SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 4
Baixar para ler offline
จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพระบายสีบนพื้นราบ โดยมี
สีและเส้นเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการแสดงออกซึ่งความงาม
มีช่างหรือจิตรกรเป็นผู้กําหนดเนื้อหา เรื่องราว รวมไปถึงการจัดวาง
องค์ประกอบของภาพ จิตรกรรมไทยประเพณี คือ การวาดภาพ
ระบายสี สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของช่างไทย
โบราณที่มีการคิดค้นวัสดุ เทคนิค รูปแบบ ฯลฯ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เป็นที่ยอมรับ และสืบทอดจนกลาย
เป็นประเพณี
จิตรกรรมไทยประเพณีส่วนใหญ่เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็น “พุทธบูชา” มักเขียน
บนฝาผนังเพื่อประดับงานสถาปัตยกรรม เช่น เขียนในพระปรางค์
พระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระบรมมหาราชวัง ฯลฯ รวม
เรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” หากเขียนในสมุดที่ทําจากกระดาษ
เรียกว่า “ใบสมุด” หรือ “สมุดไทย” (ภาพที่ ๑) หากเขียนบนผืนผ้า
เรียกว่า “พระบฏ” นอกจากนี้ยังมีการเขียนบนตู้พระธรรม
บานแผละ หรืออื่น ๆ โดยเขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นตามวิธีการของช่าง
ไทยแต่โบราณ เรื่องราวที่เขียนมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ ชาดก เป็นต้น
จุดประสงค์ในการเขียนภาพจิตรกรรมไทยประเพณีนอกจาก
ใช้ประดับงานสถาปัตยกรรมให้เกิดความงามแล้ว ยังเป็นช่องทาง
ในการบอกเล่าหรือสั่งสอนเรื่องราวทางศาสนา ในขณะที่คน
ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้การสั่งสอนผ่านภาพจะทําให้
คนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่น่าสนใจคือจิตรกรรมไทยประเพณีทําให้ผู้ดูสามารถจินตนาการถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเข้าใจได้ยากให้
ปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านงานจิตรกรรม เช่น สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เขาพระสุเมรุ หรือนรกขุมต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีจริงบนโลกใบนี้
นอกจากนี้จิตรกรรมไทยประเพณียังมีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อ
บันทึกศิลปวิทยาการต่าง ๆ ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้อีกด้วย
มีผลงานศิลปกรรมอีกประเภทหนึ่งที่นับว่าเป็นจิตรกรรมไทยได้เช่นกัน คือ จิตรกรรมลายเส้นที่เกิดจากการใช้วัสดุปลายแหลม
ขูดขีดให้เกิดเป็นภาพโดยเน้นความงามของเส้นและรูปร่างมากกว่าการใช้สี เช่น
ภาพลายเส้นจารบนหินชนวนที่เพดานทางเดินระหว่างผนังทางขึ้นมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย หรือภาพจารลายเส้น
รูปเทวดารอบรอยพระพุทธบาทในมณฑปที่วัดตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น (ภาพที่ ๒)
การลงรักปิดทอง หรือที่เรียกว่า การเขียนลายรดนํ้า ควรนับเป็นงานจิตรกรรมไทยประเพณีได้เช่นกัน โดยการใช้ทองคําเปลว
ติดประดับให้เป็นภาพหรือลวดลายบนพื้นสีดําหรือสีแดงสีใดสีหนึ่งด้วยกรรมวิธีทางลายรดนํ้า ตัวอย่างลายรดนํ้าบนตู้พระธรรมสมัยธนบุรี
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ ๓)
จิตรกรรมไทยประเพณีจึงถือเป็นวิจิตรศิลป์ สาขาหนึ่ง ซึ่ง
สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทย มีคุณค่าทางศิลปะ สุนทรียะ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีต
ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา รวมทั้งประวัติศาสตร์และชีวิตความ
เป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละยุคสมัย
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษางานจิตรกรรมไทยประเพณีมีข้อจํากัดอยู่หลายประการ ได้แก่
การกําหนดอายุของงานจิตรกรรมและการระบุตัวผู้สร้างงานโดยเฉพาะผลงานก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ขึ้นไป
เนื่องจากจิตรกรรมไทยประเพณีส่วนใหญ่เขียนขึ้นเพื่อเป็น
พุทธบูชาโดยไม่ระบุตัวผู้วาด ทําให้การศึกษาลักษณะร่วมบางประการเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการกําหนดอายุของผลงานนั้น ๆ ทําได้ยาก
ยิ่งงานจิตรกรรมที่ปรากฏในอาคารที่มีการใช้สอยต่อเนื่องและผ่านการซ่อมแซมโดยช่างในชั้นหลัง ๆ
จนบดบังรูปแบบดั้งเดิมทําให้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการศึกษารูปแบบและการกําหนดอายุ
รูปแบบและเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทยประเพณี
จิตรกรรมไทยประเพณีรับรูปแบบและเทคนิคมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ศิลปะอินเดีย ศิลปะพุกาม และศิลปะจีน
นํามาปรับปรุงจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รูปแบบและเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทยประเพณีที่เด่นชัด ได้แก่
