SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 64
Baixar para ler offline
ส.ค.ส.๒๕๕๕




       ฝึกฝนอบรมตนได้แล้ว
       ประเสริฐกว่า......




                            โสรโท ภิกขุ
...ใคร
ธรรมบรรณาการ
        น้อมนมัสการคารวะ




พระครูภาวนาวราลังการ วิ.
   (สมศักดิ์ โสรโท)
  เจ้าอาวาสวัดภัททันตะอาสภาราม
  บ้านหนองปรือ ตำ�บลหนองไผ่แก้ว
     อำ�เภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี




        เนื่องในวโรกาสขึ้นปีใหม่
        พุทธศักราช ๒๕๕๕
มูลคันธกุฎี ยอดเขาคิชฌกูฏ
เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย
เจตนารมณ์
ส             .ค.ส. สื่อ ความสงบ และสันติ โดย โสรโท ภิกขุ ฉบับปี
               พุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ นับเป็นสื่อธรรมะลำ�ดับที่สี่ของชุด
ที่ได้เรียบเรียงและรวบรวมธรรมบรรยายของ พระครูภาวนาวราลังการ
วิ. (สมศักดิ์ โสรโท) ท่านเจ้าอาวาสวัดภัททันตะอาสภาราม ซึ่งได้แสดง
โปรดโยคีผู้ปฏิบัติธรรมในวาระส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คืนวันที่ ๓๑
ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
	         ส.ค.ส.ฉบับนี้ ท่านพระอาจารย์ได้เมตตาตั้งชื่อเรื่องว่า “ฝึกฝน
อบรมตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าใคร” เพื่อเป็นคู่มือในการฝึกฝนอบรม
ตนเองของทุกท่าน ตามแนวการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยนัยสติปัฏ
ฐานสี่ ท่านเน้นให้มีความสมดุลกันในการดูแลร่างกายและจิตใจ ให้มี
การบริโภคอาหารกายและอาหารใจอย่างมีสติ ความแยบคายและเท่าทัน
ปัจจุบันในการบริโภคอาหารใจที่เข้ามากระทบทางทวารทั้งหก อันได้แก่
ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะเป็นทางให้เราพ้นทุกข์ ถึงพระนิพพานได้
	         ขอน้อมถวาย ส.ค.ส. ฉบับนี้เป็นธรรมบรรณาการ นมัสการ
คารวะแด่ ท่านพระอาจารย์สมศักดิ์ โสรโท เนื่องในวโรกาสขึ้นปีใหม่
พุทธศักราช ๒๕๕๕ และเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ เป็นสื่อความสงบและ
สันติ แด่โยคีผู้ปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผู้ใฝ่ใจในธรรมทั่วไป ขออนุโมทนา
บุญแด่ เจ้าภาพผู้ร่วมกันบริจาคในการจัดพิมพ์ ขออนุโมทนาบุญและ
ขอบคุณ คณะผู้มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำ�ทุกภาคส่วน หวังเป็นอย่าง
ยิ่งว่า ส.ค.ส. ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านตามสมควร

                    นายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์
                         บรรณาธิการ
อนุโมทนาพจน์
ใ          นวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๕ คณะศิษย์โดย
            การนำ�ของนายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์ ได้ช่วยกันถอดคำ�
เทศนาธรรมในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่ง
เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นไปที่การฝึกตนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึก
ใจให้มีสติปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและพึ่งพาตนเองได้
อย่างยั่งยืน เมื่อถึงคราวจะเป็นภาระของคนอื่น ก็ขอให้เป็นน้อยที่สุด
อาตมาภาพได้อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ระหว่างเรื่องการ
ได้รับอาหารกายและอาหารใจที่มีคุณภาพ จะนำ�ไปสู่การพึ่งพากันและ
กันอย่างยั่งยืน ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำ�ตนเป็นผู้ให้
มากกว่าเป็นผู้รับ แม้การขยับพลิกเปลี่ยนต้องขับเคลื่อนด้วยพลังแห่ง
ศีล สมาธิ ปัญญา อันจะนำ�พาสู่จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน การ
จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมตนเอง อย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป ตามหลักสติปัฏฐานสี่ เพราะผู้ที่ “ฝึกฝนอบรมตนได้
แล้วประเสริฐกว่าใคร”
	        ขออนุโมทนาบุญนายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์ และผู้เกี่ยวข้อง
ทุกคนรวมทั้งเจ้าภาพผู้ร่วมจัดพิมพ์หนังสือ     เพื่อมอบให้เป็นธรรม
บรรณาการ สื่อแห่งความสุขสันต์ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ขอกราบ
อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงคุ้มครองรักษาให้ทุกท่านมีความสุข
สงบร่มเย็นภายใต้ร่มเงาแห่งธรรม จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ


                       พระครูภาวนาวราลังการ วิ.
                          (สมศักดิ์ โสรโท)
ส.ค.ส.๒๕๕๕

          ฝึกฝนอบรมตนได้แล้ว
           ประเสริฐกว่าใคร
                                           โสรโท ภิกขุ




