SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 27
Baixar para ler offline
การบัญชีตั๋วเงิน

                                       หน่วยที่ 9
                             เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค



   สาระการเรียนรู้

        1.   ความหมายของเช็ค
        2.   การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็ค
        3.   การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจากธนาคาร
        4.   การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร
        5.   การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร



   จุดประสงค์การเรียนรู้

        1.   อธิบายความหมายของเช็คได้
        2.   ติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็คได้
        3.   เขียนเช็คสังจ่ายเงินจากธนาคารได้
                        ่
        4.   บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารได้
        5.   ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารได้
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                               149

    1. ความหมายของเช็ค

        เช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 987 บัญญัติว่า “อันว่าเช็คนั้นคือ
หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน”
        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 บัญญัติว่าเช็คต้องมีรายการดังนี้
        1. คําบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
        2. คําสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้ใช้เงินจํานวนแน่นอน
        3. ชื่อหรือยี่หอ และสํานักงานของธนาคาร
                       ้
        4. ชื่อหรือยี่หอของผู้รับเงิน หรือคําจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
                         ้
        5. สถานที่ใช้เงิน
        6. วันและสถานที่ออกเช็ค
        7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

           ในการใช้เช็คนั้น จะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ
           1. ผูสั่งจ่ายหรือผู้ออกเช็ค คือ ผู้เขียนเช็คสั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ของตน ในการที่จะเขียน
                ้
เช็คสั่งจ่ายได้นั้น จะต้องเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคาร แล้วธนาคารจะมอบ
สมุดเช็คของธนาคารให้กิจการที่เปิดบัญชี เมื่อต้องการจะถอนเงินใช้ในกิจการหรือจ่ายชําระหนี้ก็ใช้
เช็คนั้นสั่งจ่ายตามจํานวนที่ต้องการ

       2. ผูจ่ายเงิน คือ ธนาคารซึงจะต้องจ่ายเงินตามเช็คของลูกค้าที่นํามาขึนเงิน โดยต้อง
            ้                        ่                                        ้
พิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
          2.1 เช็คจะต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งจะนับจากวันที่ในเช็ค
          2.2 ลายมือชื่อผู้ส่งจ่ายในเช็คไม่ตรงกับลายมือชื่อตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร
                             ั
          2.3 ไม่มีคาสั่งให้ระงับการจ่ายเงินจากเจ้าของบัญชี
                     ํ
          2.4 จะต้องไม่เป็นเช็คที่ขีดคร่อม
          2.5 จะต้องไม่เป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
          2.6 จะต้องไม่เป็นเช็คที่ชํารุด
          2.7 ไม่มีลายมือชื่อกํากับเมื่อมีการแก้ไขในเช็ค
          2.8 สั่งจ่ายเช็คสูงกว่าเงินที่มีในบัญชี
          2.9 ตัวเลขและตัวอักษรของจํานวนเงินไม่ถูกต้องตรงกัน

        3. ผูรับเงิน คือ ผู้ทมีเช็คในครอบครอง และมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คนั้น
             ้               ่ี
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                           150

         ประโยชน์และข้อจํากัดของการใช้เช็ค
         กิจการที่ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่นิยมฝากเงินประเภทกระแสรายวัน เพราะเงินฝาก
ประเภทนี้เมื่อจะถอนเงินโดยใช้วิธการเขียนเช็คสั่งจ่าย ซึ่งในการใช้เช็คนั้นจะมีประโยชน์ต่อกิจการ
                                  ี
คือ
         1. เป็นการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด ถ้ากิจการรับและจ่ายเงินสดทุกรายการ และยัง
เก็บเงินสดไว้เป็นจํานวนมากอีก จะทําให้กจการเกิดความเสี่ยงต่อการทุจริตหรือถูกโจรกรรมได้
                                          ิ
โดยง่าย ดังนั้นเมื่อได้รับเงินมาในแต่ละวันจะต้องนําฝากธนาคาร และเมื่อมีการจ่ายเงินทุกครั้งควร
จ่ายเป็นเช็ค นอกเหนือจากนี้ในการใช้เช็คยังตรวจสอบได้ง่าย เพราะทุกวันสิ้นเดือนจะมีรายงานที่
ธนาคารส่งมาให้ และนํารายงานนั้นมาตรวจสอบยืนยันการจ่ายเงินของกิจการได้อกด้วย     ี
         2. การที่กจการนําเช็คมาใช้จะทําให้เกิดความสะดวก เพราะการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจาก
                    ิ
ธนาคารจะทําได้ทุกเวลาตามจํานวนเงินที่ต้องการ
         3. กิจการสามารถชําระหนี้โดยเขียนเช็คลงวันที่ลวงหน้า ในกรณีที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ
                                                         ่
ต่อการชําระหนี้

         การนําเช็คมาใช้กอให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการ อย่างไรก็ตามผู้ใช้เช็คควรมีจริยธรรมในการ
                          ่
ใช้เช็ค คือ
         1. ผูใช้เช็คจะต้องมีวินัยในการใช้เช็ค เพราะในการสั่งจ่ายเช็คแต่ละครัง จะต้องทําการ
              ้                                                               ้
ตรวจสอบว่าเงินในบัญชีมีเพียงพอหรือไม่ ถ้าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเช็คที่สั่งจ่ายออกไปก็จะเป็นเช็ค
ขาดความเชื่อถือ ผลกระทบที่ตามมาก็คือ กิจการขาดความน่าเชื่อถือและอาจจะถูกฟ้องร้องตาม
กฎหมายทําให้เสียชื่อเสียงได้
         2. นอกจากนันผู้ใช้เช็คจะต้องมีความรอบคอบ และมีความระมัดระวังในการใช้เช็ค เช่น
                       ้
การเขียนตัวเลขในเช็ค จํานวนเงินที่เป็นตัวเลขกับตัวอักษรจะต้องตรงกัน และการสังจ่ายเช็คที่มี
                                                                                 ่
จํานวนเงินสูงไม่ควรจ่ายเป็นเช็คเงินสด ควรจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมเพื่อป้องกันการสูญหาย



    2. การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็ค

         การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็คคือ กิจการจะต้องไปติดต่อกับธนาคาร
เพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารจะให้กรอกข้อความในเอกสารที่จะ
ใช้ขอเปิดบัญชีดังนี้
         2.1 บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่ายจะต้องเซ็นชื่อลงในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ให้
เหมือนกันทั้ง 2 ฉบับ และธนาคารจะเก็บบัตรตัวอย่างลายมือชื่อไว้กับธนาคารทั้ง 2 ฉบับ เพื่อ
นํามาเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่ผ้สั่งจ่ายเซ็นลงในการสั่งจ่ายเงินแต่ละครั้ง
                               ู
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                                                                  151

                                                      ตัวอย่างบัตรลายมือชื่อ
        ด้านหน้า
                                           ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)
                                                         -----------------------
                                     บัตรตัวอย่างลายมือชื่อเงินฝากกระแสรายวัน
         ผู้ขอเปิดบัญชี ....................................................................................................................
         บัตรประจําตัว.................................................เลขที่บตร...................................................
                                                                                    ั
         วันออกบัตร....................................................วันที่บตรหมดอายุ.......................................
                                                                                  ั
         สถานที่ติดต่อ................................................................โทรศัพท์.......................................

                                                   .........................................................
                                                          ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนาม
        ศรอบ. 250142.300
       รหัสพัสดุ 04-002

        ด้านหลัง

          บัญชีเลขที่........................................................................................................................
          ชื่อบัญชี............................................................................................................................
          เงื่อนไขการสังจ่าย............................................................................................................
                               ่
          .........................................................................................................................................

                                                                 ตัวอย่างลายมือชื่อ
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                                                                               152

             2.2 คําขอเปิดบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด

                          คําขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน หรือบัญชีเดินสะพัด
                                                                      บัญชีเลขที่...............................
                                ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)
                                                                    ประเภท            บุคคลธรรมดา
                                       คําขอเปิดบัญชีเดินสะพัด                        นิติบุคคล
 เรียน ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)
                   ข้าพเจ้าขอแสดงความจํานงเปิดบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารตามเงื่อนไขที่ทําไว้ในครั้งนี้และ
 ครั้งต่อ ๆ ไปในภายหน้า และขอให้รายละเอียดตามที่ธนาคารประสงค์จะทราบไว้ดงนี้
                                                                         ั
 1. ชื่อบัญชี                 ภาษาไทย
                              ภาษาอังกฤษ
 2. ชื่อเจ้าของบัญชี ภาษาไทย..................................................................................................................................
                     ภาษาอังกฤษ.............................................................................................................................
 3. ที่อยู่ เลขที่............................หมู่บ้าน/ซอย...................................ถนน..............................................................
             แขวง/ตําบล............................................เขต/อําเภอ................................................................................
             จังหวัด......................................รหัสไปรษณีย์..........................โทรศัพท์...................................................
             สถานที่ทํางาน.........................................ตําแหน่ง.....................................................................................
             สถานที่ที่สะดวกในการติดต่อ                                    บ้าน                     ที่ทํางาน                 อื่นๆ................................
 4. หนังสือสําคัญประจําตัวบุคคล
 บุคคลธรรมดา                  บัตรประชาชน บัตรประจําตัวข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ                                                           บัตรต่างด้าว
                              บัตรพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์                                  ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ                                 อื่น ๆ
                              เลขที่.......................................ออกให้โดย................................................................................
                              เมื่อวันที่.................................................หมดอายุ....................................................................
                              อายุ...............ปี สัญชาติ.........................................เชื้อชาติ....................................................
                              สถานภาพสมรส                          โสด                      แต่งงาน                   อื่นๆ........................................
                              ชื่อคู่สมรส...................................................ตําแหน่งหน้าที่การงาน..........................................
                              ที่ทางาน....................................................................โทรศัพท์..................................................
                                   ํ
 5. เงื่อนไขในการสั่งจ่าย.............................................................................................................................................
 จํานวนเงินที่ขอเปิดบัญชี................................................บาท
                                             ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเงิน มีดังนี้
  1. ชื่อ................................................................บัตรประจําตัว..............................................เลขที่.........................
  2. ชื่อ................................................................บัตรประจําตัว..............................................เลขที่.........................
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                                                                                    153

บริษัทจํากัด/ห้างหุ้มส่วนที่เป็นนิติบุคคล
         หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท
         สําเนาทะเบียนการค้าที่จดทะเบียนไว้ที่กรมสรรพากร
         สําเนาหนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกระทรวงพาณิชย์
         สําเนาใบสําคัญแสดงการจดทะเบียน
         สําเนารายงานการประชุมกรรมการบริษัท แสดงความประสงค์จะขอเปิดบัญชีของธนาคาร รวมทั้ง
         กําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย โดยผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อมทั้งประทับตรา
สหกรณ์ มูลนิธิ สมาคมหรือสโมสร
         สําเนาหนังสือจดทะเบียน
         สําเนารายงานการประชุมกรรการของสหกรณ์มูลนิธน สมาคมสโมสรแสดงความประสงค์จะขอเปิดบัญชี
         ของธนาคาร รวมทั้งกําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย โดยมีผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อม
         ประทับตรา
จดทะเบียน                    กระทรวงพาณิชย์                                 กระทรวงมหาดไทย                                       อื่น ๆ..................................
         เมื่อ.....................................................................เลขทะเบียน....................................................................
         ทุนจดทะเบียน.................................................................จํานวนหุ้น..........................................................
         ผู้จัดการ                      หุ้นส่วนผู้จัดการ                               ประธานมูลนิธิ/สมาคม                                อื่นๆ.........................
         ชื่อ...............................................................................................................................................................
ส่วนราชการ องค์การรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
         หนังสือแสดงความจกนงขอเปิดบัญชีของธนาคาร จากหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด อํานาจและ เงื่อนไข
         ในการสั่งจ่าย