๑. มีลักษณะเป็นอุดมคติ (Idealistic) อันเกิดจากการประดิษฐ์ของช่างให้มีลักษณะเหนือจริง ตัวพระและตัวนางซึ่งเป็น
ตัวละครสําคัญตามท้องเรื่องจะได้รับการออกแบบด้วยลีลาที่งามสง่า อ่อนช้อยแบบนาฏลักษณ์ (Dramatic) มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึก
ด้วยอากัปกิริยาท่วงท่ามากกว่าการแสดงออกทางสีหน้าแบบ
เหมือนจริงดังที่ปรากฏในจิตรกรรมตะวันตก ตัวอย่างเช่น จิตรกรรม
สุวรรณสามชาดก จากพระอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพฯ
ตอนพระบิดาของสุวรรณสามกําลังเศร้าโศกเมื่อทราบว่าสุวรรณสาม
ต้องศรพระราชากปิลยักข์ (ภาพที่ ๔) ในขณะที่ตัวละครซึ่งเป็น
ตัวร้ายมักใช้ยักษ์หรือมารเป็นสัญลักษณ์ และแสดงออกด้วยใบหน้าท่าทางที่ขึงขัง บึกบึน
การวาดภาพสัตว์มีทั้งการวาดเลียนแบบของจริงโดยจับ
ลักษณะเด่นและอากัปกิริยาท่าทางมาถ่ายทอด และประดิษฐ์ขึ้นใหม่
ตามความคิดสร้างสรรค์ของช่าง เช่น คชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เป็นสัตว์ที่เกิดจากการผสมลักษณะของช้างและราชสีห์ เป็นต้น
ตัวอย่างภาพคชสีห์ในฉากมารผจญ จิตรกรรมฝาผนัง
วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ (ภาพที่ ๕)
หรือการเขียนนํ้า ก่อนหน้าที่จะมีการรับเอารูปแบบ
การไล่นํ้าหนักแสงเงาแบบตะวันตก ช่างไทยวาดคลื่นนํ้าด้วยลายเส้นคล้ายเกล็ดปลาซ้อนกันไปมาได้อย่างน่าชม
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความคิดสร้างสรรค์ของช่างที่ดัดแปลงความเป็นจริงผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการจนเกิดเป็นรูปแบบควา
มงามเฉพาะตัว
๒. มักแสดงภาพคล้ายกับการมองจากที่สูงลงสู่ที่ตํ่า หรือที่เรียกว่า Aerial Perspective หรือที่เรามักคุ้นว่า ทัศนียภาพแบบ
ตานกมอง (Bird’s Eye View) ซึ่งเป็นการวาดให้ผู้ชมเห็นได้
หลายมุมมอง๑
กล่าวคือ ในงานจิตรกรรมไทยประเพณีมักนําเสนอมุมมองในลักษณะมองจากที่สูงสู่ที่ตํ่าเพื่อให้ผู้ดูสามารถมองเห็น
รายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้เช่น ในฉากเดียวกันผู้ดู
สามารถมองเห็นบ้านเรือนได้ทุกหลังโดยมองเข้าไปทางประตูและหน้าต่าง แลเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่ในภาพได้อย่าง
ทั่วถึงโดยไม่ทับซ้อนกันเหมือนจิตรกรรมแบบตะวันตก ตัวอย่างเช่น ภาพเวสสันดรชาดก จิตรกรรมในพระอุโบสถวัดหน่อพุทธางกูร
จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาพที่ ๖)
๓. มักแสดงภาพ ๒ มิติ คือ กว้างและยาว โดยไม่แสดง
แสงเงาตามธรรมชาติ ไม่แสดงเวลาว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน และ
ไม่สนใจการเขียนให้ถูกตามสัดส่วนใหญ่-เล็กเพื่อแสดงระยะใกล้-
ไกลของภาพตามหลักทัศนียวิทยา (Perspective) แบบตะวันตก
การระบายสีตัวภาพใช้สีแบนเรียบ๒
มีการใช้สีอ่อน-เข้มในการ
ระบายสีตัวบุคคลเพื่อแสดงความสําคัญของตัวละครนั้น ๆ ถ้าเป็น
ตัวละครเอก ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ฯลฯ มักปิดด้วย
ทองคําเปลวและตัดเส้นลวดลายไปตลอดทั้งภาพ โดยเส้นที่ใช้วาด
มีการสลับนํ้าหนักของสีและขนาดของเส้นไปมาเพื่อให้เกิดความ
กลมกลืนกัน ความอ่อนช้อยงดงามและความฉับไวของเส้นแสดงถึง
ความเจนจัดชํานิชํานาญของช่างที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
๔. จิตรกรรมไทยประเพณีเป็นภาพเขียนแบบเล่าเรื่อง
ต่อกันไปทั้งผนังโดยใช้เส้นสินเทา พุ่มไม้ท้องฟ้า ภูเขา โขดหิน
หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ เป็นตัวแบ่งฉากหรือเรื่องราวโดยไม่มีการขีด
เส้นกรอบของภาพแบบจิตรกรรมตะวันตก เนื่องจากงานจิตรกรรม
ไทยประเพณีส่วนใหญ่เขียนเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ
ชาดก ฯลฯ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ช่างผู้วาดจึงต้อง
ออกแบบจัดวางภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่ว่างบนผนังและใช้
ทิวทัศน์ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้โขดหิน ปราสาท ราชวัง ฯลฯ
รวมทั้งประดิษฐ์ “เส้นสินเทา” เป็นตัวแบ่งฉากและเชื่อมประสาน
ให้เกิดเอกภาพเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวและรับรู้ถึงความงามได้
ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างการใช้เส้นสินเทาเป็นตัวแบ่งฉากในมหาชนกชาดก จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ (ภาพที่ ๗)
๕. ในการวาดภาพจิตรกรรมไทยประเพณีมักใช้สัญลักษณ์
ซํ้า ๆ เพื่อสื่อความหมายแทนตอนใดตอนหนึ่ง เช่น พุทธประวัติ
ตอนมหาภิเนษกรมณ์ (การออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า) ช่าง
มักวาดรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะโดยมีท้าวจตุโลกบาล
																																																								
