SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 6
Baixar para ler offline
1
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจาก
สภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่ม
เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลาง
(Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to
Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good
Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand)
โดย
เชิญ ไกรนรา
Choen Krainara
สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2 พฤษภาคม 2557
2
การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษา
แนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลาง
(Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to Climate Change on Agricultural Sector:
Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand)
ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กาลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้าที่เพิ่มขึ้น
และสภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด บทความนี้จึงใคร่ขอเสนอกรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มเกษตรกร
รายย่อยในพื้นที่ภาคกลางซึ่งได้ค้นคว้าแนวทางการบรรเทาและปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง
อย่างยั่งยืน
1.สถานการณ์สภาวะโลกร้อนในประเทศไทย
ประเทศไทยกาลังประสบปัญหาสภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก
เป็นอันดับที่ 31 ของโลก หรืออันดับ 4 ของอาเซียน โดย ณ ปี พ.ศ.2548 ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด
ร้อยละ 56.1 รองลงมาเป็นภาคเกษตรกรรมร้อยละ 24.1 การปล่อยจากภาคของเสียร้อยละ 7.8 การปล่อยจากการ
เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้ร้อยละ 6.6 และการปล่อยจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมร้อยละ 5.4 จึง
ส่งผลให้จานวนวันที่ร้อนกว่า 35 องศาเซลเซียสมีมากขึ้น โดยภาคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงกลางวันคือ ภาคกลาง ภาค
ตะวันตก และภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส ส่วนคืนที่เย็นจะ
หายไปเรื่อยๆ โดยพื้นที่อากาศเย็นจะเหลือเพียงพื้นที่เทือกเขาสูง ปริมาณน้าฝนโดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก ระดับน้าทะเล
มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2 เซนติเมตร/ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยถึงขั้น
วิกฤติ ตลอดทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้มีการประมาณการณ์ว่าหากประเทศไทยไม่มีมาตรการแก้ไขผลกระทบจาก
สภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อปีประมาณร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
2.การพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ภาคกลางมีพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมจานวน 31.13 ล้านไร่ โดยแบ่งการใช้
ประโยชน์ทีดินออกเป็น นาข้าว 10.21 ล้านไร่ พืชไร่ 9 ล้านไร่ สวนผลไม้/ไม้ยืนต้น 7.39 ล้านไร่ สวนผัก ไม้ดอก/ไม้ประดับ
0.51 ล้านไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 4.02 ล้านไร่ ผู้ประกอบการเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรราย
ย่อยซึ่งถือครองที่ดินเฉลี่ย 36.85 ไร่ ต่อครัวเรือน (ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 25.42 ไร่ ต่อครัวเรือน) พื้นที่ภาคกลางมีการพัฒนา
พื้นที่ชลประทานมากที่สุดในประเทศประมาณ 13.70 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของพื้นที่เกษตรทั้งภาคภาคกลาง และ
ยังมีพื้นที่ศักยภาพเพื่อการพัฒนาชลประทานอีกประมาณ 3.60 ล้านไร่ ในปี 2553 ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้จานวน
329,229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของรายได้ทั้งภาคกลาง แต่กระนั้นก็ตามสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในพื้นที่
ภาคกลางมีบทบาทสาคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของรายได้จากภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ
3
3.ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลาง
3.1 ผลกระทบโดยทั่วไป ภาคเกษตรกรรมเป็นทั้งผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นแหล่งดูดซับพร้อมกับได้รับผลกระทบ
โดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคาดการณ์ว่าปริมาณน้าฝนเฉลี่ยต่อปีจะลดลงจาก 960-1,290 มิลลิเมตร
เหลือ 800-900 มิลลิเมตร และปริมาณน้าฝนต่อปีจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละจุด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อ
การเกษตรในประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นการเกษตรตามฤดูกาล รวมทั้งจานวนวันฝนตกจะเปลี่ยนแปลงและมีความแตกต่างกัน
มากในแต่ละพื้นที่ โดยทั่วไปกลุ่มเกษตรกรที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของ
พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากกลุ่มเกษตรเหล่านี้มีวิถีทางการผลิตที่เชื่อมโยง
กับสภาพแวดล้อมอย่างมาก และมีข้อจากัดในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนทั้งในด้านศักยภาพและองค์ความรู้
สาหรับผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชมีสองส่วนหลักคือ ผลกระทบโดยตรงจากการที่อุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่ง
สามารถวัดผลกระทบในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจน และผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศซึ่งวัดและ
คาดการณ์ได้ยากกว่าทั้งเรื่องเวลาและระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วความเสียหายจะรุนแรงกว่ากรณีแรก
จากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพบว่าสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรโดยมี 3 ตัวแปรสาคัญ
ประกอบด้วย (1) ปริมาณผลผลิต ผลการศึกษาแบบจาลองสภาพภูมิอากาศพบว่าในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ไปอุณหภูมิเฉลี่ย
สูงสุดและต่าสุดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับในปัจจุบันมากนัก แต่ในระยะ 90 ปีจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยด้านพืชพบว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับผลผลิตไม่เป็นเส้นตรง บางพืชอาจจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในระยะแรกแต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นผลกระทบของอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิเริ่มต้นเป็นเท่าไรและเป็น
พืชชนิดใด (2) ราคาผลผลิต เป็นตัวแปรที่คาดการณ์ได้ยากซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อผลผลิตเกษตรมี
บริบทของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผลผลิตเกษตรของไทยลดลงในขณะที่ผลผลิตของโลกก็ลดลงด้วย สภาวะโลกร้อนก็
อาจจะไม่กระทบต่อรายรับของเกษตรกรไทยมากเพราะราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลอาจจะเผชิญกับปัญหาความ
มั่นคงทางอาหาร จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าในอนาคตทั้งประเทศอินเดีย จีน และมาเลเซีย สามารถผลิตข้าวได้
เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 20 บังคลาเทศสามารถผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 ขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไร
อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นยิ่งทาให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น การศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อประเทศในเขตอบอุ่น เช่น
สหรัฐอเมริกา และแคนาดา พบว่าผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มขึ้น สาหรับประเทศไทยถ้าผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น
หรือในกรณีที่ผลผลิตข้าวไทยลดลงแต่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นมาก ราคาข้าวจะลดลงตามกลไกตลาด และรายได้เกษตรกรก็จะ
ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์ผลกระทบรายพืชหลักทั้งของไทยและคู่แข่งจึงมีความสาคัญต่อการกาหนดทิศทางการ
ส่งเสริมการเพาะปลูกพืช นอกจากนี้ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจกรรมการเกษตรยังมีนัยสาคัญต่อความ
มั่งคงทางอาหารของประเทศอื่นๆ ด้วยเนื่องจากหลายประเทศได้นาเข้าผลผลิตจากประเทศไทยเป็นหลัก ส่งผลให้ประเทศ
เหล่านี้อาจจะต้องประสบกับภาวะราคาผลผลิตเกษตรที่สูงขึ้น และ (3) ต้นทุนการผลิต สภาวะโลกร้อนอาจทาให้ต้นทุนการ
ผลิตเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นทั้งต้นทุนที่เกษตรกรสมัครใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการผลิตเพื่อที่จะรักษาระดับการผลิต
ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ หรือต้นทุนที่เป็นผลมาจากแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อตกลงในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกโดยในระยะหลังได้มีการหารือกันถึงการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการลดก๊าซ
4
3.2 ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สาคัญ 4 ชนิดในพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย
1) ข้าว ข้าวบางสายพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ โดยทาให้อายุข้าวสั้นลงและผลผลิตลดลง รวมทั้งอาจจะ
มีผลต่อการระบาดของแมลงและโรคของข้าว การขาดน้าทาให้การผสมเกสรลดลงและลดผลผลิตข้าวได้ ข้าวนาปีมีพื้นที่ปลูก
ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยอาศัยน้าฝนเป็นหลัก ในอนาคตแม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นแต่
ข้าวส่วนใหญ่ก็ยังสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ปริมาณน้าฝนรายปีที่ลดลงในพื้นที่ภาคกลางอาจส่งผลต่อการผลิตข้าว
บ้าง แต่ปัจจัยที่สาคัญคือการเริ่มต้นของฤดูฝน หากการแปรปรวนของภูมิอากาศทาให้ฝนมาล่าช้า จะทาให้เกษตรกรไม่
สามารถเตรียมแปลงกล้าได้ ความแปรปรวนของภูมิอากาศและพายุที่อาจมีมากขึ้น อาจจะทาให้เกิดภาวะน้าท่วมที่ไม่สามารถ
คาดการณ์ได้ ข้าวนาปรังมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานในภาคกลาง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลกระทบ
ค่อนข้างน้อยต่อผลผลิตข้าวในเขตชลประทาน แต่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลผลิตข้าวที่อยู่นอกระบบชลประทาน และ
