SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 5
Baixar para ler offline
บทที่ 3
ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
ไม้ผลไม้ยืนต้นมักมีขนาดลําต้นสูงใหญ่ การกําหนดระยะปลูกและระบบการปลูกควรคํานึงถึงขนาดทรง
พุ่มเมื่อต้นไม้โตเต็มที่แล้วกิ่งไม่ซ้อนทับกัน เพราะกิ่งที่ซ้อนทับกันจะบังแสงแดดซึ่งกันและกัน กิ่งที่ได้รับแสงแดด
ไม่เพียงพอจะไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น มีรายละเอียด ดังนี้
1.ระยะปลูก
การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมมีความสําคัญที่จะทําให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตดีและให้ผล
ผลิตสูงในอนาคต การเจริญเติบโตของต้นไม้ผลอาจมีอายุยืนยาว 10-20 ปี แล้วแต่ชนิดของต้นไม้ ยิ่งมีอายุ
ยาวนานเท่าไร ก็ยิ่งแผ่กิ่งก้านสาขา และแผ่รากขยายออกไปตามกําลังและอายุด้วย ในด้านผลผลิตนั้นจะมีมาก
น้อยเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับการเจริญงอกงามของต้นของทรงพุ่ม ระยะปลูกนอกจากจะมีความสําคัญต่อการ
เจริญเติบโต การออกดอกผลแล้ว ยังมีผลไปถึงความสะดวกในการดูแลรักษา และความสวยงามของสวนไม้ผลอีก
ด้วย ในการกําหนดระยะปลูกของไม้ผลแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 ขนาดของทรงพุ่ม ทรงพุ่มเป็นลักษณะประจําพันธุ์ของต้นไม้แต่ละชนิด ต้นไม้มีขนาดทรงพุ่มไม่
เท่ากันทั้งในด้านส่วนสูงและการแผ่กิ่งก้านสาขา บางชนิดมีทรงสูงแผ่กิ่งก้านสาขาสั้น เช่น มะพร้าว บางชนิดมี
ทรงพุ่มกว้างใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขากว้าง เช่น เงาะ ลําไย ลิ้นจี่ มะม่วง บางชนิดมีทรงพุ่มปานกลาง เช่น พืชตระกูล
ส้ม ละมุด ลางสาด เป็นต้น ความแตกต่างของทรงพุ่มเป็นลักษณะประจําพันธุ์ เมื่อเราทราบขนาดทรงพุ่มก็
สามารถกําหนดระยะปลูกที่เหมาะสมได้ โดยต้นไม้ที่มีขนาดทรงพุ่มใหญ่ก็กําหนดระยะปลูกให้กว้าง ต้นไม้ที่มี
ขนาดทรงพุ่มปานกลางและเล็ก ก็กําหนดระยะปลูกให้แคบลงมาตามลําดับ
1.2 ราก รากของต้นไม้ต่างชนิดกันย่อมมีการเจริญแผ่กว้างโดยรอบไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับทรงพุ่ม
กล่าวคือ บางชนิดรากจะแผ่กว้างออกไปกว้างขวางมาก บางชนิดรากจะยืดยาวอยู่เพียงบริเวณแคบ ๆ บางชนิดราก
จะหยั่งลึกลงสู่เบื้องล่าง หรือส่วนลึกมากกว่าที่จะแผ่กว้างออกไปโดยรอบตามผิวดิน ในการกําหนดระยะปลูกควร
พิจารณาวางระยะปลูก ไม่ให้รากแผ่ขยายออกทับกัน เพราะจะทําให้ต้นไม้แย่งอาหารจากต้นข้างเคียง
1.3 ฟ้าอากาศ ต้นไม้ผลทุกชนิดเจริญงอกงามได้ดีในที่ ๆ มีฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน บางชนิดต้องการที่ ๆ
มีอากาศชุ่มชื้น มีฝนตกเกือบตลอดปี เช่น เงาะ ลางสาด มังคุด เป็นต้น บางชนิดชอบขึ้นในที่มีอากาศอบอุ่นไม่
เย็นและหนาวจัดจนเกินไป เช่น มะพร้าว กระท้อน ฝรั่ง ชมพู่ต่าง ๆ บางชนิดชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวอยู่ระยะ
หนึ่ง เช่น ลําไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ฉะนั้นถ้าปลูกต้นไม้ที่ไม่ถูกกับสภาพฟ้าอากาศของต้นไม้แต่ละชนิดดังกล่าว
