SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
เมืองป่าตอง
การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างมีส่วนร่วม
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
เมืองป่าตอง:
การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก
อย่างมีส่วนร่วม
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
นักวิจัยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา
รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
(CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
3
เมืองป่าตอง:
การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างมีส่วนร่วม
เทศบาลเมืองป่าตอง ตั้งอยู่ในเขตอาเภอกะทู้ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตก
ประมาณ 16 กิโลเมตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามคือหาดป่าตอง เป็นชายหาดที่มีความยาว
ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหาดกมลา (ทิศเหนือ) และหาดกะรน (ทิศใต้) ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาว
ไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยว จึงทาให้เมืองป่าตองมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันเขต
เทศบาลมีพื้นที่ 16.4 ตารางกิโลเมตร จาแนกเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจหนาแน่นใจกลางเมือง 5.8 ตาราง
กิโลเมตร (ร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่สูงไม่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน
ภาพที่ 1 ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศของเมืองป่าตอง อาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ที่มา : www.google.com
ที่มา : www.thansettakij.com
4
สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองป่าตองจัดเป็นที่ราบชายฝั่ง (Coastal Plain) มีที่ราบแคบๆ ขนานไป
กับโค้งอ่าวที่มีชายหาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตรจาก Coral Beach ถึงหาดกะหลิม หันหน้าออกสู่ทะเล
อันดามันทางทิศตะวันตก พื้นที่ราบมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา ที่ราบลูกคลื่น ที่ลุ่มต่า และหาดทราย
ความสูงระหว่าง 1-30 เมตรจากระดับน้าทะเลปานกลาง เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นทุ่งนาและสวนมะพร้าว
โดยมีภูเขาสูงระหว่าง 200-450 เมตรจากระดับน้าทะเลปานกลาง ทอดตัวอยู่รายรอบทั้งทางด้านทิศ
เหนือ ตะวันออกและใต้ (ภาพที่ 1) ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวทาให้น้าไหลระบายลงมาจากภูเขา สะสม
อยู่ในที่ลุ่มต่า ซึ่งอยู่ระหว่างที่ราบตอนในกับหาดทราย จากนั้นจึงไหลลงสู่ทะเลรอบอ่าวต่อไป
จุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นเมืองป่าตองเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2510 เมื่อกระทรวงมหาดไทย
ได้มีประกาศเรื่องเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกะทู้ อาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยกาหนดให้ขยายเขต
สุขาภิบาลครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 3 ตาบลในอาเภอกะทู้ คือ ตาบลกะทู้ ตาบลป่าตอง และตาบลกมลา เมือง
ป่าตองจึงเป็นส่วนหนึ่งของเขตสุขาภิบาลกะทู้ จนถึง พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่า
สุขาภิบาลกะทู้มีพื้นที่กว้างขวางมาก สมควรเปลี่ยนแปลงเขตใหม่โดยให้มีแนวเขตครอบคลุมพื้นที่ตาบล
กะทู้เพียงตาบลเดียว ขณะเดียวกันก็สมควรยกฐานะท้องถิ่นตาบลป่าตองจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งใหม่
จึงได้ออกประกาศเรื่องเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกะทู้ และจัดตั้งสุขาภิบาลป่าตอง อาเภอกะทู้ จังหวัด
ภูเก็ต
กระทั่งปี พ.ศ. 2537 สุขาภิบาลป่าตองได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตาบลป่าตอง และ
เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองป่าตองในปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากสภาพบ้านเมืองเกิดการขยายตัว
ไปอย่างรวดเร็ว มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น จากการเติบโตของธุรกิจการ
ท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในถนนบางลา หรือ “Bangla Walking Street” พื้นที่ชีวิตกลางคืนที่
คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยเปิดบริการถึงเวลา 04.00 น. ของทุกวัน มีสถานบันเทิงยาม
ราตรี ร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักแรม ตั้งอยู่อย่างหนาแน่นตลอดสองข้างทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้า
ออกร้านต่างๆ เพื่อเลือกจับจ่ายใช้สอยได้ตามความพึงพอใจ สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่คึกคัก เป็น
สีสัน และเป็นเอกลักษณ์ของเมืองป่าตองในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้จังหวัดภูเก็ตสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ถึง 13.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ
377,000 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2559 (ภาพที่ 2) จนถึงปัจจุบัน
5
ภาพที่ 2 แนวโน้มการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2554 - 2559
ที่มา : สานักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต.
จากสถิติแสดงแนวโน้มการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตสามารถอนุมานได้ว่าระบบเศรษฐกิจของ
เมืองป่าตองขึ้นอยู่กับกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจากการสารวจข้อมูลโดยกองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม (ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559) พบว่า ในเขตเทศบาลเมืองป่าตองมีประเภทของสถาน
ประกอบการด้านการบริการ พาณิชยกรรม และกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้
1) ประเภทของสถานประกอบการด้านการบริการ ประกอบด้วย โรงแรม 120 แห่ง บ้านพัก
นักท่องเที่ยว (Guesthouse) 492 แห่ง ร้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 จานวน 760 แห่ง และกิจการนวดและสปา 251 แห่ง รวมเฉพาะสถาน
ประกอบการ 4 ประเภท จานวน 1,623 แห่ง
2) ประเภทของสถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 24 แห่ง
ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ตลาดสดเอกชน 1 แห่ง และสถานีบริการน้ามันเชื้อเพลิง 1 แห่ง
3) กลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง ประกอบด้วย ผู้ประกอบการนวดชายหาดป่าตอง
173 ราย ผู้ประกอบการเบาะ-ร่มชายหาดป่าตอง จานวน 59 ราย ผู้ประกอบการหิ้วกระติก
ชายหาดป่าตอง 85 ราย ผู้ประกอบการเจ็ทสกีชายหาดป่าตอง 50 ราย ผู้ประกอบการเรือ
หางยาวเพื่อการท่องเที่ยว 80 ราย และผู้ประกอบการเรือลากร่ม 8 ราย รวมทั้งสิ้น 455 ราย
ในด้านประชากร ประชากรในเขตเมืองป่าตองแยกเป็นประชากรตามทะเบียนราษฎร์ประมาณ
20,000 คน ในจานวนนี้ประมาณ 1 ใน 4 หรือราว 5,000 คน เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่ ส่วนใหญ่
ประกอบธุรกิจการค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบการบ้านเช่า ให้เช่าตึก/
อาคารเพื่อทาธุรกิจการค้าต่างๆ บริการรถเช่า เรือเช่า และค้าขายทั่วไป ส่วนที่เหลืออีกราว 15,000 คน
ย้ายสามะโนประชากรมาภายหลัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ขับรถรับจ้าง และพนักงานโรงแรม
6
มีเหตุจูงใจในการย้ายเข้าคือเพื่อนาบุตรหลานเข้าเรียน ประชากรเหล่านี้จะกระจายตัวกันอยู่ตามชุมชน
ต่างๆ ในเขตเทศบาล 7 แห่ง ได้แก่ ชุมชนชายวัด ชุมชนบ้านมอญ ชุมชนบ้านไสน้าเย็น ชุมชนบ้านนา
ใน ชุมชนบ้านโคกมะขาม ชุมชนบ้านกะหลิม และชุมชนหาดป่าตอง
ส่วนคนที่ยังไม่ย้ายเข้าพื้นที่ จัดเป็นประชากรแฝงของเมือง เนื่องจากมีการย้ายถิ่นแบบชั่วคราว
ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวราว 4-6 เดือน ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวกลับไปทาการเกษตร จึงยังต้องมี
ภูมิลาเนาอยู่ที่เดิม เพื่อประโยชน์ในการขอกู้ยืมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและติดตามชาระหนี้ ซึ่งคาด
ว่าประชากรส่วนนี้มีประมาณ 100,000-150,000 คน กระจายตัวกันอยู่ตามสถานประกอบการและบ้าน
เช่า ทั้งในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองกะทู้ และเทศบาลนครภูเก็ต
2. การขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างสุขภาวะเมืองป่าตองอย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นจุดหมายปลายทาง
ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต่างให้
ความสาคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเทศบาลเมืองป่าตองที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัด
การเมืองป่าตองให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่ส่งเสริมการอยู่อาศัยใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดี
รวมถึงการผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
2.1 ป่าตอง เมืองท่องเที่ยวที่ปลอดภัย
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินระหว่างเดินทางท่องเที่ยว (Travel Safety) ถือเป็นหนึ่งใน
ปัจจัยหลักที่ทาให้สถานที่ใดหรือเมืองใดได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความน่า
ดึงดูดใจของสถานที่นั้นหรือเมืองนั้น ความคุ้มค่าเงิน และความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัยยัง
หมายถึงความเชื่อมั่นไว้วางใจของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถ
ถูกเผยแพร่ไปได้ทั่วโลกภายในไม่กี่วินาที ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจุดหมายในการเดินทางได้ทุกเมื่อ
มาตรการหลักในการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวเมืองป่าตอง มีเทศบาลเมืองป่าตอง
เป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณในการดาเนินการ ร่วมกับหน่วยงานจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่
เกี่ยวข้อง อาทิ สานักงานตารวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงผู้ประกอบการ
ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม อาทิ มูลนิธิพัฒนาป่าตอง1 ในการขับเคลื่อนเมืองป่าตองให้ก้าวไปสู่
เมืองท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงระดับโลก ได้แก่ การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
จนทาให้ป่าตองเป็นเมืองที่มีกล้องวงจรปิดมากที่สุด และการจัดระบบเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต รวมถึงการมี
เครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลความปลอดภัยเมืองป่าตอง มีรายละเอียดดังนี้
1 ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2557 ภายใต้การนาของ ดร.ปรีชาวุฒิ กี่สิ้น ประธานบริษัท พิโซน่า กรุ๊ป
จากัด โดยการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมทาหน้าที่จิตอาสาด้านต่างๆ เป็นการทางานคู่ขนาน
ไปกับภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ มุ่งพัฒนาป่าตอง
ให้เป็นเมืองน่าเที่ยวสาหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ส่งเสริมให้ป่าตองเป็นชุมชนที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบสุข
ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี อีกทั้งยังเกื้อกูลกันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
7
1) การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิ ด (Closed Circuit Television; CCTV)
- มีจุดเริ่มต้นจากการที่จังหวัดภูเก็ตได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้เป็นพื้นที่นาร่องเรื่อง
เมืองอัจฉริยะ (Smart City)2 มีการจัดทาแนวทางหรือกลยุทธ์ (Road Map) Phuket 2020
Smart City เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สาคัญประการหนึ่งคือ Phuket Safe City เน้นเรื่องการดูแล
ความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ด้วยการนาระบบ CCTV มาทางานร่วมกับการตรวจจับ
ใบหน้าและเลขทะเบียนรถ เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบและติดตามผู้กระทาผิด
- เมืองป่าตองได้ดาเนินการติดตั้งกล้อง CCTV ทั่วเขตเทศบาล ตั้งแต่ก่อนที่จะรับนโยบาย
เรื่อง Smart City แต่เป็นกล้องธรรมดา (ระบบ Analog) ที่ใช้ดูภาพทั่วไป เรื่องการจราจร
การเคลื่อนไหวของรถและคน ซึ่งเป็นการย้อนกล้องวงจรปิดดูด้วยสายตาเมื่อมีการร้องขอ
- ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองกาลังอยู่ระหว่างดาเนินการติดตั้งกล้องระบบใหม่ (IP
Camera)3 เพื่อเพิ่มศักยภาพในพื้นที่เสี่ยงบริเวณริมหาดป่าตองจานวน 32 จุด ระบบภาพ
เป็นกล้องแบบอยู่กับที่ (Fix) และกล้องแบบหมุนและขยายภาพได้ (Pan and Zoom) รวมถึง
สร้างห้องควบคุมระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Control Room) เพื่อวิเคราะห์ภาพ
- ระบบการวิเคราะห์ภาพ (Analysis) ของกล้อง CCTV ระบบใหม่ ประกอบด้วย ระบบดักจับ
ใบหน้า (Face Detection) เพื่อระบุและติดตามตัวบุคคล อาศัยการทางานร่วมกับสานักงาน
ตารวจแห่งชาติ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบของสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จังหวัดภูเก็ตได้ และระบบ License Place Recognition ใช้กล้องพิเศษจับป้ายทะเบียนรถ
อย่างเดียว เนื่องจากประสบปัญหาการโจรกรรมรถมอเตอร์ไซค์อยู่บ่อยครั้ง
- ในส่วนของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่างให้ความร่วมมือในการติดตั้งกล้องวงจรปิด
อาทิ มูลนิธิพัฒนาป่าตอง เป็นแกนนาภาคเอกชนร่วมกันติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณถนน
บางลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของป่าตองประมาณ 20 จุด ก่อนจะส่งมอบให้เจ้าหน้าที่
ตารวจดูแลต่อไป
2 พื้นที่นาร่องเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในระยะแรกมี 7 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ (บริเวณศูนย์กลาง
คมนาคมบางซื่อ) ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และ 3 จังหวัดในเขตพื้นที่ EEC คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
3 IP Camera (Internet Protocol Camera) มีลักษณะเป็นกล้องเครือข่าย (Network Camera) สามารถส่งและ
รับข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้
8
2) การจัดระบบเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard)
- เป็นโครงการที่มีมานานราว 20 ปี เดิมใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
ก่อนที่เทศบาลเมืองป่าตองจะเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการจัดสรรงบประมาณในการจ้าง
เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตประจาอยู่ตามจุดต่างๆ 9 จุด ตลอดความยาวชายหาด 3 กิโลเมตร
- ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) จานวน 26 คน อยู่เฝ้าประจาตามจุดที่กาหนด
ระหว่างเวลา 8.30 – 18.00 น. (ภาพที่ 3) ทั้งยังได้จัดกาลังเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และมีอาสาสมัครจากเครือข่ายความปลอดภัยต่างๆ คอยตรวจตรา
ความสงบเรียบร้อยของพื้นที่ชายหาดหลัง 18.00 น. เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่
นักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง
- ส่วนการดาเนินการด้านกายภาพ เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดระเบียบพื้นที่เล่นน้าด้วยการ
วางทุ่นสาหรับกั้นเขตเล่นน้าให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งติดตั้งธงสัญลักษณ์สีเหลืองและ
แดงตามมาตรฐานสากลเพื่อแสดงการอนุญาต (สีเหลือง) หรือห้ามลงเล่นน้า (สีแดง) ซึ่งใน
อนาคตจะมีการติดตั้งหอสังเกตการณ์ที่มีกล้องส่องทางไกล เพิ่มมุมมองในมุมสูงและภาพ
กว้าง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประเมินสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต ในกรณีที่มี
นักท่องเที่ยวร้องขอหรือต้องการความช่วยเหลือในทะเล
- นอกจากนี้ เทศบาลเมืองป่าตองยังจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ จัดให้มีการแข่งขัน
ทักษะไลฟ์การ์ด เด็ก เยาวชนและประชาชน เป็นประจาทุกปี4 ถือเป็นการสร้างทุนมนุษย์ที่
จาเป็นต่อการพัฒนาเมือง และเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมาในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
- ในส่วนของภาคเอกชนและประชาสังคม มูลนิธิพัฒนาป่าตองเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรที่
เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากร (อาสาสมัครไลฟ์การ์ด นักประดาน้า) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
เช่น เจ็ทสกี เรือยาง อุปกรณ์การช่วยเหลือเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีชมรมไลฟ์การ์ด ภูเก็ต
(Phuket Life Saving Club)5 ทาหน้าที่ฝึกสอนเยาวชนให้มีความรู้ด้านการกู้ภัยต่างๆ
4 ในปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดการแข่งขันทักษะไลฟ์การ์ด เด็ก เยาวชนและประชาชน เมื่อวันที่ 2
ธันวาคม 2561 บริเวณหน้าสวนสาธารณะโลมา หาดป่าตอง การแข่งขันมีหลายประเภท ทั้งทางบกละทางน้า มีทีมและ
นักกีฬาร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจานวน 20 ทีม และนักกีฬา 250 คน โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งการจัดโครงการ
นี้เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ตลอดจนบุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจ
จะเรียนรู้ทักษะไลฟ์การ์ดได้มีเวทีพัฒนาศักยภาพและทักษะให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งเป็นการฝึกสอนพัฒนาบุคลากร
และสร้างความเข้าใจในงานไลฟ์การ์ดอีกด้วย
5 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยกลุ่มเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี รวมถึงอาสาสมัครที่มี
จุดมุ่งหมายในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้าทั่วภูเก็ต โดยร่วมกันปรับปรุงความปลอดภัยของสระน้าและชายหาด
มีการทางานอย่างใกล้ชิดกับสมาคมเซิร์ฟไลฟ์เซฟวิ่ง ออสเตรเลีย (Surf Life Saving Australia) เป็นเวลาหลายปีในการ
พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตทางน้าเป็นประจา
9
ภาพที่ 3 (ภาพซ้าย) เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) อธิบายการใช้อุปกรณ์
(ภาพขวา) ป้ายแสดงสัญลักษณ์ธงและการเตือนภัยต่างๆ ณ บริเวณจุดที่ตั้งของหน่วยไลฟ์การ์ด
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2562)
3) เครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลความปลอดภัยเมืองป่าตอง
- มูลนิธิพัฒนาป่าตองได้ริเริ่มจัดทาโครงการเครือข่ายตาสับปะรด โดยให้คนในชุมชนช่วยกัน
เป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง จับตาดูเรื่องการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว อาชญากรรม และ
อื่นๆ ทั้งบริเวณหน้าหาดป่าตองและถนนบางลา โดยใช้เทคโนโลยีร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
อาทิ ไลน์กลุ่มตาสับปะรดเพื่อแจ้งข่าว มีทั้งที่เป็นกลุ่มลับที่เกี่ยวกับงานสืบ และงาน
ปราบปรามป้องกันเหตุ อย่างเช่น กรณีจระเข้หลุด กลุ่มผู้ประกอบการชายหาด ไม่ว่าจะเป็น
กลุ่มร่มเตียง เจ็ทสกี เรือหางยาว ฯลฯ ต่างแจ้งข่าวกันในกลุ่ม นอกจากนี้ ยังมีการสังเกต
ตรวจตรา ป้องกัน เรื่องการพกมีด อาวุธ และอาวุธสงคราม การก่อการร้าย รวมทั้งเฝ้าระวัง
การก่อเหตุระเบิด มีการจับตาดูบุคคลต้องสงสัย วัตถุต้องสงสัย รวมถึงเรื่องยาเสพติด
การค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ หากมี
ชาวต่างชาติเป็นลม เจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือต่อยตี จะมีการแจ้งเหตุอย่างรวดเร็ว อาศัย
เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ที่ทันสมัย
- สิ่งที่ภาครัฐเข้ามาดาเนินการเพื่อสนับสนุนการทางานของเครือข่ายภาคประชาชน ในส่วน
ของเทศบาลเมืองป่าตอง มีการติดตั้งสปอร์ตไลท์บริเวณจุดอับ จุดเปลี่ยว ทั้งยังให้การ
สนับสนุนค่าไฟฟ้าที่ภาคประชาชนได้ร่วมกันติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างใกล้ๆ ชายหาด มีการ
วางกาลังเจ้าหน้าที่ตารวจจากสถานีตารวจภูธรกะทู้ และ อปพร. ช่วยกันเดินตรวจตรา
บริเวณหน้าหาดป่าตองตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
10
- ในส่วนของภาคเอกชน ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานห้องน้าของ
เทศบาลเมืองป่าตอง ที่ให้ความร่วมมือในการติดไฟห้องน้าและมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง มีการ
ประสานงานไปยังโรงแรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดอับ จุดบอด เพื่อให้มีเวรยาม หรือส่ง
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงแรมมาช่วยกันตรวจตรา รวมทั้งมีการติดสปอร์ตไลท์
ส่องไปยังชายหาด เป็นต้น
2.2 การจัดการขยะมูลฝอยในเขตเมือง : ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง
เมืองใหญ่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาสู่เมืองท่องเที่ยวระดับสากล และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
เป็นจานวนมาก มักมีประชากรแฝงเพิ่มขึ้น ปัญหาสาคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองคือ “ขยะ
มูลฝอย” เทศบาลเมืองป่าตองจึงมีความพยายามบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตามแนวทาง “ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง” ด้วยการสร้าง
อุปนิสัยลดปริมาณขยะมูลฝอย สร้างจิตสานึกที่ดีในการคัดแยกขยะ การบริการเก็บขนที่ดาเนินการ
จัดเก็บอย่างเป็นระบบและนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ อาทิ แอปพลิเคชั่น “Patong Report” เพื่อให้เกิด
การจัดเก็บขยะอย่างรวดเร็ว การนาไปกาจัด และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเทศบาลฯ ได้
ทาการศึกษาออกแบบและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบ
วงจร ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การคัดแยก การนากลับไปใช้ประโยชน์ การกาหนดรูปแบบการบริหาร
จัดการ ตลอดจนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดาเนินการ โดยนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ
เทศบาลเมืองป่าตองมีดังนี้
1) มุ้งเน้นส่งเสริมและรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองป่าตองให้สวยงาม มีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย เหมาะสมกับการเป็น “เมืองน่าเที่ยว น่าอยู่อย่างยั่งยืน”
2) ป้องกันและวางระบบการแก้ไขปัญหามลพิษต่างๆ เช่น น้าเสีย ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง
ควบคุมการใช้เสียงและเหตุราคาญ การติดตั้งป้ายโฆษณาเพื่อไม่ให้เป็นทัศนียภาพที่อุจาด
เป็นต้น
3) รักษาความสะอาดบนที่ทางสาธารณะ เช่น ชายหาด สวนสาธารณะถนนและซอยทุกชุมชน
ภายใต้โครงการ “หน้าบ้าน น่ามอง”
4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เมืองป่าตองพัฒนาสู่เมืองคาร์บอนต่า (Low Carbon City) และ
สนับสนุนใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการใช้มาตรการประหยัด
พลังงาน
5) รณรงค์และสร้างจิตสานึกให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ตระหนักในการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองมีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยวันละ 158 ตัน (ตารางที่ 1) ในจานวนนี้
คัดแยกออกมาได้ประมาณ 30 ตัน ส่วนที่เหลืออีกราว 128 ตัน ส่งโรงกาจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ต
ซึ่งเป็นรายจ่ายในส่วนนี้ปีละ 35 ล้านบาท ยังมีค่าจ้างเก็บขนปีละ 45 ล้านบาท และค่าจ้างกวาดอีกปีละ
11
20 ล้านบาท รวมเป็นรายจ่ายในการกาจัดขยะปีละ 100 ล้านบาท แต่เก็บค่ากาจัดขยะได้ปีละ 15 ล้าน
บาท ค่าดูดสิ่งปฏิกูลอีก 5 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ของเทศบาล 20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 หรือ 1
ใน 5 ของรายจ่ายทั้งหมดเท่านั้น
ตารางที่ 1 สถานการณ์ขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองป่าตอง
ปีงบประมาณ ปริมาณขยะรวม (ตัน) ปริมาณขยะเฉลี่ย (ตัน/วัน)
2554 34,379.67 94
2555 37,537.44 103
2556 41,398.78 113
2557 43,144.94 118
2558 45,883.32 126
2559 47,811.59 131
2560 50,967.46 141
2561 57,754.66 158
ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก
ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.
ทั้งนี้ สามารถสรุปวิธีการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองป่าตองได้ดังนี้
1) ลดปริมาณการผลิตมูลฝอย โดยรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการผลิตมูลฝอย
ในแต่ละวัน ได้แก่ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ลดการใช้วัสดุกาจัดยาก เช่น โฟม ถุงพลาสติก
2) จัดระบบการรีไซเคิล (ก่อนเก็บขน) ได้แก่ รณรงค์ให้ประชาชนนาขยะกลับมาใช้ประโยชน์
