SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 8
Baixar para ler offline
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ :
นัยต่อโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่มาภาพ : https://chanjapapai.com/wp-content/uploads/2017/02/Thimpu-Chorten-In-Bhutan.jpg
พิเคราะห์การต่างประเทศไทย
ให้ราชสถาบันภูฏานฟัง
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปลายฟ้า บุนนาค
เผยแพร่ : สิงหาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต
จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
มเพิ่งกลับจาก ภูฏาน ดินแดนในฝันต้นตารับพัฒนาเพื่อความสุข ประเทศเล็กๆ
เขียวขจี อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย กระหนาบอยู่โดยอินเดียและจีน ผู้คนน้อยมาก มีเพียงเจ็ดแสน
คน
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ เราสองคน คือ ผม กับ ท่านสมปอง สงวนบรรพ์ อดีต
เอกอัครราชทูต ในฐานะคณบดีสถาบันการทูตฯ ของ ม.รังสิตได้รับเกียรติจากราชสถาบันแห่งรัฐ
กิจและการยุทธศาสตร์ หรือ The Royal Institute of Governance and Strategic Studies ไป
ร่วมกันพูดเรื่อง "การต่างประเทศของไทย" ให้บรรดานักการทูตภูฏานในระดับกลางและสูงหลาย
สิบคนฟัง
2
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
โอกาสเช่นนี้ทาให้ได้ครุ่นคิด และเพ่งพิศการต่างประเทศของสยามและไทยในรอบกว่า
ร้อยปีอีกครั้งหนึ่ง หลังการบรรยายและตอบข้อซักถาม ผมอดคิดไม่ได้ว่า อันที่จริงแล้ว การทูต
ของเรานั้นโดดเด่น และเป็นประโยชน์สาหรับประเทศโลกตะวันออก ขนาดเล็กและกลาง ที่จะ
นาไปศึกษา ไปถอดรับเอาบทเรียนทีเดียว
การต่างประเทศของสยาม-ไทยนั้น ถือว่าน่าอัศจรรย์ เมื่อเทียบกับนานาประเทศ
ตะวันออก พระมหากษัตริย์และอมาตย์ของไทยนั้น มีปัญญา และความสามารถ รู้เท่าทันตะวันตก
มีความอดกลั้นและอดทนเป็นที่สุด มีลีลา ชั้นเชิง ไหวพริบที่ดีเยี่ยม จะจัดว่าเป็น "กษัตริย์และ
อมาตย์" ที่ดีที่สุดของโลกซีกตะวันออกก็ว่าได้ ดูสิ ครับจักรพรรดิและมหาอมาตย์ของอินเดีย
มารดาแห่งอารยธรรมไทยนั้น ไม่ผ่านการทดสอบ แตกแยกกันและตัดสินใจผิดพลาด จนสูญสิ้น
ไปจากน้ามือของอังกฤษนักล่าเมืองขึ้น ใกล้เข้ามา ศัตรูใหญ่ผู้พิชิตอยุธยาได้ถึงสองครา คือ
กษัตริย์และอมาตย์แห่งพม่านั้น ก็ต้องเสียเมืองแก่อังกฤษไปเช่นกัน ดูเถิด จักรพรรดิองค์สุดท้าย
ของอินเดียนั้นถูกเนรเทศไปอยู่พม่า ส่วนกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกจับส่งไปอยู่อินเดีย
ขณะที่จักรพรรดิและอมาตย์เวียดนาม ที่รบกับรัตนโกสินทร์ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ก็ต้องสูญพันธุ์ไป
จากน้ามือฝรั่งเศส และสุดท้าย บรรดารายาและสุลต่านของมลายูก็ตกอยู่ใต้การปกครองของ
อังกฤษไป มองไกลออกไปอีกนิดครับจักรพรรดิและขุนนางจีน ที่ยิ่งใหญ่ จนเราต้องคอยส่ง