  บรรยาย ค่ำ�วันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
 ณ ศาลาโพธิปักขิยธรรมเฉลิมราชย์ วัดภัททันตะอาสภาราม
ลำ�              ดับต่อจากนี้ไปจะได้แสดงพระธรรมเทศนา พอ
                   เป็นเครื่องเพิ่มพูนกุศลและศรัทธาพร้อมยังสัมมา
ปฏิบัติให้เกิดขึ้นแก่โยคาวจรโยคีผู้ปฏิบัติธรรม ญาติโยมสาธุชนทั้ง
หลายจนกว่าจะยุติลงด้วยเวลาอันสมควร จากนี้ไปให้เรานั่งขัดสมาธิ
คู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ระลึกรู้อยู่กับอารมณ์อันเป็นปัจจุบัน นั่งให้
สบาย มีความรู้สึกผ่อนคลายตามสมควร วันนี้เป็นโอกาสส่งท้ายปี
เก่าต้อนรับปีใหม่ ทางวัดภัททันตะอาสภารามได้จัดกิจกรรม เพื่อให้
ทุกคนได้มีส่วนร่วมสังเกตการณ์ปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป เป็นการตระ
เตรียมบุญกุศลคุณความดีไว้ให้พร้อม เพื่อก้าวตามปีใหม่ที่กำ�ลังจะ
มาเยือนในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หลายท่านก็ตั้งใจมาร่วมกิจกรรม
ปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ร่วมกันสาธยายพระสูตรและพระ
ปริตร เพื่อเป็นขวัญกำ�ลังใจแก่ชีวิตต่อไป เรียกว่ามีโอกาสได้สวด
มนต์ข้ามปี ทำ�ความดีเพื่อเป็นทุนสำ�หรับใช้สอยในปีหน้า เพราะสติ
ปัญญาที่เราสั่งสมมาอาจจะหายไปกับปีเก่าแล้ว พอปีใหม่ก็จะพบ
สิ่งใหม่ๆที่อาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ได้

                                                                         13
ให้สติปัญญาดูแล
                        สิ่งที่ว่าแย่ๆอาจจะแปรเป็นคุณ


     	         เมื่อขาดสติปัญญาสิ่งเหล่านั้นไม่สู้จะเป็นคุณเท่าไร แต่เมื่อมี
     สติปัญญาเข้ามาดูแลสิ่งนั้นจะเป็นคุณมากขึ้น ดังนั้นในช่วงส่งท้าย
     ปีเก่าต้อนรับปีใหม่จึงนิยมขวนขวายสะสมบุญกุศลทำ�สิ่งดีๆ คิดดี
     พูดดี ทำ�ดี ขอให้นั่งกรรมฐานไปด้วย ฟังไปด้วย ถ้าเมื่อยก็ขยับได้
     นะไม่ได้ห้าม ประเดี๋ยวปวดมากก็จะฟังเทศน์ไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้สึกสบาย
     ตัวก็จะสบายใจด้วย ถ้าปวดหนักปวดเบาก็ลุกไปได้ ไม่ต้องทน
     ทรมานเพราะเป็นปกติ ถ้าเราจะระลึกถึงความเป็นตัวเรา ญาติโยม
     และพระคุณเจ้าทั้งหลายลองพิจารณาดูว่าในรอบปีหนึ่งเราดูแลขันธ์
     ห้ากันอย่างไรบ้าง รับประทานอาหารกี่มื้อ นอนหลับพักผ่อนวัน
     ละกี่ชั่วโมง ใช้จ่ายกับการดูแลรักษาสุขภาพกายกันไปเท่าไร ใช้เงิน
     ทองใช้เวลาไปกับการกิน การเที่ยวสนุกสนานกันเท่าไร เราดูแลถึง
     ขนาดนี้ ถามว่าร่างกายเชื่อฟังเราหรือเปล่า ลองพิจารณาดูตั้งแต่เล็ก
     จนโตมาจนอายุเท่านี้ ถามว่าร่างกายเชื่อเราบ้างไหม บอกไม่ให้แก่
     ก็แก่ บอกไม่ให้เจ็บก็เจ็บ บอกไม่ให้ตายก็ตาย ทุกอย่างไม่ได้อยู่ใน
     อำ�นาจของเราเลย
     	        เราลองพิจารณาดูใกล้ๆ ไม่ต้องดูไกล ดูดีๆ เรามักจะดูโลก
     ภายนอกจนลืมดูแลโลกภายใน ลืมดูแลกายและใจตัวเอง พอเริ่ม
     หันมาสนใจตัวเองบ้างก็สนใจแต่เรื่องกาย บางครั้งก็สนใจมากไป
     ทะนุถนอมมากไป ดูแลดีเกินไป ทำ�ให้ร่างกายอ่อนแอ คำ�ว่าดีเกินไป

