SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 17
Baixar para ler offline
การส่งเสริมการเข้าถึงแบบเปิด
วิชุตา กุ๋ยมาเมือง
การเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ หรือเอกสารต่างๆ มีความสาคัญต่อทุกคนในสังคม
เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศ แต่การเผยแพร่เอกสาร
ต่างๆ เหล่านั้นยังมีอุปสรรคและข้อจากัดในการเข้าถึงสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น ด้านลิขสิทธิ์
ค่าใช้จ่าย เป็นต้น ดังนั้นจึงได้มีการจัดทาเอกสาร ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการต่างๆ ให้เป็นเอกสาร
OA ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและนาไปใช้ให้เกิดผลงานหรือต่อยอด
งานวิจัยให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ห้องสมุดสามารถลดค่าใช้จ่ายการบอกรับวารสาร ผู้ใช้เข้าถึง
ตัวเอกสารได้เร็วขึ้น การจัดทา OA จะทาให้บทความ ผลงานวิจัยต่างๆ ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่
รู้จักกว้างขวางมากขึ้น เพราะทุกคนเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ การอ้างถึงเพิ่มขึ้น จึงทาให้ค่า
Journal Impact Factor ค่า H-index ค่า G-index หรืออื่น ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นยังเป็น
การแสดงความน่าเชื่อถือของผู้เขียนและประสิทธิภาพของบทความ ซึ่ง OA จะจัดทาโดยกลุ่มใด
กลุ่มหนึ่งไม่ได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคคลและหน่วยงานหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น
สถาบันการศึกษาหรือองค์กรต่างๆ ซึ่ง Peter Suber และ CERN Scientific Information Service ได้
กาหนดแนวทางในการส่งเสริมเอกสารแบบเปิดสาธารณะไว้หลายๆ แนวทาง แต่ในบทความฉบับ
นี้จะกล่าวถึงกลุ่มที่มีบทบาทสาคัญ 2 กลุ่ม คือ (Suber , 2007 ; CERN , n.d)
1. สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย คณาจารย์ ผู้เขียน ผู้ประเมินหรือผู้
ตรวจสอบ บรรณารักษ์ผู้บริหาร และนักศึกษา เป็นต้น
2. องค์กรต่างๆ ประกอบด้วย ผู้จัดการประชุมสัมมนา (Conference organization) ผู้
เตรียมคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน (Institutional Repository Implementors) สานักพิมพ์
(Journals and Publisher) และแหล่งทุน(Foundations)
มหาวิทยาลัย (Universities)
มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยคณาจารย์นักวิจัย นักวิชาการ
นักศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เป็นบ่อเกิดแห่งองค์ความรู้ที่สาคัญในการสร้างสรรค์
และการต่อยอดงานวิจัยที่มีคุณภาพ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจาก
นักวิชาการ นักวิจัยรวมถึงคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการเหล่านั้น
ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งทุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ และการตีพิมพ์
2-K2
เผยแพร่ ดังนั้น OA จึงเป็นทางเลือกที่นามาพิจารณาในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการต่างๆ โดย
มหาวิทยาลัยควรจัดหาแหล่งสาหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเป็นเอกสาร OA และไม่ควรจากัด
สิทธิการเข้าถึงหรือการนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย หรือสิ่งพิมพ์ของ
มหาวิทยาลัยในการเผยแพร่เป็น OA นอกจากนั้นการเผยแพร่เอกสาร OA ยังเป็นส่วนสนับสนุนถึง
ความเป็นผู้นาทางด้านวิชาการและส่งเสริมองค์ความรู้สู่ชุมชน ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยควรเป็น
ผู้สนับสนุนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ค่าประเมินและตรวจสอบบทความและค่าใช้จ่าย
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1. คณาจารย์/ผู้เขียน (Faculty/Author) ซึ่งเป็นผู้สร้างผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย
สามารถช่วยเผยแพร่และส่งเสริม OA คือ
1.1 ทาความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการกาหนดค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์บทความลงใน
วารสาร
1.2 นาบทความหรือผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่มีการกาหนดราคาอย่าง
สมเหตุสมผลหรือตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น OA
1.3 ผู้เขียนควรสอบถามสานักพิมพ์ถึงนโยบายการคงสิทธิในผลงานของตนที่ได้
จัดทาเป็น OA เช่น เจรจาต่อรองกับสานักพิมพ์เพื่อ 1) รักษาสิทธิและโอนเฉพาะสิทธิในการตีพิมพ์
ครั้งแรกและแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือ 2) โอนลิขสิทธิ์ให้สานักพิมพ์ แต่ขอนาเอา postprint
เก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ซึ่งสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะให้ผู้เขียนโอน
ลิขสิทธิ์ แต่บางรายชื่อจะยืดหยุ่น ถ้าได้โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์แล้วร้อยละ 80 ของ
สานักพิมพ์ยินยอมให้เก็บ postprint แต่บางสานักพิมพ์ต้องขออนุญาตเพราะไม่ยินยอมให้เก็บ
ผู้เขียนควรสอบถามถึงการเก็บเมตาดาทา (Metadata) ของบทความเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อที่
ผู้อ่านสามารถอ้างถึงและติดตามอ่านได้ ในกรณีที่ยังไม่ได้โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์ ให้
สอบถามถึงการรักษาสิทธิ แต่ถ้าสานักพิมพ์ไม่ให้รักษาลิขสิทธิ์ ให้สอบถามถึงสิทธิอย่างน้อยที่สุด
ในการเก็บ postprint หรือถ้าสานักพิมพ์ไม่ให้คงสิทธิในการเก็บ postprint ให้สอบถามถึงการนา
postprint ให้บริการเผยแพร่บนเว็บไซต์ส่วนตัวหรือจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันที่
เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว ผู้เขียนสามารถนาบทความหรือเอกสารฉบับเต็มจัดเก็บ
ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันและเลือกประเภทของการเข้าถึงว่าจะให้ “เข้าถึงแบบสถาบัน
(Institutional access)” หรือ “เข้าถึงแบบสาธารณะ (open access)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผู้เขียนจะเลือก
ให้เข้าถึงแบบสถาบันมากกว่าแบบสาธารณะเพราะอย่างน้อยจะทาให้ผู้ร่วมงานหรือนักศึกษา
สามารถเข้าถึงบทความได้ทันทีที่บทความนั้นได้รับการเผยแพร่
2-K3
1.4 ข้อดีของการจัดเก็บ postprint และให้เผยแพร่เป็น OA คือ การเข้าถึง
กลุ่มเป้ าหมายกลุ่มใหญ่ ซึ่งส่งผลให้จานวนการอ้างถึงและการเข้าใช้เพิ่มสูงขึ้น จากงานวิจัยของ
Steven Harnad, (2010) ซึ่งเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Southhamton และ Mantreal ชี้ให้เห็นว่า
บทความฉบับเต็มในวารสารชื่อเดียวกัน ปีเดียวกันแต่เผยแพร่เป็น OA ได้รับการอ้างถึงมากกว่า
บทความเชิงพาณิชย์ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ปริมาณการเพิ่มการอ้างถึงของเอกสาร OA ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (OSIS, 2010)
จากภาพแสดงให้เห็นว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มีเอกสาร OA ทางด้านฟิสิกส์
ที่มีการอ้างถึงมากที่สุด สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์พบว่าเอกสาร OA ทางด้าน
กฎหมายมีการอ้างถึงมากเป็นอันดับหนึ่ง และการอ้างถึงทางด้านอื่นๆของทั้งสองสาขาวิชาจะมี
จานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
1.5 จัดเก็บ preprint และ postprint ในรูปแบบเอกสาร OA ที่จัดเก็บไว้ในคลัง
จัดเก็บเอกสารของสถาบัน ถ้าหากว่าสถาบันยังไม่ได้จัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ผู้เขียน
หรือบรรณารักษ์และนักสารสนเทศควรเป็นผู้จัดทา
1.6 ผู้เขียนควรนาบทความวิจัยเผยแพร่ใน OAJ โดยตรวจสอบรายชื่อวารสารที่
สามารถนาบทความเผยแพร่แบบสาธารณะได้ที่ Directory of Open Access (DOAJ)
:http://www.doaj.org/doaj
2-K4
1.7 ควรเจรจาต่อรองกับสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ ในการนาบทความวารสารที่
ไม่ได้จัดทาเป็น OA นามาเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็น OA หรือเรียกว่า Walker-Prosser
Method1
ยกตัวอย่างเช่น บทความที่เขียนโดย Thomas Walker เกือบทุกบทความได้รับการเสนอ
ให้นามาทาเป็นรูปแบบ OA นอกจากนั้นผลงานต่างๆของ Thomas Walker ก็นามาให้บริการแบบ
OA และบทความของ David Prosser ซึ่งเป็นผู้บริหารของSPARC แห่งยุโรป บทความเหล่านั้นถูก
นามาปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้นและนาเผยแพร่เป็น OA
1.8 ถ้าผู้เขียนเป็นบรรณาธิการของสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ให้พยายามอภิปรายใน
กลุ่มหรือสนับสนุนสานักพิมพ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบสิ่งตีพิมพ์เป็นแบบ OA ให้ผู้เขียน
เก็บรักษาสิทธิ์ ปัจจุบันมีวารสารเชิงพาณิชย์ที่เปลี่ยนเป็น OA ยกตัวอย่างเช่น สานักพิมพ์
Medknow Publications เป็นสานักพิมพ์ที่ตีพิมพ์วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิง
พาณิชย์ ต่อมาได้ในปี 2005 Dr’ D K Sahu ดารงตาแหน่งเป็นประธานฝ่ายบริหารจัดการและเป็น
ผู้สนับสนุนเงินทุนได้ปรับเปลี่ยนการจัดทาวารสารที่ชื่อ Journal of Postgraduate Medicine
ให้บริการเผยแพร่เป็น OAJ และพบว่ามีผู้เข้าชมและการดาวน์โหลดบทความเพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 3
รูปที่ 2 จานวนผู้เข้าชมและดาวน์โหลดบทความจากวารสาร
Journal of Postgraduate Medicine (oasis, 2009)
1.9 เมื่อสมัครรับทุนวิจัย ให้สอบถามกองทุนถึงค่าใช้จ่ายสาหรับกระบวนการ
จัดทา OA ซึ่งกองทุนส่วนมากจะเตรียมพร้อมสาหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อยู่แล้ว
1
เป็นวิธีการเสนอแนะแนวทางการจัดทาเอกสารให้เกิดเป็น OA โดย Thomas Walker และ David Prosser
University of Florida .(n.d.).
2-K5
1.10 อาสาสมัครร่วมเข้าเป็นคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยในการประเมิน
อาจารย์เพื่อเลื่อนขั้นและดารงตาแหน่ง การบรรจุเป็ นลูกจ้างประจา ควรตรวจสอบว่า
คณะกรรมการมีการกาหนดเกณฑ์ที่ยุติธรรม ที่จะไม่ทาให้อาจารย์ต้องเสียผลประโยชน์ในการ
ตีพิมพ์ OAJ และควรปรับเกณฑ์ประเมินต่างๆ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาจารย์นาเสนอบทความใน
รูปแบบ OA
1.11 ทางานร่วมกับผู้บริหารเพื่อกาหนดนโยบายแบบกว้างๆ ของมหาวิทยาลัย ใน
การส่งเสริม OA ผู้เขียนควรแนะนาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้บริหาร หากผู้บริหารไม่เข้าใจเกี่ยวกับ
