SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 29
Baixar para ler offline
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศ
สมาชิกองค์การการค้าโลก: กรณีศึกษาของประเทศไทย
(Progress of Trade and Development of
Member Countries of World Trade Organization:
A Case Study of Thailand)
โดย
เชิญ ไกรนรา
Choen Krainara
สานักงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2554
เชิญ ไกรนรา | ๒
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลก: กรณีศึกษาของประเทศไทย
โดย
เชิญ ไกรนรา
๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
องค์การการค้าโลก หรือ WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วย
ภาษีศุลกากรและการค้า หรือ “แกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT)” จัดตั้งขึ้นอย่าง
เป็นทางการตามความตกลงมาร์ราเกชเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๘ โดยมีสานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบัน (ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ) มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น ๑๕๓ ประเทศ มีประเทศผู้
สังเกตการณ์จานวน ๓๑ ประเทศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกโดย
สมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกลาดับที่ ๕๙
๑. วัตถุประสงค์และหลักการ
๑) วัตถุประสงค์
เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และจัดทากฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาท
ทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
๒ ) หลักการสาคัญของระบบการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก
(๑) กาหนดให้ใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination)
โดยให้การปฏิบัติต่อสินค้าจากประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียมกันทุกประเทศ (Most-Favored Nation Treatment:
MFN) และปฏิบัติต่อสินค้านาเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National Treatment) การกาหนดและบังคับ
ใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส และคุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น ( Tariff-only
protection)
(๒) การค้ามีความเสรีมากขึ้นเนื่องจากการลดอุปสรรคทางการค้าทางด้านอัตราภาษีศุลกากร และ
มาตรการอื่นๆ เช่น การห้ามนาเข้าหรือการจากัดการนาเข้า โดยผ่านการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับประเด็นความล่าช้าของระบบราชการและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา
ด้วย ข้อตกลงภายใต้ WTO เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีการปรับตัวเพื่อการเปิดเสรี
ทางการค้าแบบค่อยเป็นค่อยไป และ WTO จะมีการติดตามการกาหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกกฎหมาย
การค้าและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสทางการค้าทั่วโลก
เชิญ ไกรนรา | ๓
(๓) ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Fair competition) ระบบการค้าอนุญาตให้มีการใช้
อัตราภาษีหรือการปกป้องในรูปแบบอื่นๆ ตามความจาเป็น โดยประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่ม
ตลาดและการอุดหนุนจากสินค้านาเข้าได้ หากมีการไต่สวนตามกฎเกณฑ์ของ WTO แล้วพบว่า ประเทศผู้ส่งออกมี
การทุ่มตลาด หรือให้การอุดหนุนจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้
ประเทศสมาชิกอุดหนุนการผลิตและการส่งออกจนบิดเบือนกลไกตลาด ตลอดทั้ง ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้งผู้ค้า
และผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้
(๔) ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า
(No trade blocs) ประเทศสมาชิกสามารถตกลงรวมกลุ่ม เพื่อขยายการค้าระหว่างกันได้ แต่มีเงื่อนไขว่าการ
รวมกลุ่มต้องไม่มีจุดประสงค์ เพื่อกีดกันการนาเข้าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม และเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต้องไม่
กระทบต่อผลประโยชน์เดิมของประเทศนอกกลุ่ม
(๕) มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า (Trade dispute settlement mechanism) เมื่อมีกรณี
ข้อขัดแย้งทางการค้า ให้หารือเพื่อหาทางยุติข้อพิพาท หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ให้นาเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติ
ข้อพิพาทของ WTO โดยการยื่นเรื่องต่อองค์กรระงับข้อพิพาท ( Dispute settlement body: DSB) ของ WTO
เพื่อจัดตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นพิจารณากรณีดังกล่าว และรายงานผลให้ประเทศสมาชิกอื่นร่วมกันพิจารณา บังคับให้
เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะผู้พิจารณา หากไม่ปฏิบัติตามคาตัดสิน ประเทศผู้เสียหายสามารถทาการตอบ
โต้ทางการค้าได้
(๖) ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกาลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and differential
treatment: S&D) ผ่อนผันให้ประเทศกาลังพัฒนามีระยะเวลาในการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ยาวนานกว่า จากัดการ
นาเข้า ได้หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพดุลการชาระเงิน และให้โอกาสประเทศ
พัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกาลังพัฒนาได้ แม้จะขัดกับหลัก MFN ก็ตาม
(๗) การส่งเสริมการพัฒนาและการปฏิรูปเศรษฐกิจ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของสมาชิกองค์การการค้า
โลกเป็นประเทศกาลังพัฒนาหรือกาลังเข้าสู่การเป็นประเทศตลาดใหม่ ซึ่งประเทศสมาชิกเหล่านี้มีอิทธิพลสูงต่อการ
เจรจาการเปิดเสรีทางการค้า ภายหลังจากการเจรจารอบอุรุกวัยประเทศพัฒนาแล้วได้เริ่มเปิดให้มีการนาเข้าแบบ
ปลอดภาษีหรือไม่จากัดปริมาณการนาเข้าสาหรับสินค้าจากประเทศด้อยพัฒนา
๒.พัฒนาการของการเจรจาการค้าระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก
องค์การการค้าโลกมีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ มีวิวัฒนาการมาจากแกตต์ซึ่งเป็นความตกลงที่
เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘) อันเป็นช่วงที่ประเทศต่าง ๆ ประสบปัญหาจากสงคราม
ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้มีการก่อตั้งแกตต์เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว ๖๓ ปี
ก่อนหน้านี้แกตต์เป็นองค์กรจัดระบบกฎระเบียบการค้าโลก โดยไม่มีกฎหมายและองค์กรระหว่างประเทศรองรับ
และมีสมาชิกแรกเริ่ม 23 ประเทศ ทาหน้าที่ควบคุมบริหารงานทั่วไป คือ (๑) เป็นกฎระเบียบทางการค้าระหว่าง
ประเทศ (๒) เป็นเวทีเพื่อเจรจาการค้า (๓) เป็นเวทีให้ประเทศคู่กรณียุติข้อพิพาทการค้า ซึ่งมีวิวัฒนาการโดยผ่าน
การเจรจามาแล้วหลายรอบ โดยการเจรจาครั้งสุดท้ายและใหญ่ที่สุดของแกตต์ คือ การเจรจารอบอุรุวัยซึ่ง
ดาเนินการเป็นระยะเวลา ๘ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และนาไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก
เชิญ ไกรนรา | ๔
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ในขณะที่แกตต์เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อตกลงการค้าสินค้า แต่ข้อตกลงรอบอุรุวัยถือเป็นการ
เจรจารอบที่สาคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกฏเกณฑ์การค้าโลกมากที่สุดเพราะได้ขยายขอบเขตการ
เจรจาให้กระชับ รัดกุมและทันสมัย และครอบคลุมข้อตกลงการค้าบริการและการคิดค้นสร้างสรรค์และการ
ออกแบบ โดยเฉพาะด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙o-๒๕๓๗ แกตต์ได้จัดให้มีการเจรจาการค้า
หลายฝ่ายในระดับพหุภาคีเพื่อลดข้อจากัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้าไปแล้วรวม ๘ รอบ รายละเอียดปรากฏใน
ตารางที่ ๑
ตารางที่ ๑ : สรุปผลการเจรจาการค้าภายใต้แกตต์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙o-๒๕๓๗
รอบการเจรจาการค้า จานวนประ
เทศที่จรจา
วัตถุประสงค์ ผลการเจรจา
๑. Geneva Round
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙o
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
๒๓
(เป็น
ประเทศเริ่ม
ก่อตั้ง)
เพื่อลดอัตราภาษีอากร
ระหว่างกัน
มีการแลกเปลี่ยนข้อลดหย่อนภาษี
ศุลกากรทั้งสิ้น ๔๕,000 รายการ มูลค่า
การค้าประมาณ ๑o พันล้านดอลล่าร์
สหรัฐ ครอบคลุมกว่าร้อยละ ๒o ของ
ปริมาณการค้าโลก
๒. Annecy Round
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒
ณ เมือง Annecy
ประเทศฝรั่งเศส
๑๓ เพื่อให้ประเทศที่ไม่ได้เจรจา
ในรอบที่ ๑ ได้มีโอกาสเจรจา
ลดภาษีศุลกากรเพิ่มเติม
มีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน
๓. Torquay Round
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔
ณ เมือง Torquay
ประเทศอังกฤษ
๓๘ เพื่อให้ประเทศที่ไม่ได้เจรจา
ในรอบที่ ๑ ได้มีโอกาสเจรจา
ลดภาษีศุลกากรเพิ่มเติม
มีการลดภาษีศุลกากรลงเฉลี่ยร้อยละ
๒๕ จากระดับปี พ.ศ.๒๔๙๑ ซึ่งระหว่าง
ปี ๒๔๙๓-๒๕o๓ ปริมาณการค้าโลก
ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๘ ต่อปี
ซึ่งการขยายตัวทางการค้าของประเทศ
สมาชิกสูงกว่าการขยายตัวของ GDP
๔. Geneva Round
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
๒๖ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร
ระหว่างกัน
ไม่มีข้อมูล
๕. Dillon Round
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕o๓-
๒๕ o๔
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
๒๖ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร
ระหว่างกันเพราะมีการ
รวมกลุ่มประเทศเป็นตลาด
ร่วมยุโรป และต้องการ
ปรับปรุงบทบัญญัติของ
มีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน
ประมาณ
๔,๔oo รายการแต่ไม่รวมสินค้าเกษตร
และสินค้าที่อ่อนไหวง่าย
เชิญ ไกรนรา | ๕
สวิตเซอร์แลนด์ แกตต์
๖. Kennedy Round
เมื่อปี พ.ศ.๒๕ o๗
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
๖๒ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร
ระหว่างกันประมาณครึ่งหนึ่ง
โดยมีข้อยกเว้นขั้นต่า
บางส่วน
การยกเลิกข้อจากัดด้าน
การค้าสินค้าเกษตร การ
ยกเลิกกฎระเบียบที่ไม่ใช่
ภาษี และการให้ความ
ช่วยเหลือประเทศกาลัง
พัฒนา
การจัดทาแนวปฏิบัติด้านการทุ่มตลาด
ภายใต้แกตต์ การเพิ่มประเด็นการค้า
และการพัฒนาภายใต้ข้อบัญญัติของ
แกตต์ และการยกเว้นประเทศกาลัง
พัฒนาที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎทางการค้า
แบบต่างตอบแทน ข้อตกลงด้านการค้า
พืชผลเกษตรที่ให้ราคาซื้อขายขั้นต่า
สูงขึ้นรวมทั้งแผนความช่วยเหลือด้าน
อาหารแก่ประเทศกาลังพัฒนา
นอกจากนี้ยังขยายความตกลงระยะยาว
ของสิ่งทอและฝ้ายออกไปอีกเป็น
ระยะเวลา ๓ ปี และจัดทากรอบเจรจา
ภาษีสาหรับสินค้าเหล็ก อลูมิเนียม
สารเคมี เยื่อกระดาษและกระดาษ
๗. Tokyo Round
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖-
๒๕๒๒
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
๑o๒ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร
ระหว่างกันและเจรจาความ
ตกลงย่อยเกี่ยวกับมาตากรที่
ไม่ใช่ภาษีศุลกากร
มีการลดภาษีประมาณ ๑ ใน ๓ ของ ๙
ตลาดสินค้าอุตสาหกรรมหลักของโลก มี
การลดภาษีศุลกากรของสินค้า
อุตสาหกรรมจากเฉลี่ยร้อยละ 7 เหลือ
เฉลี่ยร้อยละ 4.7 และมีแผนลดภาษี
ระยะ ๘ ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทาให้
สอดคล้องกันและไม่ประสบความสาเร็จ
ในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับ
การค้าสินค้าเกษตร แต่ได้ทาแนวปฏิบัติ
ด้านข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับภาษีหลาย
ด้าน ซึ่งนาไปสู่การปรับปรุงระบบการ
เจรจาการค้าโลกใหม่ทั้งระบบ
๘. Uruguay Round
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙-
๒๕๓๗
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
๑๒๕ เป็นการเจรจาครั้งสุดท้ายที่
ใหญ่ที่สุดและครอบคลุม
ประเด็นต่างๆกว้างขวางที่สุด
โดยมีการเจรจาลดภาษีอากร
ระหว่างกัน และมาตรการที่
มิใช่ภาษี กฎระเบียบต่างๆ
การค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
มีการลดภาษีศุลกากรลงเฉลี่ยร้อยละ
40 จากระดับเดิมและมีการตกลงยก
ฐานะความตกลงแกตต์ขึ้นเป็นองค์การ
การค้าโลก การเจรจารอบนี้เป็นการจัด
ระเบียบทางการค้าขึ้นใหม่ โดยมีการ
นาเอาเรื่องสินค้าเกษตร การค้าสิ่งทอ
และการค้าบริการเข้ามารวมอยู่ด้วย
เชิญ ไกรนรา | ๖
เสื้อผ้าและสิ่งทอ เกษตร
ผลิตภัณฑ์เขตร้อน
ข้อปฏิบัติของการเจรจารอบ
โตเกียว การตอบโต้การทุ่ม
ตลาด การอุดหนุน ทรัพย์สิน
ทางปัญญา มาตรการด้าน
การลงทุน การไกล่เกลี่ยข้อ
พิพาท ระบบของแกตต์ และ
การค้าบริการต่างๆ
และประเทศที่พัฒนาแล้วควรเร่งการ
ดาเนินการตามข้อตกลงเพื่อการเปิด
ตลาดสาหรับสินค้าที่นาเข้าจากประเทศ
ด้อยพัฒนา ตลอดทั้งการให้ความ
ช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศด้อย
พัฒนาให้มากขึ้น
ที่มา: World Trade Organization.๒o๑o .Understanding the WTO. Fifth Edition. World Trade
Organization. Geneva.
http://www.dtn.go.th/dtn/index.php.
