SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
ผลลัพธ์ของการเรียนโดยใช้ Project Based Learning ตามกรอบแนวคิดของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
ในรายวิชาหลักการตลาด สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
The Result from Using Project Based Learning upon Partnership for 21th Century Skills
in Marketing Course, Undergraduate School Students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาหลัก
การตลาด สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้ตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็น
กรอบการศึกษา โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างอย่างเจาะจงจานวน 23 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา
MKT213 หลักการตลาด ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 ผลการศึกษา พบว่าระดับการพัฒนาโดยรวมของ
กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก โดยการพัฒนาด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมมีระดับการพัฒนาการในระดับ
สูงสุด รองลง มาได้แก่การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการคิด
เชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหาตามลาดับ กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบการทาเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพราะทาให้
ได้ความรู้จากประสบการณ์จริง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่ท้าทายที่ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับตัว
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ที่ผู้สอนเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์มากกว่า
การสอน
คาสาคัญ: การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กรอบงานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตัวแบบของภาคี
เครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
Abstract
The objectives of this study were to determine the result from using Project-Based Learning in the
principles of marketing course for undergraduate students, using Partnership for 21th
Century Skills, 2009. A
questionnaire was used to purposively collected data from 23 MKT213 principles of marketing students in
3/2013. The study found, the overall level of skills development was high. The highest ranking is
communication and collaboration followed by working creativity with others, creativity and innovation, and
critical thinking and problem solving, respectively. The samples appreciated project-based learning as they
gained knowledge and real experience. The 21th
century learning is very challenging for both students and
teachers to adapt for the highest effectiveness. Teacher must not teach but design the learning process for
students to learn by doing.
Keywords: Project-Based Learning Framework for 21th
Century Learning Partnership for 21th
Century Skills, 2009
บทนา
ในยุคแห่งการแข่งขันทางสังคมค่อนข้างสูงในปัจจุบัน ส่งผลต่อการปรับตัวให้ทัดเทียมและเท่าทันกับ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมในปัจจุบันในทุกมิติรอบด้าน ดังนั้นการเสริมสร้างองค์ความรู้
(Content Knowledge) ทักษะเฉพาะทาง (Specific Skills) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expertise) และสมรรถนะ
ของการรู้เท่ากัน (Literacy) จึงเป็นตัวแปรสาคัญที่ต้องเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนในการเรียนรู้ยุคสังคมแห่งการเปลี่ยน
แปลงในศตวรรษที่ 21 นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555)
กรอบงานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Framework for 21th
Century Learning) และทักษะแห่งศตวรรษที่
21 (21th
Century Skills) กลายเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสาคัญที่นักการศึกษาหลากหลายฝ่ายต่างร่วมกันวิจัยเพื่อ
สร้างเป็นรูปแบบ และนาเสนอแนวปฏิบัติต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
(Mishra & Keneluik, 2011 อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ดังนั้นการสร้างทักษะเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จึงเป็นลักษณะของการศึกษาวิจัยในเชิงบรูณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งองค์ความรู้ ทักษะ ความ
เชี่ยวชาญและสมรรถนะให้เกิดกับผู้เรียน เพื่อประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงใน
ปัจจุบัน (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ตัวแบบของกรอบแนวคิดของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่น่าสนใจได้แก่ ตัว
แบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21th
Century Skills, 2009) เป็นกรอบ
แนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยสะท้อนความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ ของการ
เรียนรู้ที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ตัวแบบนี้บางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแบบประกายรุ้ง (Rainbow Model)”
ดังมีรายละเอียดที่สาคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้ (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, 2554, p. 34-35;
Partnership for 21th Century Skills, 2009)
แผนภาพ 1 กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
ที่มา: http://3.bp.blogspot.com/-LdVZtMJ1Ny4/Ugj1__609bI/AAAAAAAAABU/YFxlS-OCwWQ/s1600/21.jpg
ทักษะและหัวข้อเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, 2554,
p. 34-35) ประกอบด้วย
- วิชาแกน: ภาษาอังกฤษ การอ่านหรือศิลปะการใช้ภาษา ภาษาสาคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง
- แนวคิดสาคัญในศตวรรษที่ 21: จิตสานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการ
เป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
- ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไข
ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือทางาน
- ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี: ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
- ทักษะชีวิตและการทางานได้แก่ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ความคิดริเริ่มและการ
ชี้นาตนเอง ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิดชอบ ความเป็นผู้นา
และความรับผิดชอบ
- ระบบสนับสนุนการศึกษาศตวรรษที่ 21: มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21 หลักสูตรและ
การสอนของศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)
ทักษะด้านนี้จุดเน้นอยู่บนพื้นฐานแห่งการสร้างสรรค์ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การสื่อสาร และการมีส่วน
ร่วมในการทางาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555)
ก. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creatively and Innovation) ประกอบด้วย
การคิดสร้างสรรค์ (Think Creativity) โดย
1) ใช้เทคนิคของการสร้างสรรค์ทางความคิดที่เปิดกว้าง เช่น การระดมสมอง
2) สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่และเสริมสร้างคุณค่าทางความคิดและสติปัญญา
3) มีความละเอียดรอบคอบต่อการคิดวิเคราะห์และประเมินแนวความคิด เพื่อนาไปสู่การปรับปรุง
และพัฒนางานในเชิงสร้างสรรค์
การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (Work Creativity with Others) โดย
1) มุ่งพัฒนา เน้นปฏิบัติและสื่อสารแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) เปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการทางาน
3) เป็นผู้นาในการสร้างสรรค์งาน รวมทั้งมีความรู้และความเข้าใจในสภาพการณ์ซึ่งอาจเป็น