OA และควรมีการกาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์นักวิจัยนาผลงานทางวิชาการมาจัดเก็บไว้
ในคลังเก็บเอกสารของสถาบันด้วย
1.12 ทางานร่วมกับสมาคมผู้เชี่ยวชาญทางด้าน OA เพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับ OA
ให้มากขึ้น เชิญชวนองค์กรต่างๆ เพื่อจัดทาวารสารขององค์กรให้เผยแพร่เป็น OA และสนับสนุน
การจัดเก็บ eprint แบบ OA โดยจัดหมวดหมู่ตามสาขาวิชา
1.13 หากผู้เขียนทางานในด้าน Biomedicine และได้รับทุนของ NIH ให้ปฏิบัติ
ตามกฎการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ตามมาตรฐานกองทุนวิจัย NIH ที่ว่า เมื่อทางานวิจัยเสร็จแล้วให้นาผลงาน
เหล่านั้นไปตีพิมพ์ใน PubMed Central (PMC) และมอบอานาจให้ PMC ทาการเผยแพร่บทความ
ผลงานวิจัยสู่สาธารณะชนทันที
1.14 ผู้เขียนที่เป็นอาจารย์ควรให้การศึกษาเกี่ยวกับ OA แก่นักศึกษารุ่นต่อไป จะ
ทาให้นักศึกษา นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับ OA มากขึ้น หรือแนะนา OA ให้แก่นักศึกษา
ผู้ร่วมงาน รวมถึงผู้บริหาร
1.15 ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ OA ที่สานักพิมพ์หรืองค์กรที่ต่างๆ
ได้จัดทาอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงและนาไปปรับปรุงงานวิจัยของตนเองให้มีความ
ทันสมัยมากขึ้น เช่น RoMEO Sherpa จะให้บริการ RoMEO news ซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับ OA ว่ามี
บทความของสาขาวิชาใดบ้างที่เผยแพร่ วารสารเชิงพาณิชย์ฉบับใดที่ได้รับการเปลี่ยนเป็น OA หรือ
สานักพิมพ์ใดที่กาลังจะให้บริการ OA ฯลฯ นอกจาก RoMEO News แล้วยังมี Open Acecess News
ที่ Peter Suber เป็นผู้จัดทาให้บริการข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับ OA Open Access
Now ของ BioMed Central European Open Access News จัดทาโดย Digital Repositories
Infrastructure Vision for European Research (DRIVER)
2-K6
ภาพที่ 3 แสดง Romeo News (RoMEO, 2011)
RoMEO News เป็นบริการจากสานักพิมพ์RoMEO SHERPA ที่ให้บริการ
ข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสานักพิมพ์ เช่น สานักพิมพ์ได้จัดทาฐานข้อมูลวารสาร
ใหม่ มีตัวเลือกภาษาโปรตุเกตสาหรับคนโปรตุเกตและคนที่เข้าใจภาษาโปรตุเกต
2. ผู้ตรวจสอบ (Reviewers) ซึ่งทาหน้าที่ตรวจสอบผลงานทางวิชาการก่อนที่จะส่งให้
สานักพิมพ์ ทาให้ผลงานเหล่านั้นมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือมากขึ้น ผู้ตรวจสอบควรสนับสนุน
OA ดังนี้
2.1 ตกลงและยอมรับการเชิญให้ไปเป็นผู้ตรวจสอบและบทความ OAJ
2.2 พยายามปฏิเสธเมื่อได้รับการเชิญให้ประเมินบทความวารสารที่มีราคาสูง
เกินไป
3. บรรณารักษ์และนักสารสนเทศ (Librarians/Informationist) เป็นกลุ่มคนที่สาคัญใน
การส่งเสริม OA เพราะบรรณารักษ์และนักสารสนเทศเป็นเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับการ
เข้าถึงสารสนเทศ เป็นผู้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาบริการแก่ผู้ใช้และตรงความต้องการ
ของผู้ใช้มากที่สุด ในขณะเดียวกันสิ่งพิมพ์เหล่านั้นก็มีการปรับราคาสูงขึ้นแต่ห้องสมุดและสถาบัน
สารสนเทศได้รับงบประมาณเท่าเดิม จึงทาให้บรรณารักษ์และนักสารสนเทศต้องหาแนวทางการ
แก้ไข เพื่อสามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการแก่ผู้ใช้และประหยัดงบประมาณของ
ห้องสมุด ดังนั้นบรรณารักษ์และนักสารสนเทศสามารถช่วยส่งเสริม OA คือ
2-K7
3.1 ศึกษาธุรกิจการพิมพ์ของสานักพิมพ์ต่างๆที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเข้ามาของ
OA รวมถึงผลกระทบต่อการสื่อสารทางวิชาการ เพื่อจะนามาประกอบการตัดสินใจเลือก
สานักพิมพ์ในการตีพิมพ์บทความ
3.2 พยายามปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางด้านฐานข้อมูล
รวมถึงวารสารที่มีราคาสูง และควรแจ้งให้ประชาคมทราบเกี่ยวกับเหตุผลที่เลิกบอกรับ นอกจากนั้น
บรรณารักษ์และนักสารสนเทศควรจะนาเสนอภาวะหรือวิกฤตการสื่อสารทางวิชาการให้แก่
คณาจารย์ ผู้บริหาร คณะกรรมการห้องสมุด ภาควิชาทราบ และชี้ถึงเหตุผลที่ควรจะนา OA มาเป็น
แนวทางในการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้น
3.3 เมื่อมีการจัดทาผลงานทางวิชาการเป็น OA แล้ว บรรณารักษ์และนัก
สารสนเทศควรจัดทาคลังเก็บเอกสารของสถาบัน ที่ใช้มาตรฐานการจัดเก็บแบบยั่งยืน หรือ“OAI-
PMH” ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดเก็บเมทาดาทา ทาให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้ามคลังเก็บเอกสารของ
สถาบันที่ใช้มาตรฐานเดียวกันนี้ได้โดยไม่จาเป็นต้องเข้าไปเยี่ยมชมหรือสืบค้นคลังเหล่านี้มาก่อน
ซึ่งการใช้โปรโตคอลนี้สามารถทาให้บทความเหล่านี้ถูกสืบค้นเพิ่มขึ้น และทาให้ค่า Citation ของ
บทความเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3.3.1 โดยมาตรฐานการจัดเก็บแบบยั่งยืนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ
โปรแกรมรหัสเปิด เช่น Eprints, DSpace, CDSware, และ FEDORA ยกตัวอย่างการใช้ เช่น
Cornel University ใช้โปรแกรมรหัสเปิด FODERA หรือ CERN ใช้ CDSware University of
Southhamton ใช้ eprints.org สานักพิมพ์ BioMed Central ใช้ DSpace สานักพิมพ์ ProQuest และ
Bepress ให้บริการ Digital Commons เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน
ให้แก่บรรณารักษ์โดยไม่ต้องใช้บริการองค์กรที่แสวงผลกาไร
3.3.2 ในการจัดทาจัดคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันสามารถค้นหา
ข้อมูลในการจัดทาได้ที่ SPARC Institutional Repository Checklist & Resources Guide จะเป็น
แนวทางและให้ภาพรวมเกี่ยวกับประเภทเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถนามาจัดเก็บใน
คลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน
3.3.3 เลือกใช้โปรแกรมรหัสเปิดที่มีทางเลือกสาหรับจัดทา Open URL
ของ googlebot/GoogleSpider , OAI-PMH และ Ambed เข้าไปติดตามจัดเก็บการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน เพื่อให้สามารถเผยแพร่แก่ผู้ใช้ได้รวดเร็วขึ้น เปิดให้โปรแกรม
จัดเก็บข้อมูลของ spider ของ search engine ตัวอื่นๆ เข้ามาเก็บความเคลื่อนไหวหรือการ
เปลี่ยนแปลงและทาสาเนาข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของเนื้อหางานวิจัยที่จัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร
ของสถาบัน เพื่อนาไปทาดรรชนีสืบค้น ซึ่งผู้เขียนควรตรวจสอบว่าบทความ/ผลงานนั้นได้ถูกนาไป
2-K8
ทาดรรชนีโดย Google Scholar (GS) ถ้าพบว่า ยังไม่ได้นาไปทาดรรชนี ให้สานักพิมพ์ประสานงาน
กับ GS เพื่อดาเนินการเหล่านั้น หรือถ้าผู้เขียนจัดเก็บผลงานทางวิชาการไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร
ของสถาบันแล้วแต่ยังไม่ได้นาไปจัดทาดรรชนี ควรลงทะเบียนแจ้งความจานงทันที
3.4 ถ้าเป็นไปได้บรรณารักษ์อาจจะจัดทารายการ OAJ ใน OPAC ของห้องสมุด
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบ One-stop-service ที่สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศแบบไม่
ตีพิมพ์ได้เหมือนกับค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์ ซึ่ง DOAJ เปิดให้บริการดาวน์โหลด
เมทาดาทาของวารสารโดยไม่คิดค่าบริการ ถ้ามีการบอกรับหรือจัดหาวารสารฉบับใหม่หรือรายชื่อ
มาให้บริการผู้ใช้ บรรณารักษ์และนักสารสนเทศไม่จาเป็นต้องจัดทารายการบรรณานุกรมของ
วารสารเอง สามารถดาวน์โหลดมาจัดเก็บไว้ใน OPAC ทาให้ประหยัดเวลา และผู้ใช้สามารถสืบค้น
ได้ทั้งวารสาร หนังสือ ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน
3.5 จัดทา OAJ ในสาขาวิชาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยมีการเปิดการเรียนการสอน และ
นาไปเผยแพร่ในคลังจัดเก็บเอกสารเฉพาะสาขาวิชา (Disciplinary Repositories) ซึ่งได้แก่ SPARC ,
PLoS ด้านวิทยาศาสตร์, BioMed Central ด้านการแพทย์ เป็นต้น
Philosopher’s Imprint เป็นสานักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ตั้ง
ปณิธานในการตีพิมพ์วารสารว่า “แก้ไขโดยนักปรัชญา ตีพิมพ์โดยบรรณารักษ์ ให้ผู้ใช้เข้าถึงแบบ
ไม่มีเงื่อนไข” เนื่องจากบรรณาธิการจะเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเปรียบเสมือนเป็นนักปรัชญาและผู้
ตีพิมพ์จะเป็ นบรรณารักษ์ บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะทาหน้าที่ในการสนับสนุนสานักพิมพ์
Philosopher’s Imprint ในการจัดทา OA journal โดยที่ไม่จาเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมสาหรับ
กระบวนการจัดทา
3.6 สร้างฐานข้อมูลดรรชนีออนไลน์ เพื่อชี้แหล่งของ OA แต่ละสาขาวิชา
3.7 ช่วยเหลืออาจารย์ในการนาผลงานวิจัยหรือบทความจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บ
เอกสารของสถาบัน เนื่องจากอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีเวลา งานยุ่งหรือมีปัญหาที่จะใช้เทคโนโลยี
ใหม่ๆ หรือบางคนยังอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ OA ต้องการคาแนะนาและศึกษา
เพิ่มเติม บรรณารักษ์ควรเป็นฝ่ายให้คาแนะนาและแนวทางแก่อาจารย์ นอกจากนั้นบรรณารักษ์ควร
ทาการเผยแพร่แนวคิดในการจัดทา OA และไปพบปะอาจารย์แผนกต่างๆ เพื่อช่วยจัดเก็บเอกสาร
2-K9
ผลงานทางวิชาการของเหล่าอาจารย์ไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น University
of St. Andrews บรรณารักษ์จะให้อาจารย์ส่งบทความหรือผลงานของตนเองมาทางอีเมล์ หลังจาก
นั้นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะดาเนินการเก็บผลงานเหล่านั้นไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันให้ ( St
Andrews University Library, 2009)
3.8 แนะนา OA ให้เป็นที่รู้จักแก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยอาจจะใช้วิธีบริการ
ดรรชนี SPARC ที่ได้จัดทาบริการดรรชนีและสาระสังเขปในสาขาวิชาต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์
ไว้ให้ ได้แก่ สาขาวิชาทางด้านการเกษตร (AGRICOLA) สาขาวิชาทางด้านชีววิทยา (Biosis
Previews) สาขาวิชาทางด้านเคมี (Chemical Abstracts) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (ISI® Web of
Science) และ สาขาการแพทย์(PubMed)
3.9 จัดทาเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทาการอนุรักษ์เอกสารและ OA
ให้แก่องค์กรต่างๆ ด้วย เช่น องค์กรไม่แสวงผลกาไร มูลนิธิ กองทุน พิพิธภัณฑ์ แกลอรี และ
