่ โรงเรียนที่ยังไม่มีความพร้อมการจัดการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นแบบเดิม ยิ่งทาให้เกิดการเหลื่อมล้าทางการเรียนรู้ของ เด็กมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นอยู่ นั่นคือการศึกษาไทยไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้นหากจะมีการนาโซเชียลมีเดีย เข้ามาใช้จัดการศึกษาอย่างจริงจังทั้งประเทศแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความพร้อมในหลายๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัว ผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน จะได้ไม่เกิดความล้มเหลวดังเช่นโครงการแทบเลทที่เพิ่งล้มเหลวเมื่อไม่นานมานี้
  • 8. 3. โซเชียลมีเดียกับสาธารณสุข การนาโซเชียลมีเดียมาใช้ในทางสารธารณสุขเทื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการแพทย์และการพัฒนา สุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้น ดังนี้ 3.1 การใช้โซเซียลมีเดียกับการแพทย์ในปัจจุบัน 1.1 ใช้เทคโนโลยีในเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง CDMA2000 EV-DO เพื่อส่งเสริมการให้บริการ ทางด้านการแพทย์และการรักษาในกรณีเจ็บป่วยรุนแรงอย่างทันท่วงที การให้บริการทางการแพทย์ด้วยบริการสื่อสาร ไร้สาย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลและสถานีอนามัยขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยแพทย์ทั่วประเทศจะสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยมีกระบวนการให้บริการเบื้องต้น คือ ให้ผู้ป่วยกับแพทย์นั่งหน้าเว็บแคม มี เจ้าหน้าที่สอบถามอาการผู้ป่วยโดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่อยู่ในโรงพยาบาลจังหวัดฟังการสนทนาและดูบาดแผลหรือ อาการของผู้ป่วย หากพบว่ามีอาการรุนแรงก็จะสามารส่งทันท่วงที (3G สาหรับการแพทย์ในชนบท, 2557) 1.2 การให้บริการเกี่ยวกับการตรวจสิทธิและการให้บริการทางสุขภาพ ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้นา ระบบสารสนเทศไร้สายหรือโซเชียลมีเดียมาใช้ในการจัดข้อมูลและให้บริการต่าง ๆ (พรรณี ศรียุทธศักดิ์, 2542) เช่น การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล การจัดระบบข้อมูลผู้ป่วย การถ่ายทอดความรู้และงานวิจัย เป็นต้น 1.3 การปรึกษาปัญหาทางสุขภาพผ่านทางออนไลน์ 3.2 ข้อประโยชน์ – ข้อโทษการใช้โซเซียลมีเดียกับการแพทย์ ในการใช้โซเชียลมีเดียเกี่ยวกับสุขภาพมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งจะสามารถแบ่งได้ดังนี้ ข้อประโยชน์ 1. แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย นอกจากนี้แพทย์เองยังสามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันเองได้ภายได้การให้บริการของโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วทาให้สดอาการและรักษาอาการของ ผู้ป่วยได้ทันท่วงที 2. ตรวจสอบสิทธิและการบริการสาธารณสุข ซึ่งสามารถออนไลน์ข้อมูลฐานระบบของ ผู้ป่วยให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศได้และง่ายต่อการตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง ข้อโทษ การใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากจนเกินไปอาจทาให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต จาก ผลการวิจัยพบว่า การรับสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นจะได้รับผลเสียเมื่อเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ไม่ว่าจะด้านไหนก็จะทาให้ เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตในด้านบันเทิงเพื่อคลาย เครียด แต่ในบางกรณีกลับพบว่า วิธีแก้ปัญหาแบบนั้นจะทาให้ติดและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน หรือปัญหาสุขภาพ ในบางครั้งถึงกลับเกิดอาการกระวนกระวายเมื่อไม่ได้เล่น (ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏและนอัจศรา ประเสริฐสิน, 2552) จะเห็นได้ว่า การใช้โซเชียลมีเดียในทางการแพทย์ทาให้เกิดความสะดวกและความแม่นยาในการรักษามาก ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นลดการสูญเสียที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
