SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
เนื้อหา
1. ประวัติของกีฬาว่ายน�้ำ
2. ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำ
3. สุขปฏิบัติ ข้อบังคับ ความปลอดภัย และมารยาทในการว่ายน�้ำ
4. ประเภทของสระว่ายน�้ำ
1. ประวัติของกีฬาว่ายน�้ำ
	
	 การว่ายน�้ำในยุคโบราณนั้นได้เริ่มมีการบันทึกไว้ครั้งแรกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการ
ค้นพบภาพที่ถูกวาดไว้ในถ�้ำสมัยยุคหินประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว ภาพที่ถูกพบนั้นเป็นภาพแสดงคน
ก�ำลังว่ายน�้ำท่ากบ และท่าลูกหมาตกน�้ำ (Dogpaddle) ภาพที่แสดงการว่ายน�้ำ ในยุคนั้นเป็นการ
แสดงออกถึงพิธีกรรมทางศาสนา และต่อมาได้มีการเขียนบันทึกเกี่ยวกับการว่ายน�้ำของมนุษย์เป็น       
ครั้งแรกเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยบันทึกไว้ในส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งกล่าวถึงการว่ายน�้ำ
ของกิลกาเมช (Gilgamesh) อิเลียด (Iliad) และโอดิสซีย์ (Odyssey) (History of Swimming, 2008)
	 การว่ายน�้ำในยุคต่อมาเป็นการว่ายน�้ำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการหลบหลีกจากภยันตราย และ           
ใช้ในการสงครามแย่งชิงการเป็นประเทศมหาอ�ำนาจในทวีปยุโรป เช่น การสงครามยุคเรือใบที่ได้             
กล่าวถึงทหารที่หลบหนีข้าศึกโดยการว่ายน�้ำหนีศัตรู ลักษณะของการว่ายน�้ำในยุคนั้นเป็นการพยุงตัว
ให้ลอยโดยการถีบเท้าขึ้น-ลงใต้น�้ำ และมือทั้งสองพุ้ยน�้ำออกไปด้านข้างซึ่งเรียกการว่ายน�้ำแบบนี้ว่าท่า
ลูกหมาตกน�้ำ ต่อมาชาวอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้มีวิธีการว่ายน�้ำที่แปลกไปจากท่า       
ลูกหมาตกน�้ำในทวีปยุโรป คือมีการดัดแปลงท่าว่ายเป็นการใช้การยกแขนกลับขึ้นเหนือน�้ำหลังจาก          
ได้พุ้ยน�้ำมาแล้ว คล้ายกับการว่ายในท่าวัดวาในปัจจุบัน ซึ่งดูได้จากภาพที่สลักลงบนหินหรือสลักบน       
ฝาผนังถ�้ำในนครปอมเปอี ที่แสดงท่ามนุษย์ว่ายในน�้ำและลอยคออยู่ในน�้ำ ในยุคความเจริญของ
บ ท ที่
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการว่ายน�้ำ
1
2
ตะวันออกกลางจะพบภาพบนแผ่นฝาผนัง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์นั้นสามารถว่ายน�้ำได้ และการบันทึก
ต�ำราการว่ายน�้ำได้ถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1539 โดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมันชื่อนิโคลาส
ไวน์แมนน์ (Nikolaus Wynmann) หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงวิธีการว่ายน�้ำท่าต่าง ๆ และวิธีช่วยคน        
จมน�้ำ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการลดอันตรายจากการจมน�้ำ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีประโยชน์สูงในการ              
เผยแพร่วิธีการว่ายน�้ำ และลดการสูญเสียจากการจมน�้ำตายเป็นจ�ำนวนมาก
	 การว่ายน�้ำได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำในศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19           
ซึ่งในระยะแรกนี้ท่าที่ใช้ในการแข่งขันจะเป็นท่ากบ ต่อมาได้มีการก่อตั้งสโมสรว่ายน�้ำขึ้นครั้งแรก             
เมื่อ ค.ศ. 1837 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี (History of Swimming, 2008) และจัดการแข่งขัน
กีฬาว่ายน�้ำเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1837 โดยมีการจัดการแข่งขันขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ        
ที่สระว่ายน�้ำธรรมชาติ และกีฬาว่ายน�้ำได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในระยะถัดมา ได้มีการสร้างสระ
ว่ายน�้ำมากขึ้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1880 มีการก่อตั้งสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งสหราชอาณาจักรขึ้น  
โดยมีสโมสรสมาชิกถึง 300 แห่ง ซึ่งเป็นสมาคมว่ายน�้ำแห่งแรกที่มีสโมสรสมาชิกจ�ำนวนมากขนาดนี้
(The Origins and Roots of Swimming Facts and Information about Collegiate Swimming
and Diving, 2008)  
	 ค.ศ. 1844 นักกีฬาว่ายน�้ำชาวอเมริกันชื่อฟลายอิง กัล (Flying Gul) และโทแบคโค (Tobacco)
ได้รับเชิญจากสมาคมกีฬาอังกฤษไปแข่งขันว่ายน�้ำที่กรุงลอนดอน และทั้ง 2 คนแข่งขันโดยใช้                   
ท่าว่ายน�้ำในท่าวัดวา หรือที่เรียกกันว่า “ท่าครอว์ล” (Crawl Stroke) โดยการพลิกหน้าหายใจเพียง
ด้านเดียวท�ำให้มีการเพิ่มความเร็วในการว่าย และการว่ายน�้ำท่าครอว์ลนี้ได้เป็นที่นิยมในเวลาต่อมา        
(เทเวศร์ พิริยะพฤนท์, 2527 : 3) และใน ค.ศ. 1873 ได้มีการแข่งขันว่ายน�้ำขึ้นอย่างเป็นทางการ           
ครั้งแรกที่สระว่ายน�้ำวูลวิช บาธส์ (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ                     
การแข่งขันครั้งนี้มีการแข่งขันเพียงประเภทเดียวคือไม่จ�ำกัดแบบ ใครจะว่ายแบบใด ๆ ก็ได้ และ                     
นายจอห์น อาร์เธอร์ ทรัดเจน (John Arthur Trudgen) ได้รับชัยชนะโดยที่เขาได้ดัดแปลงวิธีว่ายน�้ำ
ของชาวอินเดียนแดงในอเมริกาใต้ที่ใช้การว่ายน�้ำแบบแฮนด์โอเวอร์แฮนด์ (Hand over Hand)                
มาเป็นการว่ายน�้ำแบบสลับแขนทีละข้าง พร้อมกับบิดล�ำตัวตะแคงไปตามจังหวะของแขนแต่ละข้าง
และใช้การเตะเท้าแบบกรรไกรที่ท�ำให้เขาว่ายน�้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับชัยชนะในที่สุด
(History of Swimming, 2008)   
	 ค.ศ. 1875 นาวาเอก แมทธิว เวบบ์ (Captain Matthew Webb) ได้ประสบความส�ำเร็จใน           
การว่ายน�้ำข้ามช่องแคบอังกฤษโดยเริ่มจากฝั่งโดเวอร์ถึงฝรั่งเศสที่แหลมกรีชเนซ (Grisnez)  เป็นระยะ
ทาง 23 ไมล์ (35 กิโลเมตร) ใช้เวลาทั้งหมด 21 ชั่วโมง 45 นาที โดยใช้การว่ายท่ากบ การว่ายน�้ำข้าม
ช่องแคบอังกฤษครั้งนั้นท�ำให้มีผู้สนใจการว่ายน�้ำมากมายจนกระทั่งต่อมามีการเปิดการแข่งขันว่ายน�้ำ
ข้ามช่องแคบอังกฤษขึ้นและกลายเป็นประเพณีในที่สุด ต่อมาเฟรเดอร์ริค คาวิลล์ (Frederick Cavill)
ได้พาภรรยาและบุตรอีก 6 คนไปท่องทะเลใต้ และได้ศึกษาวิธีการว่ายน�้ำแบบอเมริกันอินเดียน
3
อย่างละเอียด โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้เท้าเตะสลับขึ้น-ลงแทนการถีบเท้าสลับใต้น�้ำ เขาได้          
น�ำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้กับเด็กชาวอังกฤษที่ใช้เท้าเตะตามธรรมชาติ โดยเปลี่ยนเป็นการเตะเท้า          
แบบอเมริกันอินเดียนท�ำให้การว่ายน�้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และใน ค.ศ. 1902 บุตรชายของเขาคือ        
ริชาร์ด คาวิลล์ (Richard Cavill) ได้ท�ำลายสถิติการว่ายน�้ำ 100 หลา ด้วยเวลา 58.6 วินาที การ        
ว่ายน�้ำในลักษณะนี้ท�ำให้ผู้ว่ายสามารถลบสถิติได้ตลอดเวลา จนท�ำให้กีฬาว่ายน�้ำกลายเป็นกีฬาที่มี  
ความนิยมสูงในหมู่เกาะอังกฤษและในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาผู้ฝึกสอนว่ายน�้ำทั้งหลายพยายาม
คิดค้นวิธีการว่ายน�้ำที่สามารถว่ายได้เร็วกว่าแบบเดิม คือท่าว่ายน�้ำแบบออสเตรเลียครอว์ลได้ถูกดัด
แปลง โดยเปลี่ยนแปลงการใช้แขนและเท้าในการว่ายให้มีความสัมพันธ์กัน และปรับวิธีหายใจ คว�่ำหน้า
หายใจออกในน�้ำทางจมูกและทางปาก และหายใจเข้าโดยเงยหน้าขึ้นตรง ๆ เข้าทางปากอย่างเดียว         
ซึ่งวิธีการว่ายน�้ำที่ดัดแปลงใหม่นี้เรียกว่า แบบอเมริกันครอว์ล (American Crawl Stroke) และผล    
จากการดัดแปลงนี้ท�ำให้การว่ายน�้ำแบบครอว์ลว่ายได้เร็วขึ้น จากสถิติการแข่งขันว่ายน�้ำชิงแชมป์โลก             
ใน ค.ศ. 1906 ประเภทฟรีสไตล์ระยะทาง 100 หลา ชาร์ล เอ็ม. แดเนียลส์ (Charles M. Danials)