ห้องสมุด พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ข้อดีของ OA แก่ชุมชนหรือสมาคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาคม
ทางการศึกษาที่อยู่บริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะองค์กรหรือสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกาไร
3.10 จัดทาบรรณนิทัศน์ให้แก่บทความและหนังสือ เนื่องจากเอกสารที่เป็น OA
จาเป็นที่จะต้องทาบรรณนิทัศน์ เพื่อเป็นประโยชน์สาหรับผู้ใช้ ทาให้สามารถทราบเรื่องราวหรือ
เนื้อหาของหนังสือหรือบทความได้อย่างรวดเร็ว และนาไปสู่การค้นคว้าที่กว้างขวางและลึกซึ้ง
ยิ่งขึ้น ดังนั้นบรรณารักษ์และนักสารสนเทศจึงควรช่วยคณาจารย์ในการจัดทาหรือจัดบริการการทา
บรรณนิทัศน์ให้แก่องค์กรไม่แสวงหาผลกาไร
3.11 บรรณารักษ์ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการพิจารณาคุณภาพของวารสาร บทความ
หรือผู้เขียนบทความ จากหน่วยวัดต่าง ๆ เช่น พิจารณาคุณภาพของวารสารจากค่า Jouranl Impact
Factor พิจารณาคุณภาพของบทความจาก Article Level Metrics และพิจารณาคุณภาพของผู้เขียน
จาก H-index หรือ G-index เป็นต้น ซึ่งจะมีข้อดีคือผู้ใช้สามารถนาไปประกอบการตัดสินใจในการ
เลือกใช้และการอ้างถึงบทความ
3.12 เข้าร่วม SPARC ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริม OA เพื่อทาให้การดาเนินงานต่างๆ ที่
เกี่ยวกับ OA ของสถาบันของตนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ผู้บริหาร (Administrators) เป็นบุคคลที่มีความสาคัญมากในการช่วยกาหนดนโยบาย
เพื่อส่งเสริมการจัดทาเอกสารขององค์กร ผลงานวิชาการต่างๆ ในรูปแบบ OA เนื่องจากอานาจใน
การตัดสินใจส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีภาวะความเป็นผู้นาที่จะเชิญชวนให้
บุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงานในสังกัดเห็นคุณค่าและความสาคัญของการใช้แหล่งสารสนเทศ
2-K10
ที่เป็นแบบ OA และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของ OA ที่จะทาให้บรรลุเป้ าหมายขององค์กร บทบาท
ของผู้บริหารในการส่งเสริม OA จึงจาแนกได้ดังต่อไปนี้
4.1 กาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์นาผลงานวิจัยหรือบทความของตน
จัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บสารสนเทศของสถาบัน เช่น ผู้บริหารอาจจะกาหนดนโยบายให้อาจารย์หรือ
นักวิจัยนาผลงานของตนเองที่จัดทาเป็น OA มาประกอบการพิจารณาการเลื่อนตาแหน่ง การเลื่อน
ขั้นหรือการบรรจุเป็นลูกจ้างประจา
4.2 ในมหาวิทยาลัยควรดาเนินการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทา OA ให้แก่
บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศฝ่ายดิจิทัล เนื่องจากบรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศจะเป็นฝ่ายช่วย
คณาจารย์หรือผู้เขียนในการนาผลงานอันเก่าที่ไม่ได้ถูกใช้งานหรือผลงานที่มีอยู่แล้วมาจัดทาเป็นรูป
แบบอิเล็กทรอนิกส์แล้วจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งจัดทาเมทาดาทาที่
เกี่ยวข้องกันบทความหรือผลงานดังกล่าว เพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหา
4.3 กาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์คงสิทธิในรูปแบบต่างๆ คือ 1)โอน
ลิขสิทธิ์เฉพาะการตีพิมพ์ครั้งแรกและสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สานักพิมพ์เท่านั้น หรือ 2) โอน
ลิขสิทธิ์ให้ แต่ให้รักษาสิทธิการจัดเก็บเอกสารที่เป็น postprint ทั้งนี้ SPARC และสัญญาอนุญาต
Creative common ได้พัฒนา Author’s Addendum2
เพื่อให้ผู้เขียนสามารถเพิ่มข้อตกลงเกี่ยวกับการ
โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์ ซึ่ง Author’s Addendum มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เขียนเก็บรักษาสิทธิ์
ที่ในการมอบอานาจแก่ OA นอกจากนั้นยังมีสานักพิมพ์และองค์กรต่างๆ ที่ได้จัดทา Author’s
Addendum ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อต่อรองและผลประโยชน์แก่ผู้เขียน ยกตัวอย่างเช่น สมาคมกฎหมาย
แห่งสหรัฐอเมริกา (The Association of America Law School)3
มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan
University)4
ก็ได้พัฒนารูปแบบข้อตกลงระหว่างผู้เขียนกับสานักพิมพ์เช่นเดียวกัน
4.4 กาหนดนโยบายสาหรับอาจารย์หรือนักวิจัยที่ไม่ได้รับการสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าธรรมเนียมการส่งบทความตีพิมพ์ใน OAJ จากผู้ให้ทุนวิจัย โดยทาง
มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้สนับสนุนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์แทนแต่อาจมีเงื่อนไขบางประการ เช่น ใน
2
เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงการโอนสิทธิของผู้เขียนกับสานักพิมพ์หรือพันธะสัญญาการตีพิมพ์
อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (SPARC, 2011)
3
สมาคมกฎหมายแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรทางการศึกษาแบบไม่หวังผลกาไร ที่มีสมาชิกเป็นสถาบันทาง
กฎหมาย คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆมากกว่า 10,000 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา (Association of American
Law Schools, 1998)
4
University of Michigan Author’s Addendum เป็นข้อตกลงการตีพิมพ์ระหว่างสานักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย
มิชิแกนกับผู้เขียน (Michigan Library, 2010 )
2-K11
กรณีที่มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมได้ ก็ต่อเมื่อผู้ให้ทุนยื่นความจานงว่าจะไม่สนับสนุน
ค่าธรรมเนียมเท่านั้น
4.5 กาหนดนโยบายให้มีการนาวรรณกรรมทางวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์
รายงานการค้นคว้าอิสระ รายงานการประชุมของมหาวิทยาลัย มาเผยแพร่แบบ OA เช่น Australian
Digital Theses program (ADT) http://adt.caul.edu.au/ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเผยแพร่งานวิจัยฉบับเต็ม มี
วัตถุประสงค์เพื่อทาให้การเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นงานวิจัยเพิ่มขึ้นและส่งเสริมงานวิจัยของ
ออสเตรเลียสู่สากล ADT program จึงถูกจัดขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยใน
ประเทศออสเตรเลีย 7 แห่งประกอบด้วย University of New South Wales, University of
Melbourne , University of Queensland , University of Sydney , Australian National University ,
Curtin University of Technology และ Griffith University โดยเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นสาหรับ
เผยแพร่ผลงานวิจัยฉบับเต็มให้แก่บุคคลทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถจัดเก็บผลงานวิจัย เพื่อเป็น
ประโยชน์ในการทาวิจัยแก่นักศึกษาต่อไป ADT program ใช้มาตรฐานการจัดเก็บเมทาดาทาของ
Dublin core Metadata ในการอธิบายเนื้อหาของผลงานวิจัย สถาบันที่สนใจสามารถสมัครสมาชิก
ได้โดยกรอกแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ของ http://adt.caul.edu.au/memberinformation/howtojoin ซึ่ง
ปัจจุบันมีสถาบันต่างๆทั่วโลกจานวน 42 แห่ง เข้าร่วมเป็นสมาชิก และสถาบันเหล่านั้นอนุญาตให้
เข้าไปสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันตนเองผ่านการสืบค้นของ ADT program ได้เช่นกัน
ทาให้การเผยแพร่ผลงานวิจัยกว้างขวางมากยิ่งขึ้น (Council of Australian University Librarian,
2010)
4.6 กาหนดนโยบายให้นาวารสารทั้งหมดที่จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยหรือ
มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของให้บริการเป็น OAJ
5. นักศึกษา (Students) นักศึกษาสามารถช่วยส่งเสริมการเข้าถึงเอกสารแบบเปิ ด
สาธารณะได้ดังนี้
5.1 ช่วยปรับปรุงหรือพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Opensource software) เพื่อเป็น
เครื่องมือสาหรับการจัดทา OA
5.2 แนะนาหรือเผยแพร่การใช้ OA ให้แก่เพื่อน เครือข่ายต่างๆ หรือใช้ช่องทาง
แบบเป็นทางการเช่น สภานักเรียนนักศึกษาในการช่วยประชาสัมพันธ์
2-K12
5.3 ช่วยเข้าใช้แหล่งข้อมูลที่อาจารย์หรือสถาบันได้จัดทาเป็น OA ยกตัวอย่างเช่น
Massachusetts Institute of Technology (MIT)5
ได้กาหนด ให้นักศึกษาสามารถช่วยส่งเสริม OA
ได้ดังนี้
ในฐานะผู้ใช้
5.3.1 วิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ
5.3.2 เรียนรู้การใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในสาขาวิชาของตน
และนาไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล
5.3.3 นาสารสนเทศไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เคารพสิทธิของ
ผู้เขียน
5.3.4 ห้องสมุดควรจัดบริการช่วยเหลือนักศึกษาในการแนะแหล่งการ
อ้างถึงสารสนเทศ และหลีกเลี้ยงการคัดลอกผลงานวิจัยโดยไม่ได้อ้างถึง
ในฐานะผู้เขียน
เมื่อนักศึกษาที่จะเป็นผู้ทาผลงานวิจัยหรือเป็นนักวิชาการต่อไปในอนาคต
จาเป็นต้องทราบวิธีการเผยแพร่ การตีพิมพ์OA โดย
5.3.5 เมื่อเข้าใช้เอกสารหรือผลงานวิจัยต่างๆ ต้องทราบเกี่ยวกับ
กฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา
5.3.6 เรียนรู้วิธีการวัดคุณภาพผลงานทางวิชาการ
5.3.7 ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับช่องทางการตีพิมพ์ และ
พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตีพิมพ์
องค์กรต่างๆ (Organizations)
ในฐานะองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมทางวิชาการให้มี
ความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาไปสู่สากล องค์กรต่างเหล่านี้อาจจะเป็นแรงผลักดันหรือเป็น
ต้นแบบในการจัดทา OA ให้แก่สังคมหรือชุมชน หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา OA ซึ่งเป็น
การส่งเสริมอีกวิธีหนึ่ง โดยการส่งเสริม OA นั้นก็จะขึ้นอยู่กับองค์กรแต่ละประเภท ดังนี้
1. ผู้จัดการประชุมสัมมนา (Conference Organization) ในการจัดประชุมหรือสัมมนา
ขององค์กรแต่ละครั้ง จะต้องเกิดรายงานการประชุม รายงานความก้าวหน้า หรือเอกสาร
5
MIT เป็นสถาบันการศึกษาเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริจด์ รัฐแมซซาชูเซส (Massachusetts
Institute of Technology, n.d.)
2-K13
ประกอบการสัมมนาต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์สาหรับผู้ใช้บางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ
เช่น World Health Organization (WHO) จัดการสัมมนาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ผู้จัดการสัมมนาควรนา