มาแล้วนั้น ระยะปลูกก็จะผิดไปเพราะต้นไม้จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ซึ่งแสดงว่าต้นไม้ชนิดเดียวกัน ถ้าปลูกอยู่
ในสภาพท้องที่มีฟ้าอากาศต่างกัน ระยะปลูกก็จะต่างกันไปด้วย
1.4 ดินปลูก ดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้มาก ถ้าดินปลูกดีมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ
อาหารพืช ต้นไม้ที่ปลูกก็สามารถเจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้มากตามกําลังของต้น และมีอายุยืนนาน
แต่ถ้าดินปลูกเป็นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การเจริญเติบโตของต้นไม้ก็จะอยู่ในวงจํากัด การแผ่กิ่งก้านสาขา
เป็นไปได้น้อย ฉะนั้นต้นไม้ชนิดเดียวกันที่ปลูกอยู่ในสภาพดินดีและดินไม่ดี ระยะปลูกก็จะแตกต่างกัน เพราะการ
แผ่กว้างของทรงพุ่มและรากไม่เท่ากัน
ด้วยเหตุผลหลายประการดังกล่าว จึงควรนํามาเป็นหลักสําคัญในการกําหนดระยะปลูกของต้นไม้ผลแต่ละ
ชนิด สําหรับระยะปลูกไม้ผลชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้
ชนิด ระยะปลูก(เมตร) จํานวนต้นต่อไร่(ประมาณ)
1. ลิ้นจี่
2. ลําไย
3. เงาะ
4. ทุเรียน(พันธุ์หนัก)
5. ขนุน
6. มะม่วง
7. มะม่วงหิมพานต์
8. ส้มโอ
9. ลางสาด
10. มังคุด
11. กระท้อน
12. มะพร้าวใหญ่
13.ทุเรียน(กลาง)
14. ชมพู่
15. ส้มเกลี้ยง
16. ส้มเขียวหวาน , ส้มจีน
17. มะนาว
18. ละมุด
19. ฝรั่ง
20. ทุเรียน(เบา)
10-12 x 10-12
10-12 x 10-12
10-12 x 10-12
10 x 10
8-10 x 8-10
8-10 x 8-10
8-9 x 8-9
8 x 8
8 x 8
8 x 8
8 x 8
8 x 8
8 x 8
7 x 7
6-7 x 6-7
6 x 6
6 x 6
6 x 6
6 x 6
6 x 6
16
16
16
16
25
25
25
25
25
25
25
25
25
36-40
36-40
40-50
40-50
40-50
40-50
40-50
21.พุทรา
22.มะเฟือง
23.มะพร้าว(เบา)
24. ทับทิม
25. มะละกอ
26. กล้วย
27. น้อยหน่า
28. องุ่น
6 x 6
5-6 x 5-6
5 x 5
3 x 3
3 x 3
3 x 3
3 x 3
3 x 3
40-50
40-50
60
170
170
170
170
170
2. ระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
ระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นทําได้หลายแบบ ที่นิยม ได้แก่
2.1 แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส การปลูกแบบนี้ระยะระหว่างต้นเท่ากับระยะระหว่างแถว เช่น ระยะปลูก 4x4
เมตร , 6x6 เมตร , 8x8 เมตร เป็นต้น แผนผังระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังภาพที่ 1.1
ภาพที่ 1 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2.2 แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า การปลูกแบบนี้ระยะระหว่างต้นกับระยะระหว่างแถวไม่เท่ากัน เช่น ระยะปลูก
4x8 เมตร , 6x8 เมตร , 8x10 เมตร เป็นต้น แผนผังการปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังภาพที่ 1.2
ภาพที่ 2 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.3 แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน การปลูกแบบนี้เหมือนกับการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วเพิ่มตรงกลางรูป
สี่เหลี่ยมจัตุรัสอีก 1 ต้น แผนผังการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ดังภาพที่ 1.3
ภาพที่ 3 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจปลูกแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อน หรือปลูกตามแนว