http://en.wikipedia.org/wiki/Kennedy_Round
องค์การการค้าโลกมีหน้าที่ที่สาคัญคือ
- บริหารความตกลงการค้าหลายฝ่ายและพหุภาคีภายใต้ WTO โดยผ่านคณะมนตรี และกรรมการต่าง ๆ
ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่ง WTO ได้กากับดูแลความตกลงต่างๆที่เป็นผลจากการเจรจาจานวน
๒๙ ความตกลง ปฏิญญา มติและบันทึกความเข้าใจของรัฐมนตรีอีก ๒๕ ฉบับ
 - เป็นเวทีเพื่อการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีและ
มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
 - เป็นเวทีเพื่อให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าและหากไม่สามารถจัดตั้งคณะผู้
พิจารณา (Panel) จะทาหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
- เป็นผู้ดูแลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างประเทศ
เสมอให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกาลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนา เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเพียงพอ
ตลอดจนทาการศึกษาประเด็นการค้าที่สาคัญ ๆ
 - ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจที่
สอดคล้องกันยิ่งขึ้น
๓.ความตกลงต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลก
โครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของความตกลงทางการค้าโลกประกอบด้วย ๖ ด้านหลักซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก
การเจรจารอบอุรุกวัย ได้แก่ แกนหลักของข้อตกลงทางการค้า การเจรจาสินค้า บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก โดยมีความสัมพันธ์กันดังตารางที่ ๒
เชิญ ไกรนรา | ๗
ตารางที่ ๒: โครงสร้างซึ่งเป็นพื้นฐานของความตกลงการค้าโลก
แกนหลัก ข้อตกลงเพื่อจัดตั้งองค์การการค้าโลก
สินค้า บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา
หลักการ
พื้นฐาน
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร
และการค้า
(General Agreement on Tariffs
and Trade: GATT)
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วย
การค้าบริการ
(General Agreement
on Trade in Services:
GATS)
ทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการค้า
(Trade-Related Aspects of
Intellectual Property Rights:
TRIPS)
รายละเอียด
เพิ่มเติม
ข้อตกลงด้านสินค้าอื่นๆ และ
ภาคผนวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกาหนด
เฉพาะของแต่ละสาขาหรือประเด็น
ประกอบด้วย เกษตร กฎระเบียบ
ด้านสุขภาพสาหรับสินค้าเกษตร สิ่ง
ทอและเสื้อผ้า มาตรฐานผลิตภัณฑ์
มาตรการด้านการลงทุน มาตรการ
ตอบโต้การทุ่มตลาด วิธีการประเมิน
มูลค่าภาษี การตรวจสอบก่อนการ
ส่งออก กฎว่าด้วยแหล่งกาเนิดสินค้า
ที่ยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศ
สมาชิก WTO ใบอนุญาตนาเข้า การ
อุดหนุนและมาตรการตอบโต้ และ
มาตรการป้องกัน
ภาคผนวกของภาคบริการ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกาหนด
เฉพาะของแต่ละสาขาหรือ
ประเด็นประกอบด้วย การ
เคลื่อนย้ายของบุคคล
บริการขนส่งทางอากาศ
บริการทางการเงิน บริการ
ส่งออก-นาเข้า และ
บริการโทรคมนาคม
ข้อตกลงครอบคลุมลิขสิทธิ์และสิทธิ์
ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะให้ความคุ้มครอง
ทั้งภาพและเสียงระยะเวลา ๕0 ปี
สิทธิบัตรให้ความคุ้มครอง
ระยะเวลา ๒o ปี การออกแบบแผง
วรจรคอมพิวเตอร์ให้ความคุ้มครอง
ระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ยัง
รวมถึงเครื่องหมายการค้าและ
เครื่องหมายบริการ สิ่งบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ การออกแบบทาง
อุตสาหกรรม ข้อมูลที่ไม่สามารถ
เปิดเผยได้รวมทั้งความลับทางการ
ค้า
พันธะการเปิด
ตลาด
กาหนดการหรือรายการเปิดตลาด
ตามพันธะผูกพันของแต่ละประเทศ
สมาชิก
กาหนดการเปิดตลาดตาม
พันธะผูกพันของประเทศ
สมาชิก (และข้อยกเว้น
MFN)
การไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาท
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ความโปร่งใส การทบทวนนโยบายการค้า โดย ๔ ประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูง เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
และจีน จะถูกทบทวนนโยบายทุกๆ ๒ ปี ๑๖ ประเทศที่มูลค่าการค้าสูงถัดมารวมทั้งไทยจะถูกทบทวน
นโยบายทุกๆ ๔ ปี ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เหลือจะถูกทบทวนทุกๆ ๖ ปี และอาจจะนานมากขึ้นสาหรับ
ประเทศด้อยการพัฒนา สาหรับประเทศไทยได้ผ่านการทบทวนนโยบายการค้ามาแล้ว ๕ ครั้ง
ที่มา: World Trade Organization.๒o๑o. Understanding the WTO. Fifth Edition. World Trade
Organization. Geneva.
เชิญ ไกรนรา | ๘
http://www.dtn.go.th/dtn/index.php
การลดภาษี มีพันธะผูกพันเพิ่มมากขึ้นและใกล้ที่จะเป็นอัตรา O %
การลดภาษีของประเทศพัฒนาแล้วได้เริ่มมาในช่วงระยะเวลา ๕ ปีตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งมี
การลดภาษีสาหรับสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ ๖.๓ เป็นร้อยละ ๓.๘ มีสินค้าไม่กี่ชนิดที่ยังถูกเก็บภาษี
ในอัตราที่สูง ซึ่งสัดส่วนของสินค้านาเข้ามายังประเทศพัฒนาแล้วและต้องเสียภาษีมากกว่าร้อยละ ๑๕ ลดลงจาก
ร้อยละ ๗ เหลือร้อยละ ๕ และสัดส่วนของสินค้าส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนาที่ถูกเก็บภาษีมากกว่าร้อยละ ๑๕
ในประเทศพัฒนาแล้วจะลดลงจากร้อยละ ๙ เหลือร้อยละ ๕ นอกจากนี้มีการทาข้อผูกพันเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศ
พัฒนาแล้วได้เพิ่มจานวนสินค้านาเข้าที่ได้ทาข้อผูกพันทางอัตราภาษีจากร้อยละ ๗๘ ของสินค้าทั้งหมดเป็นร้อยละ
๙๙ สาหรับประเทศกาลังพัฒนาได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๑ เป็นร้อยละ ๙๘ หรือคิดเป็น ๓.๔๗ เท่า ส่วนประเทศที่
เศรษฐกิจอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจากส่วนกลางเพิ่มการทาข้อผูกพันอัตราภาษีจากร้อยละ ๗๓
เป็นร้อยละ ๙๘ ซึ่งทั้งหมดทาให้เกิดความมั่นคงทางการตลาดสาหรับนักธุรกิจการค้าและนักลงทุน
๔.กฎเกณฑ์ทางการค้าที่สาคัญขององค์การการค้าโลก ประกอบด้วย
(๑) หลักห้ามเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าของสมาชิกอื่นและสินค้าของสมาชิก WTO โดยถือการ
ปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน
(๒) หลักห้ามเรียกเก็บภาษีที่สูงกว่าอัตราที่ผูกพันไว้
(๓) หลักห้ามเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้านาเข้าและสินค้าที่ผลิตในประเทศ
(๔) หลักห้ามจากัดการนาเข้าหรือส่งออกโดยใช้โควตา เนื่องจากเป็นมาตรการที่ไม่โปร่งใสและไม่
แน่นอน
(๕) มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (การทุ่มตลาดคือราคาสินค้าของประเทศที่นาเข้าต่ากว่า
ราคาขายภายในประเทศผู้ส่งออก)
(๖) การอุดหนุน ซึ่งอาจบิดเบือนการค้าประกอบด้วย (๑) การอุดหนุนที่ห้ามปฏิบัติ เช่น การ
อุดหนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการส่งออกและการกาหนดให้ใช้สินค้าภายในประเทศแทนสินค้านาเข้า และ (๒) การ
อุดหนุนที่อาจทาได้แต่อาจถูกตอบโต้ได้ หากประเทศผู้นาเข้าพบว่าการกระทาดังกล่าวส่งผลกระทบรุนแรงต่อ
อุตสาหกรรมภายในประเทศของตนก็สามารถเรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุนได้เป็นระยะเวลา ๕ ปี การอุดหนุนมี
บทบาทสาคัญสาหรับประเทศกาลังพัฒนาและประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจาก
ส่วนกลาง ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกาลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวต่ากว่า ๑,ooo เหรียญสหรัฐต่อปีได้รับการ
ยกเว้นจากกฎระเบียบการห้ามอุดหนุนการส่งออกนี้ ประเทศกาลังพัฒนาให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกภายในปี
พ.ศ.๒๕๔๖ และประเทศด้อยพัฒนาให้ยกเลิกการอุดหนุนเพื่อทดแทนการนาเข้าภายในปี พ.ศ.๒๕๔๖ สาหรับ
ประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจากส่วนกลางให้ยกเลิกการอุดหนุนภายในปี พ.ศ.๒๕๔๕
และประเทศกาลังพัฒนาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษถ้าถูกสอบสอนว่ามีการอุดหนุนการส่งออก
(๗ ) มาตรการปกป้อง ซึ่งเป็นกลไกที่จากัดการนาเข้าเป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยปกป้องอุตสาหกรรม
ภายในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเพิ่มการนาเข้าและช่วยรองรับการเปิดตลาดของประเทศและให้
เชิญ ไกรนรา | ๙
โอกาสอุตสาหกรรมภายในได้มีเวลาปรับตัว เพื่อให้แข่งขันกับสินค้านาได้ การใช้มาตรการปกป้องไม่ควรเกิน
ระยะเวลา ๔ ปี ซึ่งสามารถขยายได้ถึง ๘ ปี และไม่สามารถใช้มาตรการเพื่อเจาะจงกับประเทศผู้ส่งออกเพียง
ประเทศเดียว ยกเว้นว่ามีการเพิ่มขึ้นของการนาเข้าอย่างรวดเร็วผิดปกติ ประเทศกาลังพัฒนาได้รับการคุ้มครอง
บางส่วนจากมาตรการปกป้อง ซึ่งประเทศผู้นาเข้าจะใช้มาตรการปกป้องสาหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งถ้าประเทศ
กาลังพัฒนานั้นส่งออกสินค้ามากกว่าร้อยละ ๓ ของมูลค่านาเข้า หรือสมาชิกของประเทศกาลังหลายประเทศที่
ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ ๓ แต่ร่วมกันแล้วมากกว่ามีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๙ ของสินค้าแต่ละชนิด
๕.กลไกการดาเนินงาน
องค์การการค้าโลกทาหน้าที่กาหนดนโยบายตลอดจนควบคุมการดาเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆ
เรียงตามลาดับความสาคัญ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) คณะมนตรีใหญ่ (General
Council) คณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการต่างๆ (Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของสมาชิก WTO
โดยมีฝ่ายเลขานุการช่วยด้านการบริหารงานทั่วไป องค์การการค้าโลกกาหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี
อย่างน้อยทุกๆ ๒ ปี เพื่อทบทวนปัญหาในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของสมาชิก และวางแนวทางในการเปิดเสรี
ทางการค้าระดับพหุภาคี ภายใต้ WTO โดยได้มีการจัดการประชุมมาแล้วจานวน ๗ ครั้ง สรุปผลการประชุมปรากฏ
ในตารางที่ ๓
ตารางที่ ๓: สรุปผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลกระหว่าง
ปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๒
การประชุมระดับ
รัฐมนตรีองค์การ
การค้าโลก
วัตถุประสงค์ ผลการประชุม
๑. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๑
ระหว่างวันที่ ๙-๑๓
ธันวาคม ๒๕๓๙ ณ
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศกาลังพัฒนารวมทั้ง
ไทยต้องการให้ที่ประชุม
ผลักดันให้สมาชิกปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์การค้าซึ่งเป็นผล
ของการเจรจารอบอุรุกวัย
อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่อง
การเปิดตลาดตามความตก
ลงเรื่องสินค้าเกษตรและสิ่ง
ทอ แต่ประเทศพัฒนาแล้ว
กลับต้องการนาเรื่องใหม่เข้า
มาเจรจาเพื่อกาหนด
กฎเกณฑ์ในองค์การการค้า
โลกด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา
ผลักดันเรื่องมาตรฐาน
มีการแถลงปฏิญญาจานวน ๒ ฉบับคือ
๑.ปฏิญญาการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก โดยเห็นชอบให้
เริ่มดาเนินการตามแผนงานเจรจาสินค้าเกษตรได้ตั้งแต่ปี ๒๕๔o ย้า
ถึงความสาคัญของการเปิดตลาดสิ่งทอ และไม่ให้มีการใช้มาตรการ
ปกป้องตลาดอย่างไม่สมเหตุสมผล และการให้ความสาคัญกับประเด็น
การค้ากับสิ่งแวดล้อม และมีประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วผลักดันและ
ไทยและประเทศกาลังพัฒนาอื่นๆ ขอให้ทบทวนเช่น เสนอให้มีการ
