SlideShare a Scribd company logo
1 of 154
Download to read offline
ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ
กำรฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
พ.ศ. 2557
Hemodialysis Clinical Practice
Recommendation 2014
สมำคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ISBN 978-616-91290-7-3
บรรณาธิการ :	 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ ฉายากุล
เจ้าของ :	 สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
	 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี
	 ชั้น 4 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
	 แขวงห้วยขวาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10320
	 โทรศัพท์ 02-716-6091, 02-716-7450
	 โทรสาร 02-718-1900
	 E - mail: kidney@loxinfo.co.th
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 	 มิถุนายน 2557 (154 หน้า)
จ�ำนวนพิมพ์ :	 2,000 เล่ม
ปก :	 สุกัญญา พรหมทรัพย์
รูปเล่ม : 	 บ้านท้ายซอยดีไซน์ facebook.com/BanTaiSoiDesign
พิมพ์ที่ : 	 โรงพิมพ์เดือนตุลา
	 39/205-206 ซอยวิภาวดีรังสิต 84 แขวงสนามบิน
	 เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
	 โทรศัพท์ 02-996-7392-4
	 โทรสาร 02-996-7395
สาส์นจากนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นการบ�ำบัด
ทดแทนไตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ข้อมูลการลงทะเบียน
บ�ำบัดทดแทนไตในประเทศไทย (Thailand Renal Replacement
Therapy Registry, TRT) ในปี พ.ศ. 2553 พบว่า มีผู้ป่วยที่รับการ
ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (prevalence case) อยู่ประมาณ 30,835
ราย หรือคิดเป็น 482.6 รายต่อล้านประชากร และมีจ�ำนวนผู้ป่วยเพิ่ม
ขึ้นแต่ละปี (incidence case) ประมาณ 6,244 ราย หรือ 97.73
รายต่อล้านประชากร ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการ
ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและข้อมูลการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมทั้งมีการตีพิมพ์ค�ำแนะน�ำเวชปฏิบัติ
ส�ำหรับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมขององค์กรวิชาชีพ
ต่างๆ ในระดับนานาชาติออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
“ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.
2557” ฉบับนี้ ได้จัดท�ำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริม
คุณภาพการล้างไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เหมาะสมกับ
ทรัพยากรและเงื่อนไขของสังคมไทย โดยหวังผลในการส่งเสริมและ
การบ�ำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้มีประสิทธิภาพ
เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ข้อแนะน�ำฉบับนี้ ไม่ใช่ข้อบังคับของ
การปฏิบัติ ผู้ใช้สามารถปฏิบัติแตกต่างจากข้อแนะน�ำนี้ได้ในกรณีที่
สถานการณ์แตกต่างออกไป หรือมีข้อจ�ำกัดของสถานบริการและ
ทรัพยากร หรือมีเหตุผลที่สมควรอื่นๆ โดยใช้วิจารณญาณซึ่งเป็นที่
ยอมรับและอยู่ในพื้นฐานหลักวิชาการและจรรยาบรรณ
นาวาอากาศเอก นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์
1 มกราคม 2557
สาส์นจากนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555
การรักษาไตวายเรื้อรังด้วยเครื่องไตเทียมนั้น ประกอบด้วยองค์
ประกอบที่ส�ำคัญหลายประการ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ดูแลรักษาจ�ำเป็นจะ
ต้องมีความรู้ ความช�ำนาญในเรื่องเครื่องไตเทียม ตัวกรอง และวงจร
ของการส่งเลือดออกไปจากตัวผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้จะต้องน�ำไปปรับเปลี่ยน
ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป ดังนั้น ความรู้พื้น
ฐานของผู้ประกอบวิชาชีพในการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเหล่านี้จึงจ�ำเป็น
ต้องด�ำเนินไปอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตของ
ผู้ป่วย
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้จัดท�ำหนังสือข้อแนะน�ำเวช
ปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมขึ้น เพื่อให้น�ำไปปฏิบัติเป็นค�ำ
แนะน�ำในการดูแลรักษา ทั้งนี้ เพราะต้องการท�ำให้มาตรฐานการรักษา
ของประเทศอยู่ในระดับเดียวกัน และเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ผู้ป่วย และเป็นแหล่งอ้างอิงในการปฏิบัติ
ข้าพเจ้าหวังว่า ข้อแนะน�ำในการปฏิบัติการรักษาเหล่านี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อการให้บริการทางการแพทย์ต่อผู้ป่วยโรคไตเป็นอย่างยิ่ง
และน�ำมาซึ่งการปรับปรุงการรักษา การตรวจสอบความปลอดภัย และ
ความร่วมมือต่อทุกระดับของการรักษาโรคต่อไป
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต ล�้ำเลิศกุล
31 สิงหาคม 2555
ค�ำน�ำ
ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้จัดท�ำ
เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 โดยคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไต
แห่งประเทศไทยในยุคที่มี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต
ล�้ำเลิศกุล เป็นนายกสมาคมฯ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัย
และมาตรฐานวิชาชีพรับผิดชอบในการจัดท�ำ ภายใต้การสนับสนุน
ด้านงบประมาณจากกองทุนโรคไตวาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
ได้เสนอให้มีการทบทวนเนื้อหาบางส่วนให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น และ
ทันต่อหลักฐานความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการจัดล�ำดับ
คุณภาพหลักฐาน (Quality of Evidence) และน�้ำหนักค�ำแนะน�ำ
(Strength of Recommendation) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ
ตามแนวทางการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ (Guide to Develop
Clinical Practice Guidelines) ซึ่งกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขา
วิชาต่างๆ จากราชวิทยาลัย 9 แห่งได้รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2554
คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพ สมาคมโรคไต
แห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินการ ขอบคุณอาจารย์และอายุรแพทย์
โรคไตทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการทบทวนเอกสารหลักฐานจนส�ำเร็จ
เป็น ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
จะได้ประโยชน์จากข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติฯ นี้ และสามารถน�ำไปปฏิบัติ
ได้จริง เพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้ป่วยโรคไตระยะท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม อันเป็นความปรารถนาสูงสุดของพวกเราต่อไป
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ ฉายากุล
บรรณาธิการ
1 มีนาคม 2557
ค�ำน�ำ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555
ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบ�ำบัด
ทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้
ต้องมีการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยบริการในการดูแลผู้ป่วย
ให้ทันกับจ�ำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีกระบวนการ
ปฏิบัติในแนวเดียวกัน คณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่ง
ประเทศไทยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพ
จัดท�ำเอกสารเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้มีคู่มือส�ำหรับ
ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้
เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย โดยได้จัดสัมมนาทบทวนข้อมูลวิชาการ
และรวบรวมข้อคิดเห็นจากอายุรแพทย์โรคไตในส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาค จัดท�ำเป็นเอกสาร ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม พ.ศ. 2555 การจัดท�ำเอกสารชุดนี้ได้รับการสนับสนุนด้าน
งบประมาณจากกองทุนโรคไตวาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพหวังว่าเอกสารชุดนี้จะเป็น
ประโยชน์แก่บุคลากรทางการแพทย์ในการทบทวนกระบวนการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียมและการดูแลผู้ป่วยอย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์มี
ข้อมูลด้านวิชาการใหม่ๆ ออกมาตลอด และการดูแลรักษาผู้ป่วยบางกรณี
อาจมีข้อจ�ำกัดที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเอกสารข้อแนะน�ำฯ นี้ได้ ดังนั้น
เอกสารชุดนี้จึงเป็นเอกสารประกอบการดูแลผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ควรถือ
เอาเป็นข้อบังคับในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำนี้ได้ และควร
มีการสัมมนาเพื่อทบทวนเอกสารชุดนี้เมื่อมีข้อมูลวิชาการหรือข้อมูล
การรักษาผู้ป่วยมากขึ้นต่อไป
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสิริภา ช้างศิริกุลชัย
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวี ศิริวงศ์
บรรณาธิการ
31 สิงหาคม 2555
สารบัญ
ตอนที่ 1	บทสรุปข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม	 1
ตอนที่ 2	ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม	
1.	 การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต	 19
2.	 การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด
และการเฝ้าติดตาม	 26
3.	 เครื่องไตเทียม และตัวกรอง	 34
4.	 ระบบน�้ำบริสุทธิ์	 38
5.	 การป้องกันการแข็งตัวของเลือด	 44
6.	 การเริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ในครั้งแรกๆ	 49
7.	 การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ	 53
8.	 การติดตามผู้ป่วยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และการประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด	 62
9.	 การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด	 68
10.	การดูแลภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือด	 81
11.	การดูแลรักษาความดันโลหิตสูง	 90
12.	การดูแลรักษาความดันโลหิตต�่ำ	 99
13.	การดูแลรักษาความผิดปกติทางเมตะบอลิก
ของแร่ธาตุ และกระดูก	 104
14.	การดูแลรักษาภาวะซีด	 114
15.	การรักษาการท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่	 122
16.	หลักการใช้ยาในผู้ป่วยฟอกเลือด	 125
17.	การยุติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม	 130
ตอนที่ 3	กระบวนการจัดท�ำข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557	
1.	 น�้ำหนักค�ำแนะน�ำ	 133
2.	 ประเภทของคุณภาพหลักฐาน	 134
3.	 รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไต
แห่งประเทศไทย	 135
4.	 รายชื่อคณะอนุกรรมการวิจัย 	
และมาตรฐานวิชาชีพ	 137
สารบัญตาราง
ตารางที่		 หน้า
1	 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังและการพยากรณ์โรค
ค�ำนวณจากค่าอัตราการกรองของไต
และปริมาณโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะ	 24
2	 ก.	 ปริมาณสารเคมีของน�้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ส�ำหรับการฟอกเลือด 	42
	 ข.	 ปริมาณแบคทีเรียและ endotoxin ตามระดับ
	 คุณภาพของน�้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการฟอกเลือด	 43
3	 4Ts Scoring System ส�ำหรับวินิจฉัยภาวะเกล็ดเลือดต�่ำ
จาก Heparin (HIT) ชนิดที่ 2	 48
4	 การประเมินผู้ป่วยขณะเข้ารับการบ�ำบัดทดแทนไต
โดยการฟอกเลือดในครั้งแรกๆ	 52
5	 การรักษาภาวะติดเชื้อของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด	 59
6	 การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม	 73
7	 แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด
(Intradialytic Hypertension)	 97
8	 ปัจจัย สาเหตุ และแนวคิดในการแก้ไขความดันโลหิตต�่ำ
ขณะฟอกเลือด (Intradialytic Hypotension)	 103
9	 ชนิดของยาจับฟอสเฟตที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน	 112
10	 ปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยา ที่พบบ่อยในผู้ป่วย
ที่ได้รับการฟอกเลือด	 128
11	 ปัญหาผลข้างเคียงของยาที่มีดัชนีในการรักษาแคบ
ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด	 129
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่		 หน้า
1	 แนวทางการตรวจติดตามความพร้อมและสมบูรณ์
ของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด	 33
2	 ขั้นตอนในการน�ำตัวกรองมาใช้ซ�้ำ	 37
3	 การตรวจป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C
ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด	 61
4	 แนวทางการให้สารอาหารในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด	 80
5	 แนวทางการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย
ที่ได้รับการฟอกเลือด	 98
6	 แนวทางการควบคุมเมตะบอลิกของแร่ธาตุและกระดูก
ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด	 113
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 1
ตอนที่ 1
บทสรุปข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม
1.	 การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อการบ�ำบัด
	 ทดแทนไต
ค�ำแนะน�ำที่ 1.1	 ควรส่งผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังพบอายุรแพทย์โรคไตเมื่อ
1.	ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4
2.	ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มีการลดลงของอัตรา
การกรองของไตโดยประมาณ (estimated Glomerular Filtration
Rate, eGFR) มากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ต่อปี หรือ
มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
3.	ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัม
ต่อวัน หรือมีสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะมากกว่า 1
แม้จะได้ควบคุมความดันโลหิตตามเป้าหมาย	 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 1.2	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับค�ำแนะน�ำให้เตรียมตัว
เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4	 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 1.3	 ควรพิจารณาเริ่มการบ�ำบัดทดแทนไตเมื่อ