นักกีฬาว่ายน�้ำชาวอเมริกันเป็นผู้ชนะเลิศ ท�ำเวลาได้ 55.4 วินาที โดยใช้ท่าว่ายน�้ำแบบอเมริกัน                    
ครอว์ล (ทวีศักดิ์ นาราษฎร์, 2538 : 7)
	 ประวัติการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1896 กีฬาว่ายน�้ำ             
ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่เป็นครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ การแข่งขัน
ว่ายน�้ำได้ถูกจัดขึ้นที่อ่าวซี (Zea Bay) มีการจัดการแข่งขัน 4 รายการ คือ ฟรีสไตล์ 100 และประเภท
ทหารเรือ 100 เมตร 500 เมตร และ 1,200 เมตร
	 รายการแข่งขันที่ 1 ฟรีสไตล์ 100 เมตร ชนะเลิศในรายการนี้คือ อัลเฟรด ฮาจอส (Alfred  
Hajos) ท�ำเวลาได้ 1 นาที 22.20 วินาที และเขายังชนะในการแข่งขันทหารเรือ 1,200 เมตรอีกด้วย
	 รายการแข่งขันที่ 2 ประเภททหารเรือ 100 เมตร ทหารเรือชื่อ มาโลคินิส (Malokinis) เป็น          
ผู้ชนะเลิศ
	 รายการแข่งขันที่ 3 ทหารเรือ 500 เมตร นักว่ายน�้ำจากออสเตรียชื่อนิวมานน์ (Neumann)   
ชนะในรายการนี้โดยใช้เวลาว่าย 8 นาที 12.75 วินาที
	 การแข่งขันว่ายน�้ำทั้ง 4 รายการ ใช้เวลาเพียงครึ่งวันเท่านั้น และเป็นจุดก�ำเนิดของกีฬาว่ายน�้ำ
โอลิมปิกเกมส์ (History of Swimming, 2008)
	 ใน ค.ศ. 1900 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเจ้าภาพ
ได้เริ่มบรรจุการว่ายน�้ำประเภทกรรเชียงระยะทาง 100 เมตรเข้าไปด้วย โดยแยกออกเป็นท่าว่ายน�้ำ        
อีกประเภทหนึ่งแตกต่างออกไปจากประเภทฟรีสไตล์ และ ค.ศ. 1907 นักกีฬาชื่อแอนเนตต์ เคลเลอร์-
แมน (Annette Kellerman) จากประเทศออสเตรเลียได้ไปร่วมการแข่งขันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
และเธอได้สาธิตการแสดงระบ�ำใต้น�้ำขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนั้น
	 ค.ศ. 1908 สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติ หรือ Federation International de Natation
4
Amateur มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า “FINA” ได้ก�ำเนิดขึ้นในปีนี้ โดยมีประเทศอังกฤษเป็นผู้ริเริ่ม และมี      
บทบาทในการก่อตั้ง มีประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนหลายประเทศ เช่น กรีซ สหรัฐอเมริกา          
ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮอลแลนด์ เม็กซิโก ฯลฯ หลังจากก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นแล้วสมาชิกจากประเทศ
ต่าง ๆ ทั้งหมดได้ลงคะแนนเสียงแต่งตั้งให้นายจี. ดับบลิว. ฮีน (G. W. Hean) ผู้แทนสโมสรว่ายน�้ำของ
อังกฤษเป็นเลขานุการและเหรัญญิกของสหพันธ์เรื่อยมาถึง 16 ปี โดยไม่มีประธานสหพันธ์ จนกระทั่ง
ค.ศ. 1924 ที่ประชุมจึงได้เลือกนายอีริค เบกวอลล์ (Erik Beagvall) ชาวสวีเดน ขึ้นเป็นประธาน        
สหพันธ์เป็นคนแรก และประธานสหพันธ์ได้เลือกเลขานุการและเหรัญญิกคนเดิมคือ นายจี. ดับบลิว.
ฮีน ท�ำหน้าที่ต่อไปอีก 4 ปี จึงได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ใน ค.ศ. 1928 และมีการเลือกตั้ง      
ใหม่ทุก 4 ปี
	 ค.ศ. 1912 ได้มีการแข่งขันว่ายน�้ำหญิงเข้าไปในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่กรุง            
สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน การแข่งขันครั้งนี้ ดุค คาฮานาโมกุ (Duke Kahanamoku) แห่งฮาวาย         
ได้ใช้การว่ายน�้ำแบบเตะเท้า 6 ครั้งต่อ 1 รอบ ซึ่งเขาได้ฝึกมาจากชนพื้นเมือง ท�ำให้เขาได้รับชัยชนะ   
ในรายการฟรีสไตล์ 100 เมตร การแข่งขันครั้งนี้ประกอบด้วยนักกีฬาชายคือ ฟรีสไตล์ 100, 400              
และ 1,500 เมตร ผลัดฟรีสไตล์ 4x200 เมตร กรรเชียง 100 เมตร กบ 200 และ 400 เมตร และ      
นักกีฬาหญิงฟรีสไตล์ 100 เมตร และ 4x100 เมตร
	 ค.ศ. 1922 จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ (Johnny Weissmuller) คือคนแรกที่ท�ำสถิติต�่ำกว่า 1 นาที
ในการว่ายน�้ำ 100 เมตร โดยใช้การเตะเท้าแบบ 6 ครั้งต่อ 1 รอบ เขาได้รับชัยชนะ 5 เหรียญทอง          
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และไม่เคยแพ้ใครในการแข่งขันว่ายน�้ำระดับชาติ 36 ครั้ง ตลอดระยะ         
เวลา 10 ปี โดยที่สถิติของเขาคงอยู่ถึง 17 ปี ในการว่ายน�้ำ 100 หลา (91 เมตร) เขาท�ำเวลาได้ 51
วินาที และภายหลังจากอ�ำลาวงการว่ายน�้ำ เขาได้เริ่มอาชีพใหม่คือนักแสดงในหนังเรื่องทาร์ซาน ที่         
ท�ำให้เขามีชื่อเสียงมากและเป็นที่รู้จักกันทั่วในระยะเวลาต่อมา ต่อมาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกใน          
ค.ศ. 1924 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เริ่มมีการใช้ทุ่นแบ่งลู่ว่ายของนักกีฬาแต่ละคน และมีการ
เขียนเส้นก�ำกับช่องว่ายที่ใต้พื้นสระแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้นักกีฬาได้ใช้ในการมองเห็นและ       
ก�ำกับเส้นในขณะแข่งขันดังเช่นที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบัน (History of Swimming, 2008)
	 การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาการว่ายน�้ำเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1928 ผู้ฝึกสอนจาก
มหาวิทยาลัยไอโอวา ชื่อเดวิด อาร์มบรัสเตอร์ (David Armbruster) เขาท�ำการศึกษาปัญหาที่ท�ำให้
นักกีฬาว่ายท่ากบช้าลงในขณะที่ดึงแขนกลับใต้น�้ำไปทางด้านหน้าโดยใช้การถ่ายภาพใต้น�้ำ ซึ่งเขาได้
ลดแรงต้านดังกล่าวโดยการยกแขนกลับไปทางด้านหน้าเหนือผิวน�้ำ เทคนิคนี้ท�ำให้เพิ่มความเร็วขึ้น  
และใน ค.ศ. 1935 นักกีฬาว่ายน�้ำชื่อแจค เสย์จ (Jack Sieg) จากไอโอวา ได้พัฒนาเทคนิคของเดวิด
อาร์มบรัสเตอร์ โดยยกแขนกลับไปทางด้านข้างและใช้การเตะเท้าเหมือนกับการสะบัดหางขึ้น-ลงของ
ปลาโลมา (Dolphin  Kick) 2 ครั้งต่อ 1 รอบ เขาสามารถท�ำสถิติว่ายน�้ำ 100 หลา (91 เมตร) เท่ากับ  
1 นาที 0.2 วินาที อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้ท�ำให้ว่ายน�้ำได้เร็วกว่าการว่ายน�้ำท่ากบปกติ และมีนักกีฬา
5
ที่นิยมว่ายน�้ำท่ากบแต่เตะเท้าแบบปลาโลมาเช่นนี้จ�ำนวนมาก ต่อมามีการพิจารณาว่าการท�ำเช่นนี้
เป็นการท�ำผิดกติกาการแข่งขันว่ายน�้ำท่ากบ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1952 ได้มีการยอมรับว่าท่าว่ายน�้ำนี้
เป็นท่าว่ายน�้ำใหม่เพิ่มขึ้นเรียกว่าท่าผีเสื้อ และมีการจัดท�ำกติกาท่าว่ายน�้ำท่านี้ขึ้นอีกท่าหนึ่งในการ        
แข่งขัน (History of Swimming, 2008)  ต่อมาใน ค.ศ. 1953 สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติได้พิจารณา
เห็นว่าการแข่งขันว่ายน�้ำนั้นมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก จึงได้ลงมติให้แยกประเภทผีเสื้อขากบ
และผีเสื้อขาแบบปลาโลมาสะบัดหางออกเป็นอีกประเภทหนึ่งต่างจากการว่ายประเภทกบ ฉะนั้นการ
ว่ายน�้ำประเภทกบจึงเป็นท่าว่ายที่ช้าที่สุด และการว่ายน�้ำท่ากบกับการว่ายน�้ำท่าผีเสื้อก็ถูกแยกออก
จากกันตั้งแต่ ค.ศ. 1956 (ทวีศักดิ์ นาราษฎร์, 2538 : 9)
	 ในระหว่าง ค.ศ. 1935-1945 ได้มีการดัดแปลงท่าว่ายกรรเชียงโดยอดอล์ฟ ไคย์เฟอร์ (Adolph
Kiefer) นักกีฬาว่ายน�้ำชาวออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีการดึงแขนใต้น�้ำในการว่ายน�้ำท่ากรรเชียงนี้โดย
ใช้การงอแขนท�ำให้เพิ่มความเร็วในแนวนอนและลดแรงสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแนวดิ่ง และแรงสูญเปล่า
ที่เกิดขึ้นจากการแตกแรงด้านข้างออกไป ซึ่งต่อมาการดัดแปลงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมา         
จนถึงทุกวันนี้ จึงท�ำให้ท่าว่ายน�้ำมาตรฐานเกิดขึ้นในยุคต่อมาคือ 4 ท่าดังในปัจจุบัน ดังนั้น การแข่งขัน
กีฬาว่ายน�้ำที่ก�ำหนดประเภทของการแข่งขันที่มีมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (History of