ข้อเท็จจริงหรือเป็นข้อจากัด โดยพร้อมที่จะยอมรับความคิดเห็นหรือสภาพการณ์ใหม่ๆ ที่
เกิดขึ้นนั้นได้
4) สามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสส่งผลต่อการเรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ที่ต้องใช้เวลาและความสามารถนาเอาข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง
การนาเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ (Implement Innovations) โดย
ปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการปรับใช้และพัฒนาจากผลแห่งนวัตกรรมที่นามาใช้
ข. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ประกอบด้วย
ประสิทธิภาพของการใช้เหตุผล (Reason Effectively) ใช้รูปแบบที่ชัดเจนในเชิงเหตุผลทั้งในเชิงนิรนัย
(Inductive) และอุปนัย (Deductive) ได้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การใช้วิธีคิดเชิงระบบ (Use Systems Thinking) สามารถคิดวิเคราะห์จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ได้
อย่างเป็นองค์รวมทั้งหมดและเป็นระบบครบวงจรในวิธีคิดหรือกระบวนการคิดนั้น
ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Make Judgments and Decisions) โดย
1) สร้างประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อสร้างการยอมรับและความ
น่าเชื่อถือ
2) สามารถวิเคราะห์และประเมินในเชิงทัศนะได้อย่างต่อเนื่อง
3) สังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น
4) ตีความหมายและให้ข้อสรุปที่ตั้งบนฐานแห่งการวิเคราะห์ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
5) สะท้อนผลได้อย่างมีวิจารณญาณ บนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้
การแก้ปัญหา (Solving Problems) โดย
1) แก้ไขปัญหาที่มีความแตกต่างได้ทั้งปัญหาซ้าซาก และปัญหาที่อุบัติขึ้นใหม่ในหลากหลาย
เทคนิควิธีการ
2) สามารถกาหนดเป็นประเด็นคาถามสาคัญที่จะนาไปสร้างเป็นจุดเน้นในการแก้ไขปัญหาตาม
สถานการณ์ที่เหมาะสมและดีที่สุด
ค. การสื่อสารและการมีส่วนร่วม (Communication and Collaboration) ประกอบด้วย
การสื่อสารได้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ (Communication Clearly) โดย
1) สร้างความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน หรือการใช้ทักษะอื่นๆ ใน
ทางอวัจนภาษา (Non-verbal) ในรูปแบบต่างๆ
2) มีประสิทธิภาพทางการรับฟังที่สามารถสร้างทักษะสาหรับการถอดรหัสความหาย การสรุป
เป็นความรู้ สร้างคุณค่า ทัศนคติและเกิดความสนใจใฝ่รู้
3) ใช้การสื่อสารในการกาหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะทั้งการรายงาน การสอน การสร้างแรงจูงใจ
4) ใช้สื่อเทคโนโลยีหลากหลายและรู้วิธีการใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
5) สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมหรือบริบทที่ต่างกัน
การทางานร่วมกับผู้อื่น (Collaborate with Others) โดย
1) มีความสามารถในการเป็นผู้นาในการทางานและเกิดการยอมรับในทีมงาน
2) มีกิจกรรมการทางานที่สร้างความรับผิดชอบและก่อให้เกิดความสุขในการทางานเพื่อให้
บรรลุผลตามที่มุ่งหวัง
3) สร้างการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจงาน และแต่ละคนมองเห็นคุณค่าของการ
ทางานเป็นหมู่คณะ
หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21th Century Curriculum & Instruction) มุ่งเน้นเชิง
สหวิทยาการของวิชาแกนหลัก สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบ
การเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency-based) สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มี
เทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based)
เพื่อการสร้างทักษะชั้นสูงทางการคิด (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ส่วนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการ
เรียนการสอนตามแนวคิดของไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2555) ได้แก่ การเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student
Center Learning) การเรียนรู้โดยชี้นาตนเอง (Self-directed learning) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based
Learning) และการใช้ e-portfolio ในการเรียนการสอน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) มีพื้นฐานมาจากเรียนรู้แบบประสบการณ์
(Experiential education) และปรัชญาของ John Dewey (Coffey, 2008) BIE (Buck Institute for Education
อ้างอิงใน Coffey, 2008) ได้ให้นิยามของการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานว่า เป็นระบบการสอนที่จะนา
นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และทักษะผ่านกระบวนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ท้าทาย ปัญหาที่ไม่สามารถตอบได้
จากการท่องจา การออกแบบสร้างชิ้นงานอย่างใส่ใจ ระยะเวลาของโครงการอาจแตกต่างกันไปและมีการใช้องค์
ความรู้หลากหลาย ส่วน Thomas (2000 อ้างอิงใน Coffey, 2008) ได้อธิบายว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็น
ฐาน อาศัยภารกิจที่ซับซ้อน คาถามหรือปัญหาที่ท้าทายแล้วให้นักเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องในการออก แบบแก้ไข
ปัญหาและตัดสินใจ หรือกิจกรรมที่ต้องมีการสืบสวนใคร่ครวญ เปิดโอกาสนักเรียนดาเนินงานอย่างอิสระ
ในช่วงระยะ เวลาที่กาหนด ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ซึ่งปฏิบัติได้จริง การออกแบบโครงการที่ดีจะกระตุ้นในเกิดการ
ค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998 อ้างอิงใน โครงการด้านการศึกษาของอิน
เทล, 2007) ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
แก้ปัญหาที่มีความหมาย และเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กัน
ด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000 อ้างอิงใน Intel@ Teach Program, 2007)
และจากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา MKT213 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนไม่สามารถสะท้อนความรู้
และการเชื่อมโยงภาพรวมของการจัดการการตลาดได้ อาจเนื่องจากความไม่เข้าใจ เชื่อมโยงความคิดไม่ได้ และ
ไม่ได้ฝึกทดลองปฏิบัติงานจริง การจัดการเรียนรู้โดยการทาโครงงาน (Project Based Learning) เป็นการเรียน
การสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาวางแผนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและ
ความสนใจ โดยครูผู้สอนคอยกระตุ้น แนะนาและให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนสามารถนาความรู้
ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์มาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ สามารถ
ทางานอย่างมีระบบ มีกระบวนการทางาน ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางในการ
พัฒนาและแก้ไขปัญหา ตลอดจนสามารถนาเสนอผลงานของตนและกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศยามน,
2555)
ผู้วิจัยเล็งเห็นความสาคัญของหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 จึงได้ทาการวิจัยเรื่องผลลัพธ์จาก
การเรียนรู้ของแบบโครงงานของนักศึกษารายวิชาหลักการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวน การ
จัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning 2) ศึกษาระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ตามตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
วิธีการดาเนินการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนานา-
ชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จานวน
26 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) นักศึกษา
ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียน
รายวิชา MKT213 หลักการตลาด และทากิจกรรม Project Based Learning ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556
จานวน 23 คน ที่เข้าเรียนในวันที่ทาการวิจัย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหารายวิชา MKT213 หลักการตลาด เพื่อศึกษาเรื่องกระบวนการทาง