ระบบการผลิตมีความอ่อนไหวต่อการควบคุมและระบายน้าของภาครัฐซึ่งมีทั้งเพื่อการชลประทานในฤดูแล้งและการจัดการน้า
ท่วมในฤดูฝน
2) มันสาปะหลัง การศึกษาการผลิตมันสาปะหลังเป็นระยะเวลานานทาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภูมิอากาศที่
จะมีการเปลี่ยนแปลงมีพอสมควร การใช้แบบจาลองทาให้คาดการณ์ได้ว่ามันสาปะหลังปลูกในพื้นที่ดอนของพื้นที่ผลิตหลักใน
ประเทศอาจได้รับปริมาณน้าฝนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวมันสาปะหลังมีโอกาสเน่าเสียได้ง่ายขึ้นและให้ผลผลิตลดลง อุณหภูมิและ
ความชื้นในอากาศและในดินที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอาจทาให้ศัตรูของมันสาปะหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เพลี้ย
แป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง ปลวกและแมลงนูนหลวง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้โดยตรง
3) อ้อย อ้อยโรงงานจะประสบปัญหาช่วงหน้าแล้งที่ยาวมากขึ้น ทาให้อ้อยอาจขาดน้าและปริมาณและความหนาแน่นของอ้อย
ต่อพื้นที่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตลดลงด้วย นอกจากนี้ในฤดูฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณฝนมากขึ้น อาจจะทาให้อ้อย
ประสบปัญหาภาวะน้าขัง ทาให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ นอกจากนี้ศัตรูของอ้อย เช่น หนอนกอด้วงหนวด
ยาวและปลวก ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
4) ข้าวโพด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกโดยอาศัยน้าฝนจะประสบปัญหาความไม่แน่นอนของวันเริ่มต้นของฤดูฝน ความ
แปรปรวนของฝนในฤดูการผลิตอาจทาให้ข้าวโพดเสี่ยงต่อการระบาดของแมลงและโรคข้าวโพดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม
นักวิชาการคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
4.กรณีศึกษาการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนโดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยใน
พื้นที่ภาคกลาง กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลางได้ตระหนักถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและได้ค้นคว้าแนว
ทางการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนแบบพึ่งพาตนเองโดยใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีกรณีศึกษาซึ่งเป็นแนว
ปฏิบัติที่ดีระดับชุมชนจานวน 2 กลุ่มเกษตรกรรายย่อยคือ
4.1 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ อาเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดค้นวิธีการทานาหยอดแบบไถชักร่อง และ
พบว่าการปลูกด้วยวิธีนี้มีข้อดี คือ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ รากแตกกอได้ดี และรากลึกกว่านาหว่าน ไม่ต้องใช้น้ามากทาให้ไม่ต้อง
รอฝน วิธีการทานาหยอดคือ ใช้ไม้ไผ่เจาะหลุมตามเชือกที่ขึงไว้แล้วหยอดเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งจะทาให้สามารถจัดการหญ้าได้
ง่ายขึ้นด้วยการถอนหญ้าตามแปลงข้าว โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุม 50 - 100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความใหญ่ของกอข้าว
ของแต่ละสายพันธุ์ และระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร สาเหตุที่เกษตรกรสนใจวิธีการทานาหยอด เพราะการทานาหว่านที่
5
ผ่านมาใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณมากและประสบปัญหาความแปรปรวนของการตกของฝน เมื่อปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อหา
วิธีการแก้ปัญหา โดยเฉพาะกับนาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ สมาชิกของกลุ่มจึงได้ค้นหาวิธีการปลูกแบบใหม่ด้วยการทานาหยอดแบบ
ไถชักร่อง เมื่อทดลองแล้วพบว่าวิธีการนี้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแล้งได้
4.2 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรสวนผัก-ผลไม้ คลองจินดา อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ใน
การปรับตัวรับมือโลกร้อน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยการยกร่องทานา ปลูกผักและผลไม้ ในอดีตมีการทาคันล้อมหากเป็น
ฤดูน้าหลากก็จะปล่อยให้น้าท่วมเข้าสวนไปเลย แล้วจึงสูบออกภายหลังเพราะการที่ปล่อยให้น้าท่วมปีละครั้งเป็นเรื่องที่ดี
เนื่องจากน้าจะพัดพาโรคและแมลงออกไปจากสวน แต่ปัจจุบันเกษตรกรที่มีฐานะดีจะทาคันดินได้สูงกว่าชาวสวนที่มีฐานะ
ยากจนกว่า ทาให้น้าที่ไหลบ่าจะท่วมขังที่สวนของคนที่คันดินต่ากว่า อย่างไรก็ตามการทาคันล้อมที่มีประสิทธิภาพคือการปลูก
พืชเสริมให้รากยึดเกาะบนคันดินเพื่อสร้างความแข็งแรงของคันดิน ชุมชนคลองจินดามีการปลูกพืชผสมผสานกันมากกว่า 50
ชนิด โดยมีการเลือกชนิดของพืชที่ปลูกและวิธีการปลูกที่คาดว่าสามารถรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศได้
และส่งเสริมการปลูกพืชที่มีความเกื้อกูลซึ่งกัน เช่น บนคันร่องจะปลูกหญ้าน้านมราชสีห์ หญ้าเล็บนก ต้นฝรั่งที่เคยปลูกบนหลัง
แปลงก็ปรับมาปลูกข้างๆ แปลงสองข้างและให้ต้นโน้มลงมาทางร่องน้า ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถลดปัญหาเรื่องอากาศร้อนให้กับ
ต้นฝรั่งได้ระดับหนึ่ง (อากาศร้อนมากๆ จะทาให้ผลฝรั่งร่วง) ผลลัพธ์ที่ได้จากการทางานร่วมกันของชาวคลองจินดาคือการ