                                        เงื่อนไขในการเปิดบัญชีเดินสะพัด
การฝาก 1. ในการฝากเงินสด ให้ผู้ฝากกรอกรายการลงในสมุดฝากเงินที่ธนาคารมอบให้ และเขียนจํานวนเงิน
          ยอดรวมเป็นตัวอักษรกํากับยอดตัวเลขทุกครั้ง และเมื่อรับสมุดฝากเงินกลับไป ผู้ฝากจะต้อง
          ตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ธนาคาร ได้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว
       2. ในการนําเช็คเข้าบัญชี ให้ผู้ฝากกรอกรายการเช็คลงในสมุดฝากเงิน ผู้ฝากจะมีสิทธิทําการ ถอนเงิน
          ตามเช็คนั้น ได้ก็ต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นเข้าบัญชีของผู้ฝากเรียบร้อยแล้ว
                             ในกรณีที่เช็คหรือตั๋วเงินนั้นขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารจะจัดส่งคืนไปยังผู้
          ฝากหรือที่จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ฝากมารับคืนจากธนาคารก็ได้ ทั้งนี้โดยจะจัดส่งหรือแจ้งไปยังที่อยู่ของ
          ผู้ฝากตามที่ได้แจ้งไว้กับธนาคาร ถ้าส่งไม่ถึงผู้ฝากเพราะเหตุผู้ฝากโยกย้ายที่อยู่หรือเพราะเหตุใด
          ก็ตาม ธนาคารย่อมไม่รับผิดในความเสียหายใด ๆ อันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการ ส่งไม่ถึงเช่นว่านี้
       3. ถ้าหากในขณะที่ผู้ฝากเป็นพนักงาน ลูกจ้าง หุ้นส่วน กรรมการ หรือมีตําแหน่งหน้าที่ในนิติบุคคล
          ใดนําเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่นิติบุคคลนั้น มาฝากเข้าบัญชีส่วนตัว ธนาคารอาจปฏิเสธไม่ยอมรับฝากก็ได้
          แม้วาเช็คนั้นจะมีการสลักหลังโดยชอบของนิติบุคคลนัน ๆ แล้วก็ตาม
               ่                                                     ้
       4. ธนาคารจะจัดการเรียกเก็บเงินตามเช็คให้ ตามวิธีการและภายในระยะเวลาตามปกติประเพณีที่
          ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ในประเทศปฏิบัติกันอยู่
                             ถ้าในการเรียกเก็บเงินตามที่ฝากนั้น ธนาคารได้รับรองการสลักหลัง
          (ENDORSEMENT CONFIRMED หรือ GUARANTEED) หรือรับประกันการใช้เงิน (DISCHARGE
          GUARANTEED) แต่ปรากฏในภายหลังว่า ผู้ฝากไม่มีสิทธิในเช็คนั้นหรือมี สิทธิแต่เพียงบางส่วน เป็น
          เหตุให้ธนาคารต้องรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเช็คอันแท้จริงหรือผู้หนึ่งผู้ใดไป ผู้ฝากจะต้อง
          ใช้เงินให้แก่ธนาคารตามจํานวนที่ธนาคารต้องเสียไปนั้น เรื่องแห่งประเทศไทยเรื่องการกําหนดให้
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                           154

              ธนาคารพาณิชย์ปฏิบติในเรื่องดอกเบี้ยและ ส่วนลด ซึ่งในขณะนี้เท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี แต่ต่อไปอาจ
                                       ั
              เปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารจะประกาศกําหนดเป็นคราว ๆ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “อัตราสูงสุด”)
              นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป
                                  ในกรณีที่เรียกเก็บแล้วไม่ได้เงินตามเช็คที่นํามาฝากนั้น ๆ ธนาคารจะแจ้งให้ผู้ฝาก
              ทราบในเวลาอันสมควร
          5. การนําเช็คฝากเข้าบัญชีจะถือว่าธนาคารได้รับฝากเงินต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ๆ ได้
              แล้วถ้าเช็คนั้นจะต้องส่งเรียกเก็บในต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือต่างท้องถิ่นก็ดี เป็นตั๋วเงินอย่าง
              อื่นนอกจากเช็คก็ดี เป็นตราสารเปลี่ยนมือชนิดอื่นก็ดี ธนาคารจะเรียกเก็บให้ในทํานองเดียวกับที่
              กล่าวมาในข้อ 4. แต่ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บในอัตราที่ธนาคารกําหนด พร้อมด้วย
              ค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือต้องจ่ายไป
การสั่งจ่ายและการถอนเงิน
          6. ในการสั่งจ่ายหรือถอนเงิน ผู้ฝากจะต้องใช้เช็คซึ่งธนาคารมอบให้ใช้สําหรับแต่ละบัญชีโดยเฉพาะ
              เท่านั้นจะใช้เช็คอื่นใดหรือของผู้ฝากรายอื่นสั่งจ่ายเงินไม่ได้ อย่างไรก็ตามผู้ฝากอาจสั่งจ่ายหรือถอน
              เงินโดยวิธการอื่น ๆ เช่าการทําคําสั่งให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝาก หรือการใช้บัตรบริการเงิน
                         ี
              ด่วนเป็นต้น ตามแต่จะได้ตกลงไว้กับธนาคารต่อไป
          7. การเขียนข้อความต่าง ๆ ในเช็ค ตลอดจนการลงนามสั่งจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายจะเขียนด้วยดินสอหรือหมึก
             ที่ลบออกนั้นไม่ได้ มิฉะนั้นธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น
          8. การลงมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็ค จะต้องเป็นไปตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร และให้ครบถ้วนตาม
             เงื่อนไขที่แจ้งต่อธนาคาร และผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่มีข้อผูกพันในอันที่จะต้องตรวจสอบตรายาง
             ดวงตราหรือตัวเขียนอย่างอื่นเกี่ยวกับการบงนามนอกเหนือไปจากายมือชื่อที่กล่าวแล้ว
          9. ในกรณีที่ขอให้หักบัญชีเงินฝาก หรือขอให้โอนจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากด้วยหนังสือสั่ง หรือถ้าเช็คที่
              สั่งจ่ายปรากฏการขีดฆ่า หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสําคัญในเช็ค เช่น วันที่สั่งจ่าย จํานวนเงิน
              และผู้รับเงินให้ผ้สั่งจ่ายลงชื่อในหนังสือสั่งหรือลงชื่อเต็มกํากับข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วแต่
                                ู
              กรณีให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับที่จะต้องปฏิบัติในข้อ 8 ข้างต้น
       10. ในกรณีผู้ทรงนําเช็คของผู้ฝากมาขึ้นเงินพร้อมกันหลายฉบับ โดยในขณะนั้นเงินคงเหลือในบัญชีของผู้
              ฝากมีไม่พอจ่ายได้ครบถ้วนทุดฉบับ ผู้ฝากยินยอมให้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคารที่พิจารณาว่าเช็ค
              ฉบับใดสมควรจะจ่ายเงินหรือไม่ตามลําดับก่อนหลัง
       11. เช็คที่นํามายื่นขอรับเงินสดนั้น หากธนาคารเห็นว่ามีพิรุธ หรือสงสัยแล้ว ธนาคารอาจระงับการ
              จ่ายเงินให้ก็ได้ โดยผู้ฝากยอมสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการระงับการ
              จ่ายเงินนั้นโดยสิ้นเชิง
       12. ในกรณีที่ผู้ฝากมีหนี้สินกับธนาคารไม่ว่าจะเนื่องมาจากการที่ธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงิน ไปก่อนด้วย
              เหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติ
              ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินเสียก็ได้และ/หรือการที่ผู้ฝากนําเช็คเข้าบัญชีและในวันนําฝากนั้น
              ธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นําฝากนั้นให้ไปก่อน โดยที่ธนาคารยังไม่
              ทราบผลการเรียกเก็บและเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เหตุผลจากความบกพร่องของธนาคารเอง
              และ/หรือการที่ผู้ฝากมีหนี้สินความรับผิดชอบใดต่อธนาคารไม่ว่าจะเป็นหนี้สินความรับผิดชอบ
              ประเภทใดนั้น ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิหักเงินในบัญชีเดินสะพัดของผู้ฝากในขณะใดๆ เพื่อ
              ชําระหนี้สินดังกล่าวของผู้ฝากได้โดยมิต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ และหากเงินในบัญชีเดินสะพัด ของผู้
              ฝากมไม่พอชําระหนี้ดังกล่าวข้างต้น ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธินําหนี้ตามจํานวนที่ผู้ฝากต้อง
              รับผิดชอบดังกล่าวจ่ายในบัญชีเดินสะพัด เพื่อให้ผ้ฝากเป็นหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารต่อไป
                                                                     ู
              และผู้ฝากยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ในหนี้จํานวนนั้นให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดตามวิธีการ และ
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                           155

             ประเพณีการติดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร นับแต่วันที่ผู้ฝากเป็นหนี้เงินเบิกเกิน
             บัญชีเป็นต้น
                             อนึ่ง กรณีที่มีหนี้ของผู้ฝากเกิดขึ้นตามวรรคก่อน ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิ
            เลือกหักหนี้ดังกล่าว จากบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่ผู้ฝากมีอยู่กับธนาคารรวมทั้งเงินที่ผู้ฝากเป็น
            เจ้าของหรือเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร เพื่อชําระหนี้ดงกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ
                                                             ั
        13. ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการักษาบัญชีของผู้ฝาก ในกรณีที่บัญชีของผู้ฝาก
             ขาดการติดต่อและ/หรือมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการคืนเช็คในกรณีที่ผู้ฝากได้สั่งจ่ายเช็คโดยที่เงิน
             คงเหลือในบัญชีไม่พอจ่ายหรือเกินวงเงินได้ตามอัตรา หลักเกณฑ์ และระเบียบที่ธนาคารกําหนด
             รวมทั้งยินยอมให้ธนาคารปิดบัญชีของผู้ฝากได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด
             ทั้งสินแต่กรณีบัญชีของผู้ฝากขาดการติดต่อ ธนาคารจะปิดบัญชีได้เฉพาะกรณีปรากฏว่าไม่มีเงิน
             คงเหลืออยู่ในบัญชีเลยเท่านั้น
                             การคิดค่าธรรมเนียมดิงกล่าวตามวรรคก่อน ธนาคารมีสิทธิหักเงินในบัญชีของผู้ฝาก
            เพื่อชําระค่าธรรมเนียมได้
เช็คหรือสมุดเช็คหาย
        14. ในกรณีเช็คหาย หรือถูกลักไป ผู้ฝากจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ธนาคารทราบทันที ถ้าเป็น
            เช็คที่ฝากได้ลงลายมือชื่อแล้ว ผู้ฝากจะต้องแจ้งหมายเลขเช็ค วันที่สั่งจ่ายชื่อผู้รบเงิน จํานวนเงิน
                                                                                            ั
            และรายละเอียดอื่นๆ ให้ธนาคารทราบพร้อมกับขอให้ธนาคารระงับการจ่ายตามเช็คนั้น
                             ถ้าสั่งห้ามการจ่ายเงินทางโทรเลข โทรเลขนั้นก็ต้องมีรายละเอียดที่กล่าวข้างต้นและ
            ผู้ฝากก็จะต้องยินยันเป็นลายลักษณ์อักษรทันที อย่างไรก็ดี ถ้าคําสั่งทางโทรเลขนั้นเป็นคําสั่งปลอม
            หรือโทรเลขนั้นไม่มีการยืนยันจากผู้ฝากธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น

        15. หากหนังสือแจ้งเช็คสูญหายของผู้ฝากส่งไปถึงธนาคารล่าช้า และปรากฏว่าธนาคารได้จ่ายเงินตาม
            เช็คนั้นไปก่อนรับทราบการสูญหาย หรือแม้จะหลังรับทราบการสูญหายนั้น แต่ระยะเวลากระชั้นชิด
            กับที่ธนาคารได้จายเงินไปตามเช็คนั้น เพราะธนาคาร ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งให้สาขาต่าง ๆ ทราบได้
                                ่
            ทันท่วงทีผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่ต้องอยู่ในฐานะต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิน
        16. ผู้ฝากจะต้องเก็บรักษาเช็คไว้ในที่ที่ปลอดภัย ในกรณีที่เช็คซึ่งผู้ฝากยังมิได้สั่งจ่ายเกิดสูญหาย ไม่ว่า
            จะด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ฝากหรือไม่ก็ตาม และ/หรือ มีบุคคลใดที่ไม่สุจริตนํา
            เช็คไปปลอมลายมือชื่อสั่งจ่าย หากมีความเสียหายอย่างใด ๆ เกิดขึ้น ผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่
            ต้องรับผิดชอบใด ๆ ต่อผู้ฝากในความเสียหายดังกล่าวทั้งสิน
เบ็ดเตล็ด
        17. เมื่อผู้ฝากเปลี่ยนที่อยู่ สํานักงานและหมายเลขโทรศัพท์ จะต้องแจ้งให้ธนาคารทราบเป็นลายลักษณ์
            อักษร เอกสารบัญชีหรือหนังสือติดต่อใดๆ ที่ธนาคารส่งไปยังผู้ฝากตามตําบลที่อยู่ และ/หรือ
            สํานักงานทําการแจ้งไว้ให้ถือว่าได้ทราบข้อความในเอกสาร บัญชี หรือหนังสือที่ติดต่อนั้น ๆ แล้ว
        18. เมื่อธนาคารมีหนังสือแจ้งยอดเงินและรายการในบัญชีเดินสะพัดไปยังผู้ฝาในวันสิ้นเดือน หรือสิ้นงวด
            ผู้ฝากมีหน้าที่จะต้องตรวจสอบดูว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าถูกต้องแล้วให้ลงลายมือชื่อรับรอง
            ความถูกต้องนั้น และส่งคืนธนาคาร แต่หากเห็นว่าไม่ถูกต้องผู้ฝากจะคัดค้านเป็นหนังสือภายใน 15
            วัน นับแต่วันที่ผ้ฝากได้รบหนังสือแจ้งมิฉะนั้นให้ธนาคาร ถือว่าผู้ฝากยอมรับว่ายอดเงิน และ
                              ู         ั
            รายการในบัญชีเดินสะพัดตามที่แจ้งไปนั้นถูกต้องแล้ว
        19. ในการทําธุรกิจเกี่ยวกับเงินฝาก ผู้ฝากจะปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้โดยเคร่งครัด หากเกิดความเสียหาย
            ใด ๆ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบทั้งสิน
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                                                                                             156

           20. เงื่อนไขที่กําหนดไว้ข้างจ้น ธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมความจําเป็นและเหมาะสมเมื่อ
                ธนาคารแจ้งไปยังผูฝากแล้ว ให้ถือว่าผูกพันผู้ฝากตามที่แก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้น ๆ ทุกประการ
                                  ้
            ข้าพเจ้าได้ทราบข้อความและเงื่อนไขในการใช้บริการของธนาคารแล้ว ข้าพเจ้าตกลงยินยอมผูกพันและ
รับปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นทึกประการ หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบติตามเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้ความเสียหายใด ๆ
                                                         ั
ทั้งสิ้นเกิดขึ้น ข้าพเจ้ายินยอมรับผิดชอบทุกประการ

                                                                                                                ..............................................ผู้ขอเปิดบัญชี


สําหรับเจ้าหน้าที่ธนาคาร

                ....................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................