บรรณาการให้ ก็กลับเอาตัวไม่รอด ถูกบั่นทอนและเอาลงจากอานาจได้โดยพวก "สาธารณรัฐ
นิยม"
ภาพ : บรรยากาศที่ภูฏาน
3
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สรุปได้ไหมครับว่า จักรพรรดิ กษัตริย์ ขุนนาง อมาตย์ ในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ตะวันออกเกือบทั้งหมด คือ ผู้พ่ายแพ้ต่อตะวันตก ผู้สูญสลาย ผู้ผิดพลาดในการนารัฐนาวาไปให้
ถึงฝั่ง ในยามที่คลื่นแรงพายุร้ายจากตะวันตกถาโถมใส่ ทว่า สาหรับสยามแล้ว พระมหากษัตริย์
และขุนนางหัวสมัยใหม่-หัวปฏิรูปทั้งหลาย กลับยืนอยู่ในฐานะผู้ชนะ ชนะได้ด้วยการทูต มิใช่ด้วย
สงคราม รักษาประเทศให้อยู่รอด ทั้งยังสมัครสมาน รวมชาติพันธุ์อันหลากหลายแตกต่างกันให้
เข้าเป็นปึกแผ่นอันเดียวกันได้
เราชี้ให้เพื่อนชาวภูฏานเห็นว่า สิ่งที่เป็นสัญชาตญาณในการต่างประเทศของไทยคือ
"หลีกเลี่ยงสงคราม" ให้ถึงที่สุด เราประเมินกาลังตนเองได้และจะไม่ยอมรบกับใครที่ไม่มีวันชนะ
เราไม่เคยมีสงครามมาร่วมสองร้อยปีแล้ว นี่คือ "สันติภาพ" หรือ "สันติสุข" อันยิ่งใหญ่ ในยุค
อาณานิคมนั้น เราทาการทูตอย่างประนีประนอม อย่างบรรเจิดบรรจง ที่จะไม่รบกับอังกฤษ
กระทั่งยอมยกดินแดนเราหลายส่วนในประเทศพม่า จีน และมาเลเซียในปัจจุบันให้เขาไป
เช่นเดียวกัน เราก็ระมัดระวังสุดขีด ตั้งใจไม่ยอมรบกับฝรั่งเศส แม้เมื่อชาตินี้ก้าวร้าว ส่งเรือปืนมา
จ่อประชิดกรุงเทพฯ เราจาต้องยอมเสียดินแดนในลาว เขมร ไปจนสิ้น มองในแง่ลบ เหมือนเราจะ
ขี้ขลาด ยอมจานน แต่คิดให้ดีเถิดเราจะรบไปทาไม แน่ใจได้ว่า ถ้ารบก็จะสูญชาติ เสียชีวิต
มากมาย และเสียซึ่งเอกราช
สิ่งหนี่งที่คนไทยในปัจจุบันจาต้องตระหนักคือ เมื่อฝรั่งยึดครองเอเชีย แอฟริกา และ
ละตินอเมริกานั้น ได้ผนวกดินแดนเหล่านั้นเข้าอยู่กับเมืองแม่ไปแล้ว ไม่คิดสักนิดเดียวว่าในวัน
หนึ่ง จะคืนเอกราช คืนดินแดนที่ให้คนพื้นเมือง จึงในปลายสมัยรัชกาลที่ห้านั้น ด้านตะวันตกและ
ด้านใต้ของเรา มิใช่พม่าและมลายูแล้ว หากแต่เป็ นจักรวรรดิอังกฤษ ส่วนด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ด้านตะวันออก ก็มิใช่ลาวและเขมร และถัดออกไปนิดหน่อยก็ไม่ใช่
ญวน หากแต่ทั้งหมดคือจักรวรรดิฝรั่งเศส ไม่มีใครในโลกคิด ณ จุดนั้น ว่า ต่อมาจะมีเจ้าอาณา
นิคมจะทาสงครามใหญ่กันในยุโรปถึงสองครั้ง จนอ่อนล้า ยับเยิน ไม่อาจทัดทานขบวนการเพื่อ
เอกราชทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
จนมาถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว โลกตะวันออกทั้งปวงก็ยังเป็นดินแดนเมืองขึ้น
ฝรั่งนั่นแหละ ยังไม่มีเค้าแววว่าจะมีที่ไหนได้เอกราชคืน ส่วนสยามเรานั้นเป็นเอกราชอยู่ได้ และ
ก็ยังเข้าเป็นสมาชิกก่อตั้ง "สันนิบาตชาติ" กับเขาได้เสียด้วย แม้ว่าในที่สุด เมืองขึ้นทั้งหลายจะได้
เอกราชคืน แต่ ณ เวลานั้น เราคงไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นฝรั่งด้วยความเชื่อลมๆ แล้งๆ ว่าสักวันหนึ่ง
