SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 10
Baixar para ler offline
1. ความเปนมาของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา
         2. ทฤษฎีทางการศึกษาสําหรับการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา
         3. องคประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา
         4. กรณีศึกษาการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา

           ในวงการศึกษาในปจจุบัน คําวาอีเลิรนนิง (E-Learning) ไดรับการกลาวถึงอยางแพรหลาย
อีเลิรนนิงเปนการเรียนการสอน ที่รวมถึงการถายทอดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจน
การวัดและประเมินผล ผานตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใชภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน และเสียง โดย
อาศัยเทคโนโลยีของเว็บในการถายทอด ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวาบทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีคุณภาพในการ
เรี ย นรู จึ ง มี ค วามสํ า คั ญ เนื่ อ งจากเป น การทดแทนเนื้ อ หาในชั้ น เรี ย นผ า นรู ป แบบการนํ า เสนอที่ มี
ประสิทธิภาพ ดวยการออกแบบตามหลักการเรียนรู หลักการออกแบบ อันจะสงผลตอประสิทธิผลทางการ
เรียนตอไป

              ความเปนมาของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware)
         1
              ทางการศึกษา
            อีเลิรนนิงไดแพรกระจายสูการศึกษาในทุกระดับ ดวยสาเหตุท่ีวาการเรียนรูในรูปแบบนี้มีความ
ยืดหยุนสูงสําหรับผูสอนในการบูรณาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเขาไปในกระบวนการเรียนการสอน
และยังลดขอจํากัดของความพยายามที่จะใชเทคโนโลยีท่ีมีอยูไมวาจะเปน สื่อการเรียนรูอิเล็กทรอนิกสตางๆ
(Courseware/Learning Object) และระบบเครือขายคอมพิวเตอรเพื่อการสื่อสาร (Computer Mediated
Communication) ในเรื่องของการออกแบบเฉพาะตัวเพื่อใหเหมาะสมกับผูเรียนรายบุคคลมากที่สุด โดยการ
เรียนการสอนแบบอีเลิรนนิงหรือออนไลนเต็มรูปแบบที่เนนในเรื่องของการเรียนการสอนที่ไมมีขอจํากัดของ
เวลาและสถานที่นั้น ยังมีขอจํากัดในเรื่องของชองวางในการติดตอสื่อสารระหวางกันทั้งกับผูสอนและผูเรียน
และผูเรียนดวยกันเอง
อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ                  1
ดังนั้น การเรียนการสอนแบบผสมผสานจึงเขามาเปนตัวเลือกหนึ่ง โดยการเรียนการสอนแบบ
     ผสมผสาน (Hybrid/Blended Learning) ถือวาเปนระบบการเรียนที่ผสมผสานจุดเดนของการเรียนการสอน
     ในชั้นเรียนและการเรียนการสอนดวยเทคโนโลยีคอมพิวเตอรผานเครือขายอินเทอรเน็ต ทั้งในดานการ
     นําเสนอเนื้อหาและการเขารวมกิจกรรม สาเหตุสําคัญที่ทําใหการเรียนการสอนในรูปแบบนี้เปนที่นิยมอยาง
     แพรหลายคือการที่ผูสอนสามารถกําหนดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มกลยุทธการเรียน
     การสอนโดยใหผูเรียนเปนศูนยกลาง ผูเรียนสามารถเขาถึงและศึกษาขอมูลเนื้อหาการเรียนการสอนเมื่อใด
     และเวลาใดก็ได การใหผูเรียนมีสวนรวมในการเรียนรวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรูความคิดระหวางผูเรียนทั้ง
     ในหองเรียน และสามารถตอยอดไดผานสังคมการเรียนรูออนไลน ดังนั้น เวลาที่มีคาในชั้นเรียนผูสอน
     สามารถฝกทักษะตางๆ ตลอดจนเสริมสรางเจตคติทางการเรียนที่จําเปน และการพัฒนาทักษะการคิดของ
     ผูเรียนในเรื่องของการพัฒนาและใชเพื่อการตัดสินใจ การแกปญหาตางๆ เชนกิจกรรมกรณีศึกษา โดยการ
     ออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบนี้โดยมากจะประกอบดวย 6 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะหความตองการ
     จําเปน 2) กําหนดวัตถุประสงคของหลักสูตร 3) การออกแบบหลักสูตรแบบผสมผสาน 4) การออกแบบการ
     เรียนการสอนแบบผสมผสานในรายวิชาตางๆ 5) การทดลองใชหลักสูตรฯ และ 6) การวัดและประเมินผล
     หลักสูตร (Bonk and Graham, 2006; Wilson and Smilanich, 2005; Sloan Consortium Foundation,
     2005)

                  การเรียนการสอนแบบผสมผสานมีความคลายคลึงกับการเรียนการสอนแบบอีเลิรนนิง เนื่องดวย
     การเรียนการสอนทั้งสองรูปแบบนี้ลวนใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนําเสนอเนื้อหาและการ
     จัดกิจกรรมตางๆ ผานทางอินเทอรเน็ต จุดตางของการเรียนการสอนสองรูปแบบนี้คือในเรื่องของสัดสวนที่ใช
     ในการนําเสนอเนื้อหาวิชาโดยการเรียนการสอนแบบผสมผสานนั้นจะเปนการดึงคุณสมบัติเดนของการเรียน
     การสอนในชั้นเรียนและการเรียนการสอนออนไลน โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและประโยชนทางการศึกษา
     สูงสุดที่ผูเรียนจะไดรับเปนสําคัญ โดยการเรียนการสอน แบบอีเลิรนนิงจะเนนในเรื่องของการเรียนการสอนที่
     ไมมีขอจํากัดทั้งในเรื่องของคุณสมบัติผูเขาศึกษา เรื่องเวลา และเรื่องสถานที่ (anyone, from anywhere,
     and at anytime) และเนนในเรื่องของ WEB 2.0 Technology ที่ใหความสําคัญของการปฏิสัมพันธระหวาง
     กันมากขึ้น ซึ่งนําไปสูการแลกเปลี่ยนเรียนรูและสังคมแหงการเรียนรูออนไลน (Online learning community)

              ทั้งนี้ องคประกอบของบทเรียนอีเลิรนนิงและบทเรียนแบบผสมผสาน มีองคประกอบที่สําคัญ 4
     สวน คือ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส 2) ระบบจัดการการเรียนรู 3) การติดตอสื่อสาร และ 4) การประเมินผล
     การเรียน ซึ่งเมื่อนําองคประกอบทั้ง 4 มาประกอบเขาดวยกันแลว ระบบจะทํางานประสานกันไดอยางลงตัว
     โดยแตละองคประกอบมีรายละเอียดดังนี้