Swimming, 2008)
	 1.	 การว่ายน�้ำประเภทฟรีสไตล์ (Freestyle)
	 2.  	การว่ายน�้ำประเภทกรรเชียง (Backstroke)
	 3.  	การว่ายน�้ำประเภทกบ (Breaststroke)
	 4.  	การว่ายน�้ำประเภทผีเสื้อ (Butterflystroke)
	 ใน ค.ศ. 1972 นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อมาร์ค สปิตซ์ (Mark Spitz) ชาว           
อเมริกัน ได้รับชัยชนะรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงมิวนิก ประเทศเยอรมนี        
โดยเขาได้รับชัยชนะถึง 7 เหรียญทอง ซึ่งเป็นนักกีฬาที่ได้รับชัยชนะและได้รางวัลเหรียญทองจากการ
แข่งขันโอลิมปิกมากที่สุดในขณะนั้น และต่อมาใน ค.ศ. 1973 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำ               
ชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกที่กรุงเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย  
	 ใน ค.ศ. 1988 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล นักกีฬาชื่อไดอิชิ ซูซูกิ (Daichi Suzuki)
จากประเทศญี่ปุ่นได้ท�ำการแข่งขันประเภทกรรเชียง โดยใช้การออกตัวเตะเท้าและสะบัดเอวใต้น�้ำ         
แบบปลาโลมาเป็นระยะทาง 33 เมตร และโผล่ขึ้นมาว่ายท่ากรรเชียงก่อนการกลับตัวและเตะเท้า        
สะบัดเอวแบบปลาโลมาใต้น�้ำอีก ซึ่งไม่เคยมีนักกีฬาคนใดท�ำได้มาก่อน โดยเขาได้ท�ำการฝึกเช่นนี้            
มานานถึง 10 ปี ส่งผลให้เขาได้รับชัยชนะในการแข่งขันครั้งนั้น ท�ำให้สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติ           
(FINA) พิจารณาแล้วพบว่ามีการได้เปรียบ และผิดวัตถุประสงค์ของการแข่งขันว่ายน�้ำ (ไม่ใช่การ       
แข่งขันด�ำน�้ำ) สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติจึงได้ท�ำการเปลี่ยนกติกาการออกตัวในการแข่งขันว่ายน�้ำ           
ทุกประเภท เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่ได้มีการได้เปรียบของนักกีฬา จึงจ�ำกัดให้นักกีฬาด�ำน�้ำ
6
ตอนออกตัวเริ่มต้นได้ไกลแค่ 15 เมตรเท่านั้นในการแข่งขันทุกประเภท (History of Swimming,      
2008)  
	 ใน ค.ศ. 2008 การแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงอีก           
คนหนึ่งคือไมเคิล เฟลบ์ (Michael Phelps) ชาวอเมริกันที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ เขาสามารถ      
ได้รับชัยชนะถึง 8 เหรียญทองจากรายการแข่งขันฟรีสไตล์ 200 เมตร ผีเสื้อ 100, 200 เมตร เดี่ยว      
ผสม 200, 400 เมตร ผลัดฟรีสไตล์ 4×100 เมตร 4×200 เมตร และผลัดผสม 4×100 เมตร และ       
ไมเคิล เฟลบ์นี้เป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ได้รับชัยชนะเหรียญทองมากที่สุด  และ
เขาเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำที่ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนาความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึง
ท�ำให้เขาประสบความส�ำเร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีฮีโร่โอลิมปิกที่ผ่านมา (Beijing Summer Olympic
Games, 2008)
ภาพที่ 1.1 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำโอลิมปิกที่มีชื่อเสียง
(Michael Phelps)
ที่มา : Beijing Summer Olympic Games, 2008
	 การแข่งขันว่ายน�้ำในกีฬาโอลิมปิกค.ศ.2012ที่กรุงลอนดอนประเทศสหราชอาณาจักร นักกีฬา
ว่ายน�้ำจากประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อไมเคิล เฟลบ์ (Michael Phelps) ไม่ได้ประสบความส�ำเร็จเท่าที่
ควร แต่มีนักกีฬาว่ายน�้ำหญิงจากประเทศจีนชื่อยี ชิหวิน (Ye Shiwen) ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองและ
ท�ำลายสถิติโลกในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันครั้งนี้เธอได้ว่ายท่า      
ฟรีสไตล์ 100 เมตรสุดท้ายในรายการนี้โดยท�ำเวลาแค่ 58.86 วินาทีเท่านั้น ซึ่งท�ำได้เร็วกว่านักว่ายน�้ำ
ชายชื่อไรอัน ลอชเท (Ryan Lochte) ที่ได้รับชัยชนะในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตรชายเช่นเดียวกัน          
สร้างความสงสัยในความสามารถของเธอ นับว่าเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำมหัศจรรย์คนหนึ่งในการแข่งขัน      
ว่ายน�้ำกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้
7
	 สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้เริ่มรวมตัวก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยพลเรือตรี
สวัสดิ์ ภูติอนันต์ เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกขึ้นมีรายนาม
ดังนี้
	 1.  	พล.ร.ต. สวัสดิ์ ภูติอนันต์	 	 นายกสมาคม
	 2.  	นายกอง วิสุทธารมณ์	 	 	 อุปนายก
	 3.  	ร.ต. ประเวช โภชนสมบูรณ์	 	 เลขานุการ
	 4.  	น.ท. ลัทธิ ตมิสานนท์	 	 	 เหรัญญิก
	 5.  	น.อ. อรุณ รัตตะรังสี      	 	 กรรมการ
	 6.  	น.อ. สถาปน์ เกยานนท์		 	 กรรมการ
	 7.  	น.ต. เดชา เอกก้านตรง		 	 กรรมการ
	 8.  	นายเสรี ไตรรัตน์	 	 	 กรรมการ
	 9.  	นายเฉลิม บุณยะสุนทร		 	 กรรมการ
	 สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมต�ำรวจเมื่อวันที่ 24
มิถุนายน พ.ศ. 2502 และสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ติดต่อเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ของสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) โดยนาวาเอก สุรพล            
ภาพที่ 1.2 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำที่ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 กรุงลอนดอน
จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยี ชิหวิน (Ye Shiwen)
ที่มา : Olympic swimmer, 2012
8
แสงโชติ ทูตทหารเรือไทยในประเทศฝรั่งเศสได้เป็นผู้ติดต่อไปยังนาย บี. ซอลล์ฟอรส์ (B. Sallfors)         
ซึ่งเป็นเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติในขณะนั้น และท่านได้ประจ�ำการอยู่ที่ประเทศสวีเดน ซึ่ง
สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติอย่าง
ถูกต้องในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
	 ใน พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจ�ำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน�้ำ 
มาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน�้ำ และอัฒจันทร์คนดูจ�ำนวน
5,000 ที่นั่งขึ้น ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขันเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.    
2506 ใช้ชื่อว่า สระว่ายน�้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน�้ำวิสุทธารมย์) และสมาคม        
ว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน�้ำแห่งเอเชียใน พ.ศ. 2509
	 ใน พ.ศ. 2548 สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมว่ายน�้ำแห่ง
ประเทศไทย” ชื่อย่อ ส.ว.ท. ชื่อภาษาอังกฤษ THAILAND SWIMMING ASSOCIATION และสมาคม
ว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกีฬาว่ายน�้ำ กระโดดน�้ำ โปโลน�้ำ และระบ�ำ       
ใต้น�้ำ ปัจจุบันสมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทยมีส�ำนักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 286 ห้อง 223-224 สนามกีฬา
ราชมังคลากีฬาสถาน การกีฬาแห่งประเทศไทย ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2369 3680 และนายกสมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย คือ นายณอคุณ  
สิทธิพงษ์ เป็นผู้ส่งเสริมการกีฬาว่ายน�้ำให้เจริญก้าวหน้าดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (สมาคมว่ายน�้ำแห่ง
ประเทศไทย, 2554)    
	 ปัจจุบันกีฬาว่ายน�้ำในประเทศไทยได้รับความสนใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับ
กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน�้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ มีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน
ตลอดทั้งปี และกีฬาว่ายน�้ำถูกบรรจุลงในการแข่งขันระดับประเทศ คือ กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่ง
ประเทศไทย กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ และกีฬาชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นต้น และยังถูก      
บรรจุลงในการแข่งขันระดับนานาชาติที่ส�ำคัญ เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์
	 สมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานถึง 50 กว่าปีแล้ว มีนักกีฬา            
ว่ายน�้ำที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก แต่ผู้ที่ท�ำชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ รัชนีวรรณ
บูลกุล รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ และต่อลาภ เสรฐโสธร เป็นนักกีฬาที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง
จากการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ทั้ง 3 คน ท�ำให้กีฬาว่ายน�้ำเป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนคนรุ่นหลังที่จะ
เจริญรอยตามนักกีฬาที่มีชื่อเสียงเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้      
เป็นประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการว่ายน�้ำ ส่งเสริมสุขภาพพลานามัย รูปร่างทรวดทรงสวยงาม
และท�ำให้ห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย
9
2. ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำ
	 กีฬาว่ายน�้ำเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว       
ของอวัยวะทุกส่วนแล้วยังช่วยส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพทางกายเป็นอย่างดี ดังที่บุญส่ง โกสะ
(2544 : 2) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการว่ายน�้ำไว้ว่า การว่ายน�้ำได้รับการยอมรับจากนักวิชาชีพด้าน
สุขภาพและสมรรถภาพว่าเป็นกิจกรรมที่เกือบจะสมบูรณ์แบบในการพัฒนาสมรรถภาพแบบแอโรบิก
ความอ่อนตัว ความแข็งแรง การกระชับกล้ามเนื้อ และการประสานสัมพันธ์ การว่ายน�้ำเป็นกีฬา                 
ที่ดีมากส�ำหรับการออกก�ำลังกาย ไม่ท�ำให้กล้ามเนื้อและเอ็นยึดกล้ามเนื้อเกิดความเสียหายได้ง่าย           
จึงจัดเป็นกีฬาที่มีการบาดเจ็บน้อยที่สุด
	 นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการว่ายน�้ำไว้ในหลาย ๆ ประการดังนี้ (ประโยชน์ของ
กีฬาว่ายน�้ำ, 2552)
	 1.	 ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ปอด หัวใจ
และระบบต่าง ๆ ได้บริหารเคลื่อนไหวอย่างสม�่ำเสมอ เกิดความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการ
ท�ำงานดีขึ้น
	 2.	 ช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา สติปัญญาของบุคคลจะพัฒนาขึ้นเมื่อได้เรียนรู้หรือรับ
ประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ผ่านเข้ามา และต้องให้ใช้ความคิดวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ว่ายน�้ำ
เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบกัน
	 3.	 ช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์ ท�ำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ในขณะว่ายน�้ำ ผู้เล่นจะมีสมาธิ        
อยู่กับการว่ายน�้ำเป็นเวลานาน จนร่างกายมีสมรรถภาพดีแล้วยังท�ำให้อารมณ์มั่นคงด้วย
	 4.	 ช่วยพัฒนาทางด้านสังคม การฝึกกีฬาว่ายน�้ำให้คุณค่าที่ดีแก่เยาวชน สมาชิกในครอบครัว              
ได้พักผ่อนอย่างมีความสุข สนุกสนานร่วมกัน ประชาชนทุกวัยได้สมาคมช่วยเหลือกัน
	 รัชนีวรรณ บูลกุล	 รัฐพงศ์  ศิริสานนท์	 ต่อลาภ เสรฐโสธร
ภาพที่ 1.3 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำไทยที่ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเอเชียนเกมส์
ที่มา : สมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย, 2552
10
	 5.	 กีฬาว่ายน�้ำน�ำชื่อเสียงมาให้บุคคลและประเทศชาติ นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีความสามารถจะ      
เป็นที่รู้จักแพร่หลายและได้รับการยกย่องจากผู้อื่น ถ้าเอาชนะในการแข่งขันส�ำคัญ ๆ ในระดับ              
นานาชาติก็ท�ำให้น�ำชื่อเสียงมาสู่ประเทศได้
	 6.	 นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขัน จะมีสโมสรจองตัวเพื่อมาเป็นนักกีฬาของตน
สามารถท�ำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว สามารถท�ำหน้าที่เป็นครูผู้สอนและผู้ฝึกสอนนักกีฬา              
ท�ำในลักษณะงานพิเศษหรืองานประจ�ำได้
	 7.	 ช่วยให้บุคคลใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ท�ำให้สนุกสนานให้คุณค่าทางกิจกรรมนันทนาการ
	 8.	 ช่วยบ�ำบัดจิตใจและร่างกายให้กับบุคคลที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ตาบอด อัมพาต เป็นง่อย           
พิการ และคนที่ได้รับบาดเจ็บที่ต้องใช้การว่ายน�้ำช่วยเหลือ แก้ไข เพื่อฟื้นฟูสภาพที่ผิดปกติให้ดีขึ้น
	 ปัจจุบันกีฬาว่ายน�้ำเป็นที่นิยมมากส�ำหรับประชาชนทั่วไป ดังจะเห็นได้จากมีจ�ำนวนสระ              
ว่ายน�้ำเพิ่มมากขึ้น ทั้งสระส่วนตัวและสระที่เป็นสาธารณะ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน               
ว่ายน�้ำในโรงเรียนทุกระดับ ตลอดจนหมู่บ้านที่มีสระว่ายน�้ำ และสโมสรกีฬาว่ายน�้ำ เมื่อเยาวชนได้รับ
การสอนจนว่ายน�้ำได้อย่างดีแล้ว สามารถเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำจ�ำนวนมาก จนท�ำให้กีฬา          
ว่ายน�้ำเป็นที่นิยมแข่งขันในทุกระดับตั้งแต่เยาวชนจนถึงกีฬาโอลิมปิก ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากปัจจุบัน
ประชาชนได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการว่ายน�้ำที่ช่วยท�ำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้มีพัฒนาการทุก ๆ
ด้าน เป็นการออกก�ำลังกายที่ใช้อวัยวะทุกส่วน และไม่มีผลเสียที่เกิดจากแรงกระแทกดังเช่นกีฬา               
ที่เล่นอยู่บนพื้นดินโดยทั่วไป
	 สรุปได้ว่า ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำนั้นสนองความต้องการของแต่ละบุคคลในทุก ๆ ด้าน ทั้ง
ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้
เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ใช้ในการกายภาพบ�ำบัดส�ำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บจากอวัยวะ      
ต่าง ๆ ได้ ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด ช่วยรักษาความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ท�ำให้                
รูปร่างทรวดทรงสวยงาม ประการส�ำคัญที่สุดคือ ผู้ที่ว่ายน�้ำเป็นยังสามารถช่วยชีวิตตนเองและผู้อื่น       
เมื่อเกิดอุบัติภัยทางน�้ำ ถ้ารู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เป็นการลดการสูญเสีย ตลอดจนถ้ามีความ
สามารถทางการสอนก็สามารถน�ำไปประกอบอาชีพเป็นผู้สอนว่ายน�้ำได้และถ้าว่ายน�้ำได้อย่างช�ำนาญ
จนเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงแล้วยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศ       
ชาติได้
3. สุขปฏิบัติ ข้อบังคับ ความปลอดภัย และมารยาทในการว่ายน�้ำ
	 การว่ายน�้ำเป็นกิจกรรมโดยทั่วไปที่ทุกคนที่ว่ายน�้ำเป็นสามารถเข้าร่วมได้ และท�ำให้สนุกสนาน
แต่ยังมีหลักที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในขั้นต้นในขณะที่ประกอบกิจกรรมทางน�้ำ ซึ่งประกอบไป
ด้วยหลายสถานที่ เช่น สระว่ายน�้ำ แม่น�้ำ ล�ำคลอง ชายทะเล จะต้องมีหลักความปลอดภัยดังต่อไปนี้