ฝรั่งจะคืนเอกราชให้เรา ตรงข้าม ณ เวลานั้น ฝรั่งยึดดินแดนเหล่านั้นไว้อย่างเด็ดขาด โดย
สมบูรณ์ เป็นการถาวรแล้ว
เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าไทยตอนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เราไม่รบแต่ก็ไม่ยอมแพ้ แต่กลับ
"ยอมให้ญี่ปุ่นผ่านทางอย่างสันติ" และในเวลาอันรวดเร็วก็ร่วมรบอยู่ข้างญี่ปุ่น บางท่านอาจตาหนิ
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ว่าเราฉวยโอกาส แต่คิดย้อนหลังการที่เราตัดสินใจไม่รบกับญี่ปุ่นนั้น ต้องถือว่าถูกต้อง เพราะ
อย่างไรก็ต้องแพ้แน่ จะรบไปทาไมเพื่อแพ้ และจะยอมสูญเสียชีวิตทหารและผู้คนเรือนพันเรือนหมื่น
ไปทาไม สู้เป็นไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ไม่มีความทรงจาขมขื่นกับญี่ปุ่นเลยไม่ดีกว่าหรือ การตัดสินใจ
เข้าสู่สงครามสู้กับอังกฤษและอเมริกานั้น อาจพอจะถือว่าพลาด แต่ในที่สุดชนชั้นนาเราก็แตกเป็น
สองสาย และสายญี่ปุ่นยอมลงจากอานาจเมื่อใกล้สงครามจะยุติ และสายอังกฤษอเมริกาสามารถยึด
กุมรัฐบาลได้ทันทีหลังสงคราม และก็แทบจะทันที ก็พารัฐนาวาไทยเข้าสู่ค่าย "เสรี" ของอเมริกา
มหาอานาจใหม่ที่ใหญ่ที่สุด และ อาศัยอเมริกานี่เองมาช่วยต้านอังกฤษกับฝรั่งเศสไว้ไม่ให้"ลงโทษ"
หรือ "เอาคืน" กับไทยมากนัก
การทูตของเรา มีทั้งหลักการ เช่นยุคฝรั่งล่าเมืองขึ้น เราสันติที่สุด จะไม่รบกับฝรั่ง โดยไม่
ชนะ ท่านทูตสมปองย้าในการบรรยายว่า "เราสู้ไม่ใช่เพื่อแพ้ เพื่อตาย เพื่อเสียเอกราช" เราต้องอยู่
ต่อไปให้รอดจึงต้องเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็ยอมฝรั่งได้เสมอ เพื่ออยู่ต่อไปให้รอด ต้องเป็นกลาง
เคร่งครัด ไม่ยอมเอียง ไม่ยอมเข้าข้างใคร ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส แต่ขณะเดียวกันก็มีความพลิก
พลิ้ว เหมือนจะยอมเสียหลักการ แต่ความอยู่รอดของชาตินั่นก็คือหลักการเช่นกัน อาจใหญ่กว่า
หลักการปลีกย่อยอื่น เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน ก็กล้าเปลี่ยน เช่น ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะบุก เราประกาศ
ถ้าใครบุก เราจะสู้จนคนสุดท้าย แต่ครั้นรู้ว่าฝรั่งไม่ช่วย ปล่อยเรารบเอง กับญี่ปุ่น ซึ่งเราไม่มีทาง
ชนะ เราก็พลิก ไม่ยอมรบ ยอมต้าน ปล่อยให้ญี่ปุ่นผ่านทาง อย่างสันติ
ในยุค "สงครามเย็น" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงปี 2518 แม้ว่าจะเข้าข้างอเมริกา แต่
เราก็รู้จักความพอเหมาะพอสม ยับยั้งชั่งใจ ไม่กระโจนเข้าสู่สงครามอย่างเต็มตัว หากรักษาบทบาท
เป็นเพียงกองหลัง เป็นเพียงแต่ฐานทัพอากาศให้กับอเมริกา และพลันที่ฝ่ายซ้ายชนะในเขมรลาว
และเวียดนาม เราก็รับรองรัฐบาลใหม่ที่เคยเป็นปรปักษ์เก่ากับเราในทันที และพร้อมๆ กับเร่งคืน
ความสัมพันธ์การทูตกับจีน อีกศัตรูหนึ่งแห่งอดีต เราต้องพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ก็เพื่อความอยู่