การตลาด
2.2 กิจกรรม Project Based Learning ประกอบด้วยให้นักศึกษาแบ่งการทางานเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มติดต่อ
เพื่อหาสินค้ามาทาการตลาดอย่างอิสระ ผลกาไรที่ได้จากการดาเนินงานจะนาไปทากิจกรรมเพื่อสังคม (Societal
marketing)
3. ระยะเวลาในการศึกษา
จัดการเรียนการสอนในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ภาคการเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 เป็นเวลา 12
สัปดาห์
4. ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย
4.1 ตัวแปรอิสระ คือการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning
4.2 ตัวแปรตาม คือ ระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตาม
ตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบมาตรส่วนประมาณค่า
5 ระดับ ร่วมกับการสังเกตการณ์ (Observation) และการสัมภาษณ์ย่อย
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยและการอภิปรายผล
จากการวิจัยศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213
หลักการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning และศึกษา
ระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษ
ที่ 21 สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด
ประกอบด้วย การวางแผนและจัดทาโครงงาน การศึกษาแนวคิดด้านการทาตลาด การทาวิจัยย่อยด้านการตลาด
เพื่อทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้ าหมาย การวางแผนด้านผลิตภัณฑ์ การลงมือจัดจาหน่าย และการ
ส่งเสริมการตลาด ผลกาไรจากการดาเนินงานนาไปทากิจกรรมเพื่อสังคม รวมทั้งการนาเสนอผลการดาเนินงาน
ซึ่งจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในกระบวนการ
ทางการตลาดได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ทากิจกรรมการเรียนแบบ
Project Based Learning ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน 5-6 คน ทากิจกรรมโครงงานร่วมกัน ใน
ระหว่างสัปดาห์ของการดาเนินโครงการได้เพิ่มประเด็นปัญหา ให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ตลาดและนาเสนอ
ความคืบหน้าของโครงงานและชี้แนะให้คาปรึกษาอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ในท้ายสุดทุกกลุ่มสร้างกาไรหลังหัก
ค่าใช้จ่ายจากการทาการตลาดผลิตภัณฑ์รวมได้ 10,568 บาท สอดคล้องกับแนวคิดของ สุวัฒน์ นิยมไทย (2553,
อ้างอิงใน ศยามน อินสะอาด) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียน
เป็นสาคัญที่ให้ผู้เรียนได้เรียน รู้ด้วยตนเองจากการเลือกในสิ่งที่สนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีระบบการทางานเป็น
ขั้นตอนเพื่อนาไปสู่ความรู้ใหม่ๆ สามารถบรูณาการเรียนรู้แบบโครงงานในรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มได้ดี
โดยมีผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญคอยให้คาปรึกษาอย่างใกล้ชิด และสุทัศน์ สังคะพันธ์ (2556) ที่ว่า ในศตวรรษที่ 21
การให้การศึกษาจะเปลี่ยนไปเป็นเน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (Higher Order Learning Skills) เป็นทักษะ
การนาเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (Ability to use new knowledge in a creative way) ในอดีตที่ผ่านมา
นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรดและเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะ
พบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็น
จริง (Life in the Real World) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น
(Flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (Resourceful)
ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป
2) จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์รายย่อย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบการเรียนแบบ
Project Based Learning เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมีประโยชน์มากกว่าเพราะทาให้เห็นตัวอย่าง ทา
ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างบางรายกล่าวว่า “ได้ทางานกลุ่ม ออกแบบโครงงานและประดิษฐ์งานขึ้นมา”
“ได้ความรู้จากประสบการณ์จริง มีความเข้าใจในการเรียนมากขึ้น” “ได้ปฏิบัติงานจริง รู้ถึงสิ่งที่ได้ทาอย่าง
ชัดเจน ทราบถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง และสามารถปรับปรุงข้อผิดพลาดนั้นได้” และ “ได้ปฏิบัติจริง
ซึ่งสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาดได้ (เรียนรู้จากประสบการณ์)” สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
(learning process) รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (experiential learning) หรือ Kolb’s model
(1984 อ้างอิงใน สุภณิดา ปุสุรินทร์คา, 2555) ว่าประสบการณ์เป็นวงจรของการเรียนรู้ ที่การได้รับความรู้
ทัศนคติ และทักษะจะอยู่ในกระบวนการ 4 องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ได้แก่ ประสบการณ์
เชิงรูปธรรม (concrete experience) การสังเกตอย่างไตร่ตรอง (reflective observation) มโนทัศน์เชิงนามธรรม
(abstract conceptualization) และการทดลองปฏิบัติ (active experimentation)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ก็ยังมีความคิด
เห็นว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนยังคงมีความสาคัญอยู่ เพราะการ lecture สามารถช่วยทาให้จดจาและเข้าใจ
ได้ สามารถนาไปทบทวนและทาความเข้าใจที่บ้าน และได้ฟังตัวอย่างและสิ่งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมได้ และ
ได้เรียนรู้ทฤษฎีที่ต้องนาไปปฏิบัติ สอดคล้องกับสุรางค์ เพ็ชรกอง (2556) ที่ว่าการเรียนโดยประยุกต์ใช้ความรู้
เพื่อเรียนรู้ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กับการ
เรียนเนื้อหา ให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้สูงกว่า เพราะเด็กมีความตั้งใจเรียนมากกว่าทฤษฎีอย่างเดียว
3) ผลการศึกษาระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบ
ของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MKT213 หลักการตลาด และทากิจกรรม Project
Based Learning ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 ดังตารางที่ 1 พบว่า ทักษะที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับการพัฒนา
สูงสุดคือ ด้านการเปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการทางานเพิ่มขึ้น
และการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจซึ่งมีระดับคะแนนเท่ากัน รองลงมาได้แก่ การแบ่งกิจกรรมการ
ทางานที่สร้างความรับผิดชอบ ความสามารถทางานให้ได้บรรลุตามที่มุ่งหวัง การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์
ทางความคิดที่เปิดกว้าง ความสามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสต่อการเรียนรู้และสามารถนาเอาข้อผิดพลาดมา
ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการคิดอย่างมีระบบบนพื้นฐานแห่งประสบ-
การณ์และกระบวนการเรียนรู้ ตามลาดับ สอดคล้องกับ Bransford, Brown, & Conking (2000, p. 23 อ้างอิงใน
Intel@ Teach Program, 2007) ที่ว่าศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมาย และเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะ
เหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุผลใด เมื่อไหร่และอย่างไร และ Guzdial (1998, อ้างอิงใน ศยามน อินสะอาด) ที่ว่า
การให้ผู้เรียนทาโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสวน (Process of Inquiry) ซึ่งเป็น
กระบวนการที่ผู้เรียนต้องใช้ความคิดขั้นสูงที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้น จึงเป็นช่องทางที่ดีในการพัฒนากระบวน การ
ทางสติปัญญาของผู้เรียน การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการ
สืบสวน และการแก้ปัญหาแล้ว ยังสามารถช่วยดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวอยู่ผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ด้วย