เอกสารประกอบการสัมมนาเผยแพร่เป็น OA หรือจัดเก็บไว้คลังจัดเก็บเอกสารขององค์กร เพื่อให้
ผู้ใช้ในองค์กรหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี เป็นต้น ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของ
ผู้จัดการประชุมสัมมนาในการส่งเสริม OA ได้แก่
1.1 ตีพิมพ์รายงานการประชุมและเผยแพร่เป็น OA
1.2 กาหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิ์ของการจัดทาเอกสารต่างๆ เป็น OA
2. ผู้จัดการคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน (Institutional Repositories Implementers)
ผู้จัดการคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันอาจจะเป็นนักสารสนเทศหรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันนั้นๆ
ควรจะมีความรู้ความเข้าใจทางด้านโปรแกรมการจัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันและ OA เป็น
อย่างดี เพื่อสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิด OA อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งคลังจัดเก็บเอกสารสถาบันและการบริหารจัดการคลัง
จัดเก็บเอกสารของสถาบันสารสนเทศอื่นๆ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือสร้างความ
ร่วมมือกับคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันสารสนเทศของดีให้ดียิ่งขึ้น อาจจะศึกษาได้จาก
OpenDOAR http://www.opendoar.org/countrylist.php ที่รวบรวมรายชื่อและการจัดทาของคลัง
จัดเก็บเอกสารของสถาบันต่างๆ ที่จัดทาในแต่ละประเทศทั่วโลก (University of Nottingham, 2010)
2.2 พัฒนาคานิยามการบริการ (Service Definition) และ แผนการบริการ
(Service Plan) เช่น นโยบายการให้บริการ การถึงกาหนดขอบเขตของการบริการทางด้าน OA
2.3 เลือกแผนงานหรือหลักการของ OA ที่สอดคล้องกับการจัดทาคลังจัดเก็บ
เอกสารของสถาบัน
2.4 เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรให้มากที่สุด
2.5 ลงทะเบียนคลังจัดเก็บสารสนเทศของสถาบันตนเองในทะเบียนสาธารณะ
ของคลัง Open Archive Initiative (OAI)
2.6 ส่งเสริมการให้บริการและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรใช้บริการ
แหล่งสารสนเทศ OA
3. สานักพิมพ์ (Publications) สานักพิมพ์เป็นแหล่งจัดทาและเผยแพร่ทรัพยากร
สารสนเทศที่สามารถส่งเสริม OA ได้คือ
3.1 ให้ผู้เขียนสามารถคงสิทธิได้เฉพาะสิทธิของการพิมพ์ครั้งแรกและสิ่งพิมพ์
อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
2-K14
3.2 อนุญาตให้ผู้เขียนสามารถนาเสนอบทความที่เป็น OA ในคลังจัดเก็บเอกสาร
ของสถาบัน
3.3 ใช้โปรแกรมรหัสเปิดสาหรับการจัดการวารสาร เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เช่น
Open Journal Systems หรือ DPubs
3.4 สานักพิมพ์ต้องนาลิขสิทธิ์และนโยบายการจัดเก็บบทความวารสารเผยแพร่ที่
Project SHERPA ซึ่งเป็นแนวทางสาหรับผู้เขียนที่สนใจจัดทา OA สามารถเข้าไปตรวจสอบหรือ
ศึกษารูปแบบการตีพิมพ์ของสานักพิมพ์ต่างๆ ที่ SHERPA RoMEO ได้(SHERPA RoMEO, 2010)
3.5 สานักพิมพ์ควรจัดทาเมทาดาทาของบทความ ภายใต้มาตรฐาน OAI-PMH
ซึ่งจะทาให้บทความนั้นได้รับการเผยแพร่ ค้นหา และเข้าถึงมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สานักพิมพ์
Inderscience ซึ่งเป็นสานักพิมพ์ขนาดกลาง ได้สร้างมาตรฐานการจัดเก็บ OAI เพื่อเปิดเป็ดแหล่ง
สาหรับถ่ายโอนเมทาดาทาของสิ่งพิมพ์ สานักพิมพ์ Inderscience มีความเห็นว่าการแบ่งปันเมทาดา
ทาด้วยวิธีเก็บมาตรฐาน OAI-PMH นี้ทาให้ลดค่าใช้จ่ายและการพิมพ์เกิดประสิทธิผลมากขึ้น
3.6 สานักพิมพ์หนังสือควรใช้กลยุทธ์เดียวกันกับสานักพิมพ์วารสารในการ
กาหนดนโยบายหรือแนวคิดการจัดทาหนังสือ OA
3.7 เข้าร่วม PubMed Central Back Issue Digitization เพื่อนาวารสารฉบับก่อน
หรือฉบับเก่าย้อนหลังที่ได้จัดพิมพ์มาทาเป็นรูปแบบดิจิทัล
3.8 สานักพิมพ์ควรเปิดให้ GS เข้ามาเก็บเกี่ยวเมทาดาทา เนื่องจากจะทาให้
ผลงานทางวิชาการที่สานักพิมพ์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว
4. แหล่งทุนต่างๆ (Foundations) แหล่งทุนมีส่วนช่วยส่งเสริม OA ซึ่งจะเป็นการ
สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเผยแพร่
ความรู้ด้านวิชาการ โดยคานึงถึงการเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นสิ่งจาเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของการ
วิจัย
4.1 จัดทานโยบายที่สนับสนุนการทาวิจัยโดยการให้เงินทุนในการทาวิจัย และ
สร้างข้อตกลงให้ผู้รับทุนวิจัยยินยอมที่จะนาผลงานของตนให้บริการ OA
4.1.1 อาจยกเว้นการจัดทา OA กับงานวิจัยทางทหาร เอกสาร
สิทธิบัตร และผลงานที่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์
4.1.2 ควรให้ผู้วิจัยเลือกระหว่างการจัดทาแบบคลังจัดเก็บเอกสารของ
สถาบันและ OAJ ถ้าผู้วิจัยเลือกคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ควรจะได้รับอนุญาตให้จัดเก็บ
ผลงานไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร OA ของสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่จาเป็นต้องเป็นคลังเก็บ
เอกสารของสถาบันตนเอง อาจจะเป็นขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือของสถาบันการศึกษา
2-K15
มหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะทาให้เอกสารสามารถเข้าถึงและใช้งานร่วมกันได้รวมถึง
เป็นการอนุรักษ์เก็บรักษาเอกสารในระยะยาวอีกด้วย
4.2 เมื่อผู้รับทุนวิจัยตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน OAJ และเสียค่าใช้จ่ายสาหรับ
กระบวนการจัดทา หรือเสนอให้จ่ายค่าธรรมเนียม แหล่งทุนควรจะสนับสนุนต้นทุนค่าเผยแพร่
เอกสาร OA เนื่องจากค่าเผยแพร่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสาหรับการวิจัยและเมื่อมีบทความหรือ
ผลงานวิจัยที่อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับองค์กร องค์กรควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับทุนวิจัย
ส่งผลงานหรือบทความวิจัยเพื่อจัดทาในรูปแบบ OAJ
4.3 สนับสนุนเงินทุนแก่ทางมหาวิทยาลัยเพื่อให้ช่วยจัดทาคลังจัดเก็บเอกสาร
ของสถาบัน
4.4 สนับสนุนเงินทุนสาหรับกระบวนการจัดทา OAJ
4.5 แหล่งทุนสามารถสนับสนุนทุนให้แก่สานักพิมพ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับ
การจัดทาเอกสาร OA เช่น บรรณาธิการต้องการเปิดตัววารสารฉบับใหม่เป็น OA
4.6 สนับสนุนทุนแก่วารสารเชิงพาณิชย์ทั่วๆไป เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปสู่
การจัดทาเป็น OA รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดทาในรูปแบบดิจิทัล เพื่อบรรณาธิการวารสาร
ต่างๆจะได้นาวารสารของตนไปจัดทาเป็น OAJ ต่อไป
4.7 จัดทานโยบายหรือเงื่อนไข และรายละเอียดให้แก่ผู้ที่สนใจขอรับทุนการวิจัย
และนาไปเผยแพร่ใน SHEARPA JULEIT http://www.sherpa.ac.uk/juliet/ ซึ่งเป็นแนวทางและ
นโยบายให้แก่แหล่งทุนในการสนับสนุนทุนวิจัย (University of Nottingham, 2009)
ยกตัวอย่างเช่น SPARC ยินยอมที่จะจัดทาคลังเก็บเอกสารขององค์กร เพื่อ
จัดเก็บและเผยแพร่งานวิจัย ผลงานวิชาการต่างๆ ซึ่ง SPARC ส่งเสริมนโยบายทางด้าน OA และให้
ความร่วมมือในการหาแนวทางพัฒนาจัดทาคลังเก็บเอกสารทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
จากที่ได้กล่าวข้างต้น ถ้าแนวคิด OA ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทุก
ภาคทุกส่วนในสังคม จะทาให้เกิดวรรณกรรมทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เกิดสังคมแห่งการวิจัย
รวมถึงนวัตกรรมต่างๆในการพัฒนาประเทศชาติ นอกจากนั้น ยังเป็นตัวชี้วัดถึงความก้าวหน้าของ
ประเทศ จากการเกิดขึ้นของงานวิจัย งานวิชาการต่างๆ อีกด้วย
2-K16
บรรณานุกรม
Association of American Law Schools . (1998). Retrieved from Shttp://www.aals.org
CERN Scientific Information Service . (n.d). How to promote OA? Retrieved from
http://library.web.cern.ch/library/OpenAccess/Promoting.html
Council of Australian University Librarian. (2010) . Australian Digital Theses program. Retrieved
from http://adt.caul.edu.au/
University of Nottingham. (2010). Directory of Open Access Repositories. Retrieved
from http://www.opendoar.org/find.php
University of Nottingham. (2010). SHERPA RoMEO. Retrieved from
http://www.sherpa.ac.uk/romeo/browse.php?fIDnum=|&la=en
University of Nottingham. (2009). SHERPA JULIET. Retrieved from
http://www.sherpa.ac.uk/juliet/
MIT Libraries. (n.d.). What can students do? Retrieved from http://info-libraries.mit.edu/
Open Access Scholarly Information Sourcebook . (2009). Case study: Medknow Publications.
Retrieved from http://www.openoasis.org
Open Access Scholarly Information Sourcebook . (2010). Citation impact. Citation impact.
Retrieved from http://www.openoasis.org
SPARC . (2011). Author Rights: Using the SPARC Author Addendum to secure your rights as
the author of a journal article. Retrieved from http://www.arl.org/
St Andrews University Library. (2009). Research@StAndrewsfulltext. Retrieved from
http://research-repository.st-andrews.ac.uk
Swan, A. and Chan ,L . (2010). Promoting open access. Retrieved from
http://www.openoasis.org
Suber, P. (2007). What you can do to promote open access. . Retrieved from
http://www.earlham.edu/~peters/fos/do.htm
University of Florida .(n.d.). Publications of Thomas J. Walker. Retrieved from
http://entnemdept.ufl.edu/
University of Michigan Author’s Addendum. (n.d.). Retrieved from http://www.lib.umich.edu
2-K17
What faculty can do to promote open access. (2008). Retrieved from
http://api.ning.com/files/h0siTHvWNEzBGaOiACGxuoVgeuR9IYJfKGXpwShEAN
OdVCEwKU4AoULPwyX2ckZO1ZGrQYRxOZt8-
efa8Uohq8qXaKjdiMTR/Faculty
What librarians can do to promote open access. (2008). Retrieved from
http://www.uj.ac.za/EN/Library/Services/Institutional%20Repository/Documents/Li
brarians.pdf
What universities and administrators can do to promote open access. (2010). Retrieved ofrom
http://library.uncw.edu/uploads/pdfs/OpenAccessUniversitiesandAdminCanDo.pdf