  • 9. 4. โซเชียลมีเดียกับการทาธุรกิจ เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญในการดาเนินชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นแหล่ง รวมกลุ่มของผู้คนในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชนเสมือนจริงซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มคนที่อยู่ ในแวดวงเดียวกัน หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งต่างๆร่วมกันหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเครือข่ายสังคมออนไลน์มัก ถูกใช้เป็นแหล่งพบปะติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนๆหรือคนรู้จักหรือแม้แต่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะในการแบ่งปันข้อมูล ต่างๆให้กับผู้คนที่อยู่ในชุมชนโดยผู้คนในชุมชนสามารถทากิจกรรมต่างๆทั้งเพื่อการศึกษาธุรกิจและความบันเทิงร่วมกัน ได้ ในการทาธุรกิจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียนั้น มิได้หมายถึงแค่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึง การให้บริการด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจความบันเทิง การทาประกันชีวิต ฯลฯ ที่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์กันระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับการบริการที่สะดวกและครบครันทั้งสองฝ่าย จาก ลักษณะความสัมพันธ์เชิงสังคมดังกล่าว ทาให้ธุรกิจต่างๆในปัจจุบันหันมาใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่ง ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับลูกค้ามากขึ้นและองค์กรปัจจุบันต่างตื่นตัวนาเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารการตลาดมากขึ้น 4.1 การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย โซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง(Social media maketing)เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง สาหรับติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยใช้หลักการด้านโฆษณา,ด้านประชาสัมพันธ์,ด้านการขายและอื่นๆผ่านผู้ ให้บริการด้านโซเชียลมีเดียต่างๆเช่นเฟสบุ๊ค(Facebook),ทวิตเตอร์ (Twitter),ยูทูบ (Youtube),ฟลิคเกอร์(Flickrs) และอื่นๆเพราะมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับต้นทุนในการทาการตลาดผ่านทางสื่อแบบดั้งเดิม อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) คือการปรับกระบวนการทางธุรกิจหรือการค้า จากรูปแบบดั้งเดิมให้ทันสมัยมาก ขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการกับข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล เครื่องมือที่ใช้เป็น เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยในการส่งข้อมูลและนาเสนอข้อมูล ซึ่งทาให้ลดค่าใช้จ่ายสาหรับผู้ประการในต้นทุน การผลิต เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน ในสื่อออนไลน์ทาให้ทราบจานวนผู้เข้าชม Website ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งทาให้ ผู้ประกอบการสามารถวางแผนได้ว่า ในช่วงวันหรือเวลาใดที่มีผู้นิยมเข้ามาชมสินค้า เพื่อที่จะอัพเดตรายการขายต่างๆ หรือจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลานั้นๆเพื่อทาการโปรโมตสินค้าและบริการ ในสื่อออนไลน์บางสื่อ สามารถบอกได้ว่าผู้เข้ามาชมสินค้านั้นมาจากประเทศใด โดยตรวจสอบได้จาก บราวเซอร์และระบบปฏิบัติการ ซึ่งบางครั้งพบว่าการทาธุรกิจผ่านทาง social media นั้น ทาให้ได้ลูกค้าที่เป็น ชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้าสามารถรับชมสินค้าได้จากทั่วโลกอย่างง่ายดายด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มากกว่าอดีตที่ผ่านมา การโปรโมตสินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมอีกวิธีการหนึ่งคือ การใช้กลยุทธ์ของการบอกต่อ ทั้งวิธีการ บอกต่อจากคนรู้จักและวิธีการบอกต่อด้วยการสร้างปุ่มคลิกหรือลิงค์ สาหรับการบอกต่อเมื่อคลิกแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น ต่อมาคือเป็นแบบฟอร์มให้กรอกอีเมลล์แอดเดรสบุคคลที่เราต้องการส่งข่าวสารไปให้ เมื่อกรอกเสร็จก็ทาการคลิกปุ่ม