ใหม่ เช่น การคัดแยกขยะรีไซเคิลนาไปขาย นาเศษอาหารมาทาปุ๋ย ตลอดจนจัดระบบที่เอื้อ
ต่อการทาขยะรีไซเคิล เช่น จัดภาชนะแยกประเภทมูลฝอยที่ชัดเจน จัดกิจกรรม/โครงการนา
ขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ จัดตั้งศูนย์รีไซเคิล เป็นต้น
3) การกวาดและเก็บขนขยะมูลฝอย
3.1) จ้างเหมาเอกชนเพื่อดาเนินการรักษาความสะอาด (กวาดขยะ) ในเขตเทศบาลเมือง
ป่าตอง โดยในปีงบประมาณ 2560 มีรายจ่ายจริงจานวน 17.96 ล้านบาท
3.2) จ้างเหมาเอกชนเพื่อดาเนินการเก็บขนมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง เนื่องจาก
เทศบาลฯ ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ประกอบกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง จึงมีความจาเป็นต้องให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการ โดย
ในปีงบประมาณ 2560 มีรายจ่ายจริงจานวน 39.33 ล้านบาท
3.3) กาหนดช่วงเวลาในการเก็บขน เพื่อให้ประชาชนทิ้งขยะเป็นเวลาในจุดที่กาหนด โดย
ให้รวบรวมขยะใส่ถุงดา มัดปากถุงให้เรียบร้อย นามาวางบริเวณที่รถขนขยะสามารถ
ทาการเก็บขนได้ (ตารางที่ 2 และ 3) จากนั้นให้รถขนส่งขยะมูลฝอยไปยังสถานที่
กาจัดโดยตรง โดยใช้วิธีการฝังกลบและเผา ณ ศูนย์กาจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ต
12
3.4) การใช้เทคโนโลยีช่วยในการเก็บขน อาทิ แอปพลิเคชั่น Patong Report และถังขยะ
อัจฉริยะ มีรายละเอียดดังนี้
- แอปพลิเคชั่น Patong Report โดยเทศบาลเมืองป่าตองร่วมกับ NECTEC พัฒนา
แอปพลิเคชั่น Patong Report (ภาพที่ 4) เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งปัญหา
ขยะตกค้างภายในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง สามารถใช้งานกับโทรศัพท์สมาร์ท
โฟนระบบปฎิบัติการ ios และ android โดยช่วงแรกที่ปล่อยออกมามีผู้ใช้งาน
ดาวน์โหลดราว 400 ราย วิธีการแจ้งคือประชาชนถ่ายภาพจุดที่มีขยะสะสมส่งเข้า
แอพฯ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตรวจสอบ และแจ้งชุดเคลื่อนที่เร็วให้ไปเก็บ
ขน พร้อมทั้งถ่ายภาพส่งกลับไปยังผู้เจ้ง โดยจะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน
1-24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีการใช้งานเดือนละ 10-20 ครั้ง
- ถังขยะอัจฉริยะ แบ่งเป็นการติดตั้งถังขนาดเล็กจานวน 15 จุด เฉพาะบริเวณหน้า
หาดเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และถังขนาดใหญ่จานวน 7 จุด กระจายอยูทั่ว
เขตเทศบาลเพื่อให้บริการแก่ผู้อยู่อาศัย ในกรณีที่ไม่สะดวกวางถุงขยะไว้หน้า
บ้าน สามารถนามารวมไว้ที่ถังใหญ่ทั้ง 7 จุดได้ ถังขยะที่นาไปวางไว้ในแต่ละจุดมี
คุณสมบัติคือด้านหน้าแยกขยะ 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล
ด้านในมีระบบ Censor ที่ติดตั้งไว้เหนือปากถัง เพื่อแจ้งเตือนปริมาณขยะ เมื่อ
ใกล้จะเต็มความจุของถัง ด้านบนมีแผงโซลาร์เซลล์ส่งพลังงานให้ระบบ Sensor
ทางาน (ภาพที่ 4)
4) การเฝ้าระวัง มีเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังคอยเฝ้าจุดที่มีผู้ลักลอบทิ้ง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้
กฎหมายจับปรับผู้กระทาผิดตามเทศบัญญัติเทศบาลตาบลป่าตอง เรื่องการกาจัดสิ่งปฏิกูล
และมูลฝอย พ.ศ.2542 มีสาระสาคัญคือ ทิ้งขยะไม่ลงถัง ทิ้งขยะนอกเวลาที่กาหนด มีโทษ
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
5) การจัดการขยะมูลฝอยบริเวณถนนบางลา ซึ่งมีการสะสมขยะจากการดื่มกินของ
นักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงค่าจนถึงเวลา 04.00 น. โดยหลังจากค่าคืนแห่งแสงสีจบลงในแต่ละ
วัน ภาคเอกชน ได้แก่ สถานประกอบการจะต้องทาความสะอาดบริเวณหน้าร้านของตนเอง
ให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันคนเก็บของเก่า (รถซาเล้ง) ที่มีอยู่ราว 50-100 ราย จะเข้าเก็บ
ขยะที่ recycle ได้นาไปคัดแยกขาย ในวันหนึ่งอาจจะเก็บได้มากถึง 3 รอบ เนื่องจากยังมี
ขยะที่หลุดรอดสายตาไปได้ และมีนักท่องเที่ยวทิ้งเพิ่มจนกว่าจะถึง 06.00 น. นอกจากนี้
มูลนิธิพัฒนาป่าตองยังเข้ามามีบทบาทในการดาเนินโครงการ “บางลาสะอาด 24 ชั่วโมง”
โดยการสนับสนุนงบประมาณและกาลังคน (จิตอาสา) ในการเก็บกวาดถนนบางลาให้สะอาด
ปราศจากขยะหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ก่อนจะส่งมอบพื้นที่ให้ทางเทศบาลฯ เป็นผู้ดาเนินการ
กวาดและเก็บขนขยะเพื่อส่งกาจัด และในเวลา 9.00 ไม่เกิน 10.00 น. รถน้าของเทศบาลจะ
เข้าไปฉีดล้างถนนด้วยน้าและสาร EM เพื่อทาความสะอาดถนนอีกครั้ง ทาให้ถนนบางลา
ในช่วงกลางวันไม่มีขยะสะสมและสะอาดเรียบร้อยตลอดทั้งเส้นทาง
13
ตารางที่ 2 จุดทิ้งขยะในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง ในเวลาที่กาหนด
18.00 น.-02.00 น. 20.00 น.-03.00 น. 02.00 น.-06.00 น.
ถนนพระบารมี ถนนทวีวงศ์ ถนนบางลา
ถนนพระพิศิษฐ์กรณีย์ ถนนราษฏร์อุทิศ200ปี
ถนนใสน้าเย็น ถนนเฉลิมพระเกียรติ
ถนนนาใน ถนนหาดป่าตอง
ถนนราชปาทานุสรณ์ ถนนสวัสดิรักษ์
ถนนหมื่นเงิน ถนนประชานุเคราะห์
ถนนสิริราชย์ ถนนร่วมใจ
ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก
ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.
ตารางที่ 3 จุดทิ้งขยะในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง นอกเวลาที่กาหนด
ถนน ประเภทถังขยะ จุดทิ้งขยะ
ถนนพระบารมี ถังคอนเทนเนอร์
ถังคอนเทนเนอร์
ซอยควนยาง
ซอยพระบารมี 9(ปางช้าง)
ถนนพระพิศิษฐ์กรณีย์ ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ซอยพระบารมี 7
ตรงข้ามซอยบ้านพรุเรียน
ซอยพิศิษฐ์กรณีย์ 15
ตรงข้ามแฟมิลี่มาร์ท บ้านมอญ
ถนนใสน้าเย็น ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ซอยวิเศษ
ซอยโบลิ่ง
ถนนราชปาทานุสรณ์ ถังคอนเทนเนอร์
ถังคอนเทนเนอร์
ซอยมณีศรี
ซอยหมู่บ้านกานัน
ถนนหมื่นเงิน ถังคอนเทนเนอร์ ตรงข้ามบ้านพักคนงาน(ไตร
ตรัง)
ถนนทวีวงศ์ ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ถังขยะ 240 ลิตร
ตรงข้ามร้านอาหารทรอปิก้า
ตรงข้ามโรงแรมป่าตองบีช
ตรงข้ามบานาน่า วอร์ค
ตรงข้างดรงแรมบ้านไทย บีช
ตรงข้ามซอยเก็บทรัพย์
ตรงข้ามซอยเพิ่มพงศ์พัฒนา
ตรงข้ามถนนร่วมใจ
ตรงข้ามโรงแรมป่าตอง เมอร์ลิน
ถนน 50 ปี ถังคอนเทนเนอร์
ถังคอนเทนเนอร์
บ้านข้าหลวง
ร้านปากหลักกุ้งกระทะ
ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก
ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.
14
ภาพที่ 4 (ภาพซ้าย) แอปพลิเคชั่น Patong Report
(ภาพขวา) เจ้าหน้าที่อธิบาลกลไกการทางานของถังขยะอัจฉริยะ เมืองป่าตอง
ที่มา : (ภาพซ้าย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
6) การจัดการขยะอินทรีย์ เนื่องจากขยะส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งมี
ปริมาณเฉลี่ย 110 ตันต่อวัน ปัจจุบันมีการแยกเศษอาหารและเปลือกผลไม้ออกมา
โดยเฉพาะลูกมะพร้าวอ่อน (ประมาณวันละ 3,000 ลูก) เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เศษ
ผัก ฯลฯ โดยเทศบาลเมืองป่าตองเช่าที่วัดสุวรรณคีรีวงก์ (บริเวณใกล้เคียงกับโรงบาบัดน้า
เสีย) เพื่อจัดการขยะอินทรีย์ให้เป็นขุยมะพร้าว ปุ๋ยหมัก และน้าหมักชีวภาพ ดาเนินการโดย
เจ้าหน้าที่ชุดพัฒนาโรงปุ๋ยที่ได้รับคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญให้นาลูกมะพร้าวอ่อนมาสับก่อน
จะผสมกับใบไม้สดและเศษอาหาร พรวนกองขยะทุกสัปดาห์เพื่อให้อากาศและจุลินทรีย์เข้า
ไปแปรสภาพเศษซากต่างๆ ให้เป็นปุ๋ย (ภาพที่ 5) เพื่อนาไปใส่บารุงต้นไม้ในสวนสาธารณะ
และแปลงผักปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นแปลงสาธิตของเทศบาลฯ รวมถึงแจกจ่ายให้สถาน
ประกอบการและประชาชนที่มาขอรับปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ด้วย
7) การจัดการขยะบริเวณหน้าหาด ในฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม มีการเฝ้า
ระวังเพื่อจัดการขยะบริเวณหน้าหาดที่ถูกคลื่นและลมพัดพามาจากที่ต่างๆ รวมถึงมีกิจกรรม
ต่างๆ อาทิ การดาน้าเก็บขยะทุกวันที่ 8 มิถุนายน (วันสิ่งแวดล้อมโลก) เป็นต้น
15
ภาพที่ 5 การจัดการขยะอินทรีย์ เมืองป่าตอง (ภาพซ้าย) กองซากมะพร้าวจากลูกมะพร้าวอ่อนสับ
เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทาปุ๋ยอินทรีย์ (ภาพขวา) การพรวนปุ๋ยจากกองเศษซากขยะอินทรีย์
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2562)
2.3 การจัดการน้าเสียเมืองป่าตอง : เมื่อผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
น้าเสียถือเป็นภาวะเสี่ยงของเมืองท่องเที่ยวในระดับสากล ที่จะต้องวางแผนจัดการอย่างมีระบบ
และคานึงถึงอนาคต เทศบาลเมืองป่าตองได้วางระบบการจัดการน้าเสีย ตั้งแต่การวางระบบรวบรวมน้า
เสียเพื่อรองรับน้าเสียในเขตเมือง และทาการบาบัดน้าเสียก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล รวมไปถึงการรณรงค์
ให้ทาการติดตั้งบ่อดักไขมันในครัวเรือน ร้านอาหาร โรงเรียนในสังกัดเทศบาลและสถานประกอบการ
ต่างๆ6 ก่อนที่จะทาการบาบัด
เทศบาลเมืองป่าตองได้ดาเนินการสร้างโรงปรับปรุงคุณภาพน้าบนพื้นที่ 13 ไร่ ที่เช่าจากวัด
สุวรรณคีรีวงก์ โดยใช้ระบบบาบัดน้าเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch : OD) (ภาพที่ 6) เพื่อช่วย
กาจัดสิ่งปนเปื้อนในน้าที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของเมือง โดยเฉพาะโรงแรม ร้านอาหาร
ร้านนวดและสปา รวมถึงที่เกิดจากกิจวัตรประจาวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในเมืองให้หมดไป และ
สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ ปัจจุบันระบบบาบัดน้าเสียครอบคลุมพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น
ร้อยละ 76 ของพื้นที่ในเขตเทศบาลทั้งหมด สามารถรองรับน้าเสียได้ถึง 20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
6 ในปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดโครงการฝึกอบรมการกาจัดไขมันจากน้าทิ้งภายในสถาน
ประกอบการร้านอาหาร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการใช้ประโยชน์ถังตักไขมันที่
ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การบารุงรักษาถังดักไขมันที่ถูกต้อง เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการจาหน่ายอาหาร
16
ภาพที่ 6 (ภาพซ้าย) บ่อเติมอากาศ (ภาพขวา) เครื่องรีดตะกอนที่แยกตัวออกจากน้าที่ผ่านการบาบัด
โรงปรับปรุงคุณภาพน้าเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
ที่มา : โครงการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการโครงการภายใต้แผนบูรณาการขยะและสิ่งแวดล้อม
http://waste.onep.go.th
เรื่องที่นับว่าเป็นความโดดเด่นด้านการจัดการน้าเสียของเทศบาลเมืองป่าตองคือการดาเนินการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียตามหลักที่ว่าผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle) โดย
เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสียมีหน้าที่ต้องชาระค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียตามปริมาณ
การใช้น้า (ใช้น้ามาก จ่ายเงินมาก ใช้น้าน้อย จ่ายเงินน้อย) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและ
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ซึ่งกาหนดให้พื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงจัดให้มีระบบบาบัดน้าเสียในเขตเทศบาลเมือง
ป่าตอง ดังนั้นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสียทุกประเภทมีหน้าที่จัดส่งน้าเสียของตนไปทา
การบาบัด และมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย
ในการนี้ เทศบาลเมืองป่าตองได้ตราเทศบัญญัติ เรื่อง “การควบคุมและการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
บาบัดน้าเสีย พ.ศ. 2554” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และประกาศเทศบาลเมืองป่า
ตอง เรื่อง “กาหนดอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียกรณีไม่ใช้น้าประปาหรือไม่ใช้น้าประปา
เป็นหลัก พ.ศ. 2559” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา โดยแหล่งกาเนิด
มลพิษแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีอัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียดังตารางที่ 4 และ 5 โดย
ตรวจสอบปริมาณลูกบาศก์เมตรของการใช้น้าจากใบเสร็จแจ้งค่าน้าประปาที่ออกโดยเทศบาลฯ
1) ประเภทที่ 1 อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าเป็นการ
อยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราว เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย อาคารแถว