จัดตั้งคณะทางานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้ากับการลงทุน ควร
ศึกษาความโปร่งใสใสการจัดซื้อโดยรัฐโดยต้องคานึงถึงนโยบายของ
ชาติการเสนอให้ตรวจสอบและวิเคราะห์งานด้านการอานวยความ
สะดวกทางการค้าขององค์การระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อ
ปรับปรุงกระบวนการค้าให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และประเมิน
ขอบเขตของกฎระเบียบ WTO ในเรื่องนี้ และจะไม่มีการนามาตรฐาน
แรงงานมาใช้เพื่อกีดกันการค้า รวมทั้งไม่มีการนาข้อได้เปรียบในเรื่อง
เชิญ ไกรนรา | ๑๐
แรงงาน และการจัดซื้อโดย
รัฐ พร้อมทั้งเจรจาการเปิด
ตลาดสินค้าเทคโนโลยี
สารสนเทศ ในขณะที่สหภาพ
ยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา
เสนอให้มีการเจรจาเรื่องการ
ลงทุน นโยบายการแข่งขัน
และการอานวยความสะดวก
ทางการค้า
ค่าจ้างแรงงานต่ามาเป็นประเด็นเจรจา
๒.ปฏิญญาว่าด้วยความตกลงเปิดเสรีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ มี
ประเทศสมาชิก ๒๙ ประเทศตกลงจะลดภาษีนาเข้าสินค้า IT เป็น o
% และผูกพันไว้กับ WTO ภายในปี ๒๕๔๓-ธันวาคม ๒๕๔๖ ซึ่งได้มี
การเจรจาเปิดตลาดสินค้า IT ไปแล้ว ๒ รอบ และมีสมาชิกเข้าร่วม
ความตกลงเพิ่มขึ้นเป็น ๕๕ ประเทศ รวมทั้งไทย คิดเป็นประมาณร้อย
ละ ๙๓ ของการค้าสินค้า IT ของโลก
๒. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๒
ระหว่างวันที่ ๑๘-
๒o พฤษภาคม
๒๕๔๑
ณ นครเจนีวา
ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
(พร้อมกับจัดงานฉลอง
ครบรอบ ๕o ปี ระบบ
การค้าพหุภาคี)
มีการแถลงปฏิญญาจานวน ๒ ฉบับคือ
๑.ปฏิญญาการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก คณะมนตรีทั่วไป
ได้รับมอบหมายให้จัดทาแผนการดาเนินงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุม
ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ ๓ โดยให้รวมเรื่องที่สาคัญ ได้แก่การดาเนินการ
ให้เป็นไปตามความตกลงจากการเจรจารอบอุรุกวัย รวมทั้งการเจรจา
รอบใหม่ด้านเกษตรและบริการซึ่งเป็นการเจรจาต่อเนื่องที่กาหนดไว้
ในความตกลงเรื่องใหม่ๆ ตามมติของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรก
ที่สิงคโปร์ เช่น การค้าและสิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน
และการอานวยความสะดวกทางการค้า และแผนงานเรื่องพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์
๒.ปฏิญญาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมาชิก WTO ยืนยันที่จะคง
สถานะการไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม
ข้อเสนอของสหรัฐฯ และยืนยันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่คณะมนตรีทั่วไป
ได้จัดทาแผนการดาเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว
๓. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๓
ระหว่างวันที่ ๓o
พฤศจิกายน-๓
ธันวาคม ๒๕๔๒
ณ นครซีแอตเติล
ประเทศ
สหรัฐอเมริกา
เพื่อทบทวนการปฏิบัติตาม
พันธกิจของประเทศสมาชิก
จากผลการเจรจารอบอุรุกวัย
และพิจารณากาหนด
แผนงานในอนาคตของ
WTO
ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปเพื่อเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่
ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และการประชุมครั้งนี้ประสบความล้มเหลว มี
ประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมจานวน ๑๓๕ ประเทศและไม่สามารถ
ตกลงกันได้ เนื่องจากเนื้อหาของการเจรจามีความซับซ้อน
หลากหลาย ประเทศสมาชิกมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ไม่สามารถปรับ
ท่าทีเข้าหากันได้ในเวลาที่จากัดเพียง ๔ ประกอบกับมีการประท้วงใน
ท้องถนนทาให้ต้องเริ่มประชุมช้ากว่ากาหนดและไม่สามารถ
ดาเนินการประชุมได้อย่างต่อเนื่อง
๔. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๔ เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน
ประเทศสมาชิกตกลงที่จะ
เริ่มต้นเจรจาโดยให้
ความสาคัญในเรื่องการ
ประเด็นการเจรจามี ๗ หัวข้อโดยมีหลักการว่าต้องเจรจาตกลงกัน
ให้ได้ครบในคราวเดียวกัน (Single Undertaking) จึงจะถือว่า
บรรลุความตกลงของการเจรจารอบโดฮา ประกอบด้วย (๑) การ
เชิญ ไกรนรา | ๑๑
๒๕๔๔ ณ กรุงโดฮา
ประเทศ กาตาร์
หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า
“การเจรจาการ
พัฒนารอบโดฮา”
พัฒนาและยกระดับความ
เป็นอยู่ของประเทศที่ยากจน
(Doha Development
Agenda: DDA)
การเจรจามีกาหนด
ระยะเวลา ๔ ปีปี (๒๕๔๔-
๒๕๔๘)
เจรจาเปิดตลาดและปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร ประกอบด้วยการลด
ภาษี การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก และการลดการอุดหนุนภายใน
สินค้าเกษตร (๒) การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (๓) การ
เจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ (๔) การเจรจาเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน
ทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (๕) การเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
ทางการค้า (มีประเด็นย่อยประกอบด้วย การตอบโต้การทุ่มตลาด
การอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน การอุดหนุนการประมง
และการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาการค้าในภูมิภาค) (๖) การเจรจาเรื่อง
การค้าและการพัฒนา และ (๗) การเจรจาเรื่องการค้ากับสิ่งแวดล้อม
โดยประเด็นเจรจา ๔ เรื่องแรกประเทศสมาชิกให้ความสนใจ
ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ก็ให้พิจารณาว่าจะนาเรื่องที่ที่ประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๑ ที่สิงคโปร์ ที่มอบหมายให้ศึกษาหรือที่เรียกว่า
Singapore Issues ซึ่งประกอบด้วย ๔ เรื่องคือ การลงทุน นโยบาย
การแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการอานวย
ความสะดวกทางการค้า เข้ามาเจรจาในรอบโดฮาหรือไม่
๕. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๕ เมื่อ
ปี ๒๕๔๖ ณ เมือง
แคนคูน ประเทศ
เม็กซิโก
การประชุมครั้งนี้ประสบความล้มเหลวเนื่องจากประเทศพัฒนาแล้ว
ต้องการให้ที่ประชุมตัดสินใจนาเรื่อง Singapore Issues เข้ามาเจรจา
ด้วย แต่ประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่คัดค้าน นอกจากนี้กลุ่มประเทศ
ผู้ส่งออกฝ้ายในภูมิภาคอาฟริกาเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว
โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดการอุดหนุนฝ้ายเป็นการแลกเปลี่ยน แต่สหรัฐฯ
ไม่ยินยอม
๖. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๖ เมื่อ
๑๓-๑๘ ธันวาคม
๒๕๔๘ ณ
ประเทศฮ่องกง
เน้นการหารือใน ๔ เรื่อง คือ
การเปิดตลาดและปฏิรูป
การค้าสินค้าเกษตร การเปิด
ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม
การเปิดตลาดการค้าบริการ
และการเปิดตลาดให้ประเทศ
ด้อยพัฒนาในรูปแบบปลอด
ภาษีและปลอดโควต้า
กาหนดกรอบการลดภาษีและการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรรวมทั้ง
ให้มีการยกเลิกการลดการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรภายในปี
๒๕๕๓ และสาหรับสินค้าอุตสาหกรรม ก็กาหนดวิธีการลดภาษี และ
ประเทศสมาชิกตกลงเปิดตลาดเป็นพิเศษรูปแบบปลอดภาษีและ
ปลอดโควต้าแก่สินค้าทุกประเภทจากประเทศด้อยการพัฒนาภายในปี
๒๕๕๑ หรือในปีที่เริ่มปฏิบัติตามพันธกรณี สาหรับประเทศกาลัง
พัฒนาให้เลือกได้ว่าจะเปิดตลาดให้ประเทศด้อยพัฒนาหรือไม่ตาม
ความสมัครใจ
๗. การประชุมระดับ
รัฐมนตรีครั้งที่ ๗ เมื่อ
๓o พฤศจิกายน- ๒
ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ
นครเจนีวา ประเทศ
เพื่อเน้นย้าถึงความสาคัญ
ของการค้าระหว่างประเทศ
และการเจรจารอบโดฮาที่จะ
ช่วยบรรเทาและเยียวยา
ผลกระทบจากวิกฤต
ที่ประชุมเห็นชอบการขยายเวลาการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากร
ชั่วคราวสาหรับสินค้าที่ส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเห็นชอบการ
ขยายเวลาการยกเว้นการฟ้องกรณีพิพาทเกี่ยวกับความตกลงว่าด้วย
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ภายใต้กระบวนการ
ระงับข้อพิพาทของ WTO ในกรณีที่มิได้ทาผิดพันธกรณีภายใต้ความ
เชิญ ไกรนรา | ๑๒
สวิตเซอร์แลนด์ เศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยแก้ไข
ปัญหาความยากจนใน
ประเทศกาลังพัฒนาและ
สนับสนุนให้สรุปการเจรจา
รอบโดฮาในทุกๆ เรื่องให้
แล้วเสร็จในปี ๒๕๕๓
ตกลงดังกล่าว และการขยายเวลาการยกเว้นการใช้กระบวนการระงับ
ข้อพิพาทดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะถึงการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่
๘
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ค้นหาจาก http://www.dtn.go.th/dtn/index.php.
๖.ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
ข้อตกลงขององค์การการค้าโลกซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย ทาให้เกิดโอกาสมากมาย
สาหรับประเทศกาลังพัฒนาที่จะได้ประโยชน์จากการค้า ซึ่งการเจรจาการค้าเสรีอย่างต่อเนื่องภายใต้รอบโดฮามี
เป้าหมายเพื่อปรับปรุงโอกาสการได้รับประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านการส่งออก ประกอบด้วย
 การปฏิรูปถึงระดับพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตร
 การยกเลิกโควตา สาหรับสินค้าส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนาครอบคลุมสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า
 การเพิ่มจานวนสินค้าที่มีอัตราภาษีที่ผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลกซึ่งทาให้ยากต่อการเพิ่มอัตราภาษีให้
สูงขึ้น
 การยกเลิกข้อตกลงทวิภาคีเพื่อจากัดปริมาณของสินค้าสาหรับสินค้าบางชนิด (ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับภายใต้
GATT-WTO)
 นอกจากนี้การเปิดเสรีภายใต้องค์การการค้าโลกได้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกและกระตุ้นความ
ต้องการของตลาดโลกสาหรับสินค้าที่ส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนา
๗.การค้าสินค้า
การค้ามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการลงทุนโดยประมาณ ๑ ใน ๓ ของปริมาณการค้าสินค้าและ
บริการของโลกในปี ๒๕๓๘ เป็นการค้าภายในบริษัทเดียวกัน เช่น ระหว่างบริษัทลูกในต่างประเทศ หรือระหว่าง
บริษัทลูกในต่างประเทศกับสานักงานใหญ่ การค้าสินค้าครอบคลุม ๕ ด้านหลักคือ
๗.๑ พันธกรณีการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย สินค้าเกษตรที่สาคัญได้แก่ ข้าว
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ามันถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ปาล์มน้ามัน ชา กาแฟ และกุ้ง โดยมีกลุ่มประเทศที่
ผลักดันหลักหลักดังนี้
 กลุ่ม Cairns ซึ่งเป็นการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงปี ๒๕๒๙ ก่อน
การเปิดการเจรจารอบอุรุกวัย ผลักดันให้การเจรจารอบอุรุกวัยให้ความสาคัญกับเรื่องการค้าสินค้าเกษตร
มีสมาชิกจานวน ๑๙ ประเทศมีการส่งออกสินค้าเกษตรมากกว่าร้อยละ ๒๕ ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
เกษตรโลก โดยสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย
คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย
แอฟริกาใต้ และไทย
เชิญ ไกรนรา | ๑๓
 กลุ่มประเทศกาลังพัฒนา G๒o ประกอบด้วย ๒๓ ประเทศคือ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชีลี จีน
เอกวาดอร์ คิวบา อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก กัวเตมาลา ไนจีเรีย เปรู ปากีสถาน ปารากวัย