14
ดูแลดีจะพอดี
ดูแลดีเกินไปจะไม่ดี




                      15
แสดงว่าไม่ดีจริง ถ้าดีจริงจะต้องเป็นคุณมากกว่าเป็นโทษ ส่วนไหน
     ที่เกินก็จะถูกกำ�จัดออกไป อย่างกลไกร่างกายของเราก็จะขับส่วนที่
     ไม่ดี ส่วนเกินออกไปจากร่างกาย เรียกว่ามีระบบกำ�จัดของเสียโดย
     ทางเหงื่อ ทางปัสสาวะ ทางอุจจาระ หลังจากผ่านเครื่องกรองทั้ง
     กระเพาะ ลำ�ไส้ ตับ และไต เป็นกระบวนการที่อาศัยซึ่งกันและกัน
     ทำ�งานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ หากมีส่วนไหนเกินก็จะไปเพิ่ม
     ภาระให้กับอีกระบบหนึ่งทำ�ให้เสียดุลยภาพ เช่น ถ้าบริโภคมากเกิน
     ไปเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ไตเริ่มมีปัญหา ตับเริ่มมีปัญหา
     อวัยวะต่างๆ ก็พลอยมีปัญหาตามมา เพราะไม่ค่อยพอดี ทำ�ให้ต้อง
     ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค บางคนยังทำ�ใจไม่ได้ก็ยังคง
     บริโภคตามอำ�นาจของกิเลส ตามความโลภ หรือบางคนก็บริโภค
     ให้สะใจด้วยอำ�นาจของความโกรธ บางคนก็บริโภคด้วยอำ�นาจของ
     ความหลง คือไม่รู้จริง อาจเป็นค่านิยมที่บริโภคมาตั้งแต่เล็กจน
     โต ยกตัวอย่างเมื่ออาตมาเป็นเด็กอาศัยอยู่ในชนบท มีน้องหลาย
     คน นานๆ จะมีอาหารทะเลรับประทานกัน พอแม่ได้ปลาทูเค็มมา
     ก็จะเอามาห่อใบตองแล้วเอาไปปิ้งไฟ ใช้ขี้เถ้าร้อนๆกลบใบตองที่ห่อ
     ปลาทูเอาไว้ พอปลาในใบตองสุกก็เอาไปใส่ถ้วย มีกติกาว่า ทุกคน
     ต้องเอาข้าวเหนียวจิ้มลงไปเท่านั้น ทำ�ให้กินข้าวได้มาก กินกับข้าว
     นิดเดียว จะเป็นเพราะว่า ไม่สามารถหาได้หรือเป็นเพราะความเชื่อ
     ว่า กินข้าวมากๆ แล้วจะทำ�ให้โตเร็ว ในข้าวมีแต่แป้ง คุณประโยชน์
     อย่างอื่นเช่น โปรตีนมีน้อย น้ำ�ตาลมีมาก สมัยก่อนเราไม่รู้หรอก
     กินกันมาแบบนั้นจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อันนี้ก็ยกตัวอย่างให้เห็น
     นานๆทีก็จะมีอาหารโปรตีนจากท้องไร่ท้องนา ห้วยหนองคลองบึง

16
นั่นแหละ ได้มาก็ต้มซดน้ำ�กันไป พ่อแม่บอกว่า ตับ ไต ไส้ พุงถ้า
กินมากจะเป็นตานขโมย เด็กๆก็เชื่อตามๆกันมา และบริโภคกันมา
จนเป็นความเคยชิน พอเรามาเปลี่ยนแปลงการบริโภคเราก็จะรู้สึก
อึดอัดขัดข้องมากเลย อย่างบางคนเคยกินเผ็ดๆ เปลี่ยนมากินจืดๆ
บางคนเคยใส่ผงชูรสถ้าไม่ใส่ก็รู้สึกว่าจืด เคยปรุงแล้วไม่ได้ปรุงก็จะ
รู้สึกว่าไม่อร่อย นี้ก็เป็นการบริโภคด้วยความหลงทั้งสิ้น
	         ปีเก่ากำ�ลังจะผ่านไปแล้ว อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะเป็นปีใหม่ ให้
เราลองพิจารณาดูพฤติกรรมการบริโภค                  ปัจจัยสำ�คัญที่จะทำ�ให้
สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง อาหารของร่างกายที่เราบริโภคกัน
อยู่เป็นคุณหรือเป็นโทษ บางทีดูแรกๆเหมือนจะให้คุณ พอนานไป
กลับกลายเป็นให้โทษ ไขมันในเส้นเลือดสูงเกิดการอุดตัน เป็นโรค
เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ และฮิตที่สุดคือ โรคมะเร็ง และ
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่ค่อย
ได้ผลเท่าที่ควร หลายคนก็เสาะหาสำ�นักกรรมฐานหรือสถานบำ�บัด
ที่ดูแลเรื่องกายและใจไปพร้อมกัน แต่ละแห่งก็กำ�หนดกฎเกณฑ์ให้
ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อย่างเช่น ให้เว้นเนื้อสัตว์
บางประเภท และหันมากินผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้อง
กินแบบธรรมชาติ แม้เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้วบางคนก็หาย แต่
บางคนก็ตาย ไม่ได้หายทุกคน ช้าเร็วก็ต้องตายอย่าไปกลัวตรงนั้น
แต่ทุกคนอยากอยู่สบาย หากเราเลือกที่จะสบายวันนี้ ก็เหมือน
กับกินไปเพื่อรอป่วยรอเจ็บไข้ในวันหน้า             แต่ถ้าเรายอมทุกข์บ้าง
ทรมานบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสพคุ้นอยู่ มากินอาหารเพื่อ
สุขภาพกัน วันหน้าก็จะไม่ลำ�บาก อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า กิน

