SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 98
Baixar para ler offline
จัดพิมพ์และเผยแพร่
	 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์
	 กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
	 โทร 0 2590 6395
	 โทรสาร 0 2965 9844
	 www.dms.moph.go.th/imrta
พิมพ์ครั้งที่ 1 	 กันยายน 2555
จำ�นวน 	 800 เล่ม
พิมพ์ที่ 	 สำ�นักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
ISBN 	 978-974-422-683-9
บรรณาธิการ	 แพทย์หญิงเนติมา  คูนีย์
หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกาย
ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ข้อแนะนำ�ต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกาย
ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงนี้ไม่ใช่ข้อบังคับ
	 แนวทางเวชปฏิบัตินี้เป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพของการบริการด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับ
ทรัพยากรและเงื่อนไขสังคมไทย โดยหวังผลในการสร้างเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยอย่างมี
ประสิทธิภาพและคุ้มค่า ข้อแนะนำ�ต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัตินี้ไม่ใช่ข้อบังคับของการปฏิบัติ ผู้ใช้สามารถ
ปฏิบัติแตกต่างไปจากข้อแนะนำ�นี้ได้ ในกรณีที่สถานการณ์แตกต่างออกไป หรือมีเหตุผลที่สมควร โดยใช้
วิจารณญาณซึ่งเป็นที่ยอมรับและอยู่บนพื้นฐานหลักวิชาการและจรรยาบรรณ
คำ�นำ�
	 เบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการดำ�รงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ ของผู้ป่วยและครอบครัว
รวมทั้งประเทศชาติ หัวใจสำ�คัญของการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงคือการค้นหาโรคตั้งแต่ระยะ
เริ่มแรกและการดูแลรักษา เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับความรู้ รวมทั้ง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อ
ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษาปัจจุบันการออกกำ�ลังกาย
เป็นวิธีหนึ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่ามีประโยชน์ สามารถป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง	
รวมทั้งชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องแนวปฏิบัติสำ�หรับ
การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
	 กรมการแพทย์ซึ่งเป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี
ทางการแพทย์ฝ่ายกาย ได้จัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ	
ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง การประเมินความเสี่ยง การเตรียม	
ความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกายและข้อแนะนำ�ต่างๆในการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมรวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยน	
พฤติกรรมในการออกกำ�ลังกายอย่างยั่งยืน เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�ผู้ป่วยให้
ออกกำ�ลังกายได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและชะลอการดำ�เนินของโรค และลดการเกิดภาวะ
แทรกซ้อนต่างๆ
	 ขอขอบคุณคณะทำ�งานทุกท่าน ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาในการรวบรวมข้อมูล จัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ
การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางนี้ จะเป็นเครื่องมือ
ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสถานบริการสุขภาพที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการดูแล
	