ระดับตามความลาดชั้นของพื้นที่ ไม่มีระบบที่แน่นอน
3. จํานวนต้นต่อพื้นที่
การปลูกต้นไม้ผลไม้ยืนต้น ปกติแล้วต้นที่อยู่ริมพื้นที่จะไม่ปลูกตรงริมพื้นที่พอดี เพราะว่าเมื่อต้นไม้โตขึ้น
จะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปในพื้นที่ของคนอื่น การปลูกจึงควรจะถอยห่างจากริมพื้นที่เข้ามาเท่ากับรัศมีทรงพุ่มของ
ต้นไม้เมื่อโตเต็มที่ เช่น ถ้าต้นโตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 8 เมตร แสดงว่ามีรัศมีทรงพุ่มเป็น 4 เมตร เรา
ควรปลูกต้นแรกให้ห่างจากริมพื้นที่เข้ามา 4 เมตร เป็นต้น
ตัวอย่าง พื้นที่ 1 ไร่ กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร (1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตร) ปลูกมะม่วงโดยใช้ระยะ
ปลูก 10x10 เมตร แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะปลูกมะม่วงได้ทั้งหมดกี่ต้น
วิธีการปลูก จะปลูกต้นที่หนึ่งห่างจากริมพื้นที่ 5 เมตร ต้นที่สองห่างจากต้นแรก 10 เมตร ต้นที่สามห่าง
จากต้นที่สอง 10 เมตร ต้นที่สี่ห่างจากต้นที่สาม 10 เมตร และห่างจากริมพื้นที่ 5 เมตรพอดี ดังแผนผังต่อไปนี้
เมื่อปลูกเสร็จแล้วจะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
40 เมตร
5 10 10 10 5
. . . .
40 เมตร
. . . .
. . . .
. . . .
นักเรียนอาจจะนับจํานวนต้นจากแผนผังข้างต้น หรือใช้สูตรการคํานวณ ดังนี้
แทนค่า จํานวนต้น =
1010
4040
×
×
= 16 ต้น
ใบงาน
เรื่อง ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
จงแสดงวิธีคํานวณ
(1) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4
เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(2) พื้นที่กว้าง 80 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4 เมตร
จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(3) พื้นที่กว้าง 100 เมตร ยาว 100 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4
เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(4) พื้นที่กว้าง 120 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4
เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(5) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะนาวแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร
จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(6) พื้นที่กว้าง 60 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะกรูดแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร จะ
ปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(7) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกส้มเขียวหวานแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8
เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
(8) พื้นที่กว้าง 60 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกส้มเช้งแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8
เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น
จํานวนต้น = พืนที / ระยะปลูก