1.	ผู้ป่วยมีระดับ eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73
ตารางเมตร และไม่พบเหตุที่ท�ำให้ไตเสื่อมการท�ำงานชั่วคราว หรือ
2 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
2.	ผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 ที่มีระดับ eGFR มากกว่า 6 มล./
นาที/1.73 ตารางเมตร แต่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดโดยตรงจากโรคไต
เรื้อรังซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ และอาจเป็นอันตราย
รุนแรงต่อผู้ป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1	 ภาวะน�้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจ
วาย หรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้
2.2	 ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือ
ฟอสเฟตในเลือดสูง
2.3	 ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรืออาการชักกระตุกจาก
ภาวะยูรีเมีย
2.4	 เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย
2.5	 คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น�้ำหนักลดลง หรือมี
ภาวะทุพโภชนาการ	 (++/I)
2.	 การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด และ
	 การเฝ้าติดตาม
ค�ำแนะน�ำที่ 2.1	 ผู้ป่วยที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ควรได้รับการเตรียมเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด
ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน ส�ำหรับ arteriovenous fistula (AVF)
และ 4-6 สัปดาห์ส�ำหรับ arteriovenous graft (AVG) ยกเว้น graft
บางชนิด อาจเริ่มใช้ได้ทันทีหลังผ่าตัด	 (++/III)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 3
ค�ำแนะน�ำที่ 2.2	 ควรหลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิต เจาะเลือด
ให้สารน�้ำ ฉีดยา หรือใส่สายสวน ที่หลอดเลือดบริเวณแขนซึ่งได้ก�ำหนด
ไว้ส�ำหรับท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ในผู้ป่วยโรค
ไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 4 ขึ้นไปที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม		 (+/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.3	 ควรพิจารณาท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ
การฟอกเลือดให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย โดยเลือกใช้ AVF ก่อน
เป็นล�ำดับแรก ตามด้วย AVG และเลือกใช้การใส่สายสวนหลอดเลือด
ระยะยาว (permanent catheter) เป็นล�ำดับหลัง	 (++/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.4	 ก่อนการผ่าตัดท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ
การฟอกเลือด หรือใส่สายสวนหลอดเลือด ผู้ป่วยและญาติหรือผู้แทน
โดยชอบธรรมควรได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และลงนามให้ความยินยอม
เป็นลายลักษณ์อักษร	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.5	 ควรแนะน�ำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมท�ำ AVF บริหาร
มือและแขนอย่างสม�่ำเสมอ ทั้งก่อนและหลังการท�ำผ่าตัด	 (+/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.6	 ผู้ป่วยที่ AVF ไม่สมบูรณ์พร้อมใช้ภายในเวลา
6 สัปดาห์หลังผ่าตัด ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและแก้ไข	 (+/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.7	 ในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือด ควรเลือกใช้
internal jugular vein เป็นต�ำแหน่งแรก และประเมินสายสวนหลอดเลือด
ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง	 (+/IV)
4 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ค�ำแนะน�ำที่ 2.8	 ควรตรวจความพร้อมและสมบูรณ์ของ AVF หรือ
AVG อย่างน้อยเดือนละครั้ง	 (+/III)
3. เครื่องไตเทียม และตัวกรอง
ค�ำแนะน�ำที่ 3.1	 การดูแลเครื่องไตเทียม ต้องเป็นไปตามข้อแนะน�ำ
ส�ำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 3.2	 การใช้ตัวกรอง ควรเลือกชนิดที่เข้ากันได้ดีทางชีวภาพ
(biocompatibility) และมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณการ
ฟอกเลือดที่เพียงพอ		 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 3.3	 การน�ำตัวกรองมาใช้ซ�้ำ (reuse dialyzer) สามารถ
ท�ำได้ ยกเว้นในกรณีที่มีการปนเปื้อนเชื้อซึ่งติดต่อได้ง่าย โดยตัวกรอง
ที่น�ำมาใช้ซ�้ำ ต้องมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด	 (+/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 3.4	 ไม่ควรน�ำชุดสายส่งเลือด (bloodline) มาใช้ซ�้ำ	
		 (-/IV)
4. ระบบน�้ำบริสุทธิ์
ค�ำแนะน�ำที่ 4.1	 น�้ำบริสุทธิ์ที่น�ำมาใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียมต้องมีคุณภาพความบริสุทธิ์ตามเกณฑ์ของ AAMI หรือระดับ
regular pure ตามเกณฑ์ของ European Pharmacopoeia ส�ำหรับ
online hemofiltration และ hemodiafiltration แนะน�ำให้ใช้น�้ำบริสุทธิ์
คุณภาพระดับ ultrapure 	 (++/II)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 5
ค�ำแนะน�ำที่ 4.2	 ระบบการผลิตน�้ำบริสุทธิ์ควรเป็นระบบ reverse
osmosis ระบบจ่ายน�้ำบริสุทธิ์ต้องเป็นชนิดไหลวนกลับ (recirculation
loop) และวัสดุที่ใช้ต้องปลอดสนิม	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 4.3	 การควบคุมระบบน�้ำบริสุทธิ์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
ในแนวทางปฏิบัติเรื่อง การเตรียมน�้ำบริสุทธิ์เพื่อการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย โดยมีการตรวจสอบคุณภาพ
น�้ำบริสุทธิ์ คุณภาพของอุปกรณ์ในระบบผลิตน�้ำบริสุทธิ์ และระบบ
การฆ่าเชื้อ เป็นประจ�ำสม�่ำเสมอ	 (++/IV)
5. การป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 5.1	 ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรเลือกใช้ unfractionated heparin หรือ
low molecular weight heparin เป็นล�ำดับแรก	 (++/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 5.2	 ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะเลือดออก
ควรหลีกเลี่ยงสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด และให้การป้องกัน
การแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอกเลือดด้วยวิธีอื่น	 (++/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 5.3	 หากเกิดภาวะเกล็ดเลือดต�่ำจาก heparin (hep-
arin-induced thrombocytopenia, HIT) ชนิดที่ 2 ต้องเปลี่ยน
ไปใช้การป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอกเลือดด้วยวิธีอื่น	
		 (++/II)
6 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ค�ำแนะน�ำที่ 5.4	 หลังเสร็จสิ้นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ควรใช้สารป้องกันการแข็งตัวของเลือดหล่อในสายสวนหลอดเลือด
ทุกครั้ง		 (++/IV)
6. การเริ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในครั้งแรกๆ
ค�ำแนะน�ำที่ 6.1	 ควรประเมินผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เมื่อเริ่มต้นฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียมในครั้งแรกๆ (first few sessions)	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 6.2	 ผู้ป่วยที่เริ่มการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมใน
ครั้งแรกๆ ควรป้องกันการเกิดกลุ่มอาการไม่สมดุลจากการฟอกเลือด
(dialysis disequilibrium syndrome) โดยก�ำหนดเป้าหมายของ
การลดระดับยูเรียในเลือดไม่เกินร้อยละ 40 ของค่าตั้งต้น	 (++/III)
7. การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
ค�ำแนะน�ำที่ 7.1	 สถานพยาบาลที่ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม ต้องมีระบบควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ตามข้อแนะน�ำ
ส�ำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย	 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 7.2	 สถานพยาบาลที่ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม ควรจัดท�ำมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เป็นลายลักษณ์
อักษร		 (+/IV)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 7
ค�ำแนะน�ำที่ 7.3	 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่ให้บริการ
ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องยึดหลักมาตรฐานในการป้องกัน
การติดเชื้อ (standard precaution) โดยเคร่งครัด	 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 7.4	 การแทงเข็มที่หลอดเลือดซึ่งใช้ส�ำหรับการฟอกเลือด
และการใช้สายสวนหลอดเลือด ต้องใช้หลักปราศจากเชื้อ และควรเปลี่ยน
ต�ำแหน่งทุกครั้ง 		 (++/I-2)
ค�ำแนะน�ำที่ 7.5	 การฟอกเลือดแต่ละครั้งให้ใช้ external pressure
transducer กับเครื่องไตเทียม และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งหลังสิ้นสุด
การฟอกเลือด ถ้ามีปัญหาปนเปื้อน internal pressure transducer
ต้องหยุดใช้เครื่อง และท�ำความสะอาดหรือซ่อมแซมแก้ไขก่อนใช้กับ
ผู้ป่วยรายต่อไป		 (+/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 7.6	 ก่อนปลดตัวกรองและสายส่งเลือดออกจากเครื่อง
หลังใช้กับผู้ป่วย ต้องตรวจสอบการปิดสนิทของข้อต่อและ clamp ต่างๆ
พร้อมทั้งใส่ภาชนะรองรับขณะเคลื่อนย้าย และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน
เครื่องไตเทียมในแต่ละวัน ต้องมีการฆ่าเชื้อภายใน (disinfection) ด้วย
วิธีมาตรฐาน		 (+/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 7.7	 ต้องมีการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัส
ตับอักเสบซี และ HIV ในผู้ป่วยใหม่ทุกราย พร้อมตรวจซ�้ำทุก 6-12
เดือนในรายที่ไม่พบการติดเชื้อ และให้การรักษาตามความเหมาะสม
ในรายที่พบเชื้อ		 (+/I)
8 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
8. การติดตามผู้ป่วยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ
	 การประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 8.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการตรวจ
หาระดับเกลือแร่ในเลือด แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแอลบูมิน อย่าง
สม�่ำเสมอทุก 3 เดือน หรือบ่อยกว่านั้นตามความเหมาะสม โดยเลือก
ตรวจเลือดก่อนการฟอกเลือดในช่วงกลางของสัปดาห์	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 8.2	 ควรตรวจค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือด
(Hb) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตรวจเพิ่มเติมเมื่อพบว่ามีภาวะซีด
		 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 8.3	 ควรตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ (iPTH)
และประเมินสภาวะเหล็กในร่างกาย ทุก 6 เดือน หรือบ่อยกว่านั้นตาม
ความเหมาะสม		 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 8.4	 เป้าหมายของระดับไบคาร์บอเนตก่อนการฟอกเลือด
คือ 18 – 24 มิลลิโมล/ลิตร	 (++/III)
ค�ำแนะน�ำที่ 8.5	 เป้าหมายของระดับโปแตสเซียมก่อนการฟอกเลือด
คือ 4 – 5.5 มิลลิโมล/ลิตร	 (++/III)
ค�ำแนะน�ำที่ 8.6 	 ควรประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด โดยใช้
ค่า Kt/V ที่ค�ำนวณจากระดับยูเรียในเลือด ก่อนและหลังการฟอกเลือด
และ/หรือค่า urea reduction ratio อย่างน้อยทุก 3 เดือน	(++/II)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 9
9. การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 9.1 	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดควรได้รับการประเมินภาวะ
โภชนาการก่อนเริ่มต้นฟอกเลือด และตรวจซ�้ำอย่างน้อยทุก 6 เดือน
โดยใช้วิธีการหลายอย่างร่วมกันทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม	
		 (++/III)
ค�ำแนะน�ำที่ 9.2 	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดควรได้รับสารอาหารอย่าง
เพียงพอ โดยมีพลังงาน 30-35 กิโลแคลลอรี/น�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/
วัน และโปรตีน 1.2 กรัม/น�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน	 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 9.3 	 ผู้ป่วยฟอกเลือดที่ถูกพบว่ามีภาวะทุพโภชนาการ
ควรได้รับการค้นหาสาเหตุ และดูแลแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม
ติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด	 (++/III)
10. การดูแลภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 10.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน
ถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงโดยทั่วไป เช่น ตะคริว ปวด
ศีรษะ คัน คลื่นไส้อาเจียน และให้การแก้ไขรักษาตามความเหมาะสม
ในแต่ละราย 		 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 10.2	 ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกขณะฟอกเลือด ควรได้
รับการประเมินอาการโดยเร็ว ตรวจสัญญาณชีพ ตรวจปอดและหัวใจ
และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่คิดถึงโรคของระบบหัวใจและหลอด
เลือด ถ้าสงสัยว่าเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary
syndrome) ควรหยุดการฟอกเลือดทันที คืนเลือดผู้ป่วย ให้ออกซิเจน
10 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ให้ยา aspirin เคี้ยว และยา nitroglycerin พ่นหรืออมใต้ลิ้น ก่อน
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาต่อไป	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 10.3	 ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(cardiac arrhythmia) ขณะฟอกเลือด ควรได้รับการประเมินโดยเร็ว
ตรวจสัญญาณชีพ ให้ออกซิเจน ตรวจและติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ก่อนให้การรักษาตามประเภท ความรุนแรงของอาการ และหยุด
การฟอกเลือดทันทีหากมีอาการรุนแรงมาก	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 10.4	 กรณีที่สงสัยหรือตรวจพบว่ามีฟองอากาศอุดตัน
ในหลอดเลือด (air embolism) ให้ clamp สายส่งเลือดด�ำ และหยุด
blood pump ทันที จัดท่าผู้ป่วยนอนราบ พร้อมให้ออกซิเจน 100%
และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรท�ำหัตถการเพื่อดูดเอาลมออกด้วยวิธีที่เหมาะสม	