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยของระดับการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบของภาคี
เครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ของกลุ่มตัวอย่าง
หัวข้อประเมิน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับการพัฒนา
1. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ทางความคิดที่เปิดกว้าง เช่นการระดม
สมอง
3.74 0.6887 มาก
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาทักษะการสร้างเสริมคุณค่าทางความคิดและปัญญา 3.48 0.5931 มาก
รวม 3.61 0.5830 มาก
2. การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
- ข้าพเจ้าเปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่ง ผลต่อ
ระบบการทางานเพิ่มขึ้น
4.04 0.8779 มาก
- ข้าพเจ้าได้ฝึกความเป็นผู้นาในการสร้างสรรค์งาน 3.52 0.9472 มาก
- ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้และเข้าใจในสภาพการณ์ซึ่งอาจเป็นข้อ จากัด และ
พร้อมที่จะยอมรับความคิดหรือสภาพการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นได้
3.57 0.7878 มาก
- ข้าพเจ้าสามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสต่อการเรียนรู้ และสามารถนาเอา
ข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง
3.61 0.7223 มาก
รวม 3.68 0.6134 มาก
3. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ 3.30 0.5588 ปานกลาง
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการสังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล
รวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น
3.35 0.6473 ปานกลาง
- าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ บนพื้นฐานแห่ง
ประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้
3.61 0.7223 มาก
รวม 3.42 0.4843 มาก
4. การสื่อสารและการมีส่วนร่วม
- ข้าพเจ้ามีการแบ่งกิจกรรมการทางานที่สร้างความรับผิดชอบ 3.91 0.9960 มาก
- ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจ 4.04 0.8245 มาก
- ข้าพเจ้ามีความสามารถทางานให้ได้บรรลุตามที่มุ่งหวัง 3.91 0.8482 มาก
รวม 3.96 0.7541 มาก
4) ส่วนทักษะที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีระดับการพัฒนาน้อยสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความสามารถใน
การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ความสามารถในการสังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบท
สรุปที่เกิดขึ้น และทักษะด้านการสร้างเสริมคุณค่าทางความคิดและปัญญานั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากต่อการ
สอนในศตวรรษที่ 21 ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียนว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ต่างฝ่ายต้องปรับตัวมากน้อย
เพียงใดเพื่อให้การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด เนื่องจากความสาคัญของหลักสูตรและ
การสอนในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (Critical Attributes) เชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (Project-based) เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา
หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตาราเป็นตัวขับเคลื่อน (Textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (Fragmented) เช่นที่เคย
ในอดีต ความรู้จะไม่หมายถึงการจดจาข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งทีเกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติ
โดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ดังนั้นการให้การศึกษาสาหรับศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยน
ทัศนะ (perspective) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Traditional Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New
Paradigm) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือกล่าวอีกนัยว่าครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้
และอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจาก
ภายในใจและสมองของตนเอง (สุทัศน์ สังคะพันธ์, 2556)
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้
1) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213หลักการตลาด สาหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี เน้นกระบวนการทางานเป็นกลุ่ม ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นจึงต้อง
เตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้านการสร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้เลือกทาโครงงานตามความสนใจและความเหมาะสม อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้อย่างมี
ความสุข และนาความรู้ที่ได้รับเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ในอนาคต
2) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด สาหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สามารถนาไปประยุกต์ใช้สาหรับเนื้อหารายวิชาอื่นๆ ส่วนการกาหนด
กิจกรรมผู้สอนต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับรายวิชานั้นๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมี
ประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง หรือพัฒนาทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะการทางานเป็นทีม
ทักษะการคิด การแก้ปัญหา การสังเคราะห์ เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น ซึ่งในรายวิชา
MKT213หลักการตลาด เนื่องจากนักศึกษาเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ความสามารถในการสังเคราะห์เชื่อมโยง
ระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปทั้ง หมดอาจยังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1) จากัดขอบของตัวแปรให้แคบเข้า เลือกศึกษาเฉพาะตัวแปรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับการพัฒนา
ทักษะด้านต่างๆ หรือใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาครั้งต่อไป
เอกสารอ้างอิง
ไพฑูรย์สินลารัตน์. (2555). เอกสารประกอบการบรรยาย การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียน
การสอน. จาก http://www.air.or.th/AIR/doc/Lectures_14-2.2.pdf
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ Open Worlds.
ศยามน อินสะอาด. (2555). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาเกมและ
สถานการณ์จาลองเพื่อการศึกษา สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. จาก http://www3.ru.ac.th/km-
research/
สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และการดารงตนในศตวรรษที่ 21. จาก
http://www.srn2.go.th/index.php/2013-10-31-09-04-45/145--21-.html
สุภณิดา ปุสุรินทร์คา. (2551). หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. จาก http://opalnida.blogspot.com/2008/06/blog-
post_13.html
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2555). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จาก http://www.addkutec3.com/
สุรางค์เพ็ชรกอง. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. จาก
http://www.srn2.go.th/attachments/article/145/รวมบทความ.pdf
Coffey, H. (2008). Project-based learning. (online) Retrieved from http://www.learnnc.org/lp/pages/4753
Intel@ Teach Program.(2007). Design effective projects: characteristics of projects benefits of project-based
learning. (online) Retrieved from
http://download.intel.com/education/Common/ro/Resources/DEP/projectdesign/DEP_pbl_research.pdf
Mishra, Punya, Kereluik, & Kristen. (2011). What 21th century learning? A review and a synthesis. (online)
Retrieved from http://punya.educ.msu.edu/publications/21stCenturyKnowledge_PM_KK.pdf
Partnership for 21th Century Skills. (2009). (online) Retrieved from http://www.p21.org/