Mais conteúdo relacionado

Destaque

What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...Stian Håklev
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for EducationSurapon Boonlue
 
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...Neil Sorensen
 
Lao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesLao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesNeil Sorensen
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาSurapon Boonlue
 
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Terry Anderson
 
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาการปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาBoonlert Aroonpiboon
 
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Neil Sorensen
 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์Boonlert Aroonpiboon
 
Synectics Model
Synectics ModelSynectics Model
Synectics Modelstudentofb
 
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Surapon Boonlue
 
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideDigital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideBoonlert Aroonpiboon
 
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลมาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลSatapon Yosakonkun
 

Destaque (20)

What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
 
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
 
Lao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesLao Open Data Experiences
Lao Open Data Experiences
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
 
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
 
Digital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of ThailandDigital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of Thailand
 
oss-freeware-isar
oss-freeware-isaross-freeware-isar
oss-freeware-isar
 
Greenstone for ISAR
Greenstone for ISARGreenstone for ISAR
Greenstone for ISAR
 
Greenstone
GreenstoneGreenstone
Greenstone
 
Digital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of ThailandDigital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of Thailand
 
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาการปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
 
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
 
Synectics Model
Synectics ModelSynectics Model
Synectics Model
 
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
 
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideDigital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
 
20170213 digital-archives
20170213 digital-archives20170213 digital-archives
20170213 digital-archives
 
Edu reform-draft
Edu reform-draftEdu reform-draft
Edu reform-draft
 
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลมาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
 

Semelhante a Open Access Article by CMU Students # 2

Open Access Article by CMU Students # 4
Open Access Article by CMU Students # 4Open Access Article by CMU Students # 4
Open Access Article by CMU Students # 4Boonlert Aroonpiboon
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfTassanee Lerksuthirat
 
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์Supaporn Khiewwan
 
Random 100125184602-phpapp02
Random 100125184602-phpapp02Random 100125184602-phpapp02
Random 100125184602-phpapp02nantiya2010
 
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตguest832105
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8nay220
 
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานTarinee Bunkloy
 

Semelhante a Open Access Article by CMU Students # 2 (9)

Open Access for Education
Open Access for EducationOpen Access for Education
Open Access for Education
 
บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ต
 
Open Access Article by CMU Students # 4
Open Access Article by CMU Students # 4Open Access Article by CMU Students # 4
Open Access Article by CMU Students # 4
 
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
 
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
 
Random 100125184602-phpapp02
Random 100125184602-phpapp02Random 100125184602-phpapp02
Random 100125184602-phpapp02
 