		 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 10.5	 กรณีที่สงสัยว่าเกิดอาการจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่าง
รุนแรง (anaphylaxis) ชนิด A ให้ clamp blood line และหยุด
การฟอกเลือดทันทีโดยไม่คืนเลือดกลับเข้าตัวผู้ป่วยและไม่น�ำตัวกรอง
ไปใช้ซ�้ำ ให้ออกซิเจน และให้การรักษาตามความรุนแรงของอาการ
ส�ำหรับปฏิกิริยาการแพ้ชนิด B ซึ่งมีความรุนแรงต�่ำกว่า สามารถท�ำ
การฟอกเลือดต่อได้		 (++/IV)
11. การดูแลรักษาความดันโลหิตสูง
ค�ำแนะน�ำที่ 11.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการวัดความ
ดันโลหิตทั้งก่อนฟอกเลือด ในขณะที่ฟอกเลือดอย่างน้อยทุก 30 นาที
และภายหลังการฟอกเลือดเสร็จสิ้น	 (++/IV)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 11
ค�ำแนะน�ำที่ 11.2	 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตก่อนฟอกเลือดสูงกว่า
140/90 มม.ปรอท หรือ 130/80 มม.ปรอท หลังฟอกเลือด จัดเป็น
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และควรได้รับการควบคุม	 (++/III)
ค�ำแนะน�ำที่ 11.3	 การดูแลรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา (non
pharmacological therapy) ด้วยการให้สุขศึกษาและปรับเปลี่ยน
วิถีชีวิต/พฤติกรรม รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการฟอกเลือด ประกอบด้วย
1.	 จ�ำกัดการบริโภคโซเดียม ไม่เกิน 2-3 กรัมของโซเดียม
คลอไรด์ต่อวัน
2.	 รักษาดัชนีมวลกายที่ 18.5-23 กก. ต่อตารางเมตร
3.	 ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอตามความเหมาะสม
และงดการสูบบุหรี่
4.	 ปรับลดน�้ำหนักตัวหลังฟอกเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
(probing dry-weight)
5.	 หลีกเลี่ยงการใช้น�้ำยาฟอกเลือดที่มีความเข้มข้นของ
โซเดียมสูง และการใช้ sodium profile	 (++/IV)
ค�ำแนะน�ำที่ 11.4	 ควรเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม angiotensin
coverting enzyme inhibitor (ACEI) หรือ angiotensin II
receptor blocker (ARB) เป็นล�ำดับแรก ถ้าไม่มีข้อห้าม โดยอาจให้
ยาเพียงชนิดเดียวหรือร่วมกับยาอื่น เช่น b-blocker หรือ calcium
channel blocker ตามข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย	 (++/III)
12 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ค�ำแนะน�ำที่ 11.5	 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด (intra-
dialytic hypertension) ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และประเมิน
หาสาเหตุเสมอ		 (++/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 11.5	 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด ควรได้
รับการดูแลรักษาอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การควบคุมไม่ให้น�้ำหนักตัว
ระหว่างวันฟอกเลือดเพิ่มมากเกินไป การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิต
ที่เหมาะสม การปรับลดน�้ำหนักตัวหลังฟอกเลือด และการปรับเทคนิค
ที่ใช้ในการฟอกเลือด	(++/III)
12. การดูแลรักษาความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 12.1	 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด (intra-
dialytic hypotension) ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และประเมิน
หาสาเหตุเสมอ		 (++/I)
ค�ำแนะน�ำที่ 12.2	 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด ควรได้
รับการดูแลรักษาอย่างเป็นขั้นตอน และได้รับมาตรการป้องกันการเกิดซ�้ำ
ตามสาเหตุที่จ�ำเพาะในแต่ละราย	(++/II)
ค�ำแนะน�ำที่ 12.3	 ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการใดๆ ในการป้องกัน
การเกิดภาวะความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด ควรพิจารณาเปลี่ยน
เป็นการล้างไตทางช่องท้อง	(++/II)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 13
13.	การดูแลรักษาความผิดปกติทางเมตะบอลิกของแร่ธาตุ
	 และกระดูก
ค�ำแนะน�ำที่ 13.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน
ภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางเมตะบอลิกของกระดูกอย่างน้อย
ทุก 3 เดือน โดยดูจากอาการ อาการแสดง และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
ของระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ในเลือด หรือ
ผลการตรวจอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้	 (++/IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 13.2	 เป้าหมายของระดับฟอสฟอรัสก่อนการฟอกเลือด
คือ 2.7-4.9 มก./ดล. และเป้าหมายของระดับแคลเซียม คือ 9.0-10.2
มก./ดล.		 (++/IV-2)
ค�ำแนะน�ำที่ 13.3	 เป้าหมายของระดับพาราธัยรอยด์ (intact para-
thyroid hormone, PTHi) อยู่ในช่วง 2 ถึง 9 เท่า ของค่าปกติที่สูงสุด
หรือประมาณ 130-600 พิโคกรัม/ดล. 	 (++/IV-2)
ค�ำแนะน�ำที่ 13.4	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับค�ำแนะน�ำให้
จ�ำกัดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง และรับประทานยาจับฟอสเฟตในทางเดิน
อาหาร (phosphate binder) ร่วมด้วย ตามความเหมาะสมและ
ข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย 	 (++, III-2)
ค�ำแนะน�ำที่ 13.5	 ผู้ป่วยที่ยังคงมีระดับพาราธัยรอยด์สูงกว่า 2 เท่า
ของค่าปกติที่สูงสุด และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามล�ำดับ ควรได้รับวิตามินดี
ชนิด active รับประทานร่วมด้วย	 (+, IV-1)
14 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ค�ำแนะน�ำที่ 13.6	 ผู้ป่วยที่มีระดับพาราธัยรอยด์ในเลือดสูงมาก และ
ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาและการฟอกเลือด ควรได้รับการตรวจหา
สาเหตุและพิจารณาผ่าตัดต่อมพาราธัยรอยด์	 (+, IV-2)
14. การดูแลรักษาภาวะซีด
ค�ำแนะน�ำที่ 14.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน
หาสาเหตุของภาวะซีด เมื่อระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin, Hb) น้อย
กว่า 13.0 กรัม/ดล. ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า 12.0 กรัม/ดล. ในผู้หญิง
อายุ 15 ปีขึ้นไป		 (++/IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 14.2	 ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยยากระตุ้นการสร้าง
เม็ดเลือดแดง (erythropoiesis stimulating agent, ESA) เมื่อระดับ
Hb น้อยกว่า 10 กรัม/ดล. โดยไม่มีสาเหตุอื่นของภาวะซีด และมี
ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายเพียงพอ	 (+/IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 14.3	 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ESA แล้ว ควรคงระดับ
Hb ระหว่าง 10-11.5 กรัม/ดล. และไม่ควรเกิน 13 กรัม/ดล.	 (+/I-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 14.4	 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ESA แล้ว มีระดับ
ferritin ในเลือดต�่ำกว่า 500 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ร่วมกับค่า % TSAT
น้อยกว่าร้อยละ 30 และไม่ตอบสนองต่อการให้ธาตุเหล็กทดแทนด้วย
การรับประทานเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน ควรได้รับเหล็กทดแทนทาง
หลอดเลือดด�ำ		 (++, III)
ค�ำแนะน�ำที่ 14.5	 ผู้ป่วยที่ได้รับ epoetin ในขนาดสูงกว่า 300 ยูนิต
ต่อกิโลกรัมต่อสัปดาห์ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (หรือ 450 ยูนิตต่อกิโลกรัม
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 15
ต่อสัปดาห์ ทางหลอดเลือดด�ำ) แล้วยังรักษาระดับ Hb ไม่ได้ตามเป้า
จัดเป็นภาวะตอบสนองน้อยต่อ ESA ควรได้รับการหาสาเหตุและให้
การรักษาอย่างเหมาะสม	 (+, IV-1)
15. การรักษาการท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่
ค�ำแนะน�ำที่ 15.1	 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน
การท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่ (residual renal function) และตรวจซ�้ำ
ทุกปี		 (+, IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 15.2	 ผู้ป่วยที่ยังมีการท�ำงานของไตเหลืออยู่ ควรหลีกเลี่ยง
ภาวะต่างๆ ที่อาจส่งผลให้การท�ำงานของไตลดลง	 (++, IV-2)
16. หลักการใช้ยาในผู้ป่วยฟอกเลือด
ค�ำแนะน�ำที่ 16.1	 ควรมีการทบทวนรายการยาในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอก
เลือดเป็นระยะๆ และก่อนให้ยาใดๆ เพิ่มเติม	 (++, IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 16.2	 ควรระวังในการใช้ยาที่มีดัชนีในการรักษาแคบ
(narrow therapeutic index) โดยติดตามอาการข้างเคียงจาก
การให้ยา และถ้าท�ำได้ควรมีการติดตามระดับยาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด	
		 (++, III)
ค�ำแนะน�ำที่ 16.3 	 ควรค�ำนึงถึงการขจัดยาโดยกระบวนการฟอกเลือดเสมอ
ส�ำหรับยาที่มีการขจัดออกทางการฟอกเลือด ควรให้ยาเสริมภายหลัง
การฟอกเลือดหรืออาจให้ยาเฉพาะภายหลังการฟอกเลือด	 (++, III)
16 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
17. การยุติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ค�ำแนะน�ำที่ 17.1	 ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและญาติมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจเพื่อวางแผนการรักษา	 (++, IV-1)
ค�ำแนะน�ำที่ 17.2	 อาจยกเว้น (withhold) หรือหยุด (withdraw)
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ป่วย ในกรณีดังต่อไปนี้
1.	ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะดี มีความสามารถในการตัดสินใจ
ได้แสดงเจตจ�ำนงโดยอิสระที่จะขอยกเว้นหรือหยุดการบ�ำบัดทดแทนไต
ที่ผู้ป่วยได้รับ
2.	ผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง แต่ได้แสดง
เจตจ�ำนงล่วงน้าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะขอยกเว้นหรือ
หยุดการบ�ำบัดทดแทนไตที่ผู้ป่วยได้รับ เมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย
3.	ผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง และมีญาติ
ที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอยกเว้นหรือหยุด
การบ�ำบัดทดแทนไตที่ผู้ป่วยได้รับ เมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย
4.	ผู้ป่วยที่สูญเสียระดับการรู้สึกตัวแบบถาวร จากพยาธิสภาพ
ในระบบประสาท หรืออยู่ในระยะสุดท้ายของโรคอื่นๆ นอกจากโรคไต
ซึ่งผู้ป่วยและญาติเห็นพ้องว่าไม่ได้รับประโยชน์จากการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม
5.	ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก (เช่น ความดันโลหิตต�่ำมาก) หรือ
ไม่ร่วมมือในการรักษา ซึ่งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอาจก่อ
ให้เกิดอันตรายได้สูง
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 17
6.	ผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า 75 ปี และมีสิ่งตรวจพบอย่างน้อย
2 ใน 4 ข้อ ได้แก่
1)	 แพทย์ผู้รักษาเห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะมีชีวิตอยู่ได้
ไม่เกิน 1 ปี
2)	 มี comorbidity score สูง (เช่น Charleson
comorbidity score > 8 หรือ French Renal Epidemiology and
Information Network (FREIN) 6-Month Prognosis Clinical
Score > 9)
3)	 ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจ�ำวันและ
การท�ำงาน (Functional Status) ต�่ำมาก (เช่น Karnofsky Perfor-
mance Status score น้อยกว่า 40)
4)	 มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรง	 (++, IV-1)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 19
ตอนที่ 2
ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
1.	 การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อการบ�ำบัด
	 ทดแทนไต
ค�ำแนะน�ำที่ 1.1	 ควรส่งผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังพบอายุรแพทย์โรคไตเมื่อ
1.	ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4
2.	ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มีการลดลงของอัตราการก
รองของไตโดยประมาณ (estimated Glomerular Filtration Rate,
eGFR) มากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ต่อปี หรือมีความดัน
โลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
3.	ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัม
ต่อวัน หรือมีสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะมากกว่า 1
แม้จะได้ควบคุมความดันโลหิตตามเป้าหมาย		 (++/I)
ค�ำอธิบาย	 การวินิจฉัยและวางแผนรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรท�ำ
โดยอายุรแพทย์หรือแพทย์ที่มีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่นที่ได้ก�ำหนดโดยสมาคม
โรคไตแห่งประเทศไทยเรื่อง แนวทางเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคไตเรื้อรังก่อน
การบ�ำบัดทดแทนไต ฉบับปี พ.ศ. 2552 การศึกษาที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า
การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อพบอายุรแพทย์โรคไตหรืออายุรแพทย์ที่ผ่าน
20 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
การรับรองให้ปฏิบัติงานการบ�ำบัดทดแทนไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม
จะช่วยให้การวางแผนรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประสบผลส�ำเร็จยิ่งขึ้น(1)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)	ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
ในผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะท้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ
ผู้ป่วยในระยะที่ 3 (eGFR 30 - 59 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร) ที่มี
อัตราการเสื่อมของไตเร็วกว่าปกติ มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
หรือมีโปรตีนในปัสสาวะมาก
2)	ให้ผู้ป่วยในระยะที่ 4 (eGFR 15 - 29 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร)
ได้รับค�ำแนะน�ำอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับทางเลือก และการเตรียมตัวต่างๆ
เพื่อรับการบ�ำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) เมื่อ
มีข้อบ่งชี้
การส่งต่อผู้ป่วยที่ล่าช้า จะมีผลต่อระยะเวลาที่ต้องนอน
โรงพยาบาลเมื่อเริ่มบ�ำบัดทดแทนไต และอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย(2)