                                                                            17
18
19
กายใจสมดุลเป็นคุณแก่ชีวิต




20
อาหารเพื่อเป็นโอสถ ก็ลองใช้สติปัญญาพิจารณากันดูแล้วกัน
	         ทีนี้ก็เลยคุยกันเรื่องสุขภาพ      ลองดูว่า พฤติกรรมการ
บริโภคของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือไม่ อย่างบางคนชอบกินของ
มันๆ ของทอด บางคนชอบกินรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด อาหารใน
กลุ่มเนื้อสัตว์ก็เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ กินพวกผักจะดีต่อสุขภาพ
ดีต่อการขับถ่าย เราต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้แล้วปฏิบัติตามแนวทาง
อาหารจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยรักษาร่างกายของเรา ถ้าเราบริโภคแต่
สิ่งที่ไม่ช่วยรักษาก็เหมือนเราเตรียมตัวเพื่อเป็นคนป่วย แต่ถ้าเรา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ก็เหมือนว่าเราได้รับการบำ�บัด
ดูแลด้วยอาหาร ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ได้
ด้วยอาหาร” จะเกิดในภพภูมิใดต้องมีอาหารเป็นปัจจัยหลัก เราเกิด
มาเป็นมนุษย์ เรียกว่า เป็นภพภูมิหยาบ อาหารหยาบ(กวฬิงการา
หาร)อาหารคือคำ�ข้าว เพราะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึง
จะอยู่ได้ เราจะรู้สึกว่าหิวเมื่อขาดอาหาร รู้สึกอิ่มเมื่อได้อาหารเพียง
พอ สิ่งเหล่านี้ก็วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้
	         บางคนปฏิบัติกรรมฐานแล้วจะรู้สึกเบื่อหน่ายว่า วันหนึ่งๆ
จะต้องกิน กินแล้วก็ต้องถ่าย หากไม่ถ่ายก็ลำ�บากอีก เดินจงกรม
นั่งสมาธิไปก็เริ่มเห็นข้อจำ�กัดเหล่านี้ ทำ�ให้รู้สึกเบื่ออาหาร รู้สึกว่า
เป็นภาระที่ต้องดูแลกัน ถ้าไม่ดูแลก็ทุกข์อีก ตั้งแต่เล็กจนโตต้อง
คอยป้อนข้าวป้อนน้ำ� ดูแลกันสารพัด แต่ก็ไม่เชื่อฟังเราเลย พอ
มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำ�ให้เรารู้ ดูออก บอกได้ จะได้ใช้ให้
เป็น ให้ตรงกับสภาพที่เป็น มิฉะนั้นเราจะหลงอยู่ และใช้ร่างกาย
ไม่คุ้มกับที่ได้ถูกเลี้ยงและดูแลมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ฉะนั้นก่อนที่

                                                                           21
อาหารกาย อาหารใจ สำ�คัญพอๆกัน




22
ร่างกายนี้จะแตกสลายหรือจากเราไป เราจะดึงศักยภาพออกมาใช้
ประโยชน์ให้ถึงที่สุดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น สุดท้ายทุก
คนก็ต้องทอดทิ้งร่างกายไปอย่างแน่นอน ไม่มีใครหนีพ้น แต่ช่วงที่
ยังอยู่เราจะต้องดูแลให้ดี การเลือกอาหารการบริโภคเป็นสิ่งสำ�คัญ
ถ้าเราไม่ฝึกไม่หัดตั้งแต่ตอนนี้ก็ลำ�บาก ฉะนั้นมนุษย์ทั้งหลายจะมี
สุขภาพดีหรือประเสริฐกว่าใครๆ ก็อยู่ที่การฝึกตน ถ้าเราไม่ฝึกตน
เราก็จะเป็นที่พึ่งของตนไม่ได้ การฝึกตนทำ�ได้ยากหากฝึกได้แล้ว
ก็สบาย เวลาที่ฝึกไม่สบายหรอก อย่างฝึกทหารฝึกตำ�รวจนั้นแสน
ลำ�บาก บางคนบอกว่า กว่าจะเป็นก็แทบล้มประดาตาย อย่างฝึกให้
เป็นพระจริงๆฝึกเป็นพระอรหันต์ยิ่งยากไปใหญ่ ไม่รู้จะกี่ภพกี่ชาติ
จึงจะสำ�เร็จ แค่เราฝึกร่างกายของเราก็ยากพอแล้ว ฝึกใจก็ยิ่งยาก
กว่าที่เป็นอยู่นี้อีกหลายเท่า การฝึกใจก็ไม่ใช่สบาย บางคนก็ว่าเมื่อ
ไม่สบายก็ไม่อยากฝึก เมื่อไม่อยากฝึกแล้วเราจะเป็นคนที่อยู่ดีมีสุข
ได้อย่างไร
	         บางคนเจ็บป่วยแต่สามารถอยู่ได้โดยไม่ป่วย หรือเจ็บน้อย
รู้จักวิธีดูแลตัวเอง        ทำ�ให้ระบบต่างๆในร่างกายเชื่อมโยงกันได้ดี
แต่ ถ้าเราไม่รู้จักพอดี บริโภคด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ด้วยความ
เอร็ดอร่อย ก็เป็นการกินเพื่อสะสมโรคหรือสะสมทุกข์ บุคคลบาง
คนที่ทำ�เพื่อประโยชน์ตัวเอง หวังผลทางวัตถุเป็นหลัก ก็จะกระตุ้น
ให้คนติดในรสอร่อย จะทำ�อย่างไรก็ได้ให้อร่อย ให้คนติด พอติด
แล้ว จะอยู่ไกลแค่ไหนก็ไปกิน บางแห่งก็ทำ�การตลาดเพื่อกระตุ้นให้
เกิดการบริโภค ให้ลูกค้าได้ไปกิน ไปดื่ม ไปเสพ ผลที่เป็นกำ�ไร
ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำ�ธุรกิจกับเรื่องเหล่านี้ โดยไม่ได้คำ�นึงถึงสุขภาพ