  • 10. เพื่อส่งข่าวสารไปบอกบุคคลที่ต้องการให้ทราบว่า เว็บไซต์แห่งนี้มีบริการที่น่าสนใจ อยากให้เข้ามาชม เป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการบอกต่อได้แก่ เว็บไซต์ของ News.com http://www.news.com ปัจจุบันรูปแบบหลักในการทาการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีดังนี้ 1. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่ เมื่อชอบในสินค้าใดแล้วก็จะเป็นสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ของสินค้านั้นและคอยติดตามข่าวสารต่างๆของ สินค้าผ่านทางช่องทางดังกล่าวจึงทาให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันหันมาสื่อสารถึงสินค้าหรือบริการต่างๆผ่านช่องทาง ดังกล่าวมากขึ้นโดยถ้าผู้บริโภคชอบหรือสนใจในสินค้าหรือบริการก็จะเกิดการบอกต่อในสังคมออนไลน์ของตนซึ่งจะ เป็นไปในลักษณะเพื่อนบอกเพื่อนจึงทาให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผลได้ง่ายกว่าการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์โดยตรง เช่น ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในการส่งต่อข้อมูลคือ Facebook ที่มีการแบ่งปันข้อมูลของสินค้า ด้วย วิธีการสร้างหน้าเพจของตนเอง โดยวิธีการนี้เป็นแนวทางในการกาหนดทิศทางของการทาการตลาดคือ เมื่อหน้าเพจเป็น ที่รู้จักของคนในสังคมออนไลน์มากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะสร้าง Website ของตนเองขึ้นมา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล สินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น 2. ใช้เป็นช่องทางในการสอบถามความคิดเห็นด้วยลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นพื้นที่ที่ สมาชิกสามารเขียนข้อความรูปภาพหรือวีดีโอเพื่อให้เพื่อนๆมาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันทาให้มีผู้ประกอบการ หันมาใช้ช่องทางดังกล่าวในการสารวจตลาดและสอบถามหรือรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการเพื่อนามาปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น 3. ใช้เป็นช่องทางการจัดกิจกรรมทางการตลาดจากฐานสมาชิกที่กว้างขวางของเครือข่ายสังคม ออนไลน์และลักษณะของสมาชิกที่อยู่ในรูปแบบชุมชนที่มีภูมิหลังหรือความสนใจในลักษณะเดียวกันทาให้การจัด กิจกรรมทางการตลาดต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรงเช่นการทากิจกรรมส่งผ่านข้อความ เกี่ยวกับข้อดีของสินค้าหรือบริการที่ออกใหม่ให้แก่เพื่อนๆ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตนโดยผู้ที่สามารถบอก กล่าวถึงข้อดีและส่งผ่านข้อความดังกล่าวได้มากที่สุดจะได้รับคูปองส่วนลดสาหรับสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งกิจกรรม ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการที่ออกใหม่แล้วแต่ยังเป็นวิธีการโฆษณาสินค้าหรือบริการ นั้นๆที่มีประสิทธิผลด้วยเนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความเชื่อถือในโฆษณาเกี่ยวกับข้อดีของสินค้าหรือบริการที่มา จากผู้ประกอบการโดยตรงนั้นน้อยลงต่างจากการบอกกล่าวโดยตรงจากผู้คนในชุมชนออนไลน์โดยตรงซึ่งมีอิทธิพลต่อ ความสนใจในสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคมากกว่า จุดแข็ง- จุดอ่อน- โอกาส - อุปสรรค ของธุรกิจที่ประยุกต์ใช้การตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Strengths: จุดแข็ง - ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก และสามารถวัดผลได้ จากสถิต ของผู้เป็นสมาชิกในชุมชนออนไลน์ และการเข้าเยี่ยมชม หรือร่วมกิจกรรม - ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เยี่ยมชมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟนแท็บ Weaknesses : จุดอ่อน - กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งแม้ว่าจะ มีการเติบโตสูงแต่ยังมีจานวนไม่มาก เมื่อเทียบกับ จานวนผู้บริโภคในช่องทางสื่อสารการตลาด แบบเดิม