(ดูตารางที่ 1 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรัง และการค�ำนวณอัตรา
การกรองของไต)
ค�ำแนะน�ำที่ 1.2	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับค�ำแนะน�ำให้เตรียมตัว
เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 	 (++/I)
ค�ำอธิบาย	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 4 ขึ้นไปรวมทั้งญาติ ควร
ได้รับค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับทางเลือกเพื่อรับการบ�ำบัดทดแทนไต ได้แก่
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่าย
ไต และการรักษาแบบประคับประคอง อีกทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงได้
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 21
เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้เลือกวิธีการรักษาทดแทนไตที่เหมาะสมแก่ตนเอง
ล่วงหน้า เพื่อเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมเมื่อโรคไตเรื้อรังเข้าสู่
ระยะท้าย ทั้งยังมีเวลาเตรียมหลอดเลือดให้พร้อมใช้ในการฟอกเลือด
(vascular access) หากตัดสินใจรับการบ�ำบัดทดแทนไตโดยการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียม(3)
ค�ำแนะน�ำที่ 1.3	 ควรพิจารณาเริ่มการบ�ำบัดทดแทนไตเมื่อ
1,	ผู้ป่วยมีระดับ eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73
ตารางเมตร และไม่พบเหตุที่ท�ำให้ไตเสื่อมการท�ำงานชั่วคราว หรือ
2.	ผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 ที่มีระดับ eGFR มากกว่า 6 มล./
นาที/1.73 ตารางเมตร แต่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดโดยตรงจากโรคไต
เรื้อรังซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ และอาจเป็นอันตราย
รุนแรงต่อผู้ป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1	 ภาวะน�้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจ
วาย หรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้
2.2	 ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือ
ฟอสเฟตในเลือดสูง
2.3	 ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรือมีอาการชักกระตุกจาก
ภาวะยูรีเมีย
2.4	 เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย
2.5	 คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น�้ำหนักลดลง หรือมี
ภาวะทุพโภชนาการ	 (++/I)
22 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ค�ำอธิบาย	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 4 ซึ่งได้รับการบ�ำบัดทดแทน
ไตเมื่อมี eGFR 5 - 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร มีอัตราการเจ็บป่วย
และเสียชีวิตไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่มี eGFR 10 - 14 มล./นาที/1.73
ตารางเมตร และสามารถชะลอเวลาที่ต้องเริ่มฟอกเลือดไปได้อีกประมาณ
6 เดือน(4) ทั้งมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
สาธารณสุขมากกว่า(5) อย่างไรก็ตาม การประมาณอัตราการกรองของ
ไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะท้ายอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงต้อง
มีการเตรียมตัวเพื่อการการบ�ำบัดทดแทนไตในทางเลือกที่เหมาะสมตั้งแต่
แรกเริ่มเข้าระยะที่ 4 ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับ
การบ�ำบัดทดแทนไตก่อน หากมีข้อบ่งชี้ทางคลินิกของภาวะแทรกซ้อน
ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษา ที่ท�ำให้อัตราการเจ็บป่วยสูงขึ้นหรืออาจ
เป็นอันตรายต่อชีวิต(6)
เอกสารอ้างอิงค�ำแนะน�ำที่ 1
1.	 Smart NA, Titus TT. Outcomes of early versus late
nephrology referral in chronic kidney disease: a
systematic review. Am J Med 2011; 124:1073 - 80.
2.	 Chan MR, Dall AT, Fletcher KE, et al. Outcomes in
patients with chronic kidney disease referred late to
nephrologists: a meta - analysis. Am J Med 2007;
120:1063 - 70.
3.	 Luxton G; CARI. The CARI guidelines. Timing of referral
of chronic kidney disease patients to nephrology services
(adult). Nephrology (Carlton) 2010;15 Suppl 1:S2 - 11.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 23
4.	 Cooper BA, Branley P, Bulfone L, et al. A randomized,
controlled trial of early versus late initiation of dialysis.
N Engl J Med 2010; 363:609 - 19.
5.	 Harris A, Cooper BA, Li JJ, et al. Cost - effectiveness
of initiating dialysis early: a randomized controlled
trial. Am J Kidney Dis 2011; 57:707 - 15.
6.	 Pollock CA, Cooper BA, Harris DC. When should we
commence dialysis? The story of a lingering problem
and today’s scene after the IDEAL study. Nephrol Dial
Transplant 2012; 27:2162 - 6.
24 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ตารางที่ 1	 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังและการพยากรณ์โรค ค�ำนวณ
จากอัตราการกรองของไต และปริมาณโปรตีนต่อครีเอตินิน
ในปัสสาวะ
ระยะ Estimated
GFR*
(มล./นาที/
1.73
ตารางเมตร)
ค�ำจ�ำกัดความ โปรตีนต่อครีเอตินิน
ในปัสสาวะ (มก./กรัม)
< 30 30 - 300 > 300
A1 A2 A3
G1 > 90 อัตราการกรองของไตปกติ
แต่พบมีความผิดปกติจากการ
ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ และ/
หรือพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อไต
G2 60 - 89 อัตราการกรองของไตลดลง
เล็กน้อย
G3a 45 - 59 อัตราการกรองของไตลดลง
ปานกลางG3b 30 - 44
G4 15 - 29 อัตราการกรองของไตลดลง
มาก
G5 < 15
(หรือได้รับ
การบ�ำบัด
ทดแทนไต)
ภาวะไตวาย
อัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต เรียงตามความเข้มของสี
จาก ขาว - เทาอ่อน - เทาเข้ม - ด�ำ
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 25
* ค่า Estimated glomerular filtration rate (eGFR) คือ อัตราการกรอง
ของไตโดยประมาณ ค�ำนวณด้วยสูตร CKD - EPI (Chronic Kidney Disease
Epidemiology Collaboration) ควรใช้ค่าระดับซีรั่มครีเอตินีนที่วัดด้วย
วิธี enzymatic method เพื่อความแม่นย�ำ (หรือ modified kinetic Jaffe
reaction ถ้าไม่สามารถท�ำได้) ดังนี้
	 Serum Creatinine
		 (มก./ดล.)	 eGFR
หญิง		 < 0.7	 144 x (SCr/0.7) - 0.329 x (0.993)Age
		 > 0.7	 144 x (SCr/0.7) - 1.209 x (0.993)Age
ชาย		 < 0.9	 141 x (SCr/0.7) - 0.411 x (0.993)Age
		 > 0.9	 141 x (SCr/0.7) - 1.209 x (0.993)Age
26 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
2.	 การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด
	 และการเฝ้าติดตาม
ค�ำแนะน�ำที่ 2.1	 ผู้ป่วยที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ควรได้รับการเตรียมเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด
ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน ส�ำหรับ arteriovenous fistula (AVF)
และ 4 - 6 สัปดาห์ส�ำหรับ arteriovenous graft (AVG) ยกเว้น graft
บางชนิด อาจเริ่มใช้ได้ทันทีหลังผ่าตัด	 (++/III)
ค�ำอธิบาย	 ในการฟอกเลือดส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยง
การเตรียมหลอดเลือดแบบรีบด่วน เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดแบบ
ชั่วคราว (temporary double lumen catheter) เพราะจะใช้สาย
สวนได้ไม่นาน สร้างความไม่สะดวกสบาย และมีโอกาสเกิดการอุดตัน
หรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้สูง ควรเลือกเตรียมหลอดเลือดแบบถาวร
(permanent) โดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดไว้ล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะ
เป็นการสะดวกเมื่อต้องการใช้ ประหยัด และให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แม้ต้อง
รอเวลาให้หลอดเลือดมีขนาดโตขึ้น มีความหนาของผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
และมีปริมาณการไหลเวียนของเลือดเพียงพอที่จะน�ำมาใช้ฟอกเลือดได้
โดยใช้เวลาอย่างน้อย 6 - 8 สัปดาห์ขึ้นไปส�ำหรับ AVF ส่วน AVG ต้อง
รอให้แผลผ่าตัดยุบบวม และผนังของ graft มีการยึดติดกับเนื้อเยื่อ
โดยรอบ ซึ่งใช้เวลาโดยทั่วไปประมาณ 2 - 4 สัปดาห์(1)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.2	 ควรหลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิต เจาะเลือด
ให้สารน�้ำ ฉีดยา หรือใส่สายสวน ที่หลอดเลือดบริเวณแขนซึ่งได้ก�ำหนด
ไว้ส�ำหรับท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ในผู้ป่วยโรคไต
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 27
เรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 4 ขึ้นไปที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
		 (+/IV)
ค�ำอธิบาย	 การประเมินหลอดเลือดเพื่อเตรียมส�ำหรับการฟอกเลือดนั้น
มีความส�ำคัญมากต่อผลส�ำเร็จที่ออกมา โดยทั่วไป จะเริ่มใช้หลอดเลือด
บริเวณเหนือข้อมือในแขนข้างที่ไม่ถนัดก่อน แต่ถ้าไม่เหมาะสม ถึงจะ
มาเลือกใช้บริเวณข้อศอก หรือมาใช้แขนข้างที่ถนัด
ทั้งนี้ การเจาะเลือดหรือท�ำหัตถการที่หลอดเลือดในบริเวณซึ่งได้
ก�ำหนดไว้ อาจท�ำให้เกิดอันตรายต่อผนังหลอดเลือดด�ำหรือการไหลเวียน
ของเลือดผิดปกติ ท�ำให้อัตราความส�ำเร็จในการท�ำหลอดเลือดชนิดถาวร
ส�ำหรับการฟอกเลือดลดลง และมีผลต่อการใช้และรักษาให้ยังใช้งานได้
ดีเป็นเวลานาน (patency) จึงควรก�ำหนดให้หลีกเลี่ยงในช่วงระยะเวลา
พอสมควร ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4(2)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.3	 ควรพิจารณาท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ
การฟอกเลือดให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย โดยเลือกใช้ AVF ก่อน
เป็นล�ำดับแรก ตามด้วย AVG และเลือกใช้การใส่สายสวนหลอดเลือด
ระยะยาว (permanent catheter) เป็นล�ำดับหลัง 	 (++/II)
ค�ำอธิบาย	 ในทางเลือกเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ
การฟอกเลือด พบว่า AVF มีอัตราการเกิดหลอดเลือดอุดตัน (throm-
bosis) ต�่ำที่สุด รวมทั้งความต้องการในการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ในระยะยาวน้อยที่สุด ท�ำให้หลอดเลือดคงใช้ส�ำหรับการฟอกเลือดได้นาน
มากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายคุ้มค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับ AVG หรือ
การใส่สายสวนหลอดเลือดระยะยาว คิดเป็น 1 ใน 6 และ 1 ใน 10
28 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557
ตามล�ำดับ(3,4) จึงควรพิจารณาเลือกใช้ก่อนเป็นล�ำดับแรก ถ้าไม่มี
ข้อห้ามและมีเวลาในการรอจนหลอดเลือดโตพอที่จะฟอกเลือดได้
ค�ำแนะน�ำที่ 2.4	 ก่อนการผ่าตัดท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ
การฟอกเลือด หรือใส่สายสวนหลอดเลือด ผู้ป่วยและญาติหรือผู้แทน
โดยชอบธรรมควรได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และลงนามให้ความยินยอม
เป็นลายลักษณ์อักษร 	 (++/IV)
ค�ำอธิบาย	 ในการให้ความยินยอมนั้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และญาติ
หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องได้รับการอธิบายหรือบอกเล่าให้เข้าใจถึง
วิธีการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และความส�ำคัญของ
การเตรียมหลอดเลือด ผลดีและผลเสีย ตลอดจนอันตรายหรือผลแทรกซ้อน
ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อน�ำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน
อันถือเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วย ก่อนลงนามให้ความยินยอมเป็น
ลายลักษณ์อักษรในเอกสารใบยินยอม (informed consent)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.5	 ควรแนะน�ำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมท�ำ AVF บริหาร
มือและแขนอย่างสม�่ำเสมอ ทั้งก่อนและหลังการท�ำผ่าตัด 	 (+/II)
ค�ำอธิบาย	 การออกก�ำลังให้มีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่มี
การเคลื่อนไหว (isometric exercise) จะช่วยเพิ่มขนาดและความแข็งแรง
ของหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนของเลือดผ่าน AVF ตัวอย่าง
ที่ควรแนะน�ำได้แก่ การบริหารมือและท้องแขนด้วยการบีบลูกบอลยาง
และบีบไม้หนีบ หรือการยกน�้ำหนักค้างไว้ในท่าต่างๆ เพื่อบริหารกล้าม
เนื้อต้นแขน ในกรณีที่ AVF อยู่เหนือข้อศอก เป็นต้น(2,5)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 29
ค�ำแนะน�ำที่ 2.6	 ผู้ป่วยที่ AVF ไม่สมบูรณ์พร้อมใช้ภายในเวลา 6 สัปดาห์
หลังผ่าตัด ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและแก้ไข 	 (+/IV)
ค�ำอธิบาย	 ลักษณะของ AVF ที่สมบูรณ์พร้อมใช้ จะเห็นเป็นเส้นตรง
ไม่คดเคี้ยว ไม่มีลักษณะโป่งพอง คล�ำได้แรงสั่นสะเทือนจากการไหล
ของเลือดตลอดเวลา (continuous thrill) ในบริเวณที่ต่อกับหลอดเลือด
แดง (arterial anastomosis) และตลอดหลอดเลือดด�ำ (outflow
vein) เมื่อฟังด้วย stethoscope จะได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ชนิดทุ้มต�่ำ
ตลอดทั้งช่วง diastole และ systole และถ้าท�ำได้ ควรตรวจอัลตราซาวนด์
ดูว่าหลอดเลือดพร้อมใช้หรือไม่ โดยใช้หลัก 6 ข้อ หรือ “Rule of Six”
กล่าวคือ เริ่มที่ 6 สัปดาห์หลังท�ำ AVF, ควรมีเลือดไหลผ่านมากกว่า
600 มล./นาที, ขนาดใหญ่กว่า 6 ม.ม. และไม่ควรอยู่ลึกจากผิวหนังเกิน
6 ม.ม. ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์ของ AVF ที่พร้อมต่อการใช้ฟอกเลือด
ถ้าภายใน 6 สัปดาห์หลังผ่าตัดแล้ว AVF ที่เตรียมไว้ยังมีลักษณะ
ไม่สมบูรณ์ เช่น เห็นหลอดเลือดด�ำเป็น accessory vein คล�ำไม่ได้
แรงสั่นสะเทือนจากการไหลของเลือดตลอดเวลา หรือคล�ำได้ลักษณะ
เป็น pulse บริเวณที่หลอดเลือดตีบ หรือฟังได้เป็นเสียงฟู่ชนิดสูงเฉพาะ
ในช่วง systole ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อท�ำการผ่าตัดแก้ไขหรือ
ขยายหลอดเลือดด้วยวิธีอื่นต่อไป(6)
ค�ำแนะน�ำที่ 2.7	 ในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือด ควรเลือกใช้ internal
jugular vein เป็นต�ำแหน่งแรก และประเมินสายสวนหลอดเลือด
ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง 	 (+/IV)
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014