1
๑Ringis Rita, Thai Temples and Temple murals (New York: Oxford University press), 1990, p. 90.
2
๒ Ibid., p. 90.
รองรับเท้าม้า และพญามารมาขวางอยู่ด้านหน้าเพื่อห้ามมิให้ออก
ผนวช หรือ ทศชาติชาดก ตอน เตมียชาดก มักทําเป็นรูปพระเตมีย์
ยกราชรถด้วยพระหัตถ์ข้างเดียวขึ้นกวัดแกว่ง เป็นต้น ลักษณะ
ดังกล่าวจะได้รับการเขียนขึ้นซํ้า ๆ โดยมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันในแต่ละวัด ทําให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาของภาพได้โดยง่าย

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยางานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
Wasin Kunnaphan
 
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่นสุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
miwmiwxox
 
ศิลปะไทยสู่สากล
ศิลปะไทยสู่สากลศิลปะไทยสู่สากล
ศิลปะไทยสู่สากล
พัน พัน
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
Bordin Sirikase
 
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบpptความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
Preeda Chanlutin
 
ศิลปะ หรือ ศิลป์
ศิลปะ หรือ ศิลป์ศิลปะ หรือ ศิลป์
ศิลปะ หรือ ศิลป์
Koonsombat Narinruk
 
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสงศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
Heeroyuy Heero
 

Mais procurados (14)

งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยางานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
งานทัศนศิลป์ในสมัย อยุธยา
 