	 (แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ)
	 อธิบดีกรมการแพทย์
กแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
ข
	 1.	 นายแพทย์อนันต์ เสรฐภักดี
		 รองอธิบดีกรมการแพทย์		 ที่ปรึกษา
	 2.	 นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์	 ประธานคณะทำ�งาน
	 3.	 แพทย์หญิงสุขจันทร์ พงษ์ประไพ
		 ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลวิชัยยุทธ	 คณะทำ�งาน
	 4.	 ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์
		 สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ	 คณะทำ�งาน
	 5.	 ศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ	
	 	 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย	 คณะทำ�งาน
	 6.	 รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์	
	 	 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล	 คณะทำ�งาน
	 7.	 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
	 	 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย	 คณะทำ�งาน
	 8.	 นายสิทธา พงษ์พิบูลย์
	 	 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 	 คณะทำ�งาน
	 9.	 แพทย์หญิงปิยะนุช รักพาณิชย์
	 	 ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท	 คณะทำ�งาน
	 10.	 นายแพทย์เกรียงศักดิ์ เต็งอำ�นวย
		 กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย	 คณะทำ�งาน
	 11.	 นางนงพะงา ศิวานุวัฒน์
		 กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย	 คณะทำ�งาน
	 12.	 นางสาวอำ�นวย ภูภัทรพงศ์
	 	 กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย	 คณะทำ�งาน
	 13.	 นางสุดารัตน์ พืชไพบูลย์
		 กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย	 คณะทำ�งาน
	 14.	 นายแพทย์สิทธิชัย อาชายินดี
		 โรงพยาบาลเลิดสิน		 คณะทำ�งาน
	 15.	 นางรัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์	 คณะทำ�งาน
	 16.	 นางสาวพรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ 	 คณะทำ�งาน
	 17.	 แพทย์หญิงเนติมา คูนีย์
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์	 คณะทำ�งานและเลขานุการ
	 18.	 นางสุรีพร คนละเอียด
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ 	 คณะทำ�งานและผู้ช่วยเลขานุการ
	 19.	 นายศุภลักษณ์ มิรัตนไพร
		 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ 	 คณะทำ�งานและผู้ช่วยเลขานุการ
รายนามคณะผู้จัดทำ�
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ ขอขอบคุณตัวแทนจากราชวิทยาลัย
สมาคมสถาบันมหาวิทยาลัยต่างๆได้แก่ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทยสมาคมโรคเบาหวาน
แห่งประเทศไทยฯ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย
มหิดล คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลปิยะเวท	
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย และโรงพยาบาลเลิดสินในการจัดทำ�แนวทาง
เวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ขอขอบคุณคณะผู้เชี่ยวชาญ
ที่เสียสละเวลาในการทบทวนแนวทางเวชปฏิบัตินี้ ได้แก่ นายแพทย์กฤช ลี่ทองอินทร์ นายแพทย์ธานินทร์	
สนธิรักษ์ นายแพทย์วีระศักดิ์ ศรินนภากร นายแพทย์อี๊ด ลอประยูร นายแพทย์อาทิตย์ อรัญเกษมสุข	
นางอรุณวรรณ ศรีศาสตร์ และนางอรุณศรี ไชยพรพัฒนา
ค
กิตติกรรมประกาศ
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
ACSM 	 American College of Sports Medicine
ADA 	 American Diabetes Association
AHA 	 American Heart Association
CAD 	 Coronary artery disease
CAN	 Cardiovascular autonomic neuropathy
CPG	 Clinical practice guideline
CVD 	 Cerebrovascular disease
DKA 	 Diabetic ketoacidosis
ECG 	 Electrocardiogram
EST 	 Exercise stress test
GI 	 Glycemic index
HDL-C	 High-density lipoprotein cholesterol
HRmax
	 Maximal heart rate
HRrest
	 Resting heart rate
HRR 	 Heart rate reserve
IGT 	 Impaired glucose tolerance
LDL-C	 Low-density lipoprotein cholesterol
MET	 Metabolic eguivalent
NPDR 	 Non-proliferative diabetic retinopathy
PAD 	 Peripheral arterial disease
PDR 	 Proliferative diabetic retinopathy
RPE	 Borg’s rating of relative perceived exertion
THR 	 Training heart rate
VO2max
	 Maximal oxygen uptake
VO2rest
	 Resting oxygen uptake
VO2
R 	 VO2
reserve
1 RM 	 One-repetition maximum
ง
Abbreviations
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
คำ�นำ�			 ก
บทนำ�			 1
	 วัตถุประสงค์		 2
	 กลุ่มเป้าหมาย	 2
	 วิธีที่ใช้ในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ	 2
สรุปแนวทางและข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง	 6
แนวทางในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง	 11	
	 คำ�นิยามของกิจกรรมทางกายและการออกกำ�ลังกาย	 11
	 ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกาย	 11
	 ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย	 12
	 ขั้นตอนในการแนะนำ�การออกกำ�ลังกาย	 13
	 การเตรียมความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกาย	 22
	 โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย	 27
	 เอกสารอ้างอิง	 34
ภาคผนวก		 41
	 ภาคผนวก 1 	การออกกำ�ลังกายด้วยการเดิน	 42
	 ภาคผนวก 2 	แบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย 	 48
	 ภาคผนวก 3 	ข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
	 	 และความดันโลหิตสูงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน	 50
	 ภาคผนวก 4 	การยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำ�ลังกาย 	 58
	 ภาคผนวก 5	ตัวอย่างเอกสารข้อมูลเรื่องการออกกำ�ลังกายเป็นยารักษาโรค	 62
	 ภาคผนวก 6 	ตัวอย่างการออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้าน 	 63
	 ภาคผนวก 7 	ผลของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง	 79
	 ภาคผนวก 8 	คำ�จำ�กัดความ	 83
จ
สารบัญ
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
ตารางที่ 1 	 ประเภทนํ้าหนักคำ�แนะนำ� (strength of recommendation)	 3
ตารางที่ 2 	 ประเภทคุณภาพหลักฐาน (quality of evidence)	 4
ตารางที่ 3 	 สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือ
	 ความดันโลหิตสูง	 8
ตารางที่ 4 	 ข้อห้าม (contraindications) ของการออกกำ�ลังกาย	 15
ตารางที่ 5 	 ข้อห้ามในการทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย	 16
ตารางที่ 6 	 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกาย	 17
ตารางที่ 7 	 การเตรียมความพร้อมสำ�หรับการออกกำ�ลังกาย	 23
ตารางที่ 8 	 ยาฉีดอินซูลินชนิดต่างๆ ที่มีในประเทศไทย และเวลาการออกฤทธิ์	 26
ตารางที่ 9 	 การกำ�หนดค่าความแรงของการออกกำ�ลังกายด้วยวิธีต่างๆ	 28
ตารางที่ 10 	MET equivalents ของกิจกรรมทางกายแบ่งตามระดับความแรง	 29
ตารางที่ 11 	ตัวอย่าง exercise prescription	 33
แผนภูมิที่ 1	แนวทางการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง	 6
ฉ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
1
	 ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำ�คัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และ
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำ�ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำ�นวนเพิ่มขึ้น จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2555 ขององค์การ
อนามัยโลก(1)
พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(2)
โดยความดัน
โลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต รองลงมาคือ การสูบบุหรี่ ภาวะนํ้าตาลในเลือด
สูง และการขาดกิจกรรมทางกาย (physical inactivity)(3)
	 สำ�หรับประเทศไทย พบมีผู้ป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำ�นวนมาก จากรายงานการสำ�รวจ
สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2(4)
พบความชุกของโรคเบาหวานประมาณ
ร้อยละ 6.9 และความชุกของความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 21 ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำ�นวน
มากในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อันเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่า
จะเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular complication) หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่
(macrovascular complication) นอกจากนี้ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำ�คัญที่ทำ�ให้
เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และทำ�ให้อัตราตายของประชากรสูงขึ้น(3)
	 โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีการดำ�เนินชีวิต (lifestyle
modification) จากการศึกษาพบว่า การขาดกิจกรรมทางกายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ
ร้อยละ 6-10(5)
การเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกัน รักษา และควบคุมเบาหวานและความดัน
โลหิตสูง โดยพบว่าการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำ�ลังกายสามารถลดการเกิดเบาหวานในผู้ที่มีความทน
ต่อกลูโคสบกพร่อง (impaired glucose tolerance; IGT) ได้ถึงร้อยละ 58(6)
และช่วยให้ระดับนํ้าตาลสะสมใน
เลือด (HbA1C
) ลดลงในผู้ป่วยเบาหวาน(7-9)
ส่งผลให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากเบาหวานลดลง นอกจากนี้
การออกกำ�ลังกายยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง และสำ�หรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
แล้วนั้น พบว่าการออกกำ�ลังกายทำ�ให้ความดันโลหิตลดลงโดยเฉลี่ย 5-7 มม. ปรอท(10)
ดังนั้น การนำ�ความรู้ความ
เข้าใจในการออกกำ�ลังกายไปใช้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจึงเป็นส่วนสำ�คัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีสุขภาพและ
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
	 การจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำ�หรับ
ประเทศไทยฉบับนี้ ได้ทบทวนแนวทางจากสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ American Heart
Association (AHA)(8)
, American College of Sports Medicine (ACSM)(7, 10)
และ American Diabetes
Association (ADA)(7)
นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน โดยมี
เนื้อหาตั้งแต่ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงการประเมินความเสี่ยง	
การเตรียมความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกาย และข้อแนะนำ�ต่างๆ ในการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วย
บทนำ�
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
2
รวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำ�ลังกายอย่างยั่งยืน เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
สามารถแนะนำ�ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงให้ออกกำ�ลังกายได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ใน
การควบคุมและชะลอการดำ�เนินของโรค และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
วัตถุประสงค์
	 วัตถุประสงค์ของแนวทางเวชปฏิบัตินี้ ได้แก่
1.	 เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�วิธีการเตรียมความพร้อมใน	
การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
2.	 เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนและแนะนำ�รูปแบบการออกกำ�ลังกายที่
เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม
3.	 เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�ข้อพึงระวังในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับ	
ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
4.	 เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์นำ�ความรู้เรื่องการออกกำ�ลังกาย ถ่ายทอดสู่ผู้รับบริการหรือประชาชน
ให้สามารถปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้
กลุ่มเป้าหมาย
	 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด นักกิจกรรมบำ�บัด
นักสรีรวิทยาการออกกำ�ลังกาย และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป	
โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน
วิธีที่ใช้ในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ
	 คณะทำ�งานจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติสำ�หรับการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
	 คณะทำ�งานประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากราชวิทยาลัย
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ สถาบันความดันโลหิตสูงแห่ง
ประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์
การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ	
กรมอนามัย และโรงพยาบาลเลิดสิน ทั้งนี้ ประกอบด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เบาหวาน	
โรคหัวใจ ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ชีวสถิติและสาธารณสุขศาสตร์
	 การสืบหาข้อมูล/ทบทวนรายงานการวิจัย การสืบค้นข้อมูลแบ่งเป็น
1.	 การสืบค้น “แนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline; CPG)” ที่เกี่ยวข้อง ได้จากการสืบหา
เอกสารทางวิชาการทางคอมพิวเตอร์ ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ PubMed, Web of Science โดย
ใช้คำ�ว่า “guideline” เป็นชนิดของสิ่งพิมพ์ หรือเป็นชื่อ ในการค้นจากการสืบค้น “diabetes and
exercise/physical activity” และ “hypertension and exercise/physical activity”
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
3
2.	 การสืบค้น “เอกสารการทบทวนแบบมีระบบ (systematic review)” ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่
PubMed, The Cochrane Library, Web of Science
3.	 การสืบค้น “การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่างควบคุม (randomize-controlled clinical trials)”
ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ PubMed, Web of Science, the Cochrane Central Register of
Controlled Trials (CENTRAL)
4.	 การสืบค้นการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านฐานข้อมูล PubMed โดยใช้ Medical Subject	
Headings (MESH) ดังนี้ “diabetes and exercise/physical activity” และ “hypertension
and exercise/physical activity”
การให้นํ้าหนักหลักฐานและคุณภาพหลักฐาน
	 คณะทำ�งานรวบรวมข้อมูล ทบทวนและแบ่งระดับหลักฐานทางคลินิก โดยพิจารณาตามเกณฑ์ ดังตาราง
ที่ 1 และ 2
ตารางที่ 1 ประเภทนํ้าหนักคำ�แนะนำ� (strength of recommendation)
นํ้าหนัก หมายถึง
++ ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ให้ทำ�อยู่ในระดับสูงเพราะมาตรการดังกล่าวมีประโยชน์อย่าง
ยิ่งต่อผู้ป่วยและคุ้มค่า (cost effective) “ควรทำ�” (strongly recommend)
+ ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ให้ทำ�อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการดังกล่าวอาจมี
ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และอาจคุ้มค่าในภาวะจำ�เพาะ “น่าทำ�” (recommend)
+/- ความมั่นใจยังไม่เพียงพอในการให้คำ�แนะนำ� เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยังมีหลักฐาน
ไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้าน ว่าอาจมีหรืออาจไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และ
อาจไม่คุ้มค่า แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้น การตัดสินใจกระทำ�ขึ้นอยู่
กับปัจจัยอื่นๆ “อาจทำ�หรือไม่ทำ�” (neither recommend nor against)
- ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ห้ามทำ�อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่มี
ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และไม่คุ้มค่าหากไม่จำ�เป็น “ไม่น่าทำ�” (against)
- - ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ห้ามทำ�อยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวอาจเกิดโทษ
หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทำ�” (strongly against)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
4
ตารางที่ 2 ประเภทคุณภาพหลักฐาน (quality of evidence)
ประเภท หมายถึงหลักฐานที่ได้จาก
I 	 การทบทวนแบบมีระบบ(systematicreview)จากการศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่างควบคุม
(randomize-controlled clinical trials) หรือ
	 การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่าง-ควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยมอย่างน้อย 1 ฉบับ
(a well-designed, randomize-controlled clinical trial)
II 	 การทบทวนแบบมีระบบ (systematic review) ของการศึกษาควบคุมแต่ไม่ได้สุ่มตัวอย่าง
(non-randomized controlled clinical trials) หรือ
	 การศึกษาควบคุมแต่ไม่สุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพดีเยี่ยม (well-designed, non-rand-
omized controlled clinical trial) หรือ
	 หลักฐานจากรายงานการศึกษาตามแผนติดตามเหตุไปหาผล (cohort) หรือการศึกษา
วิเคราะห์ควบคุมกรณีย้อนหลัง (case control analytic studies) ที่ได้รับการออกแบบ
วิจัยเป็นอย่างดีซึ่งมาจากสถาบันหรือกลุ่มวิจัยมากกว่าหนึ่งแห่ง/กลุ่ม หรือ
	 หลักฐานจากพหุกาลานุกรม (multiple time series) ซึ่งมีหรือไม่มีมาตรการดำ�เนินการ
หรือ หลักฐานที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกรูปแบบอื่น หรือทดลองแบบไม่มีการควบคุมซึ่งมี
ผลประจักษ์ถึงประโยชน์หรือโทษจากการปฏิบัติมาตรการที่เด่นชัดมากเช่นผลของการนำ�
ยาเพ็นนิซิลินมาใช้ในราว พ.ศ. 2480 จะได้รับการจัดอยู่ในหลักฐานประเภทนี้
III 	 การศึกษาพรรณนา (descriptive studies) หรือ
	 การศึกษาควบคุมที่มีคุณภาพพอใช้ (fair-designed, controlled clinical trial)
IV 	 รายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประกอบกับความเห็นพ้องหรือฉันทามติ (consen-
sus) ของคณะผู้เชี่ยวชาญบนพื้นฐานประสบการณ์ทางคลินิก หรือ
	 รายงานอนุกรมผู้ป่วยจากการศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะอย่าง
น้อย2ฉบับรายงานหรือความเห็นที่ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แบบมีระบบ เช่นเกร็ดรายงาน
ผู้ป่วยเฉพาะราย (anecdotal report) ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะราย จะไม่ได้รับ
การพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัตินี้
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
5
ขั้นตอนการดำ�เนินงาน
1. 	จัดตั้งคณะทำ�งาน
2. 	คณะทำ�งานประชุมกำ�หนดขอบเขตและรูปแบบการดำ�เนินงาน
3. 	ทบทวนและรวบรวมสถานการณ์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4. 	จัดทำ�ร่างแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
5. 	คณะทำ�งานประชุมพิจารณาร่างแนวทางฯ
6. 	ฝ่ายเลขานุการปรับปรุงและจัดทำ�รูปเล่มต้นฉบับ
7. 	ส่งต้นฉบับให้คณะทำ�งานพิจารณาและปรับปรุงแก้ไข
8. 	ทบทวนต้นฉบับโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) ทั้งสิ้น 7 ท่าน
9. 	ประชุมแก้ไขและจัดทำ�ต้นฉบับแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
โลหิตสูงฉบับสมบูรณ์
10.	จัดพิมพ์แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
แหล่งทุนและผลประโยชน์ขัดแย้ง (Financialdisclosureand conflict ofinterest)
ในการจัดทำ�เวชปฏิบัติฉบับนี้ ได้รับงบประมาณจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
6
สรุปแนวทางและข้อแนะนำ� (summary of recommendations)
แผนภูมิที่ 1 	 แนวทางการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
ออกกำ�ลังกายระดับเบา*
ออกกำ�ลังกายระดับเบา
และระวังตามข้อห้ามอื่น
-	ออกกำ�ลังกายระดับเบา
แล้วค่อยเพิ่มเป็นระดับ
ปานกลาง
-	ถ้าไม่มีความผิดปกติอาจ
ออกกำ�ลังกายโดยการ
เดิน (ภาคผนวก 1)
-	ไม่ควรออกกำ�ลังกาย
ระดับหนัก
โรคหัวใจ2
Severe NPDR, PDR3
Neuropathy ± CAN4
ไม่สามารถทำ� 
EST ได้
EST
ส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านโรคหัวใจหรือ
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
-	เริ่มออกกกำ�ลังกายระดับเบา
-	ถ้าไม่มีความผิดปกติค่อยๆเพิ่ม
ระดับการออกกำ�ลังกายเป็น
ปานกลาง** จนถึงหนัก***
ผลปกติ ผิดปกติ
มีความเสี่ยงสูง6
มี
มี
มีความเสี่ยงตํ่า5
NPDR = non-proliferative diabetic retinopathy, PDR = proliferative diabetic retinopathy,
CAN = cardiovascular autonomic neuropathy, EST = exercise stress test
มีข้อห้ามในการ
ออกกำ�ลังกายหรือไม่1
มีภาวะแทรกซ้อน
จากเบาหวานหรือไม่
มีความเสี่ยงต่อ
โรคหัวใจหรือไม่
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
7
คำ�อธิบายเพิ่มเติมสำ�หรับแผนภูมิที่ 1
1. 	ข้อบ่งห้ามการออกกำ�ลังกาย พิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
1.1	 โรคร่วม โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด (รายละเอียดดังตารางที่ 4)
1.2	 โรคเดิม
 	ระดับนํ้าตาลในเลือดมากกว่า 250 มก./ดล. ร่วมกับ ketosis
 	ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป
1.3	 ข้อจำ�กัดจากผู้ป่วย เช่น stroke, osteoarthritis เป็นต้น
2. 	ให้ออกกำ�ลังกายระดับเบา
3. 	หลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่เพิ่มความดันลูกตา เช่น การยกนํ้าหนัก และหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังที่
มีการกระแทกสูง เช่น การวิ่ง การชกมวย เป็นต้น
4. 	มีข้อแนะนำ�ดังนี้
4.1	 สำ�หรับผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนที่ประสาทส่วนปลายจากเบาหวาน (peripheral neuropathy)
แนะนำ�ให้ผู้ป่วยทำ�การตรวจเท้าและดูแลเท้าด้วยตนเอง
	 กรณีที่ไม่มีแผลที่เท้าให้ใช้วิถีเดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือว่ายนํ้า
	 กรณีที่มีแผลที่เท้าให้หลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่ลงนํ้าหนักที่แผล
4.2	 สำ�หรับผู้ป่วยมีระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจผิดปกติ (cardiovascular autonomic	
neuropathy; CAN) ควรออกกำ�ลังกายในระดับเบา และระมัดระวังการเปลี่ยนท่าทาง	
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเวลาลุกนั่งหรือยืน
5. 	กลุ่มเพศชายที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี หรือเพศหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
และหลอดเลือดไม่เกิน 1 ข้อต่อไปนี้
	 สูบบุหรี่
	 ความดันโลหิต ≥ 140/90 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิต
	 HDL-C < 40 มก./ดล.
	 ประวัติครอบครัวพบ premature coronary artery disease (CAD) (มีพ่อ พี่ชาย น้องชาย
หรือลูกชาย เป็น CAD เมื่ออายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูกสาว เป็น CAD
เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี)
6. 	กลุ่มที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงตํ่า (รายละเอียดดังตารางที่ 6)
*	 การออกกำ�ลังกายระดับเบา หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงานน้อยกว่า40% ของ VO2max
หรือ <50% ของอัตรา
การเต้นของหัวใจสูงสุด เช่น เดินด้วยความเร็วปกติ หรือประมาณ 500 เมตรใน 10 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
หรือครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
**	 การออกกำ�ลังกายในระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงาน 40-60% ของ VO2max
หรือ 50-70%
ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ ครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อย	
วันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
***	การออกกำ�ลังกายในระดับหนัก หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงานมากกว่า 60% ของ VO2max
หรือ >70% ของ
อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ควรทำ�อย่างน้อย 90 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ ครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อย
วันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
7
สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม
ตารางที่3	สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ�
1.	ตั้งเป้าหมาย
ในการออก
กำ�ลังกาย
ร่วมกับผู้ป่วย
-	สำ�หรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว
ร่างกาย(sedentarylifestyle)ควร	
ตั้งเป้าหมายในการใช้พลังงาน	
อย่างน้อย1,000กิโลแคลอรีต่อ
สัปดาห์	
ข้อแนะนำ�1:ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำ�ลังกายควรได้รับการ
กระตุ้นและส่งเสริมให้ออกกำ�ลังกาย(คุณภาพหลักฐานระดับI,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
2.	ประเมิน
ความเสี่ยง/
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
และการตรวจ
ทางห้อง
ปฏิบัติการ
-	ประวัติโรคประจำ�ตัวภาวะแทรกซ้อน
ต่างๆจากเบาหวานและ/หรือความ
ดันโลหิตสูงรวมถึงยาที่ใช้
-	ข้อห้ามในการออกกำ�ลังกาย(ตาราง
ที่4)
-	รูปแบบการออกกำ�ลังกายที่ทำ�อยู่
ในปัจจุบันและการออกกำ�ลังกายที่
ชื่นชอบรวมถึงเวลาที่สามารถออก
กำ�ลังกายแรงจูงใจและอุปสรรคต่อ
การออกกำ�ลังกาย(ภาคผนวก2)
-	ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม(ภาคผนวก3)
ข้อแนะนำ�2:
-	ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับปานกลางขึ้นไปควรได้รับการประเมิน
ความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกายสำ�หรับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ(exercisestresstest)อาจมีประโยชน์
ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� 
+)
-	ในกรณีที่ไม่สามารถทำ�การทดสอบสมรรถภาพหัวใจได้แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายระดับเบาเช่นการเดินแล้ว
ค่อยๆเพิ่มระดับความแรงโดยมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิดไม่ควรออกกำ�ลังกายระดับ
หนัก(คุณภาพหลักฐานระดับIV,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
ข้อแนะนำ�3:ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลินหรือยาในกลุ่มซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินและมีระดับนํ้าตาล
ในเลือดตํ่ากว่า100มก./ดล.ก่อนการออกกำ�ลังกายควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติมหรือลดขนาด
ของอินซูลินลงเพื่อป้องกันภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
ข้อแนะนำ�4:ผู้ป่วยที่มีค่าระดับนํ้าตาลในเลือดมากกว่า250มก./ดล.และมีภาวะketosisควรได้รับการรักษา
และควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อนการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยที่มีระดับนํ้าตาล
ในเลือดมากกว่า300มก./ดล.แต่ไม่พบภาวะketosisถ้าผู้ป่วยรู้สึกสบายดีและร่างกายไม่ขาดนํ้าสามารถออก
กำ�ลังกายในระดับเบาถึงปานกลางได้แต่ควรเพิ่มความระมัดระวังขณะออกกำ�ลังกาย(คุณภาพหลักฐานระดับIV,
นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
8
ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ�
ข้อแนะนำ�5:ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนที่ประสาทส่วนปลายจากเบาหวาน(peripheralneuropathy)และไม่มีแผล
ที่เท้าแนะนำ�ให้ออกกำ�ลังกายแบบmoderateweight-bearingexerciseการเดินที่ความเร็วระดับปานกลาง
ไม่ทำ�ให้โอกาสการเกิดแผลเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ควรสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมและตรวจเท้าด้วยตนเองเป็นประจำ� 
(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
ข้อแนะนำ�6:ผู้ป่วยที่มีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ(autonomicneuropathy)ควรออกกำ�ลังกายในระดับเบา
และระมัดระวังการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเวลาลุกนั่งหรือยืนผู้ป่วยควรได้รับการทดสอบสมรรถภาพ
หัวใจก่อนการออกกำ�ลังกายระดับปานกลางขึ้นไป(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
ข้อแนะนำ�7:ผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานประเภทseverenon-proliferativediabetic(NPDR),
proliferativediabeticretinopathy(PDR)หรือmaculardegenerationไม่ควรออกกำ�ลังกายที่เพิ่มความดัน
ในลูกตา(intraocularpressure)และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในจอตา(retinalhemorrhage)เช่น
การออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิคในระดับหนักหรือออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้าน(คุณภาพหลักฐานระดับIV,นํ้า
หนักคำ�แนะนำ� +)
ข้อแนะนำ�8:ไม่มีหลักฐานว่าการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจะทำ�ให้ไตเสื่อมมากขึ้นอย่างไร
ก็ตามแนะนำ�ให้ทดสอบสมรรถภาพหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกายหรือออกกำ�ลังกายระดับเบาและค่อยๆเพิ่มระดับ
ความแรงของการออกกำ�ลังกายจนถึงระดับปานกลาง(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
ข้อแนะนำ�9:ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตตั้งแต่180/110มม.ปรอทขึ้นไปควรควบคุมความดันโลหิตด้วยยาให้
เหมาะสมก่อนเริ่มออกกำ�ลังกายหรือออกกำ�ลังกายระดับเบา(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
3.ประเมินความ
พร้อม
-	เตรียมความพร้อมก่อนการออก	
กำ�ลังกาย(ตารางที่7)
ข้อแนะนำ�10:ก่อนการออกกำ�ลังกายควรเตรียมผู้ป่วยให้มีความพร้อมที่จะออกกำ�ลังกายเพื่อความปลอดภัยของ
ผู้ป่วย(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
4.พิจารณา
โปรแกรมการ
ออกกำ�ลังกาย
ที่เหมาะสม
1.	ก่อนการออกกำ�ลังกาย
-	ให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อม
ในการออกกำ�ลังกาย
-	อธิบายถึงข้อควรระวังต่างๆ
ข้อแนะนำ�11:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายอย่างน้อย3-5วันต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับระดับความแรงของการออก
กำ�ลังกายและหยุดติดต่อกันไม่เกิน2วัน(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
ข้อแนะนำ�12:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยทุกคนออกกำ�ลังกายอย่างน้อยในระดับเบาและเพิ่มจนถึงระดับปานกลางในกรณี
ที่ไม่มีข้อห้าม(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
9
ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ�
สำ�หรับ
ผู้ป่วย/
พิจารณา
เขียนexer-
cisepre-
scription
และแนะนำ�
ผู้ป่วยพร้อม
ให้เอกสาร
ความรู้
สำ�หรับผู้ป่วย
-	การwarm-up/ยืดกล้ามเนื้อ(ภาค
ผนวก4)
2.	ระหว่างออกกำ�ลังกาย
-	อธิบายถึงข้อสังเกตอาการที่ควรระวัง
หรือหยุดขณะออกกำ�ลังกายได้แก่
เวียนศีรษะมึนงงคลื่นไส้อาเจียน
แน่นหรือเจ็บหน้าอกหัวใจเต้น	
ผิดปกติรู้สึกอ่อนแรงผิดปกติเป็นต้น
-	การทดแทนนํ้า
-	การเตรียมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต
หรืออาหารที่มีhighglycemic	
index(GI)ไว้ขณะออกกำ�ลังกาย
เพื่อทดแทนเมื่อเกิดภาวะนํ้าตาลใน
เลือดตํ่า
3.	หลังการออกกำ�ลังกาย
-	การcool-down/ยืดกล้ามเนื้อ
(ภาคผนวก4)
-	การเฝ้าระวังอาการหลังการออก	
กำ�ลังกาย
-	แนะนำ�ให้ผู้ป่วยจดบันทึกการออก
กำ�ลังกาย
ข้อแนะนำ�13:
-	แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิค150นาทีต่อสัปดาห์สำ�หรับการออกกำ�ลังกายระดับปานกลางหรือ
90นาทีต่อสัปดาห์สำ�หรับการออกกำ�ลังกายระดับหนักอย่างน้อย3วันต่อสัปดาห์และไม่หยุดออกกำ�ลังกาย
ติดต่อกันเกิน2วัน(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
-	แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้านในระดับปานกลางอย่างน้อย3วันต่อสัปดาห์(คุณภาพหลักฐาน
ระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
ข้อแนะนำ�14:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิคและแบบใช้แรงต้านร่วมกัน(คุณภาพหลักฐานระดับ
II,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