เรียนรู้เยี่ยมเยียนสวนของเพื่อนๆ ในชุมชน ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีการปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนของแต่ละ
สวน เพื่อนนาไปปรับใช้กับสวนตนเอง ในอดีตชาวคลองจินดามักไม่มีเวลาที่จะสนใจเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เนื่องจาก
เวลาส่วนใหญ่จะยุ่งอยู่กับการดูแลสวนของตนเอง นอกจากนี้ผู้นาชุมชนยังได้ร่วมกันจัดทาแผนที่ความเสี่ยงน้าท่วมในคลอง
จินดา ผลลัพธ์ที่ได้ทาให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้าท่วม วางแนวทางป้องกัน แก้ปัญหาร่วมกันในระหว่างประสบ
อุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยมีการระดมเครื่องสูบน้า รวมทั้งร่วมสมทบงบประมาณเพื่อเป็นค่าบริหารจัดการและค่าน้ามัน
5.ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตร
แม้ว่าภาครัฐได้พยายามจัดทาแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแผนบรรเทา
ภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร แต่ภารกิจส่วนใหญ่เน้นบทบาทของภาครัฐในการจัดการและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนจากบน
ลงล่าง นโยบายของภาครัฐให้ความสาคัญกับการพัฒนามาตรการในการจัดการภัยพิบัติจากสภาพอากาศมากกว่าการเน้น
ผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เป็นปัญหาผลกระทบที่อาจไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ แต่ได้สร้างผลกระทบ
และความเสียหายแก่เกษตรกร ตลอดทั้งยังค่อนข้างขาดแนวทางสนับสนุนการบรรเทาและปรับตัวระดับชุมชนเพื่อให้สามารถ
พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจาก
สภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรดังนี้
5.1 ภาครัฐควรกระจายข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้แก่เกษตรกร พัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร การ
คาดการณ์การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างกลไกตลาดที่จะช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการ
ความเสี่ยงด้วยตนเอง ซึ่งจะสนับสนุนให้การตัดสินใจของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่
และและการจัดการเกษตรในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก
5.2 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเกษตรที่ยังมีความไม่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นฐานการปรับตัวให้ชุมชนที่มีความเปราะบางต่อ
สภาพอากาศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ดินทากินของเกษตรกรรายย่อย เพราะเป็นปัจจัยสาคัญพื้นฐานในการที่จะช่วยให้
เกษตรกรมีขีดความสามารถในการปรับตัว
5.3 ควรส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อการแปลงแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ปฏิบัติ เพื่อให้การดาเนินงานมีประสิทธิภาพจึงควรกระจายอานาจให้ท้องถิ่นมีบทบาทใน
การปฏิบัติให้มากขึ้น
6
5.4 ควรมีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของชุมชน
5.5 ควรจัดทาการวิจัยเชิงพื้นที่และสนับสนุนชุมชนให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนที่
ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชน
5.6 ควรพัฒนาศูนย์พยากรณ์อากาศระดับชุมชน โดยการสื่อสารข้อมูลของศูนย์โดยการเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้กับ
เกษตรกร ภายใต้เงื่อนไขความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนและปรับการผลิต
ได้อย่างทันท่วงที
6.บทสรุป
ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กาลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาค
เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้าที่เพิ่มขึ้น และ
สภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รวมทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติมาก นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั้งระดับชุมชน ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการบรรเทาและการปรับตัวของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและระดับครัวเรือนของเกษตรกรให้สามารถพึ่งพา
ตนเองได้โดยให้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาชนบทในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนภายใต้
บริบทสภาวะโลกร้อน
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ.2551.ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2551-2555
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.2550.แผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2555.ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2555
http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=380&filename=index
เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557
http://www.thaihealth.or.th/Content/23034 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557
http://www.greennet.or.th/news/1230 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557
http://www.environnet.in.th/?p=3062 เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557
http://www.thaiclimatejustice.org/topics/agriculture เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557