                                                                                                                   .....................................................ผู้อนุมัติ
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                        157

        2.3 ใบนําฝากบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด
             ในการนําเงินฝากธนาคารทุกครั้งจะต้องเขียนใบนําฝาก ซึงผู้ฝากเงินเป็นผู้เขียนใบนํา
                                                                ่
ฝากใบนําฝากจะต้องมีสาเนา 1 ฉบับ ต้นฉบับธนาคารเก็บไว้ส่วนสําเนาใบนําฝากจะคืนให้ผู้ฝากเพื่อ
                     ํ
นํามาเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีต่อไป




       เมื่อผู้ฝากเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารแล้วธนาคารจะมอบสมุดเช็ค
ของธนาคาร และกําหนดเลขที่บัญชีไว้ในเช็คด้วย โดยที่ผู้ฝากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและอากร
แสตมป์ในการใช้เช็คให้กับธนาคาร

        ตัวอย่างเช็ค
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                               158

         เช็คแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
         ส่วนที่ 1 คือต้นขั้วเช็ค ประกอบด้วย
             - วันที่ หมายถึง วันที่สั่งจ่ายเช็ค
             - จ่าย หมายถึง จ่ายให้ใคร
             - บาท หมายถึง จํานวนเงินที่สั่งจ่ายแต่ละครั้ง
             - รายการอื่น เช่น ยอดยกมา เงินนําฝาก ยอดยกไปจะเป็นลักษณะบัญชีช่วยจํา
ถ้าเป็นกิจการขนาดเล็กการจ่ายเช็คจํานวนน้อยและไม่บอยครั้งก็อาจจะทําได้ แต่ถ้าเป็นกิจการ
                                                    ่
ขนาดใหญ่มีการจ่ายเช็คจํานวนมากและบ่อยครั้งไม่จําเป็นต้องเขียนก็ได้
             ต้นขั้วเช็คใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี จะต้องเขียนรายจ่ายให้ชัดเจนและควร
จะต้องมีทะเบียนจ่ายเช็คอีกเล่มหนึ่งด้วย

        ส่วนที่ 2 คือ ตัวเช็ค ประกอบด้วย
                 1. วันที่ หมายถึง วัน เดือน ปี ที่สั่งจ่าย
                 2. จ่าย หมายถึง จ่ายให้ใคร
                 3. บาท หมายถึง จํานวนเงินจะต้อง เขียนเป็นตัวอักษร
                 4. บาท เขียนเป็นตัวเลขเช่น 30,000 xx กรณีมีเศษสตางค์ 30,000 30
                                                           100                                 100
                 5. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายจะต้องให้ตรงตัวอย่างที่เซ็นไว้ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ

         ทะเบียนจ่ายเช็ค
         เป็นทะเบียนที่กจการทําขึ้น เพื่อจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คแต่ละฉบับว่าได้มีการ
                         ิ
จ่ายเช็ควันที่เท่าไร จ่ายให้กับใคร จ่ายเป็นค่าอะไร จํานวนเท่าใด และใครเป็นผู้เซ็นรับเช็คไป ซึ่ง
จะสะดวกในการค้นหาและตรวจสอบเมื่อต้องการค้นหาต้นขั้วเช็ค และในการลงรายการในทะเบียน
จ่ายเช็คให้ลงตามลําดับวันที่จ่ายก่อนหลัง

                                     ตัวอย่างทะเบียนจ่ายเช็ค

  วันที่จ่ายเช็ค    เลขที่เช็ค                รายการ                    จํานวนเงิน หมายเหตุ
   24/04/52        8771552       ค่าน้ําประปา                              4,856 -
   24/04/52        8771553       ซื้อสินค้า                              34,500 -
   25/04/52        8771554       ชําระหนี้ร้านแสงทอง                     18,900 50
   27/04/52        8771555       ค่ากระแสไฟฟ้า                           13,560 -
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                               159


   3. การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจากธนาคาร

        การเขียนเช็คเบิกเงินจากธนาคารได้ดังนี้
        3.1 เช็คจ่ายเงินสด หรือระบุชื่อผู้รับเงิน คือเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คตรงช่องคําว่าจ่าย
เงินสด หรือระบุชื่อผู้รับเงิน โดยไม่ได้ขดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก ซึ่งหมายความว่าผู้ถือเช็คฉบับนี้
                                        ี
จะเป็นใครก็ได้ เมื่อนําไปขึ้นเงินกับธนาคาร ธนาคารก็จะจ่ายเงินสดตามจํานวนในเช็คให้กับผู้นั้น

ตัวอย่าง
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                               160

          3.2 เช็คจ่ายตามคําสั่ง คือเช็คที่ระบุให้จ่ายตามคําสั่งของผู้รบเงิน และขีดฆ่าคําว่า
                                                                       ั
หรือผู้ถือออก มีความหมายว่าผู้รับเงินคือผู้ที่ระบุชื่อในเช็คเท่านั้น




         3.3 เช็คขีดคร่อม หมายถึงเช็คที่ขีดเส้นคู่ขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค เพื่อเป็นการแสดงให้
ธนาคารรับฝากเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็ค และไม่มีสิทธิที่จะขอเบิกเงินสดจากธนาคารตามเช็คนั้นได้
ทันที การขีดคร่อมเช็คมี 2 วิธีคือ
               3.3.1 เช็คขีดคร่อมทั่วไป หมายถึง เช็คที่เขียนเส้นคู่ขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค
(มุมซ้าย) โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ลงระหว่างเส้นคู่ขนาน หรือ มีข้อความ “& CO.” ใน
เส้นคู่ขนานนั้น ผูทรงเช็คจะนําไปรับเงินสดไม่ได้ ต้องนําเข้าบัญชีผู้ที่ระบุชื่อนั้นก่อน เมื่อธนาคาร
                   ้
เรียกเก็บเงินได้แล้ว จึงจะสามารถถอนเป็นเงินสดได้
                     ถ้าขีดคร่อมเช็ค โดยเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อผู้ถือ และไม่ได้ขีดฆ่าหรือผู้ถืออก
หมายความว่าเช็คฉบับนั้นจะเข้าบัญชีใครก็ได้ แต่ต้องมีการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คก่อน
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                 161

                  ถ้าขีดคร่อมเช็ค โดยเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อผู้ถือ และขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก
หมายความว่าเช็คฉบับนั้นต้องเข้าบัญชีผู้ที่ระบุชื่อในเช็คเท่านั้น




            3.3.2 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ หมายถึง เช็คที่ขีดเส้นคูขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค
                                                              ่
(มุมซ้าย) และระหว่างเส้นคู่ขนานนั้น ยังมีข้อความต่าง ๆ ดังนี้




             -     A/c Payee Only หมายความว่า ต้องนําเช็คเข้าบัญชีที่ระบุช่อผู้รับเงินเท่านั้น
                                                                           ื




                 - A/C Payee Only และระบุชื่อธนาคารลงไว้ด้วย หมายความว่า ต้องนําเช็ค
        เข้าบัญชีผู้รับทีธนาคารที่กาหนดชื่อไว้เท่านั้น
                         ่         ํ
                 - ห้ามมิให้โอนให้ผู้อื่นต้องเข้าบัญชีตามระบุช่อเท่านั้น
                                                               ื
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                                    162

       ระยะเวลานําเช็คไปรับเงินกับธนาคาร
       เช็คเป็นตั๋วเงินที่ตองจ่ายเมื่อทวงถามเมื่อผู้ทรงเช็คยื่นเช็คเพื่อขอขึ้นเงินกับธนาคารเมื่อใด
                           ้
ธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้ทันที แต่มีข้อกําหนดเรื่องเวลาไว้วาจะต้องยื่นเช็คต่อธนาคารภายใน
                                                              ่
กําหนดเวลาตามกฎหมายดังนี้
       1. ถ้าเป็นเช็คที่ออกและให้ใช้เงินในจังหวัดเดียวกัน จะต้องยื่นเช็คขอขึ้นเงินภายใน 1
เดือน นับจากวันที่ในเช็ค
       2. ถ้าเป็นเช็คที่ออกและให้ใช้เงินต่างจังหวัดกัน จะต้องยื่นเช็คขอขึ้นเงินภายใน 3 เดือน
นับจากวันที่ในเช็ค

         กรณีที่กจการเป็นฝ่ายรับเช็ค การรับเช็คในทางบัญชี แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
                  ิ
         1. นําเช็คที่ได้มาไปขึ้นเงินสดที่ธนาคารทันที
         2. รับเช็คมาแล้วถือเช็คนั้นไว้กับกิจการโดยยังไม่นําไปขึ้นเงินหรือเข้าบัญชี จะถือว่าเป็น
เงินสดในมือ
         3. รับเช็คมาแล้วนําเข้าบัญชีฝากธนาคารทันที ถือเป็นเงินฝากธนาคาร
             ในการประกอบธุรกิจบางครั้งอาจหมุนเงินไม่ทัน กิจการจะตกลงกับเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้
ของกิจการเพื่อขอจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ซึ่งเจ้าหนี้ก็จะตกลงยินยอมรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าของ
กิจการและกิจการก็จะตกลงรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าจากลูกหนี้ของกิจการ
             เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเตือนความทรงจําว่า กิจการได้รับเช็คล่วงหน้า และมีการจ่าย
เช็คล่วงหน้าให้ใคร จํานวนเท่าไร ถึงกําหนดเมื่อใด ควรจะต้องจัดทํา “ทะเบียนเช็คลงวันที่
ล่วงหน้า” และในทางบัญชีเมื่อกิจการได้รับเช็คล่วงหน้าหรือจ่ายเช็คล่วงหน้า จะยังไม่นํามาบันทึก
บัญชีจนกว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          ตัวอย่างทะเบียนเช็ครับล่วงหน้า
         วันที่ได้
 ที่                 วันที่ในเช็ค   เลขที่เช็ค       ชื่อลูกค้า           ชื่อธนาคาร       จํานวนเงิน
         รับเช็ค
 1     10 ม.ค. 52     2 ก.พ. 52     240135       ร้านกิจเจริญ     กรุงไทย สาขากาฬสินธุ์     20,000 -
 2      8 มี.ค. 52   26 มี.ค. 52    751102       ร้านรุ่งอรุณ     กสิกรไทย สาขากาฬสินธุ์    24,000 -
 3     25 พ.ค. 52    10 มิ.ย. 52    318861       ร้านก่อพาณิชย์   ทหารไทย สาขากาฬสินธุ์     18,400 -
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                          163


    4. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร

         การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารคือ เมื่อกิจการได้รบเช็คมา ั
จากบุคคลภายนอกแล้วนําเช็คนั้นเข้าบัญชีเงินฝากของกิจการบันทึกบัญชีโดยเดบิต เงินฝากธนาคาร
แต่ถ้ากิจการจ่ายเช็คให้กับเจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้ หรือจ่ายสําหรับค่าใช้จายต่าง ๆ กิจการจะบันทึก
                                                                       ่
บัญชีโดย เครดิตเงินฝากธนาคาร รายการเดบิดและเครดิตนี้จะนํามาบันทึกในสมุดขั้นต้นและผ่าน
รายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมุดขั้นต้นนั้นประกอบด้วย สมุดเงินสด 2 ช่อง สมุด
เงินสด 3 ช่อง สมุดรายวันจ่ายเงิน แต่ละกิจการจะใช้สมุดขั้นต้นเล่มใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมะสม
ของกิจการ แต่ในเรื่องนี้จะอธิบายเฉพาะการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

        รายการบัญชีเกี่ยวกับเช็คมีดังต่อไปนี้
        1. นําเงินฝากธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชี
        2. การรับเช็คในกรณีดังต่อไปนี้
                 2.1 ขายสินค้า
                 2.2 รับชําระหนี้จากลูกหนี้
                 2.3 รับจากการขายสินทรัพย์
                 2.4 รับจากรายได้อื่น ๆ

        3. การจ่ายเช็คในกรณีดังต่อไปนี้
               3.1 ซื้อสินค้า
               3.2 จ่ายชําระหนี้
               3.3 จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
               3.4 ซื้อสินทรัพย์
               3.5 ถอนใช้สวนตัว
                             ่
               3.6 ถอนใช่ในกิจการ
        4. การนําเงินฝากธนาคารเพิ่มเติม
               4.1 นําฝากเป็นเงินสด
               4.2 นําฝากเป็นเช็ค
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                        164