More Related Content

Viewers also liked

โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์พัน พัน
 
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านapiradee037
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานaragamammy
 
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5Kruthai Kidsdee
 
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนโครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนBlogAseanTraveler
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มGuntima NaLove
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001Thidarat Termphon
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแวมไพร์ แวมไพร์
 
เรื่อง ภาวะโลกร้อน
เรื่อง ภาวะโลกร้อนเรื่อง ภาวะโลกร้อน
เรื่อง ภาวะโลกร้อนBangk Thitisak
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตSarocha Makranit
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์Narinthip Wakuram
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดพัน พัน
 

Viewers also liked (15)

โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
 
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
 
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนโครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
โครงงาน Blog 5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
เรื่อง ภาวะโลกร้อน
เรื่อง ภาวะโลกร้อนเรื่อง ภาวะโลกร้อน
เรื่อง ภาวะโลกร้อน
 
รายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ตรายงานอินเทอร์เน็ต
รายงานอินเทอร์เน็ต
 
009 รายงาน
009 รายงาน009 รายงาน
009 รายงาน
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331407

  • 1. เนื้อหา 1. ประวัติของกีฬาว่ายน�้ำ 2. ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำ 3. สุขปฏิบัติ ข้อบังคับ ความปลอดภัย และมารยาทในการว่ายน�้ำ 4. ประเภทของสระว่ายน�้ำ 1. ประวัติของกีฬาว่ายน�้ำ การว่ายน�้ำในยุคโบราณนั้นได้เริ่มมีการบันทึกไว้ครั้งแรกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการ ค้นพบภาพที่ถูกวาดไว้ในถ�้ำสมัยยุคหินประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว ภาพที่ถูกพบนั้นเป็นภาพแสดงคน ก�ำลังว่ายน�้ำท่ากบ และท่าลูกหมาตกน�้ำ (Dogpaddle) ภาพที่แสดงการว่ายน�้ำ ในยุคนั้นเป็นการ แสดงออกถึงพิธีกรรมทางศาสนา และต่อมาได้มีการเขียนบันทึกเกี่ยวกับการว่ายน�้ำของมนุษย์เป็น ครั้งแรกเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยบันทึกไว้ในส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งกล่าวถึงการว่ายน�้ำ ของกิลกาเมช (Gilgamesh) อิเลียด (Iliad) และโอดิสซีย์ (Odyssey) (History of Swimming, 2008) การว่ายน�้ำในยุคต่อมาเป็นการว่ายน�้ำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการหลบหลีกจากภยันตราย และ ใช้ในการสงครามแย่งชิงการเป็นประเทศมหาอ�ำนาจในทวีปยุโรป เช่น การสงครามยุคเรือใบที่ได้ กล่าวถึงทหารที่หลบหนีข้าศึกโดยการว่ายน�้ำหนีศัตรู ลักษณะของการว่ายน�้ำในยุคนั้นเป็นการพยุงตัว ให้ลอยโดยการถีบเท้าขึ้น-ลงใต้น�้ำ และมือทั้งสองพุ้ยน�้ำออกไปด้านข้างซึ่งเรียกการว่ายน�้ำแบบนี้ว่าท่า ลูกหมาตกน�้ำ ต่อมาชาวอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้มีวิธีการว่ายน�้ำที่แปลกไปจากท่า ลูกหมาตกน�้ำในทวีปยุโรป คือมีการดัดแปลงท่าว่ายเป็นการใช้การยกแขนกลับขึ้นเหนือน�้ำหลังจาก ได้พุ้ยน�้ำมาแล้ว คล้ายกับการว่ายในท่าวัดวาในปัจจุบัน ซึ่งดูได้จากภาพที่สลักลงบนหินหรือสลักบน ฝาผนังถ�้ำในนครปอมเปอี ที่แสดงท่ามนุษย์ว่ายในน�้ำและลอยคออยู่ในน�้ำ ในยุคความเจริญของ บ ท ที่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการว่ายน�้ำ 1
  • 2. 2 ตะวันออกกลางจะพบภาพบนแผ่นฝาผนัง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์นั้นสามารถว่ายน�้ำได้ และการบันทึก ต�ำราการว่ายน�้ำได้ถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1539 โดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมันชื่อนิโคลาส ไวน์แมนน์ (Nikolaus Wynmann) หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงวิธีการว่ายน�้ำท่าต่าง ๆ และวิธีช่วยคน จมน�้ำ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการลดอันตรายจากการจมน�้ำ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีประโยชน์สูงในการ เผยแพร่วิธีการว่ายน�้ำ และลดการสูญเสียจากการจมน�้ำตายเป็นจ�ำนวนมาก การว่ายน�้ำได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำในศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งในระยะแรกนี้ท่าที่ใช้ในการแข่งขันจะเป็นท่ากบ ต่อมาได้มีการก่อตั้งสโมสรว่ายน�้ำขึ้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1837 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี (History of Swimming, 2008) และจัดการแข่งขัน กีฬาว่ายน�้ำเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1837 โดยมีการจัดการแข่งขันขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่สระว่ายน�้ำธรรมชาติ และกีฬาว่ายน�้ำได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในระยะถัดมา ได้มีการสร้างสระ ว่ายน�้ำมากขึ้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1880 มีการก่อตั้งสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งสหราชอาณาจักรขึ้น โดยมีสโมสรสมาชิกถึง 300 แห่ง ซึ่งเป็นสมาคมว่ายน�้ำแห่งแรกที่มีสโมสรสมาชิกจ�ำนวนมากขนาดนี้ (The Origins and Roots of Swimming Facts and Information about Collegiate Swimming and Diving, 2008) ค.ศ. 1844 นักกีฬาว่ายน�้ำชาวอเมริกันชื่อฟลายอิง กัล (Flying Gul) และโทแบคโค (Tobacco) ได้รับเชิญจากสมาคมกีฬาอังกฤษไปแข่งขันว่ายน�้ำที่กรุงลอนดอน และทั้ง 2 คนแข่งขันโดยใช้ ท่าว่ายน�้ำในท่าวัดวา หรือที่เรียกกันว่า “ท่าครอว์ล” (Crawl Stroke) โดยการพลิกหน้าหายใจเพียง ด้านเดียวท�ำให้มีการเพิ่มความเร็วในการว่าย และการว่ายน�้ำท่าครอว์ลนี้ได้เป็นที่นิยมในเวลาต่อมา (เทเวศร์ พิริยะพฤนท์, 2527 : 3) และใน ค.ศ. 1873 ได้มีการแข่งขันว่ายน�้ำขึ้นอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกที่สระว่ายน�้ำวูลวิช บาธส์ (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การแข่งขันครั้งนี้มีการแข่งขันเพียงประเภทเดียวคือไม่จ�ำกัดแบบ ใครจะว่ายแบบใด ๆ ก็ได้ และ นายจอห์น อาร์เธอร์ ทรัดเจน (John Arthur Trudgen) ได้รับชัยชนะโดยที่เขาได้ดัดแปลงวิธีว่ายน�้ำ ของชาวอินเดียนแดงในอเมริกาใต้ที่ใช้การว่ายน�้ำแบบแฮนด์โอเวอร์แฮนด์ (Hand over Hand) มาเป็นการว่ายน�้ำแบบสลับแขนทีละข้าง พร้อมกับบิดล�ำตัวตะแคงไปตามจังหวะของแขนแต่ละข้าง และใช้การเตะเท้าแบบกรรไกรที่ท�ำให้เขาว่ายน�้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับชัยชนะในที่สุด (History of Swimming, 2008) ค.ศ. 1875 นาวาเอก แมทธิว เวบบ์ (Captain Matthew Webb) ได้ประสบความส�ำเร็จใน การว่ายน�้ำข้ามช่องแคบอังกฤษโดยเริ่มจากฝั่งโดเวอร์ถึงฝรั่งเศสที่แหลมกรีชเนซ (Grisnez) เป็นระยะ ทาง 23 ไมล์ (35 กิโลเมตร) ใช้เวลาทั้งหมด 21 ชั่วโมง 45 นาที โดยใช้การว่ายท่ากบ การว่ายน�้ำข้าม ช่องแคบอังกฤษครั้งนั้นท�ำให้มีผู้สนใจการว่ายน�้ำมากมายจนกระทั่งต่อมามีการเปิดการแข่งขันว่ายน�้ำ ข้ามช่องแคบอังกฤษขึ้นและกลายเป็นประเพณีในที่สุด ต่อมาเฟรเดอร์ริค คาวิลล์ (Frederick Cavill) ได้พาภรรยาและบุตรอีก 6 คนไปท่องทะเลใต้ และได้ศึกษาวิธีการว่ายน�้ำแบบอเมริกันอินเดียน