ข้อแนะนำ�15:การออกกำ�ลังกายแบบตะวันออกเช่นชี่กง(qigong)ไท้เก็ก(taichi)และโยคะ(yoga)เป็นทาง
เลือกหนึ่งในการแนะนำ�ผู้ป่วยพบว่าสามารถลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้โยคะสามารถลดระดับนํ้าตาลในเลือดได้ในผู้ป่วยเบาหวาน(คุณภาพหลักฐานระดับIนํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
5.	ติดตามผล
ผู้ป่วยเป็น
ระยะ
-	พิจารณาเพิ่ม/ลดโปรแกรมการออก
กำ�ลังกายตามความเหมาะสมรวมถึง
การให้กำ�ลังใจผู้ป่วย
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
10
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
11
แนวทางในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง
คำ�นิยามของกิจกรรมทางกายและการออกกำ�ลังกาย
	 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำ�นิยามของ “กิจกรรมทางกาย (physical activity)” ว่าหมายถึง กิจกรรม
การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เกิดจากกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) ทำ�ให้เกิดการใช้พลังงาน(11)
แตกต่างจาก “การออกกำ�ลังกาย (exercise)” ซึ่งเป็นประเภทย่อยของกิจกรรมทางกาย ที่มีแบบแผน
กระทำ�ซํ้าๆ และมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสริมหรือรักษาระดับสมรรถภาพทางกาย (physical fitness) อย่างใด
อย่างหนึ่งหรือทั้งหมด(12)
	 กิจกรรมทางกายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ(13)
ได้แก่
1.	 การทำ�งานประกอบอาชีพ (occupational activity)
2.	 การทำ�งานบ้าน/งานสวน/งานสนาม ในบริเวณบ้าน (household activity)
3.	 การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่เหนึ่ง (transportation activity)
4.	 การทำ�กิจกรรมในเวลาว่างหรืองานอดิเรก (leisure timeactivity) ได้แก่การทำ�กิจกรรมนันทนาการ
(recreational activity) การเล่นกีฬา (competitive sports) และการออกกำ�ลังกายหรือการฝึกฝน
ร่างกาย (exercise/exercise training)
คำ�นิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) ของ “การออกกำ�ลังกาย” ที่ใช้
ในแนวเวชปฏิบัตินี้ หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ โดยเป็นการออกแรง/
ออกกำ�ลังซํ้าๆ เพื่อทำ�กิจกรรมต่างๆ ทำ�ให้เกิดการใช้พลังงาน(11)
ตัวอย่างเช่น การเดิน การวิ่ง การถีบจักรยาน
การว่ายนํ้า การเดินขึ้นบันได การทำ�สวน/ขุดดิน ชี่กง โยคะ รำ�มวยจีน เป็นต้น
ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกาย
	 ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำ�คัญกับกิจกรรมทางกาย เนื่องจากมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของ
กิจกรรมทางกาย สำ�หรับประเทศไทย ข้อมูลปี 2555(5)
พบว่า ถ้าสามารถกำ�จัดปัจจัยเรื่อง การขาดกิจกรรม
ทางกาย (physical inactivity) คือประชาชนไทยทุกคนมีกิจกรรมทางกาย จะทำ�ให้โอกาสเกิดโรคหัวใจ
โคโรนารีในประชากรลดลงร้อยละ 3.2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.9 มะเร็งเต้านมลดลงร้อยละ 5.6	
มะเร็งลำ�ไส้ใหญ่ลดลงร้อยละ5.7และอัตราตายจากทุกสาเหตุลดลงร้อยละ5.1นอกจากนี้ยังทำ�ให้อายุขัยเฉลี่ยของ	
คนไทยเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 0.41 ปี(5)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
	 ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายที่สำ�คัญแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ(8, 10, 14-16)
คือ
1.	 ด้านร่างกาย
	 ลดอัตราตาย โดยในผู้ป่วยเบาหวานลดอัตราตายร้อยละ 38 และลดอัตราตายจากโรคหัวใจ
และหลอดเลือด ร้อยละ 79(17)
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ลดอัตราตายมากกว่าสองเท่า และ
ลดอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ16 ถึง 67(18)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
12
	 ทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง(19, 20)
พบ HbA1C
ลดลงประมาณ 0.8% ซึ่ง HbA1C
ที่ลดลง
1% จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาและไตได้ประมาณร้อยละ40(21)
(คุณภาพ
หลักฐานระดับ I)
	 ทำ�ให้ความไวต่ออินซูลิน (insulin sensitivity) เพิ่มขึ้นและมีฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 24-72
ชั่วโมงหลังการออกกำ�ลังกาย(7)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
	 ทำ�ให้ความดันโลหิตลดลง การออกกำ�ลังกายช่วยลดความดันโลหิตประมาณ 3/2 มม.ปรอท
ในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและลดได้โดยเฉลี่ยประมาณ7/6มม.ปรอทในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง	
โดยจะมีผลอยู่นานประมาณ 22 ชั่วโมงหลังการออกกำ�ลังกาย(22-24)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
	 ทำ�ให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือดลดลง(9)
โดยเฉลี่ย 26.6 มก./ดล.(25)
เพิ่ม
high-densitylipoproteincholesterol (HDL-C) ประมาณ 5 มก./ดล.และลด low-density
lipoprotein cholesterol (LDL-C) ประมาณร้อยละ 5(25)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
	 ช่วยควบคุมนํ้าหนัก(7, 22)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
	 ทำ�ให้ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น(26)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
	 ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)(26)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
2.	 ด้านจิตใจ
	 ทำ�ให้ผ่อนคลาย ลดความเครียดและความกังวล นอกจากนี้ ยังพบว่าการออกกำ�ลังกาย
ลดอาการซึมเศร้าได้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(27)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
3.	 ด้านสังคม
	 ทำ�ให้เกิดเครือข่ายสังคมหรือชุมชน ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจ
ในตัวเอง (self-confidence and self-esteem)(7, 26)
(คุณภาพหลักฐานระดับ III)
4.	 ด้านเศรษฐกิจ
	 ทำ�ให้ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพลดลง โดยในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าค่ารักษาด้วยยาและการนอน
โรงพยาบาลลดลง(28)
(คุณภาพหลักฐานระดับ I)
ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย
	 ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย อาจเกิดจากการขาดการเตรียมความพร้อม หรือการออกกำ�ลังกาย	
ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย ดังนั้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ควรประเมินความเสี่ยงและวางแผนร่วมกับ	
ผู้ป่วย ในการเลือกโปรแกรมการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง	
ที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับหนัก ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำ�ลังกาย(29, 30)
ได้แก่
1.	 การเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden cardiac death)
	 	 การเสียชีวิตเฉียบพลันมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก โดยในประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจ	
มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันขณะออกกำ�ลังกายตํ่ามาก โดยพบว่าอยู่ระหว่าง 1 ต่อ 300,000 ถึง 1 ต่อ
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
13
900,000 คนต่อชั่วโมงการออกกำ�ลังกาย สำ�หรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ออกกำ�ลังกายระดับหนัก พบโอกาสเกิดการ	
เสียชีวิตเฉียบพลันเพิ่มขึ้นคือประมาณ1ต่อ60,000คนต่อชั่วโมงการออกกำ�ลังกาย(30)
(คุณภาพหลักฐานระดับII)
2.	 โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction)
	 	 การออกกำ�ลังกายอาจกระตุ้นให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยพบว่าโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ขณะออกกำ�ลังกายมากกว่าการเสียชีวิตเฉียบพลันประมาณ 7 เท่า ทั้งนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมักเกิดหลังจาก	
การออกกำ�ลังกายระดับหนักในผู้ที่ออกกำ�ลังกายไม่สมํ่าเสมอ(31, 32)
ซึ่งหลังจากการออกกำ�ลังกายระดับหนัก
ในกลุ่มที่ออกกำ�ลังกายไม่สมํ่าเสมอ พบการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณ 50 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่	
ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ(31)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
3.	 การบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal injuries)
	 	 การบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงอื่นๆ
โดยปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บ คือ ระดับความแรงและลักษณะของแรงกระแทกจากการออกกำ�ลังกาย โดยการ
บาดเจ็บโดยตรง ได้แก่ อาการฟกชํ้า อาการปวดกล้ามเนื้อ ในขณะที่การบาดเจ็บทางอ้อม ได้แก่ อาการข้ออักเสบ
ปวดหลัง สำ�หรับการออกกำ�ลังกายที่มีแรงกระแทกตํ่า เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายนํ้า มีผลกระทบต่อกระดูกและ
ข้อตํ่ากว่ากลุ่มที่มีแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิค กลุ่มนี้จะพบแรงกระแทกซํ้าๆ บริเวณเข่า ข้อเท้า
และเท้า(30)
(คุณภาพหลักฐานระดับ II)
4.	 ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า และภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ
ความดันโลหิตสูงหลังการออกกำ�ลังกาย(7, 10, 24, 30)
เป็นต้น (คุณภาพหลักฐานระดับ II)
ขั้นตอนในการแนะนำ�การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/
หรือความดันโลหิตสูง
1.	 ตั้งเป้าหมายในการออกกำ�ลังกาย
ข้อแนะนำ� 1:
	 ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนที่ไม่มีข้อห้าม (ตารางที่ 4) ในการออกกำ�ลังกาย ควร
ได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมให้ออกกำ�ลังกาย (คุณภาพหลักฐานระดับ I, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++)
	 ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนควรได้รับคำ�แนะนำ�เรื่องการออกกำ�ลังกาย(7, 8, 10, 12,
33-36)
โดยตั้งเป้าหมายในการออกกำ�ลังกายร่วมกับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ สำ�หรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมี
การเคลื่อนไหวร่างกาย (sedentary lifestyle) ควรตั้งเป้าหมายในการใช้พลังงานอย่างตํ่า 1,000 กิโลแคลอรี
ต่อสัปดาห์(8)
ซึ่งเท่ากับข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายในปัจจุบัน คือ การออกกำ�ลังกายอย่างน้อย 30 นาที
ที่ความแรงระดับปานกลางถึงมาก5 วันต่อสัปดาห์(35)
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักมีปัญหาร่วมอื่นๆ
ซึ่งเป็นอุปสรรคในการออกกำ�ลังกาย เช่น ภาวะอ้วน โรคข้อเข่าเสื่อม ชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น ดังนั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
14
การออกกำ�ลังกายติดต่อกัน 30 นาที อาจเป็นอุปสรรคสำ�หรับผู้ป่วย และก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในการออก
กำ�ลังกาย อาจแนะนำ�ให้ออกกำ�ลังกายเป็นช่วงสั้นๆ ติดต่อกัน(8)
อย่างไรก็ตาม แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์และความสำ�คัญของการออกกำ�ลังกาย (ภาคผนวก 5) วางแผนร่วมกับผู้ป่วยใน
การสรรหากิจกรรมและรูปแบบการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม
2.	 ประเมินความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกาย
ข้อแนะนำ� 2:
	 ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับปานกลางขึ้นไป ควรได้รับ
การประเมินความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกาย สำ�หรับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (exercise stress
test) อาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary
artery disease) (คุณภาพหลักฐานระดับ III, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
	 ในกรณีที่ไม่สามารถทำ�การทดสอบสมรรถภาพหัวใจได้ แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายระดับเบา เช่น การ
เดิน แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับความแรงโดยมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่ควร
ออกกำ�ลังกายระดับหนัก (คุณภาพหลักฐานระดับ IV, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)
	 ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงควรได้รับการประเมินความเสี่ยง ก่อนการออกกำ�ลังกาย ทั้ง
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (cardiac risk) และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหรือโรคอื่นๆ (non-cardiac risk)
เพื่อ
	 ประเมินข้อห้ามของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยบางราย(37)
(ตารางที่ 4)
	 ประเมินระหว่างประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
	 รักษาปัญหาที่พบตั้งแต่ระยะแรก
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
(Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
15
ตารางที่ 4 	ข้อห้าม (contraindication) ของการออกกำ�ลังกาย
Contraindications to Exercise
Absolute Relative*
	 Recent acute myocardial infarction
	 Unstable angina
	 Ventricular tachycardia and other dangerous
dysrhythmias
	 Dissecting aortic aneurysm
	 Acute congestive heart failure
	 Severe aortic stenosis
	 Active or suspected myocarditis or pericarditis
	 Thrombophlebitis or intracardiac thrombi
	 Recent systemic or pulmonary embolus
	 Acute infection
	 Untreatedoruncontrolledsevere
hypertension
	 Moderate aortic stenosis
	 Severe subaortic stenosis
	 Supraventricular dysrhythmias
	 Ventricular aneurysm
	 Frequent or complex ventricular
ectopy
	 Cardiomyopathy
	 Uncontrolled metabolic disease
(diabetes, thyroid disease, etc) or
electrolyte abnormality
	 Chronic or recurrent infectious
disease (malaria, hepatitis, etc)
	 Neuromuscular, musculoskeletal
or rheumatoid diseases that are
exacerbated by exercise
	 Complicated pregnancy
ที่มา:AmericanDiabetesAssociation.Standardsofmedicalcareindiabetes--2012.DiabetesCare2012;35Suppl1:S11-63.
* Relative contraindications สามารถทำ�ได้ถ้าพบว่าประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงหรือโทษที่อาจเกิดขึ้น
2.1	การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
	 	 ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีในผู้ป่วย	
เบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกราย(38)
การตรวจคัดกรองขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
	 	 การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย (exercise stress test; EST)(8)
เป็นวิธีหนึ่งที่นำ�มา
ใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกาย ซึ่งยังมีข้อจำ�กัด ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และ
แหล่งเงินทุน อีกทั้งปัจจุบัน ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องทดสอบในผู้ป่วยทุกราย(38)
ดังนั้น มีข้อแนะนำ�ดังนี้
	 สำ�หรับผู้ป่วยที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับเบา เช่น การเดินที่ระดับน้อยกว่าการเดินเร็ว
(brisk walking) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ว่ามีความจำ�เป็นจะต้องทำ�การทดสอบก่อนการ
ออกกำ�ลังกายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่ามีความจำ�เป็นในการทดสอบสมรรถภาพ
หัวใจ ก่อนการออกกำ�ลังกายด้วยการเดินในระดับที่น้อยกว่าการเดินเร็ว(39)
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)yahapop
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลUtai Sukviwatsirikul
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Aphisit Aunbusdumberdor
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 Yanee Tongmanee
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationNarenthorn EMS Center
 