แทนซาเนีย ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย แอฟริกาใต้ ไทย เวเนซุเอลา ซิมบับเว ซึ่งผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิด
ตลาดและลดการอุดหนุนภายใน แต่ต้องการให้มีความยืดหยุ่นอย่างมากในการเปิดเสรีสาหรับประเทศกาลัง
พัฒนา
 กลุ่มประเทศ G ๓๓ ซึ่งประกอบด้วย ๔๔ ประเทศ คือ แอนติกัวและบาบูดา บาบาดอส เบลิส เบนิน บอ
สวานา จีน ไอวอรีโคส คิวบา คองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ เกรนาดา กัวเตมาลา เฮติ
ฮอนดูรัส อินเดีย อินโดนีเซีย จาไมก้า เคนยา ลาว มอริเชียส มาดากัสการ์ มองโกเลีย โมซัมบิก นิการากัว
ไนจีเรีย ปากีสถาน ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ เซ็นคิสและเนวิส เซ็นลูเซีย เซ็นวินเซ้นและเกรนาดีน เซเนกัล
เกาหลีใต้ ศรีลังกา สุรินาม แทนซาเนีย ตรินิแดดและโตเบโก ตุรกี อูกันดา เวเนซุเอลา แซมเบีย ซิมบับเว
แอนดอร่า ฝรั่งเศส มีเป้าหมายการผลักดันโดยเน้นการปิดตลาดสินค้าเกษตรของประเทศกาลังพัฒนา
ความก้าวหน้าตามพันธกรณีความตกลงการเจรจาสินค้าเกษตรมีดังนี้
๑) การเปิดตลาดโดยการลดภาษีศุลกากร
 ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดภาษีลงร้อยละ ๓๖ ภายใน ๖ ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงอย่างน้อยร้อย
ละ ๑๕
 ประเทศกาลังพัฒนา ต้องลดภาษีลงร้อยละ ๒๔ ภายใน ๑o ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงร้อยละ ๑o
การปรับเปลี่ยนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่ใช้กับสินค้าเกษตร เช่น การห้ามนาเข้า การกาหนดโควต้านาเข้า
และการกาหนดสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตภายในประเทศ ให้เป็นมาตรการภาษีศุลกากรทั้งหมดโดยกาหนดเป็น
ปริมาณโควต้า และเก็บภาษีศุลกากรสินค้าในโควต้าในระดับต่า และหากมีการนาเข้าเกินกว่าปริมาณโควต้าที่
กาหนดก็จะเก็บอัตราภาษีนอกโควตาในอัตราที่สูงมาก
ตารางที่ ๔ : การลดอัตราภาษีของสมาชิก WTO ที่สาคัญ
ประเทศ จานวนอัตรา
ภาษีที่ผูกพัน
(รายการ)
ลดภาษีลงเฉลี่ย
(%)
อัตราภาษีเฉลี่ย
(ก่อน WTO)
อัตราภาษีเฉลี่ย
สุดท้าย %
(๒๕๔๓)
สหภาพยุโรป ๒,๑๓๒ ๓๖ ๑๒ ๘
สหรัฐอเมริกา ๑,๒๘o ๓๖ ๗ ๕
ญี่ปุ่น ๑,๔๕๓ ๓๖ ๑๗ ๑๑
ไทย ๗๔o ๒๔ ๔๙ ๒๗-๓o
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เชิญ ไกรนรา | ๑๔
๒) การลดการอุดหนุนการผลิตภายในประเทศ แบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะคือ
(๑) การอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาด (Amber Box) เช่น การประกันราคาขั้นต่า การแทรกแซงราคา
เป็นต้น โดยประเทศสมาชิกต้องลดการอุดหนุนการผลิตภายในจากระดับที่ผูกพันไว้ดังนี้
 ประเทศพัฒนาแล้ว ลดการอุดหนุนภายในลงในอัตราร้อยละ ๒o ภายใน ๖ ปี หากการอุดหนุนในแต่ละ
สินค้ามีมูลค่าต่ากว่าร้อยละ ๕ ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมาคานวณในยอดการ
อุดหนุนรวม
 ประเทศกาลังพัฒนา ลดการอุดหนุนนี้ลงในอัตราร้อยละ ๑๓ ภายใน ๑o ปี ซึ่งใช้เวลาที่ยาวนานกว่า หาก
การอุดหนุนในแต่ละสินค้ามีมูลค่าต่ากว่าร้อยละ ๑o ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมา
คานวณในยอดการอุดหนุนรวม
การอุดหนุนภายในประเทศนี้กาหนดเป็นยอดปริมาณรวมเพื่อให้รัฐบาลบริหารเงินอุดหนุนนี้ได้ตามความจาเป็น
มีความยืดหยุ่นในการใช้โดยไม่เจาะจงสินค้า
(๒) การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนตลาด (Green Box) เนื่องจากไม่มีผลต่อการผลิตสินค้าและราคา
สินค้า หรือหากมีก็จะน้อยมาก เช่น การอุดหนุนการผลิตเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยและพัฒนา การ
สร้างโครงสร้างพื้นฐาน การปรับโครงสร้างการผลิต และการพัฒนาชนบท ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถใช้การอุดหนุน
นี้ได้โดยไม่มีขีดจากัด
(๓) การอุดหนุนโดยตรงภายใต้โครงการจากัดการผลิต (Blue Box) การอุดหนุนการผลิตภายในที่
ให้กับเกษตรกรโดยตรง แต่ต้องอยู่ภายใต้โครงการจากัดการผลิตซี่งมีเงื่อนไขสาคัญ ๓ ข้อคือ (๑) การจ่ายเงินนั้น
ขึ้นอยู่กับเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อหน่วยที่กาหนดไว้แล้ว หรือ (๒) การจ่ายเงินนั้นจ่ายในอัตราร้อยละ ๘๕
หรือต่ากว่าของระดับการผลิตที่ใช้เป็นฐาน หรือ (๓) การจ่ายเงินสาหรับปศุสัตว์ที่จ่ายตามจานวนหัวซึ่งกาหนดไว้
แล้ว การอุดหนุนนี้ถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิก WTO ทาได้ไม่มีขีดจากัด และไม่ต้องนามา
คานวณภายใต้การอุดหนุนการผลิตภายในที่บิดเบือนตลาดที่มีเพดานการใช้ที่ต้องลด แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
ข้างต้น
(๔) การอุดหนุนที่ยกเว้นให้ประเทศกาลังพัฒนาให้ใช้ได้ (Special and Differential Box) คือ การ
อุดหนุนด้านปัจจัยการผลิตและด้านการลงทุน ได้แก่ การอุดหนุนเพื่อซื้อเมล็ดพืชและปุ๋ยในราคาถูก การอุดหนุน
เพื่อซื้อเครื่องมือ และเครื่องจักร เป็นต้น
เชิญ ไกรนรา | ๑๕
ตารางที่ ๕ : การอุดหนุนการผลิตภายในประเทศสมาชิกที่สาคัญ
ประเทศ การอุดหนุนการผลิตภายในประเทศที่ผูกพันกับ WTO (ล้านบาท)
๒๕๓๘ ๒๕๔๓ จานวนที่ลด
สหภาพยุโรป ๓,๒๔o,ooo ๒,๖๙o,ooo ๕๕o,ooo
สหรัฐอเมริกา ๘๗๗,๑๕๙ ๗๒๕,๙๑๔ ๑๕๑,๒๔๕
ญี่ปุ่น ๑,๖๘o,ooo ๑,๓๙o,ooo ๒๙o,ooo
ไทย ๒๑,๘๑๖ ๑๙,o๒๘(ปี ๒๕๔๗) ๒,๗๘๘
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
๓) การอุดหนุนการส่งออก สมาชิกต้องลดการอุดหนุนการส่งออกดังนี้
 ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณสินค้าเกษตรที่ได้ให้การอุดหนุนการส่งออกลงร้อยละ ๒๑ และลด
จานวนเงินอุดหนุนลงร้อยละ ๓๖ ภายใน ๖ ปี
 ประเทศกาลังพัฒนา ต้องลดปริมาณที่ให้การอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ ๑๔ และลดจานวนเงินอุดหนุนลง
ร้อยละ ๒๔ ภายใน ๑o ปี
สมาชิกต้องไม่อุดหนุนเกินกว่าที่ผูกพันไว้ โดยใช้ยอดการอุดหนุนในปีฐาน (พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๑) เป็นจุดเริ่มต้น
และผูกพันการอุดหนุนส่งออกเป็นรายสินค้ากล่าวคือสมาชิกไม่สามารถให้การอุดหนุนส่งออกสินค้ากับสินค้าเกษตร
ที่ไม่เคยได้รับการอุดหนุนการส่งออกในปีฐานได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ประเทศกาลังพัฒนากรณีที่เป็นการอุดหนุน
ส่งออกเพื่อลด (๑) ต้นทุนการตลาดที่รวมถึงต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ
และ (๒) ต้นทุนด้านการขนส่งภายใน
ตารางที่ ๖ : การลดการอุดหนุนการส่งออกของสมาชิก WTO ที่สาคัญ
ประเทศ การอุดหนุนการส่งออกที่ผูกพันกับ WTO (ล้านบาท)
๒๕๓๘ ๒๕๔๓ จานวนที่ลด
สหภาพยุโรป ๔๖๕,๕๒๘ ๒๙๗,๙๓๖ ๑๖๗,๕๙๒
สหรัฐอเมริกา ๓๕,๓o๒ ๒๒,๕๗๒ ๑๒,๗๓o
ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี -
ไทย ไม่มี ไม่มี -
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
๗.๒ การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีสินค้าที่สาคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง แก้วและกระจก เครื่องสาอาง เซรามิค หินอ่อนและกระเบื้อง อัญมณีและ
เครื่องประดับ ยา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยมีแนวทางการลดภาษีสาหรับสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ WTO
คือ
 อัตราภาษีสูงจะลดในอัตราที่มากกว่าอัตราภาษีต่า
เชิญ ไกรนรา | ๑๖
 ใช้อัตราภาษีที่ผูกพัน (Bound rate) เป็นฐานในการลดภาษี
 ในกรณีที่ยังไม่ได้ผูกพันอัตราภาษีสาหรับรายการสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ให้กาหนดอัตราฐานที่จะเข้าสูตรการ
ลดภาษีจากการวัดจากภาษีที่เรียกเก็บจริงซึ่งจะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับการเจรจา
ประเทศกาลังพัฒนาจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวนานกว่าและมีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษโดยจะต้องเลือก
ระหว่าง
 ให้ยกเว้นจากการผูกพัน (ในกรณีที่ยังมิได้ผูกพัน) หรือไม่ต้องลดภาษีได้เป็นจานวนร้อยละ ๕ ของรายการ
สินค้าอุตสาหกรรมและประมงแต่ต้องมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ ๕ ของมูลค่านาเข้ารวม หรือ
 ให้ยกเว้นจากการลดภาษีโดยใช้สูตรได้ร้อยละ ๑o ของจานวนรายการสินค้า (แต่ต้องลดมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของการลดโดยใช้สูตร) และมูลค่านาเข้าของรายการที่ยกเว้นต้องไม่เกินร้อยละ ๑o ของมูลค่านาเข้ารวม
 ห้ามใช้ข้อยกเว้นกับสินค้าทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีความพยายามเจรจาลดภาษีรายสาขา โดยการลดภาษีเป็นร้อยละ 0 หรือลดลงมาอยู่ใน
อัตราที่เท่ากันในกลุ่มสินค้าที่ตกลงกัน โดยสมาชิกยอมรับให้การเข้าร่วมลดภาษีรายสาขาเป็นไปตามความสมัครใจ
โดยจะลดภาษีในแต่ละสาขาต่อเมื่อเมื่อสมาชิกเข้าร่วมมากพอ (Critical mass) นอกจากนี้ยังมีการเจรจาให้มีการ
ปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษสาหรับประเทศกาลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาด้วย เช่น ยืดระยะเวลาการลดภาษีให้ยาว
กว่าประเทศพัฒนาแล้ว หรือให้ภาษีสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0 เป็นต้น โดย WTO ได้จาแนกการเจรจาออกเป็น ๑๔
สาขาอุตสาหกรรม ซึ่งไทยได้สนใจเข้าร่วมจานวน ๕ สาขา
ตารางที่ ๗ : รายชื่อของสาขาอุตสาหกรรมที่เสนอให้มีการเจรจาลดภาษีระหว่างกัน
สาขาอุตสาหกรรม ประเทศผู้เสนอและประเทศที่สนใจ
เข้าร่วมเจรจา
จานวนประเทศสมาชิกที่ต้องการ
(Critical mass: %)
๑.สาขายานยนต์และชิ้นส่วน ญี่ปุ่น ๙๙ และ ๙๘ ของการค้ายานยนต์
และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก
ตามลาดับ
๒.สาขาจักรยานและชิ้นส่วน ไต้หวัน สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ และไทย ๙o
๓.สาขาเคมีภัณฑ์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นอร
เวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน
ยังไม่มีการกาหนด
๔.สาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์
ญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน ญีปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไทย และ
สหรัฐอเมริกา
๙o
๕.สาขาประมง:ปลาและ
ผลิตภัณฑ์จากปลา
นิวซีแลนด์ แคนาดา ฮ่องกง จีน ไอซ์แลนด์ นอรเวย์
โอมาน สิงคโปร์ ไทย และอุรุกวัย
๙o
๖.สาขาป่าไม้และผลิตภัณฑ์จาก
ป่าไม้
แคนาดา ฮ่องกง จีน นิวซีแลนด์ สิงคโปร์
สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา
๙o
๗.สาขาอัญมณีและ ไทย แคนาดา สหภาพยุโรป ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ๙o
เชิญ ไกรนรา | ๑๗
เครื่องประดับ นอรเวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และ
สหรัฐอเมริกา
๘.สาขาเครื่องมือที่ใช้งานด้วย
มือ
ไต้หวัน ๙o
๙.สาขาเวชภัณฑ์และเครื่องมือ
ทางการแพทย์
สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีการกาหนด
๑o.สาขาวัตถุดิบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต ๙o
๑๑.เครื่องจักรกลทาง
อุตสาหกรรม
แคนาดา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นอรเวย์ สิงคโปร์
สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
ยังไม่มีการกาหนด
๑๒.สาขาอุปกรณ์กีฬา ไต้หวัน นอรเวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ และ
สหรัฐอเมริกา
๙o
๑๓.สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สหภาพยุโรป ยังไม่มีสมาชิกสนใจเข้าร่วม
๑๔.สาขาของเล่น ฮ่องกง จีน ไต้หวัน ๙o
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
World Trade Organization.๒oo๘.Fourth Revision of Draft Modalities for Non-Agricultural Market
Access. Negotiating Group on Market Access.
