SlideShare a Scribd company logo
1 of 51
Download to read offline
พระพุทธรูปหินผา เมืองโปโลนนารุวะ




    ลังกากถา
    ∏
ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
          c
         £ปิยเมธี•
ลังกากถา                                                                              ค�านิยม
                        ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
                      ISBN : 978-974-000-000-0
                                                                                     บันทึกการเดินทางของท่านพระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ ที่ให้ชื่อว่า
ที่ปรึกษา :                                                                   “ลังกากถา” ได้น�าเรื่องราวของประเทศศรีลังกาที่ตนได้สัมผัสด้วยศรัทธา
พระเทพโพธิวิเทศ                     พระเทพกิตติโสภณ                           และได้เห็นด้วยตาตนเองเขียนขึ้นมาอย่างเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยอรรถรส
พระเทพกิตติโมลี                     พระวิเทศธรรมรังษี                         และเนื้อหาสาระที่ครบถ้วนทุกด้าน ด้วยใช้ตัวอักษรย่อน�าเข้าหาเนื้อหาที่
พระสุนทรพุทธิวิเทศ                  พระวิเทศธรรมกวี                           เป็นจุดเด่นของศรีลังกา ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้คนชาวสิงหล ด้านสถานที่ ด้าน
พระครูวิสิฐธรรมรส                   พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม ดร.          วัฒนธรรมชาวพุทธ และปรัชญาแฝงด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา ปัญญา ความ
พระครูสังฆรักษ์อ�าพล สุธีโร         ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
พระมหาอุดม ปภงฺกโร                  พระอาจารย์น้าว นนฺทิโย                    รู้ความสามารถ และประสบการณ์อันกว้างขวางในฐานะพระธรรมทูตของ
พระมหาเอกชัย สญฺญโต                 พระมหามนตรี คุตฺตธมฺโม                    พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ และสมฐานะแห่งภูมิปัญญามหาเปรียญธรรม ๙
พระมหาสมบูรณ์ จตฺตภโย ป.ธ.๙         พระวิญญู สิรญาโณ                          ประโยค ที่ได้เชื่อมประสานงานเขียนธรรมะง่าย ๆ กับสิ่งที่พบเห็นเป็นของ
ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี           ดร.จัด เกิดสบาย                           ฝากส�าหรับท่านทียงไม่เคยไปท่องเทียวประเทศนี้ และเป็นข้อมูลเตือนความ
                                                                                                ่ั               ่
                                                                              ทรงจ�าของท่านที่เคยไปมาแล้ว
ภาพโดย :       ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี          พระมหาท�านอง แสงชมพู
                                                                                     “ลังกากถา” เป็นงานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่ทรงคุณค่ายิ่ง ผู้อ่านเกิดความ
               พระมหาอเนก อเนกาสี              พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
พิสูจน์อักษร : พระมหาสัญชัย ชยสิทฺธิโก ป.ธ.๙   พระมหาสินชัย สิริธมฺโม ป.ธ.๗   รู้ความเข้าใจและเห็นภาพพจน์ของชาวพุทธสิงหล และประเทศศรีลังกาที่
               พระมหาสายันต์ อคฺควณฺโณ         พระบัญชาสิทธิ์ ชุตินฺธโร       เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และความเลื่อมใสศรัทธาทางศาสนา ผู้อ่านได้เห็น
               ดร.พระครูปลัดธนัญชัย อริญฺชโย   ดร.พระมหาชัชวาลย์ โชติปญฺโญ    ความส�าคัญของโบราณสถานและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ละแห่งในประเทศศรี
               น.ส.กชกร เอี้ยงกุญชร                                           ลังกา ซึ่งต่างสะท้อนถึงรากฐานที่หยั่งลึกของพระพุทธศาสนาในจิตใจของ
ปก/รูปเล่ม : นิรันดร รันระนา                                                  ประชาชน นับตั้งแต่เมืองอนุราธปุระ นครหลวงแห่งแรกของศรีลังกาและ
พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๕๔ จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม
                                                                              เมืองแรกที่พระพุทธศาสนาได้เข้าไปประดิษฐานไว้มั่น มหานครโปโลนนารุ
                                                                              วะ เมืองหลวงแห่งทีสองของศรีลงกา เมืองแคนดีทประดิษฐานพระธาตุเขียว
                                                                                                   ่         ั               ้ ี่                     ้
พิมพ์ที่ : หจก. นิติธรรมการพิมพ์                                              แก้ว ถ�้าอาโลกวิหาร เมืองมะตะเล แหล่งก�าเนิดการจารึกพระไตรปิฎก และ
๗/๕๘๒ หมู่ ๕ ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ๑๑๑๔๐
โทร. ๐-๒๔๔๙-๒๕๒๕, ๐๘-๑๓๐๙-๕๒๑๕ E-mail : niti2512@hotmail.com
                                                                              วัดกัลยาณี ศูนย์รวมแห่งศิลปะและมรดกทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

                                     2                                                                            3
ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นธรรมวิทยากรน�าจาริก (มัคคุเทศก์) แสวงบุญ
ในครั้งนี้ก็อดภูมิใจไม่ได้ในความวิริยะอุตสาหะ ของท่านพระมหาปิยะ อุตฺ
                                                                                                          ค�าน�า
ตมปญฺโญ เป็นศิษย์ผู้ติดตามไปด้วยในการจาริกแสวงบุญในครั้งนี้ ที่ได้เก็บ
รายละเอียดและจับประเด็นในการบรรยายให้ความรู้ตลอดระยะเวลา ๗ คืน                 “เกาะลังกานีเ้ ป็นของพระพุทธเจ้าเอง เป็นเสมือนคลังเต็ม
๘ วันในดินแดนพระพุทธศาสนาอายุ ๒,๓๐๐ปี ได้กลั่นกรองออกมาเป็นตัว            ไปด้วยแก้ว ๓ ประการ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของพวกมิจฉาทิฐิ
อักษรที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ คติความเชื่อ ข้อคิด หลักธรรม ดังกล่าวแล้ว   จะไม่ถาวรไปได้เลย เหมือนการอยูของพวกยักษ์ในสมัยโบราณ
                                                                                                            ่
จึงขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของท่าน มา ณ โอกาสนี้                            ไม่ถาวร ฉะนั้น” จากหนังสือปูชาวลี
                                                                                   ผู้เขียนมีความประทับใจในผู้คนและประเทศศรีลังกามากจากการ
ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี                                                    ได้พบปะพูดคุยในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และ
เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา                                      สหรัฐอเมริกา ชาวศรีลังกามีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีอัธยาศัยดียิ้มแย้ม
ประธานอ�านวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.                                 แจ่มใส ประกอบกับเคยศึกษาประวัตของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ผูอทศ
                                                                                                                 ิ                             ุ้ ิ
                                                                          ชีวตเพืองานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ความประทับใจจึงเพิมขึนเป็นเท่าทวีคณ
                                                                              ิ ่                                              ่ ้                ู
                                                                          เหตุนี้จึงปรารภอยู่ในใจว่า ถ้าเวลาและโอกาสอ�านวยจะเดินทางไปศรีลังกา
                                                                                   ปีพ.ศ.๒๕๕๔ มีการจัดประชุมสัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
                                                                          ทั่วโลก ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล พระธรรมทูตสายต่างประเทศจากทวีป
                                                                          ต่างๆ เดินทางมาร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
                                                                          เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มีพระคุณเจ้าและญาติ
                                                                          ธรรมอยากจะไปนมัสการพุทธสถานในศรีลงกา และให้ผมน�าคณะไปนมัสการ
                                                                                                                     ั
                                                                          พุทธสถานในลังกา มีความสนใจอยากไปด้วยไหม” เนื่องจากจะต้องเดินทาง
                                                                          กลับประเทศไทยในระยะเวลานั้นอยู่แล้ว ผู้เขียนจึงตอบตกลงอย่างไม่ลังเล
                                                                          สงสัย
                                                                                   เมื่อเดินทางไปศรีลังกาได้สัมผัสบรรยากาศ สถานที่ และผู้คน ยิ่งเพิ่ม
                                                                          ความประทับใจ ได้ข้อคิด และมองเห็นของดีที่ชาวศรีลังกามี คิดว่าน่าจะน�า
                                                                          สิ่งที่ได้พบจากประสบการณ์ตรงและการศึกษาของตนเองมาแลกเปลี่ยนกัน
                                  4                                                                           5
บ้าง เพือเป็นคติขอคิดให้ทานทังหลายทีมความสนใจในประเทศแห่งนีได้เรียน
        ่          ้          ่ ้       ่ี                        ้
รูรวมกัน ผูเ้ ขียนไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเกียวกับประวัตศาสตร์ บุคคล สถาน
  ้่                                        ่           ิ
ที่ และประเทศ เพราะมีผู้รอบรู้หลายท่านเขียนไว้แล้ว ซึ่งหาอ่านได้ทั่วไป
       ดังนันหนังสือเล่มนีผเขียนยังมีเจตนาทีเสนอข้อคิด คติเตือนใจ ให้แก่ผู้
              ้              ้ ู้             ่
อ่านทุกท่านเสมือน “ลังกา” เป็นบทเรียนแห่งการเรียนรูทผคนสามารถน�าไป
                                                       ้ ี่ ู้
ปรับใช้ในวิถีชีวิตประจ�าวันได้ในฐานะพุทธศาสนิกชน เช่นเดียวกัน

                          ด้วยความปรารถนาดี
                                ปิยเมธี




                                    6                                         7
สารบัญ
                                             หน้า
    ค�านิยม                                    ๓
    ค�าน�า                                     ๕
    เกริ่นน�า                                 ๑๑
    ประเทศหลากนาม                             ๑๑
    บรรพบุรุษของชาวสิงหล                      ๑๔
    ภาค ๑ : ข้อคิด ๘ ส. ของชาวศรีลังกา   ๑๕ - ๔๘
          ส.ที่ ๑ สังฆมิตตา                   ๑๖
          ส.ที่ ๒ สัทธา                       ๑๙
          ส.ที่ ๓ สาธุ                        ๒๔
          ส.ที่ ๔ สวดมนต์เก่ง                 ๒๙
          ส.ที่ ๕ ใส่ชุดขาว                   ๓๓
          ส.ที่ ๖ สมาธิ                       ๓๖
          ส.ที่ ๗ สรณังกร                     ๔๐
          ส.ที่ ๘ สยามวงศ์นิกาย               ๔๕
    ภาค ๒ : ๖ T ของดีศรีลังกา             ๔๙-๘๒
          T ที่ ๑ Bodhi Tree                  ๕๑
          T ที่ ๒ Tooth                       ๖๑
          T ที่ ๓ Tea                         ๖๕
          T ที่ ๔ Tradition                   ๖๙
          T ที่ ๕ Tourism                     ๗๑
          T ที่ ๖ True man                    ๗๘
8                                  9
ภาคผนวก                                           ๘๓-๙๘
                                                                                        เกริ่นน�า
                                                          ข
   ปกิณณกะศรีลังกา                                   ๘๓
   จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน
                                                                อกล่าวค�าทักทายที่ชาวสิงหลพูดเวลาพบกันว่า อายุบวร แปลว่า ขอให้
     บทที่ ๓๘                                       ๘๕
                                                                อายุยนยาว ค�าว่า อายุบวร คงไม่ใช่คาแปลกใหม่สาหรับชาวไทยมากนัก
                                                                     ื                            �            �
   ภาพการจาริกแสวงบุญ                               ๙๑
                                                          เพราะเป็นค�าที่ได้ฟังมาอย่างคุ้นเคยแล้วโดยเฉพาะชาวพุทธที่เข้าวัดท�าบุญ
   หนังสือประกอบการเขียน                            ๙๕
                                                          บ่อยๆ จะได้ฟังพรพระสงฆ์ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อายุบวร
                                                          มาจากค�า ๒ ค�า คือ อายุกบบวร อายุกคออายุ ส่วนค�าว่า บวร มีคาแปลหลาย
                                                                                   ั           ็ื                       �
เกี่ยวกับปิยเมธี                                    ๙๖
                                                          ประการ เช่น ประเสริฐ, เลิศล�้ายืนยาว รวมแล้วแปลว่า ขอให้มีอายุยืนยาว
ความเป็นมาของกองทุนปิยเมธี                          ๙๗
                                                                 ก่อนจะกล่าวถึงข้อคิดและของดีศรีลงกา ผูเ้ ขียนใคร่ขอน�าประวัตความ
                                                                                                    ั                        ิ
รายนามผู้ร่วมบริจาคพิมพ์หนังสือ                    ๑๐๐
                                                          เป็นมาของดินแดนคนมีฝ่ามือแดง (ตัมพปัณณิทวีป) มาเล่าสู่ผู้อ่านให้ทราบ
                                                          โดยสังเขปว่า ความเป็นมาอย่างไร ท�าไม ท�าไม ? ถึงเรียกประเทศแห่งนี้ว่า
                         ∏
                         w                                ศรีลังกา ใครเป็นบรรพบุรุษของชาวสิงหล ? ตลอดถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ควร
                                                          ทราบเกี่ยวกับชาวศรีลังกา ฉะนั้น เราอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลย ไปศึกษาด้วย
                                                          กันเลยดีกว่า
                                                                           ที่มาของชื่อ : ประเทศหลากนาม
                                                                 สมัยเป็นนักเรียนภาษาบาลีศกษาวิชาแต่งฉันท์พบค�าว่า ประเทศซีลอน
                                                                                             ึ
                                                          ถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รวาเป็นประเทศอะไร อยูทไหน พอรูตอนหลัง
                                                                                        ู้ ่                        ่ ี่     ้
                                                          ว่า ศรีลังกา กับ ซีลอน เป็นประเทศเดียวกันจึงถึงบางอ้อ ชาวพุทธที่ศึกษา
                                                          พระพุทธศาสนาคงเคยได้ยนค�าว่า นิกายลังกาวงศ์ คือพระพุทธศาสนาทีไทย
                                                                                    ิ                                             ่
                                                          รับเอาจากศรีลังกาในสมัยสุโขทัย มาดูกันว่าศรีลังกามีกี่นาม
                                                                 ชาวไทยส่วนมากเรียกประเทศนี้ว่า “ ลังกา” แปลว่า เกาะ ส่วน
                                                          นักศึกษาภาษาบาลี และตัวผู้เขียนเองรู้จักในนาม “ ตัมพะปัณณิทวีป” แปล
                                                          ว่า เกาะของคนมีฝ่ามือแดง ก็ยังมีชื่ออื่นอีกที่เรียกกัน เช่น “ลังกาทวีป” และ