More Related Content

Similar to The result from using project based learning upon partnership for 21th century skills in marketing course, undergraduate school students

การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21T' Bomb Kim-bomb
 
Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Aon Narinchoti
 
Prefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pPrefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pNam Chon
 
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)Prachyanun Nilsook
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์30082527
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...dnavaroj
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาPatpeps
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาPatpeps
 
นักศึกษาในศตวรรษ
นักศึกษาในศตวรรษนักศึกษาในศตวรรษ
นักศึกษาในศตวรรษChantana Papattha
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera Supa CPC
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Teacher Sophonnawit
 

Similar to The result from using project based learning upon partnership for 21th century skills in marketing course, undergraduate school students (20)

บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทคัดย่อ (แก้ไข)
บทคัดย่อ (แก้ไข)บทคัดย่อ (แก้ไข)
บทคัดย่อ (แก้ไข)
 
การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในรศตวรรษที่ 21
 
Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936
 
Prefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pPrefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71p
 
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์จินตวิศวกรรม (Interactive imagineering)
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
บท2
บท2บท2
บท2
 
Ab creative thinking
Ab creative thinkingAb creative thinking
Ab creative thinking
 
บทที่ 1 - 5
บทที่ 1 - 5 บทที่ 1 - 5
บทที่ 1 - 5
 
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
 
ตัว
ตัวตัว
ตัว
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
 
นักศึกษาในศตวรรษ
นักศึกษาในศตวรรษนักศึกษาในศตวรรษ
นักศึกษาในศตวรรษ
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 

More from Mudhita Ubasika

A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...
A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...
A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...Mudhita Ubasika
 
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyThe study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyMudhita Ubasika
 
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...Mudhita Ubasika
 
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aecปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ AecMudhita Ubasika
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECMudhita Ubasika
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3Mudhita Ubasika
 

More from Mudhita Ubasika (6)

A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...
A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...
A study of the 2012 tfqa certified thai food & beverage franchisor’s readines...
 
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationallyThe study of factors affecting thai franchise expanding internationally
The study of factors affecting thai franchise expanding internationally
 
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...
The study of assessment for the 2012 tfqa certified franchisor’s readiness to...
 
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aecปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
ปรับกลยุทธ์การตลาดเข้าสู่ Aec
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
 

The result from using project based learning upon partnership for 21th century skills in marketing course, undergraduate school students