2) ประเภทที่ 2 ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจหรืออาคารที่ทาการของ
เอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ มูลนิธิ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล โรงเรียนหรือ
สถานศึกษา สถานที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (หมายความถึง กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้อง
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร)
17
3) ประเภทที่ 3 ประกอบด้วย โรงแรม โรงงานตามกฏหมายว่าด้วยโรงงาน สถานที่ประกอบ
ธุรกิจขนาดใหญ่ (หมายความถึง กิจการที่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ได้รับยกเว้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร หรือกิจการที่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
ตารางที่ 4 อัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย กรณีใช้น้าประปาหรือใช้น้าประปาเป็นหลัก
หน่วย : บาทต่อลูกบาศก์เมตรของการใช้น้า
พ.ศ. แหล่งกาเนิดมลพิษ
ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3
2554 – 2555 2.50 3.75 5.00
2557 – 2562 3.00 4.25 5.50
2563 – 2567 3.50 4.75 6.00
2568 – 2571 4.00 5.25 6.50
ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย”
จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง (กองช่างสุขาภิบาล) จังหวัดภูเก็ต.
ตารางที่ 5 อัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย กรณีไม่ใช้น้าประปาหรือไม่ใช้น้าประปาเป็นหลัก
พ.ศ.
แหล่งกาเนิดมลพิษ
ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3
ร้านอาหาร (บาท/ร้าน/เดือน) ธุรกิจขนาดเล็ก (บาท/หลัง/เดือน) อพาร์ทเมนท์
(บาท/ห้อง/เดือน)
โรงแรม
(บาท/ห้อง/เดือน)100-200
ตร.ม.
200-300
ตร.ม.
เกิน 300
ตร.ม.
ล้าง อัด
ฉีด
ใช้น้า
เป็นหลัก
ทั่วไป
2559 - 2562 360.00 400.00 480.00 1,150.00 285.00 80.00 40.00 65.00
2563 - 2567 400.00 445.00 540.00 1,280.00 320.00 90.00 45.00 70.00
2568 - 2571 440.00 490.00 600.00 1,410.00 355.00 100.00 50.00 75.00
ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย”
จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง (กองช่างสุขาภิบาล) จังหวัดภูเก็ต.
อย่างไรก็ตาม หากสถานประกอบการมีระบบบาบัดน้าเสียแล้ว จะต้องดาเนินการตรวจสอบ
คุณภาพน้าตามดัชนีตรวจวัด ได้แก่ pH, BOD5, SS, TDS, Settleable Solids, TKN, Oil and Grease
และ Sulfide พร้อมแจ้งกองช่างสุขาภิบาลเทศบาลเมืองป่าตอง เพื่อเข้าตรวจสอบในวันที่ทาการเก็บ
ตัวอย่างน้าทิ้งและรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้าทิ้งให้เทศบาลเมืองป่าตองทราบ หากผลการ
ตรวจสอบคุณภาพน้าทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย
18
ทั้งนี้ เทศบาลเมืองป่าตองมีบทกาหนดโทษ กรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสีย
ที่มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียหรือที่มีระบบบาบัดน้าเสียของตนเอง และทาการบาบัดน้า
เสียไม่ได้มาตรฐานน้าทิ้ง ไม่ยอมชาระค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย จะต้องเสียค่าปรับ 4 เท่าของอัตรา
ค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งเทศบัญญัติดังกล่าว
ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองมีรายรับค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียที่จัดเก็บแล้วประมาณปีละ 30
ล้านบาท นาไปใช้ประโยชน์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นาส่งคืนกองทุนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อเป็น
งบประมาณกลางให้ท้องถิ่นอื่น รวมถึงเทศบาลฯ ก่อสร้างและขยายระบบบาบัดน้าเสียให้ครอบคลุมพื้นที่
ต่อไป ส่วนที่ 2 เทศบาลฯ นาไปใช้ดูแลและบารุงรักษาระบบบาบัดน้าเสีย โดยเป็นค่าดูและและซ่อม
บารุงประมาณ 9 ล้านบาทต่อปี และค่าไฟฟ้าประมาณ 6-7 แสนบาทต่อเดือน
2.4 ชายหาดป่าตองปลอดบุหรี่
นอกจากส่งผลทาลายสุขภาพแล้ว บุหรี่ยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบบเงียบๆ ผลการวิจัย
พบว่า มีการทิ้งก้นบุหรี่เกลื่อนกลาดในบริเวณชายหาดของประเทศไทย โดยมีคลื่นเป็นตัวการที่ม้วนเอา
ก้นบุหรี่ไปเป็นขยะสะสมในทะเล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลไม่น้อย โดยพื้นที่หาดป่าตอง พบ
ก้นบุหรี่ราว 101,000 ชิ้น คิดเป็น 0.76 ชิ้นต่อตารางเมตร หรือประมาณ 3 ชิ้นต่อ 4 ตารางเมตร
เพื่อยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบสากล การใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน เทศบาลเมืองป่าตองได้ดาเนินการให้หาดป่าตองเป็น “ชายหาดปลอดบุหรี่” ในปี พ.ศ. 2560
โดยกาหนดพื้นที่สูบบุหรี่สาหรับนักท่องเที่ยวจานวน 26 จุด เพื่อให้นักท่องเที่ยวสูบบุหรี่ในที่ที่กาหนด
ไม่เป็นการรบกวนผู้อื่นบนชายหาด และง่ายต่อการเก็บรวบรวมขยะก้นบุหรี่ โดยพื้นที่สูบบุหรี่ (ภาพที่ 7)
ประกอบด้วย ป้ายขนาดใหญ่แสดงจุดสูบบุหรี่เป็นภาษาอังกฤษ (Smoking Area) พร้อมทั้งสัญลักษณ์
ภาพ และป้ายขนาดเล็กแสดงด้วยภาษาไทย อังกฤษ รัสเซียและจีน รวมถึงการทิ้งก้นบุหรี่ในภาชนะ
รองรับที่ได้จัดเตรียมไว้ มีลักษณะเป็นฐานปูนบรรจุทรายใช้ดับและทิ้งก้นบุหรี่ มีการสร้างความเข้าใจกับ
ประชาชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว เพื่อให้หาดป่าตองปลอดบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ
2.5 การดูแลส่งเสริมสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองและนักท่องเที่ยว
ในส่วนของการดูแลส่งเสริมสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองและนักท่องเที่ยว เทศบาลเมือง
ป่าตองมีการดาเนินงานในหลายด้านตามภารกิจหน้าที่ของกองสวัสดิการสังคม และกองสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม โดยการดาเนินงานที่สาคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือการดูแลทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การ
ดูแลเด็กปฐมวัย การดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลสถานประกอบการ มีรายละเอียดดังนี้
1) เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ สามารถแจ้งเรื่องแก่เทศบาลเพื่อขอรับนมและไข่ไก่ฟรีทุกวัน
จนกว่าจะถึงกาหนดคลอด กล่าวคือ นมวันละ 1 กล่อง และไข่ไก่วันละ 2 ฟอง เพื่อให้ทารก
ในครรภ์มีน้าหนักแรกคลอดที่เหมาะสม ตามโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อ
ทารกแรกเกิดน้าหนักดี โดยมีประชากรผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร์เข้ารับบริการประมาณปีละ
40-50 คน
19
ภาพที่ 7 พื้นที่สูบบุหรี่บริเวณหาดป่าตอง
ที่มา : รายงานกิจการเทศบาลเมืองป่าตอง 2560 จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.
2) ศูนย์เด็กเล็ก รับดูแลเยาวชนที่มีอายุสองปีครึ่งขึ้นไป เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้อง
ออกไปประกอบอาชีพ ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ปัจจุบันมี 2 ศูนย์ ดูแลเยาวชนศูนย์ละ
ประมาณ 80 คน เปิดให้บริการทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง
1 แห่ง ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนจานวน 553 คน และโรงเรียนสังกัดเทศบาล 1 แห่ง
ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลบ้านไสน้าเย็น ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนระดับประถม จานวน
561 คน ระดับมัธยมจานวน 69 คน
3) การดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองป่าตองมีประชากรผู้สูงอายุราว 1,800 คน ในจานวนนี้เข้า
โรงเรียนผู้สูงอายุ 100 คน (ใช้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เรียนสัปาดห์ละ 2 วัน
คือวันพฤหัส-ศุกร์) เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 300 คน มีกิจกรรมการตรวจสุขภาพ มีการ
ประชุมทุกเดือน นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ อาทิ ฒ.ผู้เฒ่าหิ้วปิ่นโตเข้าวัด จัดเป็น
ประจาเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีเทศบาลในเขตจังหวัดภูเก็ต 7 แห่งเข้าร่วมโครงการ จัดรถนา
ผู้สูงอายุไปทาบุญด้วยกัน มีผู้สูงอายุเข้าร่วมประมาณเดือนละ 200-300 คน มีกิจกรรม
สันทนาการต่างๆ รวมถึงปลูกจิตสานึกในการลดใช้ถุงพลาสติกด้วย
4) การดูแลสถานประกอบการ เพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ มีมาตรฐานการดาเนินงานที่ดี
โดยคานึงถึงสุขอนามัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มีการดาเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่าง
ต่อเนื่อง อาทิ โครงการอบรมสุขาภิบาลอาหารในเขตเมือง ได้ดาเนินการตรวจสอบคุณภาพ
อาหารเพื่อหาสารพิษหรือสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากการสุ่มตัวอย่างจากแผง
ลอยและร้านอาหาร และยังได้อบรมให้ความรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมให้
20
ผู้ประกอบการร้านอาหารและร้านเสริมสวย สามารถยกระดับร้านให้ได้มาตรฐาน และ
ส่งเสริมด้านการบริการที่ดี ซึ่งมารตฐานดังกล่าว ได้แก่ ป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย ที่
ทางเทศบาลเมืองป่าตองมอบให้แก่ร้านอาหาร แผงจาหน่ายและศูนย์อาหารที่ผ่านเกณฑ์
ด้านความสะอาดปลอดภัย อาหารมีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อเป็นการสร้าง
ความเชื่อมั่นให้แก่ชาวป่าตองและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
3. ระบบและกลไกในการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตองอย่างมีส่วนร่วม
กลไกหลักในการขับเคลื่อนงานการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตอง เริ่มต้นจากเทศบาลเมืองป่าตองที่
มีอานาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมืองให้เอื้อต่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มักได้รับการระบุให้เป็นเมืองหรือพื้นที่ “นาร่อง” ตาม
โครงการต่างๆ ของภาครัฐทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเมือง
หลักในภูมิภาคของประเทศมาโดยตลอด การรับนโยบายบางเรื่องมีที่กรอบในการดาเนินงานที่ลึกซึ้ง
ซับซ้อน จึงต้องอาศัยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประสังคมมาร่วมกันขับเคลื่อน
เกิดเป็นการทางานแบบมีส่วนร่วมกันตามภารกิจ ตามทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ ยึดเป้าหมายความสาเร็จ
ของงานเป็นที่ตั้ง โดยไม่จาเป็นต้องมีการผสานความร่วมมือในรูปแบบขององค์กรการทางานที่จัดตั้งแยก
ออกมาเป็นหน่วยเฉพาะ
กลไกการขับเคลื่อนงานจึงมีลักษณะการทางานแบบคู่ขนานที่ร่วมมือและเชื่อมโยงกัน
ได้ (Collaboration) ระหว่างเทศบาลเมืองป่าตองกับภาคเอกชน/ภาคประชาสังคม ภายใต้การนา
ของมูลนิธิพัฒนาป่ าตอง โดยมีการดาเนินงานร่วมกันใน 2 วาระหลัก คือ “ป่ าตอง เมือง
ท่องเที่ยวที่ปลอดภัย” และ “ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง”
ระบบในการขับเคลื่อนงานการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตอง ในส่วนของเทศบาลฯ ใช้งบประมาณ
ในการจ้างเหมาบุคลากรให้เข้ามาดาเนินงาน (Outsource) โดยในงานการจัดการขยะมูลฝอยได้
ดาเนินการจ้างในขั้นตอนการกวาดและการเก็บขน ซึ่งต้องใช้บุคลากรเป็นจานวนมาก รวมถึงการจ้าง
เหมาเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) ที่มีทักษะและประสบการณ์ ในส่วนของอาคารสถานที่ มีทุนทาง
กายภาพเป็นที่ดินของวัดสุวรรณคีรีวงก์ที่เทศบาลฯ ขอเช่า/ขอใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ได้ และ
ด้วยข้อจากัดเรื่องพื้นที่แนวราบมีน้อย การก่อสร้างอาคารต่างๆ จึงใช้พื้นที่ในแนวดิ่งมากขึ้น โดยมีเทศ
บัญญัติเป็นเครื่องมือในการบังคับให้ผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการ รวมถึงนักท่องเที่ยวปฏิบัติตามแนว
ทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ทางเทศบาลฯ ได้วางไว้
ขณะที่ทรัพยากรหลักในการดาเนินงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมจะเน้นเรื่อง
บุคลากรในลักษณะที่เป็นอาสาสมัครหรือจิตอาสา ภายใต้ระบบเครือข่ายทางสังคมขนาดใหญ่ที่ติดต่อกัน
ทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยมีการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เป็นเครื่องมือในการบังคับให้
ผู้ประกอบการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ได้ตกลงกันไว้
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม