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfโครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfporkhwan
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจtechno UCH
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจtechno UCH
 

Mais procurados (20)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
 
Stroke
StrokeStroke
Stroke
 
Ppt. HT
Ppt. HTPpt. HT
Ppt. HT
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfโครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
 
คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 

Destaque

ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงdadaauto
 
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงbird090533
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูงsecret_123
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานMuay Muay Somruthai
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานTangMa Salee
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพคู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพThiti Wongpong
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพWinthai Booloo
 
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559Kamol Khositrangsikun
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 

Destaque (20)

ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
 
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูง
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 
งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวาน
 
Ppt.dm
Ppt.dmPpt.dm
Ppt.dm
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพคู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
 
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
ท่าทางกับปัญหาปวดหลัง(รพ.ทัพทัน)
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 

Semelhante a แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555

Exercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and htExercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and htUtai Sukviwatsirikul
 
Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Aimmary
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckdคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CkdTuang Thidarat Apinya
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตTuang Thidarat Apinya
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDCAPD AngThong
 
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์ ศรินนภากร
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์  ศรินนภากรโรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์  ศรินนภากร
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์ ศรินนภากรUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...Utai Sukviwatsirikul
 
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”เทพไซเบอร์ฯ ร้านค้าดอทคอม
 
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวานการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวานnhs0
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาแนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาUtai Sukviwatsirikul
 

Semelhante a แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555 (20)

Exercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and htExercise in patients with dm and ht
Exercise in patients with dm and ht
 
Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckdคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
 
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์ ศรินนภากร
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์  ศรินนภากรโรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์  ศรินนภากร
โรคเบาหวานและภาวะอ้วน โดย รศ.คลินิก นพ.วีระศักดิ์ ศรินนภากร
 
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
 
07
0707
07
 
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
 
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท...
 
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
 
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวานการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
 
Diabetes manual2
Diabetes manual2Diabetes manual2
Diabetes manual2
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาแนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555