รอด ไม่มี "ศัตรูถาวร" ในหลักการทูตของเรา ก็ในเมื่ออเมริกากาลังทิ้งไทยและเอเชียอาคเนย์ไปเสีย
แล้วในความเป็นจริง เราจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากรีบพลิกกลับมาเป็นมิตรกับลาว เขมร
เวียดนาม และจีน
ยิ่งกว่านั้น เมื่อเวียดนาม หลังรบชนะอเมริกา บุกยึดกัมพูชาของเขมรแดง ในปลายปี 2521
ต่อต้นปี 2522 เราก็ต้องพลิกตัวร้อยแปดสิบองศาหันไปเอาจีน "ศัตรูเก่า" มาเป็น "มหามิตรใหม่"
ร่วมกันต้านเวียดนาม และร่วมกับอาเซียน"เพื่อนเก่า" ด้วย รวมเป็นสามแรงแข็งขัน ทัดทาน
เวียดนามเอาไว้ให้หยุดอยู่แค่ชายแดนไทย-เขมร จาได้ไหมครับ จึงในช่วงนี้เองที่เราได้เห็นภาพผู้นา
สูงสุดของคอมมิวนิสต์จีน คือ ท่านเติ้งเสี่ยวผิง ปรากฏตัวอยู่ในวัดพระศรีศาสดาราม วันที่สมเด็จพระ
บรมโอรสาธิราชทรงผนวช
5
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
หลังจากเวียดนามยอมถอนทหารออกจากกัมพูชา หลัง ปี 2532 เราก็กลับมาอบอุ่นเป็น
มิตรกับเวียดนามที่เราเคยต้าน เป็นมิตรกับลาวที่ใกล้ชิดมากกับเวียดนามในการยึดกัมพูชา และ
เราก็ญาติดีกับเขมรฝ่ายฮุนเซ็นที่เราเคยหนุนเขมรแดงล้มมาแล้ว ในที่สุดเราก็ร่วมกับอาเซียน
อื่นๆ รับเอาลาว เขมร เวียดนาม เข้ามาอยู่ร่วมกันในอาเซียน ยืนยันว่าหลักการทูตแบบไทยนั้น
เราไม่มี "ศัตรูถาวร" จริงๆ ทุก "ศัตรู" กลับมาเป็น "มิตร" ได้เสมอ ได้เร็วด้วย ไม่มี "แค้นฝังหุ่น"
จากประเทศที่เคยมีข้าง มีค่าย มีฝ่าย ด้วยความจาเป็น เพื่อ "ความอยู่รอด" ของเรา แต่
ณ เวลานี้ ท่านทูตสมปองสรุป เรา"ไม่มีศัตรู" ใดๆ แล้ว เราเป็นมิตรกับจีน นับวันจะมากขึ้น
สาคัญขึ้น แต่ ท่านย้า "เราจะไม่ทิ้ง จะไม่ยอมห่างกับอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นอย่างแน่นอน" ยังจะ
เป็นมิตรใกล้ชิดกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่อไป เราจะต้องใกล้ชิดเหนียวแน่นและยึดมั่นต่อไป
ในอาเซียนต่อไป เป็นมิตรกับรัสเซียให้ดี เวลานี้ ผมคิดอาจมีเพียงกลุ่มประเทศมุสลิมเท่านั้นที่เรา
ต้องใกล้ชิดขึ้น เป็นมิตรให้มากขึ้น ไปมาหาสู่มากขึ้น เป็นพิเศษ
เราทั้งสองเชื่อว่าการทูตแบบไทยพอจะยกได้ว่าเป็น"สานัก" หนึ่ง ที่ "มีผลงาน" หรือมี
"ความสาเร็จ" รักษาตัวรอดจากยุคอาณานิคม รอดต่อมาถึงยุค "สงครามเย็น" ปลอดภัยมาถึงยุค
"หลังสงครามเย็น" ผ่านยุค "สงครามเวียดนามในกัมพูชา" ยุค "โลกาภิวัตน์" และเชื่อว่าในยุค
"บูรพาภิวัตน์" นี้ก็จะรักษาสมดุลระหว่างมหาอานาจเก่าและมหาอานาจใหม่ได้ ถือได้ว่าเป็นการ
ทูตที่มี "วุฒิภาวะ" ท่านทูตสมปองกล่าวว่า "นักการทูตเรา พูดค่อนข้างน้อย ไม่โว" โฆษณาหรือ
ประชาสัมพันธ์น้อย แต่ทาค่อนข้างมาก เป็นมิตร สุภาพถ่อมตน แต่ในส่วนลึกแล้ว พลิกแพลง
กล้าสู้ กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยน แต่ก็ระมัดระวังเสมอ
ภาพ : การบรรยายที่ราชสถาบันภูฏาน
6
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