More Related Content

What's hot

โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่น
โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่นโคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่น
โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่นPhakanan Boonpithakkhet
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลา
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลาสถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลา
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลาFURD_RSU
 
รายงานออกแบบ
รายงานออกแบบรายงานออกแบบ
รายงานออกแบบparwaritfast
 
อาเซียน
อาเซียนอาเซียน
อาเซียนSoda NLb
 
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)Jutima Methaneethorn
 
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์panomkon
 
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมโครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมtassanee chaicharoen
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายchontee55
 
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นPaew Tongpanya
 
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลาผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลาFURD_RSU
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้Nattapakwichan Joysena
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ponderingg
 
โครงงานกอท
โครงงานกอทโครงงานกอท
โครงงานกอทManaf Joraka
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีFURD_RSU
 
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนม
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนมสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนม
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนมJaohjaaee
 
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดrisa021040
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 

What's hot (20)

โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่น
โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่นโคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่น
โคงงานไอเอส เรื่องเกลียวขวดน้ำกันลื่น
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลา
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลาสถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลา
สถานการณ์ความเป็นเมืองของภาคใต้และจังหวัดสงขลา
 
รายงานออกแบบ
รายงานออกแบบรายงานออกแบบ
รายงานออกแบบ
 
อาเซียน
อาเซียนอาเซียน
อาเซียน
 
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)
จิตอาสาในองค์กร (Employee Volunteer)
 
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
 
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
 
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
 
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมโครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
 
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
 
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลาผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
โครงงานกอท
โครงงานกอทโครงงานกอท
โครงงานกอท
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
 
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนม
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนมสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนม
สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์จากกล่องนม
 
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 

Similar to เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม

บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนsiep
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...FURD_RSU
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554Zabitan
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555Zabitan
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD_RSU
 
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้านNexus Art'Hit
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือnattatira
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวPare Liss
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD_RSU
 
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียน
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียนกองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียน
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียนTeeranan
 
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013Zabitan
 
Thailand and asean
Thailand and aseanThailand and asean
Thailand and aseanTeeranan
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาFURD_RSU
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015Klangpanya
 
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์Fearn_clash
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาFURD_RSU
 
248352 article text-902075-2-10-20210826
248352 article text-902075-2-10-20210826248352 article text-902075-2-10-20210826
248352 article text-902075-2-10-20210826MAIPICHA
 

Similar to เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม (20)

บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
 
บท 1
บท 1บท 1
บท 1
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
 
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
1.บทวิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้าน
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
 
Asian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japanAsian2030 thai vs japan
Asian2030 thai vs japan
 
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียน
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียนกองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียน
กองทัพไทยกับการเตรียมความพร้อมเ่ประชาคมอาเซียน
 
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
 
Thailand and asean
Thailand and aseanThailand and asean
Thailand and asean
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
 
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
 
248352 article text-902075-2-10-20210826
248352 article text-902075-2-10-20210826248352 article text-902075-2-10-20210826
248352 article text-902075-2-10-20210826
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
 

เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม

  • 3. ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์ บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 3 เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างมีส่วนร่วม เทศบาลเมืองป่าตอง ตั้งอยู่ในเขตอาเภอกะทู้ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 16 กิโลเมตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามคือหาดป่าตอง เป็นชายหาดที่มีความยาว ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหาดกมลา (ทิศเหนือ) และหาดกะรน (ทิศใต้) ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาว ไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยว จึงทาให้เมืองป่าตองมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันเขต เทศบาลมีพื้นที่ 16.4 ตารางกิโลเมตร จาแนกเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจหนาแน่นใจกลางเมือง 5.8 ตาราง กิโลเมตร (ร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่สูงไม่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน ภาพที่ 1 ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศของเมืองป่าตอง อาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ที่มา : www.google.com ที่มา : www.thansettakij.com
  • 5. 4 สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองป่าตองจัดเป็นที่ราบชายฝั่ง (Coastal Plain) มีที่ราบแคบๆ ขนานไป กับโค้งอ่าวที่มีชายหาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตรจาก Coral Beach ถึงหาดกะหลิม หันหน้าออกสู่ทะเล อันดามันทางทิศตะวันตก พื้นที่ราบมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา ที่ราบลูกคลื่น ที่ลุ่มต่า และหาดทราย ความสูงระหว่าง 1-30 เมตรจากระดับน้าทะเลปานกลาง เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นทุ่งนาและสวนมะพร้าว โดยมีภูเขาสูงระหว่าง 200-450 เมตรจากระดับน้าทะเลปานกลาง ทอดตัวอยู่รายรอบทั้งทางด้านทิศ เหนือ ตะวันออกและใต้ (ภาพที่ 1) ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวทาให้น้าไหลระบายลงมาจากภูเขา สะสม อยู่ในที่ลุ่มต่า ซึ่งอยู่ระหว่างที่ราบตอนในกับหาดทราย จากนั้นจึงไหลลงสู่ทะเลรอบอ่าวต่อไป จุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นเมืองป่าตองเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2510 เมื่อกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศเรื่องเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกะทู้ อาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยกาหนดให้ขยายเขต สุขาภิบาลครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 3 ตาบลในอาเภอกะทู้ คือ ตาบลกะทู้ ตาบลป่าตอง และตาบลกมลา เมือง ป่าตองจึงเป็นส่วนหนึ่งของเขตสุขาภิบาลกะทู้ จนถึง พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่า สุขาภิบาลกะทู้มีพื้นที่กว้างขวางมาก สมควรเปลี่ยนแปลงเขตใหม่โดยให้มีแนวเขตครอบคลุมพื้นที่ตาบล กะทู้เพียงตาบลเดียว ขณะเดียวกันก็สมควรยกฐานะท้องถิ่นตาบลป่าตองจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งใหม่ จึงได้ออกประกาศเรื่องเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกะทู้ และจัดตั้งสุขาภิบาลป่าตอง อาเภอกะทู้ จังหวัด ภูเก็ต กระทั่งปี พ.ศ. 2537 สุขาภิบาลป่าตองได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตาบลป่าตอง และ เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองป่าตองในปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากสภาพบ้านเมืองเกิดการขยายตัว ไปอย่างรวดเร็ว มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น จากการเติบโตของธุรกิจการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในถนนบางลา หรือ “Bangla Walking Street” พื้นที่ชีวิตกลางคืนที่ คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยเปิดบริการถึงเวลา 04.00 น. ของทุกวัน มีสถานบันเทิงยาม ราตรี ร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักแรม ตั้งอยู่อย่างหนาแน่นตลอดสองข้างทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้า ออกร้านต่างๆ เพื่อเลือกจับจ่ายใช้สอยได้ตามความพึงพอใจ สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่คึกคัก เป็น สีสัน และเป็นเอกลักษณ์ของเมืองป่าตองในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้จังหวัดภูเก็ตสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ถึง 13.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 377,000 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2559 (ภาพที่ 2) จนถึงปัจจุบัน
  • 6. 5 ภาพที่ 2 แนวโน้มการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2554 - 2559 ที่มา : สานักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. จากสถิติแสดงแนวโน้มการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตสามารถอนุมานได้ว่าระบบเศรษฐกิจของ เมืองป่าตองขึ้นอยู่กับกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจากการสารวจข้อมูลโดยกองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม (ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559) พบว่า ในเขตเทศบาลเมืองป่าตองมีประเภทของสถาน ประกอบการด้านการบริการ พาณิชยกรรม และกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้ 1) ประเภทของสถานประกอบการด้านการบริการ ประกอบด้วย โรงแรม 120 แห่ง บ้านพัก นักท่องเที่ยว (Guesthouse) 492 แห่ง ร้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จานวน 760 แห่ง และกิจการนวดและสปา 251 แห่ง รวมเฉพาะสถาน ประกอบการ 4 ประเภท จานวน 1,623 แห่ง 2) ประเภทของสถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 24 แห่ง ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ตลาดสดเอกชน 1 แห่ง และสถานีบริการน้ามันเชื้อเพลิง 1 แห่ง 3) กลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง ประกอบด้วย ผู้ประกอบการนวดชายหาดป่าตอง 173 ราย ผู้ประกอบการเบาะ-ร่มชายหาดป่าตอง จานวน 59 ราย ผู้ประกอบการหิ้วกระติก ชายหาดป่าตอง 85 ราย ผู้ประกอบการเจ็ทสกีชายหาดป่าตอง 50 ราย ผู้ประกอบการเรือ หางยาวเพื่อการท่องเที่ยว 80 ราย และผู้ประกอบการเรือลากร่ม 8 ราย รวมทั้งสิ้น 455 ราย ในด้านประชากร ประชากรในเขตเมืองป่าตองแยกเป็นประชากรตามทะเบียนราษฎร์ประมาณ 20,000 คน ในจานวนนี้ประมาณ 1 ใน 4 หรือราว 5,000 คน เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่ ส่วนใหญ่ ประกอบธุรกิจการค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบการบ้านเช่า ให้เช่าตึก/ อาคารเพื่อทาธุรกิจการค้าต่างๆ บริการรถเช่า เรือเช่า และค้าขายทั่วไป ส่วนที่เหลืออีกราว 15,000 คน ย้ายสามะโนประชากรมาภายหลัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ขับรถรับจ้าง และพนักงานโรงแรม
  • 7. 6 มีเหตุจูงใจในการย้ายเข้าคือเพื่อนาบุตรหลานเข้าเรียน ประชากรเหล่านี้จะกระจายตัวกันอยู่ตามชุมชน ต่างๆ ในเขตเทศบาล 7 แห่ง ได้แก่ ชุมชนชายวัด ชุมชนบ้านมอญ ชุมชนบ้านไสน้าเย็น ชุมชนบ้านนา ใน ชุมชนบ้านโคกมะขาม ชุมชนบ้านกะหลิม และชุมชนหาดป่าตอง ส่วนคนที่ยังไม่ย้ายเข้าพื้นที่ จัดเป็นประชากรแฝงของเมือง เนื่องจากมีการย้ายถิ่นแบบชั่วคราว ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวราว 4-6 เดือน ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวกลับไปทาการเกษตร จึงยังต้องมี ภูมิลาเนาอยู่ที่เดิม เพื่อประโยชน์ในการขอกู้ยืมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและติดตามชาระหนี้ ซึ่งคาด ว่าประชากรส่วนนี้มีประมาณ 100,000-150,000 คน กระจายตัวกันอยู่ตามสถานประกอบการและบ้าน เช่า ทั้งในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองกะทู้ และเทศบาลนครภูเก็ต 2. การขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างสุขภาวะเมืองป่าตองอย่างมีส่วนร่วม เมืองป่าตอง ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นจุดหมายปลายทาง ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต่างให้ ความสาคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเทศบาลเมืองป่าตองที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัด การเมืองป่าตองให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่ส่งเสริมการอยู่อาศัยใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดี รวมถึงการผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ป่าตอง เมืองท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินระหว่างเดินทางท่องเที่ยว (Travel Safety) ถือเป็นหนึ่งใน ปัจจัยหลักที่ทาให้สถานที่ใดหรือเมืองใดได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความน่า ดึงดูดใจของสถานที่นั้นหรือเมืองนั้น ความคุ้มค่าเงิน และความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัยยัง หมายถึงความเชื่อมั่นไว้วางใจของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถ ถูกเผยแพร่ไปได้ทั่วโลกภายในไม่กี่วินาที ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเปลี่ยนจุดหมายในการเดินทางได้ทุกเมื่อ มาตรการหลักในการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวเมืองป่าตอง มีเทศบาลเมืองป่าตอง เป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณในการดาเนินการ ร่วมกับหน่วยงานจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ เกี่ยวข้อง อาทิ สานักงานตารวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงผู้ประกอบการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม อาทิ มูลนิธิพัฒนาป่าตอง1 ในการขับเคลื่อนเมืองป่าตองให้ก้าวไปสู่ เมืองท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงระดับโลก ได้แก่ การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จนทาให้ป่าตองเป็นเมืองที่มีกล้องวงจรปิดมากที่สุด และการจัดระบบเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต รวมถึงการมี เครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลความปลอดภัยเมืองป่าตอง มีรายละเอียดดังนี้ 1 ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2557 ภายใต้การนาของ ดร.ปรีชาวุฒิ กี่สิ้น ประธานบริษัท พิโซน่า กรุ๊ป จากัด โดยการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมทาหน้าที่จิตอาสาด้านต่างๆ เป็นการทางานคู่ขนาน ไปกับภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ มุ่งพัฒนาป่าตอง ให้เป็นเมืองน่าเที่ยวสาหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ส่งเสริมให้ป่าตองเป็นชุมชนที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบสุข ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี อีกทั้งยังเกื้อกูลกันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
  • 8. 7 1) การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิ ด (Closed Circuit Television; CCTV) - มีจุดเริ่มต้นจากการที่จังหวัดภูเก็ตได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้เป็นพื้นที่นาร่องเรื่อง เมืองอัจฉริยะ (Smart City)2 มีการจัดทาแนวทางหรือกลยุทธ์ (Road Map) Phuket 2020 Smart City เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สาคัญประการหนึ่งคือ Phuket Safe City เน้นเรื่องการดูแล ความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ด้วยการนาระบบ CCTV มาทางานร่วมกับการตรวจจับ ใบหน้าและเลขทะเบียนรถ เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบและติดตามผู้กระทาผิด - เมืองป่าตองได้ดาเนินการติดตั้งกล้อง CCTV ทั่วเขตเทศบาล ตั้งแต่ก่อนที่จะรับนโยบาย เรื่อง Smart City แต่เป็นกล้องธรรมดา (ระบบ Analog) ที่ใช้ดูภาพทั่วไป เรื่องการจราจร การเคลื่อนไหวของรถและคน ซึ่งเป็นการย้อนกล้องวงจรปิดดูด้วยสายตาเมื่อมีการร้องขอ - ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองกาลังอยู่ระหว่างดาเนินการติดตั้งกล้องระบบใหม่ (IP Camera)3 เพื่อเพิ่มศักยภาพในพื้นที่เสี่ยงบริเวณริมหาดป่าตองจานวน 32 จุด ระบบภาพ เป็นกล้องแบบอยู่กับที่ (Fix) และกล้องแบบหมุนและขยายภาพได้ (Pan and Zoom) รวมถึง สร้างห้องควบคุมระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Control Room) เพื่อวิเคราะห์ภาพ - ระบบการวิเคราะห์ภาพ (Analysis) ของกล้อง CCTV ระบบใหม่ ประกอบด้วย ระบบดักจับ ใบหน้า (Face Detection) เพื่อระบุและติดตามตัวบุคคล อาศัยการทางานร่วมกับสานักงาน ตารวจแห่งชาติ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบของสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดภูเก็ตได้ และระบบ License Place Recognition ใช้กล้องพิเศษจับป้ายทะเบียนรถ อย่างเดียว เนื่องจากประสบปัญหาการโจรกรรมรถมอเตอร์ไซค์อยู่บ่อยครั้ง - ในส่วนของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่างให้ความร่วมมือในการติดตั้งกล้องวงจรปิด อาทิ มูลนิธิพัฒนาป่าตอง เป็นแกนนาภาคเอกชนร่วมกันติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณถนน บางลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของป่าตองประมาณ 20 จุด ก่อนจะส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ ตารวจดูแลต่อไป 2 พื้นที่นาร่องเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในระยะแรกมี 7 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ (บริเวณศูนย์กลาง คมนาคมบางซื่อ) ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และ 3 จังหวัดในเขตพื้นที่ EEC คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 3 IP Camera (Internet Protocol Camera) มีลักษณะเป็นกล้องเครือข่าย (Network Camera) สามารถส่งและ รับข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้
  • 9. 8 2) การจัดระบบเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) - เป็นโครงการที่มีมานานราว 20 ปี เดิมใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ก่อนที่เทศบาลเมืองป่าตองจะเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบด้วยการจัดสรรงบประมาณในการจ้าง เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตประจาอยู่ตามจุดต่างๆ 9 จุด ตลอดความยาวชายหาด 3 กิโลเมตร - ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) จานวน 26 คน อยู่เฝ้าประจาตามจุดที่กาหนด ระหว่างเวลา 8.30 – 18.00 น. (ภาพที่ 3) ทั้งยังได้จัดกาลังเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และมีอาสาสมัครจากเครือข่ายความปลอดภัยต่างๆ คอยตรวจตรา ความสงบเรียบร้อยของพื้นที่ชายหาดหลัง 18.00 น. เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่ นักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง - ส่วนการดาเนินการด้านกายภาพ เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดระเบียบพื้นที่เล่นน้าด้วยการ วางทุ่นสาหรับกั้นเขตเล่นน้าให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งติดตั้งธงสัญลักษณ์สีเหลืองและ แดงตามมาตรฐานสากลเพื่อแสดงการอนุญาต (สีเหลือง) หรือห้ามลงเล่นน้า (สีแดง) ซึ่งใน อนาคตจะมีการติดตั้งหอสังเกตการณ์ที่มีกล้องส่องทางไกล เพิ่มมุมมองในมุมสูงและภาพ กว้าง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประเมินสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต ในกรณีที่มี นักท่องเที่ยวร้องขอหรือต้องการความช่วยเหลือในทะเล - นอกจากนี้ เทศบาลเมืองป่าตองยังจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ จัดให้มีการแข่งขัน ทักษะไลฟ์การ์ด เด็ก เยาวชนและประชาชน เป็นประจาทุกปี4 ถือเป็นการสร้างทุนมนุษย์ที่ จาเป็นต่อการพัฒนาเมือง และเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมาในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี - ในส่วนของภาคเอกชนและประชาสังคม มูลนิธิพัฒนาป่าตองเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากร (อาสาสมัครไลฟ์การ์ด นักประดาน้า) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เจ็ทสกี เรือยาง อุปกรณ์การช่วยเหลือเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีชมรมไลฟ์การ์ด ภูเก็ต (Phuket Life Saving Club)5 ทาหน้าที่ฝึกสอนเยาวชนให้มีความรู้ด้านการกู้ภัยต่างๆ 4 ในปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดการแข่งขันทักษะไลฟ์การ์ด เด็ก เยาวชนและประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2561 บริเวณหน้าสวนสาธารณะโลมา หาดป่าตอง การแข่งขันมีหลายประเภท ทั้งทางบกละทางน้า มีทีมและ นักกีฬาร่วมแข่งขันทั้งสิ้นจานวน 20 ทีม และนักกีฬา 250 คน โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 9 ประเภท ซึ่งการจัดโครงการ นี้เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ตลอดจนบุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจ จะเรียนรู้ทักษะไลฟ์การ์ดได้มีเวทีพัฒนาศักยภาพและทักษะให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งเป็นการฝึกสอนพัฒนาบุคลากร และสร้างความเข้าใจในงานไลฟ์การ์ดอีกด้วย 5 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยกลุ่มเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี รวมถึงอาสาสมัครที่มี จุดมุ่งหมายในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้าทั่วภูเก็ต โดยร่วมกันปรับปรุงความปลอดภัยของสระน้าและชายหาด มีการทางานอย่างใกล้ชิดกับสมาคมเซิร์ฟไลฟ์เซฟวิ่ง ออสเตรเลีย (Surf Life Saving Australia) เป็นเวลาหลายปีในการ พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตทางน้าเป็นประจา