                                  10                                                         11
“สิงหลทวีป” ส่วนชาวยุโรปเรียกว่า ซีลอน(CEYLON) ผู้รู้กล่าวว่า น่าจะมา           โสปาระ เมืองบอมเบย์) ไปถึงทีนน เจ้าชายพร้อมสมุนก็ไม่ทงนิสยเดิมยังเทียว
                                                                                                                ่ ั้                       ิ้ ั          ่
จากค�าว่า ซีแลนด์(Sea Land) ดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยทะเล แต่เรียกไป               ก่อความไม่สงบอีก จึงถูกจับเนรเทศลงเรืออีกรอบจนไปขึนทีเกาะลังกา วันที่
                                                                                                                                          ้ ่
เรียกมากลายเป็น ซีลอน(Ceylon) นับๆ ดูชื่อก็มีมากโข แถมในต�านานยัง               เจ้าชายวิชัยขึ้นเกาะลังกา ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
กล่าวไว้อีกว่า ในพระพุทธเจ้าแต่ละสมัยก็ชื่อไม่เหมือนกัน เช่น                    ทั้งมีต�านานเล่าว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท้าวสักกะพร้อมทั้งเทวดาและ
        - สมัยพระกกุสันโธพุทธเจ้า เรียกว่า โอชทีปะ หรือ โอชทวีป                 มนุษย์ทั้งหลายว่า “โอ ท้าวสักกะ! ธรรมของเราจะประดิษฐานในเกาะลังกา
        - สมัยพระโกนาคมพุทธเจ้า เรียกว่า วรทีปะ หรือ วรทวีป                     และในวันนี้เอง เจ้าฟ้าชายองค์โตของพระเจ้าสิงหพาหุกษัตริย์แห่งสิงหบุรี
        - สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า เรียกว่า มัณฑทีปะ หรือ มัณฑทวีป                  ในประเทศลาละ เสด็จขึ้นฝั่งที่เกาะนั้นพร้อมด้วยราชบริพาร ๗๐๐ คน และ
        สรุปแล้ว สมัยโบราณเรียก ลังกา สมัยอังกฤษปกครอง เรียก ซีลอน              จะเสวยราชสมบัติในเกาะนั้น ดังนั้น ขอพระองค์จงปกปักรักษาเจ้าชายนั้น
เมื่อได้รับเอกราชแล้ว จึงใช้ชื่อเดิมแล้วเติมค�าว่า ศรี ไปข้างหน้าเป็นศรีลังกา   พร้อมทังบริวารและทังเกาะลังกานันด้วยเถิด” หลังจากขึนเกาะแล้ว เจ้าชาย
                                                                                          ้               ้           ้                 ้
หมายความว่า เกาะที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง                                      วิชยได้ปราบคนพืนเมือง ตังเมืองหลวง สถาปนาพระองค์เป็นปฐมกษัตริยของ
                                                                                    ั                ้       ้                                         ์
                                                                                ประเทศศรีลังกา
บรรพบุรุษของชาวสิงหล                                                                    เกริ่นน�าเรื่องต่างๆ มาซะเนิ่นนาน ขอน�าท่านทั้งหลายดื่มด�ากับข้อคิด
         ถ้ า ใครเคยไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)ในพระบรม                 และของดีศรีลังกาที่น่าเอาเป็นแบบอย่างในการด�าเนินชีวิตได้แล้ว ณ บัด
มหาราชวัง มีโอกาสเดินชมผนังก�าแพงรอบในวัดจะเห็นภาพวาดมหากาพย์                   เดี๋ยวนี้
รามเกียรติเรืองราวการสูรบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ จะเห็นภาพหนุมาน
               ์ ่         ้
ฆ่าท้าวทศกัณฐ์ เผากรุงลงกา ซึ่งกรุงนี้คนส่วนมากลงความเห็นว่า ศรีลังกา
เมือนึกถึงเรืองรามเกียรติครังใด ท�าให้นกถึงกรุงลงกาพระราชวังของทศกัณฐ์
     ่          ่            ์ ้       ึ
ด้วย แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ใช่ต้นตระกูลของชาวศรีลังกา
         ในต�านานบอกไว้วา บรรพบุรษของชาวลังกา คือ เจ้าชายวิชย ทรงเป็น
                         ่          ุ                        ั
พระราชโอรสของพระเจ้าสิงหพาหุ และพระนางสิงหสีวลี แห่งเมืองสิงหบุรี มี
พระอนุชา ๑ พระองค์ นามว่า เจ้าชายสุมิตตะ เจ้าชายวิชัยเป็นคนเสเพลดื้อ
รัน พระองค์พร้อมบริวาร ๗๐๐ คน ชอบเบียดบังรังแกชาวบ้าน จนท�าให้พระ
   ้
ราชบิดาอดทนต่อพฤติกรรมไม่ไหว จึงจับโกนหัวเสียครึงหนึงเพือให้ชาวบ้าน
                                                     ่ ่ ่
รู้ว่าเป็นคนไม่ดี และเนรเทศทั้งหมดลงเรือไปถึงท่าเรือสุปปารกะ(ปัจจุบันคือ
                                    12                                                                             13
ภาค ๑
    q
  ข้อคิด ๘ ส.
ของชาวศรีลังกา
พระมหินทเถระเสด็จไปเกาะลังกาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะใน
                                                                             วันเพ็ญกลางเดือน ๗ ที่ภูเขามิสสกะ(ปัจจุบันเรียกว่า มิหินตะเล)ในขณะที่
                                                                             พระราชาเสด็จออกไปล่าเนือ ทรงสนทนาปราศัยทดลองสติปญญาซึงกันและ
                                                                                                       ้                              ั    ่
                               ส.                                            กันจนเกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา จากนั้นพระมหินทเถระก็แสดงธรรมโปรด

                            ที่q๑                                            พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมทั้งข้าราชบริพารจนเกิดความศรัทธาในพระ
                                                                             รัตนตรัย จนพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ถวายพระราชอุทยานมหาเมฆวัน
                                                                             ให้เป็นที่อยู่ของพระมหาเถระพร้อมคณะ ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งนี้กลายเป็น

              สังฆมิตตา หรือ                                                 วัด “มหาวิหาร”
                                                                                    พระมหินทเถระกล่าวกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะว่า ถ้าอยากให้
            พระนางสังฆมิตตาเถรี                                              พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาอย่างแท้จริงแล้ว ต้องให้กุลบุตร
                                                                             ในเกาะนี้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระศาสนา ซึ่งต่อมาพระราชนัดดา
                                                                             ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระนามว่าอริฎฐะและบริวารอีก ๕๕ คน ได้
      พระนามของพระนางสั ง ฆมิ ต ตาเถรี ยั ง ปรากฎเด่ น ชั ด อยู ่ ใ นหน้ า   ออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพระนางเป็นพระราชธิดาของ                         ในเวลาต่อมาพระนางเจ้าอนุฬา พระราชินีรองและพระสนมก�านัล
พระเจ้าอโศกมหาราชผูเกรียงไกร แต่เพราะวีรกรรมทีพระนางน�าภิกษุณสงฆ์
                        ้                          ่                 ี       แสดงความประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีบ้าง เมื่อพระมหินทเถระ
และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ในศรีลังกานั้นต่างหากเล่า ที่ท�าให้       ทราบจึงถวายค�าแนะน�าให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งราชทูตไปส�านัก
พุทธศาสนิกชนจดจ�าความดีงามอันนั้นอย่างที่เขาว่า “อยู่เพื่อตนเอง อยู่แค่      ของพระเจ้าอโศกมหาราช เพือทูลขอให้พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะเดิน
                                                                                                         ่
สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่ชั่วนิรันดร์”                                      ทางไปยังเกาะลังกาพร้อมทั้งน�ากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไป
      หลังจากการท�าสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร           ปลูกยังลังกาด้วย เพือเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์และเป็นสิรมงคลแก่ผสก
                                                                                                 ่                                      ิ        ู้ ั
เสร็จแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ท�าให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปรึกษา         การะบูชา ซึงกิงพระศรีมหาโพธิทพระนางน�าไปปลูกยังอยูเป็นศูนย์รวมจิตใจ
                                                                                           ่ ่             ์ ี่                     ่
กับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเรื่องการพระศาสนา และทรงส่งพระธรรมทูต              ของชาวพุทธลังกาจนถึงปัจจุบันนี้มีอายุกว่า ๒,๓๐๐ ปี
๙ สายออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิศานุทิศ ๑ ใน ๙ สายนั้นคือการ                        ในคัมภีรอรรถกถาสมันตปาสาทิกากล่าวถึงการเสด็จไปเกาะลังกาของ
                                                                                               ์
ส่งพระมหินทเถระพร้อมคณะเดินทางไปประกาศพระพุทธศาสนาในเกาะ                     พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะทีนากิงพระศรีมหาโพธิไปปลูกทีเ่ มืองอนุราธ
                                                                                                                ่ � ่           ์
ตัมพปัณณิทวีปด้วย
                                   16                                                                          17
ปุระ พร้อมทังท�าการอุปสมบทพระนางอนุฬาและพระสนม เป็นพิธกรรมทียง
             ้                                             ี     ่ ิ่
ใหญ่อลังการน่าเลื่อมใสอันแสดงออกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่กษัตริย์
ทั้ง ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมี
ต่อพระพุทธศาสนา เห็นถึงความเสียสละอันยิงใหญ่ของพระมหินทเถระและ
                                            ่
                                                                                                       ส.
พระนางสังฆมิตตาเถรีแล้วควรที่เราอนุชนรุ่นหลังควรเอาเป็นแบบอย่างใน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป ขอจบส.ที่ ๑ ด้วยกฤษณาสอนน้องค�าฉันท์
                                                                                                    ที่q๒
ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสที่ว่า
                 พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
           โททนต์เสน่งคง       ส�าคัญหมายในกายมี
                                                                                                      สัทธา
           นรชาติวางวาย        มลายสิ้นทั้งอินทรีย์                            มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา
           สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
           ความดีก็ปรากฎ กิติยศก็ฤาชา
           ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจรฯ                                        เมื่อมีโอกาสเดินทางไปประเทศศรีลังกา ดินแดนพระพุทธศาสนา
       ทุกวันนีชาวศรีลงกาจะมีพธแห่รปปันพระนางสังฆมิตตาเถรี เพือระลึก
               ้       ั       ิี ู ้                         ่         ๒,๓๐๐ ปี ความประทับใจแรก หรือเฟิร์ส อิมเพรสชั่น (First Impression)
ถึงคุณงามความดีที่พระนางทรงท�าไว้ และแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที         คือ ความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนา และกล้าแสดงออกให้
ต่อพระนาง                                                               เห็น (กล้าคิด กล้าพูด กล้าท�าในสิงทีถกต้อง) เป็นต้นว่าพระพุทธรูปปางสมาธิ
                                                                                                          ่ ู่
                                                                        สีขาวที่ประดิษฐานไว้ภายในสนามบินแห่งชาติ เมืองโคลัมโบให้คนเดินทาง
                                                                        ไป-มาได้เคารพกราบไหว้เป็นสิริมงคแก่ชีวิต และสิ่งที่ประทับใจอีกประการ
                                                                        ต่อมา คือ ภายในสนามบินจะมีร้านหนังสือธรรมะ พร้อมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
                                                                        พระพุทธศาสนาไว้ให้คนได้เลือกอ่าน และซื้อหาติดตัวไว้เป็นที่ระลึก
                                                                               สมัยที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษาพักอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา เมืองพุทธคยา รัฐ
                                                                        พิหาร ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาประวัติของวีรบุรุษชาวพุทธศรีลังกา นามว่า
                                                                        อนาคาริกะ ธรรมปาละ ผูกอตังสมาคมมหาโพธิ์ (Mahabodhi Society) และ
                                                                                                   ้่ ้
                                                                        เป็นผูมสวนส�าคัญในการฟืนฟูพทธสถานทีส�าคัญในแดนพุทธภูมทชาวพุทธทัว
                                                                              ้ี่                   ้ ุ             ่                 ิ ี่       ่