Mais conteúdo relacionado

Destaque

ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...
ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...
ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...Dr.Choen Krainara
 
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อนการสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อนDr.Choen Krainara
 
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...Dr.Choen Krainara
 
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...Dr.Choen Krainara
 
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...Dr.Choen Krainara
 
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...Dr.Choen Krainara
 
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the Greater Mekong Sub-...
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the  Greater Mekong Sub-...Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the  Greater Mekong Sub-...
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the Greater Mekong Sub-...Dr.Choen Krainara
 
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...Dr.Choen Krainara
 
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...Dr.Choen Krainara
 

Destaque (9)

ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...
ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...
ความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยง...
 
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อนการสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน
การสำรวจสภาพพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน
 
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมโยงกับประเทศเมี...
 
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแ...
 
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่...
 
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...
การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้...
 
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the Greater Mekong Sub-...
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the  Greater Mekong Sub-...Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the  Greater Mekong Sub-...
Regional Trade Agreements and Cross- Border Trade in the Greater Mekong Sub-...
 
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
การเคลื่อนย้ายแรงงานและแนวทางการทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันภายในพื้นที่ความร่วม...
 
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
สรุปผลการสัมมนา โครงการขยายผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ...
 

Mais de Dr.Choen Krainara

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsDr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Dr.Choen Krainara
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsDr.Choen Krainara
 

Mais de Dr.Choen Krainara (20)

Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk SupervisionCertificate of Completion in Cyber Risk Supervision
Certificate of Completion in Cyber Risk Supervision
 
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective LeaderCertificate of Completion in Becoming an Effective Leader
Certificate of Completion in Becoming an Effective Leader
 
Certificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project ManagementCertificate of Completion in Project Management
Certificate of Completion in Project Management
 
Certificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management LeadershipCertificate of Completion in Project Management Leadership
Certificate of Completion in Project Management Leadership
 
Certificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk ManagementCertificate of Completion in Risk Management
Certificate of Completion in Risk Management
 
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict SettingsCertificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
Certificate of Completion in Child Protection in Conflict Settings
 
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
Certificate of Completion in Humanitarian Operations Programme (HOP) Fundamen...
 
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
Certificate of Completion in Humanitarian Information Management, Communicati...
 
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in EmergenciesCertificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
Certificate of Completion in Finance and Budgets in Emergencies
 
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
Certificate of Completion in Introduction to Human Resource Management in Hum...
 
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and SecurityCertificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
Certificate of Completion in IRC Personal Safety and Security
 
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
Certificate of Completion in Wellness and Resilience for Frontline Workers an...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Finanancial ...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Green Public...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change on Mitigation S...
 
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
Certificate of Completion in Macroeconomics of Climate Change: Science, Econo...
 
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian ActionCertificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
Certificate of Completion in Environment in Humanitarian Action
 
Certificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in PartnershipsCertificate of Completion in Working in Partnerships
Certificate of Completion in Working in Partnerships
 
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
Certificate of Completion in Basic Principles of Disability Inclusion in Huma...
 
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding EssentialsCertificate of Completion in Safeguarding Essentials
Certificate of Completion in Safeguarding Essentials
 

การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

  • 1. 1 การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจาก สภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่ม เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลาง (Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand) โดย เชิญ ไกรนรา Choen Krainara สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 พฤษภาคม 2557
  • 2. 2 การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลาง (Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand) ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กาลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้าที่เพิ่มขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด บทความนี้จึงใคร่ขอเสนอกรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มเกษตรกร รายย่อยในพื้นที่ภาคกลางซึ่งได้ค้นคว้าแนวทางการบรรเทาและปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง อย่างยั่งยืน 1.สถานการณ์สภาวะโลกร้อนในประเทศไทย ประเทศไทยกาลังประสบปัญหาสภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก เป็นอันดับที่ 31 ของโลก หรืออันดับ 4 ของอาเซียน โดย ณ ปี พ.ศ.2548 ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ร้อยละ 56.1 รองลงมาเป็นภาคเกษตรกรรมร้อยละ 24.1 การปล่อยจากภาคของเสียร้อยละ 7.8 การปล่อยจากการ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้ร้อยละ 6.6 และการปล่อยจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมร้อยละ 5.4 จึง ส่งผลให้จานวนวันที่ร้อนกว่า 35 องศาเซลเซียสมีมากขึ้น โดยภาคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงกลางวันคือ ภาคกลาง ภาค ตะวันตก และภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส ส่วนคืนที่เย็นจะ หายไปเรื่อยๆ โดยพื้นที่อากาศเย็นจะเหลือเพียงพื้นที่เทือกเขาสูง ปริมาณน้าฝนโดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก ระดับน้าทะเล มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2 เซนติเมตร/ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยถึงขั้น วิกฤติ ตลอดทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้มีการประมาณการณ์ว่าหากประเทศไทยไม่มีมาตรการแก้ไขผลกระทบจาก สภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อปีประมาณร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2.การพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ภาคกลางมีพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมจานวน 31.13 ล้านไร่ โดยแบ่งการใช้ ประโยชน์ทีดินออกเป็น นาข้าว 10.21 ล้านไร่ พืชไร่ 9 ล้านไร่ สวนผลไม้/ไม้ยืนต้น 7.39 ล้านไร่ สวนผัก ไม้ดอก/ไม้ประดับ 0.51 ล้านไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 4.02 ล้านไร่ ผู้ประกอบการเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรราย ย่อยซึ่งถือครองที่ดินเฉลี่ย 36.85 ไร่ ต่อครัวเรือน (ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 25.42 ไร่ ต่อครัวเรือน) พื้นที่ภาคกลางมีการพัฒนา พื้นที่ชลประทานมากที่สุดในประเทศประมาณ 13.70 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของพื้นที่เกษตรทั้งภาคภาคกลาง และ ยังมีพื้นที่ศักยภาพเพื่อการพัฒนาชลประทานอีกประมาณ 3.60 ล้านไร่ ในปี 2553 ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้จานวน 329,229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของรายได้ทั้งภาคกลาง แต่กระนั้นก็ตามสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ ภาคกลางมีบทบาทสาคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของรายได้จากภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ
  • 3. 3 3.ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลาง 3.1 ผลกระทบโดยทั่วไป ภาคเกษตรกรรมเป็นทั้งผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นแหล่งดูดซับพร้อมกับได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคาดการณ์ว่าปริมาณน้าฝนเฉลี่ยต่อปีจะลดลงจาก 960-1,290 มิลลิเมตร เหลือ 800-900 มิลลิเมตร และปริมาณน้าฝนต่อปีจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละจุด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อ การเกษตรในประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นการเกษตรตามฤดูกาล รวมทั้งจานวนวันฝนตกจะเปลี่ยนแปลงและมีความแตกต่างกัน มากในแต่ละพื้นที่ โดยทั่วไปกลุ่มเกษตรกรที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของ พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากกลุ่มเกษตรเหล่านี้มีวิถีทางการผลิตที่เชื่อมโยง กับสภาพแวดล้อมอย่างมาก และมีข้อจากัดในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนทั้งในด้านศักยภาพและองค์ความรู้ สาหรับผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชมีสองส่วนหลักคือ ผลกระทบโดยตรงจากการที่อุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่ง สามารถวัดผลกระทบในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจน และผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศซึ่งวัดและ คาดการณ์ได้ยากกว่าทั้งเรื่องเวลาและระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วความเสียหายจะรุนแรงกว่ากรณีแรก จากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพบว่าสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรโดยมี 3 ตัวแปรสาคัญ ประกอบด้วย (1) ปริมาณผลผลิต ผลการศึกษาแบบจาลองสภาพภูมิอากาศพบว่าในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ไปอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดและต่าสุดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับในปัจจุบันมากนัก แต่ในระยะ 90 ปีจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยด้านพืชพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับผลผลิตไม่เป็นเส้นตรง บางพืชอาจจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในระยะแรกแต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นผลกระทบของอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิเริ่มต้นเป็นเท่าไรและเป็น พืชชนิดใด (2) ราคาผลผลิต เป็นตัวแปรที่คาดการณ์ได้ยากซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อผลผลิตเกษตรมี บริบทของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผลผลิตเกษตรของไทยลดลงในขณะที่ผลผลิตของโลกก็ลดลงด้วย สภาวะโลกร้อนก็ อาจจะไม่กระทบต่อรายรับของเกษตรกรไทยมากเพราะราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลอาจจะเผชิญกับปัญหาความ มั่นคงทางอาหาร จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าในอนาคตทั้งประเทศอินเดีย จีน และมาเลเซีย สามารถผลิตข้าวได้ เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 20 บังคลาเทศสามารถผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 ขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไร อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นยิ่งทาให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น การศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อประเทศในเขตอบอุ่น เช่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา พบว่าผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มขึ้น สาหรับประเทศไทยถ้าผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น หรือในกรณีที่ผลผลิตข้าวไทยลดลงแต่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นมาก ราคาข้าวจะลดลงตามกลไกตลาด และรายได้เกษตรกรก็จะ ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์ผลกระทบรายพืชหลักทั้งของไทยและคู่แข่งจึงมีความสาคัญต่อการกาหนดทิศทางการ ส่งเสริมการเพาะปลูกพืช นอกจากนี้ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจกรรมการเกษตรยังมีนัยสาคัญต่อความ มั่งคงทางอาหารของประเทศอื่นๆ ด้วยเนื่องจากหลายประเทศได้นาเข้าผลผลิตจากประเทศไทยเป็นหลัก ส่งผลให้ประเทศ เหล่านี้อาจจะต้องประสบกับภาวะราคาผลผลิตเกษตรที่สูงขึ้น และ (3) ต้นทุนการผลิต สภาวะโลกร้อนอาจทาให้ต้นทุนการ ผลิตเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นทั้งต้นทุนที่เกษตรกรสมัครใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการผลิตเพื่อที่จะรักษาระดับการผลิต ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ หรือต้นทุนที่เป็นผลมาจากแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อตกลงในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกโดยในระยะหลังได้มีการหารือกันถึงการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการลดก๊าซ
  • 4. 4 3.2 ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สาคัญ 4 ชนิดในพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย 1) ข้าว ข้าวบางสายพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ โดยทาให้อายุข้าวสั้นลงและผลผลิตลดลง รวมทั้งอาจจะ มีผลต่อการระบาดของแมลงและโรคของข้าว การขาดน้าทาให้การผสมเกสรลดลงและลดผลผลิตข้าวได้ ข้าวนาปีมีพื้นที่ปลูก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยอาศัยน้าฝนเป็นหลัก ในอนาคตแม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นแต่ ข้าวส่วนใหญ่ก็ยังสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ปริมาณน้าฝนรายปีที่ลดลงในพื้นที่ภาคกลางอาจส่งผลต่อการผลิตข้าว บ้าง แต่ปัจจัยที่สาคัญคือการเริ่มต้นของฤดูฝน หากการแปรปรวนของภูมิอากาศทาให้ฝนมาล่าช้า จะทาให้เกษตรกรไม่ สามารถเตรียมแปลงกล้าได้ ความแปรปรวนของภูมิอากาศและพายุที่อาจมีมากขึ้น อาจจะทาให้เกิดภาวะน้าท่วมที่ไม่สามารถ คาดการณ์ได้ ข้าวนาปรังมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานในภาคกลาง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลกระทบ ค่อนข้างน้อยต่อผลผลิตข้าวในเขตชลประทาน แต่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลผลิตข้าวที่อยู่นอกระบบชลประทาน และ ระบบการผลิตมีความอ่อนไหวต่อการควบคุมและระบายน้าของภาครัฐซึ่งมีทั้งเพื่อการชลประทานในฤดูแล้งและการจัดการน้า ท่วมในฤดูฝน 2) มันสาปะหลัง การศึกษาการผลิตมันสาปะหลังเป็นระยะเวลานานทาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภูมิอากาศที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงมีพอสมควร การใช้แบบจาลองทาให้คาดการณ์ได้ว่ามันสาปะหลังปลูกในพื้นที่ดอนของพื้นที่ผลิตหลักใน ประเทศอาจได้รับปริมาณน้าฝนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวมันสาปะหลังมีโอกาสเน่าเสียได้ง่ายขึ้นและให้ผลผลิตลดลง อุณหภูมิและ ความชื้นในอากาศและในดินที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอาจทาให้ศัตรูของมันสาปะหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เพลี้ย แป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง ปลวกและแมลงนูนหลวง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้โดยตรง 3) อ้อย อ้อยโรงงานจะประสบปัญหาช่วงหน้าแล้งที่ยาวมากขึ้น ทาให้อ้อยอาจขาดน้าและปริมาณและความหนาแน่นของอ้อย ต่อพื้นที่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตลดลงด้วย นอกจากนี้ในฤดูฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณฝนมากขึ้น อาจจะทาให้อ้อย ประสบปัญหาภาวะน้าขัง ทาให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ นอกจากนี้ศัตรูของอ้อย เช่น หนอนกอด้วงหนวด ยาวและปลวก ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน 4) ข้าวโพด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกโดยอาศัยน้าฝนจะประสบปัญหาความไม่แน่นอนของวันเริ่มต้นของฤดูฝน ความ แปรปรวนของฝนในฤดูการผลิตอาจทาให้ข้าวโพดเสี่ยงต่อการระบาดของแมลงและโรคข้าวโพดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิชาการคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก 4.กรณีศึกษาการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนโดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยใน พื้นที่ภาคกลาง กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลางได้ตระหนักถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและได้ค้นคว้าแนว ทางการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนแบบพึ่งพาตนเองโดยใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีกรณีศึกษาซึ่งเป็นแนว ปฏิบัติที่ดีระดับชุมชนจานวน 2 กลุ่มเกษตรกรรายย่อยคือ 4.1 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ อาเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดค้นวิธีการทานาหยอดแบบไถชักร่อง และ พบว่าการปลูกด้วยวิธีนี้มีข้อดี คือ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ รากแตกกอได้ดี และรากลึกกว่านาหว่าน ไม่ต้องใช้น้ามากทาให้ไม่ต้อง รอฝน วิธีการทานาหยอดคือ ใช้ไม้ไผ่เจาะหลุมตามเชือกที่ขึงไว้แล้วหยอดเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งจะทาให้สามารถจัดการหญ้าได้ ง่ายขึ้นด้วยการถอนหญ้าตามแปลงข้าว โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุม 50 - 100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความใหญ่ของกอข้าว ของแต่ละสายพันธุ์ และระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร สาเหตุที่เกษตรกรสนใจวิธีการทานาหยอด เพราะการทานาหว่านที่