  • 10. 9 ภาพที่ 3 (ภาพซ้าย) เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) อธิบายการใช้อุปกรณ์ (ภาพขวา) ป้ายแสดงสัญลักษณ์ธงและการเตือนภัยต่างๆ ณ บริเวณจุดที่ตั้งของหน่วยไลฟ์การ์ด ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2562) 3) เครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลความปลอดภัยเมืองป่าตอง - มูลนิธิพัฒนาป่าตองได้ริเริ่มจัดทาโครงการเครือข่ายตาสับปะรด โดยให้คนในชุมชนช่วยกัน เป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง จับตาดูเรื่องการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว อาชญากรรม และ อื่นๆ ทั้งบริเวณหน้าหาดป่าตองและถนนบางลา โดยใช้เทคโนโลยีร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ไลน์กลุ่มตาสับปะรดเพื่อแจ้งข่าว มีทั้งที่เป็นกลุ่มลับที่เกี่ยวกับงานสืบ และงาน ปราบปรามป้องกันเหตุ อย่างเช่น กรณีจระเข้หลุด กลุ่มผู้ประกอบการชายหาด ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มร่มเตียง เจ็ทสกี เรือหางยาว ฯลฯ ต่างแจ้งข่าวกันในกลุ่ม นอกจากนี้ ยังมีการสังเกต ตรวจตรา ป้องกัน เรื่องการพกมีด อาวุธ และอาวุธสงคราม การก่อการร้าย รวมทั้งเฝ้าระวัง การก่อเหตุระเบิด มีการจับตาดูบุคคลต้องสงสัย วัตถุต้องสงสัย รวมถึงเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ หากมี ชาวต่างชาติเป็นลม เจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือต่อยตี จะมีการแจ้งเหตุอย่างรวดเร็ว อาศัย เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ที่ทันสมัย - สิ่งที่ภาครัฐเข้ามาดาเนินการเพื่อสนับสนุนการทางานของเครือข่ายภาคประชาชน ในส่วน ของเทศบาลเมืองป่าตอง มีการติดตั้งสปอร์ตไลท์บริเวณจุดอับ จุดเปลี่ยว ทั้งยังให้การ สนับสนุนค่าไฟฟ้าที่ภาคประชาชนได้ร่วมกันติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างใกล้ๆ ชายหาด มีการ วางกาลังเจ้าหน้าที่ตารวจจากสถานีตารวจภูธรกะทู้ และ อปพร. ช่วยกันเดินตรวจตรา บริเวณหน้าหาดป่าตองตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
  • 11. 10 - ในส่วนของภาคเอกชน ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานห้องน้าของ เทศบาลเมืองป่าตอง ที่ให้ความร่วมมือในการติดไฟห้องน้าและมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง มีการ ประสานงานไปยังโรงแรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดอับ จุดบอด เพื่อให้มีเวรยาม หรือส่ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงแรมมาช่วยกันตรวจตรา รวมทั้งมีการติดสปอร์ตไลท์ ส่องไปยังชายหาด เป็นต้น 2.2 การจัดการขยะมูลฝอยในเขตเมือง : ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง เมืองใหญ่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาสู่เมืองท่องเที่ยวระดับสากล และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เป็นจานวนมาก มักมีประชากรแฝงเพิ่มขึ้น ปัญหาสาคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองคือ “ขยะ มูลฝอย” เทศบาลเมืองป่าตองจึงมีความพยายามบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบและมี ประสิทธิภาพโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตามแนวทาง “ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง” ด้วยการสร้าง อุปนิสัยลดปริมาณขยะมูลฝอย สร้างจิตสานึกที่ดีในการคัดแยกขยะ การบริการเก็บขนที่ดาเนินการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบและนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ อาทิ แอปพลิเคชั่น “Patong Report” เพื่อให้เกิด การจัดเก็บขยะอย่างรวดเร็ว การนาไปกาจัด และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเทศบาลฯ ได้ ทาการศึกษาออกแบบและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบ วงจร ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การคัดแยก การนากลับไปใช้ประโยชน์ การกาหนดรูปแบบการบริหาร จัดการ ตลอดจนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดาเนินการ โดยนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ เทศบาลเมืองป่าตองมีดังนี้ 1) มุ้งเน้นส่งเสริมและรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองป่าตองให้สวยงาม มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย เหมาะสมกับการเป็น “เมืองน่าเที่ยว น่าอยู่อย่างยั่งยืน” 2) ป้องกันและวางระบบการแก้ไขปัญหามลพิษต่างๆ เช่น น้าเสีย ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง ควบคุมการใช้เสียงและเหตุราคาญ การติดตั้งป้ายโฆษณาเพื่อไม่ให้เป็นทัศนียภาพที่อุจาด เป็นต้น 3) รักษาความสะอาดบนที่ทางสาธารณะ เช่น ชายหาด สวนสาธารณะถนนและซอยทุกชุมชน ภายใต้โครงการ “หน้าบ้าน น่ามอง” 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เมืองป่าตองพัฒนาสู่เมืองคาร์บอนต่า (Low Carbon City) และ สนับสนุนใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการใช้มาตรการประหยัด พลังงาน 5) รณรงค์และสร้างจิตสานึกให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ตระหนักในการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองมีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยวันละ 158 ตัน (ตารางที่ 1) ในจานวนนี้ คัดแยกออกมาได้ประมาณ 30 ตัน ส่วนที่เหลืออีกราว 128 ตัน ส่งโรงกาจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งเป็นรายจ่ายในส่วนนี้ปีละ 35 ล้านบาท ยังมีค่าจ้างเก็บขนปีละ 45 ล้านบาท และค่าจ้างกวาดอีกปีละ
  • 12. 11 20 ล้านบาท รวมเป็นรายจ่ายในการกาจัดขยะปีละ 100 ล้านบาท แต่เก็บค่ากาจัดขยะได้ปีละ 15 ล้าน บาท ค่าดูดสิ่งปฏิกูลอีก 5 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ของเทศบาล 20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของรายจ่ายทั้งหมดเท่านั้น ตารางที่ 1 สถานการณ์ขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองป่าตอง ปีงบประมาณ ปริมาณขยะรวม (ตัน) ปริมาณขยะเฉลี่ย (ตัน/วัน) 2554 34,379.67 94 2555 37,537.44 103 2556 41,398.78 113 2557 43,144.94 118 2558 45,883.32 126 2559 47,811.59 131 2560 50,967.46 141 2561 57,754.66 158 ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. ทั้งนี้ สามารถสรุปวิธีการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองป่าตองได้ดังนี้ 1) ลดปริมาณการผลิตมูลฝอย โดยรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการผลิตมูลฝอย ในแต่ละวัน ได้แก่ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ลดการใช้วัสดุกาจัดยาก เช่น โฟม ถุงพลาสติก 2) จัดระบบการรีไซเคิล (ก่อนเก็บขน) ได้แก่ รณรงค์ให้ประชาชนนาขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ เช่น การคัดแยกขยะรีไซเคิลนาไปขาย นาเศษอาหารมาทาปุ๋ย ตลอดจนจัดระบบที่เอื้อ ต่อการทาขยะรีไซเคิล เช่น จัดภาชนะแยกประเภทมูลฝอยที่ชัดเจน จัดกิจกรรม/โครงการนา ขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ จัดตั้งศูนย์รีไซเคิล เป็นต้น 3) การกวาดและเก็บขนขยะมูลฝอย 3.1) จ้างเหมาเอกชนเพื่อดาเนินการรักษาความสะอาด (กวาดขยะ) ในเขตเทศบาลเมือง ป่าตอง โดยในปีงบประมาณ 2560 มีรายจ่ายจริงจานวน 17.96 ล้านบาท 3.2) จ้างเหมาเอกชนเพื่อดาเนินการเก็บขนมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง เนื่องจาก เทศบาลฯ ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ประกอบกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง จึงมีความจาเป็นต้องให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการ โดย ในปีงบประมาณ 2560 มีรายจ่ายจริงจานวน 39.33 ล้านบาท 3.3) กาหนดช่วงเวลาในการเก็บขน เพื่อให้ประชาชนทิ้งขยะเป็นเวลาในจุดที่กาหนด โดย ให้รวบรวมขยะใส่ถุงดา มัดปากถุงให้เรียบร้อย นามาวางบริเวณที่รถขนขยะสามารถ ทาการเก็บขนได้ (ตารางที่ 2 และ 3) จากนั้นให้รถขนส่งขยะมูลฝอยไปยังสถานที่ กาจัดโดยตรง โดยใช้วิธีการฝังกลบและเผา ณ ศูนย์กาจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ต
  • 13. 12 3.4) การใช้เทคโนโลยีช่วยในการเก็บขน อาทิ แอปพลิเคชั่น Patong Report และถังขยะ อัจฉริยะ มีรายละเอียดดังนี้ - แอปพลิเคชั่น Patong Report โดยเทศบาลเมืองป่าตองร่วมกับ NECTEC พัฒนา แอปพลิเคชั่น Patong Report (ภาพที่ 4) เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งปัญหา ขยะตกค้างภายในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง สามารถใช้งานกับโทรศัพท์สมาร์ท โฟนระบบปฎิบัติการ ios และ android โดยช่วงแรกที่ปล่อยออกมามีผู้ใช้งาน ดาวน์โหลดราว 400 ราย วิธีการแจ้งคือประชาชนถ่ายภาพจุดที่มีขยะสะสมส่งเข้า แอพฯ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตรวจสอบ และแจ้งชุดเคลื่อนที่เร็วให้ไปเก็บ ขน พร้อมทั้งถ่ายภาพส่งกลับไปยังผู้เจ้ง โดยจะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1-24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีการใช้งานเดือนละ 10-20 ครั้ง - ถังขยะอัจฉริยะ แบ่งเป็นการติดตั้งถังขนาดเล็กจานวน 15 จุด เฉพาะบริเวณหน้า หาดเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และถังขนาดใหญ่จานวน 7 จุด กระจายอยูทั่ว เขตเทศบาลเพื่อให้บริการแก่ผู้อยู่อาศัย ในกรณีที่ไม่สะดวกวางถุงขยะไว้หน้า บ้าน สามารถนามารวมไว้ที่ถังใหญ่ทั้ง 7 จุดได้ ถังขยะที่นาไปวางไว้ในแต่ละจุดมี คุณสมบัติคือด้านหน้าแยกขยะ 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล ด้านในมีระบบ Censor ที่ติดตั้งไว้เหนือปากถัง เพื่อแจ้งเตือนปริมาณขยะ เมื่อ ใกล้จะเต็มความจุของถัง ด้านบนมีแผงโซลาร์เซลล์ส่งพลังงานให้ระบบ Sensor ทางาน (ภาพที่ 4) 4) การเฝ้าระวัง มีเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังคอยเฝ้าจุดที่มีผู้ลักลอบทิ้ง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ กฎหมายจับปรับผู้กระทาผิดตามเทศบัญญัติเทศบาลตาบลป่าตอง เรื่องการกาจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย พ.ศ.2542 มีสาระสาคัญคือ ทิ้งขยะไม่ลงถัง ทิ้งขยะนอกเวลาที่กาหนด มีโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท 5) การจัดการขยะมูลฝอยบริเวณถนนบางลา ซึ่งมีการสะสมขยะจากการดื่มกินของ นักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงค่าจนถึงเวลา 04.00 น. โดยหลังจากค่าคืนแห่งแสงสีจบลงในแต่ละ วัน ภาคเอกชน ได้แก่ สถานประกอบการจะต้องทาความสะอาดบริเวณหน้าร้านของตนเอง ให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันคนเก็บของเก่า (รถซาเล้ง) ที่มีอยู่ราว 50-100 ราย จะเข้าเก็บ ขยะที่ recycle ได้นาไปคัดแยกขาย ในวันหนึ่งอาจจะเก็บได้มากถึง 3 รอบ เนื่องจากยังมี ขยะที่หลุดรอดสายตาไปได้ และมีนักท่องเที่ยวทิ้งเพิ่มจนกว่าจะถึง 06.00 น. นอกจากนี้ มูลนิธิพัฒนาป่าตองยังเข้ามามีบทบาทในการดาเนินโครงการ “บางลาสะอาด 24 ชั่วโมง” โดยการสนับสนุนงบประมาณและกาลังคน (จิตอาสา) ในการเก็บกวาดถนนบางลาให้สะอาด ปราศจากขยะหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ก่อนจะส่งมอบพื้นที่ให้ทางเทศบาลฯ เป็นผู้ดาเนินการ กวาดและเก็บขนขยะเพื่อส่งกาจัด และในเวลา 9.00 ไม่เกิน 10.00 น. รถน้าของเทศบาลจะ เข้าไปฉีดล้างถนนด้วยน้าและสาร EM เพื่อทาความสะอาดถนนอีกครั้ง ทาให้ถนนบางลา ในช่วงกลางวันไม่มีขยะสะสมและสะอาดเรียบร้อยตลอดทั้งเส้นทาง
  • 14. 13 ตารางที่ 2 จุดทิ้งขยะในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง ในเวลาที่กาหนด 18.00 น.-02.00 น. 20.00 น.-03.00 น. 02.00 น.-06.00 น. ถนนพระบารมี ถนนทวีวงศ์ ถนนบางลา ถนนพระพิศิษฐ์กรณีย์ ถนนราษฏร์อุทิศ200ปี ถนนใสน้าเย็น ถนนเฉลิมพระเกียรติ ถนนนาใน ถนนหาดป่าตอง ถนนราชปาทานุสรณ์ ถนนสวัสดิรักษ์ ถนนหมื่นเงิน ถนนประชานุเคราะห์ ถนนสิริราชย์ ถนนร่วมใจ ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. ตารางที่ 3 จุดทิ้งขยะในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง นอกเวลาที่กาหนด ถนน ประเภทถังขยะ จุดทิ้งขยะ ถนนพระบารมี ถังคอนเทนเนอร์ ถังคอนเทนเนอร์ ซอยควนยาง ซอยพระบารมี 9(ปางช้าง) ถนนพระพิศิษฐ์กรณีย์ ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ซอยพระบารมี 7 ตรงข้ามซอยบ้านพรุเรียน ซอยพิศิษฐ์กรณีย์ 15 ตรงข้ามแฟมิลี่มาร์ท บ้านมอญ ถนนใสน้าเย็น ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ซอยวิเศษ ซอยโบลิ่ง ถนนราชปาทานุสรณ์ ถังคอนเทนเนอร์ ถังคอนเทนเนอร์ ซอยมณีศรี ซอยหมู่บ้านกานัน ถนนหมื่นเงิน ถังคอนเทนเนอร์ ตรงข้ามบ้านพักคนงาน(ไตร ตรัง) ถนนทวีวงศ์ ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ถังขยะ 240 ลิตร ตรงข้ามร้านอาหารทรอปิก้า ตรงข้ามโรงแรมป่าตองบีช ตรงข้ามบานาน่า วอร์ค ตรงข้างดรงแรมบ้านไทย บีช ตรงข้ามซอยเก็บทรัพย์ ตรงข้ามซอยเพิ่มพงศ์พัฒนา ตรงข้ามถนนร่วมใจ ตรงข้ามโรงแรมป่าตอง เมอร์ลิน ถนน 50 ปี ถังคอนเทนเนอร์ ถังคอนเทนเนอร์ บ้านข้าหลวง ร้านปากหลักกุ้งกระทะ ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ป่าตองร่วมใจรณรงค์สร้างจิตสานึกและตระหนัก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.
  • 15. 14 ภาพที่ 4 (ภาพซ้าย) แอปพลิเคชั่น Patong Report (ภาพขวา) เจ้าหน้าที่อธิบาลกลไกการทางานของถังขยะอัจฉริยะ เมืองป่าตอง ที่มา : (ภาพซ้าย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 6) การจัดการขยะอินทรีย์ เนื่องจากขยะส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งมี ปริมาณเฉลี่ย 110 ตันต่อวัน ปัจจุบันมีการแยกเศษอาหารและเปลือกผลไม้ออกมา โดยเฉพาะลูกมะพร้าวอ่อน (ประมาณวันละ 3,000 ลูก) เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เศษ ผัก ฯลฯ โดยเทศบาลเมืองป่าตองเช่าที่วัดสุวรรณคีรีวงก์ (บริเวณใกล้เคียงกับโรงบาบัดน้า เสีย) เพื่อจัดการขยะอินทรีย์ให้เป็นขุยมะพร้าว ปุ๋ยหมัก และน้าหมักชีวภาพ ดาเนินการโดย เจ้าหน้าที่ชุดพัฒนาโรงปุ๋ยที่ได้รับคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญให้นาลูกมะพร้าวอ่อนมาสับก่อน จะผสมกับใบไม้สดและเศษอาหาร พรวนกองขยะทุกสัปดาห์เพื่อให้อากาศและจุลินทรีย์เข้า ไปแปรสภาพเศษซากต่างๆ ให้เป็นปุ๋ย (ภาพที่ 5) เพื่อนาไปใส่บารุงต้นไม้ในสวนสาธารณะ และแปลงผักปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นแปลงสาธิตของเทศบาลฯ รวมถึงแจกจ่ายให้สถาน ประกอบการและประชาชนที่มาขอรับปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ด้วย 7) การจัดการขยะบริเวณหน้าหาด ในฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม มีการเฝ้า ระวังเพื่อจัดการขยะบริเวณหน้าหาดที่ถูกคลื่นและลมพัดพามาจากที่ต่างๆ รวมถึงมีกิจกรรม ต่างๆ อาทิ การดาน้าเก็บขยะทุกวันที่ 8 มิถุนายน (วันสิ่งแวดล้อมโลก) เป็นต้น