                                 18                                                                        19
ด้วยวิธีต่างๆ ของชาติตะวันตก (โปรตุเกส, ฮอลันดา และชาวอังกฤษ) และ
                                                                         ศาสนาทีชาวตะวันตกน�าเข้าไปเผยแพร่ แต่ดวยความศรัทธาของชาวสิงหลที่
                                                                                     ่                                    ้
                                                                         มีต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง (อจลสัทธา) ท�าให้สามารถรักษาพระพุทธ
                                                                         ศาสนาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
                                                                                ผลงานที่ชาวศรีลังกาแสดงออกถึงความรักและศรัทธาต่อพระพุทธ
                                                                         ศาสนานั้นมีมากมาย เช่น การออกมาปกป้องเมื่อพระพุทธศาสนามีภัย
                                                                         คุกคาม หรือถูกลบหลูดวยชาวต่างชาติตางศาสนาทีไม่เคารพหรือไม่เข้าใจใน
                                                                                                  ่้                  ่         ่
                                                                         วัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธ เช่น การที่ชาวต่างชาติหรือคนไม่มีศาสนา
                                                                         เปลืองผ้านังบนบ่าของพระพุทธรูปแล้วถ่ายภาพโฆษณาไปทัวโลก รวมถึงเมือ
                                                                              ้         ่                                           ่             ่
                                                                         พ.ศ.๒๕๔๐ ชาวพุทธศรีลงการ่วมกับชาวพุทธทัวโลก เรียกร้องไม่ให้พวกทาลิ
                                                                                                      ั                     ่
                                                                         บันท�าลายพระพุทธรูปใหญ่ทพามิยาน ในอัฟกานิสถานช่วยชะลอการท�าลาย
                                                                                                           ี่
โลกไม่ควรลืมคุณูปการของท่าน เกิดความเลื่อมใสใจศรัทธามากในปณิธาน          มาเป็นเวลาหลายปี แต่ในทีสดพวกทาลิบนก็ได้ระเบิดท�าลายพระพุทธรูปใหญ่
                                                                                                        ุ่              ั
การท�างาน การเสียสละอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาของท่านอนาคาริกะ          ที่พามิยานเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔
ธรรมปาละ ถึงกับตั้งจิตอธิษฐานก่อนท่านมรณภาพว่า “จะขอเกิดอีก ๒๕                  สิงหนึงทีผเู้ ขียนจ�าได้ดี คือ การทีสหประชาชาติประกาศให้วนวิสาขบูชา
                                                                                  ่ ่ ่                             ่                    ั
ชาติ ในตระกูลพราหมณ์ เพื่อท�างานให้พระพุทธศาสนา” แม้ในประเทศศรี          (วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า) เป็นวันส�าคัญของโลก
ลังกาเองตามหัวเมืองต่างๆ จะมีรูปปั้นของท่านตามทางสี่แยกไว้ให้คนกราบ      ก็เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของชาวศรีลังกาที่ช่วยกันเรียกร้องให้องค์กรระดับ
ไหว้ ไม่ต่างจากประเทศอินเดียที่ปั้นรูปของท่านมหาตมะ คานธี ไว้ให้คนสัก    โลกยอมรับ โดยรัฐบาลศรีลังกาเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ ๕๔
การะตามหัวเมืองต่างๆ                                                     ปีพ.ศ.๒๕๔๒ และเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ สหประชาชาติจึงมีมติให้
        ก่อนจะเดินทางไปเยือนศรีลังกา (เดินทางระหว่างวันที่ ๕ – ๑๒ ก.พ.   วันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของโลก และที่ส�าคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ
๒๕๕๔) ได้ศกษาประวัตศาสตร์ของประเทศและพระพุทธศาสนา ท�าให้ทราบ
             ึ        ิ                                                  การปฏิบตตอพระพุทธรูปเสมือนหนึงพระพุทธเจ้า เช่น การกางมุงให้พระพุทธ
                                                                                       ัิ่                       ่                     ้
ว่า ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้าไปประดิษฐานในดินแดนคนมีฝ่ามือแดง ซึ่ง         รูปยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม และระเบียบเรื่องการถ่ายภาพที่ห้ามหันหลังให้
พระมหินทเถระ (พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช) และคณะน�าพระ               พระพุทธรูป เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพ ล้วนแสดงออกถึงความเคารพต่อ
สัทธรรมไปมอบแด่ชาวสิงหลจนพระพุทธศาสนาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ตั้งแต่           พระรัตนตรัยทั้งสิ้น
บัดนั้นจนถึงบัดนี้ พระพุทธศาสนาในศรีลังกาได้ผ่านมรสุมจากการรุกราน               เมือกล่าวถึงศรัทธาของชาวสิงหล ท�าให้นกถึงอุบาสกธรรม หรือธรรมะ
                                                                                   ่                                          ึ
                                 20                                                                         21
ร�าพึงกับตัวเองว่า เรามีศรัทธาแบบเขาไหม และสามารถจะรักษาพระศาสนา
                                                                          ไว้ได้ไหม ถ้ามีวกฤติพระพุทธศาสนาเกิดขึน ขออย่าให้ศรัทธาของเราเป็นเช่น
                                                                                          ิ                        ้
                                                                          ศรัทธาหัวเต่าเลย แต่จงเป็นศรัทธาที่เดินเคียงคู่กับปัญญาจะได้น�าพาพระ
                                                                          ศาสนาและประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย
                                                                                      ศรัทธาดี            ต้องมี          ปัญญาจับ
                                                                                  ช่วยก�ากับ              พร้อมกันไป ไม่ห่างเหิน
                                                                                  หากศรัทธา               ขาดปัญญา        หมดเจริญ
                                                                                  เหมือนเรือเดิน          ไร้หางเสือ      เพลียหลงทาง




ของอุบาสกอุบาสิกาที่ควรมี ชาวพุทธคงจ�ากันได้ดีถึงคุณสมบัติอันส�าคัญ ๕
ข้อ แต่ขอน�ามากล่าวไว้ในที่นี้ เพียง ๓ ข้อ คือ
      - มีสัทธา (ศรัทธา) คือ มีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น เชื่อ
ในกฎแห่งกรรม ว่าท�าดีได้ดี ท�าชั่วได้ชั่ว เชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระ
สงฆ์ เป็นต้น
      - มีศล คือ มีสติสามารถควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้เป็น
               ี
ไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
      - ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เป็นกระต่ายตื่นตูม มุ่งหวังผลจากการกระท�า
และการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
      เมื่อเห็นความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้แต่
                                 22                                                                       23
ทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน สิ่งที่
                                                                             ได้ยินประจ�าคือเสียงสาธุการที่ชาวลังกาตั้งใจเปล่งออกมาด้วยความเลื่อมใส
                                                                             ศรัทธา ตอนเช้าๆ ชาวศรีลังกาใส่ชุดสีขาวเข้าแถวเดินไปเจดีย์พุทธคยา ต้น
                               ส.                                            พระศรีมหาโพธิ์ โดยมีพระภิกษุเดินน�าหน้าพูดธรรมะให้ฟัง ญาติโยมก็พร้อม

                            ที่q๓                                            กล่าวค�าว่า สาธุ สาธุ สาธุ ฯลฯ ตลอดทาง
                                                                                    ในนิทานธรรมบท มีบอยครังทีพระภิกษุทาความดีแล้วพระพุทธเจ้าจะ
                                                                                                         ่ ้ ่                 �
                                                                             ยกย่องสดุดี ด้วยตรัสค�าว่า สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว ดีแล้ว เธอท�าดีแล้ว ค�าว่า สาธุ

                    สาธุ                                                     แปลว่า ดีแล้ว เป็นการอนุโมทนากับสิงทีคนอืนท�าดี เป็นบุญอย่างหนึง ภาษา
                                                                                                                    ่ ่ ่
                                                                             พระเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญส�าเร็จด้วยการอนุโมทนายินดีกบความดีที่
                                                                                                                                                 ั
                                                                                                                                                     ่

            เสน่ห์ของชาวศรีลังกา                                             คนอื่นท�า ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า อย่าคร้านอนุโมทนาบุญ ท�าให้นึกถึงค�าพูด
                                                                             ของพระเดชพระคุณพระเทพโพธิวเิ ทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา อินเดีย ซึง                ่
                                                                             มีคนมาถามความคิดเห็นของท่านเกียวกับการสร้างวัดไทยในแดนพุทธภูมซง
                                                                                                                  ่                                       ิ ึ่
       มีค�าโบราณกล่าวไว้ว่า เวลาท�าบุญขอให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดชาติใด     มีวัดเกิดขึ้นมากมาย ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ใครท�าดี เราอนุโมทนาด้วย”
ภพใด ขออย่าให้เกิดเป็น “พระลังกา ม้าอินเดีย เมียฮินดู หมูไทย ไก่จน” ท�าไม
                                                                 ี
นะเหรอ ? เพราะชาวลังกานัน ถ้าจะบวชเป็นพระ ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะ
                              ้
เมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ ส่วนม้าอินเดีย เมียฮินดู คนที่เคยไปประเทศ
อินเดียคงเข้าใจว่า เกิดเป็นม้าอินเดีย และเมียฮินดูล�าบากแค่ไหน ส่วนหมู
ไทย และไก่จีนคงทราบกันดีว่า หัวหมู และไก่นั้น เมื่อถึงเทศกาลส�าคัญจะ
ถูกเฉียดน�าไปเซ่นไหว้เทพเจ้าเป็นประจ�า
       เกริ่นมาซะนาน เพื่อจะพูดถึงเสน่ห์ที่ส�าคัญอีกประการหนึ่งของชาว
พุทธลังกา คือค�าว่า สาธุ ท�าไมถึงเป็นเสน่ห์แค่พูดว่าสาธุ ไม่เห็นจะยากเย็น
ตรงไหน หลายท่านอาจตังค�าถามในใจ ไม่เป็นไร เดียวจะไขข้อข้องใจให้คลาย
                           ้                       ๋
สงสัย เมือผูเ้ ขียนเป็นนักศึกษาอยูเ่ มืองพุทธคยาสถานทีตรัสรูของพระพุทธเจ้า
         ่                                            ่ ้
ประเทศอินเดีย บ่อยครังทีได้พบชาวสิงหลเดินทางมานมัสการสังเชนียสถาน
                          ้ ่
                                   24                                                                               25
ในพระไตรปิฎกมีเรืองเล่าว่า มีชายคนหนึงไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
                         ่                   ่                                  พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงสัยว่า จะมีด้วยเหรอ? คนที่กลิ่นปาก
หลังจากฟังแล้ว เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงไปขออนุญาต          หอมคล้ายกลิ่นดอกบัว ลองไม่เคี้ยวไม้สีฟันสักวันคงเหม็นน่าดู ยิ่งสมัยนี้ถ้า
ภรรยาออกบวช ครั้นบวชแล้ว ประเพณีในสมัยนั้นเมื่อภรรยาเป็นหม้าย จะ         ไม่ได้แปรงฟันคงไม่มีใครกล้าสนทนากับคนอื่น ทรงต้องการที่จะพิสูจน์ว่า
ถูกริบเข้าหลวงเป็นสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองเมืองสาวัต      จริงหรือไม่ จึงให้ข้าราชบริพารไปกราบนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระรูปนั้น
ถี แคว้นโกศล                                                             มาฉันภัตตาหารในพระราชวัง เมื่อฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้า
       วั น หนึ่ ง นายมาลาการเก็ บ ดอกบั ว มาถวายพระเจ้ า ปเสนทิ โ กศล   ทรงทราบความประสงค์ของพระราชาจึงเปิดโอกาสให้พระรูปนั้นอนุโมทนา
พระองค์ทรงมอบดอกบัวให้กบพระมเหสีและสนมทุกพระองค์ พร้อมทังทรง
                            ั                                     ้      ทันทีที่พระรูปนั้นเปิดปากพูด กลิ่นหอมก็ฟุ้งไปทั่วพระนคร จนท�าให้พระเจ้า
ยื่นดอกบัวให้สนมนางนั้นด้วย เมื่อนางรับดอกบัวแล้ว ยิ้มด้วยความดีใจ แต่   ปเสนทิโกศลแปลกพระทัย และทูลถามพระพุทธองค์วา พระรูปนีในอดีตชาติ
                                                                                                                             ่       ้
เมือรับมาแล้วดมกลับร้องไห้ ท�าให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสงสัยว่า เกิดอะไร
    ่                                                                    ได้ท�ากรรมอันใดไว้ จึงมีกลิ่นปากหอมเช่นนี้
ขึ้นกับนาง จึงตรัสถาม                                                           พระพุทธเจ้าทรงวินจฉัยว่า ในอดีตชาติ พระรูปนีไม่ได้ทาอะไรมากมาย
                                                                                                  ิ                            ้   �
       พระนางทูลตอบว่า ดีใจทีได้รบพระราชทานดอกบัว แต่ทรองไห้ เพราะ
                              ่ ั                         ี่ ้           เพียงแต่เวลาที่คนอื่นท�าความดี จะกล่าวอนุโมทนาสาธุกับเขา คือ ยินดีกับ
กลิ่นหอมของดอกบัวคล้ายกับกลิ่นปากของอดีตสามี ซึ่งตอนนี้ท่านบวชเป็น       ความดีที่คนอื่นท�า
สมณะ ศากยะบุตรอยู่