  • 5. 5 ผ่านมาใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณมากและประสบปัญหาความแปรปรวนของการตกของฝน เมื่อปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อหา วิธีการแก้ปัญหา โดยเฉพาะกับนาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ สมาชิกของกลุ่มจึงได้ค้นหาวิธีการปลูกแบบใหม่ด้วยการทานาหยอดแบบ ไถชักร่อง เมื่อทดลองแล้วพบว่าวิธีการนี้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแล้งได้ 4.2 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรสวนผัก-ผลไม้ คลองจินดา อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ใน การปรับตัวรับมือโลกร้อน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยการยกร่องทานา ปลูกผักและผลไม้ ในอดีตมีการทาคันล้อมหากเป็น ฤดูน้าหลากก็จะปล่อยให้น้าท่วมเข้าสวนไปเลย แล้วจึงสูบออกภายหลังเพราะการที่ปล่อยให้น้าท่วมปีละครั้งเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากน้าจะพัดพาโรคและแมลงออกไปจากสวน แต่ปัจจุบันเกษตรกรที่มีฐานะดีจะทาคันดินได้สูงกว่าชาวสวนที่มีฐานะ ยากจนกว่า ทาให้น้าที่ไหลบ่าจะท่วมขังที่สวนของคนที่คันดินต่ากว่า อย่างไรก็ตามการทาคันล้อมที่มีประสิทธิภาพคือการปลูก พืชเสริมให้รากยึดเกาะบนคันดินเพื่อสร้างความแข็งแรงของคันดิน ชุมชนคลองจินดามีการปลูกพืชผสมผสานกันมากกว่า 50 ชนิด โดยมีการเลือกชนิดของพืชที่ปลูกและวิธีการปลูกที่คาดว่าสามารถรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศได้ และส่งเสริมการปลูกพืชที่มีความเกื้อกูลซึ่งกัน เช่น บนคันร่องจะปลูกหญ้าน้านมราชสีห์ หญ้าเล็บนก ต้นฝรั่งที่เคยปลูกบนหลัง แปลงก็ปรับมาปลูกข้างๆ แปลงสองข้างและให้ต้นโน้มลงมาทางร่องน้า ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถลดปัญหาเรื่องอากาศร้อนให้กับ ต้นฝรั่งได้ระดับหนึ่ง (อากาศร้อนมากๆ จะทาให้ผลฝรั่งร่วง) ผลลัพธ์ที่ได้จากการทางานร่วมกันของชาวคลองจินดาคือการ เรียนรู้เยี่ยมเยียนสวนของเพื่อนๆ ในชุมชน ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีการปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนของแต่ละ สวน เพื่อนนาไปปรับใช้กับสวนตนเอง ในอดีตชาวคลองจินดามักไม่มีเวลาที่จะสนใจเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เนื่องจาก เวลาส่วนใหญ่จะยุ่งอยู่กับการดูแลสวนของตนเอง นอกจากนี้ผู้นาชุมชนยังได้ร่วมกันจัดทาแผนที่ความเสี่ยงน้าท่วมในคลอง จินดา ผลลัพธ์ที่ได้ทาให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้าท่วม วางแนวทางป้องกัน แก้ปัญหาร่วมกันในระหว่างประสบ อุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยมีการระดมเครื่องสูบน้า รวมทั้งร่วมสมทบงบประมาณเพื่อเป็นค่าบริหารจัดการและค่าน้ามัน 5.ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตร แม้ว่าภาครัฐได้พยายามจัดทาแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแผนบรรเทา ภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร แต่ภารกิจส่วนใหญ่เน้นบทบาทของภาครัฐในการจัดการและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนจากบน ลงล่าง นโยบายของภาครัฐให้ความสาคัญกับการพัฒนามาตรการในการจัดการภัยพิบัติจากสภาพอากาศมากกว่าการเน้น ผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เป็นปัญหาผลกระทบที่อาจไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ แต่ได้สร้างผลกระทบ และความเสียหายแก่เกษตรกร ตลอดทั้งยังค่อนข้างขาดแนวทางสนับสนุนการบรรเทาและปรับตัวระดับชุมชนเพื่อให้สามารถ พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจาก สภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรดังนี้ 5.1 ภาครัฐควรกระจายข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้แก่เกษตรกร พัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร การ คาดการณ์การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างกลไกตลาดที่จะช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้วยตนเอง ซึ่งจะสนับสนุนให้การตัดสินใจของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ และและการจัดการเกษตรในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก 5.2 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเกษตรที่ยังมีความไม่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นฐานการปรับตัวให้ชุมชนที่มีความเปราะบางต่อ สภาพอากาศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ดินทากินของเกษตรกรรายย่อย เพราะเป็นปัจจัยสาคัญพื้นฐานในการที่จะช่วยให้ เกษตรกรมีขีดความสามารถในการปรับตัว 5.3 ควรส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อการแปลงแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ปฏิบัติ เพื่อให้การดาเนินงานมีประสิทธิภาพจึงควรกระจายอานาจให้ท้องถิ่นมีบทบาทใน การปฏิบัติให้มากขึ้น
  • 6. 6 5.4 ควรมีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของชุมชน 5.5 ควรจัดทาการวิจัยเชิงพื้นที่และสนับสนุนชุมชนให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนที่ ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชน 5.6 ควรพัฒนาศูนย์พยากรณ์อากาศระดับชุมชน โดยการสื่อสารข้อมูลของศูนย์โดยการเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้กับ เกษตรกร ภายใต้เงื่อนไขความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนและปรับการผลิต ได้อย่างทันท่วงที 6.บทสรุป ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กาลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาค เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้าที่เพิ่มขึ้น และ สภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รวมทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติมาก นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั้งระดับชุมชน ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการบรรเทาและการปรับตัวของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและระดับครัวเรือนของเกษตรกรให้สามารถพึ่งพา ตนเองได้โดยให้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาชนบทในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนภายใต้ บริบทสภาวะโลกร้อน เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ.2551.ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2551-2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.2550.แผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2555.ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2555 http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=380&filename=index เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 http://www.thaihealth.or.th/Content/23034 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 http://www.greennet.or.th/news/1230 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 http://www.environnet.in.th/?p=3062 เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 http://www.thaiclimatejustice.org/topics/agriculture เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557