2 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส เปนเนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส ซึ่งสวนใหญมี
ลักษณะเปนสื่อประสมซึ่งสามารถแบงการถายทอดเนื้อหาได 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การใชขอความออนไลน
เปนหลัก มีจุดเดนคือประหยัดเวลาและคาใชจาย และผูสอนยังสามารถผลิตเนื้อหาไดดวยตนเอง 2) การใช
บทเรียนสื่อประสมแบบปฏิสัมพันธที่ผลิตอยางงายๆ เพื่อประกอบบทเรียน ซึ่งผูสอนสามารถผลิตและ
ปรับปรุงเนื้อหาใหทันสมัยไดอยางสะดวกดวยตนเอง และ 3) การใชบทเรียนคุณภาพสูงโดยการนําเสนอ
เนื้อหาจะใชสื่อประสมเชน เดียวกับขอ 2 แตมี ความเปนมืออาชีพ มีทีมงาน ไดแ ก ผูเชี่ยวชาญดานการ
ออกแบบการสอน ดานเนื้อหา ดานการผลิตบทเรียนมัลติมีเดีย ตลอดจนโปรแกรมเมอร และนักออกแบบ
กราฟก

            2) ระบบบริหารจัดการการเรีย นรู คือโปรแกรมบริหารจัดการการเรียนรูที่ทําหนาที่เปน
ศู น ย ก ลางการจั ด การและสนั บ สนุ น การจั ด การเรี ย นรู ซึ่ ง ใช เ ทคโนโลยี อิ น เทอร เ น็ ต มาจั ด การให เ กิ ด
ปฏิสัมพันธระหวางผูสอนและผูเรียน ผูเรียนกับผูเรียน และผูเรียนกับแหลงขอมูล ทั้งนี้ จะชวยใหผูเรียน
และผูสอนสามารถเขาถึงเนื้อหาและใชงานไดงาย โดยมีเครื่องมือทางดานการจัดการ การปรับปรุง การ
ควบคุม การสํารองขอมูล การสนับสนุนขอมูล การบันทึกสถิติผูเรียน และการประเมินผล ตลอดจนการ
ตรวจใหคะแนนผูเรียน ซึ่งผูใชสามารถเรียกใชเครื่องมือเหลา นี้ผานโปรแกรมเว็บบราวเซอร Western
Cooperative for Educational Telecommunications: WCET (2009 อางถึงใน จินตวีร คลายสังข และ
ประกอบ กรณีกิจ, 2552) ไดแบงเครื่องมือของระบบจัดการการเรียนรูเปน 6 กลุมดังนี้
            2.1) เครื่องมือสื่อสาร (Communication tools) ประกอบดวย การอภิปราย การแลกเปลี่ยน
ไฟล อีเมล วารสาร/บันทึกออนไลน การสนทนา การบริการวิดีโอ และไวตบอรด
            2.2) เครื่องมืออํานวยประโยชน (Productivity tools) ประกอบดวย บุกมารค ปฏิทินการเรียน
การสืบคนภายในรายวิชา และการแนะนําการเรียน
            2.3) เครื่องมือสนับสนุนผูเรียน (Student involvement tools) ประกอบดวย การจัดกลุม การ
ประเมินตนเอง การสรางชุมชนของผูเรียน และแฟมสะสมงานผูเรียน
            2.4) เครื่องมือบริหารรายวิชา (Administration tools) ประกอบดวย การระบุตัวตนของผูเรียน
การกําหนดสิทธิ์การเขาใชรายวิชา และการลงทะเบียนเรียน
            2.5) เครื่องมือสงผานรายวิชา (Course delivery tools) ประกอบดวย การจัดการรายวิชา การ
ชวยเหลือผูสอน การประเมินผลออนไลน การติดตามผูเรียน และการทดสอบและใหคะแนนอัตโนมัติ
            2.6) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) ประกอบดวย การเขาถึงระบบ เทมเพลต
รายวิชา การจัดการหลักสูตร การปรับแตงมุมมองของหนาจอ การออกแบบการสอน การยินยอมตาม
มาตรฐานการสอน และการใชเนื้อหารวมและการใชซ้ํา



อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ                                 3
3) การติดตอสื่อสาร เปนเครื่องมือที่ชวยใหผูเรียนไดติดตอสอบถาม ปรึกษาหารือและ
     แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหวางผูเรียนและผูสอน และระหวางผูเรียนกับเพื่อนรวมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดย
     เครื่องมือที่ใชในการติดตอสื่อสารอาจแยกไดเปน 2 ประเภท คือ แบบประสานเวลา (Synchronous) และ
     แบบไมประสานเวลา (Asynchronous) โดยเครื่องมือที่ชวยในการติดตอสื่อสารที่สามารถใชในการจัดการ
     เรียนรูออนไลนท้ัง 2 ประเภท ไดแก แช็ท ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส กลุมขาว หองสนทนา กระดานอภิปราย
     กระดานประกาศ บล็อก และวิกิ เปนตน

               4) การประเมินผลการเรียน ในการเรียนแบบผสมผสานบางรายวิชาจําเปนตองวัดระดับความรู
     กอนเรียน (Pre-test) เพื่อใหผูเรียนไดเลือกเรียนในบทเรียนหรือหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะทําให
     การเรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเขาสูบทเรียนในแตละหลักสูตรก็จะมีการสอบยอยทายบท (Quiz) และ
     การสอบใหญกอนที่จะจบหลักสูตร (Final Examination) ซึ่งขอสอบดังกลาวอาจอยูในหลายรูปแบบใหผูสอน
     เลือกใชผ านระบบจั ดการการเรียนรู เชน แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบเติมคํา ตอบ และแบบจับคู
               นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการเรียนอื่นๆ ซึ่งมีความสําคัญในการเรียนการสอนออนไลน ที่ควร
     นํามาใชเพื่อพิจารณาประกอบผลการเรียนรูของผูเรียนดวย เชน จํานวนครั้งการเขาเรียนในหองเรียน หรือ
     ในบทเรียนออนไลน หรือการเขารวมกิจกรรมบนออนไลน เวลาที่เขาใชในแตละบทเรียน ความถี่ในการ
     แสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย ตลอดจนคุณภาพของการแสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย งานที่
     ไดรับมอบหมาย การเขียนบันทึกการเรียนรูประจําวัน และแฟมสะสมงานอิเล็กทรอนิกส เปนตน
     (จินตวีร คลายสังข และประกอบ กรณีกิจ, 2552)
               ในหนังสือเลมนี้ จะขอเนนในเรื่องของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือคอรสแวร ซึ่งเปนองคประกอบที่
     สําคัญอยางยิ่งในการจัดการเรียนรูแบบอีเลิรนนิง โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือคอรสแวรในที่นี้จะหมายถึง
     เนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส โดยมากมีลักษณะเปนสื่อประสมซึ่งสามารถแบงประเภทตาม
     การถายทอดเนื้อหา ไดแก รูปแบบที่ 1 การใชขอความออนไลนเปนหลัก รูปแบบที่ 2 การใชบทเรียนสื่อ
     ประสมแบบปฏิสัมพันธที่ผลิตอยางงายๆ เพื่อประกอบบทเรียน และ รูปแบบที่ 3 การใชบทเรียนคุณภาพสูง
     โดยการนําเสนอเนื้อหาจะใชสื่อประสมเชนเดียวกับขอ 2 แตมีความเปนมืออาชีพ โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส
     หรือคอรสแวรทั้ง 3 รูปแบบนี้จะนําเสนอผานระบบบริหารจัดการการเรียนรูที่ทําหนาที่เปนศูนยกลางการ
     จัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนรูในบริบทของการจัดการเรียนรูแบบอีเลิรนนิง