More Related Content

What's hot

ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559Kamol Khositrangsikun
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตTuang Thidarat Apinya
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
การให้ความรู้แบบเข้มข้น เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...
การให้ความรู้แบบเข้มข้น   เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน   ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...การให้ความรู้แบบเข้มข้น   เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน   ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...
การให้ความรู้แบบเข้มข้น เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...Chutchavarn Wongsaree
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
Early detection mods 16 พค.58
Early detection mods  16 พค.58Early detection mods  16 พค.58
Early detection mods 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพkittikhun99
 
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558Kamol Khositrangsikun
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...Utai Sukviwatsirikul
 
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายการดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายชนิกานต์ บุญชู
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 

What's hot (20)

ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
Septic shock guideline
Septic shock guidelineSeptic shock guideline
Septic shock guideline
 
การให้ความรู้แบบเข้มข้น เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...
การให้ความรู้แบบเข้มข้น   เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน   ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...การให้ความรู้แบบเข้มข้น   เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน   ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...
การให้ความรู้แบบเข้มข้น เพื่อบำบัดภาวะน้ำเกิน ในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเคร...
 
Ppt. metabolic syndrome
Ppt. metabolic syndrome Ppt. metabolic syndrome
Ppt. metabolic syndrome
 
Physical Assessment for Phamacist
Physical Assessment for PhamacistPhysical Assessment for Phamacist
Physical Assessment for Phamacist
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 
Early detection mods 16 พค.58
Early detection mods  16 พค.58Early detection mods  16 พค.58
Early detection mods 16 พค.58
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ
02.08 การนวดเพื่อสุขภาพ
 
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558
National kpi for pd _ ร่าง 28 กุมภาพันธ์ 2558
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
 
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายการดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
 
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 

Similar to Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014

Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4taem
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายคู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายChuchai Sornchumni
 
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตChuchai Sornchumni
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานVorawut Wongumpornpinit
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์Kamol Khositrangsikun
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Utai Sukviwatsirikul
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...PatthanitBunmongkonp
 
Guideline for medical errors prevention
Guideline for medical errors preventionGuideline for medical errors prevention
Guideline for medical errors preventionUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่าง
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่างคู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่าง
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่างSuradet Sriangkoon
 
โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56Met Namchu
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaUtai Sukviwatsirikul
 

Similar to Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014 (20)

Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557
 
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่ายคู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
คู่มือ59 เล่ม1 เหมาจ่าย
 
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
 
Dm thai guideline
Dm thai guidelineDm thai guideline
Dm thai guideline
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104
 
Dm 2557
Dm 2557Dm 2557
Dm 2557
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
 
Chf guideline
Chf guidelineChf guideline
Chf guideline
 
Guideline for medical errors prevention
Guideline for medical errors preventionGuideline for medical errors prevention
Guideline for medical errors prevention
 
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่าง
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่างคู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่าง
คู่มือการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเลือด ฉบับร่าง
 
โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
 
CPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinomaCPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinoma
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014