ความเเตกต่างทางศิลปะของภาคเหนือเเละภาคใต้
ความเเตกต่างทางศิลปะของภาคเหนือเเละภาคใต้ความเเตกต่างทางศิลปะของภาคเหนือเเละภาคใต้
ความเเตกต่างทางศิลปะของภาคเหนือเเละภาคใต้
 
ทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์
 
สื่อการสอน59
สื่อการสอน59สื่อการสอน59
สื่อการสอน59
 
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่นสุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
สุนทรียะในพระธาตุขามแก่น
 
Content01
Content01Content01
Content01
 
Content01
Content01Content01
Content01
 
ศิลปะไทยสู่สากล
ศิลปะไทยสู่สากลศิลปะไทยสู่สากล
ศิลปะไทยสู่สากล
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
 
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบpptความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
 
ศิลปะ หรือ ศิลป์
ศิลปะ หรือ ศิลป์ศิลปะ หรือ ศิลป์
ศิลปะ หรือ ศิลป์
 
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสงศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
ศิลปะพื้นฐาน รูปร่าง เส้น แสง
 
สื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยาสื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยา
 
กำหนดการสอน
กำหนดการสอนกำหนดการสอน
กำหนดการสอน
 

Mais de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331292

  • 1. จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพระบายสีบนพื้นราบ โดยมี สีและเส้นเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการแสดงออกซึ่งความงาม มีช่างหรือจิตรกรเป็นผู้กําหนดเนื้อหา เรื่องราว รวมไปถึงการจัดวาง องค์ประกอบของภาพ จิตรกรรมไทยประเพณี คือ การวาดภาพ ระบายสี สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของช่างไทย โบราณที่มีการคิดค้นวัสดุ เทคนิค รูปแบบ ฯลฯ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เป็นที่ยอมรับ และสืบทอดจนกลาย เป็นประเพณี จิตรกรรมไทยประเพณีส่วนใหญ่เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็น “พุทธบูชา” มักเขียน บนฝาผนังเพื่อประดับงานสถาปัตยกรรม เช่น เขียนในพระปรางค์ พระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระบรมมหาราชวัง ฯลฯ รวม เรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” หากเขียนในสมุดที่ทําจากกระดาษ เรียกว่า “ใบสมุด” หรือ “สมุดไทย” (ภาพที่ ๑) หากเขียนบนผืนผ้า เรียกว่า “พระบฏ” นอกจากนี้ยังมีการเขียนบนตู้พระธรรม บานแผละ หรืออื่น ๆ โดยเขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นตามวิธีการของช่าง ไทยแต่โบราณ เรื่องราวที่เขียนมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ ชาดก เป็นต้น จุดประสงค์ในการเขียนภาพจิตรกรรมไทยประเพณีนอกจาก ใช้ประดับงานสถาปัตยกรรมให้เกิดความงามแล้ว ยังเป็นช่องทาง ในการบอกเล่าหรือสั่งสอนเรื่องราวทางศาสนา ในขณะที่คน ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้การสั่งสอนผ่านภาพจะทําให้ คนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่น่าสนใจคือจิตรกรรมไทยประเพณีทําให้ผู้ดูสามารถจินตนาการถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเข้าใจได้ยากให้ ปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านงานจิตรกรรม เช่น สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เขาพระสุเมรุ หรือนรกขุมต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีจริงบนโลกใบนี้ นอกจากนี้จิตรกรรมไทยประเพณียังมีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อ บันทึกศิลปวิทยาการต่าง ๆ ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้อีกด้วย มีผลงานศิลปกรรมอีกประเภทหนึ่งที่นับว่าเป็นจิตรกรรมไทยได้เช่นกัน