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
 

Mais de Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

Open Access Article by CMU Students # 2

  • 1. การส่งเสริมการเข้าถึงแบบเปิด วิชุตา กุ๋ยมาเมือง การเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ หรือเอกสารต่างๆ มีความสาคัญต่อทุกคนในสังคม เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศ แต่การเผยแพร่เอกสาร ต่างๆ เหล่านั้นยังมีอุปสรรคและข้อจากัดในการเข้าถึงสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น ด้านลิขสิทธิ์ ค่าใช้จ่าย เป็นต้น ดังนั้นจึงได้มีการจัดทาเอกสาร ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการต่างๆ ให้เป็นเอกสาร OA ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและนาไปใช้ให้เกิดผลงานหรือต่อยอด งานวิจัยให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ห้องสมุดสามารถลดค่าใช้จ่ายการบอกรับวารสาร ผู้ใช้เข้าถึง ตัวเอกสารได้เร็วขึ้น การจัดทา OA จะทาให้บทความ ผลงานวิจัยต่างๆ ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ รู้จักกว้างขวางมากขึ้น เพราะทุกคนเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ การอ้างถึงเพิ่มขึ้น จึงทาให้ค่า Journal Impact Factor ค่า H-index ค่า G-index หรืออื่น ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นยังเป็น การแสดงความน่าเชื่อถือของผู้เขียนและประสิทธิภาพของบทความ ซึ่ง OA จะจัดทาโดยกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งไม่ได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคคลและหน่วยงานหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการศึกษาหรือองค์กรต่างๆ ซึ่ง Peter Suber และ CERN Scientific Information Service ได้ กาหนดแนวทางในการส่งเสริมเอกสารแบบเปิดสาธารณะไว้หลายๆ แนวทาง แต่ในบทความฉบับ นี้จะกล่าวถึงกลุ่มที่มีบทบาทสาคัญ 2 กลุ่ม คือ (Suber , 2007 ; CERN , n.d) 1. สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย คณาจารย์ ผู้เขียน ผู้ประเมินหรือผู้ ตรวจสอบ บรรณารักษ์ผู้บริหาร และนักศึกษา เป็นต้น 2. องค์กรต่างๆ ประกอบด้วย ผู้จัดการประชุมสัมมนา (Conference organization) ผู้ เตรียมคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน (Institutional Repository Implementors) สานักพิมพ์ (Journals and Publisher) และแหล่งทุน(Foundations) มหาวิทยาลัย (Universities) มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยคณาจารย์นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เป็นบ่อเกิดแห่งองค์ความรู้ที่สาคัญในการสร้างสรรค์ และการต่อยอดงานวิจัยที่มีคุณภาพ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจาก นักวิชาการ นักวิจัยรวมถึงคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการเหล่านั้น ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งทุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ และการตีพิมพ์
  • 2. 2-K2 เผยแพร่ ดังนั้น OA จึงเป็นทางเลือกที่นามาพิจารณาในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการต่างๆ โดย มหาวิทยาลัยควรจัดหาแหล่งสาหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเป็นเอกสาร OA และไม่ควรจากัด สิทธิการเข้าถึงหรือการนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย หรือสิ่งพิมพ์ของ มหาวิทยาลัยในการเผยแพร่เป็น OA นอกจากนั้นการเผยแพร่เอกสาร OA ยังเป็นส่วนสนับสนุนถึง ความเป็นผู้นาทางด้านวิชาการและส่งเสริมองค์ความรู้สู่ชุมชน ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยควรเป็น ผู้สนับสนุนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ค่าประเมินและตรวจสอบบทความและค่าใช้จ่าย อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ 1. คณาจารย์/ผู้เขียน (Faculty/Author) ซึ่งเป็นผู้สร้างผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สามารถช่วยเผยแพร่และส่งเสริม OA คือ 1.1 ทาความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการกาหนดค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์บทความลงใน วารสาร 1.2 นาบทความหรือผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่มีการกาหนดราคาอย่าง สมเหตุสมผลหรือตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น OA 1.3 ผู้เขียนควรสอบถามสานักพิมพ์ถึงนโยบายการคงสิทธิในผลงานของตนที่ได้ จัดทาเป็น OA เช่น เจรจาต่อรองกับสานักพิมพ์เพื่อ 1) รักษาสิทธิและโอนเฉพาะสิทธิในการตีพิมพ์ ครั้งแรกและแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือ 2) โอนลิขสิทธิ์ให้สานักพิมพ์ แต่ขอนาเอา postprint เก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ซึ่งสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะให้ผู้เขียนโอน ลิขสิทธิ์ แต่บางรายชื่อจะยืดหยุ่น ถ้าได้โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์แล้วร้อยละ 80 ของ สานักพิมพ์ยินยอมให้เก็บ postprint แต่บางสานักพิมพ์ต้องขออนุญาตเพราะไม่ยินยอมให้เก็บ ผู้เขียนควรสอบถามถึงการเก็บเมตาดาทา (Metadata) ของบทความเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อที่ ผู้อ่านสามารถอ้างถึงและติดตามอ่านได้ ในกรณีที่ยังไม่ได้โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์ ให้ สอบถามถึงการรักษาสิทธิ แต่ถ้าสานักพิมพ์ไม่ให้รักษาลิขสิทธิ์ ให้สอบถามถึงสิทธิอย่างน้อยที่สุด ในการเก็บ postprint หรือถ้าสานักพิมพ์ไม่ให้คงสิทธิในการเก็บ postprint ให้สอบถามถึงการนา postprint ให้บริการเผยแพร่บนเว็บไซต์ส่วนตัวหรือจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันที่ เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว ผู้เขียนสามารถนาบทความหรือเอกสารฉบับเต็มจัดเก็บ ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันและเลือกประเภทของการเข้าถึงว่าจะให้ “เข้าถึงแบบสถาบัน (Institutional access)” หรือ “เข้าถึงแบบสาธารณะ (open access)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผู้เขียนจะเลือก ให้เข้าถึงแบบสถาบันมากกว่าแบบสาธารณะเพราะอย่างน้อยจะทาให้ผู้ร่วมงานหรือนักศึกษา สามารถเข้าถึงบทความได้ทันทีที่บทความนั้นได้รับการเผยแพร่
  • 3. 2-K3 1.4 ข้อดีของการจัดเก็บ postprint และให้เผยแพร่เป็น OA คือ การเข้าถึง กลุ่มเป้ าหมายกลุ่มใหญ่ ซึ่งส่งผลให้จานวนการอ้างถึงและการเข้าใช้เพิ่มสูงขึ้น จากงานวิจัยของ Steven Harnad, (2010) ซึ่งเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Southhamton และ Mantreal ชี้ให้เห็นว่า บทความฉบับเต็มในวารสารชื่อเดียวกัน ปีเดียวกันแต่เผยแพร่เป็น OA ได้รับการอ้างถึงมากกว่า บทความเชิงพาณิชย์ ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 ปริมาณการเพิ่มการอ้างถึงของเอกสาร OA ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (OSIS, 2010) จากภาพแสดงให้เห็นว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มีเอกสาร OA ทางด้านฟิสิกส์ ที่มีการอ้างถึงมากที่สุด สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์พบว่าเอกสาร OA ทางด้าน กฎหมายมีการอ้างถึงมากเป็นอันดับหนึ่ง และการอ้างถึงทางด้านอื่นๆของทั้งสองสาขาวิชาจะมี จานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 1.5 จัดเก็บ preprint และ postprint ในรูปแบบเอกสาร OA ที่จัดเก็บไว้ในคลัง จัดเก็บเอกสารของสถาบัน ถ้าหากว่าสถาบันยังไม่ได้จัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ผู้เขียน หรือบรรณารักษ์และนักสารสนเทศควรเป็นผู้จัดทา 1.6 ผู้เขียนควรนาบทความวิจัยเผยแพร่ใน OAJ โดยตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ สามารถนาบทความเผยแพร่แบบสาธารณะได้ที่ Directory of Open Access (DOAJ) :http://www.doaj.org/doaj
  • 4. 2-K4 1.7 ควรเจรจาต่อรองกับสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ ในการนาบทความวารสารที่ ไม่ได้จัดทาเป็น OA นามาเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็น OA หรือเรียกว่า Walker-Prosser Method1 ยกตัวอย่างเช่น บทความที่เขียนโดย Thomas Walker เกือบทุกบทความได้รับการเสนอ ให้นามาทาเป็นรูปแบบ OA นอกจากนั้นผลงานต่างๆของ Thomas Walker ก็นามาให้บริการแบบ OA และบทความของ David Prosser ซึ่งเป็นผู้บริหารของSPARC แห่งยุโรป บทความเหล่านั้นถูก นามาปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้นและนาเผยแพร่เป็น OA 1.8 ถ้าผู้เขียนเป็นบรรณาธิการของสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ให้พยายามอภิปรายใน กลุ่มหรือสนับสนุนสานักพิมพ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบสิ่งตีพิมพ์เป็นแบบ OA ให้ผู้เขียน เก็บรักษาสิทธิ์ ปัจจุบันมีวารสารเชิงพาณิชย์ที่เปลี่ยนเป็น OA ยกตัวอย่างเช่น สานักพิมพ์ Medknow Publications เป็นสานักพิมพ์ที่ตีพิมพ์วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิง พาณิชย์ ต่อมาได้ในปี 2005 Dr’ D K Sahu ดารงตาแหน่งเป็นประธานฝ่ายบริหารจัดการและเป็น ผู้สนับสนุนเงินทุนได้ปรับเปลี่ยนการจัดทาวารสารที่ชื่อ Journal of Postgraduate Medicine ให้บริการเผยแพร่เป็น OAJ และพบว่ามีผู้เข้าชมและการดาวน์โหลดบทความเพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 3 รูปที่ 2 จานวนผู้เข้าชมและดาวน์โหลดบทความจากวารสาร Journal of Postgraduate Medicine (oasis, 2009) 1.9 เมื่อสมัครรับทุนวิจัย ให้สอบถามกองทุนถึงค่าใช้จ่ายสาหรับกระบวนการ จัดทา OA ซึ่งกองทุนส่วนมากจะเตรียมพร้อมสาหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อยู่แล้ว 1 เป็นวิธีการเสนอแนะแนวทางการจัดทาเอกสารให้เกิดเป็น OA โดย Thomas Walker และ David Prosser University of Florida .(n.d.).
  • 5. 2-K5 1.10 อาสาสมัครร่วมเข้าเป็นคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยในการประเมิน อาจารย์เพื่อเลื่อนขั้นและดารงตาแหน่ง การบรรจุเป็ นลูกจ้างประจา ควรตรวจสอบว่า คณะกรรมการมีการกาหนดเกณฑ์ที่ยุติธรรม ที่จะไม่ทาให้อาจารย์ต้องเสียผลประโยชน์ในการ ตีพิมพ์ OAJ และควรปรับเกณฑ์ประเมินต่างๆ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาจารย์นาเสนอบทความใน รูปแบบ OA 1.11 ทางานร่วมกับผู้บริหารเพื่อกาหนดนโยบายแบบกว้างๆ ของมหาวิทยาลัย ใน การส่งเสริม OA ผู้เขียนควรแนะนาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้บริหาร หากผู้บริหารไม่เข้าใจเกี่ยวกับ OA และควรมีการกาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์นักวิจัยนาผลงานทางวิชาการมาจัดเก็บไว้ ในคลังเก็บเอกสารของสถาบันด้วย 1.12 ทางานร่วมกับสมาคมผู้เชี่ยวชาญทางด้าน OA เพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับ OA ให้มากขึ้น เชิญชวนองค์กรต่างๆ เพื่อจัดทาวารสารขององค์กรให้เผยแพร่เป็น OA และสนับสนุน การจัดเก็บ eprint แบบ OA โดยจัดหมวดหมู่ตามสาขาวิชา 1.13 หากผู้เขียนทางานในด้าน Biomedicine และได้รับทุนของ NIH ให้ปฏิบัติ ตามกฎการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ตามมาตรฐานกองทุนวิจัย NIH ที่ว่า เมื่อทางานวิจัยเสร็จแล้วให้นาผลงาน เหล่านั้นไปตีพิมพ์ใน PubMed Central (PMC) และมอบอานาจให้ PMC ทาการเผยแพร่บทความ ผลงานวิจัยสู่สาธารณะชนทันที 1.14 ผู้เขียนที่เป็นอาจารย์ควรให้การศึกษาเกี่ยวกับ OA แก่นักศึกษารุ่นต่อไป จะ ทาให้นักศึกษา นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับ OA มากขึ้น หรือแนะนา OA ให้แก่นักศึกษา ผู้ร่วมงาน รวมถึงผู้บริหาร 1.15 ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ OA ที่สานักพิมพ์หรืองค์กรที่ต่างๆ ได้จัดทาอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงและนาไปปรับปรุงงานวิจัยของตนเองให้มีความ ทันสมัยมากขึ้น เช่น RoMEO Sherpa จะให้บริการ RoMEO news ซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับ OA ว่ามี บทความของสาขาวิชาใดบ้างที่เผยแพร่ วารสารเชิงพาณิชย์ฉบับใดที่ได้รับการเปลี่ยนเป็น OA หรือ สานักพิมพ์ใดที่กาลังจะให้บริการ OA ฯลฯ นอกจาก RoMEO News แล้วยังมี Open Acecess News ที่ Peter Suber เป็นผู้จัดทาให้บริการข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับ OA Open Access Now ของ BioMed Central European Open Access News จัดทาโดย Digital Repositories Infrastructure Vision for European Research (DRIVER)
  • 6. 2-K6 ภาพที่ 3 แสดง Romeo News (RoMEO, 2011) RoMEO News เป็นบริการจากสานักพิมพ์RoMEO SHERPA ที่ให้บริการ ข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสานักพิมพ์ เช่น สานักพิมพ์ได้จัดทาฐานข้อมูลวารสาร ใหม่ มีตัวเลือกภาษาโปรตุเกตสาหรับคนโปรตุเกตและคนที่เข้าใจภาษาโปรตุเกต 2. ผู้ตรวจสอบ (Reviewers) ซึ่งทาหน้าที่ตรวจสอบผลงานทางวิชาการก่อนที่จะส่งให้ สานักพิมพ์ ทาให้ผลงานเหล่านั้นมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือมากขึ้น ผู้ตรวจสอบควรสนับสนุน OA ดังนี้ 2.1 ตกลงและยอมรับการเชิญให้ไปเป็นผู้ตรวจสอบและบทความ OAJ 2.2 พยายามปฏิเสธเมื่อได้รับการเชิญให้ประเมินบทความวารสารที่มีราคาสูง เกินไป 3. บรรณารักษ์และนักสารสนเทศ (Librarians/Informationist) เป็นกลุ่มคนที่สาคัญใน การส่งเสริม OA เพราะบรรณารักษ์และนักสารสนเทศเป็นเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับการ เข้าถึงสารสนเทศ เป็นผู้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาบริการแก่ผู้ใช้และตรงความต้องการ ของผู้ใช้มากที่สุด ในขณะเดียวกันสิ่งพิมพ์เหล่านั้นก็มีการปรับราคาสูงขึ้นแต่ห้องสมุดและสถาบัน สารสนเทศได้รับงบประมาณเท่าเดิม จึงทาให้บรรณารักษ์และนักสารสนเทศต้องหาแนวทางการ แก้ไข เพื่อสามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการแก่ผู้ใช้และประหยัดงบประมาณของ ห้องสมุด ดังนั้นบรรณารักษ์และนักสารสนเทศสามารถช่วยส่งเสริม OA คือ