                                 26                                                                        27
ส.
                                                                     ที่q๔
                                                               สวดมนต์เก่ง
                                                “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” พวกเราได้ยินค�าพูดนี้บ่อยๆ
                                        คนส่วนมากก็ยงไม่เข้าใจว่ามีความหมายอย่างไร บางคนอาจจะคิดเลยเถิดไป
                                                        ั
           การกล่ า วสาธุ กั บ การ      ว่าเป็นเพียงค�าคล้องจองทีพระนิยมพูด ในต่างประเทศ มีการวิจยจากสถาบัน
                                                                  ่                                 ั
     ท�าความดีของคนอื่น นอกจาก          ชั้นน�าหลายแห่งทั่วโลกเกี่ยวกับการสวดมนต์ว่ามีผลดีต่อสุขภาพกาย และ
     จะเป็ น การสนั บ สนุ น ให้ ค น     สุขภาพจิต เพราะในขณะที่สวดอยู่นั้น จิตใจของผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวด
     ท�าความดีตามหลักที่ว่า ปัคคัณ      มนต์ ไม่วอกแวก วุ่นวาย เป็นจิตที่สงบ พบความสว่าง ทั้งการสวดมนต์ยัง
     เห ปัคคะหาระหัง ยกย่องคน           เสมือนเป็นการออกก�าลังกายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะการ
     ที่ควรยกย่องแล้ว ยังเป็นการ        เปล่งเสียงสวดอักขระแต่ละตัวนั้นเสมือนการเคลื่อนไหวอวัยวะในร่างกาย
     ปลูกฝังให้จิตใจของผู้กล่าวไม่      เนื่องจากอักขระแต่ละตัวมีที่เกิดไม่เหมือนกัน เช่น ก ไก่ เกิดที่คอ, ป ปลา
     ริษยาในเมื่อคนอื่นท�าดีและได้      เกิดที่ริมฝีปาก เป็นต้น จึงเท่ากับเป็นการออกก�าลังกายไปในตัวอีกโสตหนึ่ง
     ดีอีกด้วย เมื่อเห็นคนอื่นท�าดี     ด้วย ในขณะที่สวดมนต์อยู่นั้น ถ้าจิตเป็นสมาธิคือตั้งมั่นแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่
     ลองกล่าวค�าว่าสาธุสิ จะได้รู้ว่า   สวด จะท�าให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบ เมื่อใจสงบไม่มีสิ่งรบกวน(กิเลส) กาย
     มีความสุขใจแค่ไหน                  ก็พลอยสงบระงับไปด้วย เพราะกายกับจิตเนื่องถึงกัน สังเกตได้ว่า เมื่อเรา
                                        เครียด ร่างกายผิวพรรณก็พลอยเศร้าหมองไม่ผ่องใสไปด้วย ปราชญ์จึงบอก
28                                                                          29
ว่า “ออกก�าลังกายต้องเคลื่อนไหว ออกก�าลังใจต้องหยุดนิ่ง”                      ของพวกเราก็ขึ้นไปบนชั้นสองของหอที่เก็บพระธาตุเขี้ยวแก้ว มีชาวศรีลังกา
          วันที่คณะผู้เขียนเดินทางไปสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว ณ วัดพระ         นังสมาธิบาง นังสวดมนต์บาง(การนังของชาวลังกาส่วนมากจะนิยมเหยียดขา
                                                                                 ่         ้ ่            ้       ่
ธาตุเขี้ยวแก้ว กว่าจะผ่านเข้าไปภายในวัดต้องผ่านด่านตรวจหลายครั้ง              เคยเห็นชาวลังกานังฟังพระเทศน์ ประนมมือ และเหยียดเท้าไปทางพระ คนที่
                                                                                                   ่
โดยเฉพาะฆราวาส ส�าหรับ                                                        ไม่เข้าใจอาจเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดกบเขาว่าไม่เคารพพระ แต่สาหรับชาวลังกา
                                                                                                               ีั                                 �
พระภิกษุสามเณรผ่านสบาย                                                        แล้วจิตใจทีเ่ คารพเป็นสิงส�าคัญ)รอเวลาทีจะเข้าชมสักการะพระธาตุเขียวแก้ว
                                                                                                       ่               ่                                    ้
หน่ อ ย คณะของเราโชคดี                                                        ผู้เขียนนั่งกระหย่งแล้วกราบไปทางที่เก็บพระธาตุฯ และนั่งขัดสมาธิหลับตา
ที่ ไ กด์ ทั ว ร์ ป ระสานงานไว้                                               ท�าสมาธิ ในขณะนั้นก็ได้ยินเสียงสวดมนต์บทต่างๆ เช่น มงคลสูตร กรณีย
เรียบร้อยแล้ว จึงผ่านเข้าไป                                                   เมตตสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ฟังเสียงสวดมนต์ของชาวศรีลังกาแล้ว รู้สึกปีติ
เดินชมภายในบริเวณวัดที่มี                                                     และมีความสุข เพราะสวดมนต์เป็นจังหวะไพเราะจับใจ จึงหน่วงเหนี่ยวเอา
การป้ อ งกั น อย่ า งแน่ น หนา                                                เสียงสวดมนต์มาเป็นอารมณ์ในการท�าสมาธิ ท�าให้จิตใจเบิกบาน แช่มชื่นดี
เพื่ อ ป้ อ งกั น ภั ย ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น                                             เมื่อนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว จึงลืมตาขึ้นและเหลือบมองไปทางคณะ
จากผู ้ ที่ ต ้ อ งการจะท� า ลาย                                                                                         สวดมนต์ชาวลังกา พร้อมทั้งยิ้ม
ศูนย์รวมจิตใจของชาวลังกา                                                                                                 ให้ พวกเขาจึ ง เข้ า มาท� า ความ
มีประวัติศาตร์บันทึกไว้ว่า บางสมัยมีคนต้องการท�าลายวัดพระธาตุเขี้ยว                                                      เคารพ และทักทาย สอบถาม
แก้ว ถึงกับเอารถบรรทุกระเบิดขับวิ่งเข้าไปหมายท�าลายให้ราบคาบ แต่ด้วย                                                     สาระทุกข์สกดิบจึงท�าให้รวา ชาว
                                                                                                                                     ุ                    ู้ ่
เดชานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยรักษาพระธาตุฯ ท�าให้ก�าแพงเสียหายเล็กน้อย                                                 ศรี ลั ง กากลุ ่ ม นี้ เ ดิ น ทางมาจาก
คณะพวกเราเข้าไปก่อนเวลานมัสการพระธาตุฯ จึงพากันไปไหว้พระทีหองโถง  ่ ้                                                    ที่ไกลห่างจากเมืองแคนดี้เกือบ
และพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระธาตุฯ เดินชมไปแต่ละชั้นของตึกที่แสดงเกี่ยวกับ                                                   ๑๐๐ กิโลเมตร แต่เดินทางมาสัก
พระธาตุเขียวแก้วไม่วาจะเป็นงาช้างเชือกทีเคยใช้ในพิธแห่พระธาตุเขียวแก้ว
                ้             ่              ่        ี            ้                                                     การะพระธาตุฯ เป็นประจ�าทุก
เมือช้างตายไปแล้วก็นางาประดับไว้ให้คนได้ชม ภาพวาดทีแสดงประวัตความ
    ่                           �                       ่             ิ                                                  ปีติดต่อกันเป็นเวลากว่า ๔๕ ปี
ส�าคัญของพระธาตุเขี้ยวแก้วยุคต่างๆ สมบัติอันมีค่าที่คนถอดบูชาพระธาตุ          แล้ว เหมือนเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งของตระกูลที่ถือปฏิบัติมายาวนาน
เขี้ยวแก้ว ที่ทางรัฐบาลน�ามาแสดงไว้ให้ชม ล้วนเป็นสมบัติ และสิ่งมีค่าที่เกิด   สนทนากันพักใหญ่ก็ได้เวลาเข้าไปกราบพระธาตุเขี้ยวแก้ว จึงต้องไปเข้าแถว
จากศรัทธาของคนจากรุ่นสู่รุ่นที่มีต่อพระธาตุฯ                                  เพือเข้ากราบนมัสการพระธาตุฯ ภายในห้องซึงต้องผ่านประตูหลายประตู วัน
                                                                                   ่                                        ่
          พอใกล้ถงเวลาทีเ่ ขาจะเปิดให้คนเข้าไปสักการะพระธาตุเขียวแก้ว คณะ
                     ึ                                         ้              นั้นคณะผู้เขียนเป็นคณะที่ ๒ ที่ได้เข้าไปกราบพระธาตุฯ ภายใน แต่มีเวลาไม่
                                   30                                                                               31
นานในการนมัสการ เพราะต้องเอื้อเฟื้อแก่คณะอื่นที่รอคิวยาวเหยียดด้วย
เพียงเวลาแค่ไม่กี่นาทีกับการไหว้พระธาตุฯ ก็ท�าให้มีความสุขใจทุกครั้งที่
นึกถึง
       ผูเ้ ขียนประทับใจชาวสิงหลทีปลูกฝังการสวดมนต์ให้กบบุตรหลาน และ
                                    ่                   ั
                                                                                                           ส.
คนในครอบครัว เพราะทุกคนในครอบครัวไม่ว่าจะตัวเล็กไม่กี่ขวบก็สามารถ
สวดมนต์สูตรต่างๆ ได้ไม่แพ้พระภิกษุเลยทีเดียว การสวดมนต์เก่งจึงเป็น
                                                                                                        ที่q๕
สัญลักษณ์อย่างหนึงของชาวศรีลงกาทีชาวพุทธไทยเราควรเอาเป็นแบบอย่าง
                    ่              ั ่
เพราะอย่างน้อย ถ้ามีคนถามชาวพุทธไทยว่า อะไร คือ สัญลักษณ์ของชาวพุทธ
ไทย อย่างน้อยเราก็ตอบเขาได้ว่า สวดมนต์เก่ง มีชาวพุทธบางท่านเคยบอก
                                                                                        ใส่ชุดขาว
ว่า เป็นชาวพุทธสบายง่ายๆ อะไรก็ได้ ไม่ต้องถืออะไร อันนี้ต้องระวัง เพราะ         เอกลักษณ์ของชาวพุทธลังกา
ถ้าไม่ยึดถือปฏิบัติอะไรเลย ก็คงไม่ต่างจากคนที่ไม่มีศาสนา ฉะนั้น ชาวพุทธ
ไทยอย่างน้อยก็ต้องมีเอกลักษณ์อะไรสักอย่างที่จะโชว์ชาวโลกได้ว่าเราก็มีดี
มีเอกลักษณ์ของตนเอง                                                                  การแต่งชุดขาวไปวัดดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของชาวพุทธลังกา วัน
       การสวดมนต์เก่ง นอกจากชาวศรีลังกาแล้ว ชาวธิเบตและชาวพุทธ             ที่ผู้เขียนเดินทางไปชมวัดกัลยาณี ในเมืองโคลัมโบ เห็นชาวพุทธลังกาใส่ชุด
มหายานก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่ายกย่อง โดยเฉพาะชาวพุทธธิเบตนั้นมีเอ      ขาว พาลูกหลานไปเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกคนต่างแต่งกายด้วย
กลัษณ์ประจ�าตัว คือ ลูกประค�าส�าหรับนับเวลาสวดมนต์ พวกเขาสวดมนต์           ชุดขาว เป็นภาพประทับใจทีหาดูได้ยากในประเทศอืน คณะแสวงบุญต่างพูด
                                                                                                           ่                      ่
สั้นๆ เพียง ๖ ค�า คือ โอม มะณี ปัทเม โอม แค่นี้ก็เป็นการดีมากส�าหรับเป็น   เป็นเสียงเดียวกันถึงความประทับใจที่ได้เห็นภาพเด็กๆ ตั้งแต่เล็กจนโตมา
เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน เคยเดินทางไปธรรมศาลาที่ประทับของ      ศึกษาพระพุทธศาสนา มีครูทงพระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสอนในวิชาต่างๆ
                                                                                                             ั้
องค์ดาไล ลามะ เห็นภาพน่าประทับใจที่ชาวธิเบตนิยมไปนั่งสวดมนต์อยู่ที่        ที่เด็กๆ ควรรู้ ผู้เขียนเดินชมไปตามห้องเรียนต่างๆ นักเรียนต่างตื่นเต้นที่เห็น
วัดเป็นประจ�าทั้งเช้าและเย็น บางคนก็นิยมเดินสวดมนต์รอบๆ บริเวณวัด          ชาวต่างชาติให้ความสนใจ แต่ไม่กล้าเข้าไปทักทายอะไรมากมายเนืองจากยัง่
                                                                           อยู่ในชั่วโมงเรียนของเด็กๆ พวกเขาต่างตั้งใจเรียน
                                                                                     ผู้เขียนบวชเรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จนถึงปัจจุบัน อายุ ๓๓ ปี ยังไม่
                                                                           เคยเห็นนักเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากมายอย่างนี้ ถามพระภิกษุชาว
                                                                           ศรีลงกาทีนาคณะเราไปเยียมชมวัด ท่านกล่าวว่า มีนกเรียนประมาณ ๕,๐๐๐
                                                                                  ั ่ �                 ่                       ั
                                                                           คน ฟังแล้วได้แต่นกอนุโมทนาและเกิดแรงบันดาลใจว่าบ้านเราน่าจะเอาเป็น
                                                                                                 ึ
                                  32                                                                           33
ท�าได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตัวเราเอง แต่ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นยอดมนุษย์อย่าง
                                                                             เช่น พระพุทธเจ้า, พระเยซู, มหาตมะ คานธี, มาติน ลูเธ่อร์ คิงส์, และมหา
                                                                             บุรุษอีกหลายท่านบนโลกใบนี้
                                                                                    มีสุภาษิตจีนเกี่ยวกับการฝึกกาย ฝึกจิตว่า
                                                                             “จงระวังความคิด          เพราะความคิดจะกลายเป็นความประพฤติ
                                                                             จงระวังความประพฤติ เพราะความประพฤติจะกลายเป็นความเคยชิน
                                                                             จงระวังความเคยชิน เพราะความเคยชินจะกลายเป็นนิสัย
                                                                             จงระวังนิสัย             เพราะนิสัยจะกลายเป็นสันดาน
                                                                             จงระวังสันดาน            เพราะสันดานจะก�าหนดชะตากรรมตลอดชีวิต”