4 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
2     ทฤษฎีทางการศึกษาสําหรับการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส
               ทางการศึกษา
            ทฤษฎี ท างการศึ ก ษาและหลั ก การพื้ น ฐานสํ า หรั บ การออกแบบบทเรี ย นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ท าง
การศึกษา ประกอบดวย (1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่เชื่อในเรื่องของการฝกปฏิบัติ การเสริมแรงและการ
ลงโทษ การมีสวนรวมในการเรียนและการตอบสนอง การปรับพฤติกรรมและการเลียนแบบ 2) ทฤษฎี
พุทธิปญญาที่เนนเรื่องการเรียนรูที่ผูเรียนเปนศูนยกลาง การเรียนรูอยางมีความหมายและเปนระบบ โดย
คํานึงถึงพื้นฐานความรูเดิม และการเชื่อมโยงไปสูความรูใหม 3) ทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสมที่เนนเรื่องของการ
สรางองคความรูดวยตนเอง แตละทฤษฎีนั้นลวนมีวัตถุประสงคเดียวกันคือเพื่อใหผูเรียนบรรลุเปาหมายการ
เรียนรูที่ไดกําหนดไว อยางไรก็ตามดวยลักษณะของความรูและวัตถุประสงคที่ตางกัน ทฤษฎีทั้ง 3 นี้จึง
เหมาะสมในสถานการณที่แตกตางกันไป ในการเรียนรูผานบริบทของสื่อเว็บ โดยที่ผูสอนเปนผูชวยเหลือ
แนะนํา และจัดสภาพแวดลอมใหเหมาะตอการเรียน และบริบทของสังคมที่เอื้อตอการเรียนรู (จินตวีร
คลายสังข, 2553)

            ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Theory)
            นักจิตวิทยาการศึกษา ไดแก Thorndike (1913) Pavlov (1927) และ Skinner (1974) เชื่อวาการ
เรียนรูคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได            อันเกิดจากการใหสิ่งเราจากภายนอกใน
สภาพแวดลอมการเรียนรู นักจิตวิทยากลุมนี้เชื่อวาพฤติกรรมที่สังเกตเห็นไดเปนการบงชี้อยางชัดเจนของ
การเรียนรูท่ีเกิดขึ้น ไมใชสิ่งที่อยูในความคิดของผูเรียน ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการนําแนวคิดของ
นักจิตวิทยากลุมพฤติกรรมนิยมไปใช ควรมีการแจงใหทราบวาวัตถุประสงคของการเรียนการสอนคืออะไร
เพื่อใหผูเรียนทราบและตั้งความคาดหวัง ตลอดจนการประเมินตนเองวาจะสามารถไดรับผลการเรียนรู
ประจําบทเรียนนั้นๆ หรือไม ผูเรียนจะตองไดรับการประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อใหทราบวาตนเองมี
ผลการเรียนรูเปนไปตามที่กําหนดไวหรือไม ทั้งนี้ อาจมาจากการใหขอมูลปอนกลับที่เหมาะสมทั้งใน
ภาพรวมและในทุกๆ ขั้นตอนของการเรียนการสอน เพื่อใหผูเรียนสามารถตรวจสอบไดวาตนเองกําลังเกิด
การเรียนรูที่ถูกตองหรือไม อยางไร




อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ                    5
แผนภาพที่ 1.1 บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีการแจงวัตถุประสงคการเรียนการสอนใหทราบ




6 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
ใหเลือกคําตอบที่ถูกตองเพียงขอเดียว แลวกด Submit เพื่อยืนยันคําตอบ

                      ยุคแรกของการเรียนการสอนทางไกลเริ่มตนดวยการเรียนผานทางใด
                      1) การบรรทุกสื่อการสอนไปกับรถมา
                      2) ไปรษณีย จดหมาย
                      3) วิทยุ โทรทัศน
                      4) อินเทอรเน็ต



                                             ถูกตองคะ – คลิกที่นเพื่อไปยังขอถัดไป
                                                                  ี่




                        แผนภาพที่ 1.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีการใหขอมูลปอนกลับ

           ทฤษฎีพทธิปญญา (Cognitive Theory)
                     ุ
           นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมพุทธิปญญา เชื่อวาการเรียนรูบางเรื่องไมสามารถสังเกตเห็นได
จากพฤติกรรมที่แสดงออก และการเรียนรูที่เกิดขึ้นมีมากกวาการวัดดวยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น
นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมนี้จึงศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรูที่เกี่ยวของกับการใชความจํา แรงจูงใจ
และการคิด ตลอดจนการสะทอนที่แสดงใหเห็นถึงกระบวนการเรียนรูของผูเรียน ซึ่งนักจิตวิทยากลุมนี้
พิจารณาวาการเรียนรูเปนกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผูเรียน ตามความสามารถในการเรียนรูของแตละ
บุคคล ปริมาณความสามารถ ความพยายามที่ทมเทระหวางกระบวนการเรียนรู และความซับซอนของการ
                                                  ุ
ประมวลผล ตลอดจนโครงสรางความรูเดิมของผูเรียน ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการนําแนวคิดของ
นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมพุทธิปญญาไปใชไดคือ การใชกลวิธีที่ใหผูเขารับการเรียนการสอนได
เขาถึงสื่อการเรียนไดมากที่สุด เพื่อใหผูเขารับการเรียนการสอนสามารถถายโอนสิ่งที่ไดรับผานประสาท
สัมผัสไปยังหนวยความจําระยะสั้น เชน การอาน การมอง และการสัมผั ส เปน ตน นอกจากนี้การ
จัดลําดับเนื้อหาอยางเปนระบบ เรียงลําดับจากงายไปยาก และแสดงถึงความเชื่อมโยง เชน การใชผัง
ความคิดลวงหนา (Advanced Organizer) จะชวยใหผูเขารับการเรียนการสอนเกิดการจดจําและระลึกถึง
ขอมูลนั้นๆ ไดดียิ่งขึ้น

อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ               7
แผนภาพที่ 1.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) ที่มีการจัดลําดับเนื้อหาอยางเปนระบบ

                ทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสม (Constructivism Theory)
                นักทฤษฎีกลุมคอนสตรั๊คติวิสมความคิดเห็นในเรื่องการเรียนรูของผูเรียน โดยนักทฤษฎีกลุมนี้
     เห็นวาผูเรียนแตละคนมีการแปลความหมายของสารที่ไดรับและการแปลความสิ่งที่อยูรอบตัวตามการรับรู
     ของแตละบุคคล               ซึ่งการรับรูนั้นภายหลังจะเปลี่ยนเปนความรูตามความเขาใจของผูเรียนแตละคน
     (Learners construct their own knowledge) นักทฤษฎีกลุมนี้มองวาผูเรียนจะตองเปนศูนยกลางการเรียนรู
     (Learner center) ซึ่งมีผูสอนทําหนาที่เปนผูชวยสนับสนุนการเรียนรู และใหคําแนะนําสนับสนุนการเรียนรู
     (facilitator, coach) โดยผูสอนจะเปนผูใหคําแนะนํามากกวาเปนผูถายทอดความรู กิจกรรมการเรียนจึงเนน
     สถานการณการเรียนรู ซึ่งผูเรียนจะตองประยุกตใชความรูในการแกปญหา ดังนั้น การประยุกตใชทฤษฎี
     คอนสตรั๊คติวิสมสําหรับการเรียนการสอน คือการจัดการเรียนรูที่ใหผูเขารับการเรียนการสอนมีสวนรวมและ
     วิทยากรตั้งคําถามหรือเสนอสถานการณปญหากระตุนใหผูเขารับการเรียนการสอนคิดวิเคราะหและคิด
     แกปญหา วิทยากรในฐานะที่เปนผูสนับสนุนการเรียนรูจะตองจัดเตรียมแหลงขอมูลใหเพียงพอตอการเรียนรู
     ของผูเขารับการเรียนการสอน อันจะนําไปสูการสรางองคความรูใหมตามความเขาใจของผูเรียน นอกจากนี้
     การเรียนแบบรวมมือ (Collaborative learning) ยังชวยกระตุนใหผูเขารับการเรียนการสอนแลกเปลี่ยนความ
     คิดเห็นและรวมกันทํางานใหเสร็จตามที่ไดรับมอบหมาย และมีปฏิสัมพันธกับผูอื่น ซึ่งจะนําไปสูการเรียนรู
     เพื่อสงเสริมการเรียนรูข้นสูง (higher order learning) และเกิดชุมชนแหงการเรียนรู (learning community)
                               ั
     อีกดวย
8 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
ภาพที่ 1.4 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware)
                                         ที่มีการตั้งคําถามใหผูเรียนมีสวนรวม

         สรุปไดวาการใชความรูของทฤษฎีการเรียนรูทั้ง 3 กลุม ไดแก พฤติกรรมนิยม พุทธิปญญา และ
คอนสตรั๊คติวิสม ลวนมีวัตถุประสงคเดียวกันคือเพื่อใหผูเรียนบรรลุเปาหมายการเรียนรูที่ไดกําหนดไว
อยางไรก็ตามดวยลักษณะของความรูและวัตถุประสงคที่ตางกัน ทฤษฎีทั้ง 3 นี้จึงเหมาะสมในสถานการณที่
แตกตางกันไป เชน การใชทฤษฎีกลุมพฤติกรรมนิยมจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนขอเท็จจริง
ในขณะที่หลักการจากทฤษฎีพุทธิปญญาจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนหลักการและกระบวนการ
และหลักการจากทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสมจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนทักษะการคิดระดับสูง (Ally,
2006; Waterhouse, 2005)




อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ              9
3    องคประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส ทางการศึกษา

              บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) เปนเนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบ
     อิเล็กทรอนิกส ซึ่งสวนใหญมีลักษณะเปนสื่อประสม โดยเนนการออกแบบที่ใชวิธีการ กลยุทธ และการให
     ขอมูลปอนกลับแกผูเรียนโดยทันทีในการนําเสนอ ที่กระตุนใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตามวัตถุประสงคที่
     กํ า หนดไว ซึ่ ง ผู เ รี ย นสามารถเข า ถึ ง เนื้ อ หาได ต ามความต อ งการ ตลอดจนอาจมี แ บบฝ ก หั ด หรื อ
     แบบทดสอบเพื่อใหผูเรียนสามารถตรวจสอบความเขาใจ ทั้งนี้ อาจยึดแนวทางของ learning object
     บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (Courseware) ในรูปแบบของ Learning Objects เปนสื่อการสอนในลักษณะ
     บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีขนาดเล็ก สามารถนํากลับมาใชใหมโดยการจัดเรียงลําดับเนื้อหาใหม เกิดเปน
     บทเรียนใหม โดยมีองคประกอบสําคัญในแตละ Learning Object คือ (1) วัตถุประสงคการเรียนรู (2) หนวย
     การเรียน และ (3) แบบทดสอบ โดยคุณลักษณะเดนของ Learning Objects คือเนื้อหาเปนอิสระภายใน
     ตัวเอง สะดวกตอการนําไปใชและการปรับแก (content updated) สามารถใชซ้ํา(reusable) แบงปน
     แลกเปลี่ยนเนื้อหาระหวางกัน (repository) ไดผานระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management
     System)         อีก ทั้ ง ยั งเปน การลดปญ หาไฟลข นาดใหญแ ละการปรั บ ปรุ งแกไ ขเนื้ อหาบทเรี ย นไดยาก
     (Davidson-Shivers, 2006; Waterhouse, 2005; ใจทิพย ณ สงขลา, 2550; Khan, 2005)

               ทั้งนี้ ไดมีงานวิจัย และหนังสือ/บทความที่มีการเผยแพรในชวง พ.ศ. 2541-2553 เกี่ยวกับ
     องคประกอบของบทเรียนอิเล็กรอนิกสทางการศึกษา ที่สามารถพิจารณาจําแนกไดเปน ดานองคประกอบ
     มัลติมเดีย (ภาพ กราฟก แอนิเมชั่น ขอความ เสียง และวีดิทัศน) ดานการออกแบบสวนตอประสาน ดานการ
            ี
     ออกแบบเนื้อหา ดานการออกแบบระบบนําทาง ดานการทดสอบการใชงาน ดานการเขาถึงขอมูล และดาน
     อื่นๆ เชน คุณภาพเนื้อหา กิจกรรมการเรียน การทดสอบความรู ขอมูลปอนกลับ มาตรฐาน SCORM เปน
     ตน ดังตัวอยางผลงานวิจัยในตารางที่ 1.1-1.2 และหนังสือ/บทความในตารางที่ 1.3-1.4




10 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติTee Lek
 
Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27khon Kaen University
 
Chapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChangnoi Etc
 
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้unpununping
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...khon Kaen University
 
หลักการออกแบบสื่อการสอน
หลักการออกแบบสื่อการสอนหลักการออกแบบสื่อการสอน
หลักการออกแบบสื่อการสอนKrookhuean Moonwan
 
Welcome master degree students 2016 08-01 1300
Welcome master degree students 2016 08-01 1300Welcome master degree students 2016 08-01 1300
Welcome master degree students 2016 08-01 1300khon Kaen University
 
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสChu Ching
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8Thitaree Permthongchuchai
 
สรุปฟัง
สรุปฟังสรุปฟัง
สรุปฟังSchool
 
ICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading PromotionICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading Promotiondecnun
 
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษามุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาFern's Supakyada
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาPrachyanun Nilsook
 

Mais procurados (20)

Pp social
Pp socialPp social
Pp social
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
Chapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for education
 
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้
สำรวจการใช้ ICT ในการเรียนรู้
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
 
Presentation2
Presentation2Presentation2
Presentation2
 
หลักการออกแบบสื่อการสอน
หลักการออกแบบสื่อการสอนหลักการออกแบบสื่อการสอน
หลักการออกแบบสื่อการสอน
 
Welcome master degree students 2016 08-01 1300
Welcome master degree students 2016 08-01 1300Welcome master degree students 2016 08-01 1300
Welcome master degree students 2016 08-01 1300
 
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
 
Chapter3
Chapter3Chapter3
Chapter3
 
สื่อการเรียนสอน
สื่อการเรียนสอนสื่อการเรียนสอน
สื่อการเรียนสอน
 
Aj.Phubet's assignment
Aj.Phubet's assignmentAj.Phubet's assignment
Aj.Phubet's assignment
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
โครงงานคอมพิวเตอร์2 8
 