  • 1. ผลลัพธ์ของการเรียนโดยใช้ Project Based Learning ตามกรอบแนวคิดของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ในรายวิชาหลักการตลาด สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี The Result from Using Project Based Learning upon Partnership for 21th Century Skills in Marketing Course, Undergraduate School Students บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาหลัก การตลาด สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้ตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็น กรอบการศึกษา โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างอย่างเจาะจงจานวน 23 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 ผลการศึกษา พบว่าระดับการพัฒนาโดยรวมของ กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก โดยการพัฒนาด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมมีระดับการพัฒนาการในระดับ สูงสุด รองลง มาได้แก่การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการคิด เชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหาตามลาดับ กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบการทาเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพราะทาให้ ได้ความรู้จากประสบการณ์จริง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่ท้าทายที่ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับตัว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ที่ผู้สอนเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์มากกว่า การสอน คาสาคัญ: การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กรอบงานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตัวแบบของภาคี เครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 Abstract The objectives of this study were to determine the result from using Project-Based Learning in the principles of marketing course for undergraduate students, using Partnership for 21th Century Skills, 2009. A questionnaire was used to purposively collected data from 23 MKT213 principles of marketing students in 3/2013. The study found, the overall level of skills development was high. The highest ranking is communication and collaboration followed by working creativity with others, creativity and innovation, and critical thinking and problem solving, respectively. The samples appreciated project-based learning as they gained knowledge and real experience. The 21th century learning is very challenging for both students and teachers to adapt for the highest effectiveness. Teacher must not teach but design the learning process for students to learn by doing. Keywords: Project-Based Learning Framework for 21th Century Learning Partnership for 21th Century Skills, 2009
  • 2. บทนา ในยุคแห่งการแข่งขันทางสังคมค่อนข้างสูงในปัจจุบัน ส่งผลต่อการปรับตัวให้ทัดเทียมและเท่าทันกับ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมในปัจจุบันในทุกมิติรอบด้าน ดังนั้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ (Content Knowledge) ทักษะเฉพาะทาง (Specific Skills) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expertise) และสมรรถนะ ของการรู้เท่ากัน (Literacy) จึงเป็นตัวแปรสาคัญที่ต้องเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนในการเรียนรู้ยุคสังคมแห่งการเปลี่ยน แปลงในศตวรรษที่ 21 นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) กรอบงานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Framework for 21th Century Learning) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills) กลายเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสาคัญที่นักการศึกษาหลากหลายฝ่ายต่างร่วมกันวิจัยเพื่อ สร้างเป็นรูปแบบ และนาเสนอแนวปฏิบัติต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้เกิดขึ้น (Mishra & Keneluik, 2011 อ้างถึงใน สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ดังนั้นการสร้างทักษะเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นลักษณะของการศึกษาวิจัยในเชิงบรูณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งองค์ความรู้ ทักษะ ความ เชี่ยวชาญและสมรรถนะให้เกิดกับผู้เรียน เพื่อประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงใน ปัจจุบัน (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ตัวแบบของกรอบแนวคิดของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่น่าสนใจได้แก่ ตัว แบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21th Century Skills, 2009) เป็นกรอบ แนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยสะท้อนความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ ของการ เรียนรู้ที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ตัวแบบนี้บางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแบบประกายรุ้ง (Rainbow Model)” ดังมีรายละเอียดที่สาคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้ (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, 2554, p. 34-35; Partnership for 21th Century Skills, 2009) แผนภาพ 1 กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่มา: http://3.bp.blogspot.com/-LdVZtMJ1Ny4/Ugj1__609bI/AAAAAAAAABU/YFxlS-OCwWQ/s1600/21.jpg
  • 3. ทักษะและหัวข้อเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, 2554, p. 34-35) ประกอบด้วย - วิชาแกน: ภาษาอังกฤษ การอ่านหรือศิลปะการใช้ภาษา ภาษาสาคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง - แนวคิดสาคัญในศตวรรษที่ 21: จิตสานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการ เป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม - ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไข ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือทางาน - ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี: ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) - ทักษะชีวิตและการทางานได้แก่ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ความคิดริเริ่มและการ ชี้นาตนเอง ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิดชอบ ความเป็นผู้นา และความรับผิดชอบ - ระบบสนับสนุนการศึกษาศตวรรษที่ 21: มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21 หลักสูตรและ การสอนของศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ทักษะด้านนี้จุดเน้นอยู่บนพื้นฐานแห่งการสร้างสรรค์ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การสื่อสาร และการมีส่วน ร่วมในการทางาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ก. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creatively and Innovation) ประกอบด้วย การคิดสร้างสรรค์ (Think Creativity) โดย 1) ใช้เทคนิคของการสร้างสรรค์ทางความคิดที่เปิดกว้าง เช่น การระดมสมอง 2) สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่และเสริมสร้างคุณค่าทางความคิดและสติปัญญา 3) มีความละเอียดรอบคอบต่อการคิดวิเคราะห์และประเมินแนวความคิด เพื่อนาไปสู่การปรับปรุง และพัฒนางานในเชิงสร้างสรรค์ การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (Work Creativity with Others) โดย 1) มุ่งพัฒนา เน้นปฏิบัติและสื่อสารแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการทางาน
  • 4. 3) เป็นผู้นาในการสร้างสรรค์งาน รวมทั้งมีความรู้และความเข้าใจในสภาพการณ์ซึ่งอาจเป็น ข้อเท็จจริงหรือเป็นข้อจากัด โดยพร้อมที่จะยอมรับความคิดเห็นหรือสภาพการณ์ใหม่ๆ ที่ เกิดขึ้นนั้นได้ 4) สามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสส่งผลต่อการเรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ต้องใช้เวลาและความสามารถนาเอาข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง การนาเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ (Implement Innovations) โดย ปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการปรับใช้และพัฒนาจากผลแห่งนวัตกรรมที่นามาใช้ ข. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ประกอบด้วย ประสิทธิภาพของการใช้เหตุผล (Reason Effectively) ใช้รูปแบบที่ชัดเจนในเชิงเหตุผลทั้งในเชิงนิรนัย (Inductive) และอุปนัย (Deductive) ได้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การใช้วิธีคิดเชิงระบบ (Use Systems Thinking) สามารถคิดวิเคราะห์จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ได้ อย่างเป็นองค์รวมทั้งหมดและเป็นระบบครบวงจรในวิธีคิดหรือกระบวนการคิดนั้น ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Make Judgments and Decisions) โดย 1) สร้างประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อสร้างการยอมรับและความ น่าเชื่อถือ 2) สามารถวิเคราะห์และประเมินในเชิงทัศนะได้อย่างต่อเนื่อง 3) สังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น 4) ตีความหมายและให้ข้อสรุปที่ตั้งบนฐานแห่งการวิเคราะห์ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด 5) สะท้อนผลได้อย่างมีวิจารณญาณ บนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหา (Solving Problems) โดย 1) แก้ไขปัญหาที่มีความแตกต่างได้ทั้งปัญหาซ้าซาก และปัญหาที่อุบัติขึ้นใหม่ในหลากหลาย เทคนิควิธีการ 2) สามารถกาหนดเป็นประเด็นคาถามสาคัญที่จะนาไปสร้างเป็นจุดเน้นในการแก้ไขปัญหาตาม สถานการณ์ที่เหมาะสมและดีที่สุด ค. การสื่อสารและการมีส่วนร่วม (Communication and Collaboration) ประกอบด้วย การสื่อสารได้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ (Communication Clearly) โดย 1) สร้างความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน หรือการใช้ทักษะอื่นๆ ใน ทางอวัจนภาษา (Non-verbal) ในรูปแบบต่างๆ