Mais conteúdo relacionado

Semelhante a พิเคราะห์การต่างประเทศไทยให้ราชสถาบันภูฏานฟัง

อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์Klangpanya
 
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกKlangpanya
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตKlangpanya
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกKlangpanya
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกKlangpanya
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตKlangpanya
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรีJulPcc CR
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรีJulPcc CR
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรีJulPcc CR
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"Klangpanya
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทยJulPcc CR
 
01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์JulPcc CR
 
01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์JulPcc CR
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยKlangpanya
 
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดล
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดลบทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดล
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดลRujroad Kaewurai
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนKlangpanya
 
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าเนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าPandit Chan
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 

Semelhante a พิเคราะห์การต่างประเทศไทยให้ราชสถาบันภูฏานฟัง (20)

อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
 
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี
 
08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี08กรุงธนบุรี
08กรุงธนบุรี
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย
 
01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์
 
01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์01ความหมายประวัติศาสตร์
01ความหมายประวัติศาสตร์
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
 
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดล
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดลบทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดล
บทเรียนคอมพิวเตอร์บนแท็บเล็ต ร่วมกับวิธีการสอนตามรูปแบบซิปปาโมเดล
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าเนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 

Mais de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mais de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

พิเคราะห์การต่างประเทศไทยให้ราชสถาบันภูฏานฟัง

  • 1. วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มาภาพ : https://chanjapapai.com/wp-content/uploads/2017/02/Thimpu-Chorten-In-Bhutan.jpg