      ตัวอย่าง ร้านมีโชคมีรายการเกี่ยวกับเช็ค และเงินฝากธนาคารระหว่างเดือน พฤษภาคม
2552 ดังนี้
2552
พ.ค. 2 ร้านมีโชค นําเงินสดฝากธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจํานวน 300,000 บาท
        และประเภทออมทรัพย์ 100,000 บาท
     5 จ่ายเช็คเลขที่ 6855651 ชําระหนี้ให้เจ่าหนี้ จํานวน 26,500 บาท
     8 จ่ายเช็คเลขที่ 6855652 เพื่อซื้อสินค้า จํานวน 48,000 บาท ภาษีมลค่าเพิ่ม 7%
                                                                     ู
     9 รับเช็คเลขที่ 2324216 จากการชําระหนี้จากลูกหนี้ จํานวน 21,500 บาท ได้นําฝาก
        ธนาคารประเภทกระแสรายวันในวันนี้
   12 ขายสินค้าได้รับชําระเป็นเช็คเลขที่ 5186132 จํานวน 32,000 บาท เป็นราคาที่รวม
        ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว 7% ได้นาฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์
                                      ํ
   13 ซื้อเครื่องใช้สํานักงาน ราคา 45,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยออกเช็คเลขที่
        6855653
   15 ออกเช็คเลขที่ 6855654 จํานวนเงิน 10,000 บาท เพื่อนําเงินมาใช้จ่ายในกิจการ
   17 ออกเช็คเลขที่ 6855655 เพื่อจ่ายค่าโฆษณา จํานวน 4,700 บาท
   20 ถอนเงินฝากออมทรัพย์ 30,000 บาท นําเข้าเงินฝากประเภทกระแสรายวัน

                                      สมุดรายวันทั่วไป                              หน้า 1
 พ.ศ. 2552                                           เลขที่      เดบิต           เครดิต
                                รายการ               บัญชี
  เดือน วันที่                                                 บาท     ส.ต.    บาท      ส.ต.
  พ.ค.      2      เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                300,000    -
                   เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์                  100,000    -
                        เงินสด                                                400,000     -
                   กิจการนําเงินฝากธนาคาร
            5      เจ้าหนี้                                    26,500    -
                         เงินฝากธนาคาร–กระแสรายวัน                             26,500     -
                   ออกเช็คเลขที่ 6855651 เพื่อ
                   ชําระหนี้

            8      ซื้อสินค้า                                  48,000    -
                   ภาษีซื้อ                                     3,360    -
                         เงินฝากธนาคาร–กระแสรายวัน                             51,360 -
                   ออกเช็คเลขที่ 6855652 เพื่อซื้อ
                   สินค้า
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                          165

                                      สมุดรายวันทั่วไป                               หน้า 2
 พ.ศ. 2552                                               เลขที่     เดบิต          เครดิต
                                 รายการ                  บัญชี
 เดือน วันที่                                                     บาท     ส.ต.   บาท      ส.ต.
 พ.ค.      9       เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                    21,500    -
                            ลูกหนี้                                              21,500     -
                   รับเช็คจากลูกหนี้และนําฝากธนาคาร
          12 เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์                            32,000    -
                      ขายสินค้า                                                  29,906 54
                      ภาษีขาย                                                     2,903 46
             ขายสินค้าได้รับเช็คนําเข้าบัญชีออม
             ทรัพย์
          13 เครื่องใช้สํานักงาน                                  45,000    -
             ภาษีซื้อ                                              3,150    -
                          เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                            48,150     -
                   ออกเช็คเลขที่ 6855653 เพื่อซื้อ
                   สินทรัพย์
          15 เงินสด                                               10,000    -
                       เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                               10,000     -
                   ถอนเงินจากธนาคารใช้ในกิจการ
          17 ค่าโฆษณา                                              4,700    -
                       เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                                4,700 -
                   ออกเช็คเลขที่ 6855655 เพื่อจ่ายค่า
                   โฆษณา
          20 เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                          30,000    -
                       เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์                                 30,000 -
                   ถอนเงินฝากออมทรัพย์นําฝาก
                   กระแสรายวัน
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                   166

    5. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

        การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เมื่อบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับการฝากและการ
ถอนเงินจากธนาคารในสมุดรายวันขั้นต้นแล้ว จะต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททันที
แต่ในตัวอย่างต่อไปนี้ จะการแสดงการผ่านบัญชีแยกประเภทเฉพาะบัญชีเงินฝากธนาคาร

                                เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน                       102
   พ.ศ.                     หน้า                พ.ศ.                  หน้า
               รายการ                 เดบิต                 รายการ          เครดิต
   2552                     บัญชี              2552                   บัญชี

 พ.ค. 2 เงินสด                    300,000 - พ.ค.      5 เจ้าหนี้             26,500 -
       9 ลูกหนี้                   21,500 -           8 ซื้อสินค้า           48,000 -
      20 เงินฝาก                   30,000 -             ภาษีซื้อ              3,360 -
              ธนาคาร                                 13 เครื่องใช้
              - ออมทรัพย์                               สํานักงาน            45,000      -
                                                        ภาษีซื้อ              3,150      -
                                                     15 เงินสด               10,000      -
                                                     17 ค่าโฆษณา              4,700      -




                                  เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์                       103
   พ.ศ.                     หน้า                  พ.ศ.                หน้า
               รายการ                  เดบิต                รายการ          เครดิต
   2552                     บัญชี                2552                 บัญชี

 พ.ค. 2 เงินสด                    100,000 - พ.ค.      20 เงินฝาก             30,000 -
      12 ขายสินค้า                 29,906 54               ธนาคาร -
         ภาษีขาย                    2,903 46               กระแส
                                                           รายวัน
การบัญชีตั๋วเงิน                                                               167

                                     คําถามหน่วยที่ 9
                              เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค

คําชี้แจง ให้ตอบคําถามดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. จงอธิบายความหมายของเช็ค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
     ข้อ 2. จงอธิบายประโยชน์ของการใช้เช็ค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
     ข้อ 3. การติดต่อกับธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน จะต้องกรอกเอกสารอะไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………

     ข้อ 4. การใช้เช็คจะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องกี่ฝ่าย ได้แก่ใครบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
     ข้อ 5. การขีดคร่อมเช็คหมายถึงอะไร มีกประเภท อะไรบ้าง
                                              ี่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
การบัญชีตั๋วเงิน                                                        168

     ข้อ 6. เช็คขีดคร่อมทั่วไปมีผลต่อผู้ทรงเช็คอย่างไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
     ข้อ 7. จงบอกเหตุผลและความจําเป็นในการจัดทําทะเบียนเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                     169

                                    แบบฝึกหัดหน่วยที่ 9
                              เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค

ข้อ 1. ให้นักเรียนเขียนเช็ค ตามกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (โดยให้กําหนดข้อความ และจํานวนเงิน
ขึ้นเองตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี)
         1.1 เช็คเงินสด
         1.2 เช็คจ่ายตามคําสั่ง
         1.3 เช็คขีดคร่อมทั่วไป
         1.4 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ

ข้อ 2. ต่อไปนี้ เป็นรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับเงินฝากธนาคารของร้าน อุบลวรรณ
 2552
 พ.ค.       2 นางอุบลวรรณนําเงินลงทุน 400,000 บาท โดยนําฝากธนาคารประเภทกระแส
                รายวันจํานวน 150,000 บาท ที่เหลือนําฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์
            3 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 21,400 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้ว
            5 ขายสินค้าได้รับเช็ค 8,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นําเช็คฝากธนาคารประเภท
                กระแสรายวันทันที
            8 ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30
           10 ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 5,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30
           13 จ่ายเช็คซื้อเครื่องใช้สํานักงาน 30,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
           15 ถอนเงินฝากประเภทออมทรัพย์มาใช้ในกิจการ 15,000 บาท
           17 จ่ายเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าที่ซอ เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นี้
                                             ื้
           19 รับชําระหนี้จากลูกค้าที่ขายเมื่อวันที่ 10 พ.ค. นี้ได้นําฝากธนาคารประเภท
                ออมทรัพย์ในวันนี้
           21 ขายสินค้าได้รับเช็ค 3,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้วและนําฝาก
                ธนาคารประเภทออมทรัพย์ทันที
           24 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 6,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และจ่ายค่าขนส่งเป็นเงินสด
                240 บาท
           28 จ่ายเช็คชําระค่าเช่าประจําเดือนมกราคม 3,800 บาท
           30 จ่ายเงินเดือน 12,000 บาท หักภาษีเงินได้ไว้ 5% ที่เหลือจ่ายเป็นเช็ค

                   ให้ทํา 1. บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
                          2. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เฉพาะเงินฝากธนาคารประเภท
                             ออมทรัพย์และกระแสรายวัน
การบัญชีตั๋วเงิน                                                                       170

ข้อ 3. ต่อไปนี้เป็นรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับเงินฝากธนาคารของร้านใจดีการค้า
 2552
  ส.ค.      1 นางใจดีนําเงินสดมาลงทุน 500,000 บาท
            2 นําเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ 290,000 บาท เงินฝากธนาคารประเภท
                 กระแสรายวัน 200,000 บาท
            4 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 32,100 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
            7 ขายสินค้าได้รับเช็ค 7,490 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
                 นําฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ในวันนี้
            9 ขายสินค้าเป็นเงินสดจํานวน 4,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
           13 ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 20,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30
                 และจ่ายค่าขนสินค้าเข้าร้าน 250 บาท
           15 ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 12,000 บาท ภาษีมลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30
                                                             ู
           18 จ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเช็ค 963 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้ว
           20 จ่ายเช็คซื้อเครื่องตกแต่งสํานักงาน 16,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
           22 ถอนเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ใช้ส่วนตัว 7,000 บาท
           23 จ่ายเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าซื้อเมื่อวันที่ 13 ส.ค. นี้
           27 รับชําระหนี้จากลูกค้าค่าสินค้า ที่ขายเมื่อวันที่ 15 ส.ค. นี้
           30 จ่ายเช็คเป็นค่าเงินเดือนพนักงาน 15,000 บาท โดยหักภาษีเงินได้ไว้ 750 บาท

                   ให้ทํา 1. บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
                          2. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เฉพาะเงินฝากธนาคารประเภท
                             ออมทรัพย์และกระแสรายวัน

ข้อ 4. ต่อไปนี้เป็นรายการเกี่ยวกับเงินฝากธนาคารของ ร้านฝากจิต
2552
ต.ค. 1 นางสาวฝากจิตนําเงินสดมาลงทุน 200,000 บาท
         2 นําเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน 90,000 บาท ประเภทออมทรัพย์
            100,000 บาท
         3 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 30,000 บาท
         5 ซื้อเครื่องใช้สํานักงานราคา 9,000 บาท จ่ายเป็นเช็ค 7,000 บาท ที่เหลือชําระเป็น
            เงินสด
         7 ขายสินค้าเป็นเงินสด 35,000 บาท
         8 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 25,000 บาท
       10 ขายสินค้าได้รับเงินสด 18,000 บาท นําฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันทันที
       13 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 1,500 บาท
ความรู้เรื่องเช็ค
ความรู้เรื่องเช็ค
ความรู้เรื่องเช็ค
ความรู้เรื่องเช็ค

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อประพันธ์ เวารัมย์
 
ผังทางเดินเอกสาร
ผังทางเดินเอกสารผังทางเดินเอกสาร
ผังทางเดินเอกสารAttachoke Putththai
 
พันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มพันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มWichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)waoram
 
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบ
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบ
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555RMUTT
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการsomdetpittayakom school
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526ประพันธ์ เวารัมย์
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารdalarat
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดkrisdika
 
แบบทดสอบสูตรคูณP2
แบบทดสอบสูตรคูณP2แบบทดสอบสูตรคูณP2
แบบทดสอบสูตรคูณP2Khunnawang Khunnawang
 
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdf
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdfชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdf
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdfNoeyWipa
 
กระดาษเส้น
กระดาษเส้นกระดาษเส้น
กระดาษเส้นTik Msr
 

Mais procurados (20)

แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
 
ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2
 
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อแนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  154 ข้อ
แนวข้อสอบเตรียมสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 154 ข้อ
 
ผังทางเดินเอกสาร
ผังทางเดินเอกสารผังทางเดินเอกสาร
ผังทางเดินเอกสาร
 
พันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มพันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่ม
 
แนวข้อสอบพัสดุ 61 ข้อ
แนวข้อสอบพัสดุ 61 ข้อแนวข้อสอบพัสดุ 61 ข้อ
แนวข้อสอบพัสดุ 61 ข้อ
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป (เล่มที่ 9)
 
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบ
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบ
ตารางการอ่านหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่น ความรู้ความสามารถทั่วไป ทุกตำแหน่งต้องสอบ
 
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
สรุปรายงานการประชุมครั้งที่ 7 2555
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครูใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
 
แบบทดสอบสูตรคูณP2
แบบทดสอบสูตรคูณP2แบบทดสอบสูตรคูณP2
แบบทดสอบสูตรคูณP2
 
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdf
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdfชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdf
ชีทสรุป ม.4 เทอม 2 โดยครูเนยวิภา.pdf
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
 
กระดาษเส้น
กระดาษเส้นกระดาษเส้น
กระดาษเส้น
 

Semelhante a ความรู้เรื่องเช็ค

บบที่9
บบที่9บบที่9
บบที่9praphol
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์Ooa Worrawalun
 
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือCh3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือple2516
 
Ch5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินCh5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินple2516
 
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใสเอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใสนายสมเพชร เชื้อหมอ
 
อีคอมเมิร์ซ หรือ E
อีคอมเมิร์ซ หรือ Eอีคอมเมิร์ซ หรือ E
อีคอมเมิร์ซ หรือ ENattakan Deesawat
 
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบล
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบลหลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบล
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบลwasan
 
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1Nathan Thitivet
 
Eureka 561-2555
Eureka 561-2555Eureka 561-2555
Eureka 561-2555Shaen PD
 
การนำฝากเิงินประกันสัญญา
การนำฝากเิงินประกันสัญญา การนำฝากเิงินประกันสัญญา
การนำฝากเิงินประกันสัญญา Wee Angela
 
แบบรายงานการเดินทาง
แบบรายงานการเดินทางแบบรายงานการเดินทาง
แบบรายงานการเดินทางkrutatee2499
 
ข้อตกลงทางการค้า
ข้อตกลงทางการค้าข้อตกลงทางการค้า
ข้อตกลงทางการค้าmojimaesawing
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)Peerasak C.
 
การเขียนวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนวิจัยในชั้นเรียนการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนวิจัยในชั้นเรียนOrasa Deethung
 

Semelhante a ความรู้เรื่องเช็ค (20)

บบที่9
บบที่9บบที่9
บบที่9
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์
 
การกำนวณตั่วเงิน
การกำนวณตั่วเงินการกำนวณตั่วเงิน
การกำนวณตั่วเงิน
 
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
 
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือCh3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
Ch3 ลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
 
Ch5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินCh5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สิน
 
4เช็ค
4เช็ค4เช็ค
4เช็ค
 
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใสเอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
 
อีคอมเมิร์ซ หรือ E
อีคอมเมิร์ซ หรือ Eอีคอมเมิร์ซ หรือ E
อีคอมเมิร์ซ หรือ E
 
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบล
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบลหลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบล
หลักการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอุบล
 
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1
แบบฟอร์มปฏิเสธการชำระเงินวีการ์ด1
 
Eureka 561-2555
Eureka 561-2555Eureka 561-2555
Eureka 561-2555
 
การนำฝากเิงินประกันสัญญา
การนำฝากเิงินประกันสัญญา การนำฝากเิงินประกันสัญญา
การนำฝากเิงินประกันสัญญา
 
แบบรายงานการเดินทาง
แบบรายงานการเดินทางแบบรายงานการเดินทาง
แบบรายงานการเดินทาง
 
Check
CheckCheck
Check
 
5
55
5
 
Project1
Project1Project1
Project1
 
ข้อตกลงทางการค้า
ข้อตกลงทางการค้าข้อตกลงทางการค้า
ข้อตกลงทางการค้า
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
 
การเขียนวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนวิจัยในชั้นเรียนการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนวิจัยในชั้นเรียน
 

Mais de Attaporn Ninsuwan

Mais de Attaporn Ninsuwan (20)

J query fundamentals
J query fundamentalsJ query fundamentals
J query fundamentals
 
Jquery enlightenment
Jquery enlightenmentJquery enlightenment
Jquery enlightenment
 
Jquery-Begining
Jquery-BeginingJquery-Begining
Jquery-Begining
 
Br ainfocom94
Br ainfocom94Br ainfocom94
Br ainfocom94
 
Chapter 12 - Computer Forensics
Chapter 12 - Computer ForensicsChapter 12 - Computer Forensics
Chapter 12 - Computer Forensics
 
Techniques for data hiding p
Techniques for data hiding pTechniques for data hiding p
Techniques for data hiding p
 
Stop badware infected_sites_report_062408
Stop badware infected_sites_report_062408Stop badware infected_sites_report_062408
Stop badware infected_sites_report_062408
 
Steganography past-present-future 552
Steganography past-present-future 552Steganography past-present-future 552
Steganography past-present-future 552
 
Ch03-Computer Security
Ch03-Computer SecurityCh03-Computer Security
Ch03-Computer Security
 
Ch02-Computer Security
Ch02-Computer SecurityCh02-Computer Security
Ch02-Computer Security
 
Ch01-Computer Security
Ch01-Computer SecurityCh01-Computer Security
Ch01-Computer Security
 
Ch8-Computer Security
Ch8-Computer SecurityCh8-Computer Security
Ch8-Computer Security
 
Ch7-Computer Security
Ch7-Computer SecurityCh7-Computer Security
Ch7-Computer Security
 
Ch6-Computer Security
Ch6-Computer SecurityCh6-Computer Security
Ch6-Computer Security
 
Ch06b-Computer Security
Ch06b-Computer SecurityCh06b-Computer Security
Ch06b-Computer Security
 
Ch5-Computer Security
Ch5-Computer SecurityCh5-Computer Security
Ch5-Computer Security
 
Ch04-Computer Security
Ch04-Computer SecurityCh04-Computer Security
Ch04-Computer Security
 
Chapter5 - The Discrete-Time Fourier Transform
Chapter5 - The Discrete-Time Fourier TransformChapter5 - The Discrete-Time Fourier Transform
Chapter5 - The Discrete-Time Fourier Transform
 
Chapter4 - The Continuous-Time Fourier Transform
Chapter4 - The Continuous-Time Fourier TransformChapter4 - The Continuous-Time Fourier Transform
Chapter4 - The Continuous-Time Fourier Transform
 
Chapter3 - Fourier Series Representation of Periodic Signals
Chapter3 - Fourier Series Representation of Periodic SignalsChapter3 - Fourier Series Representation of Periodic Signals
Chapter3 - Fourier Series Representation of Periodic Signals
 