หมายเหตุ: ตัวเข้มในชื่อประเทศหมายถึงประเทศผู้เสนอให้มีการเจรจาการค้าสาขาอุตสาหกรรม
๗.๓ การค้าบริการ
การบริการเป็นสาขาที่ขยายตัวเร็วที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกเนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยคิดเป็น ๒ ใน ๓ ของผลผลิตของโลก มีการจ้างงานประมาณ ๑ใน ๓ ของ
การจ้างงานทั่วโลกและคิดเป็นร้อยละ ๒o ของปริมาณการค้าโลก โดยการเปิดเจรจาการค้าบริการเป็นการเปิดเสรี
แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการยื่นข้อเรียกร้อง และยื่นข้อเสนอ และพัฒนามาเป็นการจัดทาข้อเรียกร้องของ
กลุ่ม เพื่อยื่นต่อประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการรวมกลุ่มนี้มีประมาณ ๒o กลุ่ม เช่น กลุ่มที่ผลักดันการเปิดตลาด
บริการทางการเงิน บริการโทรคมนาคม บริการจัดจาหน่าย บริการขนส่ง และบริการข้ามพรมแดน กาหนดให้
สมาชิก WTO มีหน้าที่เข้าร่วมเจรจาเป็นรอบๆ ละ ๕ ปี ซึ่งในรอบแรกกาหนดให้เริ่มต้นภายใน ๕ ปี นับจากวันที่
ความตกลงจัดตั้ง WTO มีผลใช้บังคับ ในการเจรจาแต่ละรอบสมาชิกจะต้องลดหรือยกเลิกข้อจากัดที่เป็นอุปสรรค
ต่อการค้าบริการใน ๒ ลักษณะคือ
๑) ข้อจากัดในการเข้าสู่ตลาด หมายถึง กฎหมาย กฎระเบียบ หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่สมาชิกกาหนดขึ้น อันเป็น
อุปสรรคต่อการเข้ามาประกอบธุรกิจและให้บริการของผู้ให้บริการต่างชาติ
๒) ข้อจากัดในการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ หมายถึงการให้การปฏิบัติต่อต่างชาติด้อยกว่าคนในชาติตน
ซึ่งมักจะเป็นกฎหมายหรือระเบียบภายในที่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น กรณีที่รัฐบาลให้การอุดหนุนเฉพาะคนชาติ หรือ
การกาหนดเงื่อนไขให้บริษัทต่างชาติต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ของตนแก่คนในชาติ เป็นต้น
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท
ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท

Mais conteúdo relacionado

Mais de Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsDr.Choen Krainara
 

Mais de Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก : กรณีศึกษาของประเทศไท

  • 1. ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศ สมาชิกองค์การการค้าโลก: กรณีศึกษาของประเทศไทย (Progress of Trade and Development of Member Countries of World Trade Organization: A Case Study of Thailand) โดย เชิญ ไกรนรา Choen Krainara สานักงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2554
  • 2. เชิญ ไกรนรา | ๒ ความก้าวหน้าด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลก: กรณีศึกษาของประเทศไทย โดย เชิญ ไกรนรา ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ องค์การการค้าโลก หรือ WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า หรือ “แกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT)” จัดตั้งขึ้นอย่าง เป็นทางการตามความตกลงมาร์ราเกชเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๘ โดยมีสานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบัน (ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ) มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น ๑๕๓ ประเทศ มีประเทศผู้ สังเกตการณ์จานวน ๓๑ ประเทศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกโดย สมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกลาดับที่ ๕๙ ๑. วัตถุประสงค์และหลักการ ๑) วัตถุประสงค์ เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และจัดทากฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาท ทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก ๒ ) หลักการสาคัญของระบบการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก (๑) กาหนดให้ใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) โดยให้การปฏิบัติต่อสินค้าจากประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียมกันทุกประเทศ (Most-Favored Nation Treatment: MFN) และปฏิบัติต่อสินค้านาเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National Treatment) การกาหนดและบังคับ ใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส และคุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น ( Tariff-only protection) (๒) การค้ามีความเสรีมากขึ้นเนื่องจากการลดอุปสรรคทางการค้าทางด้านอัตราภาษีศุลกากร และ มาตรการอื่นๆ เช่น การห้ามนาเข้าหรือการจากัดการนาเข้า โดยผ่านการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับประเด็นความล่าช้าของระบบราชการและนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ด้วย ข้อตกลงภายใต้ WTO เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีการปรับตัวเพื่อการเปิดเสรี ทางการค้าแบบค่อยเป็นค่อยไป และ WTO จะมีการติดตามการกาหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกกฎหมาย การค้าและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสทางการค้าทั่วโลก
  • 3. เชิญ ไกรนรา | ๓ (๓) ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Fair competition) ระบบการค้าอนุญาตให้มีการใช้ อัตราภาษีหรือการปกป้องในรูปแบบอื่นๆ ตามความจาเป็น โดยประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่ม ตลาดและการอุดหนุนจากสินค้านาเข้าได้ หากมีการไต่สวนตามกฎเกณฑ์ของ WTO แล้วพบว่า ประเทศผู้ส่งออกมี การทุ่มตลาด หรือให้การอุดหนุนจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้ ประเทศสมาชิกอุดหนุนการผลิตและการส่งออกจนบิดเบือนกลไกตลาด ตลอดทั้ง ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้งผู้ค้า และผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้ (๔) ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า (No trade blocs) ประเทศสมาชิกสามารถตกลงรวมกลุ่ม เพื่อขยายการค้าระหว่างกันได้ แต่มีเงื่อนไขว่าการ รวมกลุ่มต้องไม่มีจุดประสงค์ เพื่อกีดกันการนาเข้าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม และเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต้องไม่ กระทบต่อผลประโยชน์เดิมของประเทศนอกกลุ่ม (๕) มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า (Trade dispute settlement mechanism) เมื่อมีกรณี ข้อขัดแย้งทางการค้า ให้หารือเพื่อหาทางยุติข้อพิพาท หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ให้นาเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติ ข้อพิพาทของ WTO โดยการยื่นเรื่องต่อองค์กรระงับข้อพิพาท ( Dispute settlement body: DSB) ของ WTO เพื่อจัดตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นพิจารณากรณีดังกล่าว และรายงานผลให้ประเทศสมาชิกอื่นร่วมกันพิจารณา บังคับให้ เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะผู้พิจารณา หากไม่ปฏิบัติตามคาตัดสิน ประเทศผู้เสียหายสามารถทาการตอบ โต้ทางการค้าได้ (๖) ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกาลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and differential treatment: S&D) ผ่อนผันให้ประเทศกาลังพัฒนามีระยะเวลาในการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ยาวนานกว่า จากัดการ นาเข้า ได้หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพดุลการชาระเงิน และให้โอกาสประเทศ พัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกาลังพัฒนาได้ แม้จะขัดกับหลัก MFN ก็ตาม (๗) การส่งเสริมการพัฒนาและการปฏิรูปเศรษฐกิจ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของสมาชิกองค์การการค้า โลกเป็นประเทศกาลังพัฒนาหรือกาลังเข้าสู่การเป็นประเทศตลาดใหม่ ซึ่งประเทศสมาชิกเหล่านี้มีอิทธิพลสูงต่อการ เจรจาการเปิดเสรีทางการค้า ภายหลังจากการเจรจารอบอุรุกวัยประเทศพัฒนาแล้วได้เริ่มเปิดให้มีการนาเข้าแบบ ปลอดภาษีหรือไม่จากัดปริมาณการนาเข้าสาหรับสินค้าจากประเทศด้อยพัฒนา ๒.พัฒนาการของการเจรจาการค้าระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลกมีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ มีวิวัฒนาการมาจากแกตต์ซึ่งเป็นความตกลงที่ เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘) อันเป็นช่วงที่ประเทศต่าง ๆ ประสบปัญหาจากสงคราม ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้มีการก่อตั้งแกตต์เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว ๖๓ ปี ก่อนหน้านี้แกตต์เป็นองค์กรจัดระบบกฎระเบียบการค้าโลก โดยไม่มีกฎหมายและองค์กรระหว่างประเทศรองรับ และมีสมาชิกแรกเริ่ม 23 ประเทศ ทาหน้าที่ควบคุมบริหารงานทั่วไป คือ (๑) เป็นกฎระเบียบทางการค้าระหว่าง ประเทศ (๒) เป็นเวทีเพื่อเจรจาการค้า (๓) เป็นเวทีให้ประเทศคู่กรณียุติข้อพิพาทการค้า ซึ่งมีวิวัฒนาการโดยผ่าน การเจรจามาแล้วหลายรอบ โดยการเจรจาครั้งสุดท้ายและใหญ่ที่สุดของแกตต์ คือ การเจรจารอบอุรุวัยซึ่ง ดาเนินการเป็นระยะเวลา ๘ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และนาไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก
  • 4. เชิญ ไกรนรา | ๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ในขณะที่แกตต์เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อตกลงการค้าสินค้า แต่ข้อตกลงรอบอุรุวัยถือเป็นการ เจรจารอบที่สาคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกฏเกณฑ์การค้าโลกมากที่สุดเพราะได้ขยายขอบเขตการ เจรจาให้กระชับ รัดกุมและทันสมัย และครอบคลุมข้อตกลงการค้าบริการและการคิดค้นสร้างสรรค์และการ ออกแบบ โดยเฉพาะด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙o-๒๕๓๗ แกตต์ได้จัดให้มีการเจรจาการค้า หลายฝ่ายในระดับพหุภาคีเพื่อลดข้อจากัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้าไปแล้วรวม ๘ รอบ รายละเอียดปรากฏใน ตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ : สรุปผลการเจรจาการค้าภายใต้แกตต์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙o-๒๕๓๗ รอบการเจรจาการค้า จานวนประ เทศที่จรจา วัตถุประสงค์ ผลการเจรจา ๑. Geneva Round เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙o ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ๒๓ (เป็น ประเทศเริ่ม ก่อตั้ง) เพื่อลดอัตราภาษีอากร ระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อลดหย่อนภาษี ศุลกากรทั้งสิ้น ๔๕,000 รายการ มูลค่า การค้าประมาณ ๑o พันล้านดอลล่าร์ สหรัฐ ครอบคลุมกว่าร้อยละ ๒o ของ ปริมาณการค้าโลก ๒. Annecy Round เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ ณ เมือง Annecy ประเทศฝรั่งเศส ๑๓ เพื่อให้ประเทศที่ไม่ได้เจรจา ในรอบที่ ๑ ได้มีโอกาสเจรจา ลดภาษีศุลกากรเพิ่มเติม มีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน ๓. Torquay Round เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ ณ เมือง Torquay ประเทศอังกฤษ ๓๘ เพื่อให้ประเทศที่ไม่ได้เจรจา ในรอบที่ ๑ ได้มีโอกาสเจรจา ลดภาษีศุลกากรเพิ่มเติม มีการลดภาษีศุลกากรลงเฉลี่ยร้อยละ ๒๕ จากระดับปี พ.ศ.๒๔๙๑ ซึ่งระหว่าง ปี ๒๔๙๓-๒๕o๓ ปริมาณการค้าโลก ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๘ ต่อปี ซึ่งการขยายตัวทางการค้าของประเทศ สมาชิกสูงกว่าการขยายตัวของ GDP ๔. Geneva Round เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ๒๖ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร ระหว่างกัน ไม่มีข้อมูล ๕. Dillon Round เมื่อปี พ.ศ. ๒๕o๓- ๒๕ o๔ ณ นครเจนีวา ประเทศ ๒๖ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร ระหว่างกันเพราะมีการ รวมกลุ่มประเทศเป็นตลาด ร่วมยุโรป และต้องการ ปรับปรุงบทบัญญัติของ มีการลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน ประมาณ ๔,๔oo รายการแต่ไม่รวมสินค้าเกษตร และสินค้าที่อ่อนไหวง่าย