  • 2. พิเคราะห์การต่างประเทศไทย ให้ราชสถาบันภูฏานฟัง สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปลายฟ้า บุนนาค เผยแพร่ : สิงหาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต มเพิ่งกลับจาก ภูฏาน ดินแดนในฝันต้นตารับพัฒนาเพื่อความสุข ประเทศเล็กๆ เขียวขจี อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย กระหนาบอยู่โดยอินเดียและจีน ผู้คนน้อยมาก มีเพียงเจ็ดแสน คน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ เราสองคน คือ ผม กับ ท่านสมปอง สงวนบรรพ์ อดีต เอกอัครราชทูต ในฐานะคณบดีสถาบันการทูตฯ ของ ม.รังสิตได้รับเกียรติจากราชสถาบันแห่งรัฐ กิจและการยุทธศาสตร์ หรือ The Royal Institute of Governance and Strategic Studies ไป ร่วมกันพูดเรื่อง "การต่างประเทศของไทย" ให้บรรดานักการทูตภูฏานในระดับกลางและสูงหลาย สิบคนฟัง
  • 4. 2 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โอกาสเช่นนี้ทาให้ได้ครุ่นคิด และเพ่งพิศการต่างประเทศของสยามและไทยในรอบกว่า ร้อยปีอีกครั้งหนึ่ง หลังการบรรยายและตอบข้อซักถาม ผมอดคิดไม่ได้ว่า อันที่จริงแล้ว การทูต ของเรานั้นโดดเด่น และเป็นประโยชน์สาหรับประเทศโลกตะวันออก ขนาดเล็กและกลาง ที่จะ นาไปศึกษา ไปถอดรับเอาบทเรียนทีเดียว การต่างประเทศของสยาม-ไทยนั้น ถือว่าน่าอัศจรรย์ เมื่อเทียบกับนานาประเทศ ตะวันออก พระมหากษัตริย์และอมาตย์ของไทยนั้น มีปัญญา และความสามารถ รู้เท่าทันตะวันตก มีความอดกลั้นและอดทนเป็นที่สุด มีลีลา ชั้นเชิง ไหวพริบที่ดีเยี่ยม จะจัดว่าเป็น "กษัตริย์และ อมาตย์" ที่ดีที่สุดของโลกซีกตะวันออกก็ว่าได้ ดูสิ ครับจักรพรรดิและมหาอมาตย์ของอินเดีย มารดาแห่งอารยธรรมไทยนั้น ไม่ผ่านการทดสอบ แตกแยกกันและตัดสินใจผิดพลาด จนสูญสิ้น ไปจากน้ามือของอังกฤษนักล่าเมืองขึ้น ใกล้เข้ามา ศัตรูใหญ่ผู้พิชิตอยุธยาได้ถึงสองครา คือ กษัตริย์และอมาตย์แห่งพม่านั้น ก็ต้องเสียเมืองแก่อังกฤษไปเช่นกัน ดูเถิด จักรพรรดิองค์สุดท้าย ของอินเดียนั้นถูกเนรเทศไปอยู่พม่า ส่วนกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกจับส่งไปอยู่อินเดีย ขณะที่จักรพรรดิและอมาตย์เวียดนาม ที่รบกับรัตนโกสินทร์ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ก็ต้องสูญพันธุ์ไป จากน้ามือฝรั่งเศส และสุดท้าย บรรดารายาและสุลต่านของมลายูก็ตกอยู่ใต้การปกครองของ อังกฤษไป มองไกลออกไปอีกนิดครับจักรพรรดิและขุนนางจีน ที่ยิ่งใหญ่ จนเราต้องคอยส่ง บรรณาการให้ ก็กลับเอาตัวไม่รอด ถูกบั่นทอนและเอาลงจากอานาจได้โดยพวก "สาธารณรัฐ นิยม" ภาพ : บรรยากาศที่ภูฏาน
  • 5. 3 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สรุปได้ไหมครับว่า จักรพรรดิ กษัตริย์ ขุนนาง อมาตย์ ในประวัติศาสตร์ของประเทศ ตะวันออกเกือบทั้งหมด คือ ผู้พ่ายแพ้ต่อตะวันตก ผู้สูญสลาย ผู้ผิดพลาดในการนารัฐนาวาไปให้ ถึงฝั่ง ในยามที่คลื่นแรงพายุร้ายจากตะวันตกถาโถมใส่ ทว่า สาหรับสยามแล้ว พระมหากษัตริย์ และขุนนางหัวสมัยใหม่-หัวปฏิรูปทั้งหลาย กลับยืนอยู่ในฐานะผู้ชนะ ชนะได้ด้วยการทูต มิใช่ด้วย สงคราม รักษาประเทศให้อยู่รอด ทั้งยังสมัครสมาน รวมชาติพันธุ์อันหลากหลายแตกต่างกันให้ เข้าเป็นปึกแผ่นอันเดียวกันได้ เราชี้ให้เพื่อนชาวภูฏานเห็นว่า สิ่งที่เป็นสัญชาตญาณในการต่างประเทศของไทยคือ "หลีกเลี่ยงสงคราม" ให้ถึงที่สุด เราประเมินกาลังตนเองได้และจะไม่ยอมรบกับใครที่ไม่มีวันชนะ เราไม่เคยมีสงครามมาร่วมสองร้อยปีแล้ว นี่คือ "สันติภาพ" หรือ "สันติสุข" อันยิ่งใหญ่ ในยุค อาณานิคมนั้น เราทาการทูตอย่างประนีประนอม อย่างบรรเจิดบรรจง ที่จะไม่รบกับอังกฤษ กระทั่งยอมยกดินแดนเราหลายส่วนในประเทศพม่า จีน และมาเลเซียในปัจจุบันให้เขาไป เช่นเดียวกัน เราก็ระมัดระวังสุดขีด ตั้งใจไม่ยอมรบกับฝรั่งเศส แม้เมื่อชาตินี้ก้าวร้าว ส่งเรือปืนมา จ่อประชิดกรุงเทพฯ เราจาต้องยอมเสียดินแดนในลาว เขมร ไปจนสิ้น มองในแง่ลบ เหมือนเราจะ ขี้ขลาด