ความรู้เรื่องเช็ค

  • 1. การบัญชีตั๋วเงิน หน่วยที่ 9 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของเช็ค 2. การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็ค 3. การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจากธนาคาร 4. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร 5. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของเช็คได้ 2. ติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็คได้ 3. เขียนเช็คสังจ่ายเงินจากธนาคารได้ ่ 4. บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารได้ 5. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารได้
  • 2. การบัญชีตั๋วเงิน 149 1. ความหมายของเช็ค เช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 987 บัญญัติว่า “อันว่าเช็คนั้นคือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 บัญญัติว่าเช็คต้องมีรายการดังนี้ 1. คําบอกชื่อว่าเป็นเช็ค 2. คําสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ให้ใช้เงินจํานวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่หอ และสํานักงานของธนาคาร ้ 4. ชื่อหรือยี่หอของผู้รับเงิน หรือคําจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ้ 5. สถานที่ใช้เงิน 6. วันและสถานที่ออกเช็ค 7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ในการใช้เช็คนั้น จะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ 1. ผูสั่งจ่ายหรือผู้ออกเช็ค คือ ผู้เขียนเช็คสั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ของตน ในการที่จะเขียน ้ เช็คสั่งจ่ายได้นั้น จะต้องเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคาร แล้วธนาคารจะมอบ สมุดเช็คของธนาคารให้กิจการที่เปิดบัญชี เมื่อต้องการจะถอนเงินใช้ในกิจการหรือจ่ายชําระหนี้ก็ใช้ เช็คนั้นสั่งจ่ายตามจํานวนที่ต้องการ 2. ผูจ่ายเงิน คือ ธนาคารซึงจะต้องจ่ายเงินตามเช็คของลูกค้าที่นํามาขึนเงิน โดยต้อง ้ ่ ้ พิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ 2.1 เช็คจะต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งจะนับจากวันที่ในเช็ค 2.2 ลายมือชื่อผู้ส่งจ่ายในเช็คไม่ตรงกับลายมือชื่อตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ั 2.3 ไม่มีคาสั่งให้ระงับการจ่ายเงินจากเจ้าของบัญชี ํ 2.4 จะต้องไม่เป็นเช็คที่ขีดคร่อม 2.5 จะต้องไม่เป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 2.6 จะต้องไม่เป็นเช็คที่ชํารุด 2.7 ไม่มีลายมือชื่อกํากับเมื่อมีการแก้ไขในเช็ค 2.8 สั่งจ่ายเช็คสูงกว่าเงินที่มีในบัญชี 2.9 ตัวเลขและตัวอักษรของจํานวนเงินไม่ถูกต้องตรงกัน 3. ผูรับเงิน คือ ผู้ทมีเช็คในครอบครอง และมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คนั้น ้ ่ี
  • 3. การบัญชีตั๋วเงิน 150 ประโยชน์และข้อจํากัดของการใช้เช็ค กิจการที่ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่นิยมฝากเงินประเภทกระแสรายวัน เพราะเงินฝาก ประเภทนี้เมื่อจะถอนเงินโดยใช้วิธการเขียนเช็คสั่งจ่าย ซึ่งในการใช้เช็คนั้นจะมีประโยชน์ต่อกิจการ ี คือ 1. เป็นการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด ถ้ากิจการรับและจ่ายเงินสดทุกรายการ และยัง เก็บเงินสดไว้เป็นจํานวนมากอีก จะทําให้กจการเกิดความเสี่ยงต่อการทุจริตหรือถูกโจรกรรมได้ ิ โดยง่าย ดังนั้นเมื่อได้รับเงินมาในแต่ละวันจะต้องนําฝากธนาคาร และเมื่อมีการจ่ายเงินทุกครั้งควร จ่ายเป็นเช็ค นอกเหนือจากนี้ในการใช้เช็คยังตรวจสอบได้ง่าย เพราะทุกวันสิ้นเดือนจะมีรายงานที่ ธนาคารส่งมาให้ และนํารายงานนั้นมาตรวจสอบยืนยันการจ่ายเงินของกิจการได้อกด้วย ี 2. การที่กจการนําเช็คมาใช้จะทําให้เกิดความสะดวก เพราะการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจาก ิ ธนาคารจะทําได้ทุกเวลาตามจํานวนเงินที่ต้องการ 3. กิจการสามารถชําระหนี้โดยเขียนเช็คลงวันที่ลวงหน้า ในกรณีที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ ่ ต่อการชําระหนี้ การนําเช็คมาใช้กอให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการ อย่างไรก็ตามผู้ใช้เช็คควรมีจริยธรรมในการ ่ ใช้เช็ค คือ 1. ผูใช้เช็คจะต้องมีวินัยในการใช้เช็ค เพราะในการสั่งจ่ายเช็คแต่ละครัง จะต้องทําการ ้ ้ ตรวจสอบว่าเงินในบัญชีมีเพียงพอหรือไม่ ถ้าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเช็คที่สั่งจ่ายออกไปก็จะเป็นเช็ค ขาดความเชื่อถือ ผลกระทบที่ตามมาก็คือ กิจการขาดความน่าเชื่อถือและอาจจะถูกฟ้องร้องตาม กฎหมายทําให้เสียชื่อเสียงได้ 2. นอกจากนันผู้ใช้เช็คจะต้องมีความรอบคอบ และมีความระมัดระวังในการใช้เช็ค เช่น ้ การเขียนตัวเลขในเช็ค จํานวนเงินที่เป็นตัวเลขกับตัวอักษรจะต้องตรงกัน และการสังจ่ายเช็คที่มี ่ จํานวนเงินสูงไม่ควรจ่ายเป็นเช็คเงินสด ควรจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมเพื่อป้องกันการสูญหาย 2. การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็ค การติดต่อกับธนาคารโดยขอเปิดบัญชีเพื่อการใช้เช็คคือ กิจการจะต้องไปติดต่อกับธนาคาร เพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารจะให้กรอกข้อความในเอกสารที่จะ ใช้ขอเปิดบัญชีดังนี้ 2.1 บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่ายจะต้องเซ็นชื่อลงในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ให้ เหมือนกันทั้ง 2 ฉบับ และธนาคารจะเก็บบัตรตัวอย่างลายมือชื่อไว้กับธนาคารทั้ง 2 ฉบับ เพื่อ นํามาเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่ผ้สั่งจ่ายเซ็นลงในการสั่งจ่ายเงินแต่ละครั้ง ู
  • 4. การบัญชีตั๋วเงิน 151 ตัวอย่างบัตรลายมือชื่อ ด้านหน้า ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ----------------------- บัตรตัวอย่างลายมือชื่อเงินฝากกระแสรายวัน ผู้ขอเปิดบัญชี .................................................................................................................... บัตรประจําตัว.................................................เลขที่บตร................................................... ั วันออกบัตร....................................................วันที่บตรหมดอายุ....................................... ั สถานที่ติดต่อ................................................................โทรศัพท์....................................... ......................................................... ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนาม ศรอบ. 250142.300 รหัสพัสดุ 04-002 ด้านหลัง บัญชีเลขที่........................................................................................................................ ชื่อบัญชี............................................................................................................................ เงื่อนไขการสังจ่าย............................................................................................................ ่ ......................................................................................................................................... ตัวอย่างลายมือชื่อ
  • 5. การบัญชีตั๋วเงิน 152 2.2 คําขอเปิดบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด คําขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน หรือบัญชีเดินสะพัด บัญชีเลขที่............................... ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ประเภท บุคคลธรรมดา คําขอเปิดบัญชีเดินสะพัด นิติบุคคล เรียน ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ข้าพเจ้าขอแสดงความจํานงเปิดบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารตามเงื่อนไขที่ทําไว้ในครั้งนี้และ ครั้งต่อ ๆ ไปในภายหน้า และขอให้รายละเอียดตามที่ธนาคารประสงค์จะทราบไว้ดงนี้ ั 1. ชื่อบัญชี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2. ชื่อเจ้าของบัญชี ภาษาไทย.................................................................................................................................. ภาษาอังกฤษ............................................................................................................................. 3. ที่อยู่ เลขที่............................หมู่บ้าน/ซอย...................................ถนน.............................................................. แขวง/ตําบล............................................เขต/อําเภอ................................................................................ จังหวัด......................................รหัสไปรษณีย์..........................โทรศัพท์................................................... สถานที่ทํางาน.........................................ตําแหน่ง..................................................................................... สถานที่ที่สะดวกในการติดต่อ บ้าน ที่ทํางาน อื่นๆ................................ 4. หนังสือสําคัญประจําตัวบุคคล บุคคลธรรมดา บัตรประชาชน บัตรประจําตัวข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ บัตรต่างด้าว บัตรพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ อื่น ๆ เลขที่.......................................ออกให้โดย................................................................................ เมื่อวันที่.................................................หมดอายุ.................................................................... อายุ...............ปี สัญชาติ.........................................เชื้อชาติ.................................................... สถานภาพสมรส โสด แต่งงาน อื่นๆ........................................ ชื่อคู่สมรส...................................................ตําแหน่งหน้าที่การงาน.......................................... ที่ทางาน....................................................................โทรศัพท์.................................................. ํ 5. เงื่อนไขในการสั่งจ่าย............................................................................................................................................. จํานวนเงินที่ขอเปิดบัญชี................................................บาท ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเงิน มีดังนี้ 1. ชื่อ................................................................บัตรประจําตัว..............................................เลขที่......................... 2. ชื่อ................................................................บัตรประจําตัว..............................................เลขที่.........................
  • 6. การบัญชีตั๋วเงิน 153 บริษัทจํากัด/ห้างหุ้มส่วนที่เป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท สําเนาทะเบียนการค้าที่จดทะเบียนไว้ที่กรมสรรพากร สําเนาหนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกระทรวงพาณิชย์ สําเนาใบสําคัญแสดงการจดทะเบียน สําเนารายงานการประชุมกรรมการบริษัท แสดงความประสงค์จะขอเปิดบัญชีของธนาคาร รวมทั้ง กําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย โดยผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อมทั้งประทับตรา สหกรณ์ มูลนิธิ สมาคมหรือสโมสร สําเนาหนังสือจดทะเบียน สําเนารายงานการประชุมกรรการของสหกรณ์มูลนิธน สมาคมสโมสรแสดงความประสงค์จะขอเปิดบัญชี ของธนาคาร รวมทั้งกําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย โดยมีผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อม ประทับตรา จดทะเบียน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย อื่น ๆ.................................. เมื่อ.....................................................................เลขทะเบียน.................................................................... ทุนจดทะเบียน.................................................................จํานวนหุ้น.......................................................... ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ประธานมูลนิธิ/สมาคม อื่นๆ......................... ชื่อ............................................................................................................................................................... ส่วนราชการ องค์การรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หนังสือแสดงความจกนงขอเปิดบัญชีของธนาคาร จากหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด อํานาจและ เงื่อนไข ในการสั่งจ่าย เงื่อนไขในการเปิดบัญชีเดินสะพัด การฝาก 1. ในการฝากเงินสด ให้ผู้ฝากกรอกรายการลงในสมุดฝากเงินที่ธนาคารมอบให้ และเขียนจํานวนเงิน ยอดรวมเป็นตัวอักษรกํากับยอดตัวเลขทุกครั้ง และเมื่อรับสมุดฝากเงินกลับไป ผู้ฝากจะต้อง ตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ธนาคาร ได้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว 2. ในการนําเช็คเข้าบัญชี ให้ผู้ฝากกรอกรายการเช็คลงในสมุดฝากเงิน ผู้ฝากจะมีสิทธิทําการ ถอนเงิน ตามเช็คนั้น ได้ก็ต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นเข้าบัญชีของผู้ฝากเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่เช็คหรือตั๋วเงินนั้นขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารจะจัดส่งคืนไปยังผู้ ฝากหรือที่จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ฝากมารับคืนจากธนาคารก็ได้ ทั้งนี้โดยจะจัดส่งหรือแจ้งไปยังที่อยู่ของ ผู้ฝากตามที่ได้แจ้งไว้กับธนาคาร ถ้าส่งไม่ถึงผู้ฝากเพราะเหตุผู้ฝากโยกย้ายที่อยู่หรือเพราะเหตุใด ก็ตาม ธนาคารย่อมไม่รับผิดในความเสียหายใด ๆ อันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการ ส่งไม่ถึงเช่นว่านี้ 3. ถ้าหากในขณะที่ผู้ฝากเป็นพนักงาน ลูกจ้าง หุ้นส่วน กรรมการ หรือมีตําแหน่งหน้าที่ในนิติบุคคล ใดนําเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่นิติบุคคลนั้น มาฝากเข้าบัญชีส่วนตัว ธนาคารอาจปฏิเสธไม่ยอมรับฝากก็ได้ แม้วาเช็คนั้นจะมีการสลักหลังโดยชอบของนิติบุคคลนัน ๆ แล้วก็ตาม ่ ้ 4. ธนาคารจะจัดการเรียกเก็บเงินตามเช็คให้ ตามวิธีการและภายในระยะเวลาตามปกติประเพณีที่ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ในประเทศปฏิบัติกันอยู่ ถ้าในการเรียกเก็บเงินตามที่ฝากนั้น ธนาคารได้รับรองการสลักหลัง (ENDORSEMENT CONFIRMED หรือ GUARANTEED) หรือรับประกันการใช้เงิน (DISCHARGE GUARANTEED) แต่ปรากฏในภายหลังว่า ผู้ฝากไม่มีสิทธิในเช็คนั้นหรือมี สิทธิแต่เพียงบางส่วน เป็น เหตุให้ธนาคารต้องรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของเช็คอันแท้จริงหรือผู้หนึ่งผู้ใดไป ผู้ฝากจะต้อง ใช้เงินให้แก่ธนาคารตามจํานวนที่ธนาคารต้องเสียไปนั้น เรื่องแห่งประเทศไทยเรื่องการกําหนดให้