แบบอย่าง วัดหลายวัดในเมืองไทย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็จดตัง    ั ้
โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากว่า ๕๐ ปี เหมือนกัน ถ้าผู้เขียนจ�าไม่
ผิดก็ได้ไอเดียมาจากประเทศศรีลังกานี้ ต่างแต่เพียงจ�านวนนักเรียนยังมีไม่
มากอย่างชาวลังกา อาจจะเป็นเพราะผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และทางบ้านเมืองให้
ความส�าคัญ ให้การสนับสนุนถึงท�าอย่างนี้ได้
       เคยสังเกตชาวพุทธจากประเทศต่างๆ ทีเดินทางไปไหว้พระในประเทศ
                                           ่
อินเดีย ชาวพุทธลังกาจะมีเอกลัษณ์พิเศษเฉพาะตัว ในความมีระเบียบวินัย
เช่น การแต่งกายด้วยชุดขาวเหมือนกันหมด การเข้าแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย
การเปล่งวาจาสาธุการพร้อมกัน และการสวดมนต์ เป็นต้น การปฏิบัติได้เช่น
นี้ แสดงว่าได้รับการฝึกฝนอบรมมาอย่างดีจนกลายเป็นอุปนิสัย เห็นภาพ
อันประทับใจแล้วก็ได้แต่นึกถึงพุทธพจน์ที่ “ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ ในหมู่
มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เป็นผู้ประเสริฐ” แต่การฝึกมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่
                                   34                                                                        35
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา

More Related Content

What's hot

รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555Carzanova
 
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555Panda Jing
 
พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์Panda Jing
 
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑Tongsamut vorasan
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกPanda Jing
 
คำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมคำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมniralai
 
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียAnchalee BuddhaBucha
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...Tongsamut vorasan
 
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา solarcell2
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tongsamut vorasan
 
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรChirayu Boonchaisri
 
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4page
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4pageใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4page
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน Tongsamut vorasan
 

What's hot (18)

Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
 
พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์
 
200789830 katin
200789830 katin200789830 katin
200789830 katin
 
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑
2 19+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๑
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
คำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมคำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรม
 
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
บทวิจารณ์หนังสือลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
 
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
 
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4page
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4pageใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4page
ใบความรู้ พุทธศาสนสุภาษิต ป.1+415+dltvsocp1+54soc p01f 10-4page
 
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 

Viewers also liked

ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕หนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกาหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกาหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 

Viewers also liked (7)

นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรตินิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
นิมนต์ร่วมพิธีมงคลเฉลิมพระเกียรติ
 
Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารีท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
ท่องพุทธสถานผ่านเลนส์(ศรีลังกา) โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี
 
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
สทส.๐๐๕ ๒๕๕๕(ประชุมสมัยสามัญประจำปี ๒๕๕๕
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
 
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกากำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการสอบธรรมศึกษาสนามหลวงในสหรัฐอเมริกา
 

Similar to ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา

เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555Carzanova
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธีPanuwat Beforetwo
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตTaweedham Dhamtawee
 
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔Tongsamut vorasan
 
กำหนดการสัมมนา(จริง)
กำหนดการสัมมนา(จริง)กำหนดการสัมมนา(จริง)
กำหนดการสัมมนา(จริง)Tongsamut vorasan
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวKaiwan Hongladaromp
 
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวPoramate Minsiri
 

Similar to ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา (20)

คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
คำนิยมท่องศรีลังกา(สุภาศิริ)
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
 
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
เชิญร่วมงานสาธยายพระไตรปิฎก วัดมเหยงคณ์ วันที่ 5 เดือน 5 2555
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔
แนวทางการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัสามัญประจำปี ครั้งที่ ๓๔
 
กำหนดการสัมมนา(จริง)
กำหนดการสัมมนา(จริง)กำหนดการสัมมนา(จริง)
กำหนดการสัมมนา(จริง)
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
 
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
 

More from Wat Pasantidhamma

วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November Newsวารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November NewsWat Pasantidhamma
 
Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Wat Pasantidhamma
 
Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Wat Pasantidhamma
 

More from Wat Pasantidhamma (6)

2555blessing
2555blessing2555blessing
2555blessing
 
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November Newsวารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
 
Watpajounal - October 2011
Watpajounal - October 2011Watpajounal - October 2011
Watpajounal - October 2011
 
Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011
 
Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011
 
The Study Book
The Study BookThe Study Book
The Study Book
 

ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา

  • 1. พระพุทธรูปหินผา เมืองโปโลนนารุวะ ลังกากถา ∏ ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา c £ปิยเมธี•
  • 2. ลังกากถา ค�านิยม ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา ISBN : 978-974-000-000-0 บันทึกการเดินทางของท่านพระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ ที่ให้ชื่อว่า ที่ปรึกษา : “ลังกากถา” ได้น�าเรื่องราวของประเทศศรีลังกาที่ตนได้สัมผัสด้วยศรัทธา พระเทพโพธิวิเทศ พระเทพกิตติโสภณ และได้เห็นด้วยตาตนเองเขียนขึ้นมาอย่างเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยอรรถรส พระเทพกิตติโมลี พระวิเทศธรรมรังษี และเนื้อหาสาระที่ครบถ้วนทุกด้าน ด้วยใช้ตัวอักษรย่อน�าเข้าหาเนื้อหาที่ พระสุนทรพุทธิวิเทศ พระวิเทศธรรมกวี เป็นจุดเด่นของศรีลังกา ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้คนชาวสิงหล ด้านสถานที่ ด้าน พระครูวิสิฐธรรมรส พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม ดร. วัฒนธรรมชาวพุทธ และปรัชญาแฝงด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา ปัญญา ความ พระครูสังฆรักษ์อ�าพล สุธีโร ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี พระมหาอุดม ปภงฺกโร พระอาจารย์น้าว นนฺทิโย รู้ความสามารถ และประสบการณ์อันกว้างขวางในฐานะพระธรรมทูตของ พระมหาเอกชัย สญฺญโต พระมหามนตรี คุตฺตธมฺโม พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ และสมฐานะแห่งภูมิปัญญามหาเปรียญธรรม ๙ พระมหาสมบูรณ์ จตฺตภโย ป.ธ.๙ พระวิญญู สิรญาโณ ประโยค ที่ได้เชื่อมประสานงานเขียนธรรมะง่าย ๆ กับสิ่งที่พบเห็นเป็นของ ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี ดร.จัด เกิดสบาย ฝากส�าหรับท่านทียงไม่เคยไปท่องเทียวประเทศนี้ และเป็นข้อมูลเตือนความ ่ั ่ ทรงจ�าของท่านที่เคยไปมาแล้ว ภาพโดย : ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี พระมหาท�านอง แสงชมพู “ลังกากถา” เป็นงานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่ทรงคุณค่ายิ่ง ผู้อ่านเกิดความ พระมหาอเนก อเนกาสี พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ พิสูจน์อักษร : พระมหาสัญชัย ชยสิทฺธิโก ป.ธ.๙ พระมหาสินชัย สิริธมฺโม ป.ธ.๗ รู้ความเข้าใจและเห็นภาพพจน์ของชาวพุทธสิงหล และประเทศศรีลังกาที่ พระมหาสายันต์ อคฺควณฺโณ พระบัญชาสิทธิ์ ชุตินฺธโร เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และความเลื่อมใสศรัทธาทางศาสนา ผู้อ่านได้เห็น ดร.พระครูปลัดธนัญชัย อริญฺชโย ดร.พระมหาชัชวาลย์ โชติปญฺโญ ความส�าคัญของโบราณสถานและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ละแห่งในประเทศศรี น.ส.กชกร เอี้ยงกุญชร ลังกา ซึ่งต่างสะท้อนถึงรากฐานที่หยั่งลึกของพระพุทธศาสนาในจิตใจของ ปก/รูปเล่ม : นิรันดร รันระนา ประชาชน นับตั้งแต่เมืองอนุราธปุระ นครหลวงแห่งแรกของศรีลังกาและ พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๕๔ จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม เมืองแรกที่พระพุทธศาสนาได้เข้าไปประดิษฐานไว้มั่น มหานครโปโลนนารุ วะ เมืองหลวงแห่งทีสองของศรีลงกา เมืองแคนดีทประดิษฐานพระธาตุเขียว ่ ั ้ ี่ ้ พิมพ์ที่ : หจก. นิติธรรมการพิมพ์ แก้ว ถ�้าอาโลกวิหาร เมืองมะตะเล แหล่งก�าเนิดการจารึกพระไตรปิฎก และ ๗/๕๘๒ หมู่ ๕ ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ๑๑๑๔๐ โทร. ๐-๒๔๔๙-๒๕๒๕, ๐๘-๑๓๐๙-๕๒๑๕ E-mail : niti2512@hotmail.com วัดกัลยาณี ศูนย์รวมแห่งศิลปะและมรดกทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น 2 3
  • 3. ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นธรรมวิทยากรน�าจาริก (มัคคุเทศก์) แสวงบุญ ในครั้งนี้ก็อดภูมิใจไม่ได้ในความวิริยะอุตสาหะ ของท่านพระมหาปิยะ อุตฺ ค�าน�า ตมปญฺโญ เป็นศิษย์ผู้ติดตามไปด้วยในการจาริกแสวงบุญในครั้งนี้ ที่ได้เก็บ รายละเอียดและจับประเด็นในการบรรยายให้ความรู้ตลอดระยะเวลา ๗ คืน “เกาะลังกานีเ้ ป็นของพระพุทธเจ้าเอง เป็นเสมือนคลังเต็ม ๘ วันในดินแดนพระพุทธศาสนาอายุ ๒,๓๐๐ปี ได้กลั่นกรองออกมาเป็นตัว ไปด้วยแก้ว ๓ ประการ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของพวกมิจฉาทิฐิ อักษรที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ คติความเชื่อ ข้อคิด หลักธรรม ดังกล่าวแล้ว จะไม่ถาวรไปได้เลย เหมือนการอยูของพวกยักษ์ในสมัยโบราณ ่ จึงขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของท่าน มา ณ โอกาสนี้ ไม่ถาวร ฉะนั้น” จากหนังสือปูชาวลี ผู้เขียนมีความประทับใจในผู้คนและประเทศศรีลังกามากจากการ ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี ได้พบปะพูดคุยในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และ เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา ชาวศรีลังกามีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีอัธยาศัยดียิ้มแย้ม ประธานอ�านวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แจ่มใส ประกอบกับเคยศึกษาประวัตของท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ ผูอทศ ิ ุ้ ิ ชีวตเพืองานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ความประทับใจจึงเพิมขึนเป็นเท่าทวีคณ ิ ่ ่ ้ ู เหตุนี้จึงปรารภอยู่ในใจว่า ถ้าเวลาและโอกาสอ�านวยจะเดินทางไปศรีลังกา ปีพ.ศ.๒๕๕๔ มีการจัดประชุมสัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ทั่วโลก ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล พระธรรมทูตสายต่างประเทศจากทวีป ต่างๆ เดินทางมาร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “มีพระคุณเจ้าและญาติ ธรรมอยากจะไปนมัสการพุทธสถานในศรีลงกา และให้ผมน�าคณะไปนมัสการ ั พุทธสถานในลังกา มีความสนใจอยากไปด้วยไหม” เนื่องจากจะต้องเดินทาง กลับประเทศไทยในระยะเวลานั้นอยู่แล้ว ผู้เขียนจึงตอบตกลงอย่างไม่ลังเล สงสัย เมื่อเดินทางไปศรีลังกาได้สัมผัสบรรยากาศ สถานที่ และผู้คน ยิ่งเพิ่ม ความประทับใจ ได้ข้อคิด และมองเห็นของดีที่ชาวศรีลังกามี คิดว่าน่าจะน�า สิ่งที่ได้พบจากประสบการณ์ตรงและการศึกษาของตนเองมาแลกเปลี่ยนกัน 4 5
  • 4. บ้าง เพือเป็นคติขอคิดให้ทานทังหลายทีมความสนใจในประเทศแห่งนีได้เรียน ่ ้ ่ ้ ่ี ้ รูรวมกัน ผูเ้ ขียนไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเกียวกับประวัตศาสตร์ บุคคล สถาน ้่ ่ ิ ที่ และประเทศ เพราะมีผู้รอบรู้หลายท่านเขียนไว้แล้ว ซึ่งหาอ่านได้ทั่วไป ดังนันหนังสือเล่มนีผเขียนยังมีเจตนาทีเสนอข้อคิด คติเตือนใจ ให้แก่ผู้ ้ ้ ู้ ่ อ่านทุกท่านเสมือน “ลังกา” เป็นบทเรียนแห่งการเรียนรูทผคนสามารถน�าไป ้ ี่ ู้ ปรับใช้ในวิถีชีวิตประจ�าวันได้ในฐานะพุทธศาสนิกชน เช่นเดียวกัน ด้วยความปรารถนาดี ปิยเมธี 6 7
  • 5. สารบัญ หน้า ค�านิยม ๓ ค�าน�า ๕ เกริ่นน�า ๑๑ ประเทศหลากนาม ๑๑ บรรพบุรุษของชาวสิงหล ๑๔ ภาค ๑ : ข้อคิด ๘ ส. ของชาวศรีลังกา ๑๕ - ๔๘ ส.ที่ ๑ สังฆมิตตา ๑๖ ส.ที่ ๒ สัทธา ๑๙ ส.ที่ ๓ สาธุ ๒๔ ส.ที่ ๔ สวดมนต์เก่ง ๒๙ ส.ที่ ๕ ใส่ชุดขาว ๓๓ ส.ที่ ๖ สมาธิ ๓๖ ส.ที่ ๗ สรณังกร ๔๐ ส.ที่ ๘ สยามวงศ์นิกาย ๔๕ ภาค ๒ : ๖ T ของดีศรีลังกา ๔๙-๘๒ T ที่ ๑ Bodhi Tree ๕๑ T ที่ ๒ Tooth ๖๑ T ที่ ๓ Tea ๖๕ T ที่ ๔ Tradition ๖๙ T ที่ ๕ Tourism ๗๑ T ที่ ๖ True man ๗๘ 8 9
  • 6. ภาคผนวก ๘๓-๙๘ เกริ่นน�า ข ปกิณณกะศรีลังกา ๘๓ จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน อกล่าวค�าทักทายที่ชาวสิงหลพูดเวลาพบกันว่า อายุบวร แปลว่า ขอให้ บทที่ ๓๘ ๘๕ อายุยนยาว ค�าว่า อายุบวร คงไม่ใช่คาแปลกใหม่สาหรับชาวไทยมากนัก ื � � ภาพการจาริกแสวงบุญ ๙๑ เพราะเป็นค�าที่ได้ฟังมาอย่างคุ้นเคยแล้วโดยเฉพาะชาวพุทธที่เข้าวัดท�าบุญ หนังสือประกอบการเขียน ๙๕ บ่อยๆ จะได้ฟังพรพระสงฆ์ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ อายุบวร มาจากค�า ๒ ค�า คือ อายุกบบวร อายุกคออายุ ส่วนค�าว่า บวร มีคาแปลหลาย ั ็ื � เกี่ยวกับปิยเมธี ๙๖ ประการ เช่น ประเสริฐ, เลิศล�้ายืนยาว รวมแล้วแปลว่า ขอให้มีอายุยืนยาว ความเป็นมาของกองทุนปิยเมธี ๙๗ ก่อนจะกล่าวถึงข้อคิดและของดีศรีลงกา ผูเ้ ขียนใคร่ขอน�าประวัตความ ั ิ รายนามผู้ร่วมบริจาคพิมพ์หนังสือ ๑๐๐ เป็นมาของดินแดนคนมีฝ่ามือแดง (ตัมพปัณณิทวีป) มาเล่าสู่ผู้อ่านให้ทราบ โดยสังเขปว่า ความเป็นมาอย่างไร ท�าไม ท�าไม ? ถึงเรียกประเทศแห่งนี้ว่า ∏ w ศรีลังกา ใครเป็นบรรพบุรุษของชาวสิงหล ? ตลอดถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ควร ทราบเกี่ยวกับชาวศรีลังกา ฉะนั้น เราอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลย ไปศึกษาด้วย กันเลยดีกว่า ที่มาของชื่อ : ประเทศหลากนาม สมัยเป็นนักเรียนภาษาบาลีศกษาวิชาแต่งฉันท์พบค�าว่า ประเทศซีลอน ึ ถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รวาเป็นประเทศอะไร อยูทไหน พอรูตอนหลัง ู้ ่ ่ ี่ ้ ว่า ศรีลังกา กับ ซีลอน เป็นประเทศเดียวกันจึงถึงบางอ้อ ชาวพุทธที่ศึกษา พระพุทธศาสนาคงเคยได้ยนค�าว่า นิกายลังกาวงศ์ คือพระพุทธศาสนาทีไทย ิ ่ รับเอาจากศรีลังกาในสมัยสุโขทัย มาดูกันว่าศรีลังกามีกี่นาม ชาวไทยส่วนมากเรียกประเทศนี้ว่า “ ลังกา” แปลว่า เกาะ ส่วน นักศึกษาภาษาบาลี และตัวผู้เขียนเองรู้จักในนาม “ ตัมพะปัณณิทวีป” แปล ว่า เกาะของคนมีฝ่ามือแดง ก็ยังมีชื่ออื่นอีกที่เรียกกัน เช่น “ลังกาทวีป” และ 10 11
  • 7. “สิงหลทวีป” ส่วนชาวยุโรปเรียกว่า ซีลอน(CEYLON) ผู้รู้กล่าวว่า น่าจะมา โสปาระ เมืองบอมเบย์) ไปถึงทีนน เจ้าชายพร้อมสมุนก็ไม่ทงนิสยเดิมยังเทียว ่ ั้ ิ้ ั ่ จากค�าว่า ซีแลนด์(Sea Land) ดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยทะเล แต่เรียกไป ก่อความไม่สงบอีก จึงถูกจับเนรเทศลงเรืออีกรอบจนไปขึนทีเกาะลังกา วันที่ ้ ่ เรียกมากลายเป็น ซีลอน(Ceylon) นับๆ ดูชื่อก็มีมากโข แถมในต�านานยัง เจ้าชายวิชัยขึ้นเกาะลังกา ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน กล่าวไว้อีกว่า ในพระพุทธเจ้าแต่ละสมัยก็ชื่อไม่เหมือนกัน เช่น ทั้งมีต�านานเล่าว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสกับท้าวสักกะพร้อมทั้งเทวดาและ - สมัยพระกกุสันโธพุทธเจ้า เรียกว่า โอชทีปะ หรือ โอชทวีป มนุษย์ทั้งหลายว่า “โอ ท้าวสักกะ! ธรรมของเราจะประดิษฐานในเกาะลังกา - สมัยพระโกนาคมพุทธเจ้า เรียกว่า วรทีปะ หรือ วรทวีป และในวันนี้เอง เจ้าฟ้าชายองค์โตของพระเจ้าสิงหพาหุกษัตริย์แห่งสิงหบุรี - สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า เรียกว่า มัณฑทีปะ หรือ มัณฑทวีป ในประเทศลาละ เสด็จขึ้นฝั่งที่เกาะนั้นพร้อมด้วยราชบริพาร ๗๐๐ คน และ สรุปแล้ว สมัยโบราณเรียก ลังกา สมัยอังกฤษปกครอง เรียก ซีลอน จะเสวยราชสมบัติในเกาะนั้น ดังนั้น ขอพระองค์จงปกปักรักษาเจ้าชายนั้น เมื่อได้รับเอกราชแล้ว จึงใช้ชื่อเดิมแล้วเติมค�าว่า ศรี ไปข้างหน้าเป็นศรีลังกา พร้อมทังบริวารและทังเกาะลังกานันด้วยเถิด” หลังจากขึนเกาะแล้ว เจ้าชาย ้ ้ ้ ้ หมายความว่า เกาะที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง วิชยได้ปราบคนพืนเมือง ตังเมืองหลวง สถาปนาพระองค์เป็นปฐมกษัตริยของ ั ้ ้ ์ ประเทศศรีลังกา บรรพบุรุษของชาวสิงหล เกริ่นน�าเรื่องต่างๆ มาซะเนิ่นนาน ขอน�าท่านทั้งหลายดื่มด�ากับข้อคิด ถ้ า ใครเคยไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)ในพระบรม และของดีศรีลังกาที่น่าเอาเป็นแบบอย่างในการด�าเนินชีวิตได้แล้ว ณ บัด มหาราชวัง มีโอกาสเดินชมผนังก�าแพงรอบในวัดจะเห็นภาพวาดมหากาพย์ เดี๋ยวนี้ รามเกียรติเรืองราวการสูรบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ จะเห็นภาพหนุมาน ์ ่ ้ ฆ่าท้าวทศกัณฐ์ เผากรุงลงกา ซึ่งกรุงนี้คนส่วนมากลงความเห็นว่า ศรีลังกา เมือนึกถึงเรืองรามเกียรติครังใด ท�าให้นกถึงกรุงลงกาพระราชวังของทศกัณฐ์ ่ ่ ์ ้ ึ ด้วย แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ใช่ต้นตระกูลของชาวศรีลังกา ในต�านานบอกไว้วา บรรพบุรษของชาวลังกา คือ เจ้าชายวิชย ทรงเป็น ่ ุ ั พระราชโอรสของพระเจ้าสิงหพาหุ และพระนางสิงหสีวลี แห่งเมืองสิงหบุรี มี พระอนุชา ๑ พระองค์ นามว่า เจ้าชายสุมิตตะ เจ้าชายวิชัยเป็นคนเสเพลดื้อ รัน พระองค์พร้อมบริวาร ๗๐๐ คน ชอบเบียดบังรังแกชาวบ้าน จนท�าให้พระ ้ ราชบิดาอดทนต่อพฤติกรรมไม่ไหว จึงจับโกนหัวเสียครึงหนึงเพือให้ชาวบ้าน ่ ่ ่ รู้ว่าเป็นคนไม่ดี และเนรเทศทั้งหมดลงเรือไปถึงท่าเรือสุปปารกะ(ปัจจุบันคือ 12 13