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิดแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิดคุณครูพี่อั๋น
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1suchinmam
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงKru Tew Suetrong
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการsupaporn2516mw
 
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...Sircom Smarnbua
 
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุง
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุงงานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุง
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุงBau Toom
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3Arisa Srising
 
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์Jirathorn Buenglee
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยhall999
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าNodChaa
 
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วนชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วนพิทักษ์ ทวี
 
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายเฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายkrurutsamee
 
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ppompuy pantham
 

Mais procurados (20)

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิดแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
 
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา...
 
วิจัย การรวมกลุ่ม
วิจัย การรวมกลุ่มวิจัย การรวมกลุ่ม
วิจัย การรวมกลุ่ม
 
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุง
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุงงานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุง
งานนำเสนอ ความขัดแย้ง ปรับปรุง
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3
 
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์
ข้อสอบความคิดสร้างสรรค์
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
 
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วนชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน
ชุดที่ 8 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน
 
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายเฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ชีวิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
 

ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น

  • 1. บทที่ 3 ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ผลไม้ยืนต้นมักมีขนาดลําต้นสูงใหญ่ การกําหนดระยะปลูกและระบบการปลูกควรคํานึงถึงขนาดทรง พุ่มเมื่อต้นไม้โตเต็มที่แล้วกิ่งไม่ซ้อนทับกัน เพราะกิ่งที่ซ้อนทับกันจะบังแสงแดดซึ่งกันและกัน กิ่งที่ได้รับแสงแดด ไม่เพียงพอจะไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น มีรายละเอียด ดังนี้ 1.ระยะปลูก การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมมีความสําคัญที่จะทําให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตดีและให้ผล ผลิตสูงในอนาคต การเจริญเติบโตของต้นไม้ผลอาจมีอายุยืนยาว 10-20 ปี แล้วแต่ชนิดของต้นไม้ ยิ่งมีอายุ ยาวนานเท่าไร ก็ยิ่งแผ่กิ่งก้านสาขา และแผ่รากขยายออกไปตามกําลังและอายุด้วย ในด้านผลผลิตนั้นจะมีมาก น้อยเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับการเจริญงอกงามของต้นของทรงพุ่ม ระยะปลูกนอกจากจะมีความสําคัญต่อการ เจริญเติบโต การออกดอกผลแล้ว ยังมีผลไปถึงความสะดวกในการดูแลรักษา และความสวยงามของสวนไม้ผลอีก ด้วย ในการกําหนดระยะปลูกของไม้ผลแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.1 