  • 11. เล็ต เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา -ช่องทางการตลาดเน้นความทันสมัย และความคิด สร้างสรรค์ เหมาะสาหรับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีกาลังซื้อ สูง - สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และติดต่อสื่อสาร รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นได้โดยตรง - ผู้ประกอบการที่ยังขาดความชานาญในช่อง ทางการสื่อสารสมัยใหม่ อาจต้องมีต้นทุนส่วนเพิ่ม ในการจ้างบุคลากรในสายงานที่มีความชานาญเข้า มาปฏิบัติงาน - ธุรกิจอาจไม่สามารถควบคุมการแสดงความ คิดเห็นในแง่ลบต่อสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีผลต่อ ภาพลักษณ์ของธุรกิจได้ - ธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังในการสื่อสารอย่าง มาก เนื่องจากเป็นการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งสามารถส่งสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหาก สื่อสารผิดพลาดจนสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อน ให้กับผู้บริโภค อาจแก้ไขได้ยากลาบาก Opportunities : โอกาส - จากการขยายตัวของเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงไร้สาย 3G ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และ เข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ง่ายและบ่อยขึ้น - เนื่องจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังคงเป็นช่องทาง การตลาดรูปแบบใหม่ของธุรกิจในไทย จึงยังคงมีคู่แข่งที่ ใช้ช่องทางดังกล่าวในปริมาณไม่มากนัก จึงนับเป็นโอกาสที่ ดีสาหรับผู้ประกอบการที่สามารถจะเข้ามาพัฒนาช่องทาง การตลาดที่เข้าถึงและสร้างฐานสมาชิกได้ก่อน พร้อมทั้ง สร้างความได้เปรียบในสื่อดิจิตอลยุคใหม่นี้ Threats : อุปสรรค - เทคโนโลยีและรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคใน การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทาให้ผู้ประกอบการที่ ขาดประสบการณ์ด้านการตลาดที่สอดรับกับ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ไม่ สามารถตามกระแสความต้องการของตลาดได้ทัน ทาให้เข้าถึงลูกค้าได้ช้ากว่าคู่แข่ง - ต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งมีจานวนไม่เพียงพอต่อ ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน หรือมีต้นทุน ค่าจ้างแรงงานที่สูง ข้อพึงระวังในการทาการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทางการตลาดเป็นเหมือนดาบสองคม ซึ่งอาจส่งผลในทางลบต่อผู้ประกอบการได้ ซึ่งผู้ประกอบการควรพึงระวังในประเด็นต่างๆ ดังนี้  อย่ามุ่งการขายสินค้าหรือบริการมากจนเกินไป เพราะการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคนอกจากจะเป็นการขาย สินค้าและบริการแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าด้วย การนาเสนอสินค้าหรือบริการมาก เกินไปอาจสร้างความราคาญให้แก่ผู้บริโภค อาจจะทาให้ผู้บริโภคยกเลิกการเป็นสมาชิกในที่สุด ดังนั้น การเชิญชวนผู้บริโภคจึงต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมการบริโภคและช่วงระยะเวลาในการสื่อสารกับ ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจใช้บริการ