สรุปฟัง
สรุปฟังสรุปฟัง
สรุปฟัง
 
ICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading PromotionICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading Promotion
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษามุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
 

Semelhante a 9789740329176

Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...
Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...
Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้wisnun
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
77การเรียนการสอนบนเว็บ
77การเรียนการสอนบนเว็บ77การเรียนการสอนบนเว็บ
77การเรียนการสอนบนเว็บLUKNONGLUK
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54Jiraporn
 
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์Kutjung Rmuti
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกNattapon
 

Semelhante a 9789740329176 (20)

Teacher1
Teacher1Teacher1
Teacher1
 
Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...
Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...
Design of Problem-based Learning Activities in Ubiquitous Learning Environmen...
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
 
77การเรียนการสอนบนเว็บ
77การเรียนการสอนบนเว็บ77การเรียนการสอนบนเว็บ
77การเรียนการสอนบนเว็บ
 
บทที่ 4 new
บทที่ 4 newบทที่ 4 new
บทที่ 4 new
 
Learning by project
Learning by projectLearning by project
Learning by project
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
 
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning [NCE2012 Prachyanun ...
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
E Learning Concept El Yru
E Learning Concept El YruE Learning Concept El Yru
E Learning Concept El Yru
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาบทเรียนตามแนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์
 
ใยงาน2 8edit
ใยงาน2 8editใยงาน2 8edit
ใยงาน2 8edit
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
 
Synchronous and asynchronous (1)
Synchronous and asynchronous (1)Synchronous and asynchronous (1)
Synchronous and asynchronous (1)
 
เนื้อหา Addie ok
เนื้อหา Addie okเนื้อหา Addie ok
เนื้อหา Addie ok
 

Mais de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Mais de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329176