  • 1.
  • 3. ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ISBN 978-616-91290-7-3 บรรณาธิการ : ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ ฉายากุล เจ้าของ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 4 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงห้วยขวาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ 02-716-6091, 02-716-7450 โทรสาร 02-718-1900 E - mail: kidney@loxinfo.co.th พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2557 (154 หน้า) จ�ำนวนพิมพ์ : 2,000 เล่ม ปก : สุกัญญา พรหมทรัพย์ รูปเล่ม : บ้านท้ายซอยดีไซน์ facebook.com/BanTaiSoiDesign พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เดือนตุลา 39/205-206 ซอยวิภาวดีรังสิต 84 แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-996-7392-4 โทรสาร 02-996-7395
  • 4. สาส์นจากนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นการบ�ำบัด ทดแทนไตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ข้อมูลการลงทะเบียน บ�ำบัดทดแทนไตในประเทศไทย (Thailand Renal Replacement Therapy Registry, TRT) ในปี พ.ศ. 2553 พบว่า มีผู้ป่วยที่รับการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (prevalence case) อยู่ประมาณ 30,835 ราย หรือคิดเป็น 482.6 รายต่อล้านประชากร และมีจ�ำนวนผู้ป่วยเพิ่ม ขึ้นแต่ละปี (incidence case) ประมาณ 6,244 ราย หรือ 97.73 รายต่อล้านประชากร ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและข้อมูลการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมทั้งมีการตีพิมพ์ค�ำแนะน�ำเวชปฏิบัติ ส�ำหรับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมขององค์กรวิชาชีพ ต่างๆ ในระดับนานาชาติออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน “ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557” ฉบับนี้ ได้จัดท�ำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริม คุณภาพการล้างไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เหมาะสมกับ ทรัพยากรและเงื่อนไขของสังคมไทย โดยหวังผลในการส่งเสริมและ การบ�ำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ข้อแนะน�ำฉบับนี้ ไม่ใช่ข้อบังคับของ การปฏิบัติ ผู้ใช้สามารถปฏิบัติแตกต่างจากข้อแนะน�ำนี้ได้ในกรณีที่ สถานการณ์แตกต่างออกไป หรือมีข้อจ�ำกัดของสถานบริการและ ทรัพยากร หรือมีเหตุผลที่สมควรอื่นๆ โดยใช้วิจารณญาณซึ่งเป็นที่ ยอมรับและอยู่ในพื้นฐานหลักวิชาการและจรรยาบรรณ นาวาอากาศเอก นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์ 1 มกราคม 2557
  • 5.
  • 6. สาส์นจากนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555 การรักษาไตวายเรื้อรังด้วยเครื่องไตเทียมนั้น ประกอบด้วยองค์ ประกอบที่ส�ำคัญหลายประการ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ดูแลรักษาจ�ำเป็นจะ ต้องมีความรู้ ความช�ำนาญในเรื่องเครื่องไตเทียม ตัวกรอง และวงจร ของการส่งเลือดออกไปจากตัวผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้จะต้องน�ำไปปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป ดังนั้น ความรู้พื้น ฐานของผู้ประกอบวิชาชีพในการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเหล่านี้จึงจ�ำเป็น ต้องด�ำเนินไปอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตของ ผู้ป่วย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้จัดท�ำหนังสือข้อแนะน�ำเวช ปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมขึ้น เพื่อให้น�ำไปปฏิบัติเป็นค�ำ แนะน�ำในการดูแลรักษา ทั้งนี้ เพราะต้องการท�ำให้มาตรฐานการรักษา ของประเทศอยู่ในระดับเดียวกัน และเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ผู้ป่วย และเป็นแหล่งอ้างอิงในการปฏิบัติ ข้าพเจ้าหวังว่า ข้อแนะน�ำในการปฏิบัติการรักษาเหล่านี้จะเป็น ประโยชน์ต่อการให้บริการทางการแพทย์ต่อผู้ป่วยโรคไตเป็นอย่างยิ่ง และน�ำมาซึ่งการปรับปรุงการรักษา การตรวจสอบความปลอดภัย และ ความร่วมมือต่อทุกระดับของการรักษาโรคต่อไป ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต ล�้ำเลิศกุล 31 สิงหาคม 2555
  • 7.
  • 8. ค�ำน�ำ ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้จัดท�ำ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 โดยคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทยในยุคที่มี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดุสิต ล�้ำเลิศกุล เป็นนายกสมาคมฯ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัย และมาตรฐานวิชาชีพรับผิดชอบในการจัดท�ำ ภายใต้การสนับสนุน ด้านงบประมาณจากกองทุนโรคไตวาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้เสนอให้มีการทบทวนเนื้อหาบางส่วนให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น และ ทันต่อหลักฐานความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการจัดล�ำดับ คุณภาพหลักฐาน (Quality of Evidence) และน�้ำหนักค�ำแนะน�ำ (Strength of Recommendation) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ตามแนวทางการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ (Guide to Develop Clinical Practice Guidelines) ซึ่งกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขา วิชาต่างๆ จากราชวิทยาลัย 9 แห่งได้รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2554 คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพ สมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินการ ขอบคุณอาจารย์และอายุรแพทย์ โรคไตทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการทบทวนเอกสารหลักฐานจนส�ำเร็จ เป็น ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะได้ประโยชน์จากข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติฯ นี้ และสามารถน�ำไปปฏิบัติ ได้จริง เพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้ป่วยโรคไตระยะท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม อันเป็นความปรารถนาสูงสุดของพวกเราต่อไป ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ ฉายากุล บรรณาธิการ 1 มีนาคม 2557
  • 9.
  • 10. ค�ำน�ำ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555 ในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบ�ำบัด ทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ ต้องมีการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยบริการในการดูแลผู้ป่วย ให้ทันกับจ�ำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีกระบวนการ ปฏิบัติในแนวเดียวกัน คณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่ง ประเทศไทยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพ จัดท�ำเอกสารเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้มีคู่มือส�ำหรับ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้ เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย โดยได้จัดสัมมนาทบทวนข้อมูลวิชาการ และรวบรวมข้อคิดเห็นจากอายุรแพทย์โรคไตในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค จัดท�ำเป็นเอกสาร ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม พ.ศ. 2555 การจัดท�ำเอกสารชุดนี้ได้รับการสนับสนุนด้าน งบประมาณจากกองทุนโรคไตวาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะอนุกรรมการวิจัยและมาตรฐานวิชาชีพหวังว่าเอกสารชุดนี้จะเป็น ประโยชน์แก่บุคลากรทางการแพทย์ในการทบทวนกระบวนการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมและการดูแลผู้ป่วยอย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์มี ข้อมูลด้านวิชาการใหม่ๆ ออกมาตลอด และการดูแลรักษาผู้ป่วยบางกรณี อาจมีข้อจ�ำกัดที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเอกสารข้อแนะน�ำฯ นี้ได้ ดังนั้น เอกสารชุดนี้จึงเป็นเอกสารประกอบการดูแลผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ควรถือ เอาเป็นข้อบังคับในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำนี้ได้ และควร มีการสัมมนาเพื่อทบทวนเอกสารชุดนี้เมื่อมีข้อมูลวิชาการหรือข้อมูล การรักษาผู้ป่วยมากขึ้นต่อไป รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสิริภา ช้างศิริกุลชัย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวี ศิริวงศ์ บรรณาธิการ 31 สิงหาคม 2555
  • 11.
  • 12. สารบัญ ตอนที่ 1 บทสรุปข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม 1 ตอนที่ 2 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม 1. การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต 19 2. การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด และการเฝ้าติดตาม 26 3. เครื่องไตเทียม และตัวกรอง 34 4. ระบบน�้ำบริสุทธิ์ 38 5. การป้องกันการแข็งตัวของเลือด 44 6. การเริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในครั้งแรกๆ 49 7. การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 53 8. การติดตามผู้ป่วยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด 62 9. การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด 68 10. การดูแลภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือด 81 11. การดูแลรักษาความดันโลหิตสูง 90
  • 13. 12. การดูแลรักษาความดันโลหิตต�่ำ 99 13. การดูแลรักษาความผิดปกติทางเมตะบอลิก ของแร่ธาตุ และกระดูก 104 14. การดูแลรักษาภาวะซีด 114 15. การรักษาการท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่ 122 16. หลักการใช้ยาในผู้ป่วยฟอกเลือด 125 17. การยุติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 130 ตอนที่ 3 กระบวนการจัดท�ำข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 1. น�้ำหนักค�ำแนะน�ำ 133 2. ประเภทของคุณภาพหลักฐาน 134 3. รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย 135 4. รายชื่อคณะอนุกรรมการวิจัย และมาตรฐานวิชาชีพ 137
  • 14. สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังและการพยากรณ์โรค ค�ำนวณจากค่าอัตราการกรองของไต และปริมาณโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะ 24 2 ก. ปริมาณสารเคมีของน�้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ส�ำหรับการฟอกเลือด 42 ข. ปริมาณแบคทีเรียและ endotoxin ตามระดับ คุณภาพของน�้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการฟอกเลือด 43 3 4Ts Scoring System ส�ำหรับวินิจฉัยภาวะเกล็ดเลือดต�่ำ จาก Heparin (HIT) ชนิดที่ 2 48 4 การประเมินผู้ป่วยขณะเข้ารับการบ�ำบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือดในครั้งแรกๆ 52 5 การรักษาภาวะติดเชื้อของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด 59 6 การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม 73 7 แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด (Intradialytic Hypertension) 97 8 ปัจจัย สาเหตุ และแนวคิดในการแก้ไขความดันโลหิตต�่ำ ขณะฟอกเลือด (Intradialytic Hypotension) 103 9 ชนิดของยาจับฟอสเฟตที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน 112
  • 15. 10 ปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยา ที่พบบ่อยในผู้ป่วย ที่ได้รับการฟอกเลือด 128 11 ปัญหาผลข้างเคียงของยาที่มีดัชนีในการรักษาแคบ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด 129 สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิที่ หน้า 1 แนวทางการตรวจติดตามความพร้อมและสมบูรณ์ ของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด 33 2 ขั้นตอนในการน�ำตัวกรองมาใช้ซ�้ำ 37 3 การตรวจป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด 61 4 แนวทางการให้สารอาหารในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด 80 5 แนวทางการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย ที่ได้รับการฟอกเลือด 98 6 แนวทางการควบคุมเมตะบอลิกของแร่ธาตุและกระดูก ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด 113
  • 16. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 1 ตอนที่ 1 บทสรุปข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม 1. การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อการบ�ำบัด ทดแทนไต ค�ำแนะน�ำที่ 1.1 ควรส่งผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังพบอายุรแพทย์โรคไตเมื่อ 1. ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 2. ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มีการลดลงของอัตรา การกรองของไตโดยประมาณ (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) มากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ต่อปี หรือ มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 3. ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัม ต่อวัน หรือมีสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะมากกว่า 1 แม้จะได้ควบคุมความดันโลหิตตามเป้าหมาย (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 1.2 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับค�ำแนะน�ำให้เตรียมตัว เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 1.3 ควรพิจารณาเริ่มการบ�ำบัดทดแทนไตเมื่อ 1. ผู้ป่วยมีระดับ eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร และไม่พบเหตุที่ท�ำให้ไตเสื่อมการท�ำงานชั่วคราว หรือ
  • 17. 2 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 2. ผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 ที่มีระดับ eGFR มากกว่า 6 มล./ นาที/1.73 ตารางเมตร แต่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดโดยตรงจากโรคไต เรื้อรังซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ และอาจเป็นอันตราย รุนแรงต่อผู้ป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 2.1 ภาวะน�้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจ วาย หรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ 2.2 ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือ ฟอสเฟตในเลือดสูง 2.3 ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรืออาการชักกระตุกจาก ภาวะยูรีเมีย 2.4 เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย 2.5 คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น�้ำหนักลดลง หรือมี ภาวะทุพโภชนาการ (++/I) 2. การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด และ การเฝ้าติดตาม ค�ำแนะน�ำที่ 2.1 ผู้ป่วยที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรได้รับการเตรียมเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน ส�ำหรับ arteriovenous fistula (AVF) และ 4-6 สัปดาห์ส�ำหรับ arteriovenous graft (AVG) ยกเว้น graft บางชนิด อาจเริ่มใช้ได้ทันทีหลังผ่าตัด (++/III)
  • 18. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 3 ค�ำแนะน�ำที่ 2.2 ควรหลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิต เจาะเลือด ให้สารน�้ำ ฉีดยา หรือใส่สายสวน ที่หลอดเลือดบริเวณแขนซึ่งได้ก�ำหนด ไว้ส�ำหรับท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ในผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 4 ขึ้นไปที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม (+/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 2.3 ควรพิจารณาท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ การฟอกเลือดให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย โดยเลือกใช้ AVF ก่อน เป็นล�ำดับแรก ตามด้วย AVG และเลือกใช้การใส่สายสวนหลอดเลือด ระยะยาว (permanent catheter) เป็นล�ำดับหลัง (++/II) ค�ำแนะน�ำที่ 2.4 ก่อนการผ่าตัดท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ การฟอกเลือด หรือใส่สายสวนหลอดเลือด ผู้ป่วยและญาติหรือผู้แทน โดยชอบธรรมควรได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และลงนามให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 2.5 ควรแนะน�ำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมท�ำ AVF บริหาร มือและแขนอย่างสม�่ำเสมอ ทั้งก่อนและหลังการท�ำผ่าตัด (+/II) ค�ำแนะน�ำที่ 2.6 ผู้ป่วยที่ AVF ไม่สมบูรณ์พร้อมใช้ภายในเวลา 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและแก้ไข (+/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 2.7 ในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือด ควรเลือกใช้ internal jugular vein เป็นต�ำแหน่งแรก และประเมินสายสวนหลอดเลือด ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง (+/IV)
  • 19. 4 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ค�ำแนะน�ำที่ 2.8 ควรตรวจความพร้อมและสมบูรณ์ของ AVF หรือ AVG อย่างน้อยเดือนละครั้ง (+/III) 3. เครื่องไตเทียม และตัวกรอง ค�ำแนะน�ำที่ 3.1 การดูแลเครื่องไตเทียม ต้องเป็นไปตามข้อแนะน�ำ ส�ำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 3.2 การใช้ตัวกรอง ควรเลือกชนิดที่เข้ากันได้ดีทางชีวภาพ (biocompatibility) และมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณการ ฟอกเลือดที่เพียงพอ (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 3.3 การน�ำตัวกรองมาใช้ซ�้ำ (reuse dialyzer) สามารถ ท�ำได้ ยกเว้นในกรณีที่มีการปนเปื้อนเชื้อซึ่งติดต่อได้ง่าย โดยตัวกรอง ที่น�ำมาใช้ซ�้ำ ต้องมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด (+/I) ค�ำแนะน�ำที่ 3.4 ไม่ควรน�ำชุดสายส่งเลือด (bloodline) มาใช้ซ�้ำ (-/IV) 4. ระบบน�้ำบริสุทธิ์ ค�ำแนะน�ำที่ 4.1 น�้ำบริสุทธิ์ที่น�ำมาใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมต้องมีคุณภาพความบริสุทธิ์ตามเกณฑ์ของ AAMI หรือระดับ regular pure ตามเกณฑ์ของ European Pharmacopoeia ส�ำหรับ online hemofiltration และ hemodiafiltration แนะน�ำให้ใช้น�้ำบริสุทธิ์ คุณภาพระดับ ultrapure (++/II)