  • 7. 2-K7 3.1 ศึกษาธุรกิจการพิมพ์ของสานักพิมพ์ต่างๆที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเข้ามาของ OA รวมถึงผลกระทบต่อการสื่อสารทางวิชาการ เพื่อจะนามาประกอบการตัดสินใจเลือก สานักพิมพ์ในการตีพิมพ์บทความ 3.2 พยายามปฏิเสธข้อเสนอต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางด้านฐานข้อมูล รวมถึงวารสารที่มีราคาสูง และควรแจ้งให้ประชาคมทราบเกี่ยวกับเหตุผลที่เลิกบอกรับ นอกจากนั้น บรรณารักษ์และนักสารสนเทศควรจะนาเสนอภาวะหรือวิกฤตการสื่อสารทางวิชาการให้แก่ คณาจารย์ ผู้บริหาร คณะกรรมการห้องสมุด ภาควิชาทราบ และชี้ถึงเหตุผลที่ควรจะนา OA มาเป็น แนวทางในการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้น 3.3 เมื่อมีการจัดทาผลงานทางวิชาการเป็น OA แล้ว บรรณารักษ์และนัก สารสนเทศควรจัดทาคลังเก็บเอกสารของสถาบัน ที่ใช้มาตรฐานการจัดเก็บแบบยั่งยืน หรือ“OAI- PMH” ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดเก็บเมทาดาทา ทาให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้ามคลังเก็บเอกสารของ สถาบันที่ใช้มาตรฐานเดียวกันนี้ได้โดยไม่จาเป็นต้องเข้าไปเยี่ยมชมหรือสืบค้นคลังเหล่านี้มาก่อน ซึ่งการใช้โปรโตคอลนี้สามารถทาให้บทความเหล่านี้ถูกสืบค้นเพิ่มขึ้น และทาให้ค่า Citation ของ บทความเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 3.3.1 โดยมาตรฐานการจัดเก็บแบบยั่งยืนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ โปรแกรมรหัสเปิด เช่น Eprints, DSpace, CDSware, และ FEDORA ยกตัวอย่างการใช้ เช่น Cornel University ใช้โปรแกรมรหัสเปิด FODERA หรือ CERN ใช้ CDSware University of Southhamton ใช้ eprints.org สานักพิมพ์ BioMed Central ใช้ DSpace สานักพิมพ์ ProQuest และ Bepress ให้บริการ Digital Commons เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ให้แก่บรรณารักษ์โดยไม่ต้องใช้บริการองค์กรที่แสวงผลกาไร 3.3.2 ในการจัดทาจัดคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันสามารถค้นหา ข้อมูลในการจัดทาได้ที่ SPARC Institutional Repository Checklist & Resources Guide จะเป็น แนวทางและให้ภาพรวมเกี่ยวกับประเภทเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถนามาจัดเก็บใน คลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน 3.3.3 เลือกใช้โปรแกรมรหัสเปิดที่มีทางเลือกสาหรับจัดทา Open URL ของ googlebot/GoogleSpider , OAI-PMH และ Ambed เข้าไปติดตามจัดเก็บการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน เพื่อให้สามารถเผยแพร่แก่ผู้ใช้ได้รวดเร็วขึ้น เปิดให้โปรแกรม จัดเก็บข้อมูลของ spider ของ search engine ตัวอื่นๆ เข้ามาเก็บความเคลื่อนไหวหรือการ เปลี่ยนแปลงและทาสาเนาข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของเนื้อหางานวิจัยที่จัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร ของสถาบัน เพื่อนาไปทาดรรชนีสืบค้น ซึ่งผู้เขียนควรตรวจสอบว่าบทความ/ผลงานนั้นได้ถูกนาไป
  • 8. 2-K8 ทาดรรชนีโดย Google Scholar (GS) ถ้าพบว่า ยังไม่ได้นาไปทาดรรชนี ให้สานักพิมพ์ประสานงาน กับ GS เพื่อดาเนินการเหล่านั้น หรือถ้าผู้เขียนจัดเก็บผลงานทางวิชาการไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร ของสถาบันแล้วแต่ยังไม่ได้นาไปจัดทาดรรชนี ควรลงทะเบียนแจ้งความจานงทันที 3.4 ถ้าเป็นไปได้บรรณารักษ์อาจจะจัดทารายการ OAJ ใน OPAC ของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบ One-stop-service ที่สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศแบบไม่ ตีพิมพ์ได้เหมือนกับค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์ ซึ่ง DOAJ เปิดให้บริการดาวน์โหลด เมทาดาทาของวารสารโดยไม่คิดค่าบริการ ถ้ามีการบอกรับหรือจัดหาวารสารฉบับใหม่หรือรายชื่อ มาให้บริการผู้ใช้ บรรณารักษ์และนักสารสนเทศไม่จาเป็นต้องจัดทารายการบรรณานุกรมของ วารสารเอง สามารถดาวน์โหลดมาจัดเก็บไว้ใน OPAC ทาให้ประหยัดเวลา และผู้ใช้สามารถสืบค้น ได้ทั้งวารสาร หนังสือ ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน 3.5 จัดทา OAJ ในสาขาวิชาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยมีการเปิดการเรียนการสอน และ นาไปเผยแพร่ในคลังจัดเก็บเอกสารเฉพาะสาขาวิชา (Disciplinary Repositories) ซึ่งได้แก่ SPARC , PLoS ด้านวิทยาศาสตร์, BioMed Central ด้านการแพทย์ เป็นต้น Philosopher’s Imprint เป็นสานักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ตั้ง ปณิธานในการตีพิมพ์วารสารว่า “แก้ไขโดยนักปรัชญา ตีพิมพ์โดยบรรณารักษ์ ให้ผู้ใช้เข้าถึงแบบ ไม่มีเงื่อนไข” เนื่องจากบรรณาธิการจะเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเปรียบเสมือนเป็นนักปรัชญาและผู้ ตีพิมพ์จะเป็ นบรรณารักษ์ บุคคลเหล่านี้พร้อมที่จะทาหน้าที่ในการสนับสนุนสานักพิมพ์ Philosopher’s Imprint ในการจัดทา OA journal โดยที่ไม่จาเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมสาหรับ กระบวนการจัดทา 3.6 สร้างฐานข้อมูลดรรชนีออนไลน์ เพื่อชี้แหล่งของ OA แต่ละสาขาวิชา 3.7 ช่วยเหลืออาจารย์ในการนาผลงานวิจัยหรือบทความจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บ เอกสารของสถาบัน เนื่องจากอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีเวลา งานยุ่งหรือมีปัญหาที่จะใช้เทคโนโลยี ใหม่ๆ หรือบางคนยังอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ OA ต้องการคาแนะนาและศึกษา เพิ่มเติม บรรณารักษ์ควรเป็นฝ่ายให้คาแนะนาและแนวทางแก่อาจารย์ นอกจากนั้นบรรณารักษ์ควร ทาการเผยแพร่แนวคิดในการจัดทา OA และไปพบปะอาจารย์แผนกต่างๆ เพื่อช่วยจัดเก็บเอกสาร
  • 9. 2-K9 ผลงานทางวิชาการของเหล่าอาจารย์ไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น University of St. Andrews บรรณารักษ์จะให้อาจารย์ส่งบทความหรือผลงานของตนเองมาทางอีเมล์ หลังจาก นั้นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะดาเนินการเก็บผลงานเหล่านั้นไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันให้ ( St Andrews University Library, 2009) 3.8 แนะนา OA ให้เป็นที่รู้จักแก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยอาจจะใช้วิธีบริการ ดรรชนี SPARC ที่ได้จัดทาบริการดรรชนีและสาระสังเขปในสาขาวิชาต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์ ไว้ให้ ได้แก่ สาขาวิชาทางด้านการเกษตร (AGRICOLA) สาขาวิชาทางด้านชีววิทยา (Biosis Previews) สาขาวิชาทางด้านเคมี (Chemical Abstracts) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (ISI® Web of Science) และ สาขาการแพทย์(PubMed) 3.9 จัดทาเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทาการอนุรักษ์เอกสารและ OA ให้แก่องค์กรต่างๆ ด้วย เช่น องค์กรไม่แสวงผลกาไร มูลนิธิ กองทุน พิพิธภัณฑ์ แกลอรี และ ห้องสมุด พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ข้อดีของ OA แก่ชุมชนหรือสมาคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาคม ทางการศึกษาที่อยู่บริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะองค์กรหรือสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกาไร 3.10 จัดทาบรรณนิทัศน์ให้แก่บทความและหนังสือ เนื่องจากเอกสารที่เป็น OA จาเป็นที่จะต้องทาบรรณนิทัศน์ เพื่อเป็นประโยชน์สาหรับผู้ใช้ ทาให้สามารถทราบเรื่องราวหรือ เนื้อหาของหนังสือหรือบทความได้อย่างรวดเร็ว และนาไปสู่การค้นคว้าที่กว้างขวางและลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น ดังนั้นบรรณารักษ์และนักสารสนเทศจึงควรช่วยคณาจารย์ในการจัดทาหรือจัดบริการการทา บรรณนิทัศน์ให้แก่องค์กรไม่แสวงหาผลกาไร 3.11 บรรณารักษ์ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการพิจารณาคุณภาพของวารสาร บทความ หรือผู้เขียนบทความ จากหน่วยวัดต่าง ๆ เช่น พิจารณาคุณภาพของวารสารจากค่า Jouranl Impact Factor พิจารณาคุณภาพของบทความจาก Article Level Metrics และพิจารณาคุณภาพของผู้เขียน จาก H-index หรือ G-index เป็นต้น ซึ่งจะมีข้อดีคือผู้ใช้สามารถนาไปประกอบการตัดสินใจในการ เลือกใช้และการอ้างถึงบทความ 3.12 เข้าร่วม SPARC ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริม OA เพื่อทาให้การดาเนินงานต่างๆ ที่ เกี่ยวกับ OA ของสถาบันของตนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. ผู้บริหาร (Administrators) เป็นบุคคลที่มีความสาคัญมากในการช่วยกาหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมการจัดทาเอกสารขององค์กร ผลงานวิชาการต่างๆ ในรูปแบบ OA เนื่องจากอานาจใน การตัดสินใจส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีภาวะความเป็นผู้นาที่จะเชิญชวนให้ บุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงานในสังกัดเห็นคุณค่าและความสาคัญของการใช้แหล่งสารสนเทศ
  • 10. 2-K10 ที่เป็นแบบ OA และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของ OA ที่จะทาให้บรรลุเป้ าหมายขององค์กร บทบาท ของผู้บริหารในการส่งเสริม OA จึงจาแนกได้ดังต่อไปนี้ 4.1 กาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์นาผลงานวิจัยหรือบทความของตน จัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บสารสนเทศของสถาบัน เช่น ผู้บริหารอาจจะกาหนดนโยบายให้อาจารย์หรือ นักวิจัยนาผลงานของตนเองที่จัดทาเป็น OA มาประกอบการพิจารณาการเลื่อนตาแหน่ง การเลื่อน ขั้นหรือการบรรจุเป็นลูกจ้างประจา 4.2 ในมหาวิทยาลัยควรดาเนินการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทา OA ให้แก่ บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศฝ่ายดิจิทัล เนื่องจากบรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศจะเป็นฝ่ายช่วย คณาจารย์หรือผู้เขียนในการนาผลงานอันเก่าที่ไม่ได้ถูกใช้งานหรือผลงานที่มีอยู่แล้วมาจัดทาเป็นรูป แบบอิเล็กทรอนิกส์แล้วจัดเก็บไว้ในคลังจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งจัดทาเมทาดาทาที่ เกี่ยวข้องกันบทความหรือผลงานดังกล่าว เพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหา 4.3 กาหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้คณาจารย์คงสิทธิในรูปแบบต่างๆ คือ 1)โอน ลิขสิทธิ์เฉพาะการตีพิมพ์ครั้งแรกและสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สานักพิมพ์เท่านั้น หรือ 2) โอน ลิขสิทธิ์ให้ แต่ให้รักษาสิทธิการจัดเก็บเอกสารที่เป็น postprint ทั้งนี้ SPARC และสัญญาอนุญาต Creative common ได้พัฒนา Author’s Addendum2 เพื่อให้ผู้เขียนสามารถเพิ่มข้อตกลงเกี่ยวกับการ โอนลิขสิทธิ์ให้แก่สานักพิมพ์ ซึ่ง Author’s Addendum มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เขียนเก็บรักษาสิทธิ์ ที่ในการมอบอานาจแก่ OA นอกจากนั้นยังมีสานักพิมพ์และองค์กรต่างๆ ที่ได้จัดทา Author’s Addendum ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อต่อรองและผลประโยชน์แก่ผู้เขียน ยกตัวอย่างเช่น สมาคมกฎหมาย แห่งสหรัฐอเมริกา (The Association of America Law School)3 มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan University)4 ก็ได้พัฒนารูปแบบข้อตกลงระหว่างผู้เขียนกับสานักพิมพ์เช่นเดียวกัน 4.4 กาหนดนโยบายสาหรับอาจารย์หรือนักวิจัยที่ไม่ได้รับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าธรรมเนียมการส่งบทความตีพิมพ์ใน OAJ จากผู้ให้ทุนวิจัย โดยทาง มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้สนับสนุนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์แทนแต่อาจมีเงื่อนไขบางประการ เช่น ใน 2 เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงการโอนสิทธิของผู้เขียนกับสานักพิมพ์หรือพันธะสัญญาการตีพิมพ์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (SPARC, 2011) 3 สมาคมกฎหมายแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรทางการศึกษาแบบไม่หวังผลกาไร ที่มีสมาชิกเป็นสถาบันทาง กฎหมาย คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆมากกว่า 10,000 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา (Association of American Law Schools, 1998) 4 University of Michigan Author’s Addendum เป็นข้อตกลงการตีพิมพ์ระหว่างสานักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย มิชิแกนกับผู้เขียน (Michigan Library, 2010 )
  • 11. 2-K11 กรณีที่มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมได้ ก็ต่อเมื่อผู้ให้ทุนยื่นความจานงว่าจะไม่สนับสนุน ค่าธรรมเนียมเท่านั้น 4.5 กาหนดนโยบายให้มีการนาวรรณกรรมทางวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์ รายงานการค้นคว้าอิสระ รายงานการประชุมของมหาวิทยาลัย มาเผยแพร่แบบ OA เช่น Australian Digital Theses program (ADT) http://adt.caul.edu.au/ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเผยแพร่งานวิจัยฉบับเต็ม มี วัตถุประสงค์เพื่อทาให้การเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นงานวิจัยเพิ่มขึ้นและส่งเสริมงานวิจัยของ ออสเตรเลียสู่สากล ADT program จึงถูกจัดขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยใน ประเทศออสเตรเลีย 7 แห่งประกอบด้วย University of New South Wales, University of Melbourne , University of Queensland , University of Sydney , Australian National University , Curtin University of Technology และ Griffith University โดยเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นสาหรับ เผยแพร่ผลงานวิจัยฉบับเต็มให้แก่บุคคลทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถจัดเก็บผลงานวิจัย เพื่อเป็น ประโยชน์ในการทาวิจัยแก่นักศึกษาต่อไป ADT program ใช้มาตรฐานการจัดเก็บเมทาดาทาของ Dublin core Metadata ในการอธิบายเนื้อหาของผลงานวิจัย สถาบันที่สนใจสามารถสมัครสมาชิก ได้โดยกรอกแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ของ http://adt.caul.edu.au/memberinformation/howtojoin ซึ่ง ปัจจุบันมีสถาบันต่างๆทั่วโลกจานวน 42 แห่ง เข้าร่วมเป็นสมาชิก และสถาบันเหล่านั้นอนุญาตให้ เข้าไปสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสถาบันตนเองผ่านการสืบค้นของ ADT program ได้เช่นกัน ทาให้การเผยแพร่ผลงานวิจัยกว้างขวางมากยิ่งขึ้น (Council of Australian University Librarian, 2010) 4.6 กาหนดนโยบายให้นาวารสารทั้งหมดที่จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของให้บริการเป็น OAJ 5. นักศึกษา (Students) นักศึกษาสามารถช่วยส่งเสริมการเข้าถึงเอกสารแบบเปิ ด สาธารณะได้ดังนี้ 5.1 ช่วยปรับปรุงหรือพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Opensource software) เพื่อเป็น เครื่องมือสาหรับการจัดทา OA 5.2 แนะนาหรือเผยแพร่การใช้ OA ให้แก่เพื่อน เครือข่ายต่างๆ หรือใช้ช่องทาง แบบเป็นทางการเช่น สภานักเรียนนักศึกษาในการช่วยประชาสัมพันธ์