                                                                           23
ฝึกอยู่ย่อมไม่สบาย
     แต่บั้นปลายสุขแท้




24
ของผู้บริโภค เขาใช้หลักการทางกิเลสคือ กระตุ้นให้เกิดโลภะอยาก
เสพบริโภคในสิ่งนั้นๆ มากขึ้น บางแห่งมีการสำ�รวจความต้องการ
ความชอบต่อสินค้าแต่ละตัว ก็เป็นเรื่องของความโลภ ถ้าใครเป็น
ทาสอยู่ก็จะชักจูงง่าย
	         บางคนพอได้มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เอาใจเขามา
ใส่ใจเรา มีจิตเป็นบุญกุศล ทำ�ร้านอาหารที่คำ�นึงถึงสุขภาพของผู้
บริโภคด้วย อันนี้ดีมากน่าอนุโมทนา เรื่องเหล่านี้จะพบในประเทศที่
เจริญแล้ว ในบางประเทศต้องมีกฎหมายบังคับและมีการตรวจสอบ
อยู่เสมอว่าเป็นโทษกับผู้บริโภคหรือไม่ แต่ก็มีบางคนทำ�เพื่อสุขภาพ
ของตนเองและผู้อื่นด้วย บางคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้ให้ ด้วยจิตที่เป็น
บุญกุศลแจกฟรีติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๒๐ ปีจนตายหลับตาลาโลก
ก็มี บางคนเข้าใจยึดหลักพอเพียงตามปรัชญาของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว คือ ไม่หวังกำ�ไรมาก ทำ�เพื่อให้ตนเองอยู่ได้โดยไม่
ลำ�บากเดือดร้อน ทำ�อย่างมีคุณภาพ สะอาด มีประโยชน์ เราอยาก
ได้ของดี บริสุทธิ์ สะอาด มีประโยชน์ฉันใด บุคคลอื่นก็ไม่ต่างอะไร
จากเรา เมื่อปรารถนาอย่างนั้น ก็จะทำ�ไปด้วยเจตนาที่ดี อยากให้
เขามีสุขภาพดี เราเองก็มีความสุข อย่างนี้หาได้ยาก ขณะนี้อาจจะ
ยังมีไม่มาก แต่ต่อไปจะมีเพิ่มขึ้นๆ ในอนาคตผู้บริโภคก็จะมั่นใจได้
ถึงความสะอาด และประโยชน์ที่จะได้รับ ทำ�ให้สิ่งที่มีโทษลดลงไป
เอง เป็นเพราะคนเราเริ่มเข้าใจชีวิต เริ่มเข้าใจธรรมะมากขึ้นนั่นเอง
	         ธรรมะเริ่มแทรกซึมเข้าไป แรกๆ อาจจะทำ�ไม่ได้ แต่พอ
นานเข้าก็ทำ�ได้ หลายคนเริ่มคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ
ต่อผู้อื่นด้วย อยู่แบบพึ่งพาเป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่เอารัดเอาเปรียบ