  • 12.  รู้ข้อจากัดของตนเอง เพราะการทากิจกรรมส่งเสริมการตลาดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์มักจะส่งผลในวงกว้าง สู่ผู้บริโภคจานวนมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรประเมินความสามารถของตนเองในการทาตามสัญญาใน กิจกรรมทางการตลาด เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาเพราะขาดการเตรียมความพร้อม  ตอบปัญหาให้ผู้บริโภคอย่างทันท่วงที เมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาและแจ้งผ่านทางสื่อออนไลน์ ผู้ประกอบการ ต้องตอบปัญหาอย่างทันท่วงทีเมื่อรับทราบปัญหานั้นแล้ว เพื่อสร้างความสบายใจแก่ผู้บริโภค เพราะ ไม่เช่นนั้น อาจจะทาให้ผู้บริโภคไม่พอใจและยกเลิกการเป็นสมาชิกในที่สุด กลุ่มผู้ศึกษามองว่า จุดเด่นสาคัญในการทาการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ การเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อเชื่อมโยงสู่ยอดขายสินค้าหรือบริการที่มากขึ้น ทาให้ธุรกิจขยายออกไปในวง กว้างอย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการทาธุรกิจผ่านสังคมออนไลน์แล้ว ทาให้ผู้ศึกษาเห็นด้วยกับ วิธีการทาธุรกิจทางสื่อสังคมออนไลน์ เพราะช่องทางสื่อออนไลน์นั้นทาให้การทาธุรกิจมีความสะดวกสบาย มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีการประชาสัมพันธ์ ผ่านทางสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลาย เพราะข้อมูลมีความใหม่และปรับให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ทาให้ได้รับ ความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งยังมีผลการสารวจมุมมองของผู้บริโภคจาก การใช้งานอินเทอร์เน็ตว่ามีการใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อเป็นช่องทางที่ช่วยในการตัดสินใจก่อนซื้อสินค้า จึงเป็น การยืนยันถึงบทบาทของสื่อออนไลน์ในการทาการตลาดได้เป็นอย่างดี อาจจะกล่าวได้ว่าการตลาดโซเชียลมีเดียไม่มีสูตรสาเร็จตายตัวก็คงไม่ผิดนัก แม้ว่าเราจะมีโอกาสได้ ศึกษาตัวอย่างมากมายจากต่างประเทศ แต่นั่นมิได้หมายความว่า จะหยิบยืมมาใช้แล้วสาเร็จอย่างต้นแบบ เสมอไป เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก สภาวะการแข่งขันของธุรกิจก็เริ่ม รุนแรง มีการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจโต้ตอบกันตลอดเวลา ทั้งในแง่ของตัวสินค้า บริการ และการสื่อสารการตลาด ในการทาธุรกิจผ่านทางสื่อออนไลน์นั้นจึงมีความเสี่ยง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะอาจ เกิดการโจรกรรมข้อมูลและการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จข้อมูลที่ปรากฏในสื่อออนไลน์จึงมีทั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ ไม่น่าเชื่อถือ ในการทาการตลาดผ่านทางสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อมและเลือก วิธีการทาการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติกรรมและสังคมของผู้บริโภค เพราะการทาธุรกิจในสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างมากมาย หากเกิดความผิดพลาดก็อาจจะทาให้ เกิดความเสียหายตามมาได้ผู้ประกอบการจึงต้องมีการวางแผนและติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด
  • 13. 5. โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรมไทย โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรม คือ การที่โซเชียลมีบทบาทต่อวัฒนธรรมของสังคมไทย เพราะการประกอบขึ้นเป็น สังคมนั้นย่อมเกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นพื้นฐาน ก่อนให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ พัฒนาเป็น โครงสร้างทางสังคม และยึดถือจนเป็นธรรมเนียม รูปแบบ หรือวัฒนธรรม โซเชียลมีเดียได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันซึ่งหลายบุคคลหลายหน่วยงาน เลือกที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านโซเชียลมีเดีย เพราะมีวิธีการที่หลากหลายและน่าสนใจ จึงทาให้รูปแบบความสัมพันธ์ของ คนในสังคมเปลี่ยนไป ยังผลให้วัฒนธรรมทางสังคมเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ต่อวัฒนธรรมไทย คือ ภาษา และ ศาสนา 5.1 โซเชียลมีเดียกับวัฒนธรรมทางภาษา ภาษา ตามความหมายทางภาษาศาสตร์คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งไม่รวมเสียง ของสัตว์ ฉะนั้นภาษาจึงหมายถึงคาพูดของมนุษย์เท่านั้น และต้องเป็นคาพูดที่สามารถเข้าใจได้ตรงกันในกลุ่มประชากร หนึ่ง