ขนาดของทรงพุ่ม ทรงพุ่มเป็นลักษณะประจําพันธุ์ของต้นไม้แต่ละชนิด ต้นไม้มีขนาดทรงพุ่มไม่ เท่ากันทั้งในด้านส่วนสูงและการแผ่กิ่งก้านสาขา บางชนิดมีทรงสูงแผ่กิ่งก้านสาขาสั้น เช่น มะพร้าว บางชนิดมี ทรงพุ่มกว้างใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขากว้าง เช่น เงาะ ลําไย ลิ้นจี่ มะม่วง บางชนิดมีทรงพุ่มปานกลาง เช่น พืชตระกูล ส้ม ละมุด ลางสาด เป็นต้น ความแตกต่างของทรงพุ่มเป็นลักษณะประจําพันธุ์ เมื่อเราทราบขนาดทรงพุ่มก็ สามารถกําหนดระยะปลูกที่เหมาะสมได้ โดยต้นไม้ที่มีขนาดทรงพุ่มใหญ่ก็กําหนดระยะปลูกให้กว้าง ต้นไม้ที่มี ขนาดทรงพุ่มปานกลางและเล็ก ก็กําหนดระยะปลูกให้แคบลงมาตามลําดับ 1.2 ราก รากของต้นไม้ต่างชนิดกันย่อมมีการเจริญแผ่กว้างโดยรอบไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับทรงพุ่ม กล่าวคือ บางชนิดรากจะแผ่กว้างออกไปกว้างขวางมาก บางชนิดรากจะยืดยาวอยู่เพียงบริเวณแคบ ๆ บางชนิดราก จะหยั่งลึกลงสู่เบื้องล่าง หรือส่วนลึกมากกว่าที่จะแผ่กว้างออกไปโดยรอบตามผิวดิน ในการกําหนดระยะปลูกควร พิจารณาวางระยะปลูก ไม่ให้รากแผ่ขยายออกทับกัน เพราะจะทําให้ต้นไม้แย่งอาหารจากต้นข้างเคียง 1.3 ฟ้าอากาศ ต้นไม้ผลทุกชนิดเจริญงอกงามได้ดีในที่ ๆ มีฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน บางชนิดต้องการที่ ๆ มีอากาศชุ่มชื้น มีฝนตกเกือบตลอดปี เช่น เงาะ ลางสาด มังคุด เป็นต้น บางชนิดชอบขึ้นในที่มีอากาศอบอุ่นไม่ เย็นและหนาวจัดจนเกินไป เช่น มะพร้าว กระท้อน ฝรั่ง ชมพู่ต่าง ๆ บางชนิดชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวอยู่ระยะ หนึ่ง เช่น ลําไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ฉะนั้นถ้าปลูกต้นไม้ที่ไม่ถูกกับสภาพฟ้าอากาศของต้นไม้แต่ละชนิดดังกล่าว มาแล้วนั้น ระยะปลูกก็จะผิดไปเพราะต้นไม้จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ซึ่งแสดงว่าต้นไม้ชนิดเดียวกัน ถ้าปลูกอยู่ ในสภาพท้องที่มีฟ้าอากาศต่างกัน ระยะปลูกก็จะต่างกันไปด้วย 1.4 ดินปลูก ดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้มาก ถ้าดินปลูกดีมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ อาหารพืช ต้นไม้ที่ปลูกก็สามารถเจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้มากตามกําลังของต้น และมีอายุยืนนาน แต่ถ้าดินปลูกเป็นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การเจริญเติบโตของต้นไม้ก็จะอยู่ในวงจํากัด การแผ่กิ่งก้านสาขา
  • 2. เป็นไปได้น้อย ฉะนั้นต้นไม้ชนิดเดียวกันที่ปลูกอยู่ในสภาพดินดีและดินไม่ดี ระยะปลูกก็จะแตกต่างกัน เพราะการ แผ่กว้างของทรงพุ่มและรากไม่เท่ากัน ด้วยเหตุผลหลายประการดังกล่าว จึงควรนํามาเป็นหลักสําคัญในการกําหนดระยะปลูกของต้นไม้ผลแต่ละ ชนิด สําหรับระยะปลูกไม้ผลชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้ ชนิด ระยะปลูก(เมตร) จํานวนต้นต่อไร่(ประมาณ) 1. ลิ้นจี่ 2. ลําไย 3. เงาะ 4. ทุเรียน(พันธุ์หนัก) 5. ขนุน 6. มะม่วง 7. มะม่วงหิมพานต์ 8. ส้มโอ 9. ลางสาด 10. มังคุด 11. กระท้อน 12. มะพร้าวใหญ่ 13.ทุเรียน(กลาง) 14. ชมพู่ 15. ส้มเกลี้ยง 16. ส้มเขียวหวาน , ส้มจีน 17. มะนาว 18. ละมุด 19. ฝรั่ง 20. ทุเรียน(เบา) 10-12 x 10-12 10-12 x 10-12 10-12 x 10-12 10 x 10 8-10 x 8-10 8-10 x 8-10 8-9 x 8-9 8 x 8 8 x 8 8 x 8 8 x 8 8 x 8 8 x 8 7 x 7 6-7 x 6-7 6 x 6 6 x 6 6 x 6 6 x 6 6 x 6 16 16 16 16 25 25 25 25 25 25 25 25 25 36-40 36-40 40-50 40-50 40-50 40-50 40-50 21.พุทรา 22.มะเฟือง 23.มะพร้าว(เบา) 24. ทับทิม 25. มะละกอ 26. กล้วย 27. น้อยหน่า 28. องุ่น 6 x 6 5-6 x 5-6 5 x 5 3 x 3 3 x 3 3 x 3 3 x 3 3 x 3 40-50 40-50 60 170 170 170 170 170