  • 5. 2) มีประสิทธิภาพทางการรับฟังที่สามารถสร้างทักษะสาหรับการถอดรหัสความหาย การสรุป เป็นความรู้ สร้างคุณค่า ทัศนคติและเกิดความสนใจใฝ่รู้ 3) ใช้การสื่อสารในการกาหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะทั้งการรายงาน การสอน การสร้างแรงจูงใจ 4) ใช้สื่อเทคโนโลยีหลากหลายและรู้วิธีการใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ 5) สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมหรือบริบทที่ต่างกัน การทางานร่วมกับผู้อื่น (Collaborate with Others) โดย 1) มีความสามารถในการเป็นผู้นาในการทางานและเกิดการยอมรับในทีมงาน 2) มีกิจกรรมการทางานที่สร้างความรับผิดชอบและก่อให้เกิดความสุขในการทางานเพื่อให้ บรรลุผลตามที่มุ่งหวัง 3) สร้างการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจงาน และแต่ละคนมองเห็นคุณค่าของการ ทางานเป็นหมู่คณะ หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21th Century Curriculum & Instruction) มุ่งเน้นเชิง สหวิทยาการของวิชาแกนหลัก สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบ การเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency-based) สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มี เทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based) เพื่อการสร้างทักษะชั้นสูงทางการคิด (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2555) ส่วนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการ เรียนการสอนตามแนวคิดของไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2555) ได้แก่ การเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center Learning) การเรียนรู้โดยชี้นาตนเอง (Self-directed learning) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) และการใช้ e-portfolio ในการเรียนการสอน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) มีพื้นฐานมาจากเรียนรู้แบบประสบการณ์ (Experiential education) และปรัชญาของ John Dewey (Coffey, 2008) BIE (Buck Institute for Education อ้างอิงใน Coffey, 2008) ได้ให้นิยามของการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานว่า เป็นระบบการสอนที่จะนา นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และทักษะผ่านกระบวนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ท้าทาย ปัญหาที่ไม่สามารถตอบได้ จากการท่องจา การออกแบบสร้างชิ้นงานอย่างใส่ใจ ระยะเวลาของโครงการอาจแตกต่างกันไปและมีการใช้องค์ ความรู้หลากหลาย ส่วน Thomas (2000 อ้างอิงใน Coffey, 2008) ได้อธิบายว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็น ฐาน อาศัยภารกิจที่ซับซ้อน คาถามหรือปัญหาที่ท้าทายแล้วให้นักเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องในการออก แบบแก้ไข ปัญหาและตัดสินใจ หรือกิจกรรมที่ต้องมีการสืบสวนใคร่ครวญ เปิดโอกาสนักเรียนดาเนินงานอย่างอิสระ ในช่วงระยะ เวลาที่กาหนด ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ซึ่งปฏิบัติได้จริง การออกแบบโครงการที่ดีจะกระตุ้นในเกิดการ
  • 6. ค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998 อ้างอิงใน โครงการด้านการศึกษาของอิน เทล, 2007) ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ แก้ปัญหาที่มีความหมาย และเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กัน ด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000 อ้างอิงใน Intel@ Teach Program, 2007) และจากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา MKT213 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้เรียนไม่สามารถสะท้อนความรู้ และการเชื่อมโยงภาพรวมของการจัดการการตลาดได้ อาจเนื่องจากความไม่เข้าใจ เชื่อมโยงความคิดไม่ได้ และ ไม่ได้ฝึกทดลองปฏิบัติงานจริง การจัดการเรียนรู้โดยการทาโครงงาน (Project Based Learning) เป็นการเรียน การสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาวางแผนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและ ความสนใจ โดยครูผู้สอนคอยกระตุ้น แนะนาและให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนสามารถนาความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์มาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ สามารถ ทางานอย่างมีระบบ มีกระบวนการทางาน ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางในการ พัฒนาและแก้ไขปัญหา ตลอดจนสามารถนาเสนอผลงานของตนและกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศยามน, 2555) ผู้วิจัยเล็งเห็นความสาคัญของหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 จึงได้ทาการวิจัยเรื่องผลลัพธ์จาก การเรียนรู้ของแบบโครงงานของนักศึกษารายวิชาหลักการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวน การ จัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning 2) ศึกษาระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตามตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 วิธีการดาเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนานา- ชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จานวน 26 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) นักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชา MKT213 หลักการตลาด และทากิจกรรม Project Based Learning ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จานวน 23 คน ที่เข้าเรียนในวันที่ทาการวิจัย
  • 7. 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหารายวิชา MKT213 หลักการตลาด เพื่อศึกษาเรื่องกระบวนการทาง การตลาด 2.2 กิจกรรม Project Based Learning ประกอบด้วยให้นักศึกษาแบ่งการทางานเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มติดต่อ เพื่อหาสินค้ามาทาการตลาดอย่างอิสระ ผลกาไรที่ได้จากการดาเนินงานจะนาไปทากิจกรรมเพื่อสังคม (Societal marketing) 3. ระยะเวลาในการศึกษา จัดการเรียนการสอนในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ภาคการเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ 4. ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย 4.1 ตัวแปรอิสระ คือการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning 4.2 ตัวแปรตาม คือ ระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตาม ตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ร่วมกับการสังเกตการณ์ (Observation) และการสัมภาษณ์ย่อย การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยและการอภิปรายผล จากการวิจัยศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning และศึกษา ระดับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด ประกอบด้วย การวางแผนและจัดทาโครงงาน การศึกษาแนวคิดด้านการทาตลาด การทาวิจัยย่อยด้านการตลาด เพื่อทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้ าหมาย การวางแผนด้านผลิตภัณฑ์ การลงมือจัดจาหน่าย และการ
  • 8. ส่งเสริมการตลาด ผลกาไรจากการดาเนินงานนาไปทากิจกรรมเพื่อสังคม รวมทั้งการนาเสนอผลการดาเนินงาน ซึ่งจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในกระบวนการ ทางการตลาดได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ทากิจกรรมการเรียนแบบ Project Based Learning ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน 5-6 คน ทากิจกรรมโครงงานร่วมกัน ใน ระหว่างสัปดาห์ของการดาเนินโครงการได้เพิ่มประเด็นปัญหา ให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ตลาดและนาเสนอ ความคืบหน้าของโครงงานและชี้แนะให้คาปรึกษาอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ในท้ายสุดทุกกลุ่มสร้างกาไรหลังหัก ค่าใช้จ่ายจากการทาการตลาดผลิตภัณฑ์รวมได้ 10,568 บาท สอดคล้องกับแนวคิดของ สุวัฒน์ นิยมไทย (2553, อ้างอิงใน ศยามน อินสะอาด) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียน เป็นสาคัญที่ให้ผู้เรียนได้เรียน รู้ด้วยตนเองจากการเลือกในสิ่งที่สนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีระบบการทางานเป็น ขั้นตอนเพื่อนาไปสู่ความรู้ใหม่ๆ สามารถบรูณาการเรียนรู้แบบโครงงานในรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มได้ดี โดยมีผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญคอยให้คาปรึกษาอย่างใกล้ชิด และสุทัศน์ สังคะพันธ์ (2556) ที่ว่า ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาจะเปลี่ยนไปเป็นเน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (Higher Order Learning Skills) เป็นทักษะ การนาเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (Ability to use new knowledge in a creative way) ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรดและเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะ พบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็น จริง (Life in the Real World) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น (Flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (Resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป 2) จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์รายย่อย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบการเรียนแบบ Project Based Learning เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมีประโยชน์มากกว่าเพราะทาให้เห็นตัวอย่าง ทา ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างบางรายกล่าวว่า “ได้ทางานกลุ่ม ออกแบบโครงงานและประดิษฐ์งานขึ้นมา” “ได้ความรู้จากประสบการณ์จริง มีความเข้าใจในการเรียนมากขึ้น” “ได้ปฏิบัติงานจริง รู้ถึงสิ่งที่ได้ทาอย่าง ชัดเจน ทราบถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง และสามารถปรับปรุงข้อผิดพลาดนั้นได้” และ “ได้ปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาดได้ (เรียนรู้จากประสบการณ์)” สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (learning process) รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (experiential learning) หรือ Kolb’s model (1984 อ้างอิงใน สุภณิดา ปุสุรินทร์คา, 2555) ว่าประสบการณ์เป็นวงจรของการเรียนรู้ ที่การได้รับความรู้ ทัศนคติ และทักษะจะอยู่ในกระบวนการ 4 องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ได้แก่ ประสบการณ์ เชิงรูปธรรม (concrete experience) การสังเกตอย่างไตร่ตรอง (reflective observation) มโนทัศน์เชิงนามธรรม (abstract conceptualization) และการทดลองปฏิบัติ (active experimentation)
