SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 5
ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน ความหมายของสิทธิมนุษยชน ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
-ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะให้ศักดิ์ศรีของมนุษยชนได้รับการเคารพ และจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคที่เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆทั่วโลก แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจากบรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีทางวัฒนธรรมและศาสนา ต่อมาผู้บริหารประเทศและนักกฎหมายต่างก็มีบทบาทในการส่งเสริมแนวความคิดดังกล่าว และร่างขึ้นเป็นเอกสารที่ใช้ปกป้องสิทธิของบุคคล และค่อยๆ กลายเป็นบทบัญญัติและรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆตัวอย่างเช่น ในคริสตศตวรรษที่18 ความคิดเรื่องกฎแห่งธรรมชาติได้พัฒนาไปเป็นการยอมรับว่า สิทธิโดยธรรมชาติเป็นสิทธิทางกฎหมาย และสิทธิดังกล่าวนี้ ต่อมาได้มีการรวบรวมและร่างขึ้นเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของชาติในยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งสะท้อนถึงความผูกพันระหว่างรัฐและบุคคลภายในรัฐ ซึ่งเน้นว่าอำนาจของรัฐมาจากบรรดาเสรีชนปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen)  ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสซึ่งร่างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1789 และกฎหมายรัฐธรรมนูญของอเมริกา (Bill of Rights) ซึ่งร่างขึ้นใน ค.ศ.1791 ล้วนพัฒนามาจากแนวความคิดที่กล่าวมาแล้ว
-ความหมายของสิทธิมนุษยชน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครองในสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อตรวจสอบดูแล เรียกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของวุฒิสภา       พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ สิทธิมนุษยชน ไว้ว่าสิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามดังนั้นความหมายของสิทธิมนุษยชนอาจสรุปได้ว่า  เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้
-ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน 1.มนุษย์ชนทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตนเอง สามารถปกป้องตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่สมควรที่บุคคลอื่นจะถือสิทธิ ครอบครอง ซื้อขายใช้แรงงานกดขี่ ทรมาน หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย      2.มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีอิสระ สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาศักยภาพของตนเอง      3.มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์ มีคุณค่าในตนเอง มีความภาคภูมิใจ ไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นด้านชื่อเสียง เกียรติยศ การประจาน ต่อสาธารณชนให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง ดังนั้น กฎหมายจึงต้องคุ้มครองป้องกันสิทธิของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง       4.มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศักยภาพไม่เท่าเทียมกันแม้ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ผิกาย สุข สถานภาพทางสังคม การศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น บุคคลพึงได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
แหล่งที่มา http://www.action4change.com/ http://siwapornpearwa.blogspot.com/

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a สิทธิมนุษยชน

หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากล
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากลพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากล
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากลssuserd18196
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีsaovapa nisapakomol
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑Somprasong friend Ka Nuamboonlue
 

Semelhante a สิทธิมนุษยชน (8)

หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากล
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากลพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากล
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนสากล
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดี
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
Book
BookBook
Book
 
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๑
 

สิทธิมนุษยชน

  • 2. -ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะให้ศักดิ์ศรีของมนุษยชนได้รับการเคารพ และจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาคที่เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆทั่วโลก แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจากบรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีทางวัฒนธรรมและศาสนา ต่อมาผู้บริหารประเทศและนักกฎหมายต่างก็มีบทบาทในการส่งเสริมแนวความคิดดังกล่าว และร่างขึ้นเป็นเอกสารที่ใช้ปกป้องสิทธิของบุคคล และค่อยๆ กลายเป็นบทบัญญัติและรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆตัวอย่างเช่น ในคริสตศตวรรษที่18 ความคิดเรื่องกฎแห่งธรรมชาติได้พัฒนาไปเป็นการยอมรับว่า สิทธิโดยธรรมชาติเป็นสิทธิทางกฎหมาย และสิทธิดังกล่าวนี้ ต่อมาได้มีการรวบรวมและร่างขึ้นเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของชาติในยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งสะท้อนถึงความผูกพันระหว่างรัฐและบุคคลภายในรัฐ ซึ่งเน้นว่าอำนาจของรัฐมาจากบรรดาเสรีชนปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสซึ่งร่างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1789 และกฎหมายรัฐธรรมนูญของอเมริกา (Bill of Rights) ซึ่งร่างขึ้นใน ค.ศ.1791 ล้วนพัฒนามาจากแนวความคิดที่กล่าวมาแล้ว
  • 3. -ความหมายของสิทธิมนุษยชน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครองในสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อตรวจสอบดูแล เรียกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของวุฒิสภา พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ สิทธิมนุษยชน ไว้ว่าสิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามดังนั้นความหมายของสิทธิมนุษยชนอาจสรุปได้ว่า เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้
  • 4. -ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน 1.มนุษย์ชนทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตนเอง สามารถปกป้องตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่สมควรที่บุคคลอื่นจะถือสิทธิ ครอบครอง ซื้อขายใช้แรงงานกดขี่ ทรมาน หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย 2.มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีอิสระ สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาศักยภาพของตนเอง 3.มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์ มีคุณค่าในตนเอง มีความภาคภูมิใจ ไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นด้านชื่อเสียง เกียรติยศ การประจาน ต่อสาธารณชนให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง ดังนั้น กฎหมายจึงต้องคุ้มครองป้องกันสิทธิของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง 4.มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศักยภาพไม่เท่าเทียมกันแม้ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ผิกาย สุข สถานภาพทางสังคม การศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น บุคคลพึงได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