ในระยะต่อมาภาษาพูดได้รับการบันทึกโดยใช้การขีด ขูด เขียน ลงบนวัสดุโดยให้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนเสียงที่ เปล่งออกมา เรียกสัญลักษณ์เหล่านี้ว่า “อักษร” ในทางภาษาศาสตร์ไม่นับว่าอักษรเป็นภาษา เพียงแต่เป็นตัวแทนของ ภาษาเท่านั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงการที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารของคนไทย ซึ่งการเป็นตัวกลางในการสื่อสาร นี้นับว่าเป็นหน้าที่หลักและหน้าที่เริ่มต้นของโซเชียลมีเดีย โดยอันดับแรกต้องยอมรับว่าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียนั้น เป็นสิ่งที่สะดวกสบายอย่างยิ่ง เพราะมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าได้จากสถานที่ห่างไกล การ พูดคุยสนทนาผ่าน “แชท” การสื่อสารผ่านวีดิโอคลิป การเขียนบล็อกเผยแพร่ความรู้ฯลฯ แล้วแต่ความพึงพอใจและ ความเหมาะสมของการสนทนา หลังจากที่คนไทยได้ใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารก็พบว่ามีข้อดีหลายประการดังที่ได้กล่าวแล้ว และ ปรากฏการณ์ “วัฒนธรรมการใช้ภาษาที่รุนแรง” และ “วัฒนธรรมการใช้อักษรวิบัติ” 5.2 วัฒนธรรมการใช้ภาษาที่รุนแรง คือการใช้ภาษาผ่านโซเชียลมีเดียโดยใช้ถ้อยคาที่รุนแรงมุ่งโน้มน้าวใจ เนื่องจากว่าการสื่อสารพูดคุยบนโซเชียลมีเดียนั้นผู้ส่งสารและผู้รับสารจะไม่เห็นหน้ากัน และบางครั้งก็ไม่อาจทราบได้ว่า ผู้ส่งสารคือใครจึงทาให้มีการเผยแพร่ข้อความได้อย่างอิสระ โดยส่วนใหญ่ข้อความจะมีลักษณะสั้น กระซับ และใช้คาที่ สะเทือนอารมณ์ผู้อ่าน ส่วนใหญ่ของการใช้ภาษาลักษณะนี้มักจะใช้ในทางการเมืองหรือต้องการก่อให้เกิดความขัดแย้ง ดังเช่น เหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กทาให้เกิดการส่งต่ออย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ซึ่ง ลักษณะภาษาที่ใช้จะใช้ถ้อยคาที่รุนแรงที่ทาให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามและมีอารมณ์ร่วมโจมตีฝ่ายตรงข้ามไปด้วย ซึ่งจาก การสารวจผู้ใช้โซเชียลมีเดียพบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าการใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องที่ปกติ ไม่แปลก หรือ รุนแรงแต่อย่างใด (สานักข่าวอิศรา, 2556) แต่หากลงเปลี่ยนข้อความเหล่านั้นเป็นเสียงพูดจะเห็นว่าถ้อยคาเหล่านั้นมี
  • 14. ความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในชีวิตประจาวันคนไทยไม่ได้มีการพูดคุยเช่นนี้กันมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่ม คุ้นชินกับลักษณะการใช้ภาษาที่รุนแรง ผู้เขียนเห็นว่าเป็นที่น่าสังเกตอีกประการคือ พิธีกรรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันนิยมใช้ถ้อยคาที่ค่อนข้างรุนแรงที่ เรียกว่า “จิก” หรือ “กัด” หรือ “ด่า” ผู้ที่มาร่วมรายการ ซึ่งผู้ฟังหรือผู้ชมก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจหรือผิดปกติอย่างใด กลับ นิยมชมชอบและสนุกสนานกับพฤติกรรมเหล่านั้น พูดได้ว่าพึงพอใจที่เห็นคู่สนทนาถูก จิก กัด และด่า แม้แต่คู่สนทนา ที่ถูกพูดด้วยถ้อยคารุนแรงก็ไม่ได้รู้สึกโกรธเคือง แต่กลับสนุกสนานพึงพอใจมากกว่าด้วย 5.3 วัฒนธรรมการใช้อักษรวิบัติ คือ การพิมพ์คาหรือข้อความโดยใช้อักขรวิธีที่ผิด เขียนสะกดคาไม่ถูกต้อง มี การแผลงคา และใช้ศัพท์สแลงเป็นวงกว้างและเป็นเรื่องปกติ เช่น พิมพ์คาว่า ครับ เป็น ครัช, อะไร เป็น อัลไล, ตัวเอง เป็น เตง ฯลฯ คาสแลง เช่น เฟดเฟ่ เซเลป จิ้น รั่ว ฯลฯ ซึ่งในทางภาษาศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะภาษาย่อมมีการ เปลี่ยนแปลงหรือที่เรียกว่าพลวัตทางภาษาอยู่เสมอ แต่ในสังคมไทยผู้ใหญ่หลายท่านไม่พอใจและเป็นกังวลกับเรื่องนี้ อย่างมากเพราะเกรงว่าจะทาให้ภาษาไทยวิบัติ นักวิชาการหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นว่าการสนทนาโดยใช้ภาษาลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติ และมีใช้เพียงแค่ ในวงแคบหรือเฉพาะในโซเชียลมีเดียเท่านั้น ไม่ได้นามาใช้จริงกับการสนทนาในชีวิตประจาวัน