  • 16. 15 ภาพที่ 5 การจัดการขยะอินทรีย์ เมืองป่าตอง (ภาพซ้าย) กองซากมะพร้าวจากลูกมะพร้าวอ่อนสับ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทาปุ๋ยอินทรีย์ (ภาพขวา) การพรวนปุ๋ยจากกองเศษซากขยะอินทรีย์ ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2562) 2.3 การจัดการน้าเสียเมืองป่าตอง : เมื่อผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย น้าเสียถือเป็นภาวะเสี่ยงของเมืองท่องเที่ยวในระดับสากล ที่จะต้องวางแผนจัดการอย่างมีระบบ และคานึงถึงอนาคต เทศบาลเมืองป่าตองได้วางระบบการจัดการน้าเสีย ตั้งแต่การวางระบบรวบรวมน้า เสียเพื่อรองรับน้าเสียในเขตเมือง และทาการบาบัดน้าเสียก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล รวมไปถึงการรณรงค์ ให้ทาการติดตั้งบ่อดักไขมันในครัวเรือน ร้านอาหาร โรงเรียนในสังกัดเทศบาลและสถานประกอบการ ต่างๆ6 ก่อนที่จะทาการบาบัด เทศบาลเมืองป่าตองได้ดาเนินการสร้างโรงปรับปรุงคุณภาพน้าบนพื้นที่ 13 ไร่ ที่เช่าจากวัด สุวรรณคีรีวงก์ โดยใช้ระบบบาบัดน้าเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch : OD) (ภาพที่ 6) เพื่อช่วย กาจัดสิ่งปนเปื้อนในน้าที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของเมือง โดยเฉพาะโรงแรม ร้านอาหาร ร้านนวดและสปา รวมถึงที่เกิดจากกิจวัตรประจาวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในเมืองให้หมดไป และ สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ ปัจจุบันระบบบาบัดน้าเสียครอบคลุมพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ 76 ของพื้นที่ในเขตเทศบาลทั้งหมด สามารถรองรับน้าเสียได้ถึง 20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 6 ในปีที่ผ่านมา เทศบาลเมืองป่าตองได้จัดโครงการฝึกอบรมการกาจัดไขมันจากน้าทิ้งภายในสถาน ประกอบการร้านอาหาร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการใช้ประโยชน์ถังตักไขมันที่ ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การบารุงรักษาถังดักไขมันที่ถูกต้อง เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการจาหน่ายอาหาร
  • 17. 16 ภาพที่ 6 (ภาพซ้าย) บ่อเติมอากาศ (ภาพขวา) เครื่องรีดตะกอนที่แยกตัวออกจากน้าที่ผ่านการบาบัด โรงปรับปรุงคุณภาพน้าเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ที่มา : โครงการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการโครงการภายใต้แผนบูรณาการขยะและสิ่งแวดล้อม http://waste.onep.go.th เรื่องที่นับว่าเป็นความโดดเด่นด้านการจัดการน้าเสียของเทศบาลเมืองป่าตองคือการดาเนินการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียตามหลักที่ว่าผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle) โดย เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสียมีหน้าที่ต้องชาระค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียตามปริมาณ การใช้น้า (ใช้น้ามาก จ่ายเงินมาก ใช้น้าน้อย จ่ายเงินน้อย) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งกาหนดให้พื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงจัดให้มีระบบบาบัดน้าเสียในเขตเทศบาลเมือง ป่าตอง ดังนั้นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสียทุกประเภทมีหน้าที่จัดส่งน้าเสียของตนไปทา การบาบัด และมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย ในการนี้ เทศบาลเมืองป่าตองได้ตราเทศบัญญัติ เรื่อง “การควบคุมและการจัดเก็บค่าธรรมเนียม บาบัดน้าเสีย พ.ศ. 2554” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และประกาศเทศบาลเมืองป่า ตอง เรื่อง “กาหนดอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียกรณีไม่ใช้น้าประปาหรือไม่ใช้น้าประปา เป็นหลัก พ.ศ. 2559” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา โดยแหล่งกาเนิด มลพิษแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีอัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียดังตารางที่ 4 และ 5 โดย ตรวจสอบปริมาณลูกบาศก์เมตรของการใช้น้าจากใบเสร็จแจ้งค่าน้าประปาที่ออกโดยเทศบาลฯ 1) ประเภทที่ 1 อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าเป็นการ อยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราว เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย อาคารแถว 2) ประเภทที่ 2 ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจหรืออาคารที่ทาการของ เอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ มูลนิธิ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล โรงเรียนหรือ สถานศึกษา สถานที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (หมายความถึง กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร)
  • 18. 17 3) ประเภทที่ 3 ประกอบด้วย โรงแรม โรงงานตามกฏหมายว่าด้วยโรงงาน สถานที่ประกอบ ธุรกิจขนาดใหญ่ (หมายความถึง กิจการที่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร หรือกิจการที่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ) ตารางที่ 4 อัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย กรณีใช้น้าประปาหรือใช้น้าประปาเป็นหลัก หน่วย : บาทต่อลูกบาศก์เมตรของการใช้น้า พ.ศ. แหล่งกาเนิดมลพิษ ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3 2554 – 2555 2.50 3.75 5.00 2557 – 2562 3.00 4.25 5.50 2563 – 2567 3.50 4.75 6.00 2568 – 2571 4.00 5.25 6.50 ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง (กองช่างสุขาภิบาล) จังหวัดภูเก็ต. ตารางที่ 5 อัตราค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย กรณีไม่ใช้น้าประปาหรือไม่ใช้น้าประปาเป็นหลัก พ.ศ. แหล่งกาเนิดมลพิษ ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3 ร้านอาหาร (บาท/ร้าน/เดือน) ธุรกิจขนาดเล็ก (บาท/หลัง/เดือน) อพาร์ทเมนท์ (บาท/ห้อง/เดือน) โรงแรม (บาท/ห้อง/เดือน)100-200 ตร.ม. 200-300 ตร.ม. เกิน 300 ตร.ม. ล้าง อัด ฉีด ใช้น้า เป็นหลัก ทั่วไป 2559 - 2562 360.00 400.00 480.00 1,150.00 285.00 80.00 40.00 65.00 2563 - 2567 400.00 445.00 540.00 1,280.00 320.00 90.00 45.00 70.00 2568 - 2571 440.00 490.00 600.00 1,410.00 355.00 100.00 50.00 75.00 ที่มา : เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย” จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง (กองช่างสุขาภิบาล) จังหวัดภูเก็ต. อย่างไรก็ตาม หากสถานประกอบการมีระบบบาบัดน้าเสียแล้ว จะต้องดาเนินการตรวจสอบ คุณภาพน้าตามดัชนีตรวจวัด ได้แก่ pH, BOD5, SS, TDS, Settleable Solids, TKN, Oil and Grease และ Sulfide พร้อมแจ้งกองช่างสุขาภิบาลเทศบาลเมืองป่าตอง เพื่อเข้าตรวจสอบในวันที่ทาการเก็บ ตัวอย่างน้าทิ้งและรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้าทิ้งให้เทศบาลเมืองป่าตองทราบ หากผลการ ตรวจสอบคุณภาพน้าทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย
  • 19. 18 ทั้งนี้ เทศบาลเมืองป่าตองมีบทกาหนดโทษ กรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดน้าเสีย ที่มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียหรือที่มีระบบบาบัดน้าเสียของตนเอง และทาการบาบัดน้า เสียไม่ได้มาตรฐานน้าทิ้ง ไม่ยอมชาระค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย จะต้องเสียค่าปรับ 4 เท่าของอัตรา ค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสีย จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งเทศบัญญัติดังกล่าว ปัจจุบันเทศบาลเมืองป่าตองมีรายรับค่าธรรมเนียมบาบัดน้าเสียที่จัดเก็บแล้วประมาณปีละ 30 ล้านบาท นาไปใช้ประโยชน์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นาส่งคืนกองทุนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อเป็น งบประมาณกลางให้ท้องถิ่นอื่น รวมถึงเทศบาลฯ ก่อสร้างและขยายระบบบาบัดน้าเสียให้ครอบคลุมพื้นที่ ต่อไป ส่วนที่ 2 เทศบาลฯ นาไปใช้ดูแลและบารุงรักษาระบบบาบัดน้าเสีย โดยเป็นค่าดูและและซ่อม บารุงประมาณ 9 ล้านบาทต่อปี และค่าไฟฟ้าประมาณ 6-7 แสนบาทต่อเดือน 2.4 ชายหาดป่าตองปลอดบุหรี่ นอกจากส่งผลทาลายสุขภาพแล้ว บุหรี่ยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบบเงียบๆ ผลการวิจัย พบว่า มีการทิ้งก้นบุหรี่เกลื่อนกลาดในบริเวณชายหาดของประเทศไทย โดยมีคลื่นเป็นตัวการที่ม้วนเอา ก้นบุหรี่ไปเป็นขยะสะสมในทะเล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลไม่น้อย โดยพื้นที่หาดป่าตอง พบ ก้นบุหรี่ราว 101,000 ชิ้น คิดเป็น 0.76 ชิ้นต่อตารางเมตร หรือประมาณ 3 ชิ้นต่อ 4 ตารางเมตร เพื่อยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบสากล การใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของ ประชาชน เทศบาลเมืองป่าตองได้ดาเนินการให้หาดป่าตองเป็น “ชายหาดปลอดบุหรี่” ในปี พ.ศ. 2560 โดยกาหนดพื้นที่สูบบุหรี่สาหรับนักท่องเที่ยวจานวน 26 จุด เพื่อให้นักท่องเที่ยวสูบบุหรี่ในที่ที่กาหนด ไม่เป็นการรบกวนผู้อื่นบนชายหาด และง่ายต่อการเก็บรวบรวมขยะก้นบุหรี่ โดยพื้นที่สูบบุหรี่ (ภาพที่ 7) ประกอบด้วย ป้ายขนาดใหญ่แสดงจุดสูบบุหรี่เป็นภาษาอังกฤษ (Smoking Area) พร้อมทั้งสัญลักษณ์ ภาพ และป้ายขนาดเล็กแสดงด้วยภาษาไทย อังกฤษ รัสเซียและจีน รวมถึงการทิ้งก้นบุหรี่ในภาชนะ รองรับที่ได้จัดเตรียมไว้ มีลักษณะเป็นฐานปูนบรรจุทรายใช้ดับและทิ้งก้นบุหรี่ มีการสร้างความเข้าใจกับ ประชาชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว เพื่อให้หาดป่าตองปลอดบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 2.5 การดูแลส่งเสริมสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองและนักท่องเที่ยว ในส่วนของการดูแลส่งเสริมสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองและนักท่องเที่ยว เทศบาลเมือง ป่าตองมีการดาเนินงานในหลายด้านตามภารกิจหน้าที่ของกองสวัสดิการสังคม และกองสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม โดยการดาเนินงานที่สาคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือการดูแลทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การ ดูแลเด็กปฐมวัย การดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลสถานประกอบการ มีรายละเอียดดังนี้ 1) เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ สามารถแจ้งเรื่องแก่เทศบาลเพื่อขอรับนมและไข่ไก่ฟรีทุกวัน จนกว่าจะถึงกาหนดคลอด กล่าวคือ นมวันละ 1 กล่อง และไข่ไก่วันละ 2 ฟอง เพื่อให้ทารก ในครรภ์มีน้าหนักแรกคลอดที่เหมาะสม ตามโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อ ทารกแรกเกิดน้าหนักดี โดยมีประชากรผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร์เข้ารับบริการประมาณปีละ 40-50 คน
  • 20. 19 ภาพที่ 7 พื้นที่สูบบุหรี่บริเวณหาดป่าตอง ที่มา : รายงานกิจการเทศบาลเมืองป่าตอง 2560 จัดทาโดย เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. 2) ศูนย์เด็กเล็ก รับดูแลเยาวชนที่มีอายุสองปีครึ่งขึ้นไป เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้อง ออกไปประกอบอาชีพ ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ปัจจุบันมี 2 ศูนย์ ดูแลเยาวชนศูนย์ละ ประมาณ 80 คน เปิดให้บริการทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง 1 แห่ง ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนจานวน 553 คน และโรงเรียนสังกัดเทศบาล 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลบ้านไสน้าเย็น ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนระดับประถม จานวน 561 คน ระดับมัธยมจานวน 69 คน 3) การดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองป่าตองมีประชากรผู้สูงอายุราว 1,800 คน ในจานวนนี้เข้า โรงเรียนผู้สูงอายุ 100 คน (ใช้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เรียนสัปาดห์ละ 2 วัน คือวันพฤหัส-ศุกร์) เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 300 คน มีกิจกรรมการตรวจสุขภาพ มีการ ประชุมทุกเดือน นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ อาทิ ฒ.ผู้เฒ่าหิ้วปิ่นโตเข้าวัด จัดเป็น ประจาเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีเทศบาลในเขตจังหวัดภูเก็ต 7 แห่งเข้าร่วมโครงการ จัดรถนา ผู้สูงอายุไปทาบุญด้วยกัน มีผู้สูงอายุเข้าร่วมประมาณเดือนละ 200-300 คน มีกิจกรรม สันทนาการต่างๆ รวมถึงปลูกจิตสานึกในการลดใช้ถุงพลาสติกด้วย 4) การดูแลสถานประกอบการ เพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ มีมาตรฐานการดาเนินงานที่ดี โดยคานึงถึงสุขอนามัยของผู้บริโภคเป็นหลัก มีการดาเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่าง ต่อเนื่อง อาทิ โครงการอบรมสุขาภิบาลอาหารในเขตเมือง ได้ดาเนินการตรวจสอบคุณภาพ อาหารเพื่อหาสารพิษหรือสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากการสุ่มตัวอย่างจากแผง ลอยและร้านอาหาร และยังได้อบรมให้ความรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมให้
  • 21. 20 ผู้ประกอบการร้านอาหารและร้านเสริมสวย สามารถยกระดับร้านให้ได้มาตรฐาน และ ส่งเสริมด้านการบริการที่ดี ซึ่งมารตฐานดังกล่าว ได้แก่ ป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย ที่ ทางเทศบาลเมืองป่าตองมอบให้แก่ร้านอาหาร แผงจาหน่ายและศูนย์อาหารที่ผ่านเกณฑ์ ด้านความสะอาดปลอดภัย อาหารมีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ชาวป่าตองและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน 3. ระบบและกลไกในการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตองอย่างมีส่วนร่วม กลไกหลักในการขับเคลื่อนงานการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตอง เริ่มต้นจากเทศบาลเมืองป่าตองที่ มีอานาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมืองให้เอื้อต่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มักได้รับการระบุให้เป็นเมืองหรือพื้นที่ “นาร่อง” ตาม โครงการต่างๆ ของภาครัฐทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเมือง หลักในภูมิภาคของประเทศมาโดยตลอด การรับนโยบายบางเรื่องมีที่กรอบในการดาเนินงานที่ลึกซึ้ง ซับซ้อน จึงต้องอาศัยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประสังคมมาร่วมกันขับเคลื่อน เกิดเป็นการทางานแบบมีส่วนร่วมกันตามภารกิจ ตามทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ ยึดเป้าหมายความสาเร็จ ของงานเป็นที่ตั้ง โดยไม่จาเป็นต้องมีการผสานความร่วมมือในรูปแบบขององค์กรการทางานที่จัดตั้งแยก ออกมาเป็นหน่วยเฉพาะ กลไกการขับเคลื่อนงานจึงมีลักษณะการทางานแบบคู่ขนานที่ร่วมมือและเชื่อมโยงกัน ได้ (Collaboration) ระหว่างเทศบาลเมืองป่าตองกับภาคเอกชน/ภาคประชาสังคม ภายใต้การนา ของมูลนิธิพัฒนาป่ าตอง โดยมีการดาเนินงานร่วมกันใน 2 วาระหลัก คือ “ป่ าตอง เมือง ท่องเที่ยวที่ปลอดภัย” และ “ป่าตองสะอาด 24 ชั่วโมง” ระบบในการขับเคลื่อนงานการสร้างสุขภาวะเมืองป่าตอง ในส่วนของเทศบาลฯ ใช้งบประมาณ ในการจ้างเหมาบุคลากรให้เข้ามาดาเนินงาน (Outsource) โดยในงานการจัดการขยะมูลฝอยได้ ดาเนินการจ้างในขั้นตอนการกวาดและการเก็บขน ซึ่งต้องใช้บุคลากรเป็นจานวนมาก รวมถึงการจ้าง เหมาเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต (Lifeguard) ที่มีทักษะและประสบการณ์ ในส่วนของอาคารสถานที่ มีทุนทาง กายภาพเป็นที่ดินของวัดสุวรรณคีรีวงก์ที่เทศบาลฯ ขอเช่า/ขอใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ได้ และ ด้วยข้อจากัดเรื่องพื้นที่แนวราบมีน้อย การก่อสร้างอาคารต่างๆ จึงใช้พื้นที่ในแนวดิ่งมากขึ้น โดยมีเทศ บัญญัติเป็นเครื่องมือในการบังคับให้ผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการ รวมถึงนักท่องเที่ยวปฏิบัติตามแนว ทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ทางเทศบาลฯ ได้วางไว้ ขณะที่ทรัพยากรหลักในการดาเนินงานของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมจะเน้นเรื่อง บุคลากรในลักษณะที่เป็นอาสาสมัครหรือจิตอาสา ภายใต้ระบบเครือข่ายทางสังคมขนาดใหญ่ที่ติดต่อกัน ทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยมีการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เป็นเครื่องมือในการบังคับให้ ผู้ประกอบการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ได้ตกลงกันไว้