  • 1.
  • 2.
  • 3. จัดพิมพ์และเผยแพร่ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2590 6395 โทรสาร 0 2965 9844 www.dms.moph.go.th/imrta พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2555 จำ�นวน 800 เล่ม พิมพ์ที่ สำ�นักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) ISBN 978-974-422-683-9 บรรณาธิการ แพทย์หญิงเนติมา คูนีย์
  • 4. หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกาย ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ข้อแนะนำ�ต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกาย ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงนี้ไม่ใช่ข้อบังคับ แนวทางเวชปฏิบัตินี้เป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพของการบริการด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับ ทรัพยากรและเงื่อนไขสังคมไทย โดยหวังผลในการสร้างเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยอย่างมี ประสิทธิภาพและคุ้มค่า ข้อแนะนำ�ต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัตินี้ไม่ใช่ข้อบังคับของการปฏิบัติ ผู้ใช้สามารถ ปฏิบัติแตกต่างไปจากข้อแนะนำ�นี้ได้ ในกรณีที่สถานการณ์แตกต่างออกไป หรือมีเหตุผลที่สมควร โดยใช้ วิจารณญาณซึ่งเป็นที่ยอมรับและอยู่บนพื้นฐานหลักวิชาการและจรรยาบรรณ
  • 5.
  • 6. คำ�นำ� เบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการดำ�รงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ ของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ หัวใจสำ�คัญของการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงคือการค้นหาโรคตั้งแต่ระยะ เริ่มแรกและการดูแลรักษา เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับความรู้ รวมทั้ง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อ ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษาปัจจุบันการออกกำ�ลังกาย เป็นวิธีหนึ่งที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่ามีประโยชน์ สามารถป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องแนวปฏิบัติสำ�หรับ การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กรมการแพทย์ซึ่งเป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ฝ่ายกาย ได้จัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง การประเมินความเสี่ยง การเตรียม ความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกายและข้อแนะนำ�ต่างๆในการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมรวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการออกกำ�ลังกายอย่างยั่งยืน เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�ผู้ป่วยให้ ออกกำ�ลังกายได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและชะลอการดำ�เนินของโรค และลดการเกิดภาวะ แทรกซ้อนต่างๆ ขอขอบคุณคณะทำ�งานทุกท่าน ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาในการรวบรวมข้อมูล จัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางนี้ จะเป็นเครื่องมือ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสถานบริการสุขภาพที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการดูแล (แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ) อธิบดีกรมการแพทย์ กแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 7. ข 1. นายแพทย์อนันต์ เสรฐภักดี รองอธิบดีกรมการแพทย์ ที่ปรึกษา 2. นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ประธานคณะทำ�งาน 3. แพทย์หญิงสุขจันทร์ พงษ์ประไพ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลวิชัยยุทธ คณะทำ�งาน 4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ คณะทำ�งาน 5. ศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คณะทำ�งาน 6. รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทำ�งาน 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทำ�งาน 8. นายสิทธา พงษ์พิบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทำ�งาน 9. แพทย์หญิงปิยะนุช รักพาณิชย์ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท คณะทำ�งาน 10. นายแพทย์เกรียงศักดิ์ เต็งอำ�นวย กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย คณะทำ�งาน 11. นางนงพะงา ศิวานุวัฒน์ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย คณะทำ�งาน 12. นางสาวอำ�นวย ภูภัทรพงศ์ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย คณะทำ�งาน 13. นางสุดารัตน์ พืชไพบูลย์ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย คณะทำ�งาน 14. นายแพทย์สิทธิชัย อาชายินดี โรงพยาบาลเลิดสิน คณะทำ�งาน 15. นางรัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะทำ�งาน 16. นางสาวพรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะทำ�งาน 17. แพทย์หญิงเนติมา คูนีย์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะทำ�งานและเลขานุการ 18. นางสุรีพร คนละเอียด สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะทำ�งานและผู้ช่วยเลขานุการ 19. นายศุภลักษณ์ มิรัตนไพร สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะทำ�งานและผู้ช่วยเลขานุการ รายนามคณะผู้จัดทำ� แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 8. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ ขอขอบคุณตัวแทนจากราชวิทยาลัย สมาคมสถาบันมหาวิทยาลัยต่างๆได้แก่ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทยสมาคมโรคเบาหวาน แห่งประเทศไทยฯ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย และโรงพยาบาลเลิดสินในการจัดทำ�แนวทาง เวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ขอขอบคุณคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่เสียสละเวลาในการทบทวนแนวทางเวชปฏิบัตินี้ ได้แก่ นายแพทย์กฤช ลี่ทองอินทร์ นายแพทย์ธานินทร์ สนธิรักษ์ นายแพทย์วีระศักดิ์ ศรินนภากร นายแพทย์อี๊ด ลอประยูร นายแพทย์อาทิตย์ อรัญเกษมสุข นางอรุณวรรณ ศรีศาสตร์ และนางอรุณศรี ไชยพรพัฒนา ค กิตติกรรมประกาศ แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 9. ACSM American College of Sports Medicine ADA American Diabetes Association AHA American Heart Association CAD Coronary artery disease CAN Cardiovascular autonomic neuropathy CPG Clinical practice guideline CVD Cerebrovascular disease DKA Diabetic ketoacidosis ECG Electrocardiogram EST Exercise stress test GI Glycemic index HDL-C High-density lipoprotein cholesterol HRmax Maximal heart rate HRrest Resting heart rate HRR Heart rate reserve IGT Impaired glucose tolerance LDL-C Low-density lipoprotein cholesterol MET Metabolic eguivalent NPDR Non-proliferative diabetic retinopathy PAD Peripheral arterial disease PDR Proliferative diabetic retinopathy RPE Borg’s rating of relative perceived exertion THR Training heart rate VO2max Maximal oxygen uptake VO2rest Resting oxygen uptake VO2 R VO2 reserve 1 RM One-repetition maximum ง Abbreviations แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 10. คำ�นำ� ก บทนำ� 1 วัตถุประสงค์ 2 กลุ่มเป้าหมาย 2 วิธีที่ใช้ในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ 2 สรุปแนวทางและข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง 6 แนวทางในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง 11 คำ�นิยามของกิจกรรมทางกายและการออกกำ�ลังกาย 11 ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกาย 11 ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย 12 ขั้นตอนในการแนะนำ�การออกกำ�ลังกาย 13 การเตรียมความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกาย 22 โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย 27 เอกสารอ้างอิง 34 ภาคผนวก 41 ภาคผนวก 1 การออกกำ�ลังกายด้วยการเดิน 42 ภาคผนวก 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย 48 ภาคผนวก 3 ข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน 50 ภาคผนวก 4 การยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำ�ลังกาย 58 ภาคผนวก 5 ตัวอย่างเอกสารข้อมูลเรื่องการออกกำ�ลังกายเป็นยารักษาโรค 62 ภาคผนวก 6 ตัวอย่างการออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้าน 63 ภาคผนวก 7 ผลของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 79 ภาคผนวก 8 คำ�จำ�กัดความ 83 จ สารบัญ แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 11. ตารางที่ 1 ประเภทนํ้าหนักคำ�แนะนำ� (strength of recommendation) 3 ตารางที่ 2 ประเภทคุณภาพหลักฐาน (quality of evidence) 4 ตารางที่ 3 สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือ ความดันโลหิตสูง 8 ตารางที่ 4 ข้อห้าม (contraindications) ของการออกกำ�ลังกาย 15 ตารางที่ 5 ข้อห้ามในการทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย 16 ตารางที่ 6 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกาย 17 ตารางที่ 7 การเตรียมความพร้อมสำ�หรับการออกกำ�ลังกาย 23 ตารางที่ 8 ยาฉีดอินซูลินชนิดต่างๆ ที่มีในประเทศไทย และเวลาการออกฤทธิ์ 26 ตารางที่ 9 การกำ�หนดค่าความแรงของการออกกำ�ลังกายด้วยวิธีต่างๆ 28 ตารางที่ 10 MET equivalents ของกิจกรรมทางกายแบ่งตามระดับความแรง 29 ตารางที่ 11 ตัวอย่าง exercise prescription 33 แผนภูมิที่ 1 แนวทางการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง 6 ฉ สารบัญตาราง สารบัญภาพ แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension)
  • 12. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 1 ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำ�คัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำ�ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำ�นวนเพิ่มขึ้น จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2555 ขององค์การ อนามัยโลก(1) พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(2) โดยความดัน โลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต รองลงมาคือ การสูบบุหรี่ ภาวะนํ้าตาลในเลือด สูง และการขาดกิจกรรมทางกาย (physical inactivity)(3) สำ�หรับประเทศไทย พบมีผู้ป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำ�นวนมาก จากรายงานการสำ�รวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2(4) พบความชุกของโรคเบาหวานประมาณ ร้อยละ 6.9 และความชุกของความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 21 ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำ�นวน มากในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อันเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่า จะเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular complication) หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular complication) นอกจากนี้ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำ�คัญที่ทำ�ให้ เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และทำ�ให้อัตราตายของประชากรสูงขึ้น(3) โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีการดำ�เนินชีวิต (lifestyle modification) จากการศึกษาพบว่า การขาดกิจกรรมทางกายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ ร้อยละ 6-10(5) การเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกัน รักษา และควบคุมเบาหวานและความดัน โลหิตสูง โดยพบว่าการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำ�ลังกายสามารถลดการเกิดเบาหวานในผู้ที่มีความทน ต่อกลูโคสบกพร่อง (impaired glucose tolerance; IGT) ได้ถึงร้อยละ 58(6) และช่วยให้ระดับนํ้าตาลสะสมใน เลือด (HbA1C ) ลดลงในผู้ป่วยเบาหวาน(7-9) ส่งผลให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากเบาหวานลดลง นอกจากนี้ การออกกำ�ลังกายยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง และสำ�หรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง แล้วนั้น พบว่าการออกกำ�ลังกายทำ�ให้ความดันโลหิตลดลงโดยเฉลี่ย 5-7 มม. ปรอท(10) ดังนั้น การนำ�ความรู้ความ เข้าใจในการออกกำ�ลังกายไปใช้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจึงเป็นส่วนสำ�คัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีสุขภาพและ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำ�หรับ ประเทศไทยฉบับนี้ ได้ทบทวนแนวทางจากสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ American Heart Association (AHA)(8) , American College of Sports Medicine (ACSM)(7, 10) และ American Diabetes Association (ADA)(7) นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน โดยมี เนื้อหาตั้งแต่ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงการประเมินความเสี่ยง การเตรียมความพร้อมก่อนการออกกำ�ลังกาย และข้อแนะนำ�ต่างๆ ในการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วย บทนำ�
  • 13. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 2 รวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำ�ลังกายอย่างยั่งยืน เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ สามารถแนะนำ�ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงให้ออกกำ�ลังกายได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ใน การควบคุมและชะลอการดำ�เนินของโรค และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของแนวทางเวชปฏิบัตินี้ ได้แก่ 1. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�วิธีการเตรียมความพร้อมใน การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง 2. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนและแนะนำ�รูปแบบการออกกำ�ลังกายที่ เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำ�ข้อพึงระวังในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับ ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง 4. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์นำ�ความรู้เรื่องการออกกำ�ลังกาย ถ่ายทอดสู่ผู้รับบริการหรือประชาชน ให้สามารถปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้ กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด นักกิจกรรมบำ�บัด นักสรีรวิทยาการออกกำ�ลังกาย และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน วิธีที่ใช้ในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติ คณะทำ�งานจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัติสำ�หรับการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง คณะทำ�งานประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากราชวิทยาลัย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ สถาบันความดันโลหิตสูงแห่ง ประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กองออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย และโรงพยาบาลเลิดสิน ทั้งนี้ ประกอบด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เบาหวาน โรคหัวใจ ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ชีวสถิติและสาธารณสุขศาสตร์ การสืบหาข้อมูล/ทบทวนรายงานการวิจัย การสืบค้นข้อมูลแบ่งเป็น 1. การสืบค้น “แนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline; CPG)” ที่เกี่ยวข้อง ได้จากการสืบหา เอกสารทางวิชาการทางคอมพิวเตอร์ ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ PubMed, Web of Science โดย ใช้คำ�ว่า “guideline” เป็นชนิดของสิ่งพิมพ์ หรือเป็นชื่อ ในการค้นจากการสืบค้น “diabetes and exercise/physical activity” และ “hypertension and exercise/physical activity”