คือ จิตรกรรมลายเส้นที่เกิดจากการใช้วัสดุปลายแหลม ขูดขีดให้เกิดเป็นภาพโดยเน้นความงามของเส้นและรูปร่างมากกว่าการใช้สี เช่น ภาพลายเส้นจารบนหินชนวนที่เพดานทางเดินระหว่างผนังทางขึ้นมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย หรือภาพจารลายเส้น รูปเทวดารอบรอยพระพุทธบาทในมณฑปที่วัดตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น (ภาพที่ ๒) การลงรักปิดทอง หรือที่เรียกว่า การเขียนลายรดนํ้า ควรนับเป็นงานจิตรกรรมไทยประเพณีได้เช่นกัน โดยการใช้ทองคําเปลว
  • 2. ติดประดับให้เป็นภาพหรือลวดลายบนพื้นสีดําหรือสีแดงสีใดสีหนึ่งด้วยกรรมวิธีทางลายรดนํ้า ตัวอย่างลายรดนํ้าบนตู้พระธรรมสมัยธนบุรี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ ๓) จิตรกรรมไทยประเพณีจึงถือเป็นวิจิตรศิลป์ สาขาหนึ่ง ซึ่ง สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทย มีคุณค่าทางศิลปะ สุนทรียะ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีต ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา รวมทั้งประวัติศาสตร์และชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ตาม ในการศึกษางานจิตรกรรมไทยประเพณีมีข้อจํากัดอยู่หลายประการ ได้แก่ การกําหนดอายุของงานจิตรกรรมและการระบุตัวผู้สร้างงานโดยเฉพาะผลงานก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ขึ้นไป เนื่องจากจิตรกรรมไทยประเพณีส่วนใหญ่เขียนขึ้นเพื่อเป็น พุทธบูชาโดยไม่ระบุตัวผู้วาด ทําให้การศึกษาลักษณะร่วมบางประการเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการกําหนดอายุของผลงานนั้น ๆ ทําได้ยาก ยิ่งงานจิตรกรรมที่ปรากฏในอาคารที่มีการใช้สอยต่อเนื่องและผ่านการซ่อมแซมโดยช่างในชั้นหลัง ๆ จนบดบังรูปแบบดั้งเดิมทําให้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการศึกษารูปแบบและการกําหนดอายุ รูปแบบและเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทยประเพณี จิตรกรรมไทยประเพณีรับรูปแบบและเทคนิคมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ศิลปะอินเดีย ศิลปะพุกาม และศิลปะจีน นํามาปรับปรุงจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รูปแบบและเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทยประเพณีที่เด่นชัด ได้แก่ ๑. มีลักษณะเป็นอุดมคติ (Idealistic) อันเกิดจากการประดิษฐ์ของช่างให้มีลักษณะเหนือจริง ตัวพระและตัวนางซึ่งเป็น ตัวละครสําคัญตามท้องเรื่องจะได้รับการออกแบบด้วยลีลาที่งามสง่า อ่อนช้อยแบบนาฏลักษณ์ (Dramatic) มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึก ด้วยอากัปกิริยาท่วงท่ามากกว่าการแสดงออกทางสีหน้าแบบ เหมือนจริงดังที่ปรากฏในจิตรกรรมตะวันตก ตัวอย่างเช่น จิตรกรรม สุวรรณสามชาดก จากพระอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพฯ ตอนพระบิดาของสุวรรณสามกําลังเศร้าโศกเมื่อทราบว่าสุวรรณสาม ต้องศรพระราชากปิลยักข์ (ภาพที่ ๔) ในขณะที่ตัวละครซึ่งเป็น ตัวร้ายมักใช้ยักษ์หรือมารเป็นสัญลักษณ์ และแสดงออกด้วยใบหน้าท่าทางที่ขึงขัง บึกบึน การวาดภาพสัตว์มีทั้งการวาดเลียนแบบของจริงโดยจับ ลักษณะเด่นและอากัปกิริยาท่าทางมาถ่ายทอด และประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความคิดสร้างสรรค์ของช่าง เช่น คชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เป็นสัตว์ที่เกิดจากการผสมลักษณะของช้างและราชสีห์ เป็นต้น ตัวอย่างภาพคชสีห์ในฉากมารผจญ จิตรกรรมฝาผนัง วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ (ภาพที่ ๕) หรือการเขียนนํ้า ก่อนหน้าที่จะมีการรับเอารูปแบบ การไล่นํ้าหนักแสงเงาแบบตะวันตก ช่างไทยวาดคลื่นนํ้าด้วยลายเส้นคล้ายเกล็ดปลาซ้อนกันไปมาได้อย่างน่าชม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความคิดสร้างสรรค์ของช่างที่ดัดแปลงความเป็นจริงผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการจนเกิดเป็นรูปแบบควา มงามเฉพาะตัว ๒. มักแสดงภาพคล้ายกับการมองจากที่สูงลงสู่ที่ตํ่า หรือที่เรียกว่า Aerial Perspective หรือที่เรามักคุ้นว่า ทัศนียภาพแบบ ตานกมอง (Bird’s Eye View) ซึ่งเป็นการวาดให้ผู้ชมเห็นได้