                                                                    25
บริโภคอย่างเท่าทัน
     เพราะปัจจุบันมีธรรม




26
กัน เอาบุญร่วมกันปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เป็นเพื่อนร่วมเกิด
ร่วมเจ็บ ร่วมตาย เพราะเราอยู่บนโลกนี้ไม่เกินร้อยปี คนที่อายุยืน
ที่สุดในโลกนี้ก็ยังไม่ถึง ๒๐๐ ปีสักคน สมัยพุทธกาลมีพระสาวก
บางรูปท่านอายุยืนถึง ๑๖๐ ปี แต่สมัยนี้ไม่เกิน ๑๒๐ ปีก็ไปแล้ว
ถ้าเข้าใจชีวิตของแต่ละคน เราก็จะไม่เอารัดเอาเปรียบกัน แต่ถ้าเรา
ยังถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำ�อยู่ก็จะทำ�ได้ยาก
แต่สำ�หรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วจะทำ�ได้ไม่ยาก เพราะรู้จักเท่าทันกิเลส ก็
สามารถที่จะควบคุมหรือกักขังกิเลสเอาไว้ได้ เหมือนคนที่เลี้ยงสัตว์
มีพิษเอาไว้ แต่สัตว์เหล่านั้นไม่มีโอกาสทำ�ร้ายเจ้าของได้ เพราะ
เลี้ยงแล้วก็ใส่กรงไว้เป็นที่เป็นทาง แต่ถ้าเผลอเมื่อไรจะถูกทำ�ร้ายได้
เหมือนที่ฝรั่งหลงใหลงู แล้วเอามาเลี้ยง ปล่อยไว้ในห้องนอนตัวเอง
งูที่เลี้ยงเป็นงูพิษก็เลยถูกกัดตาย ถ้าเรามีสติปัญญารู้เท่าทันกิเลส
เราก็จะสามารถอยู่กับกิเลส โดยกิเลสไม่สามารถทำ�ร้ายเราได้ แล้ว
เราก็จะอยู่ร่วมกันในโลกอย่างมีความสุขในระดับหนึ่ง
	          เมื่อเกิดมาในวัฏสงสาร เรามีชะตากรรมร่วมกันคือ ทุก
คนต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเหมือนกันทุกคน หนีไม่พ้น จะเป็น
สาว เฒ่า แก่ จะพิการหรือไม่พิการ เราก็จะเข้าใจกัน ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันโดยไม่ต้องมีกติกาอะไร เกิดจากใจช่วยเหลือกัน เอื้อเฟื้อ
ได้ก็เหมือนกับเอื้อเฟื้อตัวเราเอง เพราะวันข้างหน้าเราก็เหมือนกับ
เขา เหมือนบางคนที่มีลูกก็หวังว่า ลูกจะดูแลเมื่อแก่เฒ่า แต่พอเอา
เข้าจริง ๆ ถ้าไม่ได้ฝึกหัดเป็นตัวอย่างให้ดู คิดแบบใหม่ เกรงใจ
ลูกไม่กล้าใช้ลูก เห็นลูกๆมีครอบครัวก็เกรงใจ กลัวว่าลูกจะลำ�บาก
เดี๋ยวนี้ลูกไม่ค่อยเลี้ยงพ่อแม่แล้ว เราพึ่งไม่ได้นะ เราต้องพึ่งตัวเอง

                                                                        27
พระพุทธองค์ตรัสว่า อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
     การพึ่งตนได้เราต้องมีธรรมะในใจ
     	         ในด้านร่างกาย เราก็ต้องพึ่งตัวเราเองได้ ดูแลสุขภาพให้
     ดี ดูแลตัวเองให้ดี ทำ�ธุระส่วนตัวเองได้ พอถึงเวลาหมดอายุขัยก็
     นั่งสมาธิไปเฉย หรือนอนหลับสบาย ไม่เป็นภาระของใคร บางคน
     คิดจะพึ่งลูกคนนั้นหลานคนนี้ แต่พฤติกรรมของเราไม่ได้เป็นไปที่
     จะพึ่งพา อันนี้พูดให้ฟัง ไหน ๆ ก็จะหมดปีเก่า ปีใหม่กำ�ลังจะมา
     อย่าไปหวังพึ่งผู้อื่น ถ้าเราพึ่งตัวเองได้แล้ว บางครั้งเราอาจจะเป็นที่
     พึ่งให้ผู้อื่นด้วยก็ได้ หรือบางครั้งเราพึ่งตัวเองได้ ผู้อื่นก็ให้เราพึ่งได้
     ด้วยเหมือนกัน
     	         บ้างก็ว่า ยามเราปกติสมบูรณ์พูนสุขจะมีเพื่อนฝูงห้อมล้อม
     ยามเราเจ็บป่วยเพื่อนฝูงลูกเต้าหายหมดเลย              ก็เป็นเรื่องปกตินะ
     ลองนึกถึงต้นไม้เมื่อยามที่มีใบ มีดอก มีผล ไม่ว่าคนหรือสัตว์เล็ก
     สัตว์น้อยทั้งหลายก็ได้อาศัยกินอยู่อย่างสบาย แต่ยามที่ต้นไม้สลัด
     ใบ สลัดดอกเหลือแต่กิ่งก้าน นกที่เคยอยู่ คนที่เคยอาศัยก็หาย
     ไปหมด นั่นเป็นธรรมชาติที่แสดงให้เราเห็น อย่าไปคิดมาก ให้ดู
     ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา ต้นไม้ที่สลัดใบทิ้งออกไป บางต้นทิ้งใบ
     เหลือแต่กิ่ง แต่พออีกสักเดือนสองเดือนก็เขียวขจีเต็มไปหมด บาง
     ต้นที่ไม่ทิ้งใบ เราจะเห็นใบอ่อนๆ มีแมลงมากิน ใบไหนพอกินได้ก็
     กินเรียบ พอรู้ว่ามีให้กินก็พากันมากินอีก กว่าต้นไม้จะโตได้ก็ต้อง
     ต่อสู้กันพอสมควร ไปดูต้นไม้ข้างโบสถ์ บางครั้งใบไม่มีเลย เพราะ
     แมลงพวกนี้มากินบ่อย ทางภาคอีสานเรียกว่า “แมงกีนูน” คนที่รู้
     ว่าแมลงพวกนี้กินได้ เขาก็ไปเขย่าต้นเขย่ากิ่งให้แมลงหล่นลงมาใน