  • 7. การบัญชีตั๋วเงิน 154 ธนาคารพาณิชย์ปฏิบติในเรื่องดอกเบี้ยและ ส่วนลด ซึ่งในขณะนี้เท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี แต่ต่อไปอาจ ั เปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารจะประกาศกําหนดเป็นคราว ๆ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “อัตราสูงสุด”) นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ในกรณีที่เรียกเก็บแล้วไม่ได้เงินตามเช็คที่นํามาฝากนั้น ๆ ธนาคารจะแจ้งให้ผู้ฝาก ทราบในเวลาอันสมควร 5. การนําเช็คฝากเข้าบัญชีจะถือว่าธนาคารได้รับฝากเงินต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ๆ ได้ แล้วถ้าเช็คนั้นจะต้องส่งเรียกเก็บในต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือต่างท้องถิ่นก็ดี เป็นตั๋วเงินอย่าง อื่นนอกจากเช็คก็ดี เป็นตราสารเปลี่ยนมือชนิดอื่นก็ดี ธนาคารจะเรียกเก็บให้ในทํานองเดียวกับที่ กล่าวมาในข้อ 4. แต่ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บในอัตราที่ธนาคารกําหนด พร้อมด้วย ค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือต้องจ่ายไป การสั่งจ่ายและการถอนเงิน 6. ในการสั่งจ่ายหรือถอนเงิน ผู้ฝากจะต้องใช้เช็คซึ่งธนาคารมอบให้ใช้สําหรับแต่ละบัญชีโดยเฉพาะ เท่านั้นจะใช้เช็คอื่นใดหรือของผู้ฝากรายอื่นสั่งจ่ายเงินไม่ได้ อย่างไรก็ตามผู้ฝากอาจสั่งจ่ายหรือถอน เงินโดยวิธการอื่น ๆ เช่าการทําคําสั่งให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝาก หรือการใช้บัตรบริการเงิน ี ด่วนเป็นต้น ตามแต่จะได้ตกลงไว้กับธนาคารต่อไป 7. การเขียนข้อความต่าง ๆ ในเช็ค ตลอดจนการลงนามสั่งจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายจะเขียนด้วยดินสอหรือหมึก ที่ลบออกนั้นไม่ได้ มิฉะนั้นธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 8. การลงมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็ค จะต้องเป็นไปตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร และให้ครบถ้วนตาม เงื่อนไขที่แจ้งต่อธนาคาร และผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่มีข้อผูกพันในอันที่จะต้องตรวจสอบตรายาง ดวงตราหรือตัวเขียนอย่างอื่นเกี่ยวกับการบงนามนอกเหนือไปจากายมือชื่อที่กล่าวแล้ว 9. ในกรณีที่ขอให้หักบัญชีเงินฝาก หรือขอให้โอนจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากด้วยหนังสือสั่ง หรือถ้าเช็คที่ สั่งจ่ายปรากฏการขีดฆ่า หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสําคัญในเช็ค เช่น วันที่สั่งจ่าย จํานวนเงิน และผู้รับเงินให้ผ้สั่งจ่ายลงชื่อในหนังสือสั่งหรือลงชื่อเต็มกํากับข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ ู กรณีให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับที่จะต้องปฏิบัติในข้อ 8 ข้างต้น 10. ในกรณีผู้ทรงนําเช็คของผู้ฝากมาขึ้นเงินพร้อมกันหลายฉบับ โดยในขณะนั้นเงินคงเหลือในบัญชีของผู้ ฝากมีไม่พอจ่ายได้ครบถ้วนทุดฉบับ ผู้ฝากยินยอมให้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคารที่พิจารณาว่าเช็ค ฉบับใดสมควรจะจ่ายเงินหรือไม่ตามลําดับก่อนหลัง 11. เช็คที่นํามายื่นขอรับเงินสดนั้น หากธนาคารเห็นว่ามีพิรุธ หรือสงสัยแล้ว ธนาคารอาจระงับการ จ่ายเงินให้ก็ได้ โดยผู้ฝากยอมสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการระงับการ จ่ายเงินนั้นโดยสิ้นเชิง 12. ในกรณีที่ผู้ฝากมีหนี้สินกับธนาคารไม่ว่าจะเนื่องมาจากการที่ธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงิน ไปก่อนด้วย เหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินเสียก็ได้และ/หรือการที่ผู้ฝากนําเช็คเข้าบัญชีและในวันนําฝากนั้น ธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นําฝากนั้นให้ไปก่อน โดยที่ธนาคารยังไม่ ทราบผลการเรียกเก็บและเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เหตุผลจากความบกพร่องของธนาคารเอง และ/หรือการที่ผู้ฝากมีหนี้สินความรับผิดชอบใดต่อธนาคารไม่ว่าจะเป็นหนี้สินความรับผิดชอบ ประเภทใดนั้น ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิหักเงินในบัญชีเดินสะพัดของผู้ฝากในขณะใดๆ เพื่อ ชําระหนี้สินดังกล่าวของผู้ฝากได้โดยมิต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ และหากเงินในบัญชีเดินสะพัด ของผู้ ฝากมไม่พอชําระหนี้ดังกล่าวข้างต้น ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธินําหนี้ตามจํานวนที่ผู้ฝากต้อง รับผิดชอบดังกล่าวจ่ายในบัญชีเดินสะพัด เพื่อให้ผ้ฝากเป็นหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารต่อไป ู และผู้ฝากยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น ในหนี้จํานวนนั้นให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดตามวิธีการ และ
  • 8. การบัญชีตั๋วเงิน 155 ประเพณีการติดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร นับแต่วันที่ผู้ฝากเป็นหนี้เงินเบิกเกิน บัญชีเป็นต้น อนึ่ง กรณีที่มีหนี้ของผู้ฝากเกิดขึ้นตามวรรคก่อน ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิ เลือกหักหนี้ดังกล่าว จากบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่ผู้ฝากมีอยู่กับธนาคารรวมทั้งเงินที่ผู้ฝากเป็น เจ้าของหรือเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร เพื่อชําระหนี้ดงกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ ั 13. ผู้ฝากยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการักษาบัญชีของผู้ฝาก ในกรณีที่บัญชีของผู้ฝาก ขาดการติดต่อและ/หรือมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการคืนเช็คในกรณีที่ผู้ฝากได้สั่งจ่ายเช็คโดยที่เงิน คงเหลือในบัญชีไม่พอจ่ายหรือเกินวงเงินได้ตามอัตรา หลักเกณฑ์ และระเบียบที่ธนาคารกําหนด รวมทั้งยินยอมให้ธนาคารปิดบัญชีของผู้ฝากได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด ทั้งสินแต่กรณีบัญชีของผู้ฝากขาดการติดต่อ ธนาคารจะปิดบัญชีได้เฉพาะกรณีปรากฏว่าไม่มีเงิน คงเหลืออยู่ในบัญชีเลยเท่านั้น การคิดค่าธรรมเนียมดิงกล่าวตามวรรคก่อน ธนาคารมีสิทธิหักเงินในบัญชีของผู้ฝาก เพื่อชําระค่าธรรมเนียมได้ เช็คหรือสมุดเช็คหาย 14. ในกรณีเช็คหาย หรือถูกลักไป ผู้ฝากจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ธนาคารทราบทันที ถ้าเป็น เช็คที่ฝากได้ลงลายมือชื่อแล้ว ผู้ฝากจะต้องแจ้งหมายเลขเช็ค วันที่สั่งจ่ายชื่อผู้รบเงิน จํานวนเงิน ั และรายละเอียดอื่นๆ ให้ธนาคารทราบพร้อมกับขอให้ธนาคารระงับการจ่ายตามเช็คนั้น ถ้าสั่งห้ามการจ่ายเงินทางโทรเลข โทรเลขนั้นก็ต้องมีรายละเอียดที่กล่าวข้างต้นและ ผู้ฝากก็จะต้องยินยันเป็นลายลักษณ์อักษรทันที อย่างไรก็ดี ถ้าคําสั่งทางโทรเลขนั้นเป็นคําสั่งปลอม หรือโทรเลขนั้นไม่มีการยืนยันจากผู้ฝากธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น 15. หากหนังสือแจ้งเช็คสูญหายของผู้ฝากส่งไปถึงธนาคารล่าช้า และปรากฏว่าธนาคารได้จ่ายเงินตาม เช็คนั้นไปก่อนรับทราบการสูญหาย หรือแม้จะหลังรับทราบการสูญหายนั้น แต่ระยะเวลากระชั้นชิด กับที่ธนาคารได้จายเงินไปตามเช็คนั้น เพราะธนาคาร ไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งให้สาขาต่าง ๆ ทราบได้ ่ ทันท่วงทีผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่ต้องอยู่ในฐานะต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิน 16. ผู้ฝากจะต้องเก็บรักษาเช็คไว้ในที่ที่ปลอดภัย ในกรณีที่เช็คซึ่งผู้ฝากยังมิได้สั่งจ่ายเกิดสูญหาย ไม่ว่า จะด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ฝากหรือไม่ก็ตาม และ/หรือ มีบุคคลใดที่ไม่สุจริตนํา เช็คไปปลอมลายมือชื่อสั่งจ่าย หากมีความเสียหายอย่างใด ๆ เกิดขึ้น ผู้ฝากยอมรับว่าธนาคารไม่ ต้องรับผิดชอบใด ๆ ต่อผู้ฝากในความเสียหายดังกล่าวทั้งสิน เบ็ดเตล็ด 17. เมื่อผู้ฝากเปลี่ยนที่อยู่ สํานักงานและหมายเลขโทรศัพท์ จะต้องแจ้งให้ธนาคารทราบเป็นลายลักษณ์ อักษร เอกสารบัญชีหรือหนังสือติดต่อใดๆ ที่ธนาคารส่งไปยังผู้ฝากตามตําบลที่อยู่ และ/หรือ สํานักงานทําการแจ้งไว้ให้ถือว่าได้ทราบข้อความในเอกสาร บัญชี หรือหนังสือที่ติดต่อนั้น ๆ แล้ว 18. เมื่อธนาคารมีหนังสือแจ้งยอดเงินและรายการในบัญชีเดินสะพัดไปยังผู้ฝาในวันสิ้นเดือน หรือสิ้นงวด ผู้ฝากมีหน้าที่จะต้องตรวจสอบดูว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าถูกต้องแล้วให้ลงลายมือชื่อรับรอง ความถูกต้องนั้น และส่งคืนธนาคาร แต่หากเห็นว่าไม่ถูกต้องผู้ฝากจะคัดค้านเป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผ้ฝากได้รบหนังสือแจ้งมิฉะนั้นให้ธนาคาร ถือว่าผู้ฝากยอมรับว่ายอดเงิน และ ู ั รายการในบัญชีเดินสะพัดตามที่แจ้งไปนั้นถูกต้องแล้ว 19. ในการทําธุรกิจเกี่ยวกับเงินฝาก ผู้ฝากจะปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้โดยเคร่งครัด หากเกิดความเสียหาย ใด ๆ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบทั้งสิน
  • 9. การบัญชีตั๋วเงิน 156 20. เงื่อนไขที่กําหนดไว้ข้างจ้น ธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมความจําเป็นและเหมาะสมเมื่อ ธนาคารแจ้งไปยังผูฝากแล้ว ให้ถือว่าผูกพันผู้ฝากตามที่แก้ไขหรือเพิ่มเติมนั้น ๆ ทุกประการ ้ ข้าพเจ้าได้ทราบข้อความและเงื่อนไขในการใช้บริการของธนาคารแล้ว ข้าพเจ้าตกลงยินยอมผูกพันและ รับปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นทึกประการ หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบติตามเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้ความเสียหายใด ๆ ั ทั้งสิ้นเกิดขึ้น ข้าพเจ้ายินยอมรับผิดชอบทุกประการ ..............................................ผู้ขอเปิดบัญชี สําหรับเจ้าหน้าที่ธนาคาร .................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... .....................................................ผู้อนุมัติ
  • 10. การบัญชีตั๋วเงิน 157 2.3 ใบนําฝากบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด ในการนําเงินฝากธนาคารทุกครั้งจะต้องเขียนใบนําฝาก ซึงผู้ฝากเงินเป็นผู้เขียนใบนํา ่ ฝากใบนําฝากจะต้องมีสาเนา 1 ฉบับ ต้นฉบับธนาคารเก็บไว้ส่วนสําเนาใบนําฝากจะคืนให้ผู้ฝากเพื่อ ํ นํามาเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีต่อไป เมื่อผู้ฝากเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารแล้วธนาคารจะมอบสมุดเช็ค ของธนาคาร และกําหนดเลขที่บัญชีไว้ในเช็คด้วย โดยที่ผู้ฝากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและอากร แสตมป์ในการใช้เช็คให้กับธนาคาร ตัวอย่างเช็ค
  • 11. การบัญชีตั๋วเงิน 158 เช็คแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือต้นขั้วเช็ค ประกอบด้วย - วันที่ หมายถึง วันที่สั่งจ่ายเช็ค - จ่าย หมายถึง จ่ายให้ใคร - บาท หมายถึง จํานวนเงินที่สั่งจ่ายแต่ละครั้ง - รายการอื่น เช่น ยอดยกมา เงินนําฝาก ยอดยกไปจะเป็นลักษณะบัญชีช่วยจํา ถ้าเป็นกิจการขนาดเล็กการจ่ายเช็คจํานวนน้อยและไม่บอยครั้งก็อาจจะทําได้ แต่ถ้าเป็นกิจการ ่ ขนาดใหญ่มีการจ่ายเช็คจํานวนมากและบ่อยครั้งไม่จําเป็นต้องเขียนก็ได้ ต้นขั้วเช็คใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี จะต้องเขียนรายจ่ายให้ชัดเจนและควร จะต้องมีทะเบียนจ่ายเช็คอีกเล่มหนึ่งด้วย ส่วนที่ 2 คือ ตัวเช็ค ประกอบด้วย 1. วันที่ หมายถึง วัน เดือน ปี ที่สั่งจ่าย 2. จ่าย หมายถึง จ่ายให้ใคร 3. บาท หมายถึง จํานวนเงินจะต้อง เขียนเป็นตัวอักษร 4. บาท เขียนเป็นตัวเลขเช่น 30,000 xx กรณีมีเศษสตางค์ 30,000 30 100 100 5. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายจะต้องให้ตรงตัวอย่างที่เซ็นไว้ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อ ทะเบียนจ่ายเช็ค เป็นทะเบียนที่กจการทําขึ้น เพื่อจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คแต่ละฉบับว่าได้มีการ ิ จ่ายเช็ควันที่เท่าไร จ่ายให้กับใคร จ่ายเป็นค่าอะไร จํานวนเท่าใด และใครเป็นผู้เซ็นรับเช็คไป ซึ่ง จะสะดวกในการค้นหาและตรวจสอบเมื่อต้องการค้นหาต้นขั้วเช็ค และในการลงรายการในทะเบียน จ่ายเช็คให้ลงตามลําดับวันที่จ่ายก่อนหลัง ตัวอย่างทะเบียนจ่ายเช็ค วันที่จ่ายเช็ค เลขที่เช็ค รายการ จํานวนเงิน หมายเหตุ 24/04/52 8771552 ค่าน้ําประปา 4,856 - 24/04/52 8771553 ซื้อสินค้า 34,500 - 25/04/52 8771554 ชําระหนี้ร้านแสงทอง 18,900 50 27/04/52 8771555 ค่ากระแสไฟฟ้า 13,560 -
  • 12. การบัญชีตั๋วเงิน 159 3. การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจากธนาคาร การเขียนเช็คเบิกเงินจากธนาคารได้ดังนี้ 3.1 เช็คจ่ายเงินสด หรือระบุชื่อผู้รับเงิน คือเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คตรงช่องคําว่าจ่าย เงินสด หรือระบุชื่อผู้รับเงิน โดยไม่ได้ขดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก ซึ่งหมายความว่าผู้ถือเช็คฉบับนี้ ี จะเป็นใครก็ได้ เมื่อนําไปขึ้นเงินกับธนาคาร ธนาคารก็จะจ่ายเงินสดตามจํานวนในเช็คให้กับผู้นั้น ตัวอย่าง
  • 13. การบัญชีตั๋วเงิน 160 3.2 เช็คจ่ายตามคําสั่ง คือเช็คที่ระบุให้จ่ายตามคําสั่งของผู้รบเงิน และขีดฆ่าคําว่า ั หรือผู้ถือออก มีความหมายว่าผู้รับเงินคือผู้ที่ระบุชื่อในเช็คเท่านั้น 3.3 เช็คขีดคร่อม หมายถึงเช็คที่ขีดเส้นคู่ขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค เพื่อเป็นการแสดงให้ ธนาคารรับฝากเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็ค และไม่มีสิทธิที่จะขอเบิกเงินสดจากธนาคารตามเช็คนั้นได้ ทันที การขีดคร่อมเช็คมี 2 วิธีคือ 3.3.1 เช็คขีดคร่อมทั่วไป หมายถึง เช็คที่เขียนเส้นคู่ขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค (มุมซ้าย) โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ลงระหว่างเส้นคู่ขนาน หรือ มีข้อความ “& CO.” ใน เส้นคู่ขนานนั้น ผูทรงเช็คจะนําไปรับเงินสดไม่ได้ ต้องนําเข้าบัญชีผู้ที่ระบุชื่อนั้นก่อน เมื่อธนาคาร ้ เรียกเก็บเงินได้แล้ว จึงจะสามารถถอนเป็นเงินสดได้ ถ้าขีดคร่อมเช็ค โดยเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อผู้ถือ และไม่ได้ขีดฆ่าหรือผู้ถืออก หมายความว่าเช็คฉบับนั้นจะเข้าบัญชีใครก็ได้ แต่ต้องมีการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คก่อน