  • 1. 1. ความเปนมาของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา 2. ทฤษฎีทางการศึกษาสําหรับการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา 3. องคประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา 4. กรณีศึกษาการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกสทางการศึกษา ในวงการศึกษาในปจจุบัน คําวาอีเลิรนนิง (E-Learning) ไดรับการกลาวถึงอยางแพรหลาย อีเลิรนนิงเปนการเรียนการสอน ที่รวมถึงการถายทอดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจน การวัดและประเมินผล ผานตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใชภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน และเสียง โดย อาศัยเทคโนโลยีของเว็บในการถายทอด ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวาบทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีคุณภาพในการ เรี ย นรู จึ ง มี ค วามสํ า คั ญ เนื่ อ งจากเป น การทดแทนเนื้ อ หาในชั้ น เรี ย นผ า นรู ป แบบการนํ า เสนอที่ มี ประสิทธิภาพ ดวยการออกแบบตามหลักการเรียนรู หลักการออกแบบ อันจะสงผลตอประสิทธิผลทางการ เรียนตอไป ความเปนมาของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) 1 ทางการศึกษา อีเลิรนนิงไดแพรกระจายสูการศึกษาในทุกระดับ ดวยสาเหตุท่ีวาการเรียนรูในรูปแบบนี้มีความ ยืดหยุนสูงสําหรับผูสอนในการบูรณาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเขาไปในกระบวนการเรียนการสอน และยังลดขอจํากัดของความพยายามที่จะใชเทคโนโลยีท่ีมีอยูไมวาจะเปน สื่อการเรียนรูอิเล็กทรอนิกสตางๆ (Courseware/Learning Object) และระบบเครือขายคอมพิวเตอรเพื่อการสื่อสาร (Computer Mediated Communication) ในเรื่องของการออกแบบเฉพาะตัวเพื่อใหเหมาะสมกับผูเรียนรายบุคคลมากที่สุด โดยการ เรียนการสอนแบบอีเลิรนนิงหรือออนไลนเต็มรูปแบบที่เนนในเรื่องของการเรียนการสอนที่ไมมีขอจํากัดของ เวลาและสถานที่นั้น ยังมีขอจํากัดในเรื่องของชองวางในการติดตอสื่อสารระหวางกันทั้งกับผูสอนและผูเรียน และผูเรียนดวยกันเอง อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ 1
  • 2. ดังนั้น การเรียนการสอนแบบผสมผสานจึงเขามาเปนตัวเลือกหนึ่ง โดยการเรียนการสอนแบบ ผสมผสาน (Hybrid/Blended Learning) ถือวาเปนระบบการเรียนที่ผสมผสานจุดเดนของการเรียนการสอน ในชั้นเรียนและการเรียนการสอนดวยเทคโนโลยีคอมพิวเตอรผานเครือขายอินเทอรเน็ต ทั้งในดานการ นําเสนอเนื้อหาและการเขารวมกิจกรรม สาเหตุสําคัญที่ทําใหการเรียนการสอนในรูปแบบนี้เปนที่นิยมอยาง แพรหลายคือการที่ผูสอนสามารถกําหนดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มกลยุทธการเรียน การสอนโดยใหผูเรียนเปนศูนยกลาง ผูเรียนสามารถเขาถึงและศึกษาขอมูลเนื้อหาการเรียนการสอนเมื่อใด และเวลาใดก็ได การใหผูเรียนมีสวนรวมในการเรียนรวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรูความคิดระหวางผูเรียนทั้ง ในหองเรียน และสามารถตอยอดไดผานสังคมการเรียนรูออนไลน ดังนั้น เวลาที่มีคาในชั้นเรียนผูสอน สามารถฝกทักษะตางๆ ตลอดจนเสริมสรางเจตคติทางการเรียนที่จําเปน และการพัฒนาทักษะการคิดของ ผูเรียนในเรื่องของการพัฒนาและใชเพื่อการตัดสินใจ การแกปญหาตางๆ เชนกิจกรรมกรณีศึกษา โดยการ ออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบนี้โดยมากจะประกอบดวย 6 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะหความตองการ จําเปน 2) กําหนดวัตถุประสงคของหลักสูตร 3) การออกแบบหลักสูตรแบบผสมผสาน 4) การออกแบบการ เรียนการสอนแบบผสมผสานในรายวิชาตางๆ 5) การทดลองใชหลักสูตรฯ และ 6) การวัดและประเมินผล หลักสูตร (Bonk and Graham, 2006; Wilson and Smilanich, 2005; Sloan Consortium Foundation, 2005) การเรียนการสอนแบบผสมผสานมีความคลายคลึงกับการเรียนการสอนแบบอีเลิรนนิง เนื่องดวย การเรียนการสอนทั้งสองรูปแบบนี้ลวนใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนําเสนอเนื้อหาและการ จัดกิจกรรมตางๆ ผานทางอินเทอรเน็ต จุดตางของการเรียนการสอนสองรูปแบบนี้คือในเรื่องของสัดสวนที่ใช ในการนําเสนอเนื้อหาวิชาโดยการเรียนการสอนแบบผสมผสานนั้นจะเปนการดึงคุณสมบัติเดนของการเรียน การสอนในชั้นเรียนและการเรียนการสอนออนไลน โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและประโยชนทางการศึกษา สูงสุดที่ผูเรียนจะไดรับเปนสําคัญ โดยการเรียนการสอน แบบอีเลิรนนิงจะเนนในเรื่องของการเรียนการสอนที่ ไมมีขอจํากัดทั้งในเรื่องของคุณสมบัติผูเขาศึกษา เรื่องเวลา และเรื่องสถานที่ (anyone, from anywhere, and at anytime) และเนนในเรื่องของ WEB 2.0 Technology ที่ใหความสําคัญของการปฏิสัมพันธระหวาง กันมากขึ้น ซึ่งนําไปสูการแลกเปลี่ยนเรียนรูและสังคมแหงการเรียนรูออนไลน (Online learning community) ทั้งนี้ องคประกอบของบทเรียนอีเลิรนนิงและบทเรียนแบบผสมผสาน มีองคประกอบที่สําคัญ 4 สวน คือ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส 2) ระบบจัดการการเรียนรู 3) การติดตอสื่อสาร และ 4) การประเมินผล การเรียน ซึ่งเมื่อนําองคประกอบทั้ง 4 มาประกอบเขาดวยกันแลว ระบบจะทํางานประสานกันไดอยางลงตัว โดยแตละองคประกอบมีรายละเอียดดังนี้ 2 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
  • 3. 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส เปนเนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส ซึ่งสวนใหญมี ลักษณะเปนสื่อประสมซึ่งสามารถแบงการถายทอดเนื้อหาได 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การใชขอความออนไลน เปนหลัก มีจุดเดนคือประหยัดเวลาและคาใชจาย และผูสอนยังสามารถผลิตเนื้อหาไดดวยตนเอง 2) การใช บทเรียนสื่อประสมแบบปฏิสัมพันธที่ผลิตอยางงายๆ เพื่อประกอบบทเรียน ซึ่งผูสอนสามารถผลิตและ ปรับปรุงเนื้อหาใหทันสมัยไดอยางสะดวกดวยตนเอง และ 3) การใชบทเรียนคุณภาพสูงโดยการนําเสนอ เนื้อหาจะใชสื่อประสมเชน เดียวกับขอ 2 แตมี ความเปนมืออาชีพ มีทีมงาน ไดแ ก ผูเชี่ยวชาญดานการ ออกแบบการสอน ดานเนื้อหา ดานการผลิตบทเรียนมัลติมีเดีย ตลอดจนโปรแกรมเมอร และนักออกแบบ กราฟก 2) ระบบบริหารจัดการการเรีย นรู คือโปรแกรมบริหารจัดการการเรียนรูที่ทําหนาที่เปน ศู น ย ก ลางการจั ด การและสนั บ สนุ น การจั ด การเรี ย นรู ซึ่ ง ใช เ ทคโนโลยี อิ น เทอร เ น็ ต มาจั ด การให เ กิ ด ปฏิสัมพันธระหวางผูสอนและผูเรียน ผูเรียนกับผูเรียน และผูเรียนกับแหลงขอมูล ทั้งนี้ จะชวยใหผูเรียน และผูสอนสามารถเขาถึงเนื้อหาและใชงานไดงาย โดยมีเครื่องมือทางดานการจัดการ การปรับปรุง การ ควบคุม การสํารองขอมูล การสนับสนุนขอมูล การบันทึกสถิติผูเรียน และการประเมินผล ตลอดจนการ ตรวจใหคะแนนผูเรียน ซึ่งผูใชสามารถเรียกใชเครื่องมือเหลา นี้ผานโปรแกรมเว็บบราวเซอร Western Cooperative for Educational Telecommunications: WCET (2009 อางถึงใน จินตวีร คลายสังข และ ประกอบ กรณีกิจ, 2552) ไดแบงเครื่องมือของระบบจัดการการเรียนรูเปน 