  • 5. เชิญ ไกรนรา | ๕ สวิตเซอร์แลนด์ แกตต์ ๖. Kennedy Round เมื่อปี พ.ศ.๒๕ o๗ ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ๖๒ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร ระหว่างกันประมาณครึ่งหนึ่ง โดยมีข้อยกเว้นขั้นต่า บางส่วน การยกเลิกข้อจากัดด้าน การค้าสินค้าเกษตร การ ยกเลิกกฎระเบียบที่ไม่ใช่ ภาษี และการให้ความ ช่วยเหลือประเทศกาลัง พัฒนา การจัดทาแนวปฏิบัติด้านการทุ่มตลาด ภายใต้แกตต์ การเพิ่มประเด็นการค้า และการพัฒนาภายใต้ข้อบัญญัติของ แกตต์ และการยกเว้นประเทศกาลัง พัฒนาที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎทางการค้า แบบต่างตอบแทน ข้อตกลงด้านการค้า พืชผลเกษตรที่ให้ราคาซื้อขายขั้นต่า สูงขึ้นรวมทั้งแผนความช่วยเหลือด้าน อาหารแก่ประเทศกาลังพัฒนา นอกจากนี้ยังขยายความตกลงระยะยาว ของสิ่งทอและฝ้ายออกไปอีกเป็น ระยะเวลา ๓ ปี และจัดทากรอบเจรจา ภาษีสาหรับสินค้าเหล็ก อลูมิเนียม สารเคมี เยื่อกระดาษและกระดาษ ๗. Tokyo Round เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖- ๒๕๒๒ ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ๑o๒ เพื่อเจรจาลดภาษีอากร ระหว่างกันและเจรจาความ ตกลงย่อยเกี่ยวกับมาตากรที่ ไม่ใช่ภาษีศุลกากร มีการลดภาษีประมาณ ๑ ใน ๓ ของ ๙ ตลาดสินค้าอุตสาหกรรมหลักของโลก มี การลดภาษีศุลกากรของสินค้า อุตสาหกรรมจากเฉลี่ยร้อยละ 7 เหลือ เฉลี่ยร้อยละ 4.7 และมีแผนลดภาษี ระยะ ๘ ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทาให้ สอดคล้องกันและไม่ประสบความสาเร็จ ในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับ การค้าสินค้าเกษตร แต่ได้ทาแนวปฏิบัติ ด้านข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับภาษีหลาย ด้าน ซึ่งนาไปสู่การปรับปรุงระบบการ เจรจาการค้าโลกใหม่ทั้งระบบ ๘. Uruguay Round เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙- ๒๕๓๗ ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ๑๒๕ เป็นการเจรจาครั้งสุดท้ายที่ ใหญ่ที่สุดและครอบคลุม ประเด็นต่างๆกว้างขวางที่สุด โดยมีการเจรจาลดภาษีอากร ระหว่างกัน และมาตรการที่ มิใช่ภาษี กฎระเบียบต่างๆ การค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มีการลดภาษีศุลกากรลงเฉลี่ยร้อยละ 40 จากระดับเดิมและมีการตกลงยก ฐานะความตกลงแกตต์ขึ้นเป็นองค์การ การค้าโลก การเจรจารอบนี้เป็นการจัด ระเบียบทางการค้าขึ้นใหม่ โดยมีการ นาเอาเรื่องสินค้าเกษตร การค้าสิ่งทอ และการค้าบริการเข้ามารวมอยู่ด้วย
  • 6. เชิญ ไกรนรา | ๖ เสื้อผ้าและสิ่งทอ เกษตร ผลิตภัณฑ์เขตร้อน ข้อปฏิบัติของการเจรจารอบ โตเกียว การตอบโต้การทุ่ม ตลาด การอุดหนุน ทรัพย์สิน ทางปัญญา มาตรการด้าน การลงทุน การไกล่เกลี่ยข้อ พิพาท ระบบของแกตต์ และ การค้าบริการต่างๆ และประเทศที่พัฒนาแล้วควรเร่งการ ดาเนินการตามข้อตกลงเพื่อการเปิด ตลาดสาหรับสินค้าที่นาเข้าจากประเทศ ด้อยพัฒนา ตลอดทั้งการให้ความ ช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศด้อย พัฒนาให้มากขึ้น ที่มา: World Trade Organization.๒o๑o .Understanding the WTO. Fifth Edition. World Trade Organization. Geneva. http://www.dtn.go.th/dtn/index.php. http://en.wikipedia.org/wiki/Kennedy_Round องค์การการค้าโลกมีหน้าที่ที่สาคัญคือ - บริหารความตกลงการค้าหลายฝ่ายและพหุภาคีภายใต้ WTO โดยผ่านคณะมนตรี และกรรมการต่าง ๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่ง WTO ได้กากับดูแลความตกลงต่างๆที่เป็นผลจากการเจรจาจานวน ๒๙ ความตกลง ปฏิญญา มติและบันทึกความเข้าใจของรัฐมนตรีอีก ๒๕ ฉบับ  - เป็นเวทีเพื่อการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีและ มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร  - เป็นเวทีเพื่อให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าและหากไม่สามารถจัดตั้งคณะผู้ พิจารณา (Panel) จะทาหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ - เป็นผู้ดูแลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างประเทศ เสมอให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกาลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนา เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนทาการศึกษาประเด็นการค้าที่สาคัญ ๆ  - ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจที่ สอดคล้องกันยิ่งขึ้น ๓.ความตกลงต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลก โครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของความตกลงทางการค้าโลกประกอบด้วย ๖ ด้านหลักซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก การเจรจารอบอุรุกวัย ได้แก่ แกนหลักของข้อตกลงทางการค้า การเจรจาสินค้า บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก โดยมีความสัมพันธ์กันดังตารางที่ ๒
  • 7. เชิญ ไกรนรา | ๗ ตารางที่ ๒: โครงสร้างซึ่งเป็นพื้นฐานของความตกลงการค้าโลก แกนหลัก ข้อตกลงเพื่อจัดตั้งองค์การการค้าโลก สินค้า บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา หลักการ พื้นฐาน ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วย การค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ทรัพย์สินทางปัญญาในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) รายละเอียด เพิ่มเติม ข้อตกลงด้านสินค้าอื่นๆ และ ภาคผนวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกาหนด เฉพาะของแต่ละสาขาหรือประเด็น ประกอบด้วย เกษตร กฎระเบียบ ด้านสุขภาพสาหรับสินค้าเกษตร สิ่ง ทอและเสื้อผ้า มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรการด้านการลงทุน มาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาด วิธีการประเมิน มูลค่าภาษี การตรวจสอบก่อนการ ส่งออก กฎว่าด้วยแหล่งกาเนิดสินค้า ที่ยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศ สมาชิก WTO ใบอนุญาตนาเข้า การ อุดหนุนและมาตรการตอบโต้ และ มาตรการป้องกัน ภาคผนวกของภาคบริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกาหนด เฉพาะของแต่ละสาขาหรือ ประเด็นประกอบด้วย การ เคลื่อนย้ายของบุคคล บริการขนส่งทางอากาศ บริการทางการเงิน บริการ ส่งออก-นาเข้า และ บริการโทรคมนาคม ข้อตกลงครอบคลุมลิขสิทธิ์และสิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะให้ความคุ้มครอง ทั้งภาพและเสียงระยะเวลา ๕0 ปี สิทธิบัตรให้ความคุ้มครอง ระยะเวลา ๒o ปี การออกแบบแผง วรจรคอมพิวเตอร์ให้ความคุ้มครอง ระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ยัง รวมถึงเครื่องหมายการค้าและ เครื่องหมายบริการ สิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ การออกแบบทาง อุตสาหกรรม ข้อมูลที่ไม่สามารถ เปิดเผยได้รวมทั้งความลับทางการ ค้า พันธะการเปิด ตลาด กาหนดการหรือรายการเปิดตลาด ตามพันธะผูกพันของแต่ละประเทศ สมาชิก กาหนดการเปิดตลาดตาม พันธะผูกพันของประเทศ สมาชิก (และข้อยกเว้น MFN) การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ความโปร่งใส การทบทวนนโยบายการค้า โดย ๔ ประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูง เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน จะถูกทบทวนนโยบายทุกๆ ๒ ปี ๑๖ ประเทศที่มูลค่าการค้าสูงถัดมารวมทั้งไทยจะถูกทบทวน นโยบายทุกๆ ๔ ปี ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เหลือจะถูกทบทวนทุกๆ ๖ ปี และอาจจะนานมากขึ้นสาหรับ ประเทศด้อยการพัฒนา สาหรับประเทศไทยได้ผ่านการทบทวนนโยบายการค้ามาแล้ว ๕ ครั้ง ที่มา: World Trade Organization.๒o๑o. Understanding the WTO. Fifth Edition. World Trade Organization. Geneva.
  • 8. เชิญ ไกรนรา | ๘ http://www.dtn.go.th/dtn/index.php การลดภาษี มีพันธะผูกพันเพิ่มมากขึ้นและใกล้ที่จะเป็นอัตรา O % การลดภาษีของประเทศพัฒนาแล้วได้เริ่มมาในช่วงระยะเวลา ๕ ปีตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งมี การลดภาษีสาหรับสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ ๖.๓ เป็นร้อยละ ๓.๘ มีสินค้าไม่กี่ชนิดที่ยังถูกเก็บภาษี ในอัตราที่สูง ซึ่งสัดส่วนของสินค้านาเข้ามายังประเทศพัฒนาแล้วและต้องเสียภาษีมากกว่าร้อยละ ๑๕ ลดลงจาก ร้อยละ ๗ เหลือร้อยละ ๕ และสัดส่วนของสินค้าส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนาที่ถูกเก็บภาษีมากกว่าร้อยละ ๑๕ ในประเทศพัฒนาแล้วจะลดลงจากร้อยละ ๙ เหลือร้อยละ ๕ นอกจากนี้มีการทาข้อผูกพันเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศ พัฒนาแล้วได้เพิ่มจานวนสินค้านาเข้าที่ได้ทาข้อผูกพันทางอัตราภาษีจากร้อยละ ๗๘ ของสินค้าทั้งหมดเป็นร้อยละ ๙๙ สาหรับประเทศกาลังพัฒนาได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๑ เป็นร้อยละ ๙๘ หรือคิดเป็น ๓.๔๗ เท่า ส่วนประเทศที่ เศรษฐกิจอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจากส่วนกลางเพิ่มการทาข้อผูกพันอัตราภาษีจากร้อยละ ๗๓ เป็นร้อยละ ๙๘ ซึ่งทั้งหมดทาให้เกิดความมั่นคงทางการตลาดสาหรับนักธุรกิจการค้าและนักลงทุน ๔.กฎเกณฑ์ทางการค้าที่สาคัญขององค์การการค้าโลก ประกอบด้วย (๑) หลักห้ามเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าของสมาชิกอื่นและสินค้าของสมาชิก WTO โดยถือการ ปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน (๒) หลักห้ามเรียกเก็บภาษีที่สูงกว่าอัตราที่ผูกพันไว้ (๓) หลักห้ามเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้านาเข้าและสินค้าที่ผลิตในประเทศ (๔) หลักห้ามจากัดการนาเข้าหรือส่งออกโดยใช้โควตา เนื่องจากเป็นมาตรการที่ไม่โปร่งใสและไม่ แน่นอน (๕) มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (การทุ่มตลาดคือราคาสินค้าของประเทศที่นาเข้าต่ากว่า ราคาขายภายในประเทศผู้ส่งออก) (๖) การอุดหนุน ซึ่งอาจบิดเบือนการค้าประกอบด้วย (๑) การอุดหนุนที่ห้ามปฏิบัติ เช่น การ อุดหนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการส่งออกและการกาหนดให้ใช้สินค้าภายในประเทศแทนสินค้านาเข้า และ (๒) การ อุดหนุนที่อาจทาได้แต่อาจถูกตอบโต้ได้ หากประเทศผู้นาเข้าพบว่าการกระทาดังกล่าวส่งผลกระทบรุนแรงต่อ อุตสาหกรรมภายในประเทศของตนก็สามารถเรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุนได้เป็นระยะเวลา ๕ ปี การอุดหนุนมี บทบาทสาคัญสาหรับประเทศกาลังพัฒนาและประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจาก ส่วนกลาง ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกาลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวต่ากว่า ๑,ooo เหรียญสหรัฐต่อปีได้รับการ ยกเว้นจากกฎระเบียบการห้ามอุดหนุนการส่งออกนี้ ประเทศกาลังพัฒนาให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกภายในปี พ.ศ.๒๕๔๖ และประเทศด้อยพัฒนาให้ยกเลิกการอุดหนุนเพื่อทดแทนการนาเข้าภายในปี พ.ศ.๒๕๔๖ สาหรับ ประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเปลี่ยนผ่านจากระบบการวางแผนจากส่วนกลางให้ยกเลิกการอุดหนุนภายในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และประเทศกาลังพัฒนาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษถ้าถูกสอบสอนว่ามีการอุดหนุนการส่งออก (๗ ) มาตรการปกป้อง ซึ่งเป็นกลไกที่จากัดการนาเข้าเป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยปกป้องอุตสาหกรรม ภายในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเพิ่มการนาเข้าและช่วยรองรับการเปิดตลาดของประเทศและให้
  • 9. เชิญ ไกรนรา | ๙ โอกาสอุตสาหกรรมภายในได้มีเวลาปรับตัว เพื่อให้แข่งขันกับสินค้านาได้ การใช้มาตรการปกป้องไม่ควรเกิน ระยะเวลา ๔ ปี ซึ่งสามารถขยายได้ถึง ๘ ปี และไม่สามารถใช้มาตรการเพื่อเจาะจงกับประเทศผู้ส่งออกเพียง ประเทศเดียว ยกเว้นว่ามีการเพิ่มขึ้นของการนาเข้าอย่างรวดเร็วผิดปกติ ประเทศกาลังพัฒนาได้รับการคุ้มครอง บางส่วนจากมาตรการปกป้อง ซึ่งประเทศผู้นาเข้าจะใช้มาตรการปกป้องสาหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งถ้าประเทศ กาลังพัฒนานั้นส่งออกสินค้ามากกว่าร้อยละ ๓ ของมูลค่านาเข้า หรือสมาชิกของประเทศกาลังหลายประเทศที่ ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ ๓ แต่ร่วมกันแล้วมากกว่ามีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๙ ของสินค้าแต่ละชนิด ๕.กลไกการดาเนินงาน องค์การการค้าโลกทาหน้าที่กาหนดนโยบายตลอดจนควบคุมการดาเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆ เรียงตามลาดับความสาคัญ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) คณะมนตรีใหญ่ (General Council) คณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการต่างๆ (Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของสมาชิก WTO โดยมีฝ่ายเลขานุการช่วยด้านการบริหารงานทั่วไป องค์การการค้าโลกกาหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี อย่างน้อยทุกๆ ๒ ปี เพื่อทบทวนปัญหาในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของสมาชิก และวางแนวทางในการเปิดเสรี ทางการค้าระดับพหุภาคี ภายใต้ WTO โดยได้มีการจัดการประชุมมาแล้วจานวน ๗ ครั้ง สรุปผลการประชุมปรากฏ ในตารางที่ ๓ ตารางที่ ๓: สรุปผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลกระหว่าง ปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๒ การประชุมระดับ รัฐมนตรีองค์การ การค้าโลก วัตถุประสงค์ ผลการประชุม ๑. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๙-๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๙ ณ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกาลังพัฒนารวมทั้ง ไทยต้องการให้ที่ประชุม ผลักดันให้สมาชิกปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์การค้าซึ่งเป็นผล ของการเจรจารอบอุรุกวัย อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่อง การเปิดตลาดตามความตก ลงเรื่องสินค้าเกษตรและสิ่ง ทอ แต่ประเทศพัฒนาแล้ว กลับต้องการนาเรื่องใหม่เข้า มาเจรจาเพื่อกาหนด กฎเกณฑ์ในองค์การการค้า โลกด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ผลักดันเรื่องมาตรฐาน มีการแถลงปฏิญญาจานวน ๒ ฉบับคือ ๑.ปฏิญญาการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก โดยเห็นชอบให้ เริ่มดาเนินการตามแผนงานเจรจาสินค้าเกษตรได้ตั้งแต่ปี ๒๕๔o ย้า ถึงความสาคัญของการเปิดตลาดสิ่งทอ และไม่ให้มีการใช้มาตรการ ปกป้องตลาดอย่างไม่สมเหตุสมผล และการให้ความสาคัญกับประเด็น การค้ากับสิ่งแวดล้อม และมีประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วผลักดันและ ไทยและประเทศกาลังพัฒนาอื่นๆ ขอให้ทบทวนเช่น เสนอให้มีการ จัดตั้งคณะทางานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้ากับการลงทุน ควร ศึกษาความโปร่งใสใสการจัดซื้อโดยรัฐโดยต้องคานึงถึงนโยบายของ ชาติการเสนอให้ตรวจสอบและวิเคราะห์งานด้านการอานวยความ สะดวกทางการค้าขององค์การระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อ ปรับปรุงกระบวนการค้าให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และประเมิน ขอบเขตของกฎระเบียบ WTO ในเรื่องนี้ และจะไม่มีการนามาตรฐาน แรงงานมาใช้เพื่อกีดกันการค้า รวมทั้งไม่มีการนาข้อได้เปรียบในเรื่อง