  • 20. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 5 ค�ำแนะน�ำที่ 4.2 ระบบการผลิตน�้ำบริสุทธิ์ควรเป็นระบบ reverse osmosis ระบบจ่ายน�้ำบริสุทธิ์ต้องเป็นชนิดไหลวนกลับ (recirculation loop) และวัสดุที่ใช้ต้องปลอดสนิม (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 4.3 การควบคุมระบบน�้ำบริสุทธิ์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ในแนวทางปฏิบัติเรื่อง การเตรียมน�้ำบริสุทธิ์เพื่อการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย โดยมีการตรวจสอบคุณภาพ น�้ำบริสุทธิ์ คุณภาพของอุปกรณ์ในระบบผลิตน�้ำบริสุทธิ์ และระบบ การฆ่าเชื้อ เป็นประจ�ำสม�่ำเสมอ (++/IV) 5. การป้องกันการแข็งตัวของเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 5.1 ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรเลือกใช้ unfractionated heparin หรือ low molecular weight heparin เป็นล�ำดับแรก (++/II) ค�ำแนะน�ำที่ 5.2 ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะเลือดออก ควรหลีกเลี่ยงสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด และให้การป้องกัน การแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอกเลือดด้วยวิธีอื่น (++/II) ค�ำแนะน�ำที่ 5.3 หากเกิดภาวะเกล็ดเลือดต�่ำจาก heparin (hep- arin-induced thrombocytopenia, HIT) ชนิดที่ 2 ต้องเปลี่ยน ไปใช้การป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอกเลือดด้วยวิธีอื่น (++/II)
  • 21. 6 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ค�ำแนะน�ำที่ 5.4 หลังเสร็จสิ้นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรใช้สารป้องกันการแข็งตัวของเลือดหล่อในสายสวนหลอดเลือด ทุกครั้ง (++/IV) 6. การเริ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในครั้งแรกๆ ค�ำแนะน�ำที่ 6.1 ควรประเมินผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เมื่อเริ่มต้นฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมในครั้งแรกๆ (first few sessions) (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 6.2 ผู้ป่วยที่เริ่มการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมใน ครั้งแรกๆ ควรป้องกันการเกิดกลุ่มอาการไม่สมดุลจากการฟอกเลือด (dialysis disequilibrium syndrome) โดยก�ำหนดเป้าหมายของ การลดระดับยูเรียในเลือดไม่เกินร้อยละ 40 ของค่าตั้งต้น (++/III) 7. การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ค�ำแนะน�ำที่ 7.1 สถานพยาบาลที่ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม ต้องมีระบบควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ตามข้อแนะน�ำ ส�ำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 7.2 สถานพยาบาลที่ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม ควรจัดท�ำมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เป็นลายลักษณ์ อักษร (+/IV)
  • 22. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 7 ค�ำแนะน�ำที่ 7.3 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่ให้บริการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องยึดหลักมาตรฐานในการป้องกัน การติดเชื้อ (standard precaution) โดยเคร่งครัด (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 7.4 การแทงเข็มที่หลอดเลือดซึ่งใช้ส�ำหรับการฟอกเลือด และการใช้สายสวนหลอดเลือด ต้องใช้หลักปราศจากเชื้อ และควรเปลี่ยน ต�ำแหน่งทุกครั้ง (++/I-2) ค�ำแนะน�ำที่ 7.5 การฟอกเลือดแต่ละครั้งให้ใช้ external pressure transducer กับเครื่องไตเทียม และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งหลังสิ้นสุด การฟอกเลือด ถ้ามีปัญหาปนเปื้อน internal pressure transducer ต้องหยุดใช้เครื่อง และท�ำความสะอาดหรือซ่อมแซมแก้ไขก่อนใช้กับ ผู้ป่วยรายต่อไป (+/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 7.6 ก่อนปลดตัวกรองและสายส่งเลือดออกจากเครื่อง หลังใช้กับผู้ป่วย ต้องตรวจสอบการปิดสนิทของข้อต่อและ clamp ต่างๆ พร้อมทั้งใส่ภาชนะรองรับขณะเคลื่อนย้าย และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน เครื่องไตเทียมในแต่ละวัน ต้องมีการฆ่าเชื้อภายใน (disinfection) ด้วย วิธีมาตรฐาน (+/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 7.7 ต้องมีการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัส ตับอักเสบซี และ HIV ในผู้ป่วยใหม่ทุกราย พร้อมตรวจซ�้ำทุก 6-12 เดือนในรายที่ไม่พบการติดเชื้อ และให้การรักษาตามความเหมาะสม ในรายที่พบเชื้อ (+/I)
  • 23. 8 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 8. การติดตามผู้ป่วยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 8.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการตรวจ หาระดับเกลือแร่ในเลือด แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแอลบูมิน อย่าง สม�่ำเสมอทุก 3 เดือน หรือบ่อยกว่านั้นตามความเหมาะสม โดยเลือก ตรวจเลือดก่อนการฟอกเลือดในช่วงกลางของสัปดาห์ (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 8.2 ควรตรวจค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือด (Hb) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตรวจเพิ่มเติมเมื่อพบว่ามีภาวะซีด (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 8.3 ควรตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ (iPTH) และประเมินสภาวะเหล็กในร่างกาย ทุก 6 เดือน หรือบ่อยกว่านั้นตาม ความเหมาะสม (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 8.4 เป้าหมายของระดับไบคาร์บอเนตก่อนการฟอกเลือด คือ 18 – 24 มิลลิโมล/ลิตร (++/III) ค�ำแนะน�ำที่ 8.5 เป้าหมายของระดับโปแตสเซียมก่อนการฟอกเลือด คือ 4 – 5.5 มิลลิโมล/ลิตร (++/III) ค�ำแนะน�ำที่ 8.6 ควรประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือด โดยใช้ ค่า Kt/V ที่ค�ำนวณจากระดับยูเรียในเลือด ก่อนและหลังการฟอกเลือด และ/หรือค่า urea reduction ratio อย่างน้อยทุก 3 เดือน (++/II)
  • 24. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 9 9. การประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยฟอกเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 9.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดควรได้รับการประเมินภาวะ โภชนาการก่อนเริ่มต้นฟอกเลือด และตรวจซ�้ำอย่างน้อยทุก 6 เดือน โดยใช้วิธีการหลายอย่างร่วมกันทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม (++/III) ค�ำแนะน�ำที่ 9.2 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดควรได้รับสารอาหารอย่าง เพียงพอ โดยมีพลังงาน 30-35 กิโลแคลลอรี/น�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/ วัน และโปรตีน 1.2 กรัม/น�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 9.3 ผู้ป่วยฟอกเลือดที่ถูกพบว่ามีภาวะทุพโภชนาการ ควรได้รับการค้นหาสาเหตุ และดูแลแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม ติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด (++/III) 10. การดูแลภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 10.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน ถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงโดยทั่วไป เช่น ตะคริว ปวด ศีรษะ คัน คลื่นไส้อาเจียน และให้การแก้ไขรักษาตามความเหมาะสม ในแต่ละราย (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 10.2 ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกขณะฟอกเลือด ควรได้ รับการประเมินอาการโดยเร็ว ตรวจสัญญาณชีพ ตรวจปอดและหัวใจ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่คิดถึงโรคของระบบหัวใจและหลอด เลือด ถ้าสงสัยว่าเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) ควรหยุดการฟอกเลือดทันที คืนเลือดผู้ป่วย ให้ออกซิเจน
  • 25. 10 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ให้ยา aspirin เคี้ยว และยา nitroglycerin พ่นหรืออมใต้ลิ้น ก่อน ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาต่อไป (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 10.3 ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) ขณะฟอกเลือด ควรได้รับการประเมินโดยเร็ว ตรวจสัญญาณชีพ ให้ออกซิเจน ตรวจและติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ก่อนให้การรักษาตามประเภท ความรุนแรงของอาการ และหยุด การฟอกเลือดทันทีหากมีอาการรุนแรงมาก (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 10.4 กรณีที่สงสัยหรือตรวจพบว่ามีฟองอากาศอุดตัน ในหลอดเลือด (air embolism) ให้ clamp สายส่งเลือดด�ำ และหยุด blood pump ทันที จัดท่าผู้ป่วยนอนราบ พร้อมให้ออกซิเจน 100% และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรท�ำหัตถการเพื่อดูดเอาลมออกด้วยวิธีที่เหมาะสม (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 10.5 กรณีที่สงสัยว่าเกิดอาการจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่าง รุนแรง (anaphylaxis) ชนิด A ให้ clamp blood line และหยุด การฟอกเลือดทันทีโดยไม่คืนเลือดกลับเข้าตัวผู้ป่วยและไม่น�ำตัวกรอง ไปใช้ซ�้ำ ให้ออกซิเจน และให้การรักษาตามความรุนแรงของอาการ ส�ำหรับปฏิกิริยาการแพ้ชนิด B ซึ่งมีความรุนแรงต�่ำกว่า สามารถท�ำ การฟอกเลือดต่อได้ (++/IV) 11. การดูแลรักษาความดันโลหิตสูง ค�ำแนะน�ำที่ 11.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการวัดความ ดันโลหิตทั้งก่อนฟอกเลือด ในขณะที่ฟอกเลือดอย่างน้อยทุก 30 นาที และภายหลังการฟอกเลือดเสร็จสิ้น (++/IV)
  • 26. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 11 ค�ำแนะน�ำที่ 11.2 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตก่อนฟอกเลือดสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หรือ 130/80 มม.ปรอท หลังฟอกเลือด จัดเป็น ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และควรได้รับการควบคุม (++/III) ค�ำแนะน�ำที่ 11.3 การดูแลรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา (non pharmacological therapy) ด้วยการให้สุขศึกษาและปรับเปลี่ยน วิถีชีวิต/พฤติกรรม รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการฟอกเลือด ประกอบด้วย 1. จ�ำกัดการบริโภคโซเดียม ไม่เกิน 2-3 กรัมของโซเดียม คลอไรด์ต่อวัน 2. รักษาดัชนีมวลกายที่ 18.5-23 กก. ต่อตารางเมตร 3. ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอตามความเหมาะสม และงดการสูบบุหรี่ 4. ปรับลดน�้ำหนักตัวหลังฟอกเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม (probing dry-weight) 5. หลีกเลี่ยงการใช้น�้ำยาฟอกเลือดที่มีความเข้มข้นของ โซเดียมสูง และการใช้ sodium profile (++/IV) ค�ำแนะน�ำที่ 11.4 ควรเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม angiotensin coverting enzyme inhibitor (ACEI) หรือ angiotensin II receptor blocker (ARB) เป็นล�ำดับแรก ถ้าไม่มีข้อห้าม โดยอาจให้ ยาเพียงชนิดเดียวหรือร่วมกับยาอื่น เช่น b-blocker หรือ calcium channel blocker ตามข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย (++/III)
  • 27. 12 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ค�ำแนะน�ำที่ 11.5 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด (intra- dialytic hypertension) ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และประเมิน หาสาเหตุเสมอ (++/II) ค�ำแนะน�ำที่ 11.5 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงขณะฟอกเลือด ควรได้ รับการดูแลรักษาอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การควบคุมไม่ให้น�้ำหนักตัว ระหว่างวันฟอกเลือดเพิ่มมากเกินไป การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิต ที่เหมาะสม การปรับลดน�้ำหนักตัวหลังฟอกเลือด และการปรับเทคนิค ที่ใช้ในการฟอกเลือด (++/III) 12. การดูแลรักษาความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 12.1 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด (intra- dialytic hypotension) ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และประเมิน หาสาเหตุเสมอ (++/I) ค�ำแนะน�ำที่ 12.2 ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด ควรได้ รับการดูแลรักษาอย่างเป็นขั้นตอน และได้รับมาตรการป้องกันการเกิดซ�้ำ ตามสาเหตุที่จ�ำเพาะในแต่ละราย (++/II) ค�ำแนะน�ำที่ 12.3 ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการใดๆ ในการป้องกัน การเกิดภาวะความดันโลหิตต�่ำขณะฟอกเลือด ควรพิจารณาเปลี่ยน เป็นการล้างไตทางช่องท้อง (++/II)
  • 28. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 13 13. การดูแลรักษาความผิดปกติทางเมตะบอลิกของแร่ธาตุ และกระดูก ค�ำแนะน�ำที่ 13.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน ภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางเมตะบอลิกของกระดูกอย่างน้อย ทุก 3 เดือน โดยดูจากอาการ อาการแสดง และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ในเลือด หรือ ผลการตรวจอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้ (++/IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 13.2 เป้าหมายของระดับฟอสฟอรัสก่อนการฟอกเลือด คือ 2.7-4.9 มก./ดล. และเป้าหมายของระดับแคลเซียม คือ 9.0-10.2 มก./ดล. (++/IV-2) ค�ำแนะน�ำที่ 13.3 เป้าหมายของระดับพาราธัยรอยด์ (intact para- thyroid hormone, PTHi) อยู่ในช่วง 2 ถึง 9 เท่า ของค่าปกติที่สูงสุด หรือประมาณ 130-600 พิโคกรัม/ดล. (++/IV-2) ค�ำแนะน�ำที่ 13.4 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับค�ำแนะน�ำให้ จ�ำกัดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง และรับประทานยาจับฟอสเฟตในทางเดิน อาหาร (phosphate binder) ร่วมด้วย ตามความเหมาะสมและ ข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย (++, III-2) ค�ำแนะน�ำที่ 13.5 ผู้ป่วยที่ยังคงมีระดับพาราธัยรอยด์สูงกว่า 2 เท่า ของค่าปกติที่สูงสุด และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามล�ำดับ ควรได้รับวิตามินดี ชนิด active รับประทานร่วมด้วย (+, IV-1)
  • 29. 14 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ค�ำแนะน�ำที่ 13.6 ผู้ป่วยที่มีระดับพาราธัยรอยด์ในเลือดสูงมาก และ ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาและการฟอกเลือด ควรได้รับการตรวจหา สาเหตุและพิจารณาผ่าตัดต่อมพาราธัยรอยด์ (+, IV-2) 14. การดูแลรักษาภาวะซีด ค�ำแนะน�ำที่ 14.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน หาสาเหตุของภาวะซีด เมื่อระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin, Hb) น้อย กว่า 13.0 กรัม/ดล. ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า 12.0 กรัม/ดล. ในผู้หญิง อายุ 15 ปีขึ้นไป (++/IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 14.2 ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยยากระตุ้นการสร้าง เม็ดเลือดแดง (erythropoiesis stimulating agent, ESA) เมื่อระดับ Hb น้อยกว่า 10 กรัม/ดล. โดยไม่มีสาเหตุอื่นของภาวะซีด และมี ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายเพียงพอ (+/IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 14.3 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ESA แล้ว ควรคงระดับ Hb ระหว่าง 10-11.5 กรัม/ดล. และไม่ควรเกิน 13 กรัม/ดล. (+/I-1) ค�ำแนะน�ำที่ 14.4 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ESA แล้ว มีระดับ ferritin ในเลือดต�่ำกว่า 500 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ร่วมกับค่า % TSAT น้อยกว่าร้อยละ 30 และไม่ตอบสนองต่อการให้ธาตุเหล็กทดแทนด้วย การรับประทานเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน ควรได้รับเหล็กทดแทนทาง หลอดเลือดด�ำ (++, III) ค�ำแนะน�ำที่ 14.5 ผู้ป่วยที่ได้รับ epoetin ในขนาดสูงกว่า 300 ยูนิต ต่อกิโลกรัมต่อสัปดาห์ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (หรือ 450 ยูนิตต่อกิโลกรัม
  • 30. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 15 ต่อสัปดาห์ ทางหลอดเลือดด�ำ) แล้วยังรักษาระดับ Hb ไม่ได้ตามเป้า จัดเป็นภาวะตอบสนองน้อยต่อ ESA ควรได้รับการหาสาเหตุและให้ การรักษาอย่างเหมาะสม (+, IV-1) 15. การรักษาการท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่ ค�ำแนะน�ำที่ 15.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ควรได้รับการประเมิน การท�ำงานของไตที่ยังเหลืออยู่ (residual renal function) และตรวจซ�้ำ ทุกปี (+, IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 15.2 ผู้ป่วยที่ยังมีการท�ำงานของไตเหลืออยู่ ควรหลีกเลี่ยง ภาวะต่างๆ ที่อาจส่งผลให้การท�ำงานของไตลดลง (++, IV-2) 16. หลักการใช้ยาในผู้ป่วยฟอกเลือด ค�ำแนะน�ำที่ 16.1 ควรมีการทบทวนรายการยาในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอก เลือดเป็นระยะๆ และก่อนให้ยาใดๆ เพิ่มเติม (++, IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 16.2 ควรระวังในการใช้ยาที่มีดัชนีในการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) โดยติดตามอาการข้างเคียงจาก การให้ยา และถ้าท�ำได้ควรมีการติดตามระดับยาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด (++, III) ค�ำแนะน�ำที่ 16.3 ควรค�ำนึงถึงการขจัดยาโดยกระบวนการฟอกเลือดเสมอ ส�ำหรับยาที่มีการขจัดออกทางการฟอกเลือด ควรให้ยาเสริมภายหลัง การฟอกเลือดหรืออาจให้ยาเฉพาะภายหลังการฟอกเลือด (++, III)