  • 8. ภาค ๑ q ข้อคิด ๘ ส. ของชาวศรีลังกา
  • 9. พระมหินทเถระเสด็จไปเกาะลังกาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะใน วันเพ็ญกลางเดือน ๗ ที่ภูเขามิสสกะ(ปัจจุบันเรียกว่า มิหินตะเล)ในขณะที่ พระราชาเสด็จออกไปล่าเนือ ทรงสนทนาปราศัยทดลองสติปญญาซึงกันและ ้ ั ่ ส. กันจนเกิดความเลื่อมใสใจศรัทธา จากนั้นพระมหินทเถระก็แสดงธรรมโปรด ที่q๑ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมทั้งข้าราชบริพารจนเกิดความศรัทธาในพระ รัตนตรัย จนพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ถวายพระราชอุทยานมหาเมฆวัน ให้เป็นที่อยู่ของพระมหาเถระพร้อมคณะ ซึ่งต่อมาอุทยานแห่งนี้กลายเป็น สังฆมิตตา หรือ วัด “มหาวิหาร” พระมหินทเถระกล่าวกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะว่า ถ้าอยากให้ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาอย่างแท้จริงแล้ว ต้องให้กุลบุตร ในเกาะนี้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระศาสนา ซึ่งต่อมาพระราชนัดดา ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระนามว่าอริฎฐะและบริวารอีก ๕๕ คน ได้ พระนามของพระนางสั ง ฆมิ ต ตาเถรี ยั ง ปรากฎเด่ น ชั ด อยู ่ ใ นหน้ า ออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพระนางเป็นพระราชธิดาของ ในเวลาต่อมาพระนางเจ้าอนุฬา พระราชินีรองและพระสนมก�านัล พระเจ้าอโศกมหาราชผูเกรียงไกร แต่เพราะวีรกรรมทีพระนางน�าภิกษุณสงฆ์ ้ ่ ี แสดงความประสงค์จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีบ้าง เมื่อพระมหินทเถระ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ในศรีลังกานั้นต่างหากเล่า ที่ท�าให้ ทราบจึงถวายค�าแนะน�าให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งราชทูตไปส�านัก พุทธศาสนิกชนจดจ�าความดีงามอันนั้นอย่างที่เขาว่า “อยู่เพื่อตนเอง อยู่แค่ ของพระเจ้าอโศกมหาราช เพือทูลขอให้พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะเดิน ่ สิ้นลม อยู่เพื่อสังคม อยู่ชั่วนิรันดร์” ทางไปยังเกาะลังกาพร้อมทั้งน�ากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไป หลังจากการท�าสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ปลูกยังลังกาด้วย เพือเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์และเป็นสิรมงคลแก่ผสก ่ ิ ู้ ั เสร็จแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ท�าให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปรึกษา การะบูชา ซึงกิงพระศรีมหาโพธิทพระนางน�าไปปลูกยังอยูเป็นศูนย์รวมจิตใจ ่ ่ ์ ี่ ่ กับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเรื่องการพระศาสนา และทรงส่งพระธรรมทูต ของชาวพุทธลังกาจนถึงปัจจุบันนี้มีอายุกว่า ๒,๓๐๐ ปี ๙ สายออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิศานุทิศ ๑ ใน ๙ สายนั้นคือการ ในคัมภีรอรรถกถาสมันตปาสาทิกากล่าวถึงการเสด็จไปเกาะลังกาของ ์ ส่งพระมหินทเถระพร้อมคณะเดินทางไปประกาศพระพุทธศาสนาในเกาะ พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมคณะทีนากิงพระศรีมหาโพธิไปปลูกทีเ่ มืองอนุราธ ่ � ่ ์ ตัมพปัณณิทวีปด้วย 16 17
  • 10. ปุระ พร้อมทังท�าการอุปสมบทพระนางอนุฬาและพระสนม เป็นพิธกรรมทียง ้ ี ่ ิ่ ใหญ่อลังการน่าเลื่อมใสอันแสดงออกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่กษัตริย์ ทั้ง ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมี ต่อพระพุทธศาสนา เห็นถึงความเสียสละอันยิงใหญ่ของพระมหินทเถระและ ่ ส. พระนางสังฆมิตตาเถรีแล้วควรที่เราอนุชนรุ่นหลังควรเอาเป็นแบบอย่างใน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป ขอจบส.ที่ ๑ ด้วยกฤษณาสอนน้องค�าฉันท์ ที่q๒ ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสที่ว่า พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง ส�าคัญหมายในกายมี สัทธา นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ความดีก็ปรากฎ กิติยศก็ฤาชา ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจรฯ เมื่อมีโอกาสเดินทางไปประเทศศรีลังกา ดินแดนพระพุทธศาสนา ทุกวันนีชาวศรีลงกาจะมีพธแห่รปปันพระนางสังฆมิตตาเถรี เพือระลึก ้ ั ิี ู ้ ่ ๒,๓๐๐ ปี ความประทับใจแรก หรือเฟิร์ส อิมเพรสชั่น (First Impression) ถึงคุณงามความดีที่พระนางทรงท�าไว้ และแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที คือ ความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนา และกล้าแสดงออกให้ ต่อพระนาง เห็น (กล้าคิด กล้าพูด กล้าท�าในสิงทีถกต้อง) เป็นต้นว่าพระพุทธรูปปางสมาธิ ่ ู่ สีขาวที่ประดิษฐานไว้ภายในสนามบินแห่งชาติ เมืองโคลัมโบให้คนเดินทาง ไป-มาได้เคารพกราบไหว้เป็นสิริมงคแก่ชีวิต และสิ่งที่ประทับใจอีกประการ ต่อมา คือ ภายในสนามบินจะมีร้านหนังสือธรรมะ พร้อมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาไว้ให้คนได้เลือกอ่าน และซื้อหาติดตัวไว้เป็นที่ระลึก สมัยที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษาพักอยู่ที่วัดไทยพุทธคยา เมืองพุทธคยา รัฐ พิหาร ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาประวัติของวีรบุรุษชาวพุทธศรีลังกา นามว่า อนาคาริกะ ธรรมปาละ ผูกอตังสมาคมมหาโพธิ์ (Mahabodhi Society) และ ้่ ้ เป็นผูมสวนส�าคัญในการฟืนฟูพทธสถานทีส�าคัญในแดนพุทธภูมทชาวพุทธทัว ้ี่ ้ ุ ่ ิ ี่ ่ 18 19
  • 11. ด้วยวิธีต่างๆ ของชาติตะวันตก (โปรตุเกส, ฮอลันดา และชาวอังกฤษ) และ ศาสนาทีชาวตะวันตกน�าเข้าไปเผยแพร่ แต่ดวยความศรัทธาของชาวสิงหลที่ ่ ้ มีต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง (อจลสัทธา) ท�าให้สามารถรักษาพระพุทธ ศาสนาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ผลงานที่ชาวศรีลังกาแสดงออกถึงความรักและศรัทธาต่อพระพุทธ ศาสนานั้นมีมากมาย เช่น การออกมาปกป้องเมื่อพระพุทธศาสนามีภัย คุกคาม หรือถูกลบหลูดวยชาวต่างชาติตางศาสนาทีไม่เคารพหรือไม่เข้าใจใน ่้ ่ ่ วัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธ เช่น การที่ชาวต่างชาติหรือคนไม่มีศาสนา เปลืองผ้านังบนบ่าของพระพุทธรูปแล้วถ่ายภาพโฆษณาไปทัวโลก รวมถึงเมือ ้ ่ ่ ่ พ.ศ.๒๕๔๐ ชาวพุทธศรีลงการ่วมกับชาวพุทธทัวโลก เรียกร้องไม่ให้พวกทาลิ ั ่ บันท�าลายพระพุทธรูปใหญ่ทพามิยาน ในอัฟกานิสถานช่วยชะลอการท�าลาย ี่ โลกไม่ควรลืมคุณูปการของท่าน เกิดความเลื่อมใสใจศรัทธามากในปณิธาน มาเป็นเวลาหลายปี แต่ในทีสดพวกทาลิบนก็ได้ระเบิดท�าลายพระพุทธรูปใหญ่ ุ่ ั การท�างาน การเสียสละอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาของท่านอนาคาริกะ ที่พามิยานเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ธรรมปาละ ถึงกับตั้งจิตอธิษฐานก่อนท่านมรณภาพว่า “จะขอเกิดอีก ๒๕ สิงหนึงทีผเู้ ขียนจ�าได้ดี คือ การทีสหประชาชาติประกาศให้วนวิสาขบูชา ่ ่ ่ ่ ั ชาติ ในตระกูลพราหมณ์ เพื่อท�างานให้พระพุทธศาสนา” แม้ในประเทศศรี (วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า) เป็นวันส�าคัญของโลก ลังกาเองตามหัวเมืองต่างๆ จะมีรูปปั้นของท่านตามทางสี่แยกไว้ให้คนกราบ ก็เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของชาวศรีลังกาที่ช่วยกันเรียกร้องให้องค์กรระดับ ไหว้ ไม่ต่างจากประเทศอินเดียที่ปั้นรูปของท่านมหาตมะ คานธี ไว้ให้คนสัก โลกยอมรับ โดยรัฐบาลศรีลังกาเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ ๕๔ การะตามหัวเมืองต่างๆ ปีพ.ศ.๒๕๔๒ และเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ สหประชาชาติจึงมีมติให้ ก่อนจะเดินทางไปเยือนศรีลังกา (เดินทางระหว่างวันที่ ๕ – ๑๒ ก.พ. วันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของโลก และที่ส�าคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ ๒๕๕๔) ได้ศกษาประวัตศาสตร์ของประเทศและพระพุทธศาสนา ท�าให้ทราบ ึ ิ การปฏิบตตอพระพุทธรูปเสมือนหนึงพระพุทธเจ้า เช่น การกางมุงให้พระพุทธ ัิ่ ่ ้ ว่า ตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้าไปประดิษฐานในดินแดนคนมีฝ่ามือแดง ซึ่ง รูปยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม และระเบียบเรื่องการถ่ายภาพที่ห้ามหันหลังให้ พระมหินทเถระ (พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช) และคณะน�าพระ พระพุทธรูป เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพ ล้วนแสดงออกถึงความเคารพต่อ สัทธรรมไปมอบแด่ชาวสิงหลจนพระพุทธศาสนาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ตั้งแต่ พระรัตนตรัยทั้งสิ้น บัดนั้นจนถึงบัดนี้ พระพุทธศาสนาในศรีลังกาได้ผ่านมรสุมจากการรุกราน เมือกล่าวถึงศรัทธาของชาวสิงหล ท�าให้นกถึงอุบาสกธรรม หรือธรรมะ ่ ึ 20 21
  • 12. ร�าพึงกับตัวเองว่า เรามีศรัทธาแบบเขาไหม และสามารถจะรักษาพระศาสนา ไว้ได้ไหม ถ้ามีวกฤติพระพุทธศาสนาเกิดขึน ขออย่าให้ศรัทธาของเราเป็นเช่น ิ ้ ศรัทธาหัวเต่าเลย แต่จงเป็นศรัทธาที่เดินเคียงคู่กับปัญญาจะได้น�าพาพระ ศาสนาและประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย ศรัทธาดี ต้องมี ปัญญาจับ ช่วยก�ากับ พร้อมกันไป ไม่ห่างเหิน หากศรัทธา ขาดปัญญา หมดเจริญ เหมือนเรือเดิน ไร้หางเสือ เพลียหลงทาง ของอุบาสกอุบาสิกาที่ควรมี ชาวพุทธคงจ�ากันได้ดีถึงคุณสมบัติอันส�าคัญ ๕ ข้อ แต่ขอน�ามากล่าวไว้ในที่นี้ เพียง ๓ ข้อ คือ - มีสัทธา (ศรัทธา) คือ มีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เช่น เชื่อ ในกฎแห่งกรรม ว่าท�าดีได้ดี ท�าชั่วได้ชั่ว เชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระ สงฆ์ เป็นต้น - มีศล คือ มีสติสามารถควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้เป็น ี ไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น - ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เป็นกระต่ายตื่นตูม มุ่งหวังผลจากการกระท�า และการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น เมื่อเห็นความศรัทธาที่ชาวศรีลังกามีต่อพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้แต่ 22 23
  • 13. ทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน สิ่งที่ ได้ยินประจ�าคือเสียงสาธุการที่ชาวลังกาตั้งใจเปล่งออกมาด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา ตอนเช้าๆ ชาวศรีลังกาใส่ชุดสีขาวเข้าแถวเดินไปเจดีย์พุทธคยา ต้น ส. พระศรีมหาโพธิ์ โดยมีพระภิกษุเดินน�าหน้าพูดธรรมะให้ฟัง ญาติโยมก็พร้อม ที่q๓ กล่าวค�าว่า สาธุ สาธุ สาธุ ฯลฯ ตลอดทาง ในนิทานธรรมบท มีบอยครังทีพระภิกษุทาความดีแล้วพระพุทธเจ้าจะ ่ ้ ่ � ยกย่องสดุดี ด้วยตรัสค�าว่า สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว ดีแล้ว เธอท�าดีแล้ว ค�าว่า สาธุ สาธุ แปลว่า ดีแล้ว เป็นการอนุโมทนากับสิงทีคนอืนท�าดี เป็นบุญอย่างหนึง ภาษา ่ ่ ่ พระเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญส�าเร็จด้วยการอนุโมทนายินดีกบความดีที่ ั ่ เสน่ห์ของชาวศรีลังกา คนอื่นท�า ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า อย่าคร้านอนุโมทนาบุญ ท�าให้นึกถึงค�าพูด ของพระเดชพระคุณพระเทพโพธิวเิ ทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา อินเดีย ซึง ่ มีคนมาถามความคิดเห็นของท่านเกียวกับการสร้างวัดไทยในแดนพุทธภูมซง ่ ิ ึ่ มีค�าโบราณกล่าวไว้ว่า เวลาท�าบุญขอให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดชาติใด มีวัดเกิดขึ้นมากมาย ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ใครท�าดี เราอนุโมทนาด้วย” ภพใด ขออย่าให้เกิดเป็น “พระลังกา ม้าอินเดีย เมียฮินดู หมูไทย ไก่จน” ท�าไม ี นะเหรอ ? เพราะชาวลังกานัน ถ้าจะบวชเป็นพระ ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะ ้ เมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ ส่วนม้าอินเดีย เมียฮินดู คนที่เคยไปประเทศ อินเดียคงเข้าใจว่า เกิดเป็นม้าอินเดีย และเมียฮินดูล�าบากแค่ไหน ส่วนหมู ไทย และไก่จีนคงทราบกันดีว่า หัวหมู และไก่นั้น เมื่อถึงเทศกาลส�าคัญจะ ถูกเฉียดน�าไปเซ่นไหว้เทพเจ้าเป็นประจ�า เกริ่นมาซะนาน เพื่อจะพูดถึงเสน่ห์ที่ส�าคัญอีกประการหนึ่งของชาว พุทธลังกา คือค�าว่า สาธุ ท�าไมถึงเป็นเสน่ห์แค่พูดว่าสาธุ ไม่เห็นจะยากเย็น ตรงไหน หลายท่านอาจตังค�าถามในใจ ไม่เป็นไร เดียวจะไขข้อข้องใจให้คลาย ้ ๋ สงสัย เมือผูเ้ ขียนเป็นนักศึกษาอยูเ่ มืองพุทธคยาสถานทีตรัสรูของพระพุทธเจ้า ่ ่ ้ ประเทศอินเดีย บ่อยครังทีได้พบชาวสิงหลเดินทางมานมัสการสังเชนียสถาน ้ ่ 24 25