  • 10. เชิญ ไกรนรา | ๑๐ แรงงาน และการจัดซื้อโดย รัฐ พร้อมทั้งเจรจาการเปิด ตลาดสินค้าเทคโนโลยี สารสนเทศ ในขณะที่สหภาพ ยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา เสนอให้มีการเจรจาเรื่องการ ลงทุน นโยบายการแข่งขัน และการอานวยความสะดวก ทางการค้า ค่าจ้างแรงงานต่ามาเป็นประเด็นเจรจา ๒.ปฏิญญาว่าด้วยความตกลงเปิดเสรีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ มี ประเทศสมาชิก ๒๙ ประเทศตกลงจะลดภาษีนาเข้าสินค้า IT เป็น o % และผูกพันไว้กับ WTO ภายในปี ๒๕๔๓-ธันวาคม ๒๕๔๖ ซึ่งได้มี การเจรจาเปิดตลาดสินค้า IT ไปแล้ว ๒ รอบ และมีสมาชิกเข้าร่วม ความตกลงเพิ่มขึ้นเป็น ๕๕ ประเทศ รวมทั้งไทย คิดเป็นประมาณร้อย ละ ๙๓ ของการค้าสินค้า IT ของโลก ๒. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๘- ๒o พฤษภาคม ๒๕๔๑ ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ (พร้อมกับจัดงานฉลอง ครบรอบ ๕o ปี ระบบ การค้าพหุภาคี) มีการแถลงปฏิญญาจานวน ๒ ฉบับคือ ๑.ปฏิญญาการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก คณะมนตรีทั่วไป ได้รับมอบหมายให้จัดทาแผนการดาเนินงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ ๓ โดยให้รวมเรื่องที่สาคัญ ได้แก่การดาเนินการ ให้เป็นไปตามความตกลงจากการเจรจารอบอุรุกวัย รวมทั้งการเจรจา รอบใหม่ด้านเกษตรและบริการซึ่งเป็นการเจรจาต่อเนื่องที่กาหนดไว้ ในความตกลงเรื่องใหม่ๆ ตามมติของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรก ที่สิงคโปร์ เช่น การค้าและสิ่งแวดล้อม การลงทุน นโยบายการแข่งขัน และการอานวยความสะดวกทางการค้า และแผนงานเรื่องพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ๒.ปฏิญญาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมาชิก WTO ยืนยันที่จะคง สถานะการไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม ข้อเสนอของสหรัฐฯ และยืนยันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่คณะมนตรีทั่วไป ได้จัดทาแผนการดาเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ๓. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๓o พฤศจิกายน-๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ ณ นครซีแอตเติล ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อทบทวนการปฏิบัติตาม พันธกิจของประเทศสมาชิก จากผลการเจรจารอบอุรุกวัย และพิจารณากาหนด แผนงานในอนาคตของ WTO ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปเพื่อเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และการประชุมครั้งนี้ประสบความล้มเหลว มี ประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมจานวน ๑๓๕ ประเทศและไม่สามารถ ตกลงกันได้ เนื่องจากเนื้อหาของการเจรจามีความซับซ้อน หลากหลาย ประเทศสมาชิกมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ไม่สามารถปรับ ท่าทีเข้าหากันได้ในเวลาที่จากัดเพียง ๔ ประกอบกับมีการประท้วงใน ท้องถนนทาให้ต้องเริ่มประชุมช้ากว่ากาหนดและไม่สามารถ ดาเนินการประชุมได้อย่างต่อเนื่อง ๔. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๔ เมื่อ เดือนพฤศจิกายน ประเทศสมาชิกตกลงที่จะ เริ่มต้นเจรจาโดยให้ ความสาคัญในเรื่องการ ประเด็นการเจรจามี ๗ หัวข้อโดยมีหลักการว่าต้องเจรจาตกลงกัน ให้ได้ครบในคราวเดียวกัน (Single Undertaking) จึงจะถือว่า บรรลุความตกลงของการเจรจารอบโดฮา ประกอบด้วย (๑) การ
  • 11. เชิญ ไกรนรา | ๑๑ ๒๕๔๔ ณ กรุงโดฮา ประเทศ กาตาร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “การเจรจาการ พัฒนารอบโดฮา” พัฒนาและยกระดับความ เป็นอยู่ของประเทศที่ยากจน (Doha Development Agenda: DDA) การเจรจามีกาหนด ระยะเวลา ๔ ปีปี (๒๕๔๔- ๒๕๔๘) เจรจาเปิดตลาดและปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร ประกอบด้วยการลด ภาษี การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก และการลดการอุดหนุนภายใน สินค้าเกษตร (๒) การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (๓) การ เจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ (๔) การเจรจาเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (๕) การเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ ทางการค้า (มีประเด็นย่อยประกอบด้วย การตอบโต้การทุ่มตลาด การอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน การอุดหนุนการประมง และการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาการค้าในภูมิภาค) (๖) การเจรจาเรื่อง การค้าและการพัฒนา และ (๗) การเจรจาเรื่องการค้ากับสิ่งแวดล้อม โดยประเด็นเจรจา ๔ เรื่องแรกประเทศสมาชิกให้ความสนใจ ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ก็ให้พิจารณาว่าจะนาเรื่องที่ที่ประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๑ ที่สิงคโปร์ ที่มอบหมายให้ศึกษาหรือที่เรียกว่า Singapore Issues ซึ่งประกอบด้วย ๔ เรื่องคือ การลงทุน นโยบาย การแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการอานวย ความสะดวกทางการค้า เข้ามาเจรจาในรอบโดฮาหรือไม่ ๕. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๕ เมื่อ ปี ๒๕๔๖ ณ เมือง แคนคูน ประเทศ เม็กซิโก การประชุมครั้งนี้ประสบความล้มเหลวเนื่องจากประเทศพัฒนาแล้ว ต้องการให้ที่ประชุมตัดสินใจนาเรื่อง Singapore Issues เข้ามาเจรจา ด้วย แต่ประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่คัดค้าน นอกจากนี้กลุ่มประเทศ ผู้ส่งออกฝ้ายในภูมิภาคอาฟริกาเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดการอุดหนุนฝ้ายเป็นการแลกเปลี่ยน แต่สหรัฐฯ ไม่ยินยอม ๖. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๖ เมื่อ ๑๓-๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ณ ประเทศฮ่องกง เน้นการหารือใน ๔ เรื่อง คือ การเปิดตลาดและปฏิรูป การค้าสินค้าเกษตร การเปิด ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม การเปิดตลาดการค้าบริการ และการเปิดตลาดให้ประเทศ ด้อยพัฒนาในรูปแบบปลอด ภาษีและปลอดโควต้า กาหนดกรอบการลดภาษีและการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรรวมทั้ง ให้มีการยกเลิกการลดการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรภายในปี ๒๕๕๓ และสาหรับสินค้าอุตสาหกรรม ก็กาหนดวิธีการลดภาษี และ ประเทศสมาชิกตกลงเปิดตลาดเป็นพิเศษรูปแบบปลอดภาษีและ ปลอดโควต้าแก่สินค้าทุกประเภทจากประเทศด้อยการพัฒนาภายในปี ๒๕๕๑ หรือในปีที่เริ่มปฏิบัติตามพันธกรณี สาหรับประเทศกาลัง พัฒนาให้เลือกได้ว่าจะเปิดตลาดให้ประเทศด้อยพัฒนาหรือไม่ตาม ความสมัครใจ ๗. การประชุมระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ ๗ เมื่อ ๓o พฤศจิกายน- ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ นครเจนีวา ประเทศ เพื่อเน้นย้าถึงความสาคัญ ของการค้าระหว่างประเทศ และการเจรจารอบโดฮาที่จะ ช่วยบรรเทาและเยียวยา ผลกระทบจากวิกฤต ที่ประชุมเห็นชอบการขยายเวลาการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากร ชั่วคราวสาหรับสินค้าที่ส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเห็นชอบการ ขยายเวลาการยกเว้นการฟ้องกรณีพิพาทเกี่ยวกับความตกลงว่าด้วย สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ภายใต้กระบวนการ ระงับข้อพิพาทของ WTO ในกรณีที่มิได้ทาผิดพันธกรณีภายใต้ความ
  • 12. เชิญ ไกรนรา | ๑๒ สวิตเซอร์แลนด์ เศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยแก้ไข ปัญหาความยากจนใน ประเทศกาลังพัฒนาและ สนับสนุนให้สรุปการเจรจา รอบโดฮาในทุกๆ เรื่องให้ แล้วเสร็จในปี ๒๕๕๓ ตกลงดังกล่าว และการขยายเวลาการยกเว้นการใช้กระบวนการระงับ ข้อพิพาทดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะถึงการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ ๘ ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ค้นหาจาก http://www.dtn.go.th/dtn/index.php. ๖.ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ข้อตกลงขององค์การการค้าโลกซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย ทาให้เกิดโอกาสมากมาย สาหรับประเทศกาลังพัฒนาที่จะได้ประโยชน์จากการค้า ซึ่งการเจรจาการค้าเสรีอย่างต่อเนื่องภายใต้รอบโดฮามี เป้าหมายเพื่อปรับปรุงโอกาสการได้รับประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะด้านการส่งออก ประกอบด้วย  การปฏิรูปถึงระดับพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตร  การยกเลิกโควตา สาหรับสินค้าส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนาครอบคลุมสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า  การเพิ่มจานวนสินค้าที่มีอัตราภาษีที่ผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลกซึ่งทาให้ยากต่อการเพิ่มอัตราภาษีให้ สูงขึ้น  การยกเลิกข้อตกลงทวิภาคีเพื่อจากัดปริมาณของสินค้าสาหรับสินค้าบางชนิด (ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับภายใต้ GATT-WTO)  นอกจากนี้การเปิดเสรีภายใต้องค์การการค้าโลกได้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกและกระตุ้นความ ต้องการของตลาดโลกสาหรับสินค้าที่ส่งออกจากประเทศกาลังพัฒนา ๗.การค้าสินค้า การค้ามีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการลงทุนโดยประมาณ ๑ ใน ๓ ของปริมาณการค้าสินค้าและ บริการของโลกในปี ๒๕๓๘ เป็นการค้าภายในบริษัทเดียวกัน เช่น ระหว่างบริษัทลูกในต่างประเทศ หรือระหว่าง บริษัทลูกในต่างประเทศกับสานักงานใหญ่ การค้าสินค้าครอบคลุม ๕ ด้านหลักคือ ๗.๑ พันธกรณีการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย สินค้าเกษตรที่สาคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ามันถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ปาล์มน้ามัน ชา กาแฟ และกุ้ง โดยมีกลุ่มประเทศที่ ผลักดันหลักหลักดังนี้  กลุ่ม Cairns ซึ่งเป็นการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงปี ๒๕๒๙ ก่อน การเปิดการเจรจารอบอุรุกวัย ผลักดันให้การเจรจารอบอุรุกวัยให้ความสาคัญกับเรื่องการค้าสินค้าเกษตร มีสมาชิกจานวน ๑๙ ประเทศมีการส่งออกสินค้าเกษตรมากกว่าร้อยละ ๒๕ ของมูลค่าการส่งออกสินค้า เกษตรโลก โดยสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย แอฟริกาใต้ และไทย