  • 3. 3 อย่างละเอียด โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้เท้าเตะสลับขึ้น-ลงแทนการถีบเท้าสลับใต้น�้ำ เขาได้ น�ำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้กับเด็กชาวอังกฤษที่ใช้เท้าเตะตามธรรมชาติ โดยเปลี่ยนเป็นการเตะเท้า แบบอเมริกันอินเดียนท�ำให้การว่ายน�้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และใน ค.ศ. 1902 บุตรชายของเขาคือ ริชาร์ด คาวิลล์ (Richard Cavill) ได้ท�ำลายสถิติการว่ายน�้ำ 100 หลา ด้วยเวลา 58.6 วินาที การ ว่ายน�้ำในลักษณะนี้ท�ำให้ผู้ว่ายสามารถลบสถิติได้ตลอดเวลา จนท�ำให้กีฬาว่ายน�้ำกลายเป็นกีฬาที่มี ความนิยมสูงในหมู่เกาะอังกฤษและในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาผู้ฝึกสอนว่ายน�้ำทั้งหลายพยายาม คิดค้นวิธีการว่ายน�้ำที่สามารถว่ายได้เร็วกว่าแบบเดิม คือท่าว่ายน�้ำแบบออสเตรเลียครอว์ลได้ถูกดัด แปลง โดยเปลี่ยนแปลงการใช้แขนและเท้าในการว่ายให้มีความสัมพันธ์กัน และปรับวิธีหายใจ คว�่ำหน้า หายใจออกในน�้ำทางจมูกและทางปาก และหายใจเข้าโดยเงยหน้าขึ้นตรง ๆ เข้าทางปากอย่างเดียว ซึ่งวิธีการว่ายน�้ำที่ดัดแปลงใหม่นี้เรียกว่า แบบอเมริกันครอว์ล (American Crawl Stroke) และผล จากการดัดแปลงนี้ท�ำให้การว่ายน�้ำแบบครอว์ลว่ายได้เร็วขึ้น จากสถิติการแข่งขันว่ายน�้ำชิงแชมป์โลก ใน ค.ศ. 1906 ประเภทฟรีสไตล์ระยะทาง 100 หลา ชาร์ล เอ็ม. แดเนียลส์ (Charles M. Danials) นักกีฬาว่ายน�้ำชาวอเมริกันเป็นผู้ชนะเลิศ ท�ำเวลาได้ 55.4 วินาที โดยใช้ท่าว่ายน�้ำแบบอเมริกัน ครอว์ล (ทวีศักดิ์ นาราษฎร์, 2538 : 7) ประวัติการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1896 กีฬาว่ายน�้ำ ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่เป็นครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ การแข่งขัน ว่ายน�้ำได้ถูกจัดขึ้นที่อ่าวซี (Zea Bay) มีการจัดการแข่งขัน 4 รายการ คือ ฟรีสไตล์ 100 และประเภท ทหารเรือ 100 เมตร 500 เมตร และ 1,200 เมตร รายการแข่งขันที่ 1 ฟรีสไตล์ 100 เมตร ชนะเลิศในรายการนี้คือ อัลเฟรด ฮาจอส (Alfred Hajos) ท�ำเวลาได้ 1 นาที 22.20 วินาที และเขายังชนะในการแข่งขันทหารเรือ 1,200 เมตรอีกด้วย รายการแข่งขันที่ 2 ประเภททหารเรือ 100 เมตร ทหารเรือชื่อ มาโลคินิส (Malokinis) เป็น ผู้ชนะเลิศ รายการแข่งขันที่ 3 ทหารเรือ 500 เมตร นักว่ายน�้ำจากออสเตรียชื่อนิวมานน์ (Neumann) ชนะในรายการนี้โดยใช้เวลาว่าย 8 นาที 12.75 วินาที การแข่งขันว่ายน�้ำทั้ง 4 รายการ ใช้เวลาเพียงครึ่งวันเท่านั้น และเป็นจุดก�ำเนิดของกีฬาว่ายน�้ำ โอลิมปิกเกมส์ (History of Swimming, 2008) ใน ค.ศ. 1900 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเจ้าภาพ ได้เริ่มบรรจุการว่ายน�้ำประเภทกรรเชียงระยะทาง 100 เมตรเข้าไปด้วย โดยแยกออกเป็นท่าว่ายน�้ำ อีกประเภทหนึ่งแตกต่างออกไปจากประเภทฟรีสไตล์ และ ค.ศ. 1907 นักกีฬาชื่อแอนเนตต์ เคลเลอร์- แมน (Annette Kellerman) จากประเทศออสเตรเลียได้ไปร่วมการแข่งขันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเธอได้สาธิตการแสดงระบ�ำใต้น�้ำขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนั้น ค.ศ. 1908 สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติ หรือ Federation International de Natation
  • 4. 4 Amateur มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า “FINA” ได้ก�ำเนิดขึ้นในปีนี้ โดยมีประเทศอังกฤษเป็นผู้ริเริ่ม และมี บทบาทในการก่อตั้ง มีประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนหลายประเทศ เช่น กรีซ สหรัฐอเมริกา ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮอลแลนด์ เม็กซิโก ฯลฯ หลังจากก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นแล้วสมาชิกจากประเทศ ต่าง ๆ ทั้งหมดได้ลงคะแนนเสียงแต่งตั้งให้นายจี. ดับบลิว. ฮีน (G. W. Hean) ผู้แทนสโมสรว่ายน�้ำของ อังกฤษเป็นเลขานุการและเหรัญญิกของสหพันธ์เรื่อยมาถึง 16 ปี โดยไม่มีประธานสหพันธ์ จนกระทั่ง ค.ศ. 1924 ที่ประชุมจึงได้เลือกนายอีริค เบกวอลล์ (Erik Beagvall) ชาวสวีเดน ขึ้นเป็นประธาน สหพันธ์เป็นคนแรก และประธานสหพันธ์ได้เลือกเลขานุการและเหรัญญิกคนเดิมคือ นายจี. ดับบลิว. ฮีน ท�ำหน้าที่ต่อไปอีก 4 ปี จึงได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ใน ค.ศ. 1928 และมีการเลือกตั้ง ใหม่ทุก 4 ปี ค.ศ. 1912 ได้มีการแข่งขันว่ายน�้ำหญิงเข้าไปในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่กรุง สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน การแข่งขันครั้งนี้ ดุค คาฮานาโมกุ (Duke Kahanamoku) แห่งฮาวาย ได้ใช้การว่ายน�้ำแบบเตะเท้า 6 ครั้งต่อ 1 รอบ ซึ่งเขาได้ฝึกมาจากชนพื้นเมือง ท�ำให้เขาได้รับชัยชนะ ในรายการฟรีสไตล์ 100 เมตร การแข่งขันครั้งนี้ประกอบด้วยนักกีฬาชายคือ ฟรีสไตล์ 100, 400 และ 1,500 เมตร ผลัดฟรีสไตล์ 4x200 เมตร กรรเชียง 100 เมตร กบ 200 และ 400 เมตร และ นักกีฬาหญิงฟรีสไตล์ 100 เมตร และ 4x100 เมตร ค.ศ. 1922 จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ (Johnny Weissmuller) คือคนแรกที่ท�ำสถิติต�่ำกว่า 1 นาที ในการว่ายน�้ำ 100 เมตร โดยใช้การเตะเท้าแบบ 6 ครั้งต่อ 1 รอบ เขาได้รับชัยชนะ 5 เหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และไม่เคยแพ้ใครในการแข่งขันว่ายน�้ำระดับชาติ 36 ครั้ง ตลอดระยะ เวลา 10 ปี โดยที่สถิติของเขาคงอยู่ถึง 17 ปี ในการว่ายน�้ำ 100 หลา (91 เมตร) เขาท�ำเวลาได้ 51 วินาที และภายหลังจากอ�ำลาวงการว่ายน�้ำ เขาได้เริ่มอาชีพใหม่คือนักแสดงในหนังเรื่องทาร์ซาน ที่ ท�ำให้เขามีชื่อเสียงมากและเป็นที่รู้จักกันทั่วในระยะเวลาต่อมา ต่อมาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกใน ค.ศ. 1924 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เริ่มมีการใช้ทุ่นแบ่งลู่ว่ายของนักกีฬาแต่ละคน และมีการ เขียนเส้นก�ำกับช่องว่ายที่ใต้พื้นสระแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้นักกีฬาได้ใช้ในการมองเห็นและ ก�ำกับเส้นในขณะแข่งขันดังเช่นที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบัน (History of Swimming, 2008) การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาการว่ายน�้ำเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1928 ผู้ฝึกสอนจาก มหาวิทยาลัยไอโอวา ชื่อเดวิด อาร์มบรัสเตอร์ (David Armbruster) เขาท�ำการศึกษาปัญหาที่ท�ำให้ นักกีฬาว่ายท่ากบช้าลงในขณะที่ดึงแขนกลับใต้น�้ำไปทางด้านหน้าโดยใช้การถ่ายภาพใต้น�้ำ ซึ่งเขาได้ ลดแรงต้านดังกล่าวโดยการยกแขนกลับไปทางด้านหน้าเหนือผิวน�้ำ เทคนิคนี้ท�ำให้เพิ่มความเร็วขึ้น และใน ค.ศ. 1935 นักกีฬาว่ายน�้ำชื่อแจค เสย์จ (Jack Sieg) จากไอโอวา ได้พัฒนาเทคนิคของเดวิด อาร์มบรัสเตอร์ โดยยกแขนกลับไปทางด้านข้างและใช้การเตะเท้าเหมือนกับการสะบัดหางขึ้น-ลงของ ปลาโลมา (Dolphin Kick) 2 ครั้งต่อ 1 รอบ เขาสามารถท�ำสถิติว่ายน�้ำ 100 หลา (91 เมตร) เท่ากับ 1 นาที 0.2 วินาที อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้ท�ำให้ว่ายน�้ำได้เร็วกว่าการว่ายน�้ำท่ากบปกติ และมีนักกีฬา