6 กลุมดังนี้ 2.1) เครื่องมือสื่อสาร (Communication tools) ประกอบดวย การอภิปราย การแลกเปลี่ยน ไฟล อีเมล วารสาร/บันทึกออนไลน การสนทนา การบริการวิดีโอ และไวตบอรด 2.2) เครื่องมืออํานวยประโยชน (Productivity tools) ประกอบดวย บุกมารค ปฏิทินการเรียน การสืบคนภายในรายวิชา และการแนะนําการเรียน 2.3) เครื่องมือสนับสนุนผูเรียน (Student involvement tools) ประกอบดวย การจัดกลุม การ ประเมินตนเอง การสรางชุมชนของผูเรียน และแฟมสะสมงานผูเรียน 2.4) เครื่องมือบริหารรายวิชา (Administration tools) ประกอบดวย การระบุตัวตนของผูเรียน การกําหนดสิทธิ์การเขาใชรายวิชา และการลงทะเบียนเรียน 2.5) เครื่องมือสงผานรายวิชา (Course delivery tools) ประกอบดวย การจัดการรายวิชา การ ชวยเหลือผูสอน การประเมินผลออนไลน การติดตามผูเรียน และการทดสอบและใหคะแนนอัตโนมัติ 2.6) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) ประกอบดวย การเขาถึงระบบ เทมเพลต รายวิชา การจัดการหลักสูตร การปรับแตงมุมมองของหนาจอ การออกแบบการสอน การยินยอมตาม มาตรฐานการสอน และการใชเนื้อหารวมและการใชซ้ํา อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ 3
  • 4. 3) การติดตอสื่อสาร เปนเครื่องมือที่ชวยใหผูเรียนไดติดตอสอบถาม ปรึกษาหารือและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหวางผูเรียนและผูสอน และระหวางผูเรียนกับเพื่อนรวมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดย เครื่องมือที่ใชในการติดตอสื่อสารอาจแยกไดเปน 2 ประเภท คือ แบบประสานเวลา (Synchronous) และ แบบไมประสานเวลา (Asynchronous) โดยเครื่องมือที่ชวยในการติดตอสื่อสารที่สามารถใชในการจัดการ เรียนรูออนไลนท้ัง 2 ประเภท ไดแก แช็ท ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส กลุมขาว หองสนทนา กระดานอภิปราย กระดานประกาศ บล็อก และวิกิ เปนตน 4) การประเมินผลการเรียน ในการเรียนแบบผสมผสานบางรายวิชาจําเปนตองวัดระดับความรู กอนเรียน (Pre-test) เพื่อใหผูเรียนไดเลือกเรียนในบทเรียนหรือหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะทําให การเรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเขาสูบทเรียนในแตละหลักสูตรก็จะมีการสอบยอยทายบท (Quiz) และ การสอบใหญกอนที่จะจบหลักสูตร (Final Examination) ซึ่งขอสอบดังกลาวอาจอยูในหลายรูปแบบใหผูสอน เลือกใชผ านระบบจั ดการการเรียนรู เชน แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบเติมคํา ตอบ และแบบจับคู นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการเรียนอื่นๆ ซึ่งมีความสําคัญในการเรียนการสอนออนไลน ที่ควร นํามาใชเพื่อพิจารณาประกอบผลการเรียนรูของผูเรียนดวย เชน จํานวนครั้งการเขาเรียนในหองเรียน หรือ ในบทเรียนออนไลน หรือการเขารวมกิจกรรมบนออนไลน เวลาที่เขาใชในแตละบทเรียน ความถี่ในการ แสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย ตลอดจนคุณภาพของการแสดงความคิดเห็นหรือการอภิปราย งานที่ ไดรับมอบหมาย การเขียนบันทึกการเรียนรูประจําวัน และแฟมสะสมงานอิเล็กทรอนิกส เปนตน (จินตวีร คลายสังข และประกอบ กรณีกิจ, 2552) ในหนังสือเลมนี้ จะขอเนนในเรื่องของบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือคอรสแวร ซึ่งเปนองคประกอบที่ สําคัญอยางยิ่งในการจัดการเรียนรูแบบอีเลิรนนิง โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกสหรือคอรสแวรในที่นี้จะหมายถึง เนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส โดยมากมีลักษณะเปนสื่อประสมซึ่งสามารถแบงประเภทตาม การถายทอดเนื้อหา ไดแก รูปแบบที่ 1 การใชขอความออนไลนเปนหลัก รูปแบบที่ 2 การใชบทเรียนสื่อ ประสมแบบปฏิสัมพันธที่ผลิตอยางงายๆ เพื่อประกอบบทเรียน และ รูปแบบที่ 3 การใชบทเรียนคุณภาพสูง โดยการนําเสนอเนื้อหาจะใชสื่อประสมเชนเดียวกับขอ 2 แตมีความเปนมืออาชีพ โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส หรือคอรสแวรทั้ง 3 รูปแบบนี้จะนําเสนอผานระบบบริหารจัดการการเรียนรูที่ทําหนาที่เปนศูนยกลางการ จัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนรูในบริบทของการจัดการเรียนรูแบบอีเลิรนนิง 4 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
  • 5. 2 ทฤษฎีทางการศึกษาสําหรับการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส ทางการศึกษา ทฤษฎี ท างการศึ ก ษาและหลั ก การพื้ น ฐานสํ า หรั บ การออกแบบบทเรี ย นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ท าง การศึกษา ประกอบดวย (1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่เชื่อในเรื่องของการฝกปฏิบัติ การเสริมแรงและการ ลงโทษ การมีสวนรวมในการเรียนและการตอบสนอง การปรับพฤติกรรมและการเลียนแบบ 2) ทฤษฎี พุทธิปญญาที่เนนเรื่องการเรียนรูที่ผูเรียนเปนศูนยกลาง การเรียนรูอยางมีความหมายและเปนระบบ โดย คํานึงถึงพื้นฐานความรูเดิม และการเชื่อมโยงไปสูความรูใหม 3) ทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสมที่เนนเรื่องของการ สรางองคความรูดวยตนเอง แตละทฤษฎีนั้นลวนมีวัตถุประสงคเดียวกันคือเพื่อใหผูเรียนบรรลุเปาหมายการ เรียนรูที่ไดกําหนดไว อยางไรก็ตามดวยลักษณะของความรูและวัตถุประสงคที่ตางกัน ทฤษฎีทั้ง 3 นี้จึง เหมาะสมในสถานการณที่แตกตางกันไป ในการเรียนรูผานบริบทของสื่อเว็บ โดยที่ผูสอนเปนผูชวยเหลือ แนะนํา และจัดสภาพแวดลอมใหเหมาะตอการเรียน และบริบทของสังคมที่เอื้อตอการเรียนรู (จินตวีร คลายสังข, 2553) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Theory) นักจิตวิทยาการศึกษา ไดแก Thorndike (1913) Pavlov (1927) และ Skinner (1974) เชื่อวาการ เรียนรูคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได อันเกิดจากการใหสิ่งเราจากภายนอกใน สภาพแวดลอมการเรียนรู นักจิตวิทยากลุมนี้เชื่อวาพฤติกรรมที่สังเกตเห็นไดเปนการบงชี้อยางชัดเจนของ การเรียนรูท่ีเกิดขึ้น ไมใชสิ่งที่อยูในความคิดของผูเรียน ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการนําแนวคิดของ นักจิตวิทยากลุมพฤติกรรมนิยมไปใช ควรมีการแจงใหทราบวาวัตถุประสงคของการเรียนการสอนคืออะไร เพื่อใหผูเรียนทราบและตั้งความคาดหวัง ตลอดจนการประเมินตนเองวาจะสามารถไดรับผลการเรียนรู ประจําบทเรียนนั้นๆ หรือไม ผูเรียนจะตองไดรับการประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อใหทราบวาตนเองมี ผลการเรียนรูเปนไปตามที่กําหนดไวหรือไม ทั้งนี้ อาจมาจากการใหขอมูลปอนกลับที่เหมาะสมทั้งใน ภาพรวมและในทุกๆ ขั้นตอนของการเรียนการสอน เพื่อใหผูเรียนสามารถตรวจสอบไดวาตนเองกําลังเกิด การเรียนรูที่ถูกตองหรือไม อยางไร อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ 5
  • 6. แผนภาพที่ 1.1 บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีการแจงวัตถุประสงคการเรียนการสอนใหทราบ 6 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