  • 13. เชิญ ไกรนรา | ๑๓  กลุ่มประเทศกาลังพัฒนา G๒o ประกอบด้วย ๒๓ ประเทศคือ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชีลี จีน เอกวาดอร์ คิวบา อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก กัวเตมาลา ไนจีเรีย เปรู ปากีสถาน ปารากวัย แทนซาเนีย ฟิลิปปินส์ อุรุกวัย แอฟริกาใต้ ไทย เวเนซุเอลา ซิมบับเว ซึ่งผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิด ตลาดและลดการอุดหนุนภายใน แต่ต้องการให้มีความยืดหยุ่นอย่างมากในการเปิดเสรีสาหรับประเทศกาลัง พัฒนา  กลุ่มประเทศ G ๓๓ ซึ่งประกอบด้วย ๔๔ ประเทศ คือ แอนติกัวและบาบูดา บาบาดอส เบลิส เบนิน บอ สวานา จีน ไอวอรีโคส คิวบา คองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ เกรนาดา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส อินเดีย อินโดนีเซีย จาไมก้า เคนยา ลาว มอริเชียส มาดากัสการ์ มองโกเลีย โมซัมบิก นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ เซ็นคิสและเนวิส เซ็นลูเซีย เซ็นวินเซ้นและเกรนาดีน เซเนกัล เกาหลีใต้ ศรีลังกา สุรินาม แทนซาเนีย ตรินิแดดและโตเบโก ตุรกี อูกันดา เวเนซุเอลา แซมเบีย ซิมบับเว แอนดอร่า ฝรั่งเศส มีเป้าหมายการผลักดันโดยเน้นการปิดตลาดสินค้าเกษตรของประเทศกาลังพัฒนา ความก้าวหน้าตามพันธกรณีความตกลงการเจรจาสินค้าเกษตรมีดังนี้ ๑) การเปิดตลาดโดยการลดภาษีศุลกากร  ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดภาษีลงร้อยละ ๓๖ ภายใน ๖ ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงอย่างน้อยร้อย ละ ๑๕  ประเทศกาลังพัฒนา ต้องลดภาษีลงร้อยละ ๒๔ ภายใน ๑o ปี แต่ละรายการสินค้าจะต้องลดลงร้อยละ ๑o การปรับเปลี่ยนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่ใช้กับสินค้าเกษตร เช่น การห้ามนาเข้า การกาหนดโควต้านาเข้า และการกาหนดสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตภายในประเทศ ให้เป็นมาตรการภาษีศุลกากรทั้งหมดโดยกาหนดเป็น ปริมาณโควต้า และเก็บภาษีศุลกากรสินค้าในโควต้าในระดับต่า และหากมีการนาเข้าเกินกว่าปริมาณโควต้าที่ กาหนดก็จะเก็บอัตราภาษีนอกโควตาในอัตราที่สูงมาก ตารางที่ ๔ : การลดอัตราภาษีของสมาชิก WTO ที่สาคัญ ประเทศ จานวนอัตรา ภาษีที่ผูกพัน (รายการ) ลดภาษีลงเฉลี่ย (%) อัตราภาษีเฉลี่ย (ก่อน WTO) อัตราภาษีเฉลี่ย สุดท้าย % (๒๕๔๓) สหภาพยุโรป ๒,๑๓๒ ๓๖ ๑๒ ๘ สหรัฐอเมริกา ๑,๒๘o ๓๖ ๗ ๕ ญี่ปุ่น ๑,๔๕๓ ๓๖ ๑๗ ๑๑ ไทย ๗๔o ๒๔ ๔๙ ๒๗-๓o ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • 14. เชิญ ไกรนรา | ๑๔ ๒) การลดการอุดหนุนการผลิตภายในประเทศ แบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะคือ (๑) การอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาด (Amber Box) เช่น การประกันราคาขั้นต่า การแทรกแซงราคา เป็นต้น โดยประเทศสมาชิกต้องลดการอุดหนุนการผลิตภายในจากระดับที่ผูกพันไว้ดังนี้  ประเทศพัฒนาแล้ว ลดการอุดหนุนภายในลงในอัตราร้อยละ ๒o ภายใน ๖ ปี หากการอุดหนุนในแต่ละ สินค้ามีมูลค่าต่ากว่าร้อยละ ๕ ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมาคานวณในยอดการ อุดหนุนรวม  ประเทศกาลังพัฒนา ลดการอุดหนุนนี้ลงในอัตราร้อยละ ๑๓ ภายใน ๑o ปี ซึ่งใช้เวลาที่ยาวนานกว่า หาก การอุดหนุนในแต่ละสินค้ามีมูลค่าต่ากว่าร้อยละ ๑o ของมูลค่าการผลิต ไม่ต้องเอามูลค่าการอุดหนุนมา คานวณในยอดการอุดหนุนรวม การอุดหนุนภายในประเทศนี้กาหนดเป็นยอดปริมาณรวมเพื่อให้รัฐบาลบริหารเงินอุดหนุนนี้ได้ตามความจาเป็น มีความยืดหยุ่นในการใช้โดยไม่เจาะจงสินค้า (๒) การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนตลาด (Green Box) เนื่องจากไม่มีผลต่อการผลิตสินค้าและราคา สินค้า หรือหากมีก็จะน้อยมาก เช่น การอุดหนุนการผลิตเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยและพัฒนา การ สร้างโครงสร้างพื้นฐาน การปรับโครงสร้างการผลิต และการพัฒนาชนบท ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถใช้การอุดหนุน นี้ได้โดยไม่มีขีดจากัด (๓) การอุดหนุนโดยตรงภายใต้โครงการจากัดการผลิต (Blue Box) การอุดหนุนการผลิตภายในที่ ให้กับเกษตรกรโดยตรง แต่ต้องอยู่ภายใต้โครงการจากัดการผลิตซี่งมีเงื่อนไขสาคัญ ๓ ข้อคือ (๑) การจ่ายเงินนั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อหน่วยที่กาหนดไว้แล้ว หรือ (๒) การจ่ายเงินนั้นจ่ายในอัตราร้อยละ ๘๕ หรือต่ากว่าของระดับการผลิตที่ใช้เป็นฐาน หรือ (๓) การจ่ายเงินสาหรับปศุสัตว์ที่จ่ายตามจานวนหัวซึ่งกาหนดไว้ แล้ว การอุดหนุนนี้ถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิก WTO ทาได้ไม่มีขีดจากัด และไม่ต้องนามา คานวณภายใต้การอุดหนุนการผลิตภายในที่บิดเบือนตลาดที่มีเพดานการใช้ที่ต้องลด แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้างต้น (๔) การอุดหนุนที่ยกเว้นให้ประเทศกาลังพัฒนาให้ใช้ได้ (Special and Differential Box) คือ การ อุดหนุนด้านปัจจัยการผลิตและด้านการลงทุน ได้แก่ การอุดหนุนเพื่อซื้อเมล็ดพืชและปุ๋ยในราคาถูก การอุดหนุน เพื่อซื้อเครื่องมือ และเครื่องจักร เป็นต้น
  • 15. เชิญ ไกรนรา | ๑๕ ตารางที่ ๕ : การอุดหนุนการผลิตภายในประเทศสมาชิกที่สาคัญ ประเทศ การอุดหนุนการผลิตภายในประเทศที่ผูกพันกับ WTO (ล้านบาท) ๒๕๓๘ ๒๕๔๓ จานวนที่ลด สหภาพยุโรป ๓,๒๔o,ooo ๒,๖๙o,ooo ๕๕o,ooo สหรัฐอเมริกา ๘๗๗,๑๕๙ ๗๒๕,๙๑๔ ๑๕๑,๒๔๕ ญี่ปุ่น ๑,๖๘o,ooo ๑,๓๙o,ooo ๒๙o,ooo ไทย ๒๑,๘๑๖ ๑๙,o๒๘(ปี ๒๕๔๗) ๒,๗๘๘ ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ๓) การอุดหนุนการส่งออก สมาชิกต้องลดการอุดหนุนการส่งออกดังนี้  ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณสินค้าเกษตรที่ได้ให้การอุดหนุนการส่งออกลงร้อยละ ๒๑ และลด จานวนเงินอุดหนุนลงร้อยละ ๓๖ ภายใน ๖ ปี  ประเทศกาลังพัฒนา ต้องลดปริมาณที่ให้การอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ ๑๔ และลดจานวนเงินอุดหนุนลง ร้อยละ ๒๔ ภายใน ๑o ปี สมาชิกต้องไม่อุดหนุนเกินกว่าที่ผูกพันไว้ โดยใช้ยอดการอุดหนุนในปีฐาน (พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๑) เป็นจุดเริ่มต้น และผูกพันการอุดหนุนส่งออกเป็นรายสินค้ากล่าวคือสมาชิกไม่สามารถให้การอุดหนุนส่งออกสินค้ากับสินค้าเกษตร ที่ไม่เคยได้รับการอุดหนุนการส่งออกในปีฐานได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ประเทศกาลังพัฒนากรณีที่เป็นการอุดหนุน ส่งออกเพื่อลด (๑) ต้นทุนการตลาดที่รวมถึงต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ และ (๒) ต้นทุนด้านการขนส่งภายใน ตารางที่ ๖ : การลดการอุดหนุนการส่งออกของสมาชิก WTO ที่สาคัญ ประเทศ การอุดหนุนการส่งออกที่ผูกพันกับ WTO (ล้านบาท) ๒๕๓๘ ๒๕๔๓ จานวนที่ลด สหภาพยุโรป ๔๖๕,๕๒๘ ๒๙๗,๙๓๖ ๑๖๗,๕๙๒ สหรัฐอเมริกา ๓๕,๓o๒ ๒๒,๕๗๒ ๑๒,๗๓o ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี - ไทย ไม่มี ไม่มี - ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ๗.๒ การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งมีสินค้าที่สาคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง แก้วและกระจก เครื่องสาอาง เซรามิค หินอ่อนและกระเบื้อง อัญมณีและ เครื่องประดับ ยา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยมีแนวทางการลดภาษีสาหรับสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ WTO คือ  อัตราภาษีสูงจะลดในอัตราที่มากกว่าอัตราภาษีต่า
  • 16. เชิญ ไกรนรา | ๑๖  ใช้อัตราภาษีที่ผูกพัน (Bound rate) เป็นฐานในการลดภาษี  ในกรณีที่ยังไม่ได้ผูกพันอัตราภาษีสาหรับรายการสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ให้กาหนดอัตราฐานที่จะเข้าสูตรการ ลดภาษีจากการวัดจากภาษีที่เรียกเก็บจริงซึ่งจะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับการเจรจา ประเทศกาลังพัฒนาจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวนานกว่าและมีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษโดยจะต้องเลือก ระหว่าง  ให้ยกเว้นจากการผูกพัน (ในกรณีที่ยังมิได้ผูกพัน) หรือไม่ต้องลดภาษีได้เป็นจานวนร้อยละ ๕ ของรายการ สินค้าอุตสาหกรรมและประมงแต่ต้องมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ ๕ ของมูลค่านาเข้ารวม หรือ  ให้ยกเว้นจากการลดภาษีโดยใช้สูตรได้ร้อยละ ๑o ของจานวนรายการสินค้า (แต่ต้องลดมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของการลดโดยใช้สูตร) และมูลค่านาเข้าของรายการที่ยกเว้นต้องไม่เกินร้อยละ ๑o ของมูลค่านาเข้ารวม  ห้ามใช้ข้อยกเว้นกับสินค้าทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีความพยายามเจรจาลดภาษีรายสาขา โดยการลดภาษีเป็นร้อยละ 0 หรือลดลงมาอยู่ใน อัตราที่เท่ากันในกลุ่มสินค้าที่ตกลงกัน โดยสมาชิกยอมรับให้การเข้าร่วมลดภาษีรายสาขาเป็นไปตามความสมัครใจ โดยจะลดภาษีในแต่ละสาขาต่อเมื่อเมื่อสมาชิกเข้าร่วมมากพอ (Critical mass) นอกจากนี้ยังมีการเจรจาให้มีการ ปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษสาหรับประเทศกาลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาด้วย เช่น ยืดระยะเวลาการลดภาษีให้ยาว กว่าประเทศพัฒนาแล้ว หรือให้ภาษีสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0 เป็นต้น โดย WTO ได้จาแนกการเจรจาออกเป็น ๑๔ สาขาอุตสาหกรรม ซึ่งไทยได้สนใจเข้าร่วมจานวน ๕ สาขา ตารางที่ ๗ : รายชื่อของสาขาอุตสาหกรรมที่เสนอให้มีการเจรจาลดภาษีระหว่างกัน สาขาอุตสาหกรรม ประเทศผู้เสนอและประเทศที่สนใจ เข้าร่วมเจรจา จานวนประเทศสมาชิกที่ต้องการ (Critical mass: %) ๑.สาขายานยนต์และชิ้นส่วน ญี่ปุ่น ๙๙ และ ๙๘ ของการค้ายานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ของโลก ตามลาดับ ๒.สาขาจักรยานและชิ้นส่วน ไต้หวัน สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ และไทย ๙o ๓.สาขาเคมีภัณฑ์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นอร เวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ยังไม่มีการกาหนด ๔.สาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน ญีปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไทย และ สหรัฐอเมริกา ๙o ๕.สาขาประมง:ปลาและ ผลิตภัณฑ์จากปลา นิวซีแลนด์ แคนาดา ฮ่องกง จีน ไอซ์แลนด์ นอรเวย์ โอมาน สิงคโปร์ ไทย และอุรุกวัย ๙o ๖.สาขาป่าไม้และผลิตภัณฑ์จาก ป่าไม้ แคนาดา ฮ่องกง จีน นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา ๙o ๗.สาขาอัญมณีและ ไทย แคนาดา สหภาพยุโรป ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ๙o
  • 17. เชิญ ไกรนรา | ๑๗ เครื่องประดับ นอรเวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และ สหรัฐอเมริกา ๘.สาขาเครื่องมือที่ใช้งานด้วย มือ ไต้หวัน ๙o ๙.สาขาเวชภัณฑ์และเครื่องมือ ทางการแพทย์ สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีการกาหนด ๑o.สาขาวัตถุดิบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต ๙o ๑๑.เครื่องจักรกลทาง อุตสาหกรรม แคนาดา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นอรเวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีการกาหนด ๑๒.สาขาอุปกรณ์กีฬา ไต้หวัน นอรเวย์ สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา ๙o ๑๓.สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สหภาพยุโรป ยังไม่มีสมาชิกสนใจเข้าร่วม ๑๔.สาขาของเล่น ฮ่องกง จีน ไต้หวัน ๙o ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ World Trade Organization.๒oo๘.Fourth Revision of Draft Modalities for Non-Agricultural Market Access. Negotiating Group on Market Access. หมายเหตุ: ตัวเข้มในชื่อประเทศหมายถึงประเทศผู้เสนอให้มีการเจรจาการค้าสาขาอุตสาหกรรม ๗.๓ การค้าบริการ การบริการเป็นสาขาที่ขยายตัวเร็วที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกเนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยคิดเป็น ๒ ใน ๓ ของผลผลิตของโลก มีการจ้างงานประมาณ ๑ใน ๓ ของ การจ้างงานทั่วโลกและคิดเป็นร้อยละ ๒o ของปริมาณการค้าโลก โดยการเปิดเจรจาการค้าบริการเป็นการเปิดเสรี แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการยื่นข้อเรียกร้อง และยื่นข้อเสนอ และพัฒนามาเป็นการจัดทาข้อเรียกร้องของ กลุ่ม เพื่อยื่นต่อประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการรวมกลุ่มนี้มีประมาณ ๒o กลุ่ม เช่น กลุ่มที่ผลักดันการเปิดตลาด บริการทางการเงิน บริการโทรคมนาคม บริการจัดจาหน่าย บริการขนส่ง และบริการข้ามพรมแดน กาหนดให้ สมาชิก WTO มีหน้าที่เข้าร่วมเจรจาเป็นรอบๆ ละ ๕ ปี ซึ่งในรอบแรกกาหนดให้เริ่มต้นภายใน ๕ ปี นับจากวันที่ ความตกลงจัดตั้ง WTO มีผลใช้บังคับ ในการเจรจาแต่ละรอบสมาชิกจะต้องลดหรือยกเลิกข้อจากัดที่เป็นอุปสรรค ต่อการค้าบริการใน ๒ ลักษณะคือ ๑) ข้อจากัดในการเข้าสู่ตลาด หมายถึง กฎหมาย กฎระเบียบ หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่สมาชิกกาหนดขึ้น อันเป็น อุปสรรคต่อการเข้ามาประกอบธุรกิจและให้บริการของผู้ให้บริการต่างชาติ ๒) ข้อจากัดในการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ หมายถึงการให้การปฏิบัติต่อต่างชาติด้อยกว่าคนในชาติตน ซึ่งมักจะเป็นกฎหมายหรือระเบียบภายในที่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น กรณีที่รัฐบาลให้การอุดหนุนเฉพาะคนชาติ หรือ การกาหนดเงื่อนไขให้บริษัทต่างชาติต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ของตนแก่คนในชาติ เป็นต้น