  • 14. การบัญชีตั๋วเงิน 161 ถ้าขีดคร่อมเช็ค โดยเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อผู้ถือ และขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก หมายความว่าเช็คฉบับนั้นต้องเข้าบัญชีผู้ที่ระบุชื่อในเช็คเท่านั้น 3.3.2 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ หมายถึง เช็คที่ขีดเส้นคูขนานไว้ด้านหน้าของเช็ค ่ (มุมซ้าย) และระหว่างเส้นคู่ขนานนั้น ยังมีข้อความต่าง ๆ ดังนี้ - A/c Payee Only หมายความว่า ต้องนําเช็คเข้าบัญชีที่ระบุช่อผู้รับเงินเท่านั้น ื - A/C Payee Only และระบุชื่อธนาคารลงไว้ด้วย หมายความว่า ต้องนําเช็ค เข้าบัญชีผู้รับทีธนาคารที่กาหนดชื่อไว้เท่านั้น ่ ํ - ห้ามมิให้โอนให้ผู้อื่นต้องเข้าบัญชีตามระบุช่อเท่านั้น ื
  • 15. การบัญชีตั๋วเงิน 162 ระยะเวลานําเช็คไปรับเงินกับธนาคาร เช็คเป็นตั๋วเงินที่ตองจ่ายเมื่อทวงถามเมื่อผู้ทรงเช็คยื่นเช็คเพื่อขอขึ้นเงินกับธนาคารเมื่อใด ้ ธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้ทันที แต่มีข้อกําหนดเรื่องเวลาไว้วาจะต้องยื่นเช็คต่อธนาคารภายใน ่ กําหนดเวลาตามกฎหมายดังนี้ 1. ถ้าเป็นเช็คที่ออกและให้ใช้เงินในจังหวัดเดียวกัน จะต้องยื่นเช็คขอขึ้นเงินภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ในเช็ค 2. ถ้าเป็นเช็คที่ออกและให้ใช้เงินต่างจังหวัดกัน จะต้องยื่นเช็คขอขึ้นเงินภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ในเช็ค กรณีที่กจการเป็นฝ่ายรับเช็ค การรับเช็คในทางบัญชี แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ ิ 1. นําเช็คที่ได้มาไปขึ้นเงินสดที่ธนาคารทันที 2. รับเช็คมาแล้วถือเช็คนั้นไว้กับกิจการโดยยังไม่นําไปขึ้นเงินหรือเข้าบัญชี จะถือว่าเป็น เงินสดในมือ 3. รับเช็คมาแล้วนําเข้าบัญชีฝากธนาคารทันที ถือเป็นเงินฝากธนาคาร ในการประกอบธุรกิจบางครั้งอาจหมุนเงินไม่ทัน กิจการจะตกลงกับเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ ของกิจการเพื่อขอจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ซึ่งเจ้าหนี้ก็จะตกลงยินยอมรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าของ กิจการและกิจการก็จะตกลงรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าจากลูกหนี้ของกิจการ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเตือนความทรงจําว่า กิจการได้รับเช็คล่วงหน้า และมีการจ่าย เช็คล่วงหน้าให้ใคร จํานวนเท่าไร ถึงกําหนดเมื่อใด ควรจะต้องจัดทํา “ทะเบียนเช็คลงวันที่ ล่วงหน้า” และในทางบัญชีเมื่อกิจการได้รับเช็คล่วงหน้าหรือจ่ายเช็คล่วงหน้า จะยังไม่นํามาบันทึก บัญชีจนกว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างทะเบียนเช็ครับล่วงหน้า วันที่ได้ ที่ วันที่ในเช็ค เลขที่เช็ค ชื่อลูกค้า ชื่อธนาคาร จํานวนเงิน รับเช็ค 1 10 ม.ค. 52 2 ก.พ. 52 240135 ร้านกิจเจริญ กรุงไทย สาขากาฬสินธุ์ 20,000 - 2 8 มี.ค. 52 26 มี.ค. 52 751102 ร้านรุ่งอรุณ กสิกรไทย สาขากาฬสินธุ์ 24,000 - 3 25 พ.ค. 52 10 มิ.ย. 52 318861 ร้านก่อพาณิชย์ ทหารไทย สาขากาฬสินธุ์ 18,400 -
  • 16. การบัญชีตั๋วเงิน 163 4. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคาร การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากและการถอนเงินจากธนาคารคือ เมื่อกิจการได้รบเช็คมา ั จากบุคคลภายนอกแล้วนําเช็คนั้นเข้าบัญชีเงินฝากของกิจการบันทึกบัญชีโดยเดบิต เงินฝากธนาคาร แต่ถ้ากิจการจ่ายเช็คให้กับเจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้ หรือจ่ายสําหรับค่าใช้จายต่าง ๆ กิจการจะบันทึก ่ บัญชีโดย เครดิตเงินฝากธนาคาร รายการเดบิดและเครดิตนี้จะนํามาบันทึกในสมุดขั้นต้นและผ่าน รายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมุดขั้นต้นนั้นประกอบด้วย สมุดเงินสด 2 ช่อง สมุด เงินสด 3 ช่อง สมุดรายวันจ่ายเงิน แต่ละกิจการจะใช้สมุดขั้นต้นเล่มใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมะสม ของกิจการ แต่ในเรื่องนี้จะอธิบายเฉพาะการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป รายการบัญชีเกี่ยวกับเช็คมีดังต่อไปนี้ 1. นําเงินฝากธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชี 2. การรับเช็คในกรณีดังต่อไปนี้ 2.1 ขายสินค้า 2.2 รับชําระหนี้จากลูกหนี้ 2.3 รับจากการขายสินทรัพย์ 2.4 รับจากรายได้อื่น ๆ 3. การจ่ายเช็คในกรณีดังต่อไปนี้ 3.1 ซื้อสินค้า 3.2 จ่ายชําระหนี้ 3.3 จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 3.4 ซื้อสินทรัพย์ 3.5 ถอนใช้สวนตัว ่ 3.6 ถอนใช่ในกิจการ 4. การนําเงินฝากธนาคารเพิ่มเติม 4.1 นําฝากเป็นเงินสด 4.2 นําฝากเป็นเช็ค
  • 17. การบัญชีตั๋วเงิน 164 ตัวอย่าง ร้านมีโชคมีรายการเกี่ยวกับเช็ค และเงินฝากธนาคารระหว่างเดือน พฤษภาคม 2552 ดังนี้ 2552 พ.ค. 2 ร้านมีโชค นําเงินสดฝากธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจํานวน 300,000 บาท และประเภทออมทรัพย์ 100,000 บาท 5 จ่ายเช็คเลขที่ 6855651 ชําระหนี้ให้เจ่าหนี้ จํานวน 26,500 บาท 8 จ่ายเช็คเลขที่ 6855652 เพื่อซื้อสินค้า จํานวน 48,000 บาท ภาษีมลค่าเพิ่ม 7% ู 9 รับเช็คเลขที่ 2324216 จากการชําระหนี้จากลูกหนี้ จํานวน 21,500 บาท ได้นําฝาก ธนาคารประเภทกระแสรายวันในวันนี้ 12 ขายสินค้าได้รับชําระเป็นเช็คเลขที่ 5186132 จํานวน 32,000 บาท เป็นราคาที่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว 7% ได้นาฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ ํ 13 ซื้อเครื่องใช้สํานักงาน ราคา 45,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยออกเช็คเลขที่ 6855653 15 ออกเช็คเลขที่ 6855654 จํานวนเงิน 10,000 บาท เพื่อนําเงินมาใช้จ่ายในกิจการ 17 ออกเช็คเลขที่ 6855655 เพื่อจ่ายค่าโฆษณา จํานวน 4,700 บาท 20 ถอนเงินฝากออมทรัพย์ 30,000 บาท นําเข้าเงินฝากประเภทกระแสรายวัน สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 พ.ศ. 2552 เลขที่ เดบิต เครดิต รายการ บัญชี เดือน วันที่ บาท ส.ต. บาท ส.ต. พ.ค. 2 เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 300,000 - เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์ 100,000 - เงินสด 400,000 - กิจการนําเงินฝากธนาคาร 5 เจ้าหนี้ 26,500 - เงินฝากธนาคาร–กระแสรายวัน 26,500 - ออกเช็คเลขที่ 6855651 เพื่อ ชําระหนี้ 8 ซื้อสินค้า 48,000 - ภาษีซื้อ 3,360 - เงินฝากธนาคาร–กระแสรายวัน 51,360 - ออกเช็คเลขที่ 6855652 เพื่อซื้อ สินค้า
  • 18. การบัญชีตั๋วเงิน 165 สมุดรายวันทั่วไป หน้า 2 พ.ศ. 2552 เลขที่ เดบิต เครดิต รายการ บัญชี เดือน วันที่ บาท ส.ต. บาท ส.ต. พ.ค. 9 เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 21,500 - ลูกหนี้ 21,500 - รับเช็คจากลูกหนี้และนําฝากธนาคาร 12 เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์ 32,000 - ขายสินค้า 29,906 54 ภาษีขาย 2,903 46 ขายสินค้าได้รับเช็คนําเข้าบัญชีออม ทรัพย์ 13 เครื่องใช้สํานักงาน 45,000 - ภาษีซื้อ 3,150 - เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 48,150 - ออกเช็คเลขที่ 6855653 เพื่อซื้อ สินทรัพย์ 15 เงินสด 10,000 - เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 10,000 - ถอนเงินจากธนาคารใช้ในกิจการ 17 ค่าโฆษณา 4,700 - เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 4,700 - ออกเช็คเลขที่ 6855655 เพื่อจ่ายค่า โฆษณา 20 เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 30,000 - เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์ 30,000 - ถอนเงินฝากออมทรัพย์นําฝาก กระแสรายวัน
  • 19. การบัญชีตั๋วเงิน 166 5. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เมื่อบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับการฝากและการ ถอนเงินจากธนาคารในสมุดรายวันขั้นต้นแล้ว จะต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททันที แต่ในตัวอย่างต่อไปนี้ จะการแสดงการผ่านบัญชีแยกประเภทเฉพาะบัญชีเงินฝากธนาคาร เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน 102 พ.ศ. หน้า พ.ศ. หน้า รายการ เดบิต รายการ เครดิต 2552 บัญชี 2552 บัญชี พ.ค. 2 เงินสด 300,000 - พ.ค. 5 เจ้าหนี้ 26,500 - 9 ลูกหนี้ 21,500 - 8 ซื้อสินค้า 48,000 - 20 เงินฝาก 30,000 - ภาษีซื้อ 3,360 - ธนาคาร 13 เครื่องใช้ - ออมทรัพย์ สํานักงาน 45,000 - ภาษีซื้อ 3,150 - 15 เงินสด 10,000 - 17 ค่าโฆษณา 4,700 - เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์ 103 พ.ศ. หน้า พ.ศ. หน้า รายการ เดบิต รายการ เครดิต 2552 บัญชี 2552 บัญชี พ.ค. 2 เงินสด 100,000 - พ.ค. 20 เงินฝาก 30,000 - 12 ขายสินค้า 29,906 54 ธนาคาร - ภาษีขาย 2,903 46 กระแส รายวัน
  • 20. การบัญชีตั๋วเงิน 167 คําถามหน่วยที่ 9 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค คําชี้แจง ให้ตอบคําถามดังต่อไปนี้ ข้อ 1. จงอธิบายความหมายของเช็ค …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 2. จงอธิบายประโยชน์ของการใช้เช็ค …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 3. การติดต่อกับธนาคารเพื่อขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน จะต้องกรอกเอกสารอะไรบ้าง …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 4. การใช้เช็คจะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องกี่ฝ่าย ได้แก่ใครบ้าง …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 5. การขีดคร่อมเช็คหมายถึงอะไร มีกประเภท อะไรบ้าง ี่ …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………
  • 21. การบัญชีตั๋วเงิน 168 ข้อ 6. เช็คขีดคร่อมทั่วไปมีผลต่อผู้ทรงเช็คอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 7. จงบอกเหตุผลและความจําเป็นในการจัดทําทะเบียนเช็คลงวันที่ล่วงหน้า …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………
  • 22. การบัญชีตั๋วเงิน 169 แบบฝึกหัดหน่วยที่ 9 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเช็ค ข้อ 1. ให้นักเรียนเขียนเช็ค ตามกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (โดยให้กําหนดข้อความ และจํานวนเงิน ขึ้นเองตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี) 1.1 เช็คเงินสด 1.2 เช็คจ่ายตามคําสั่ง 1.3 เช็คขีดคร่อมทั่วไป 1.4 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ ข้อ 2. ต่อไปนี้ เป็นรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับเงินฝากธนาคารของร้าน อุบลวรรณ 2552 พ.ค. 2 นางอุบลวรรณนําเงินลงทุน 400,000 บาท โดยนําฝากธนาคารประเภทกระแส รายวันจํานวน 150,000 บาท ที่เหลือนําฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ 3 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 21,400 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้ว 5 ขายสินค้าได้รับเช็ค 8,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นําเช็คฝากธนาคารประเภท กระแสรายวันทันที 8 ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30 10 ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 5,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30 13 จ่ายเช็คซื้อเครื่องใช้สํานักงาน 30,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 15 ถอนเงินฝากประเภทออมทรัพย์มาใช้ในกิจการ 15,000 บาท 17 จ่ายเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าที่ซอ เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นี้ ื้ 19 รับชําระหนี้จากลูกค้าที่ขายเมื่อวันที่ 10 พ.ค. นี้ได้นําฝากธนาคารประเภท ออมทรัพย์ในวันนี้ 21 ขายสินค้าได้รับเช็ค 3,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้วและนําฝาก ธนาคารประเภทออมทรัพย์ทันที 24 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 6,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และจ่ายค่าขนส่งเป็นเงินสด 240 บาท 28 จ่ายเช็คชําระค่าเช่าประจําเดือนมกราคม 3,800 บาท 30 จ่ายเงินเดือน 12,000 บาท หักภาษีเงินได้ไว้ 5% ที่เหลือจ่ายเป็นเช็ค ให้ทํา 1. บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป 2. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เฉพาะเงินฝากธนาคารประเภท ออมทรัพย์และกระแสรายวัน
  • 23. การบัญชีตั๋วเงิน 170 ข้อ 3. ต่อไปนี้เป็นรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับเงินฝากธนาคารของร้านใจดีการค้า 2552 ส.ค. 1 นางใจดีนําเงินสดมาลงทุน 500,000 บาท 2 นําเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ 290,000 บาท เงินฝากธนาคารประเภท กระแสรายวัน 200,000 บาท 4 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 32,100 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว 7 ขายสินค้าได้รับเช็ค 7,490 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว นําฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ในวันนี้ 9 ขายสินค้าเป็นเงินสดจํานวน 4,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 13 ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 20,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30 และจ่ายค่าขนสินค้าเข้าร้าน 250 บาท 15 ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 12,000 บาท ภาษีมลค่าเพิ่ม 7% เงื่อนไข 2/10,n/30 ู 18 จ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเช็ค 963 บาท เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้แล้ว 20 จ่ายเช็คซื้อเครื่องตกแต่งสํานักงาน 16,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 22 ถอนเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ใช้ส่วนตัว 7,000 บาท 23 จ่ายเช็คชําระหนี้ค่าสินค้าซื้อเมื่อวันที่ 13 ส.ค. นี้ 27 รับชําระหนี้จากลูกค้าค่าสินค้า ที่ขายเมื่อวันที่ 15 ส.ค. นี้ 30 จ่ายเช็คเป็นค่าเงินเดือนพนักงาน 15,000 บาท โดยหักภาษีเงินได้ไว้ 750 บาท ให้ทํา 1. บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป 2. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เฉพาะเงินฝากธนาคารประเภท ออมทรัพย์และกระแสรายวัน ข้อ 4. ต่อไปนี้เป็นรายการเกี่ยวกับเงินฝากธนาคารของ ร้านฝากจิต 2552 ต.ค. 1 นางสาวฝากจิตนําเงินสดมาลงทุน 200,000 บาท 2 นําเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน 90,000 บาท ประเภทออมทรัพย์ 100,000 บาท 3 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 30,000 บาท 5 ซื้อเครื่องใช้สํานักงานราคา 9,000 บาท จ่ายเป็นเช็ค 7,000 บาท ที่เหลือชําระเป็น เงินสด 7 ขายสินค้าเป็นเงินสด 35,000 บาท 8 จ่ายเช็คซื้อสินค้า 25,000 บาท 10 ขายสินค้าได้รับเงินสด 18,000 บาท นําฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันทันที 13 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 1,500 บาท