  • 14. ในพระไตรปิฎกมีเรืองเล่าว่า มีชายคนหนึงไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ่ ่ พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงสัยว่า จะมีด้วยเหรอ? คนที่กลิ่นปาก หลังจากฟังแล้ว เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงไปขออนุญาต หอมคล้ายกลิ่นดอกบัว ลองไม่เคี้ยวไม้สีฟันสักวันคงเหม็นน่าดู ยิ่งสมัยนี้ถ้า ภรรยาออกบวช ครั้นบวชแล้ว ประเพณีในสมัยนั้นเมื่อภรรยาเป็นหม้าย จะ ไม่ได้แปรงฟันคงไม่มีใครกล้าสนทนากับคนอื่น ทรงต้องการที่จะพิสูจน์ว่า ถูกริบเข้าหลวงเป็นสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองเมืองสาวัต จริงหรือไม่ จึงให้ข้าราชบริพารไปกราบนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระรูปนั้น ถี แคว้นโกศล มาฉันภัตตาหารในพระราชวัง เมื่อฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้า วั น หนึ่ ง นายมาลาการเก็ บ ดอกบั ว มาถวายพระเจ้ า ปเสนทิ โ กศล ทรงทราบความประสงค์ของพระราชาจึงเปิดโอกาสให้พระรูปนั้นอนุโมทนา พระองค์ทรงมอบดอกบัวให้กบพระมเหสีและสนมทุกพระองค์ พร้อมทังทรง ั ้ ทันทีที่พระรูปนั้นเปิดปากพูด กลิ่นหอมก็ฟุ้งไปทั่วพระนคร จนท�าให้พระเจ้า ยื่นดอกบัวให้สนมนางนั้นด้วย เมื่อนางรับดอกบัวแล้ว ยิ้มด้วยความดีใจ แต่ ปเสนทิโกศลแปลกพระทัย และทูลถามพระพุทธองค์วา พระรูปนีในอดีตชาติ ่ ้ เมือรับมาแล้วดมกลับร้องไห้ ท�าให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสงสัยว่า เกิดอะไร ่ ได้ท�ากรรมอันใดไว้ จึงมีกลิ่นปากหอมเช่นนี้ ขึ้นกับนาง จึงตรัสถาม พระพุทธเจ้าทรงวินจฉัยว่า ในอดีตชาติ พระรูปนีไม่ได้ทาอะไรมากมาย ิ ้ � พระนางทูลตอบว่า ดีใจทีได้รบพระราชทานดอกบัว แต่ทรองไห้ เพราะ ่ ั ี่ ้ เพียงแต่เวลาที่คนอื่นท�าความดี จะกล่าวอนุโมทนาสาธุกับเขา คือ ยินดีกับ กลิ่นหอมของดอกบัวคล้ายกับกลิ่นปากของอดีตสามี ซึ่งตอนนี้ท่านบวชเป็น ความดีที่คนอื่นท�า สมณะ ศากยะบุตรอยู่ 26 27
  • 15. ส. ที่q๔ สวดมนต์เก่ง “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” พวกเราได้ยินค�าพูดนี้บ่อยๆ คนส่วนมากก็ยงไม่เข้าใจว่ามีความหมายอย่างไร บางคนอาจจะคิดเลยเถิดไป ั การกล่ า วสาธุ กั บ การ ว่าเป็นเพียงค�าคล้องจองทีพระนิยมพูด ในต่างประเทศ มีการวิจยจากสถาบัน ่ ั ท�าความดีของคนอื่น นอกจาก ชั้นน�าหลายแห่งทั่วโลกเกี่ยวกับการสวดมนต์ว่ามีผลดีต่อสุขภาพกาย และ จะเป็ น การสนั บ สนุ น ให้ ค น สุขภาพจิต เพราะในขณะที่สวดอยู่นั้น จิตใจของผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวด ท�าความดีตามหลักที่ว่า ปัคคัณ มนต์ ไม่วอกแวก วุ่นวาย เป็นจิตที่สงบ พบความสว่าง ทั้งการสวดมนต์ยัง เห ปัคคะหาระหัง ยกย่องคน เสมือนเป็นการออกก�าลังกายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะการ ที่ควรยกย่องแล้ว ยังเป็นการ เปล่งเสียงสวดอักขระแต่ละตัวนั้นเสมือนการเคลื่อนไหวอวัยวะในร่างกาย ปลูกฝังให้จิตใจของผู้กล่าวไม่ เนื่องจากอักขระแต่ละตัวมีที่เกิดไม่เหมือนกัน เช่น ก ไก่ เกิดที่คอ, ป ปลา ริษยาในเมื่อคนอื่นท�าดีและได้ เกิดที่ริมฝีปาก เป็นต้น จึงเท่ากับเป็นการออกก�าลังกายไปในตัวอีกโสตหนึ่ง ดีอีกด้วย เมื่อเห็นคนอื่นท�าดี ด้วย ในขณะที่สวดมนต์อยู่นั้น ถ้าจิตเป็นสมาธิคือตั้งมั่นแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่ ลองกล่าวค�าว่าสาธุสิ จะได้รู้ว่า สวด จะท�าให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบ เมื่อใจสงบไม่มีสิ่งรบกวน(กิเลส) กาย มีความสุขใจแค่ไหน ก็พลอยสงบระงับไปด้วย เพราะกายกับจิตเนื่องถึงกัน สังเกตได้ว่า เมื่อเรา เครียด ร่างกายผิวพรรณก็พลอยเศร้าหมองไม่ผ่องใสไปด้วย ปราชญ์จึงบอก 28 29
  • 16. ว่า “ออกก�าลังกายต้องเคลื่อนไหว ออกก�าลังใจต้องหยุดนิ่ง” ของพวกเราก็ขึ้นไปบนชั้นสองของหอที่เก็บพระธาตุเขี้ยวแก้ว มีชาวศรีลังกา วันที่คณะผู้เขียนเดินทางไปสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว ณ วัดพระ นังสมาธิบาง นังสวดมนต์บาง(การนังของชาวลังกาส่วนมากจะนิยมเหยียดขา ่ ้ ่ ้ ่ ธาตุเขี้ยวแก้ว กว่าจะผ่านเข้าไปภายในวัดต้องผ่านด่านตรวจหลายครั้ง เคยเห็นชาวลังกานังฟังพระเทศน์ ประนมมือ และเหยียดเท้าไปทางพระ คนที่ ่ โดยเฉพาะฆราวาส ส�าหรับ ไม่เข้าใจอาจเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดกบเขาว่าไม่เคารพพระ แต่สาหรับชาวลังกา ีั � พระภิกษุสามเณรผ่านสบาย แล้วจิตใจทีเ่ คารพเป็นสิงส�าคัญ)รอเวลาทีจะเข้าชมสักการะพระธาตุเขียวแก้ว ่ ่ ้ หน่ อ ย คณะของเราโชคดี ผู้เขียนนั่งกระหย่งแล้วกราบไปทางที่เก็บพระธาตุฯ และนั่งขัดสมาธิหลับตา ที่ ไ กด์ ทั ว ร์ ป ระสานงานไว้ ท�าสมาธิ ในขณะนั้นก็ได้ยินเสียงสวดมนต์บทต่างๆ เช่น มงคลสูตร กรณีย เรียบร้อยแล้ว จึงผ่านเข้าไป เมตตสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ฟังเสียงสวดมนต์ของชาวศรีลังกาแล้ว รู้สึกปีติ เดินชมภายในบริเวณวัดที่มี และมีความสุข เพราะสวดมนต์เป็นจังหวะไพเราะจับใจ จึงหน่วงเหนี่ยวเอา การป้ อ งกั น อย่ า งแน่ น หนา เสียงสวดมนต์มาเป็นอารมณ์ในการท�าสมาธิ ท�าให้จิตใจเบิกบาน แช่มชื่นดี เพื่ อ ป้ อ งกั น ภั ย ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น เมื่อนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว จึงลืมตาขึ้นและเหลือบมองไปทางคณะ จากผู ้ ที่ ต ้ อ งการจะท� า ลาย สวดมนต์ชาวลังกา พร้อมทั้งยิ้ม ศูนย์รวมจิตใจของชาวลังกา ให้ พวกเขาจึ ง เข้ า มาท� า ความ มีประวัติศาตร์บันทึกไว้ว่า บางสมัยมีคนต้องการท�าลายวัดพระธาตุเขี้ยว เคารพ และทักทาย สอบถาม แก้ว ถึงกับเอารถบรรทุกระเบิดขับวิ่งเข้าไปหมายท�าลายให้ราบคาบ แต่ด้วย สาระทุกข์สกดิบจึงท�าให้รวา ชาว ุ ู้ ่ เดชานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยรักษาพระธาตุฯ ท�าให้ก�าแพงเสียหายเล็กน้อย ศรี ลั ง กากลุ ่ ม นี้ เ ดิ น ทางมาจาก คณะพวกเราเข้าไปก่อนเวลานมัสการพระธาตุฯ จึงพากันไปไหว้พระทีหองโถง ่ ้ ที่ไกลห่างจากเมืองแคนดี้เกือบ และพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระธาตุฯ เดินชมไปแต่ละชั้นของตึกที่แสดงเกี่ยวกับ ๑๐๐ กิโลเมตร แต่เดินทางมาสัก พระธาตุเขียวแก้วไม่วาจะเป็นงาช้างเชือกทีเคยใช้ในพิธแห่พระธาตุเขียวแก้ว ้ ่ ่ ี ้ การะพระธาตุฯ เป็นประจ�าทุก เมือช้างตายไปแล้วก็นางาประดับไว้ให้คนได้ชม ภาพวาดทีแสดงประวัตความ ่ � ่ ิ ปีติดต่อกันเป็นเวลากว่า ๔๕ ปี ส�าคัญของพระธาตุเขี้ยวแก้วยุคต่างๆ สมบัติอันมีค่าที่คนถอดบูชาพระธาตุ แล้ว เหมือนเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งของตระกูลที่ถือปฏิบัติมายาวนาน เขี้ยวแก้ว ที่ทางรัฐบาลน�ามาแสดงไว้ให้ชม ล้วนเป็นสมบัติ และสิ่งมีค่าที่เกิด สนทนากันพักใหญ่ก็ได้เวลาเข้าไปกราบพระธาตุเขี้ยวแก้ว จึงต้องไปเข้าแถว จากศรัทธาของคนจากรุ่นสู่รุ่นที่มีต่อพระธาตุฯ เพือเข้ากราบนมัสการพระธาตุฯ ภายในห้องซึงต้องผ่านประตูหลายประตู วัน ่ ่ พอใกล้ถงเวลาทีเ่ ขาจะเปิดให้คนเข้าไปสักการะพระธาตุเขียวแก้ว คณะ ึ ้ นั้นคณะผู้เขียนเป็นคณะที่ ๒ ที่ได้เข้าไปกราบพระธาตุฯ ภายใน แต่มีเวลาไม่ 30 31
  • 17. นานในการนมัสการ เพราะต้องเอื้อเฟื้อแก่คณะอื่นที่รอคิวยาวเหยียดด้วย เพียงเวลาแค่ไม่กี่นาทีกับการไหว้พระธาตุฯ ก็ท�าให้มีความสุขใจทุกครั้งที่ นึกถึง ผูเ้ ขียนประทับใจชาวสิงหลทีปลูกฝังการสวดมนต์ให้กบบุตรหลาน และ ่ ั ส. คนในครอบครัว เพราะทุกคนในครอบครัวไม่ว่าจะตัวเล็กไม่กี่ขวบก็สามารถ สวดมนต์สูตรต่างๆ ได้ไม่แพ้พระภิกษุเลยทีเดียว การสวดมนต์เก่งจึงเป็น ที่q๕ สัญลักษณ์อย่างหนึงของชาวศรีลงกาทีชาวพุทธไทยเราควรเอาเป็นแบบอย่าง ่ ั ่ เพราะอย่างน้อย ถ้ามีคนถามชาวพุทธไทยว่า อะไร คือ สัญลักษณ์ของชาวพุทธ ไทย อย่างน้อยเราก็ตอบเขาได้ว่า สวดมนต์เก่ง มีชาวพุทธบางท่านเคยบอก ใส่ชุดขาว ว่า เป็นชาวพุทธสบายง่ายๆ อะไรก็ได้ ไม่ต้องถืออะไร อันนี้ต้องระวัง เพราะ เอกลักษณ์ของชาวพุทธลังกา ถ้าไม่ยึดถือปฏิบัติอะไรเลย ก็คงไม่ต่างจากคนที่ไม่มีศาสนา ฉะนั้น ชาวพุทธ ไทยอย่างน้อยก็ต้องมีเอกลักษณ์อะไรสักอย่างที่จะโชว์ชาวโลกได้ว่าเราก็มีดี มีเอกลักษณ์ของตนเอง การแต่งชุดขาวไปวัดดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของชาวพุทธลังกา วัน การสวดมนต์เก่ง นอกจากชาวศรีลังกาแล้ว ชาวธิเบตและชาวพุทธ ที่ผู้เขียนเดินทางไปชมวัดกัลยาณี ในเมืองโคลัมโบ เห็นชาวพุทธลังกาใส่ชุด มหายานก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่ายกย่อง โดยเฉพาะชาวพุทธธิเบตนั้นมีเอ ขาว พาลูกหลานไปเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกคนต่างแต่งกายด้วย กลัษณ์ประจ�าตัว คือ ลูกประค�าส�าหรับนับเวลาสวดมนต์ พวกเขาสวดมนต์ ชุดขาว เป็นภาพประทับใจทีหาดูได้ยากในประเทศอืน คณะแสวงบุญต่างพูด ่ ่ สั้นๆ เพียง ๖ ค�า คือ โอม มะณี ปัทเม โอม แค่นี้ก็เป็นการดีมากส�าหรับเป็น เป็นเสียงเดียวกันถึงความประทับใจที่ได้เห็นภาพเด็กๆ ตั้งแต่เล็กจนโตมา เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน เคยเดินทางไปธรรมศาลาที่ประทับของ ศึกษาพระพุทธศาสนา มีครูทงพระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสอนในวิชาต่างๆ ั้ องค์ดาไล ลามะ เห็นภาพน่าประทับใจที่ชาวธิเบตนิยมไปนั่งสวดมนต์อยู่ที่ ที่เด็กๆ ควรรู้ ผู้เขียนเดินชมไปตามห้องเรียนต่างๆ นักเรียนต่างตื่นเต้นที่เห็น วัดเป็นประจ�าทั้งเช้าและเย็น บางคนก็นิยมเดินสวดมนต์รอบๆ บริเวณวัด ชาวต่างชาติให้ความสนใจ แต่ไม่กล้าเข้าไปทักทายอะไรมากมายเนืองจากยัง่ อยู่ในชั่วโมงเรียนของเด็กๆ พวกเขาต่างตั้งใจเรียน ผู้เขียนบวชเรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี จนถึงปัจจุบัน อายุ ๓๓ ปี ยังไม่ เคยเห็นนักเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากมายอย่างนี้ ถามพระภิกษุชาว ศรีลงกาทีนาคณะเราไปเยียมชมวัด ท่านกล่าวว่า มีนกเรียนประมาณ ๕,๐๐๐ ั ่ � ่ ั คน ฟังแล้วได้แต่นกอนุโมทนาและเกิดแรงบันดาลใจว่าบ้านเราน่าจะเอาเป็น ึ 32 33
  • 18. ท�าได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตัวเราเอง แต่ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นยอดมนุษย์อย่าง เช่น พระพุทธเจ้า, พระเยซู, มหาตมะ คานธี, มาติน ลูเธ่อร์ คิงส์, และมหา บุรุษอีกหลายท่านบนโลกใบนี้ มีสุภาษิตจีนเกี่ยวกับการฝึกกาย ฝึกจิตว่า “จงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นความประพฤติ จงระวังความประพฤติ เพราะความประพฤติจะกลายเป็นความเคยชิน จงระวังความเคยชิน เพราะความเคยชินจะกลายเป็นนิสัย จงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นสันดาน จงระวังสันดาน เพราะสันดานจะก�าหนดชะตากรรมตลอดชีวิต” แบบอย่าง วัดหลายวัดในเมืองไทย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็จดตัง ั ้ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มากว่า ๕๐ ปี เหมือนกัน ถ้าผู้เขียนจ�าไม่ ผิดก็ได้ไอเดียมาจากประเทศศรีลังกานี้ ต่างแต่เพียงจ�านวนนักเรียนยังมีไม่ มากอย่างชาวลังกา อาจจะเป็นเพราะผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และทางบ้านเมืองให้ ความส�าคัญ ให้การสนับสนุนถึงท�าอย่างนี้ได้ เคยสังเกตชาวพุทธจากประเทศต่างๆ ทีเดินทางไปไหว้พระในประเทศ ่ อินเดีย ชาวพุทธลังกาจะมีเอกลัษณ์พิเศษเฉพาะตัว ในความมีระเบียบวินัย เช่น การแต่งกายด้วยชุดขาวเหมือนกันหมด การเข้าแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย การเปล่งวาจาสาธุการพร้อมกัน และการสวดมนต์ เป็นต้น การปฏิบัติได้เช่น นี้ แสดงว่าได้รับการฝึกฝนอบรมมาอย่างดีจนกลายเป็นอุปนิสัย เห็นภาพ อันประทับใจแล้วก็ได้แต่นึกถึงพุทธพจน์ที่ “ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ ในหมู่ มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เป็นผู้ประเสริฐ” แต่การฝึกมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ 34 35