  • 9. เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ก็ยังมีความคิด เห็นว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนยังคงมีความสาคัญอยู่ เพราะการ lecture สามารถช่วยทาให้จดจาและเข้าใจ ได้ สามารถนาไปทบทวนและทาความเข้าใจที่บ้าน และได้ฟังตัวอย่างและสิ่งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมได้ และ ได้เรียนรู้ทฤษฎีที่ต้องนาไปปฏิบัติ สอดคล้องกับสุรางค์ เพ็ชรกอง (2556) ที่ว่าการเรียนโดยประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อเรียนรู้ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กับการ เรียนเนื้อหา ให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้สูงกว่า เพราะเด็กมีความตั้งใจเรียนมากกว่าทฤษฎีอย่างเดียว 3) ผลการศึกษาระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบ ของภาคีเครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ดที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา MKT213 หลักการตลาด และทากิจกรรม Project Based Learning ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556 ดังตารางที่ 1 พบว่า ทักษะที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับการพัฒนา สูงสุดคือ ด้านการเปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการทางานเพิ่มขึ้น และการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจซึ่งมีระดับคะแนนเท่ากัน รองลงมาได้แก่ การแบ่งกิจกรรมการ ทางานที่สร้างความรับผิดชอบ ความสามารถทางานให้ได้บรรลุตามที่มุ่งหวัง การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ ทางความคิดที่เปิดกว้าง ความสามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสต่อการเรียนรู้และสามารถนาเอาข้อผิดพลาดมา ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการคิดอย่างมีระบบบนพื้นฐานแห่งประสบ- การณ์และกระบวนการเรียนรู้ ตามลาดับ สอดคล้องกับ Bransford, Brown, & Conking (2000, p. 23 อ้างอิงใน Intel@ Teach Program, 2007) ที่ว่าศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วน ร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมาย และเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะ เหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุผลใด เมื่อไหร่และอย่างไร และ Guzdial (1998, อ้างอิงใน ศยามน อินสะอาด) ที่ว่า การให้ผู้เรียนทาโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสวน (Process of Inquiry) ซึ่งเป็น กระบวนการที่ผู้เรียนต้องใช้ความคิดขั้นสูงที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้น จึงเป็นช่องทางที่ดีในการพัฒนากระบวน การ ทางสติปัญญาของผู้เรียน การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการ สืบสวน และการแก้ปัญหาแล้ว ยังสามารถช่วยดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวอยู่ผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ด้วย
  • 10. ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยของระดับการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามตัวแบบของภาคี เครือข่ายเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ของกลุ่มตัวอย่าง หัวข้อประเมิน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ระดับการพัฒนา 1. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม - ข้าพเจ้าได้พัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ทางความคิดที่เปิดกว้าง เช่นการระดม สมอง 3.74 0.6887 มาก - ข้าพเจ้าได้พัฒนาทักษะการสร้างเสริมคุณค่าทางความคิดและปัญญา 3.48 0.5931 มาก รวม 3.61 0.5830 มาก 2. การทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ - ข้าพเจ้าเปิดใจกว้างและยอมรับในมุมมองหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ส่ง ผลต่อ ระบบการทางานเพิ่มขึ้น 4.04 0.8779 มาก - ข้าพเจ้าได้ฝึกความเป็นผู้นาในการสร้างสรรค์งาน 3.52 0.9472 มาก - ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้และเข้าใจในสภาพการณ์ซึ่งอาจเป็นข้อ จากัด และ พร้อมที่จะยอมรับความคิดหรือสภาพการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นได้ 3.57 0.7878 มาก - ข้าพเจ้าสามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสต่อการเรียนรู้ และสามารถนาเอา ข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง 3.61 0.7223 มาก รวม 3.68 0.6134 มาก 3. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา - ข้าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ 3.30 0.5588 ปานกลาง - ข้าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการสังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล รวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น 3.35 0.6473 ปานกลาง - าพเจ้าได้พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ บนพื้นฐานแห่ง ประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ 3.61 0.7223 มาก รวม 3.42 0.4843 มาก 4. การสื่อสารและการมีส่วนร่วม - ข้าพเจ้ามีการแบ่งกิจกรรมการทางานที่สร้างความรับผิดชอบ 3.91 0.9960 มาก - ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในภารกิจ 4.04 0.8245 มาก - ข้าพเจ้ามีความสามารถทางานให้ได้บรรลุตามที่มุ่งหวัง 3.91 0.8482 มาก รวม 3.96 0.7541 มาก
  • 11. 4) ส่วนทักษะที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีระดับการพัฒนาน้อยสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความสามารถใน การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ความสามารถในการสังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบท สรุปที่เกิดขึ้น และทักษะด้านการสร้างเสริมคุณค่าทางความคิดและปัญญานั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากต่อการ สอนในศตวรรษที่ 21 ทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียนว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ต่างฝ่ายต้องปรับตัวมากน้อย เพียงใดเพื่อให้การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด เนื่องจากความสาคัญของหลักสูตรและ การสอนในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (Critical Attributes) เชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (Project-based) เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตาราเป็นตัวขับเคลื่อน (Textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (Fragmented) เช่นที่เคย ในอดีต ความรู้จะไม่หมายถึงการจดจาข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งทีเกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติ โดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ดังนั้นการให้การศึกษาสาหรับศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยน ทัศนะ (perspective) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Traditional Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือกล่าวอีกนัยว่าครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจาก ภายในใจและสมองของตนเอง (สุทัศน์ สังคะพันธ์, 2556) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้ 1) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213หลักการตลาด สาหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี เน้นกระบวนการทางานเป็นกลุ่ม ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นจึงต้อง เตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้านการสร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้เลือกทาโครงงานตามความสนใจและความเหมาะสม อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้อย่างมี ความสุข และนาความรู้ที่ได้รับเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ในอนาคต 2) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชา MKT213 หลักการตลาด สาหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สามารถนาไปประยุกต์ใช้สาหรับเนื้อหารายวิชาอื่นๆ ส่วนการกาหนด กิจกรรมผู้สอนต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับรายวิชานั้นๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง หรือพัฒนาทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะการทางานเป็นทีม ทักษะการคิด การแก้ปัญหา การสังเคราะห์ เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปที่เกิดขึ้น ซึ่งในรายวิชา MKT213หลักการตลาด เนื่องจากนักศึกษาเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ความสามารถในการสังเคราะห์เชื่อมโยง ระหว่างข้อมูลรวมทั้งบทสรุปทั้ง หมดอาจยังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่
  • 12. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1) จากัดขอบของตัวแปรให้แคบเข้า เลือกศึกษาเฉพาะตัวแปรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับการพัฒนา ทักษะด้านต่างๆ หรือใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาครั้งต่อไป เอกสารอ้างอิง ไพฑูรย์สินลารัตน์. (2555). เอกสารประกอบการบรรยาย การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียน การสอน. จาก http://www.air.or.th/AIR/doc/Lectures_14-2.2.pdf วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ Open Worlds. ศยามน อินสะอาด. (2555). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาเกมและ สถานการณ์จาลองเพื่อการศึกษา สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. จาก http://www3.ru.ac.th/km- research/ สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และการดารงตนในศตวรรษที่ 21. จาก http://www.srn2.go.th/index.php/2013-10-31-09-04-45/145--21-.html สุภณิดา ปุสุรินทร์คา. (2551). หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. จาก http://opalnida.blogspot.com/2008/06/blog- post_13.html สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2555). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จาก http://www.addkutec3.com/ สุรางค์เพ็ชรกอง. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. จาก http://www.srn2.go.th/attachments/article/145/รวมบทความ.pdf Coffey, H. (2008). Project-based learning. (online) Retrieved from http://www.learnnc.org/lp/pages/4753 Intel@ Teach Program.(2007). Design effective projects: characteristics of projects benefits of project-based learning. (online) Retrieved from http://download.intel.com/education/Common/ro/Resources/DEP/projectdesign/DEP_pbl_research.pdf Mishra, Punya, Kereluik, & Kristen. (2011). What 21th century learning? A review and a synthesis. (online) Retrieved from http://punya.educ.msu.edu/publications/21stCenturyKnowledge_PM_KK.pdf Partnership for 21th Century Skills. (2009). (online) Retrieved from http://www.p21.org/