ยอมจานน แต่คิดให้ดีเถิดเราจะรบไปทาไม แน่ใจได้ว่า ถ้ารบก็จะสูญชาติ เสียชีวิต มากมาย และเสียซึ่งเอกราช สิ่งหนี่งที่คนไทยในปัจจุบันจาต้องตระหนักคือ เมื่อฝรั่งยึดครองเอเชีย แอฟริกา และ ละตินอเมริกานั้น ได้ผนวกดินแดนเหล่านั้นเข้าอยู่กับเมืองแม่ไปแล้ว ไม่คิดสักนิดเดียวว่าในวัน หนึ่ง จะคืนเอกราช คืนดินแดนที่ให้คนพื้นเมือง จึงในปลายสมัยรัชกาลที่ห้านั้น ด้านตะวันตกและ ด้านใต้ของเรา มิใช่พม่าและมลายูแล้ว หากแต่เป็ นจักรวรรดิอังกฤษ ส่วนด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ด้านตะวันออก ก็มิใช่ลาวและเขมร และถัดออกไปนิดหน่อยก็ไม่ใช่ ญวน หากแต่ทั้งหมดคือจักรวรรดิฝรั่งเศส ไม่มีใครในโลกคิด ณ จุดนั้น ว่า ต่อมาจะมีเจ้าอาณา นิคมจะทาสงครามใหญ่กันในยุโรปถึงสองครั้ง จนอ่อนล้า ยับเยิน ไม่อาจทัดทานขบวนการเพื่อ เอกราชทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนมาถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว โลกตะวันออกทั้งปวงก็ยังเป็นดินแดนเมืองขึ้น ฝรั่งนั่นแหละ ยังไม่มีเค้าแววว่าจะมีที่ไหนได้เอกราชคืน ส่วนสยามเรานั้นเป็นเอกราชอยู่ได้ และ ก็ยังเข้าเป็นสมาชิกก่อตั้ง "สันนิบาตชาติ" กับเขาได้เสียด้วย แม้ว่าในที่สุด เมืองขึ้นทั้งหลายจะได้ เอกราชคืน แต่ ณ เวลานั้น เราคงไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นฝรั่งด้วยความเชื่อลมๆ แล้งๆ ว่าสักวันหนึ่ง ฝรั่งจะคืนเอกราชให้เรา ตรงข้าม ณ เวลานั้น ฝรั่งยึดดินแดนเหล่านั้นไว้อย่างเด็ดขาด โดย สมบูรณ์ เป็นการถาวรแล้ว เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าไทยตอนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เราไม่รบแต่ก็ไม่ยอมแพ้ แต่กลับ "ยอมให้ญี่ปุ่นผ่านทางอย่างสันติ" และในเวลาอันรวดเร็วก็ร่วมรบอยู่ข้างญี่ปุ่น บางท่านอาจตาหนิ
  • 6. 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ว่าเราฉวยโอกาส แต่คิดย้อนหลังการที่เราตัดสินใจไม่รบกับญี่ปุ่นนั้น ต้องถือว่าถูกต้อง เพราะ อย่างไรก็ต้องแพ้แน่ จะรบไปทาไมเพื่อแพ้ และจะยอมสูญเสียชีวิตทหารและผู้คนเรือนพันเรือนหมื่น ไปทาไม สู้เป็นไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ไม่มีความทรงจาขมขื่นกับญี่ปุ่นเลยไม่ดีกว่าหรือ การตัดสินใจ เข้าสู่สงครามสู้กับอังกฤษและอเมริกานั้น อาจพอจะถือว่าพลาด แต่ในที่สุดชนชั้นนาเราก็แตกเป็น สองสาย และสายญี่ปุ่นยอมลงจากอานาจเมื่อใกล้สงครามจะยุติ และสายอังกฤษอเมริกาสามารถยึด กุมรัฐบาลได้ทันทีหลังสงคราม และก็แทบจะทันที ก็พารัฐนาวาไทยเข้าสู่ค่าย "เสรี" ของอเมริกา มหาอานาจใหม่ที่ใหญ่ที่สุด และ อาศัยอเมริกานี่เองมาช่วยต้านอังกฤษกับฝรั่งเศสไว้ไม่ให้"ลงโทษ" หรือ "เอาคืน" กับไทยมากนัก การทูตของเรา มีทั้งหลักการ เช่นยุคฝรั่งล่าเมืองขึ้น เราสันติที่สุด จะไม่รบกับฝรั่ง โดยไม่ ชนะ ท่านทูตสมปองย้าในการบรรยายว่า "เราสู้ไม่ใช่เพื่อแพ้ เพื่อตาย เพื่อเสียเอกราช" เราต้องอยู่ ต่อไปให้รอดจึงต้องเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็ยอมฝรั่งได้เสมอ เพื่ออยู่ต่อไปให้รอด ต้องเป็นกลาง เคร่งครัด ไม่ยอมเอียง ไม่ยอมเข้าข้างใคร ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส แต่ขณะเดียวกันก็มีความพลิก พลิ้ว เหมือนจะยอมเสียหลักการ แต่ความอยู่รอดของชาตินั่นก็คือหลักการเช่นกัน อาจใหญ่กว่า หลักการปลีกย่อยอื่น เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน ก็กล้าเปลี่ยน เช่น ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะบุก เราประกาศ ถ้าใครบุก เราจะสู้จนคนสุดท้าย