  • 14. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 3 2. การสืบค้น “เอกสารการทบทวนแบบมีระบบ (systematic review)” ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ PubMed, The Cochrane Library, Web of Science 3. การสืบค้น “การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่างควบคุม (randomize-controlled clinical trials)” ผ่านฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ PubMed, Web of Science, the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) 4. การสืบค้นการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านฐานข้อมูล PubMed โดยใช้ Medical Subject Headings (MESH) ดังนี้ “diabetes and exercise/physical activity” และ “hypertension and exercise/physical activity” การให้นํ้าหนักหลักฐานและคุณภาพหลักฐาน คณะทำ�งานรวบรวมข้อมูล ทบทวนและแบ่งระดับหลักฐานทางคลินิก โดยพิจารณาตามเกณฑ์ ดังตาราง ที่ 1 และ 2 ตารางที่ 1 ประเภทนํ้าหนักคำ�แนะนำ� (strength of recommendation) นํ้าหนัก หมายถึง ++ ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ให้ทำ�อยู่ในระดับสูงเพราะมาตรการดังกล่าวมีประโยชน์อย่าง ยิ่งต่อผู้ป่วยและคุ้มค่า (cost effective) “ควรทำ�” (strongly recommend) + ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ให้ทำ�อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการดังกล่าวอาจมี ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และอาจคุ้มค่าในภาวะจำ�เพาะ “น่าทำ�” (recommend) +/- ความมั่นใจยังไม่เพียงพอในการให้คำ�แนะนำ� เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยังมีหลักฐาน ไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้าน ว่าอาจมีหรืออาจไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และ อาจไม่คุ้มค่า แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้น การตัดสินใจกระทำ�ขึ้นอยู่ กับปัจจัยอื่นๆ “อาจทำ�หรือไม่ทำ�” (neither recommend nor against) - ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ห้ามทำ�อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่มี ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และไม่คุ้มค่าหากไม่จำ�เป็น “ไม่น่าทำ�” (against) - - ความมั่นใจของคำ�แนะนำ�ห้ามทำ�อยู่ในระดับสูง เพราะมาตรการดังกล่าวอาจเกิดโทษ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทำ�” (strongly against)
  • 15. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 4 ตารางที่ 2 ประเภทคุณภาพหลักฐาน (quality of evidence) ประเภท หมายถึงหลักฐานที่ได้จาก I  การทบทวนแบบมีระบบ(systematicreview)จากการศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่างควบคุม (randomize-controlled clinical trials) หรือ  การศึกษาแบบกลุ่มสุ่มตัวอย่าง-ควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยมอย่างน้อย 1 ฉบับ (a well-designed, randomize-controlled clinical trial) II  การทบทวนแบบมีระบบ (systematic review) ของการศึกษาควบคุมแต่ไม่ได้สุ่มตัวอย่าง (non-randomized controlled clinical trials) หรือ  การศึกษาควบคุมแต่ไม่สุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพดีเยี่ยม (well-designed, non-rand- omized controlled clinical trial) หรือ  หลักฐานจากรายงานการศึกษาตามแผนติดตามเหตุไปหาผล (cohort) หรือการศึกษา วิเคราะห์ควบคุมกรณีย้อนหลัง (case control analytic studies) ที่ได้รับการออกแบบ วิจัยเป็นอย่างดีซึ่งมาจากสถาบันหรือกลุ่มวิจัยมากกว่าหนึ่งแห่ง/กลุ่ม หรือ  หลักฐานจากพหุกาลานุกรม (multiple time series) ซึ่งมีหรือไม่มีมาตรการดำ�เนินการ หรือ หลักฐานที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกรูปแบบอื่น หรือทดลองแบบไม่มีการควบคุมซึ่งมี ผลประจักษ์ถึงประโยชน์หรือโทษจากการปฏิบัติมาตรการที่เด่นชัดมากเช่นผลของการนำ� ยาเพ็นนิซิลินมาใช้ในราว พ.ศ. 2480 จะได้รับการจัดอยู่ในหลักฐานประเภทนี้ III  การศึกษาพรรณนา (descriptive studies) หรือ  การศึกษาควบคุมที่มีคุณภาพพอใช้ (fair-designed, controlled clinical trial) IV  รายงานของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประกอบกับความเห็นพ้องหรือฉันทามติ (consen- sus) ของคณะผู้เชี่ยวชาญบนพื้นฐานประสบการณ์ทางคลินิก หรือ  รายงานอนุกรมผู้ป่วยจากการศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะอย่าง น้อย2ฉบับรายงานหรือความเห็นที่ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แบบมีระบบ เช่นเกร็ดรายงาน ผู้ป่วยเฉพาะราย (anecdotal report) ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะราย จะไม่ได้รับ การพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพในการจัดทำ�แนวทางเวชปฏิบัตินี้
  • 16. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 5 ขั้นตอนการดำ�เนินงาน 1. จัดตั้งคณะทำ�งาน 2. คณะทำ�งานประชุมกำ�หนดขอบเขตและรูปแบบการดำ�เนินงาน 3. ทบทวนและรวบรวมสถานการณ์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 4. จัดทำ�ร่างแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 5. คณะทำ�งานประชุมพิจารณาร่างแนวทางฯ 6. ฝ่ายเลขานุการปรับปรุงและจัดทำ�รูปเล่มต้นฉบับ 7. ส่งต้นฉบับให้คณะทำ�งานพิจารณาและปรับปรุงแก้ไข 8. ทบทวนต้นฉบับโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) ทั้งสิ้น 7 ท่าน 9. ประชุมแก้ไขและจัดทำ�ต้นฉบับแนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดัน โลหิตสูงฉบับสมบูรณ์ 10. จัดพิมพ์แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แหล่งทุนและผลประโยชน์ขัดแย้ง (Financialdisclosureand conflict ofinterest) ในการจัดทำ�เวชปฏิบัติฉบับนี้ ได้รับงบประมาณจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • 17. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 6 สรุปแนวทางและข้อแนะนำ� (summary of recommendations) แผนภูมิที่ 1 แนวทางการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง ออกกำ�ลังกายระดับเบา* ออกกำ�ลังกายระดับเบา และระวังตามข้อห้ามอื่น - ออกกำ�ลังกายระดับเบา แล้วค่อยเพิ่มเป็นระดับ ปานกลาง - ถ้าไม่มีความผิดปกติอาจ ออกกำ�ลังกายโดยการ เดิน (ภาคผนวก 1) - ไม่ควรออกกำ�ลังกาย ระดับหนัก โรคหัวใจ2 Severe NPDR, PDR3 Neuropathy ± CAN4 ไม่สามารถทำ� EST ได้ EST ส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคหัวใจหรือ เวชศาสตร์ฟื้นฟู - เริ่มออกกกำ�ลังกายระดับเบา - ถ้าไม่มีความผิดปกติค่อยๆเพิ่ม ระดับการออกกำ�ลังกายเป็น ปานกลาง** จนถึงหนัก*** ผลปกติ ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูง6 มี มี มีความเสี่ยงตํ่า5 NPDR = non-proliferative diabetic retinopathy, PDR = proliferative diabetic retinopathy, CAN = cardiovascular autonomic neuropathy, EST = exercise stress test มีข้อห้ามในการ ออกกำ�ลังกายหรือไม่1 มีภาวะแทรกซ้อน จากเบาหวานหรือไม่ มีความเสี่ยงต่อ โรคหัวใจหรือไม่
  • 18. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 7 คำ�อธิบายเพิ่มเติมสำ�หรับแผนภูมิที่ 1 1. ข้อบ่งห้ามการออกกำ�ลังกาย พิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.1 โรคร่วม โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด (รายละเอียดดังตารางที่ 4) 1.2 โรคเดิม  ระดับนํ้าตาลในเลือดมากกว่า 250 มก./ดล. ร่วมกับ ketosis  ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป 1.3 ข้อจำ�กัดจากผู้ป่วย เช่น stroke, osteoarthritis เป็นต้น 2. ให้ออกกำ�ลังกายระดับเบา 3. หลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่เพิ่มความดันลูกตา เช่น การยกนํ้าหนัก และหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังที่ มีการกระแทกสูง เช่น การวิ่ง การชกมวย เป็นต้น 4. มีข้อแนะนำ�ดังนี้ 4.1 สำ�หรับผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนที่ประสาทส่วนปลายจากเบาหวาน (peripheral neuropathy) แนะนำ�ให้ผู้ป่วยทำ�การตรวจเท้าและดูแลเท้าด้วยตนเอง  กรณีที่ไม่มีแผลที่เท้าให้ใช้วิถีเดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือว่ายนํ้า  กรณีที่มีแผลที่เท้าให้หลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่ลงนํ้าหนักที่แผล 4.2 สำ�หรับผู้ป่วยมีระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจผิดปกติ (cardiovascular autonomic neuropathy; CAN) ควรออกกำ�ลังกายในระดับเบา และระมัดระวังการเปลี่ยนท่าทาง อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเวลาลุกนั่งหรือยืน 5. กลุ่มเพศชายที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี หรือเพศหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดไม่เกิน 1 ข้อต่อไปนี้  สูบบุหรี่  ความดันโลหิต ≥ 140/90 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิต  HDL-C < 40 มก./ดล.  ประวัติครอบครัวพบ premature coronary artery disease (CAD) (มีพ่อ พี่ชาย น้องชาย หรือลูกชาย เป็น CAD เมื่ออายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูกสาว เป็น CAD เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี) 6. กลุ่มที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงตํ่า (รายละเอียดดังตารางที่ 6) * การออกกำ�ลังกายระดับเบา หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงานน้อยกว่า40% ของ VO2max หรือ <50% ของอัตรา การเต้นของหัวใจสูงสุด เช่น เดินด้วยความเร็วปกติ หรือประมาณ 500 เมตรใน 10 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ** การออกกำ�ลังกายในระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงาน 40-60% ของ VO2max หรือ 50-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ ครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อย วันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ *** การออกกำ�ลังกายในระดับหนัก หมายถึง การออกกำ�ลังกายที่มีการใช้พลังงานมากกว่า 60% ของ VO2max หรือ >70% ของ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ควรทำ�อย่างน้อย 90 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ ครั้งละ 10 นาที เป็นระยะเวลารวมกันอย่างน้อย วันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 7
  • 19. สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม ตารางที่3 สรุปขั้นตอนและข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ� 1. ตั้งเป้าหมาย ในการออก กำ�ลังกาย ร่วมกับผู้ป่วย - สำ�หรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ร่างกาย(sedentarylifestyle)ควร ตั้งเป้าหมายในการใช้พลังงาน อย่างน้อย1,000กิโลแคลอรีต่อ สัปดาห์ ข้อแนะนำ�1:ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำ�ลังกายควรได้รับการ กระตุ้นและส่งเสริมให้ออกกำ�ลังกาย(คุณภาพหลักฐานระดับI,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) 2. ประเมิน ความเสี่ยง/ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจ ทางห้อง ปฏิบัติการ - ประวัติโรคประจำ�ตัวภาวะแทรกซ้อน ต่างๆจากเบาหวานและ/หรือความ ดันโลหิตสูงรวมถึงยาที่ใช้ - ข้อห้ามในการออกกำ�ลังกาย(ตาราง ที่4) - รูปแบบการออกกำ�ลังกายที่ทำ�อยู่ ในปัจจุบันและการออกกำ�ลังกายที่ ชื่นชอบรวมถึงเวลาที่สามารถออก กำ�ลังกายแรงจูงใจและอุปสรรคต่อ การออกกำ�ลังกาย(ภาคผนวก2) - ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม(ภาคผนวก3) ข้อแนะนำ�2: - ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับปานกลางขึ้นไปควรได้รับการประเมิน ความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกายสำ�หรับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ(exercisestresstest)อาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) - ในกรณีที่ไม่สามารถทำ�การทดสอบสมรรถภาพหัวใจได้แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายระดับเบาเช่นการเดินแล้ว ค่อยๆเพิ่มระดับความแรงโดยมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิดไม่ควรออกกำ�ลังกายระดับ หนัก(คุณภาพหลักฐานระดับIV,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) ข้อแนะนำ�3:ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลินหรือยาในกลุ่มซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินและมีระดับนํ้าตาล ในเลือดตํ่ากว่า100มก./ดล.ก่อนการออกกำ�ลังกายควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติมหรือลดขนาด ของอินซูลินลงเพื่อป้องกันภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ข้อแนะนำ�4:ผู้ป่วยที่มีค่าระดับนํ้าตาลในเลือดมากกว่า250มก./ดล.และมีภาวะketosisควรได้รับการรักษา และควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อนการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วยที่มีระดับนํ้าตาล ในเลือดมากกว่า300มก./ดล.แต่ไม่พบภาวะketosisถ้าผู้ป่วยรู้สึกสบายดีและร่างกายไม่ขาดนํ้าสามารถออก กำ�ลังกายในระดับเบาถึงปานกลางได้แต่ควรเพิ่มความระมัดระวังขณะออกกำ�ลังกาย(คุณภาพหลักฐานระดับIV, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 8
  • 20. ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ� ข้อแนะนำ�5:ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนที่ประสาทส่วนปลายจากเบาหวาน(peripheralneuropathy)และไม่มีแผล ที่เท้าแนะนำ�ให้ออกกำ�ลังกายแบบmoderateweight-bearingexerciseการเดินที่ความเร็วระดับปานกลาง ไม่ทำ�ให้โอกาสการเกิดแผลเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ควรสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมและตรวจเท้าด้วยตนเองเป็นประจำ� (คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ข้อแนะนำ�6:ผู้ป่วยที่มีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ(autonomicneuropathy)ควรออกกำ�ลังกายในระดับเบา และระมัดระวังการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเวลาลุกนั่งหรือยืนผู้ป่วยควรได้รับการทดสอบสมรรถภาพ หัวใจก่อนการออกกำ�ลังกายระดับปานกลางขึ้นไป(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) ข้อแนะนำ�7:ผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานประเภทseverenon-proliferativediabetic(NPDR), proliferativediabeticretinopathy(PDR)หรือmaculardegenerationไม่ควรออกกำ�ลังกายที่เพิ่มความดัน ในลูกตา(intraocularpressure)และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในจอตา(retinalhemorrhage)เช่น การออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิคในระดับหนักหรือออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้าน(คุณภาพหลักฐานระดับIV,นํ้า หนักคำ�แนะนำ� +) ข้อแนะนำ�8:ไม่มีหลักฐานว่าการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจะทำ�ให้ไตเสื่อมมากขึ้นอย่างไร ก็ตามแนะนำ�ให้ทดสอบสมรรถภาพหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกายหรือออกกำ�ลังกายระดับเบาและค่อยๆเพิ่มระดับ ความแรงของการออกกำ�ลังกายจนถึงระดับปานกลาง(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) ข้อแนะนำ�9:ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตตั้งแต่180/110มม.ปรอทขึ้นไปควรควบคุมความดันโลหิตด้วยยาให้ เหมาะสมก่อนเริ่มออกกำ�ลังกายหรือออกกำ�ลังกายระดับเบา(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) 3.ประเมินความ พร้อม - เตรียมความพร้อมก่อนการออก กำ�ลังกาย(ตารางที่7) ข้อแนะนำ�10:ก่อนการออกกำ�ลังกายควรเตรียมผู้ป่วยให้มีความพร้อมที่จะออกกำ�ลังกายเพื่อความปลอดภัยของ ผู้ป่วย(คุณภาพหลักฐานระดับIII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) 4.พิจารณา โปรแกรมการ ออกกำ�ลังกาย ที่เหมาะสม 1. ก่อนการออกกำ�ลังกาย - ให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อม ในการออกกำ�ลังกาย - อธิบายถึงข้อควรระวังต่างๆ ข้อแนะนำ�11:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายอย่างน้อย3-5วันต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับระดับความแรงของการออก กำ�ลังกายและหยุดติดต่อกันไม่เกิน2วัน(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ข้อแนะนำ�12:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยทุกคนออกกำ�ลังกายอย่างน้อยในระดับเบาและเพิ่มจนถึงระดับปานกลางในกรณี ที่ไม่มีข้อห้าม(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 9