  • 7. ใหเลือกคําตอบที่ถูกตองเพียงขอเดียว แลวกด Submit เพื่อยืนยันคําตอบ ยุคแรกของการเรียนการสอนทางไกลเริ่มตนดวยการเรียนผานทางใด 1) การบรรทุกสื่อการสอนไปกับรถมา 2) ไปรษณีย จดหมาย 3) วิทยุ โทรทัศน 4) อินเทอรเน็ต ถูกตองคะ – คลิกที่นเพื่อไปยังขอถัดไป ี่ แผนภาพที่ 1.2 บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีการใหขอมูลปอนกลับ ทฤษฎีพทธิปญญา (Cognitive Theory) ุ นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมพุทธิปญญา เชื่อวาการเรียนรูบางเรื่องไมสามารถสังเกตเห็นได จากพฤติกรรมที่แสดงออก และการเรียนรูที่เกิดขึ้นมีมากกวาการวัดดวยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมนี้จึงศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรูที่เกี่ยวของกับการใชความจํา แรงจูงใจ และการคิด ตลอดจนการสะทอนที่แสดงใหเห็นถึงกระบวนการเรียนรูของผูเรียน ซึ่งนักจิตวิทยากลุมนี้ พิจารณาวาการเรียนรูเปนกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผูเรียน ตามความสามารถในการเรียนรูของแตละ บุคคล ปริมาณความสามารถ ความพยายามที่ทมเทระหวางกระบวนการเรียนรู และความซับซอนของการ ุ ประมวลผล ตลอดจนโครงสรางความรูเดิมของผูเรียน ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการนําแนวคิดของ นักจิตวิทยาและนักการศึกษากลุมพุทธิปญญาไปใชไดคือ การใชกลวิธีที่ใหผูเขารับการเรียนการสอนได เขาถึงสื่อการเรียนไดมากที่สุด เพื่อใหผูเขารับการเรียนการสอนสามารถถายโอนสิ่งที่ไดรับผานประสาท สัมผัสไปยังหนวยความจําระยะสั้น เชน การอาน การมอง และการสัมผั ส เปน ตน นอกจากนี้การ จัดลําดับเนื้อหาอยางเปนระบบ เรียงลําดับจากงายไปยาก และแสดงถึงความเชื่อมโยง เชน การใชผัง ความคิดลวงหนา (Advanced Organizer) จะชวยใหผูเขารับการเรียนการสอนเกิดการจดจําและระลึกถึง ขอมูลนั้นๆ ไดดียิ่งขึ้น อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ 7
  • 8. แผนภาพที่ 1.3 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) ที่มีการจัดลําดับเนื้อหาอยางเปนระบบ ทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสม (Constructivism Theory) นักทฤษฎีกลุมคอนสตรั๊คติวิสมความคิดเห็นในเรื่องการเรียนรูของผูเรียน โดยนักทฤษฎีกลุมนี้ เห็นวาผูเรียนแตละคนมีการแปลความหมายของสารที่ไดรับและการแปลความสิ่งที่อยูรอบตัวตามการรับรู ของแตละบุคคล ซึ่งการรับรูนั้นภายหลังจะเปลี่ยนเปนความรูตามความเขาใจของผูเรียนแตละคน (Learners construct their own knowledge) นักทฤษฎีกลุมนี้มองวาผูเรียนจะตองเปนศูนยกลางการเรียนรู (Learner center) ซึ่งมีผูสอนทําหนาที่เปนผูชวยสนับสนุนการเรียนรู และใหคําแนะนําสนับสนุนการเรียนรู (facilitator, coach) โดยผูสอนจะเปนผูใหคําแนะนํามากกวาเปนผูถายทอดความรู กิจกรรมการเรียนจึงเนน สถานการณการเรียนรู ซึ่งผูเรียนจะตองประยุกตใชความรูในการแกปญหา ดังนั้น การประยุกตใชทฤษฎี คอนสตรั๊คติวิสมสําหรับการเรียนการสอน คือการจัดการเรียนรูที่ใหผูเขารับการเรียนการสอนมีสวนรวมและ วิทยากรตั้งคําถามหรือเสนอสถานการณปญหากระตุนใหผูเขารับการเรียนการสอนคิดวิเคราะหและคิด แกปญหา วิทยากรในฐานะที่เปนผูสนับสนุนการเรียนรูจะตองจัดเตรียมแหลงขอมูลใหเพียงพอตอการเรียนรู ของผูเขารับการเรียนการสอน อันจะนําไปสูการสรางองคความรูใหมตามความเขาใจของผูเรียน นอกจากนี้ การเรียนแบบรวมมือ (Collaborative learning) ยังชวยกระตุนใหผูเขารับการเรียนการสอนแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและรวมกันทํางานใหเสร็จตามที่ไดรับมอบหมาย และมีปฏิสัมพันธกับผูอื่น ซึ่งจะนําไปสูการเรียนรู เพื่อสงเสริมการเรียนรูข้นสูง (higher order learning) และเกิดชุมชนแหงการเรียนรู (learning community) ั อีกดวย 8 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา
  • 9. ภาพที่ 1.4 บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) ที่มีการตั้งคําถามใหผูเรียนมีสวนรวม สรุปไดวาการใชความรูของทฤษฎีการเรียนรูทั้ง 3 กลุม ไดแก พฤติกรรมนิยม พุทธิปญญา และ คอนสตรั๊คติวิสม ลวนมีวัตถุประสงคเดียวกันคือเพื่อใหผูเรียนบรรลุเปาหมายการเรียนรูที่ไดกําหนดไว อยางไรก็ตามดวยลักษณะของความรูและวัตถุประสงคที่ตางกัน ทฤษฎีทั้ง 3 นี้จึงเหมาะสมในสถานการณที่ แตกตางกันไป เชน การใชทฤษฎีกลุมพฤติกรรมนิยมจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนขอเท็จจริง ในขณะที่หลักการจากทฤษฎีพุทธิปญญาจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนหลักการและกระบวนการ และหลักการจากทฤษฎีคอนสตรั๊คติวิสมจะเหมาะกับการเรียนการสอนที่เนนทักษะการคิดระดับสูง (Ally, 2006; Waterhouse, 2005) อีเลิรนนิงคอรสแวร : แนวคิดสูการปฏิบัติ สําหรับการเรียนการสอนอีเลิรนนิงในทุกระดับ 9
  • 10. 3 องคประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส ทางการศึกษา บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (e-learning courseware) เปนเนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส ซึ่งสวนใหญมีลักษณะเปนสื่อประสม โดยเนนการออกแบบที่ใชวิธีการ กลยุทธ และการให ขอมูลปอนกลับแกผูเรียนโดยทันทีในการนําเสนอ ที่กระตุนใหผูเรียนเกิดการเรียนรูตามวัตถุประสงคที่ กํ า หนดไว ซึ่ ง ผู เ รี ย นสามารถเข า ถึ ง เนื้ อ หาได ต ามความต อ งการ ตลอดจนอาจมี แ บบฝ ก หั ด หรื อ แบบทดสอบเพื่อใหผูเรียนสามารถตรวจสอบความเขาใจ ทั้งนี้ อาจยึดแนวทางของ learning object บทเรียนอิเล็กทรอนิกส (Courseware) ในรูปแบบของ Learning Objects เปนสื่อการสอนในลักษณะ บทเรียนอิเล็กทรอนิกสที่มีขนาดเล็ก สามารถนํากลับมาใชใหมโดยการจัดเรียงลําดับเนื้อหาใหม เกิดเปน บทเรียนใหม โดยมีองคประกอบสําคัญในแตละ Learning Object คือ (1) วัตถุประสงคการเรียนรู (2) หนวย การเรียน และ (3) แบบทดสอบ โดยคุณลักษณะเดนของ Learning Objects คือเนื้อหาเปนอิสระภายใน ตัวเอง สะดวกตอการนําไปใชและการปรับแก (content updated) สามารถใชซ้ํา(reusable) แบงปน แลกเปลี่ยนเนื้อหาระหวางกัน (repository) ไดผานระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System) อีก ทั้ ง ยั งเปน การลดปญ หาไฟลข นาดใหญแ ละการปรั บ ปรุ งแกไ ขเนื้ อหาบทเรี ย นไดยาก (Davidson-Shivers, 2006; Waterhouse, 2005; ใจทิพย ณ สงขลา, 2550; Khan, 2005) ทั้งนี้ ไดมีงานวิจัย และหนังสือ/บทความที่มีการเผยแพรในชวง พ.ศ. 2541-2553 เกี่ยวกับ องคประกอบของบทเรียนอิเล็กรอนิกสทางการศึกษา ที่สามารถพิจารณาจําแนกไดเปน ดานองคประกอบ มัลติมเดีย (ภาพ กราฟก แอนิเมชั่น ขอความ เสียง และวีดิทัศน) ดานการออกแบบสวนตอประสาน ดานการ ี ออกแบบเนื้อหา ดานการออกแบบระบบนําทาง ดานการทดสอบการใชงาน ดานการเขาถึงขอมูล และดาน อื่นๆ เชน คุณภาพเนื้อหา กิจกรรมการเรียน การทดสอบความรู ขอมูลปอนกลับ มาตรฐาน SCORM เปน ตน ดังตัวอยางผลงานวิจัยในตารางที่ 1.1-1.2 และหนังสือ/บทความในตารางที่ 1.3-1.4 10 ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส (E-Learning Courseware) ทางการศึกษา