  • 5. 5 ที่นิยมว่ายน�้ำท่ากบแต่เตะเท้าแบบปลาโลมาเช่นนี้จ�ำนวนมาก ต่อมามีการพิจารณาว่าการท�ำเช่นนี้ เป็นการท�ำผิดกติกาการแข่งขันว่ายน�้ำท่ากบ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1952 ได้มีการยอมรับว่าท่าว่ายน�้ำนี้ เป็นท่าว่ายน�้ำใหม่เพิ่มขึ้นเรียกว่าท่าผีเสื้อ และมีการจัดท�ำกติกาท่าว่ายน�้ำท่านี้ขึ้นอีกท่าหนึ่งในการ แข่งขัน (History of Swimming, 2008) ต่อมาใน ค.ศ. 1953 สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติได้พิจารณา เห็นว่าการแข่งขันว่ายน�้ำนั้นมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก จึงได้ลงมติให้แยกประเภทผีเสื้อขากบ และผีเสื้อขาแบบปลาโลมาสะบัดหางออกเป็นอีกประเภทหนึ่งต่างจากการว่ายประเภทกบ ฉะนั้นการ ว่ายน�้ำประเภทกบจึงเป็นท่าว่ายที่ช้าที่สุด และการว่ายน�้ำท่ากบกับการว่ายน�้ำท่าผีเสื้อก็ถูกแยกออก จากกันตั้งแต่ ค.ศ. 1956 (ทวีศักดิ์ นาราษฎร์, 2538 : 9) ในระหว่าง ค.ศ. 1935-1945 ได้มีการดัดแปลงท่าว่ายกรรเชียงโดยอดอล์ฟ ไคย์เฟอร์ (Adolph Kiefer) นักกีฬาว่ายน�้ำชาวออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีการดึงแขนใต้น�้ำในการว่ายน�้ำท่ากรรเชียงนี้โดย ใช้การงอแขนท�ำให้เพิ่มความเร็วในแนวนอนและลดแรงสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแนวดิ่ง และแรงสูญเปล่า ที่เกิดขึ้นจากการแตกแรงด้านข้างออกไป ซึ่งต่อมาการดัดแปลงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมา จนถึงทุกวันนี้ จึงท�ำให้ท่าว่ายน�้ำมาตรฐานเกิดขึ้นในยุคต่อมาคือ 4 ท่าดังในปัจจุบัน ดังนั้น การแข่งขัน กีฬาว่ายน�้ำที่ก�ำหนดประเภทของการแข่งขันที่มีมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (History of Swimming, 2008) 1. การว่ายน�้ำประเภทฟรีสไตล์ (Freestyle) 2. การว่ายน�้ำประเภทกรรเชียง (Backstroke) 3. การว่ายน�้ำประเภทกบ (Breaststroke) 4. การว่ายน�้ำประเภทผีเสื้อ (Butterflystroke) ใน ค.ศ. 1972 นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อมาร์ค สปิตซ์ (Mark Spitz) ชาว อเมริกัน ได้รับชัยชนะรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงมิวนิก ประเทศเยอรมนี โดยเขาได้รับชัยชนะถึง 7 เหรียญทอง ซึ่งเป็นนักกีฬาที่ได้รับชัยชนะและได้รางวัลเหรียญทองจากการ แข่งขันโอลิมปิกมากที่สุดในขณะนั้น และต่อมาใน ค.ศ. 1973 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำ ชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกที่กรุงเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย ใน ค.ศ. 1988 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล นักกีฬาชื่อไดอิชิ ซูซูกิ (Daichi Suzuki) จากประเทศญี่ปุ่นได้ท�ำการแข่งขันประเภทกรรเชียง โดยใช้การออกตัวเตะเท้าและสะบัดเอวใต้น�้ำ แบบปลาโลมาเป็นระยะทาง 33 เมตร และโผล่ขึ้นมาว่ายท่ากรรเชียงก่อนการกลับตัวและเตะเท้า สะบัดเอวแบบปลาโลมาใต้น�้ำอีก ซึ่งไม่เคยมีนักกีฬาคนใดท�ำได้มาก่อน โดยเขาได้ท�ำการฝึกเช่นนี้ มานานถึง 10 ปี ส่งผลให้เขาได้รับชัยชนะในการแข่งขันครั้งนั้น ท�ำให้สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติ (FINA) พิจารณาแล้วพบว่ามีการได้เปรียบ และผิดวัตถุประสงค์ของการแข่งขันว่ายน�้ำ (ไม่ใช่การ แข่งขันด�ำน�้ำ) สหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติจึงได้ท�ำการเปลี่ยนกติกาการออกตัวในการแข่งขันว่ายน�้ำ ทุกประเภท เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่ได้มีการได้เปรียบของนักกีฬา จึงจ�ำกัดให้นักกีฬาด�ำน�้ำ
  • 6. 6 ตอนออกตัวเริ่มต้นได้ไกลแค่ 15 เมตรเท่านั้นในการแข่งขันทุกประเภท (History of Swimming, 2008) ใน ค.ศ. 2008 การแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงอีก คนหนึ่งคือไมเคิล เฟลบ์ (Michael Phelps) ชาวอเมริกันที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ เขาสามารถ ได้รับชัยชนะถึง 8 เหรียญทองจากรายการแข่งขันฟรีสไตล์ 200 เมตร ผีเสื้อ 100, 200 เมตร เดี่ยว ผสม 200, 400 เมตร ผลัดฟรีสไตล์ 4×100 เมตร 4×200 เมตร และผลัดผสม 4×100 เมตร และ ไมเคิล เฟลบ์นี้เป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ได้รับชัยชนะเหรียญทองมากที่สุด และ เขาเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำที่ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนาความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึง ท�ำให้เขาประสบความส�ำเร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีฮีโร่โอลิมปิกที่ผ่านมา (Beijing Summer Olympic Games, 2008) ภาพที่ 1.1 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำโอลิมปิกที่มีชื่อเสียง (Michael Phelps) ที่มา : Beijing Summer Olympic Games, 2008 การแข่งขันว่ายน�้ำในกีฬาโอลิมปิกค.ศ.2012ที่กรุงลอนดอนประเทศสหราชอาณาจักร นักกีฬา ว่ายน�้ำจากประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อไมเคิล เฟลบ์ (Michael Phelps) ไม่ได้ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ ควร แต่มีนักกีฬาว่ายน�้ำหญิงจากประเทศจีนชื่อยี ชิหวิน (Ye Shiwen) ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองและ ท�ำลายสถิติโลกในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันครั้งนี้เธอได้ว่ายท่า ฟรีสไตล์ 100 เมตรสุดท้ายในรายการนี้โดยท�ำเวลาแค่ 58.86 วินาทีเท่านั้น ซึ่งท�ำได้เร็วกว่านักว่ายน�้ำ ชายชื่อไรอัน ลอชเท (Ryan Lochte) ที่ได้รับชัยชนะในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตรชายเช่นเดียวกัน สร้างความสงสัยในความสามารถของเธอ นับว่าเป็นนักกีฬาว่ายน�้ำมหัศจรรย์คนหนึ่งในการแข่งขัน ว่ายน�้ำกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้
  • 7. 7 สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้เริ่มรวมตัวก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยพลเรือตรี สวัสดิ์ ภูติอนันต์ เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกขึ้นมีรายนาม ดังนี้ 1. พล.ร.ต. สวัสดิ์ ภูติอนันต์ นายกสมาคม 2. นายกอง วิสุทธารมณ์ อุปนายก 3. ร.ต. ประเวช โภชนสมบูรณ์ เลขานุการ 4. น.ท. ลัทธิ ตมิสานนท์ เหรัญญิก 5. น.อ. อรุณ รัตตะรังสี กรรมการ 6. น.อ. สถาปน์ เกยานนท์ กรรมการ 7. น.ต. เดชา เอกก้านตรง กรรมการ 8. นายเสรี ไตรรัตน์ กรรมการ 9. นายเฉลิม บุณยะสุนทร กรรมการ สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมต�ำรวจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 และสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ติดต่อเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก ของสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) โดยนาวาเอก สุรพล ภาพที่ 1.2 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำที่ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 กรุงลอนดอน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยี ชิหวิน (Ye Shiwen) ที่มา : Olympic swimmer, 2012
  • 8. 8 แสงโชติ ทูตทหารเรือไทยในประเทศฝรั่งเศสได้เป็นผู้ติดต่อไปยังนาย บี. ซอลล์ฟอรส์ (B. Sallfors) ซึ่งเป็นเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติในขณะนั้น และท่านได้ประจ�ำการอยู่ที่ประเทศสวีเดน ซึ่ง สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกสหพันธ์ว่ายน�้ำนานาชาติอย่าง ถูกต้องในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) ใน พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจ�ำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน�้ำ มาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน�้ำ และอัฒจันทร์คนดูจ�ำนวน 5,000 ที่นั่งขึ้น ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขันเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 ใช้ชื่อว่า สระว่ายน�้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน�้ำวิสุทธารมย์) และสมาคม ว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน�้ำแห่งเอเชียใน พ.ศ. 2509 ใน พ.ศ. 2548 สมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมว่ายน�้ำแห่ง ประเทศไทย” ชื่อย่อ ส.ว.