  • 21. ขั้นตอนรายละเอียดข้อแนะนำ� สำ�หรับ ผู้ป่วย/ พิจารณา เขียนexer- cisepre- scription และแนะนำ� ผู้ป่วยพร้อม ให้เอกสาร ความรู้ สำ�หรับผู้ป่วย - การwarm-up/ยืดกล้ามเนื้อ(ภาค ผนวก4) 2. ระหว่างออกกำ�ลังกาย - อธิบายถึงข้อสังเกตอาการที่ควรระวัง หรือหยุดขณะออกกำ�ลังกายได้แก่ เวียนศีรษะมึนงงคลื่นไส้อาเจียน แน่นหรือเจ็บหน้าอกหัวใจเต้น ผิดปกติรู้สึกอ่อนแรงผิดปกติเป็นต้น - การทดแทนนํ้า - การเตรียมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารที่มีhighglycemic index(GI)ไว้ขณะออกกำ�ลังกาย เพื่อทดแทนเมื่อเกิดภาวะนํ้าตาลใน เลือดตํ่า 3. หลังการออกกำ�ลังกาย - การcool-down/ยืดกล้ามเนื้อ (ภาคผนวก4) - การเฝ้าระวังอาการหลังการออก กำ�ลังกาย - แนะนำ�ให้ผู้ป่วยจดบันทึกการออก กำ�ลังกาย ข้อแนะนำ�13: - แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิค150นาทีต่อสัปดาห์สำ�หรับการออกกำ�ลังกายระดับปานกลางหรือ 90นาทีต่อสัปดาห์สำ�หรับการออกกำ�ลังกายระดับหนักอย่างน้อย3วันต่อสัปดาห์และไม่หยุดออกกำ�ลังกาย ติดต่อกันเกิน2วัน(คุณภาพหลักฐานระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) - แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบใช้แรงต้านในระดับปานกลางอย่างน้อย3วันต่อสัปดาห์(คุณภาพหลักฐาน ระดับII,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ข้อแนะนำ�14:แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิคและแบบใช้แรงต้านร่วมกัน(คุณภาพหลักฐานระดับ II,นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ข้อแนะนำ�15:การออกกำ�ลังกายแบบตะวันออกเช่นชี่กง(qigong)ไท้เก็ก(taichi)และโยคะ(yoga)เป็นทาง เลือกหนึ่งในการแนะนำ�ผู้ป่วยพบว่าสามารถลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้โยคะสามารถลดระดับนํ้าตาลในเลือดได้ในผู้ป่วยเบาหวาน(คุณภาพหลักฐานระดับIนํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) 5. ติดตามผล ผู้ป่วยเป็น ระยะ - พิจารณาเพิ่ม/ลดโปรแกรมการออก กำ�ลังกายตามความเหมาะสมรวมถึง การให้กำ�ลังใจผู้ป่วย แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 10
  • 22. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 11 แนวทางในการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง คำ�นิยามของกิจกรรมทางกายและการออกกำ�ลังกาย องค์การอนามัยโลกได้ให้คำ�นิยามของ “กิจกรรมทางกาย (physical activity)” ว่าหมายถึง กิจกรรม การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เกิดจากกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) ทำ�ให้เกิดการใช้พลังงาน(11) แตกต่างจาก “การออกกำ�ลังกาย (exercise)” ซึ่งเป็นประเภทย่อยของกิจกรรมทางกาย ที่มีแบบแผน กระทำ�ซํ้าๆ และมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสริมหรือรักษาระดับสมรรถภาพทางกาย (physical fitness) อย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งหมด(12) กิจกรรมทางกายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ(13) ได้แก่ 1. การทำ�งานประกอบอาชีพ (occupational activity) 2. การทำ�งานบ้าน/งานสวน/งานสนาม ในบริเวณบ้าน (household activity) 3. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่เหนึ่ง (transportation activity) 4. การทำ�กิจกรรมในเวลาว่างหรืองานอดิเรก (leisure timeactivity) ได้แก่การทำ�กิจกรรมนันทนาการ (recreational activity) การเล่นกีฬา (competitive sports) และการออกกำ�ลังกายหรือการฝึกฝน ร่างกาย (exercise/exercise training) คำ�นิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) ของ “การออกกำ�ลังกาย” ที่ใช้ ในแนวเวชปฏิบัตินี้ หมายถึง การมีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ โดยเป็นการออกแรง/ ออกกำ�ลังซํ้าๆ เพื่อทำ�กิจกรรมต่างๆ ทำ�ให้เกิดการใช้พลังงาน(11) ตัวอย่างเช่น การเดิน การวิ่ง การถีบจักรยาน การว่ายนํ้า การเดินขึ้นบันได การทำ�สวน/ขุดดิน ชี่กง โยคะ รำ�มวยจีน เป็นต้น ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกาย ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำ�คัญกับกิจกรรมทางกาย เนื่องจากมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของ กิจกรรมทางกาย สำ�หรับประเทศไทย ข้อมูลปี 2555(5) พบว่า ถ้าสามารถกำ�จัดปัจจัยเรื่อง การขาดกิจกรรม ทางกาย (physical inactivity) คือประชาชนไทยทุกคนมีกิจกรรมทางกาย จะทำ�ให้โอกาสเกิดโรคหัวใจ โคโรนารีในประชากรลดลงร้อยละ 3.2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.9 มะเร็งเต้านมลดลงร้อยละ 5.6 มะเร็งลำ�ไส้ใหญ่ลดลงร้อยละ5.7และอัตราตายจากทุกสาเหตุลดลงร้อยละ5.1นอกจากนี้ยังทำ�ให้อายุขัยเฉลี่ยของ คนไทยเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 0.41 ปี(5) (คุณภาพหลักฐานระดับ II) ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายที่สำ�คัญแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ(8, 10, 14-16) คือ 1. ด้านร่างกาย  ลดอัตราตาย โดยในผู้ป่วยเบาหวานลดอัตราตายร้อยละ 38 และลดอัตราตายจากโรคหัวใจ และหลอดเลือด ร้อยละ 79(17) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ลดอัตราตายมากกว่าสองเท่า และ ลดอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ16 ถึง 67(18) (คุณภาพหลักฐานระดับ II)
  • 23. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 12  ทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลง(19, 20) พบ HbA1C ลดลงประมาณ 0.8% ซึ่ง HbA1C ที่ลดลง 1% จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาและไตได้ประมาณร้อยละ40(21) (คุณภาพ หลักฐานระดับ I)  ทำ�ให้ความไวต่ออินซูลิน (insulin sensitivity) เพิ่มขึ้นและมีฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 24-72 ชั่วโมงหลังการออกกำ�ลังกาย(7) (คุณภาพหลักฐานระดับ I)  ทำ�ให้ความดันโลหิตลดลง การออกกำ�ลังกายช่วยลดความดันโลหิตประมาณ 3/2 มม.ปรอท ในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและลดได้โดยเฉลี่ยประมาณ7/6มม.ปรอทในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยจะมีผลอยู่นานประมาณ 22 ชั่วโมงหลังการออกกำ�ลังกาย(22-24) (คุณภาพหลักฐานระดับ I)  ทำ�ให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือดลดลง(9) โดยเฉลี่ย 26.6 มก./ดล.(25) เพิ่ม high-densitylipoproteincholesterol (HDL-C) ประมาณ 5 มก./ดล.และลด low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) ประมาณร้อยละ 5(25) (คุณภาพหลักฐานระดับ II)  ช่วยควบคุมนํ้าหนัก(7, 22) (คุณภาพหลักฐานระดับ I)  ทำ�ให้ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น(26) (คุณภาพหลักฐานระดับ II)  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)(26) (คุณภาพหลักฐานระดับ I) 2. ด้านจิตใจ  ทำ�ให้ผ่อนคลาย ลดความเครียดและความกังวล นอกจากนี้ ยังพบว่าการออกกำ�ลังกาย ลดอาการซึมเศร้าได้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(27) (คุณภาพหลักฐานระดับ I) 3. ด้านสังคม  ทำ�ให้เกิดเครือข่ายสังคมหรือชุมชน ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจ ในตัวเอง (self-confidence and self-esteem)(7, 26) (คุณภาพหลักฐานระดับ III) 4. ด้านเศรษฐกิจ  ทำ�ให้ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพลดลง โดยในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าค่ารักษาด้วยยาและการนอน โรงพยาบาลลดลง(28) (คุณภาพหลักฐานระดับ I) ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย ความเสี่ยงจากการออกกำ�ลังกาย อาจเกิดจากการขาดการเตรียมความพร้อม หรือการออกกำ�ลังกาย ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย ดังนั้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ควรประเมินความเสี่ยงและวางแผนร่วมกับ ผู้ป่วย ในการเลือกโปรแกรมการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับหนัก ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำ�ลังกาย(29, 30) ได้แก่ 1. การเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden cardiac death) การเสียชีวิตเฉียบพลันมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก โดยในประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจ มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันขณะออกกำ�ลังกายตํ่ามาก โดยพบว่าอยู่ระหว่าง 1 ต่อ 300,000 ถึง 1 ต่อ
  • 24. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 13 900,000 คนต่อชั่วโมงการออกกำ�ลังกาย สำ�หรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ออกกำ�ลังกายระดับหนัก พบโอกาสเกิดการ เสียชีวิตเฉียบพลันเพิ่มขึ้นคือประมาณ1ต่อ60,000คนต่อชั่วโมงการออกกำ�ลังกาย(30) (คุณภาพหลักฐานระดับII) 2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) การออกกำ�ลังกายอาจกระตุ้นให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยพบว่าโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ขณะออกกำ�ลังกายมากกว่าการเสียชีวิตเฉียบพลันประมาณ 7 เท่า ทั้งนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมักเกิดหลังจาก การออกกำ�ลังกายระดับหนักในผู้ที่ออกกำ�ลังกายไม่สมํ่าเสมอ(31, 32) ซึ่งหลังจากการออกกำ�ลังกายระดับหนัก ในกลุ่มที่ออกกำ�ลังกายไม่สมํ่าเสมอ พบการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณ 50 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ(31) (คุณภาพหลักฐานระดับ II) 3. การบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal injuries) การบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงอื่นๆ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บ คือ ระดับความแรงและลักษณะของแรงกระแทกจากการออกกำ�ลังกาย โดยการ บาดเจ็บโดยตรง ได้แก่ อาการฟกชํ้า อาการปวดกล้ามเนื้อ ในขณะที่การบาดเจ็บทางอ้อม ได้แก่ อาการข้ออักเสบ ปวดหลัง สำ�หรับการออกกำ�ลังกายที่มีแรงกระแทกตํ่า เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายนํ้า มีผลกระทบต่อกระดูกและ ข้อตํ่ากว่ากลุ่มที่มีแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิค กลุ่มนี้จะพบแรงกระแทกซํ้าๆ บริเวณเข่า ข้อเท้า และเท้า(30) (คุณภาพหลักฐานระดับ II) 4. ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า และภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูงหลังการออกกำ�ลังกาย(7, 10, 24, 30) เป็นต้น (คุณภาพหลักฐานระดับ II) ขั้นตอนในการแนะนำ�การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานและ/ หรือความดันโลหิตสูง 1. ตั้งเป้าหมายในการออกกำ�ลังกาย ข้อแนะนำ� 1: ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนที่ไม่มีข้อห้าม (ตารางที่ 4) ในการออกกำ�ลังกาย ควร ได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมให้ออกกำ�ลังกาย (คุณภาพหลักฐานระดับ I, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� ++) ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกคนควรได้รับคำ�แนะนำ�เรื่องการออกกำ�ลังกาย(7, 8, 10, 12, 33-36) โดยตั้งเป้าหมายในการออกกำ�ลังกายร่วมกับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ สำ�หรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมี การเคลื่อนไหวร่างกาย (sedentary lifestyle) ควรตั้งเป้าหมายในการใช้พลังงานอย่างตํ่า 1,000 กิโลแคลอรี ต่อสัปดาห์(8) ซึ่งเท่ากับข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายในปัจจุบัน คือ การออกกำ�ลังกายอย่างน้อย 30 นาที ที่ความแรงระดับปานกลางถึงมาก5 วันต่อสัปดาห์(35) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักมีปัญหาร่วมอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการออกกำ�ลังกาย เช่น ภาวะอ้วน โรคข้อเข่าเสื่อม ชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น ดังนั้น
  • 25. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 14 การออกกำ�ลังกายติดต่อกัน 30 นาที อาจเป็นอุปสรรคสำ�หรับผู้ป่วย และก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในการออก กำ�ลังกาย อาจแนะนำ�ให้ออกกำ�ลังกายเป็นช่วงสั้นๆ ติดต่อกัน(8) อย่างไรก็ตาม แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเห็นประโยชน์และความสำ�คัญของการออกกำ�ลังกาย (ภาคผนวก 5) วางแผนร่วมกับผู้ป่วยใน การสรรหากิจกรรมและรูปแบบการออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม 2. ประเมินความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกาย ข้อแนะนำ� 2:  ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับปานกลางขึ้นไป ควรได้รับ การประเมินความเสี่ยงก่อนการออกกำ�ลังกาย สำ�หรับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (exercise stress test) อาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary artery disease) (คุณภาพหลักฐานระดับ III, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +)  ในกรณีที่ไม่สามารถทำ�การทดสอบสมรรถภาพหัวใจได้ แนะนำ�ให้ผู้ป่วยออกกำ�ลังกายระดับเบา เช่น การ เดิน แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับความแรงโดยมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่ควร ออกกำ�ลังกายระดับหนัก (คุณภาพหลักฐานระดับ IV, นํ้าหนักคำ�แนะนำ� +) ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงควรได้รับการประเมินความเสี่ยง ก่อนการออกกำ�ลังกาย ทั้ง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (cardiac risk) และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหรือโรคอื่นๆ (non-cardiac risk) เพื่อ  ประเมินข้อห้ามของการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยบางราย(37) (ตารางที่ 4)  ประเมินระหว่างประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น  รักษาปัญหาที่พบตั้งแต่ระยะแรก
  • 26. แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (Exercise in Patients with Diabetes and Hypertension) 15 ตารางที่ 4 ข้อห้าม (contraindication) ของการออกกำ�ลังกาย Contraindications to Exercise Absolute Relative*  Recent acute myocardial infarction  Unstable angina  Ventricular tachycardia and other dangerous dysrhythmias  Dissecting aortic aneurysm  Acute congestive heart failure  Severe aortic stenosis  Active or suspected myocarditis or pericarditis  Thrombophlebitis or intracardiac thrombi  Recent systemic or pulmonary embolus  Acute infection  Untreatedoruncontrolledsevere hypertension  Moderate aortic stenosis  Severe subaortic stenosis  Supraventricular dysrhythmias  Ventricular aneurysm  Frequent or complex ventricular ectopy  Cardiomyopathy  Uncontrolled metabolic disease (diabetes, thyroid disease, etc) or electrolyte abnormality  Chronic or recurrent infectious disease (malaria, hepatitis, etc)  Neuromuscular, musculoskeletal or rheumatoid diseases that are exacerbated by exercise  Complicated pregnancy ที่มา:AmericanDiabetesAssociation.Standardsofmedicalcareindiabetes--2012.DiabetesCare2012;35Suppl1:S11-63. * Relative contraindications สามารถทำ�ได้ถ้าพบว่าประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงหรือโทษที่อาจเกิดขึ้น 2.1 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีในผู้ป่วย เบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงทุกราย(38) การตรวจคัดกรองขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย (exercise stress test; EST)(8) เป็นวิธีหนึ่งที่นำ�มา ใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก่อนการออกกำ�ลังกาย ซึ่งยังมีข้อจำ�กัด ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และ แหล่งเงินทุน อีกทั้งปัจจุบัน ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องทดสอบในผู้ป่วยทุกราย(38) ดังนั้น มีข้อแนะนำ�ดังนี้  สำ�หรับผู้ป่วยที่ต้องการออกกำ�ลังกายในระดับเบา เช่น การเดินที่ระดับน้อยกว่าการเดินเร็ว (brisk walking) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ว่ามีความจำ�เป็นจะต้องทำ�การทดสอบก่อนการ ออกกำ�ลังกายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่ามีความจำ�เป็นในการทดสอบสมรรถภาพ หัวใจ ก่อนการออกกำ�ลังกายด้วยการเดินในระดับที่น้อยกว่าการเดินเร็ว(39)