แต่หากผู้ใช้ภาษาเกิด ความเคยชินแล้วการใช้ภาษาลักษณะนี้อาจติดมาสู่การใช้ภาษาการสนทนาหรือการเขียนในชีวิตประจาวันได้เช่น การ เขียนตอบข้อสอบโดยใช้ภาษาแชท การพูดต่อสาธารณชนโดยใช้ภาษาที่หรือสานวนภาษาที่ติดมาจากในอินเทอร์เน็ต อย่างไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะว่าในปัจจุบันคนไทยใช้ชีวิตอยู่กับโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน ดังสถิติที่สารวจออกมาว่า กรุงเทพ เป็นเมืองหลวงที่มีคนใช้เพซบุ๊กมากที่สุดในโลก ประเทศไทยมีบัญชีผู้ใช้ไลน์มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น (ไพ รัตน์ พงศ์พานิชย์, 2557) 5.4 โซเชียลมีเดียกับศาสนา ศาสนาเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสาคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวและขัดเกลาจิตใจของคนในสังคม ทั้งยังช่วยอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งหลังจากที่โซเชียลมีเดียได้เข้ามาอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคน แล้ว ศาสนาก็ต้องมีการปรับวิธีเพื่อให้สามารถทันต่อสถานการณ์ โดยการนาโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในการเผยแผ่ ศาสนา เช่น การใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในการชักนาให้เยาวชนเข้าวัดทาบุญ การเผยแผ่หลักธรรมโดยใช้วีดีโอ การสร้างบล็อกเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา การเปิดให้ทาบุญผ่านอินเทอร์เน็ต หรือทากิจกรรมต่างๆ อาทิ ลอยกระทง ดูดวง ทาบุญ ฟังเทศน์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ทาให้ประชาชนหันมาสนใจได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถ ออกจากบ้านไปทากิจกรรมเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีกระแสเมื่อทาบุญแล้วจะมีการโพสต์ข้อความหรือภาพผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้รับความนิยม อย่างมาก เพราะในสังคมไทยมีค่านิยมที่ดีต่อการเข้าวัดหรือการไปทาบุญ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการทาบุญแล้วจึงนิยม เผยแพร่การกระทาดังกล่าวให้ผู้อื่นทราบ ซึ่งก็นับเป็นเรื่องดีประการหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจทาให้การทาบุญนั้นไม่ใช่ การทาบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ตามค่านิยมของสังคมให้ตนเองเท่านั้น ในการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีส่วนในการเผยแผ่ศาสนานั้นหากมองแล้วก็เห็นเป็นเรื่องดีที่มีการปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับสมัยนิยม แต่หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าในคุณประโยชน์ดังกล่าวก็เกิดเป็นข้อเสียได้เช่นกัน หากไม่มีการควบคุม
  • 15. หรือจัดระบบให้ดีเสียก่อน เพราะยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าการที่พระสงฆ์พกพาเครื่องมือสื่อสารหรือมีบัญชีเฟซบุ๊ก ไลน์ อีเมลล์ ฯลฯ เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะขัดต่อวัตรปฏิบัติ แต่กระนั้นหลายท่านก็แสดงให้เห็นว่าหาก พระสงฆ์สามารถสนทนากับศาสนิกชนได้การพกพาเครื่องมือสื่อสารก็ไม่ถือเป็นเรื่องที่ผิด เพราะเครื่องมือเหล่านั้นเป็น เพียงสื่อกลางเท่านั้น หลังจากที่มีการนาเสนอข่าวพระสงฆ์เผยแพร่ภาพถ่ายที่ไม่เหมาะสมหลายครั้งผ่านโซเชียลมีเดีย ทาให้วงการ ศาสนาแปดเปื้อนจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างมาก ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการพกเครื่องมือสื่อสารไม่ เหมาะสาหรับพระสงฆ์ ฉะนั้นในการเผยแผ่ศาสนาผ่านโซเชียลมีเดียนั้นควรให้เป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระสงฆ์ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความรู้เป็นผู้รับผิดชอบโดยพระสงฆ์อาจเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนาเท่านั้น เพื่อเป็น การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่จะทาให้ศาสนาเสื่อมเสีย