ท. ชื่อภาษาอังกฤษ THAILAND SWIMMING ASSOCIATION และสมาคม ว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนกีฬาว่ายน�้ำ กระโดดน�้ำ โปโลน�้ำ และระบ�ำ ใต้น�้ำ ปัจจุบันสมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทยมีส�ำนักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 286 ห้อง 223-224 สนามกีฬา ราชมังคลากีฬาสถาน การกีฬาแห่งประเทศไทย ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2369 3680 และนายกสมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย คือ นายณอคุณ สิทธิพงษ์ เป็นผู้ส่งเสริมการกีฬาว่ายน�้ำให้เจริญก้าวหน้าดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (สมาคมว่ายน�้ำแห่ง ประเทศไทย, 2554) ปัจจุบันกีฬาว่ายน�้ำในประเทศไทยได้รับความสนใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับ กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน�้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ มีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน ตลอดทั้งปี และกีฬาว่ายน�้ำถูกบรรจุลงในการแข่งขันระดับประเทศ คือ กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่ง ประเทศไทย กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ และกีฬาชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นต้น และยังถูก บรรจุลงในการแข่งขันระดับนานาชาติที่ส�ำคัญ เช่น ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ สมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานถึง 50 กว่าปีแล้ว มีนักกีฬา ว่ายน�้ำที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก แต่ผู้ที่ท�ำชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ รัชนีวรรณ บูลกุล รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ และต่อลาภ เสรฐโสธร เป็นนักกีฬาที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง จากการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ทั้ง 3 คน ท�ำให้กีฬาว่ายน�้ำเป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนคนรุ่นหลังที่จะ เจริญรอยตามนักกีฬาที่มีชื่อเสียงเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการว่ายน�้ำ ส่งเสริมสุขภาพพลานามัย รูปร่างทรวดทรงสวยงาม และท�ำให้ห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย
  • 9. 9 2. ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำ กีฬาว่ายน�้ำเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ของอวัยวะทุกส่วนแล้วยังช่วยส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพทางกายเป็นอย่างดี ดังที่บุญส่ง โกสะ (2544 : 2) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการว่ายน�้ำไว้ว่า การว่ายน�้ำได้รับการยอมรับจากนักวิชาชีพด้าน สุขภาพและสมรรถภาพว่าเป็นกิจกรรมที่เกือบจะสมบูรณ์แบบในการพัฒนาสมรรถภาพแบบแอโรบิก ความอ่อนตัว ความแข็งแรง การกระชับกล้ามเนื้อ และการประสานสัมพันธ์ การว่ายน�้ำเป็นกีฬา ที่ดีมากส�ำหรับการออกก�ำลังกาย ไม่ท�ำให้กล้ามเนื้อและเอ็นยึดกล้ามเนื้อเกิดความเสียหายได้ง่าย จึงจัดเป็นกีฬาที่มีการบาดเจ็บน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการว่ายน�้ำไว้ในหลาย ๆ ประการดังนี้ (ประโยชน์ของ กีฬาว่ายน�้ำ, 2552) 1. ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ปอด หัวใจ และระบบต่าง ๆ ได้บริหารเคลื่อนไหวอย่างสม�่ำเสมอ เกิดความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการ ท�ำงานดีขึ้น 2. ช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา สติปัญญาของบุคคลจะพัฒนาขึ้นเมื่อได้เรียนรู้หรือรับ ประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ผ่านเข้ามา และต้องให้ใช้ความคิดวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ว่ายน�้ำ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบกัน 3. ช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์ ท�ำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ในขณะว่ายน�้ำ ผู้เล่นจะมีสมาธิ อยู่กับการว่ายน�้ำเป็นเวลานาน จนร่างกายมีสมรรถภาพดีแล้วยังท�ำให้อารมณ์มั่นคงด้วย 4. ช่วยพัฒนาทางด้านสังคม การฝึกกีฬาว่ายน�้ำให้คุณค่าที่ดีแก่เยาวชน สมาชิกในครอบครัว ได้พักผ่อนอย่างมีความสุข สนุกสนานร่วมกัน ประชาชนทุกวัยได้สมาคมช่วยเหลือกัน รัชนีวรรณ บูลกุล รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ ต่อลาภ เสรฐโสธร ภาพที่ 1.3 แสดงนักกีฬาว่ายน�้ำไทยที่ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ที่มา : สมาคมว่ายน�้ำแห่งประเทศไทย, 2552
  • 10. 10 5. กีฬาว่ายน�้ำน�ำชื่อเสียงมาให้บุคคลและประเทศชาติ นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีความสามารถจะ เป็นที่รู้จักแพร่หลายและได้รับการยกย่องจากผู้อื่น ถ้าเอาชนะในการแข่งขันส�ำคัญ ๆ ในระดับ นานาชาติก็ท�ำให้น�ำชื่อเสียงมาสู่ประเทศได้ 6. นักกีฬาว่ายน�้ำที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขัน จะมีสโมสรจองตัวเพื่อมาเป็นนักกีฬาของตน สามารถท�ำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว สามารถท�ำหน้าที่เป็นครูผู้สอนและผู้ฝึกสอนนักกีฬา ท�ำในลักษณะงานพิเศษหรืองานประจ�ำได้ 7. ช่วยให้บุคคลใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ท�ำให้สนุกสนานให้คุณค่าทางกิจกรรมนันทนาการ 8. ช่วยบ�ำบัดจิตใจและร่างกายให้กับบุคคลที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ตาบอด อัมพาต เป็นง่อย พิการ และคนที่ได้รับบาดเจ็บที่ต้องใช้การว่ายน�้ำช่วยเหลือ แก้ไข เพื่อฟื้นฟูสภาพที่ผิดปกติให้ดีขึ้น ปัจจุบันกีฬาว่ายน�้ำเป็นที่นิยมมากส�ำหรับประชาชนทั่วไป ดังจะเห็นได้จากมีจ�ำนวนสระ ว่ายน�้ำเพิ่มมากขึ้น ทั้งสระส่วนตัวและสระที่เป็นสาธารณะ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ว่ายน�้ำในโรงเรียนทุกระดับ ตลอดจนหมู่บ้านที่มีสระว่ายน�้ำ และสโมสรกีฬาว่ายน�้ำ เมื่อเยาวชนได้รับ การสอนจนว่ายน�้ำได้อย่างดีแล้ว สามารถเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาว่ายน�้ำจ�ำนวนมาก จนท�ำให้กีฬา ว่ายน�้ำเป็นที่นิยมแข่งขันในทุกระดับตั้งแต่เยาวชนจนถึงกีฬาโอลิมปิก ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากปัจจุบัน ประชาชนได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการว่ายน�้ำที่ช่วยท�ำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้มีพัฒนาการทุก ๆ ด้าน เป็นการออกก�ำลังกายที่ใช้อวัยวะทุกส่วน และไม่มีผลเสียที่เกิดจากแรงกระแทกดังเช่นกีฬา ที่เล่นอยู่บนพื้นดินโดยทั่วไป สรุปได้ว่า ประโยชน์ของกีฬาว่ายน�้ำนั้นสนองความต้องการของแต่ละบุคคลในทุก ๆ ด้าน ทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ใช้ในการกายภาพบ�ำบัดส�ำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บจากอวัยวะ ต่าง ๆ ได้ ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด ช่วยรักษาความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ท�ำให้ รูปร่างทรวดทรงสวยงาม ประการส�ำคัญที่สุดคือ ผู้ที่ว่ายน�้ำเป็นยังสามารถช่วยชีวิตตนเองและผู้อื่น เมื่อเกิดอุบัติภัยทางน�้ำ ถ้ารู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เป็นการลดการสูญเสีย ตลอดจนถ้ามีความ สามารถทางการสอนก็สามารถน�ำไปประกอบอาชีพเป็นผู้สอนว่ายน�้ำได้และถ้าว่ายน�้ำได้อย่างช�ำนาญ จนเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงแล้วยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศ ชาติได้ 3. สุขปฏิบัติ ข้อบังคับ ความปลอดภัย และมารยาทในการว่ายน�้ำ การว่ายน�้ำเป็นกิจกรรมโดยทั่วไปที่ทุกคนที่ว่ายน�้ำเป็นสามารถเข้าร่วมได้ และท�ำให้สนุกสนาน แต่ยังมีหลักที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในขั้นต้นในขณะที่ประกอบกิจกรรมทางน�้ำ ซึ่งประกอบไป ด้วยหลายสถานที่ เช่น สระว่ายน�้ำ แม่น�้ำ ล�ำคลอง ชายทะเล จะต้องมีหลักความปลอดภัยดังต่อไปนี้