  • 3. หลายมุมมอง๑ กล่าวคือ ในงานจิตรกรรมไทยประเพณีมักนําเสนอมุมมองในลักษณะมองจากที่สูงสู่ที่ตํ่าเพื่อให้ผู้ดูสามารถมองเห็น รายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้เช่น ในฉากเดียวกันผู้ดู สามารถมองเห็นบ้านเรือนได้ทุกหลังโดยมองเข้าไปทางประตูและหน้าต่าง แลเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่ในภาพได้อย่าง ทั่วถึงโดยไม่ทับซ้อนกันเหมือนจิตรกรรมแบบตะวันตก ตัวอย่างเช่น ภาพเวสสันดรชาดก จิตรกรรมในพระอุโบสถวัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาพที่ ๖) ๓. มักแสดงภาพ ๒ มิติ คือ กว้างและยาว โดยไม่แสดง แสงเงาตามธรรมชาติ ไม่แสดงเวลาว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน และ ไม่สนใจการเขียนให้ถูกตามสัดส่วนใหญ่-เล็กเพื่อแสดงระยะใกล้- ไกลของภาพตามหลักทัศนียวิทยา (Perspective) แบบตะวันตก การระบายสีตัวภาพใช้สีแบนเรียบ๒ มีการใช้สีอ่อน-เข้มในการ ระบายสีตัวบุคคลเพื่อแสดงความสําคัญของตัวละครนั้น ๆ ถ้าเป็น ตัวละครเอก ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ฯลฯ มักปิดด้วย ทองคําเปลวและตัดเส้นลวดลายไปตลอดทั้งภาพ โดยเส้นที่ใช้วาด มีการสลับนํ้าหนักของสีและขนาดของเส้นไปมาเพื่อให้เกิดความ กลมกลืนกัน ความอ่อนช้อยงดงามและความฉับไวของเส้นแสดงถึง ความเจนจัดชํานิชํานาญของช่างที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ๔. จิตรกรรมไทยประเพณีเป็นภาพเขียนแบบเล่าเรื่อง ต่อกันไปทั้งผนังโดยใช้เส้นสินเทา พุ่มไม้ท้องฟ้า ภูเขา โขดหิน หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ เป็นตัวแบ่งฉากหรือเรื่องราวโดยไม่มีการขีด เส้นกรอบของภาพแบบจิตรกรรมตะวันตก เนื่องจากงานจิตรกรรม ไทยประเพณีส่วนใหญ่เขียนเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก ฯลฯ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ช่างผู้วาดจึงต้อง ออกแบบจัดวางภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่ว่างบนผนังและใช้ ทิวทัศน์ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้โขดหิน ปราสาท ราชวัง ฯลฯ รวมทั้งประดิษฐ์ “เส้นสินเทา” เป็นตัวแบ่งฉากและเชื่อมประสาน ให้เกิดเอกภาพเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวและรับรู้ถึงความงามได้ ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างการใช้เส้นสินเทาเป็นตัวแบ่งฉากในมหาชนกชาดก จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ (ภาพที่ ๗) ๕. ในการวาดภาพจิตรกรรมไทยประเพณีมักใช้สัญลักษณ์ ซํ้า ๆ เพื่อสื่อความหมายแทนตอนใดตอนหนึ่ง เช่น พุทธประวัติ ตอนมหาภิเนษกรมณ์ (การออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า) ช่าง มักวาดรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะโดยมีท้าวจตุโลกบาล 1 ๑Ringis Rita, Thai Temples and Temple murals (New York: Oxford University press), 1990, p. 90. 2 ๒ Ibid., p. 90.
  • 4. รองรับเท้าม้า และพญามารมาขวางอยู่ด้านหน้าเพื่อห้ามมิให้ออก ผนวช หรือ ทศชาติชาดก ตอน เตมียชาดก มักทําเป็นรูปพระเตมีย์ ยกราชรถด้วยพระหัตถ์ข้างเดียวขึ้นกวัดแกว่ง เป็นต้น ลักษณะ ดังกล่าวจะได้รับการเขียนขึ้นซํ้า ๆ โดยมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันในแต่ละวัด ทําให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาของภาพได้โดยง่าย