28
อย่าหวังพึ่งคนอื่น
จะไม่ชื่นมื่นกับชีวิต




                        29
ภาชนะที่เตรียมไว้ จากนั้นก็นำ�ไปคั่วเพื่อเป็นอาหารอะไรก็อีกเรื่อง
     หนึ่ง

                   พึ่งพาหรือเบียดเบียน
                   มีทั้งความเหมือนความต่าง
     	        ชีวิตในบางช่วงดูเหมือนเบียดเบียนกัน บางช่วงพึ่งพากัน
     ก็ได้ อย่ามองเพียงว่าไม่มีอะไร         ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
     บางคนจะรู้สึกว่า เหมือนไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ก็เป็นเพียงช่วง
     หนึ่งเท่านั้นที่เหมือนไม่มี แต่พร้อมที่จะมี ก่อนที่จะมีต้องสะสม
     ก่อน อย่างต้นไม้บางประเภทพอสลัดใบไปแล้วก็ออกดอก ออก
     ผลเลย ช่วงที่มีใบหนาๆ จะไม่ค่อยออกดอก ออกผล คนที่เข้าใจ
     ธรรมชาติก็มาบอกท่านอาจารย์ว่า ต้นมะม่วงที่วัดต้องหาคนมาตัด
     แต่งกิ่ง เอาใบออกบ้าง ถ้าใบหนาลูกมะม่วงจะน้อย อาตมาเลยมอง
     ไปถึงธรรมชาติ อะไรที่มีมากไป ทำ�ให้อีกสิ่งหนึ่งน้อยลงไปได้ แต่
     ถ้าพอดีกันได้สัดส่วนที่พอเหมาะตามธรรมชาติแล้วผลจะดก ก็เป็น
     กลไกของธรรมชาติ นี่คือเทคโนโลยีโดยธรรมชาติ ซึ่งเราเรียนรู้
     ได้ กลไกของร่างกายเราก็เหมือนกัน บางครั้งเราเจ็บไข้ได้ป่วย เรา
     ทุกข์ทรมาน ก็เหมือนกับร่างกายของเราซักซ้อมอะไรบางอย่าง พอ
     เราหายป่วย ร่างกายก็จะดีขึ้นแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานก็ดีขึ้น ไม่ใช่
     ป่วยแล้วป่วยเลย ฉะนั้นเราต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริง ปัจจัย
     หลักก็คือเรื่องอาหาร เราต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์ และช่วย

30
ให้เราได้พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นโดยส่วนเดียว อาจจะ
พึ่งพากันบ้างเป็นครั้งคราว
	       ทีนี้เรื่องใจที่เราฝึกกันอยู่         โดยฝึกการระลึกรู้อาการ
เคลื่อนไหวของท้องพอง              ท้องยุบหรือวิธีอื่นๆ ก็ล้วนแต่ฝึกใจ
ให้นิ่งอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน หรือฝึกใจให้มีสติอยู่ที่อากัปกิริยา
เคลื่อนไหว ในหลักสติปัฏฐานที่เราฝึก ก็คือฝึกให้เรามีศักยภาพ
ที่จะดูแลตัวเอง โดยเฉพาะดูแลใจ อาหารภายในหรืออาหารใจ
สำ�คัญมาก เวลาใจกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี ทั้งที่
เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เมื่อมีการกระทบสัมผัสเกิดขึ้น
ก็เสมือนหนึ่งเราหยิบยื่นอาหาร(ใจ) เข้าปาก เช่น ตาสัมผัสกับรูป
เรียกว่า จักขุสัมผัส หูสัมผัสกับเสียง เรียกว่า โสตสัมผัส จมูกสัมผัส
กับกลิ่น เรียกว่า ฆานสัมผัส ลิ้นสัมผัสกับรส เรียกว่า ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัสกับโผฏฐัพพะ เรียกว่า กายสัมผัส มโน(ใจ)สัมผัสกับ
ธัมมารมณ์ เรียกว่า มโนสัมผัส เมื่ออาหารใจนำ�เข้าสู่กระบวนการ
โดยผ่านทางทวารทั้ง ๖ ถ้าไม่กำ�หนดหรือแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)
ก็จะไม่เกิดกระบวนการคัดสรร ซึ่งจะก่อให้เกิดความชอบหรือไม่
ชอบ เมื่อมีอุปาทานในอาหารใจก็จะก่อให้เกิดความทุกข์ตามมา
	       อาหารใจอีกอย่างคือ มโนสัญเจตนาหาร เมื่อมีเจตนาใน
ทางที่ดี ไม่ดี ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส
กายได้ถูกต้องสัมผัส ใจ(นาม)ได้รู้ธัมมารมณ์ คนทั่วไปมีโอกาส
น้อยมากที่จะได้กำ�หนดรู้ ส่วนผู้ปฏิบัติมีโอกาสในการกำ�หนดรู้ได้
มากกว่า จึงมีความเป็นไปได้ที่จะบริโภคอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาด้วย
ความแยบคาย ความยึดติดจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ส่วนผู้ที่ไม่ได้

