Anúncio
สรุปผลการจัดอบรม.pdf
สรุปผลการจัดอบรม.pdf
สรุปผลการจัดอบรม.pdf
Próximos SlideShares
Khon Kaen University TQF Process 2011Khon Kaen University TQF Process 2011
Carregando em ... 3
1 de 3
Anúncio

Mais conteúdo relacionado

Similar a สรุปผลการจัดอบรม.pdf(20)

Anúncio

Último(20)

สรุปผลการจัดอบรม.pdf

  1. 1 สรุปผลการจัดอบรมการสอนแบบสานเสวนาหรือสอนเสวนา (Dialogic Teaching)” อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โครงการสนับสนุนกลไกการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของทักษะการสอน 1. สรุปเป้าหมายเเละกิจกรรมการอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนเสวนา ให้กับคณาจารย์จำนวน 38 ท่านและนักศึกษาครูรักษ์ถิ่นรุ่นที่ 1 จำนวน 328 คน อบรมทั้งหมด 4 รุ่น • รุ่นที่ 1 คณาจารย์ 29 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2565 • รุ่นที่ 2 นักศึกษากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5- 8 ธ.ค. 2565 • รุ่นที่ 3 นักศึกษากลุ่มภาคเหนือ 10 - 13 ธ.ค. 2565 • รุ่นที่ 4 นักศึกษากลุ่มภาคเหนือ 15 - 18 ธ.ค. 2565 2. จุดมุ่งหมายของการจัดอบรม 1) เปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักศึกษาโครงการครูรักษ์ถิ่นได้รับทราบ เข้าใจ และให้คุณค่ากับ เทคนิคการสอนเสวนาเพื่อพัฒนาคุณภาพของการสนทนาในห้องเรียน ให้มีการคิดอย่างลึกซึ้งและพัฒนา ผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) เน้นถึงหลักการของการสอนเสวนา 3) ค้นหาวิธีสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการพูดคุยแบบมีคุณภาพในห้องเรียน 4) ค้นหาว่าเหตุใดการเสวนาถึงมีความสำคัญและมีความแตกต่างจากการพูดคุยแบบธรรมดาทั่วไปใน ห้องเรียน กล่าวคือ การเสวนาไม่ใช่การเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ (ซึ่งมักเกิดขึ้นในการสอน โดยทั่วไป) แต่เป็นการร่วมมือกันเพื่อให้เข้าใจในประเด็นและความคิดของแต่ละฝ่าย 5) ส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมได้รับประสบการณ์จริงในการค้นหาเทคนิคการสอนเสวนาที่หลากหลาย และ สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนของตนเองได้ 6) เปิดโอกาสในการคิดว่าการสอนเสวนาสามารถใช้เป็นเทคนิคในการสอนข้ามสาขาวิชาได้อย่างไร รวมถึง วิธีการส่งเสริมให้เด็กพูดเป็นเชิงเสวนามากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการคิดและความเข้าใจในประเด็น ต่าง ๆ 7) ส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมนำการเรียนรู้ไปปฏิบัติผ่านการออกแบบและการนำเสนอบทเรียนที่เน้น องค์ประกอบเฉพาะของการสอนเสวนา 8) เน้นถึงงานวิจัยระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการคิดเพิ่มเติมและการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง 9) ควรเน้นย้ำว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีความเข้มข้นมากกว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในเดือน พฤษภาคมและต้องการให้ผู้เข้าอบรมตั้งใจและใช้สมาธิเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ควรแจ้งให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจจุดมุ่งหมายดังกล่าวตั้งแต่ตอนเริ่มกิจกรรม
  2. 2 10) คาดหวังให้ผู้เข้าอบรมรู้จักการจัดการตนเองและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ เป็นไปตามความคาดหวัง ผู้เข้าอบรมจำเป็นต้องมีความตั้งใจ จดจ่อกับกิจกรรมและมีระเบียบวินัยใน ตัวเอง 11) ระหว่างการจัดเวิร์กช็อปวิทยากรควรให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ราบรื่น สร้างพื้นที่ผู้เข้า อบรมได้ปฏิบัติกิจกรรมโดยมีการหยุดชะงักน้อยที่สุด ฉะนั้นวิทยากรจําเป็นต้องแก้ไขปัญหาเมื่อผู้เข้า อบรมตีความคำสั่งในการทำกิจกรรมผิด โดยไม่ทำให้การทำกิจกรรมเกิดการชะงักหรือชะงักน้อยที่สุด 3. สรุปผลการจัดอบรม เเละเเนวทางการพัฒนานักศึกษาเเกนนำ พัฒนานักศึกษาแกนนำ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : แกนนำกระบวนกรสำหรับการทำ PLC ออนไลน์ จำนวน 26 คน กลุ่มที่ 2 แกนนำ กระบวนกรสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 22 คน 4. หลักการของการสอนแบบสานเสวนาหรือสอนเสวนา (Dialogic Teaching)ซึ่งสอดคล้องกับโมเดล High Functioning Classroom อย่างมีประสิทธิภาพ) มีดังนี้ 1) ความร่วมมือ (Collective) (ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ร่วมกัน) 2) การแลกเปลี่ยนมุมมอง (Reciprocal) (ผู้เข้าอบรมรับฟังซึ่งกันและกัน แบ่งปันความคิด และพิจารณา แง่มุมอื่นที่เป็นไปได้) 3) การสนับสนุน (Supportive) (ผู้เข้าอบรมแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องรู้สึกกังวลกับ คำตอบที่ 'ผิด' และช่วยกันทำความเข้าใจแต่ละประเด็นโดยเห็นภาพเดียวกัน) 4) การต่อยอดหรือสั่งสม (Cumulative) (ผู้เข้าอบรมรับฟังความคิดของผู้อื่นและช่วยกันคิดต่อยอด เพื่อรวบรวมทุกความคิดเป็นแนวทางเดียวกัน) 5) การมีจุดมุ่งหมาย (Purposeful) (การพูดคุยในชั้นเรียนแม้จะเปิดกว้างและคล้ายการเสวนา แต่มีการวาง รูปแบบของการพูดคุยไว้อย่างมีเป้าหมายในการเรียนรู้ของแต่ละคาบ) กฎการเรียนรู้ที่ดีร่วมกัน และกฎของการพูดคุยที่ดีในห้องเรียน (Rules of Good Classroom Talk) 1) ให้ความสนใจและพัฒนาความคิด 2) แบ่งปันความคิดและความรู้สึก 3) เมื่อไม่เห็นด้วย ถามคำถามเพื่อที่จะพยายามทำความเข้าใจมุมมองของคนอื่น 4) ถามคำถามถ้าคุณไม่เข้าใจหรือคิดไม่ออก 5) ถามความคิดคิดเห็นคนที่เงียบ ๆ 6) ให้เหตุผลกับสิ่งที่เราคิด 7) หากเริ่มมีอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด ทำใจให้เย็นให้อารมณ์เหล่านั้นหายไปก่อนที่จะพูด 8) ฟังอย่างตั้งใจ เมื่อผู้อื่นพูดและสะท้อนคิดจากสิ่งที่เพื่อนพูด และพยายามเชื่อมโยงความคิดและ ประสบการณ์ของผู้อื่นในวงสนทนา 9) แสดงหลักฐานยืนยันสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง 10) เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงความคิด ยอมรับความผิดพลาดและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมอง
  3. 3 11) เปิดเผยความรู้สึก 12) สังเกตการณ์พูดของตัวเอง ไม่ให้มากเกินไปและเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็นอยู่ตลอด 5. ข้อค้นพบหรือข้อสะท้อนคิดการวิทยากร cce เเละวิทยากรไทย ภาพรวมพบว่า นักศึกษามีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น การแสดงความคิดเห็นมีคุณภาพมาก การทำงานร่วมกันเป็นทีมทำได้ดี ในกิจกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนเสวนานั้น พบว่านักศึกษาออกแบบได้ระดับหนึ่ง แต่พบว่า บางกิจกรรมนั้น ยังคงใช้วิธีการที่ง่าย และขาดความลึกซึ้งของ กระบวนการ แต่อย่างไรก็ตามวิทยากรได้เสนอแนะและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา นอกจากนั้นเราพบว่า นักศึกษาทุกคน มีความสามารถในการนำกระบวนการการจัดการเรียนรู้ได้ แต่สิ่งที่ ยังคงต้องพัฒนาต่อไปคือ ทักษะการเป็นกระบวนกร หรือการ โค้ชระหว่างการทำกิจกรรม เราพบว่า นักศึกษา ยังต้องการพัฒนาทักษะในกระบวนการโค้ชหรือการถามเพื่อการกระตุ้นคิดมากขึ้น เราพบว่า นักศึกษาหลาย คนเข้าใจวิธีการสอนแบบเสวนาและใช้เทคนิคการสร้างบทสนทนาที่ดีมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว กระบวนกร นักศึกษายังทำยังได้เป็นอย่างดี เป็นตัวอย่างที่ดีและแรงบันดาลใจที่ดี รวมถึงสามารถกระตุ้นเพื่อนนักศึกษาได้ ดีในการร่วมกิจกรรม 6. กิจกรรมในระยะต่อไป 1) กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) มีการ ออกแบบให้นักศึกษาได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนเสวนา และบันทึกเป็นวิดีโอ ไว้คนละ 10 นาที เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกลุ่มย่อย เพื่อพัฒนาการสอนตามแนวทางการ สอนเสวนา โดยจะจัดช่วงเดือนมกราคม 2566 2) กิจกรรมการศึกษาแบบพหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน (Mother Tongue Based Multilingual Education: MTBMLE คณะทำงานจาก CCE ประชุมร่วมกับ องค์กรที่ประสบการณ์สอนภาษาแม่เป็น ฐานในประเทศไทยและอยู่ระหว่างการออกแบบกิจกรรม
Anúncio