  • 31. 16 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 17. การยุติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ค�ำแนะน�ำที่ 17.1 ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและญาติมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเพื่อวางแผนการรักษา (++, IV-1) ค�ำแนะน�ำที่ 17.2 อาจยกเว้น (withhold) หรือหยุด (withdraw) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ป่วย ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะดี มีความสามารถในการตัดสินใจ ได้แสดงเจตจ�ำนงโดยอิสระที่จะขอยกเว้นหรือหยุดการบ�ำบัดทดแทนไต ที่ผู้ป่วยได้รับ 2. ผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง แต่ได้แสดง เจตจ�ำนงล่วงน้าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะขอยกเว้นหรือ หยุดการบ�ำบัดทดแทนไตที่ผู้ป่วยได้รับ เมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย 3. ผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง และมีญาติ ที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอยกเว้นหรือหยุด การบ�ำบัดทดแทนไตที่ผู้ป่วยได้รับ เมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย 4. ผู้ป่วยที่สูญเสียระดับการรู้สึกตัวแบบถาวร จากพยาธิสภาพ ในระบบประสาท หรืออยู่ในระยะสุดท้ายของโรคอื่นๆ นอกจากโรคไต ซึ่งผู้ป่วยและญาติเห็นพ้องว่าไม่ได้รับประโยชน์จากการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม 5. ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก (เช่น ความดันโลหิตต�่ำมาก) หรือ ไม่ร่วมมือในการรักษา ซึ่งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอาจก่อ ให้เกิดอันตรายได้สูง
  • 32. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 17 6. ผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า 75 ปี และมีสิ่งตรวจพบอย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อ ได้แก่ 1) แพทย์ผู้รักษาเห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ไม่เกิน 1 ปี 2) มี comorbidity score สูง (เช่น Charleson comorbidity score > 8 หรือ French Renal Epidemiology and Information Network (FREIN) 6-Month Prognosis Clinical Score > 9) 3) ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจ�ำวันและ การท�ำงาน (Functional Status) ต�่ำมาก (เช่น Karnofsky Perfor- mance Status score น้อยกว่า 40) 4) มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรง (++, IV-1)
  • 33.
  • 34. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 19 ตอนที่ 2 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1. การเตรียมการส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อการบ�ำบัด ทดแทนไต ค�ำแนะน�ำที่ 1.1 ควรส่งผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังพบอายุรแพทย์โรคไตเมื่อ 1. ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 2. ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มีการลดลงของอัตราการก รองของไตโดยประมาณ (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) มากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ต่อปี หรือมีความดัน โลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 3. ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัม ต่อวัน หรือมีสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะมากกว่า 1 แม้จะได้ควบคุมความดันโลหิตตามเป้าหมาย (++/I) ค�ำอธิบาย การวินิจฉัยและวางแผนรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรท�ำ โดยอายุรแพทย์หรือแพทย์ที่มีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่นที่ได้ก�ำหนดโดยสมาคม โรคไตแห่งประเทศไทยเรื่อง แนวทางเวชปฏิบัติส�ำหรับโรคไตเรื้อรังก่อน การบ�ำบัดทดแทนไต ฉบับปี พ.ศ. 2552 การศึกษาที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อพบอายุรแพทย์โรคไตหรืออายุรแพทย์ที่ผ่าน
  • 35. 20 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 การรับรองให้ปฏิบัติงานการบ�ำบัดทดแทนไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้การวางแผนรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประสบผลส�ำเร็จยิ่งขึ้น(1) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะท้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ผู้ป่วยในระยะที่ 3 (eGFR 30 - 59 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร) ที่มี อัตราการเสื่อมของไตเร็วกว่าปกติ มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะมาก 2) ให้ผู้ป่วยในระยะที่ 4 (eGFR 15 - 29 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร) ได้รับค�ำแนะน�ำอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับทางเลือก และการเตรียมตัวต่างๆ เพื่อรับการบ�ำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) เมื่อ มีข้อบ่งชี้ การส่งต่อผู้ป่วยที่ล่าช้า จะมีผลต่อระยะเวลาที่ต้องนอน โรงพยาบาลเมื่อเริ่มบ�ำบัดทดแทนไต และอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย(2) (ดูตารางที่ 1 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรัง และการค�ำนวณอัตรา การกรองของไต) ค�ำแนะน�ำที่ 1.2 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับค�ำแนะน�ำให้เตรียมตัว เพื่อการบ�ำบัดทดแทนไต เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 (++/I) ค�ำอธิบาย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 4 ขึ้นไปรวมทั้งญาติ ควร ได้รับค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับทางเลือกเพื่อรับการบ�ำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่าย ไต และการรักษาแบบประคับประคอง อีกทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงได้
  • 36. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 21 เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้เลือกวิธีการรักษาทดแทนไตที่เหมาะสมแก่ตนเอง ล่วงหน้า เพื่อเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมเมื่อโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ ระยะท้าย ทั้งยังมีเวลาเตรียมหลอดเลือดให้พร้อมใช้ในการฟอกเลือด (vascular access) หากตัดสินใจรับการบ�ำบัดทดแทนไตโดยการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม(3) ค�ำแนะน�ำที่ 1.3 ควรพิจารณาเริ่มการบ�ำบัดทดแทนไตเมื่อ 1, ผู้ป่วยมีระดับ eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร และไม่พบเหตุที่ท�ำให้ไตเสื่อมการท�ำงานชั่วคราว หรือ 2. ผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 ที่มีระดับ eGFR มากกว่า 6 มล./ นาที/1.73 ตารางเมตร แต่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดโดยตรงจากโรคไต เรื้อรังซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ และอาจเป็นอันตราย รุนแรงต่อผู้ป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 2.1 ภาวะน�้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจ วาย หรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ 2.2 ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือ ฟอสเฟตในเลือดสูง 2.3 ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรือมีอาการชักกระตุกจาก ภาวะยูรีเมีย 2.4 เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย 2.5 คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น�้ำหนักลดลง หรือมี ภาวะทุพโภชนาการ (++/I)
  • 37. 22 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ค�ำอธิบาย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 4 ซึ่งได้รับการบ�ำบัดทดแทน ไตเมื่อมี eGFR 5 - 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร มีอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่มี eGFR 10 - 14 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร และสามารถชะลอเวลาที่ต้องเริ่มฟอกเลือดไปได้อีกประมาณ 6 เดือน(4) ทั้งมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุขมากกว่า(5) อย่างไรก็ตาม การประมาณอัตราการกรองของ ไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะท้ายอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงต้อง มีการเตรียมตัวเพื่อการการบ�ำบัดทดแทนไตในทางเลือกที่เหมาะสมตั้งแต่ แรกเริ่มเข้าระยะที่ 4 ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับ การบ�ำบัดทดแทนไตก่อน หากมีข้อบ่งชี้ทางคลินิกของภาวะแทรกซ้อน ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษา ที่ท�ำให้อัตราการเจ็บป่วยสูงขึ้นหรืออาจ เป็นอันตรายต่อชีวิต(6) เอกสารอ้างอิงค�ำแนะน�ำที่ 1 1. Smart NA, Titus TT. Outcomes of early versus late nephrology referral in chronic kidney disease: a systematic review. Am J Med 2011; 124:1073 - 80. 2. Chan MR, Dall AT, Fletcher KE, et al. Outcomes in patients with chronic kidney disease referred late to nephrologists: a meta - analysis. Am J Med 2007; 120:1063 - 70. 3. Luxton G; CARI. The CARI guidelines. Timing of referral of chronic kidney disease patients to nephrology services (adult). Nephrology (Carlton) 2010;15 Suppl 1:S2 - 11.
  • 38. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 23 4. Cooper BA, Branley P, Bulfone L, et al. A randomized, controlled trial of early versus late initiation of dialysis. N Engl J Med 2010; 363:609 - 19. 5. Harris A, Cooper BA, Li JJ, et al. Cost - effectiveness of initiating dialysis early: a randomized controlled trial. Am J Kidney Dis 2011; 57:707 - 15. 6. Pollock CA, Cooper BA, Harris DC. When should we commence dialysis? The story of a lingering problem and today’s scene after the IDEAL study. Nephrol Dial Transplant 2012; 27:2162 - 6.
  • 39. 24 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ตารางที่ 1 การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังและการพยากรณ์โรค ค�ำนวณ จากอัตราการกรองของไต และปริมาณโปรตีนต่อครีเอตินิน ในปัสสาวะ ระยะ Estimated GFR* (มล./นาที/ 1.73 ตารางเมตร) ค�ำจ�ำกัดความ โปรตีนต่อครีเอตินิน ในปัสสาวะ (มก./กรัม) < 30 30 - 300 > 300 A1 A2 A3 G1 > 90 อัตราการกรองของไตปกติ แต่พบมีความผิดปกติจากการ ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ และ/ หรือพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อไต G2 60 - 89 อัตราการกรองของไตลดลง เล็กน้อย G3a 45 - 59 อัตราการกรองของไตลดลง ปานกลางG3b 30 - 44 G4 15 - 29 อัตราการกรองของไตลดลง มาก G5 < 15 (หรือได้รับ การบ�ำบัด ทดแทนไต) ภาวะไตวาย อัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต เรียงตามความเข้มของสี จาก ขาว - เทาอ่อน - เทาเข้ม - ด�ำ
  • 40. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 25 * ค่า Estimated glomerular filtration rate (eGFR) คือ อัตราการกรอง ของไตโดยประมาณ ค�ำนวณด้วยสูตร CKD - EPI (Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration) ควรใช้ค่าระดับซีรั่มครีเอตินีนที่วัดด้วย วิธี enzymatic method เพื่อความแม่นย�ำ (หรือ modified kinetic Jaffe reaction ถ้าไม่สามารถท�ำได้) ดังนี้ Serum Creatinine (มก./ดล.) eGFR หญิง < 0.7 144 x (SCr/0.7) - 0.329 x (0.993)Age > 0.7 144 x (SCr/0.7) - 1.209 x (0.993)Age ชาย < 0.9 141 x (SCr/0.7) - 0.411 x (0.993)Age > 0.9 141 x (SCr/0.7) - 1.209 x (0.993)Age
  • 41. 26 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 2. การเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด และการเฝ้าติดตาม ค�ำแนะน�ำที่ 2.1 ผู้ป่วยที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรได้รับการเตรียมเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน ส�ำหรับ arteriovenous fistula (AVF) และ 4 - 6 สัปดาห์ส�ำหรับ arteriovenous graft (AVG) ยกเว้น graft บางชนิด อาจเริ่มใช้ได้ทันทีหลังผ่าตัด (++/III) ค�ำอธิบาย ในการฟอกเลือดส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยง การเตรียมหลอดเลือดแบบรีบด่วน เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดแบบ ชั่วคราว (temporary double lumen catheter) เพราะจะใช้สาย สวนได้ไม่นาน สร้างความไม่สะดวกสบาย และมีโอกาสเกิดการอุดตัน หรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้สูง ควรเลือกเตรียมหลอดเลือดแบบถาวร (permanent) โดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดไว้ล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะ เป็นการสะดวกเมื่อต้องการใช้ ประหยัด และให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แม้ต้อง รอเวลาให้หลอดเลือดมีขนาดโตขึ้น มีความหนาของผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และมีปริมาณการไหลเวียนของเลือดเพียงพอที่จะน�ำมาใช้ฟอกเลือดได้ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 6 - 8 สัปดาห์ขึ้นไปส�ำหรับ AVF ส่วน AVG ต้อง รอให้แผลผ่าตัดยุบบวม และผนังของ graft มีการยึดติดกับเนื้อเยื่อ โดยรอบ ซึ่งใช้เวลาโดยทั่วไปประมาณ 2 - 4 สัปดาห์(1) ค�ำแนะน�ำที่ 2.2 ควรหลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิต เจาะเลือด ให้สารน�้ำ ฉีดยา หรือใส่สายสวน ที่หลอดเลือดบริเวณแขนซึ่งได้ก�ำหนด ไว้ส�ำหรับท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับการฟอกเลือด ในผู้ป่วยโรคไต
  • 42. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 27 เรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 4 ขึ้นไปที่เลือกรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (+/IV) ค�ำอธิบาย การประเมินหลอดเลือดเพื่อเตรียมส�ำหรับการฟอกเลือดนั้น มีความส�ำคัญมากต่อผลส�ำเร็จที่ออกมา โดยทั่วไป จะเริ่มใช้หลอดเลือด บริเวณเหนือข้อมือในแขนข้างที่ไม่ถนัดก่อน แต่ถ้าไม่เหมาะสม ถึงจะ มาเลือกใช้บริเวณข้อศอก หรือมาใช้แขนข้างที่ถนัด ทั้งนี้ การเจาะเลือดหรือท�ำหัตถการที่หลอดเลือดในบริเวณซึ่งได้ ก�ำหนดไว้ อาจท�ำให้เกิดอันตรายต่อผนังหลอดเลือดด�ำหรือการไหลเวียน ของเลือดผิดปกติ ท�ำให้อัตราความส�ำเร็จในการท�ำหลอดเลือดชนิดถาวร ส�ำหรับการฟอกเลือดลดลง และมีผลต่อการใช้และรักษาให้ยังใช้งานได้ ดีเป็นเวลานาน (patency) จึงควรก�ำหนดให้หลีกเลี่ยงในช่วงระยะเวลา พอสมควร ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4(2) ค�ำแนะน�ำที่ 2.3 ควรพิจารณาท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ การฟอกเลือดให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย โดยเลือกใช้ AVF ก่อน เป็นล�ำดับแรก ตามด้วย AVG และเลือกใช้การใส่สายสวนหลอดเลือด ระยะยาว (permanent catheter) เป็นล�ำดับหลัง (++/II) ค�ำอธิบาย ในทางเลือกเพื่อท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ การฟอกเลือด พบว่า AVF มีอัตราการเกิดหลอดเลือดอุดตัน (throm- bosis) ต�่ำที่สุด รวมทั้งความต้องการในการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในระยะยาวน้อยที่สุด ท�ำให้หลอดเลือดคงใช้ส�ำหรับการฟอกเลือดได้นาน มากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายคุ้มค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับ AVG หรือ การใส่สายสวนหลอดเลือดระยะยาว คิดเป็น 1 ใน 6 และ 1 ใน 10
  • 43. 28 ข้อแนะน�ำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 ตามล�ำดับ(3,4) จึงควรพิจารณาเลือกใช้ก่อนเป็นล�ำดับแรก ถ้าไม่มี ข้อห้ามและมีเวลาในการรอจนหลอดเลือดโตพอที่จะฟอกเลือดได้ ค�ำแนะน�ำที่ 2.4 ก่อนการผ่าตัดท�ำหลอดเลือดชนิดถาวรส�ำหรับ การฟอกเลือด หรือใส่สายสวนหลอดเลือด ผู้ป่วยและญาติหรือผู้แทน โดยชอบธรรมควรได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และลงนามให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร (++/IV) ค�ำอธิบาย ในการให้ความยินยอมนั้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และญาติ หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องได้รับการอธิบายหรือบอกเล่าให้เข้าใจถึง วิธีการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และความส�ำคัญของ การเตรียมหลอดเลือด ผลดีและผลเสีย ตลอดจนอันตรายหรือผลแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อน�ำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน อันถือเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วย ก่อนลงนามให้ความยินยอมเป็น ลายลักษณ์อักษรในเอกสารใบยินยอม (informed consent) ค�ำแนะน�ำที่ 2.5 ควรแนะน�ำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมท�ำ AVF บริหาร มือและแขนอย่างสม�่ำเสมอ ทั้งก่อนและหลังการท�ำผ่าตัด (+/II) ค�ำอธิบาย การออกก�ำลังให้มีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่มี การเคลื่อนไหว (isometric exercise) จะช่วยเพิ่มขนาดและความแข็งแรง ของหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนของเลือดผ่าน AVF ตัวอย่าง ที่ควรแนะน�ำได้แก่ การบริหารมือและท้องแขนด้วยการบีบลูกบอลยาง และบีบไม้หนีบ หรือการยกน�้ำหนักค้างไว้ในท่าต่างๆ เพื่อบริหารกล้าม เนื้อต้นแขน ในกรณีที่ AVF อยู่เหนือข้อศอก เป็นต้น(2,5)
  • 44. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 29 ค�ำแนะน�ำที่ 2.6 ผู้ป่วยที่ AVF ไม่สมบูรณ์พร้อมใช้ภายในเวลา 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและแก้ไข (+/IV) ค�ำอธิบาย ลักษณะของ AVF ที่สมบูรณ์พร้อมใช้ จะเห็นเป็นเส้นตรง ไม่คดเคี้ยว ไม่มีลักษณะโป่งพอง คล�ำได้แรงสั่นสะเทือนจากการไหล ของเลือดตลอดเวลา (continuous thrill) ในบริเวณที่ต่อกับหลอดเลือด แดง (arterial anastomosis) และตลอดหลอดเลือดด�ำ (outflow vein) เมื่อฟังด้วย stethoscope จะได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ชนิดทุ้มต�่ำ ตลอดทั้งช่วง diastole และ systole และถ้าท�ำได้ ควรตรวจอัลตราซาวนด์ ดูว่าหลอดเลือดพร้อมใช้หรือไม่ โดยใช้หลัก 6 ข้อ หรือ “Rule of Six” กล่าวคือ เริ่มที่ 6 สัปดาห์หลังท�ำ AVF, ควรมีเลือดไหลผ่านมากกว่า 600 มล./นาที, ขนาดใหญ่กว่า 6 ม.ม. และไม่ควรอยู่ลึกจากผิวหนังเกิน 6 ม.ม. ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์ของ AVF ที่พร้อมต่อการใช้ฟอกเลือด ถ้าภายใน 6 สัปดาห์หลังผ่าตัดแล้ว AVF ที่เตรียมไว้ยังมีลักษณะ ไม่สมบูรณ์ เช่น เห็นหลอดเลือดด�ำเป็น accessory vein คล�ำไม่ได้ แรงสั่นสะเทือนจากการไหลของเลือดตลอดเวลา หรือคล�ำได้ลักษณะ เป็น pulse บริเวณที่หลอดเลือดตีบ หรือฟังได้เป็นเสียงฟู่ชนิดสูงเฉพาะ ในช่วง systole ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อท�ำการผ่าตัดแก้ไขหรือ ขยายหลอดเลือดด้วยวิธีอื่นต่อไป(6) ค�ำแนะน�ำที่ 2.7 ในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือด ควรเลือกใช้ internal jugular vein เป็นต�ำแหน่งแรก และประเมินสายสวนหลอดเลือด ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง (+/IV)