แต่ครั้นรู้ว่าฝรั่งไม่ช่วย ปล่อยเรารบเอง กับญี่ปุ่น ซึ่งเราไม่มีทาง ชนะ เราก็พลิก ไม่ยอมรบ ยอมต้าน ปล่อยให้ญี่ปุ่นผ่านทาง อย่างสันติ ในยุค "สงครามเย็น" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงปี 2518 แม้ว่าจะเข้าข้างอเมริกา แต่ เราก็รู้จักความพอเหมาะพอสม ยับยั้งชั่งใจ ไม่กระโจนเข้าสู่สงครามอย่างเต็มตัว หากรักษาบทบาท เป็นเพียงกองหลัง เป็นเพียงแต่ฐานทัพอากาศให้กับอเมริกา และพลันที่ฝ่ายซ้ายชนะในเขมรลาว และเวียดนาม เราก็รับรองรัฐบาลใหม่ที่เคยเป็นปรปักษ์เก่ากับเราในทันที และพร้อมๆ กับเร่งคืน ความสัมพันธ์การทูตกับจีน อีกศัตรูหนึ่งแห่งอดีต เราต้องพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ก็เพื่อความอยู่ รอด ไม่มี "ศัตรูถาวร" ในหลักการทูตของเรา ก็ในเมื่ออเมริกากาลังทิ้งไทยและเอเชียอาคเนย์ไปเสีย แล้วในความเป็นจริง เราจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากรีบพลิกกลับมาเป็นมิตรกับลาว เขมร เวียดนาม และจีน ยิ่งกว่านั้น เมื่อเวียดนาม หลังรบชนะอเมริกา บุกยึดกัมพูชาของเขมรแดง ในปลายปี 2521 ต่อต้นปี 2522 เราก็ต้องพลิกตัวร้อยแปดสิบองศาหันไปเอาจีน "ศัตรูเก่า" มาเป็น "มหามิตรใหม่" ร่วมกันต้านเวียดนาม และร่วมกับอาเซียน"เพื่อนเก่า" ด้วย รวมเป็นสามแรงแข็งขัน ทัดทาน เวียดนามเอาไว้ให้หยุดอยู่แค่ชายแดนไทย-เขมร จาได้ไหมครับ จึงในช่วงนี้เองที่เราได้เห็นภาพผู้นา สูงสุดของคอมมิวนิสต์จีน คือ ท่านเติ้งเสี่ยวผิง ปรากฏตัวอยู่ในวัดพระศรีศาสดาราม วันที่สมเด็จพระ บรมโอรสาธิราชทรงผนวช
  • 7. 5 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากเวียดนามยอมถอนทหารออกจากกัมพูชา หลัง ปี 2532 เราก็กลับมาอบอุ่นเป็น มิตรกับเวียดนามที่เราเคยต้าน เป็นมิตรกับลาวที่ใกล้ชิดมากกับเวียดนามในการยึดกัมพูชา และ เราก็ญาติดีกับเขมรฝ่ายฮุนเซ็นที่เราเคยหนุนเขมรแดงล้มมาแล้ว ในที่สุดเราก็ร่วมกับอาเซียน อื่นๆ รับเอาลาว เขมร เวียดนาม เข้ามาอยู่ร่วมกันในอาเซียน ยืนยันว่าหลักการทูตแบบไทยนั้น เราไม่มี "ศัตรูถาวร" จริงๆ ทุก "ศัตรู" กลับมาเป็น "มิตร" ได้เสมอ ได้เร็วด้วย ไม่มี "แค้นฝังหุ่น" จากประเทศที่เคยมีข้าง มีค่าย มีฝ่าย ด้วยความจาเป็น เพื่อ "ความอยู่รอด" ของเรา แต่ ณ เวลานี้ ท่านทูตสมปองสรุป เรา"ไม่มีศัตรู" ใดๆ แล้ว เราเป็นมิตรกับจีน นับวันจะมากขึ้น สาคัญขึ้น แต่ ท่านย้า "เราจะไม่ทิ้ง จะไม่ยอมห่างกับอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นอย่างแน่นอน" ยังจะ เป็นมิตรใกล้ชิดกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่อไป เราจะต้องใกล้ชิดเหนียวแน่นและยึดมั่นต่อไป ในอาเซียนต่อไป เป็นมิตรกับรัสเซียให้ดี เวลานี้ ผมคิดอาจมีเพียงกลุ่มประเทศมุสลิมเท่านั้นที่เรา ต้องใกล้ชิดขึ้น เป็นมิตรให้มากขึ้น ไปมาหาสู่มากขึ้น เป็นพิเศษ เราทั้งสองเชื่อว่าการทูตแบบไทยพอจะยกได้ว่าเป็น"สานัก" หนึ่ง ที่ "มีผลงาน" หรือมี "ความสาเร็จ" รักษาตัวรอดจากยุคอาณานิคม รอดต่อมาถึงยุค "สงครามเย็น" ปลอดภัยมาถึงยุค "หลังสงครามเย็น" ผ่านยุค "สงครามเวียดนามในกัมพูชา" ยุค "โลกาภิวัตน์" และเชื่อว่าในยุค "บูรพาภิวัตน์" นี้ก็จะรักษาสมดุลระหว่างมหาอานาจเก่าและมหาอานาจใหม่ได้ ถือได้ว่าเป็นการ ทูตที่มี "วุฒิภาวะ" ท่านทูตสมปองกล่าวว่า "นักการทูตเรา พูดค่อนข้างน้อย ไม่โว" โฆษณาหรือ ประชาสัมพันธ์น้อย แต่ทาค่อนข้างมาก เป็นมิตร สุภาพถ่อมตน แต่ในส่วนลึกแล้ว พลิกแพลง กล้าสู้ กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยน แต่ก็ระมัดระวังเสมอ ภาพ : การบรรยายที่ราชสถาบันภูฏาน