  • 3. 2. ระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นทําได้หลายแบบ ที่นิยม ได้แก่ 2.1 แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส การปลูกแบบนี้ระยะระหว่างต้นเท่ากับระยะระหว่างแถว เช่น ระยะปลูก 4x4 เมตร , 6x6 เมตร , 8x8 เมตร เป็นต้น แผนผังระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังภาพที่ 1.1 ภาพที่ 1 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2.2 แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า การปลูกแบบนี้ระยะระหว่างต้นกับระยะระหว่างแถวไม่เท่ากัน เช่น ระยะปลูก 4x8 เมตร , 6x8 เมตร , 8x10 เมตร เป็นต้น แผนผังการปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังภาพที่ 1.2 ภาพที่ 2 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2.3 แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน การปลูกแบบนี้เหมือนกับการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วเพิ่มตรงกลางรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสอีก 1 ต้น แผนผังการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ดังภาพที่ 1.3
  • 4. ภาพที่ 3 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจปลูกแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อน หรือปลูกตามแนว ระดับตามความลาดชั้นของพื้นที่ ไม่มีระบบที่แน่นอน 3. จํานวนต้นต่อพื้นที่ การปลูกต้นไม้ผลไม้ยืนต้น ปกติแล้วต้นที่อยู่ริมพื้นที่จะไม่ปลูกตรงริมพื้นที่พอดี เพราะว่าเมื่อต้นไม้โตขึ้น จะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปในพื้นที่ของคนอื่น การปลูกจึงควรจะถอยห่างจากริมพื้นที่เข้ามาเท่ากับรัศมีทรงพุ่มของ ต้นไม้เมื่อโตเต็มที่ เช่น ถ้าต้นโตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 8 เมตร แสดงว่ามีรัศมีทรงพุ่มเป็น 4 เมตร เรา ควรปลูกต้นแรกให้ห่างจากริมพื้นที่เข้ามา 4 เมตร เป็นต้น ตัวอย่าง พื้นที่ 1 ไร่ กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร (1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตร) ปลูกมะม่วงโดยใช้ระยะ ปลูก 10x10 เมตร แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะปลูกมะม่วงได้ทั้งหมดกี่ต้น วิธีการปลูก จะปลูกต้นที่หนึ่งห่างจากริมพื้นที่ 5 เมตร ต้นที่สองห่างจากต้นแรก 10 เมตร ต้นที่สามห่าง จากต้นที่สอง 10 เมตร ต้นที่สี่ห่างจากต้นที่สาม 10 เมตร และห่างจากริมพื้นที่ 5 เมตรพอดี ดังแผนผังต่อไปนี้ เมื่อปลูกเสร็จแล้วจะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น 40 เมตร 5 10 10 10 5 . . . . 40 เมตร . . . . . . . . . . . . นักเรียนอาจจะนับจํานวนต้นจากแผนผังข้างต้น หรือใช้สูตรการคํานวณ ดังนี้
  • 5. แทนค่า จํานวนต้น = 1010 4040 × × = 16 ต้น ใบงาน เรื่อง ระยะปลูกและระบบการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น จงแสดงวิธีคํานวณ (1) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (2) พื้นที่กว้าง 80 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (3) พื้นที่กว้าง 100 เมตร ยาว 100 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (4) พื้นที่กว้าง 120 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกมะละกอแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน ด้วยระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (5) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะนาวแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (6) พื้นที่กว้าง 60 เมตร ยาว 80 เมตร ปลูกมะกรูดแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร จะ ปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (7) พื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกส้มเขียวหวานแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น (8) พื้นที่กว้าง 60 เมตร ยาว 120 เมตร ปลูกส้มเช้งแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยระยะปลูก 4 x 8 เมตร จะปลูกได้ทั้งหมดกี่ต้น จํานวนต้น = พืนที / ระยะปลูก