  • 12. 2-K12 5.3 ช่วยเข้าใช้แหล่งข้อมูลที่อาจารย์หรือสถาบันได้จัดทาเป็น OA ยกตัวอย่างเช่น Massachusetts Institute of Technology (MIT)5 ได้กาหนด ให้นักศึกษาสามารถช่วยส่งเสริม OA ได้ดังนี้ ในฐานะผู้ใช้ 5.3.1 วิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ 5.3.2 เรียนรู้การใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในสาขาวิชาของตน และนาไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล 5.3.3 นาสารสนเทศไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เคารพสิทธิของ ผู้เขียน 5.3.4 ห้องสมุดควรจัดบริการช่วยเหลือนักศึกษาในการแนะแหล่งการ อ้างถึงสารสนเทศ และหลีกเลี้ยงการคัดลอกผลงานวิจัยโดยไม่ได้อ้างถึง ในฐานะผู้เขียน เมื่อนักศึกษาที่จะเป็นผู้ทาผลงานวิจัยหรือเป็นนักวิชาการต่อไปในอนาคต จาเป็นต้องทราบวิธีการเผยแพร่ การตีพิมพ์OA โดย 5.3.5 เมื่อเข้าใช้เอกสารหรือผลงานวิจัยต่างๆ ต้องทราบเกี่ยวกับ กฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา 5.3.6 เรียนรู้วิธีการวัดคุณภาพผลงานทางวิชาการ 5.3.7 ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับช่องทางการตีพิมพ์ และ พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตีพิมพ์ องค์กรต่างๆ (Organizations) ในฐานะองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมีส่วนช่วยพัฒนาสังคมทางวิชาการให้มี ความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาไปสู่สากล องค์กรต่างเหล่านี้อาจจะเป็นแรงผลักดันหรือเป็น ต้นแบบในการจัดทา OA ให้แก่สังคมหรือชุมชน หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา OA ซึ่งเป็น การส่งเสริมอีกวิธีหนึ่ง โดยการส่งเสริม OA นั้นก็จะขึ้นอยู่กับองค์กรแต่ละประเภท ดังนี้ 1. ผู้จัดการประชุมสัมมนา (Conference Organization) ในการจัดประชุมหรือสัมมนา ขององค์กรแต่ละครั้ง จะต้องเกิดรายงานการประชุม รายงานความก้าวหน้า หรือเอกสาร 5 MIT เป็นสถาบันการศึกษาเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริจด์ รัฐแมซซาชูเซส (Massachusetts Institute of Technology, n.d.)
  • 13. 2-K13 ประกอบการสัมมนาต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์สาหรับผู้ใช้บางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ เช่น World Health Organization (WHO) จัดการสัมมนาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ผู้จัดการสัมมนาควรนา เอกสารประกอบการสัมมนาเผยแพร่เป็น OA หรือจัดเก็บไว้คลังจัดเก็บเอกสารขององค์กร เพื่อให้ ผู้ใช้ในองค์กรหรือบุคคลภายนอกสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี เป็นต้น ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการประชุมสัมมนาในการส่งเสริม OA ได้แก่ 1.1 ตีพิมพ์รายงานการประชุมและเผยแพร่เป็น OA 1.2 กาหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิ์ของการจัดทาเอกสารต่างๆ เป็น OA 2. ผู้จัดการคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน (Institutional Repositories Implementers) ผู้จัดการคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันอาจจะเป็นนักสารสนเทศหรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันนั้นๆ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจทางด้านโปรแกรมการจัดทาคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันและ OA เป็น อย่างดี เพื่อสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิด OA อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 ศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งคลังจัดเก็บเอกสารสถาบันและการบริหารจัดการคลัง จัดเก็บเอกสารของสถาบันสารสนเทศอื่นๆ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือสร้างความ ร่วมมือกับคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบันสารสนเทศของดีให้ดียิ่งขึ้น อาจจะศึกษาได้จาก OpenDOAR http://www.opendoar.org/countrylist.php ที่รวบรวมรายชื่อและการจัดทาของคลัง จัดเก็บเอกสารของสถาบันต่างๆ ที่จัดทาในแต่ละประเทศทั่วโลก (University of Nottingham, 2010) 2.2 พัฒนาคานิยามการบริการ (Service Definition) และ แผนการบริการ (Service Plan) เช่น นโยบายการให้บริการ การถึงกาหนดขอบเขตของการบริการทางด้าน OA 2.3 เลือกแผนงานหรือหลักการของ OA ที่สอดคล้องกับการจัดทาคลังจัดเก็บ เอกสารของสถาบัน 2.4 เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรให้มากที่สุด 2.5 ลงทะเบียนคลังจัดเก็บสารสนเทศของสถาบันตนเองในทะเบียนสาธารณะ ของคลัง Open Archive Initiative (OAI) 2.6 ส่งเสริมการให้บริการและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรใช้บริการ แหล่งสารสนเทศ OA 3. สานักพิมพ์ (Publications) สานักพิมพ์เป็นแหล่งจัดทาและเผยแพร่ทรัพยากร สารสนเทศที่สามารถส่งเสริม OA ได้คือ 3.1 ให้ผู้เขียนสามารถคงสิทธิได้เฉพาะสิทธิของการพิมพ์ครั้งแรกและสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
  • 14. 2-K14 3.2 อนุญาตให้ผู้เขียนสามารถนาเสนอบทความที่เป็น OA ในคลังจัดเก็บเอกสาร ของสถาบัน 3.3 ใช้โปรแกรมรหัสเปิดสาหรับการจัดการวารสาร เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เช่น Open Journal Systems หรือ DPubs 3.4 สานักพิมพ์ต้องนาลิขสิทธิ์และนโยบายการจัดเก็บบทความวารสารเผยแพร่ที่ Project SHERPA ซึ่งเป็นแนวทางสาหรับผู้เขียนที่สนใจจัดทา OA สามารถเข้าไปตรวจสอบหรือ ศึกษารูปแบบการตีพิมพ์ของสานักพิมพ์ต่างๆ ที่ SHERPA RoMEO ได้(SHERPA RoMEO, 2010) 3.5 สานักพิมพ์ควรจัดทาเมทาดาทาของบทความ ภายใต้มาตรฐาน OAI-PMH ซึ่งจะทาให้บทความนั้นได้รับการเผยแพร่ ค้นหา และเข้าถึงมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สานักพิมพ์ Inderscience ซึ่งเป็นสานักพิมพ์ขนาดกลาง ได้สร้างมาตรฐานการจัดเก็บ OAI เพื่อเปิดเป็ดแหล่ง สาหรับถ่ายโอนเมทาดาทาของสิ่งพิมพ์ สานักพิมพ์ Inderscience มีความเห็นว่าการแบ่งปันเมทาดา ทาด้วยวิธีเก็บมาตรฐาน OAI-PMH นี้ทาให้ลดค่าใช้จ่ายและการพิมพ์เกิดประสิทธิผลมากขึ้น 3.6 สานักพิมพ์หนังสือควรใช้กลยุทธ์เดียวกันกับสานักพิมพ์วารสารในการ กาหนดนโยบายหรือแนวคิดการจัดทาหนังสือ OA 3.7 เข้าร่วม PubMed Central Back Issue Digitization เพื่อนาวารสารฉบับก่อน หรือฉบับเก่าย้อนหลังที่ได้จัดพิมพ์มาทาเป็นรูปแบบดิจิทัล 3.8 สานักพิมพ์ควรเปิดให้ GS เข้ามาเก็บเกี่ยวเมทาดาทา เนื่องจากจะทาให้ ผลงานทางวิชาการที่สานักพิมพ์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว 4. แหล่งทุนต่างๆ (Foundations) แหล่งทุนมีส่วนช่วยส่งเสริม OA ซึ่งจะเป็นการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเผยแพร่ ความรู้ด้านวิชาการ โดยคานึงถึงการเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นสิ่งจาเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของการ วิจัย 4.1 จัดทานโยบายที่สนับสนุนการทาวิจัยโดยการให้เงินทุนในการทาวิจัย และ สร้างข้อตกลงให้ผู้รับทุนวิจัยยินยอมที่จะนาผลงานของตนให้บริการ OA 4.1.1 อาจยกเว้นการจัดทา OA กับงานวิจัยทางทหาร เอกสาร สิทธิบัตร และผลงานที่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ 4.1.2 ควรให้ผู้วิจัยเลือกระหว่างการจัดทาแบบคลังจัดเก็บเอกสารของ สถาบันและ OAJ ถ้าผู้วิจัยเลือกคลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน ควรจะได้รับอนุญาตให้จัดเก็บ ผลงานไว้ในคลังจัดเก็บเอกสาร OA ของสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่จาเป็นต้องเป็นคลังเก็บ เอกสารของสถาบันตนเอง อาจจะเป็นขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือของสถาบันการศึกษา
  • 15. 2-K15 มหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะทาให้เอกสารสามารถเข้าถึงและใช้งานร่วมกันได้รวมถึง เป็นการอนุรักษ์เก็บรักษาเอกสารในระยะยาวอีกด้วย 4.2 เมื่อผู้รับทุนวิจัยตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน OAJ และเสียค่าใช้จ่ายสาหรับ กระบวนการจัดทา หรือเสนอให้จ่ายค่าธรรมเนียม แหล่งทุนควรจะสนับสนุนต้นทุนค่าเผยแพร่ เอกสาร OA เนื่องจากค่าเผยแพร่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสาหรับการวิจัยและเมื่อมีบทความหรือ ผลงานวิจัยที่อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับองค์กร องค์กรควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับทุนวิจัย ส่งผลงานหรือบทความวิจัยเพื่อจัดทาในรูปแบบ OAJ 4.3 สนับสนุนเงินทุนแก่ทางมหาวิทยาลัยเพื่อให้ช่วยจัดทาคลังจัดเก็บเอกสาร ของสถาบัน 4.4 สนับสนุนเงินทุนสาหรับกระบวนการจัดทา OAJ 4.5 แหล่งทุนสามารถสนับสนุนทุนให้แก่สานักพิมพ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับ การจัดทาเอกสาร OA เช่น บรรณาธิการต้องการเปิดตัววารสารฉบับใหม่เป็น OA 4.6 สนับสนุนทุนแก่วารสารเชิงพาณิชย์ทั่วๆไป เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปสู่ การจัดทาเป็น OA รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดทาในรูปแบบดิจิทัล เพื่อบรรณาธิการวารสาร ต่างๆจะได้นาวารสารของตนไปจัดทาเป็น OAJ ต่อไป 4.7 จัดทานโยบายหรือเงื่อนไข และรายละเอียดให้แก่ผู้ที่สนใจขอรับทุนการวิจัย และนาไปเผยแพร่ใน SHEARPA JULEIT http://www.sherpa.ac.uk/juliet/ ซึ่งเป็นแนวทางและ นโยบายให้แก่แหล่งทุนในการสนับสนุนทุนวิจัย (University of Nottingham, 2009) ยกตัวอย่างเช่น SPARC ยินยอมที่จะจัดทาคลังเก็บเอกสารขององค์กร เพื่อ จัดเก็บและเผยแพร่งานวิจัย ผลงานวิชาการต่างๆ ซึ่ง SPARC ส่งเสริมนโยบายทางด้าน OA และให้ ความร่วมมือในการหาแนวทางพัฒนาจัดทาคลังเก็บเอกสารทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค จากที่ได้กล่าวข้างต้น ถ้าแนวคิด OA ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทุก ภาคทุกส่วนในสังคม จะทาให้เกิดวรรณกรรมทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เกิดสังคมแห่งการวิจัย รวมถึงนวัตกรรมต่างๆในการพัฒนาประเทศชาติ นอกจากนั้น ยังเป็นตัวชี้วัดถึงความก้าวหน้าของ ประเทศ จากการเกิดขึ้นของงานวิจัย งานวิชาการต่างๆ อีกด้วย
  • 16. 2-K16 บรรณานุกรม Association of American Law Schools . (1998). Retrieved from Shttp://www.aals.org CERN Scientific Information Service . (n.d). How to promote OA? Retrieved from http://library.web.cern.ch/library/OpenAccess/Promoting.html Council of Australian University Librarian. (2010) . Australian Digital Theses program. Retrieved from http://adt.caul.edu.au/ University of Nottingham. (2010). Directory of Open Access Repositories. Retrieved from http://www.opendoar.org/find.php University of Nottingham. (2010). SHERPA RoMEO. Retrieved from http://www.sherpa.ac.uk/romeo/browse.php?fIDnum=|&la=en University of Nottingham. (2009). SHERPA JULIET. Retrieved from http://www.sherpa.ac.uk/juliet/ MIT Libraries. (n.d.). What can students do? Retrieved from http://info-libraries.mit.edu/ Open Access Scholarly Information Sourcebook . (2009). Case study: Medknow Publications. Retrieved from http://www.openoasis.org Open Access Scholarly Information Sourcebook . (2010). Citation impact. Citation impact. Retrieved from http://www.openoasis.org SPARC . (2011). Author Rights: Using the SPARC Author Addendum to secure your rights as the author of a journal article. Retrieved from http://www.arl.org/ St Andrews University Library. (2009). Research@StAndrewsfulltext. Retrieved from http://research-repository.st-andrews.ac.uk Swan, A. and Chan ,L . (2010). Promoting open access. Retrieved from http://www.openoasis.org Suber, P. (2007). What you can do to promote open access. . Retrieved from http://www.earlham.edu/~peters/fos/do.htm University of Florida .(n.d.). Publications of Thomas J. Walker. Retrieved from http://entnemdept.ufl.edu/ University of Michigan Author’s Addendum. (n.d.). Retrieved from http://www.lib.umich.edu
  • 17. 2-K17 What faculty can do to promote open access. (2008). Retrieved from http://api.ning.com/files/h0siTHvWNEzBGaOiACGxuoVgeuR9IYJfKGXpwShEAN OdVCEwKU4AoULPwyX2ckZO1ZGrQYRxOZt8- efa8Uohq8qXaKjdiMTR/Faculty What librarians can do to promote open access. (2008). Retrieved from http://www.uj.ac.za/EN/Library/Services/Institutional%20Repository/Documents/Li brarians.pdf What universities and administrators can do to promote open access. (2010). Retrieved ofrom http://library.uncw.edu/uploads/pdfs/OpenAccessUniversitiesandAdminCanDo.pdf