                                                                        31
อาหารดีหนุนส่ง
     ตรงไปพระนิพพาน




32
กำ�หนดเลยก็จะติดยึดความชอบหรือไม่ชอบทางอายตนะหรืออาจ
จะบริโภคแบบไม่รู้ก็ได้ อย่างการบริโภคทางตา พอตาเห็นก็ชอบ
พอตาเห็นไม่ชอบก็เบื่อเซ็ง โทสะเกิดโดยที่ไม่รู้ ไม่แยบคาย ไม่
ได้กำ�หนด ถ้าบริโภคแบบนี้เรื่อยไป ถามว่าโอกาสป่วยมีไหม ป่วย
ในที่นี้ คือป่วยใจ แน่นอนป่วยใจเพราะโลภมากไป ป่วยใจเพราะ
โกรธมากไป ป่วยใจเพราะหลงยึดถือหรือมีอุปาทานมากไป อย่าง
บางคนไปทานอาหารกายข้างนอก แล้วว่าอาหารไม่ค่อยดีอารมณ์ก็
ไม่ค่อยดีไปด้วย ลำ�บากนะ อาหารไม่ดีด้วย อารมณ์ก็ไม่ดีประกอบ
กันด้วยก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ฉะนั้นเรามาที่นี่มาฝึกปฏิบัติ มาฝึกใจ
รับประทานอาหารกัน ๒ มื้อ เมื่อเช้าจะเป็นอาหารมังสวิรัติ กลาง
วันเป็นอาหารทั่วไปแต่ไม่เน้นพวกเนื้อสัตว์ จะเน้นผักผลไม้เป็น
ส่วนใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับสุขภาพกาย ถ้ารับประทานแบบ
ตามกิเลสเลยก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าจะได้ประโยชน์น้อย ได้บุญ
น้อย เวลาที่เรามาปฏิบัติก็เหมือนจะลำ�บากกันหน่อย ไม่ได้อย่างที่
อยาก อย่างที่ต้องการ รับประทานยากหน่อยแต่ได้บุญมาก เรา
มาฝึกใจ เวลาเห็นแทนที่จะปล่อยไปตามเรื่องก็กำ�หนด “เห็นหนอ”
หรือแยบคายในขณะที่เห็น โลภะ โทสะ โมหะก็ไม่เข้า ถ้าสิ่งเหล่า
นี้ปนเปื้อนมาในอาหารมากเกินไป ในอนาคตก็จะลำ�บาก เพราะ
โลภะ โทสะ โมหะ จะถูกสะสมทุกขณะจิต คนที่เรียนพระอภิธรรม
ก็อาจจะนับดวงจิตที่ถูกอกุศลจิตครอบงำ�ว่า มีมากมายไปหมดเลย
เมื่อมาปฏิบัติไม่ต้องกังวลนะ แค่ไหนคือแค่นั้น เรียนคือเรียน พอ
เรียนแล้วก็แยกแยะว่า น่ากลัวนะ ถ้าเราปล่อยไปแบบนี้ มิน่าล่ะเรา
ถึงท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ จิตถึงได้จมติดอยู่ในนี้ไม่ยอมออกไป

                                                                  33
ไหน หากเราไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ไม่ได้มาปฏิบัติ
     วิปัสสนากรรมฐานเราก็ไม่มีโอกาสได้รู้ การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็น
     เรื่องยาก การเกิดเป็นมนุษย์แล้วจะมีชีวิตต่อไปก็ไม่ใช่ง่าย


                         การจะอยู่เป็นคน
                         ต้องฝึกตนจึงดี
     	         ฉะนั้นการที่จะอยู่เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐต้องฝึกตัวเอง การที่
     เราจะประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉาน ประเสริฐกว่าคน ยิ่งกว่าคนก็คือ
     เราฝึกตน มิฉะนั้นเราก็จะเป็นแบบคนธรรมดาสามัญเท่านั้นเอง ผู้
     ที่ประสบความสำ�เร็จไม่ว่าด้านใดๆ จะเป็นผู้ที่ฝึกตนมาทั้งนั้น ไม่ใช่
     ว่าอยู่ๆ จะสำ�เร็จได้ ผู้ที่มีงาน มีอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว
     สร้างรายได้ให้กับบริวาร หรือสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติก็ต้อง
     ฝึกตนมาก่อนทั้งสิ้น ไม่ใช่อยู่ๆแล้วก็มาเป็นเลย ต้องมีมาบ้าง ถ้า
     ไม่มีมาเลย เป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย มีแต่ในนิทานปรัมปรา
     ที่เล่ากันมา รออยู่เฉยๆราชรถมาเกย เขาเรียกว่า แต่งไว้เพื่อปลอบ
     ใจตัวเองเท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริงไม่มีแบบนั้น การพึ่งพาตัว
     เองได้หรือคนอื่นพึ่งเราได้ก็ต้องฝึก
     	         การมาฝึกปฏิบัติ เป็นการสอนให้เรารู้จักอายตนะ อย่างตา
     เห็นรูป กำ�หนด “เห็นหนอ” หรือแยบคายในขณะที่เห็น หูได้ยิน
     เสียงกำ�หนด “ได้ยินหนอ” แค่อาการได้ยินหรือแยบคายขณะได้ยิน

34
โลภะ โทสะ โมหะจะได้ไม่ทำ�ร้ายเรา การติดใจในรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะการถูกต้องสัมผัสนั้นก่อให้เกิดกิเลสคือโลภะ การ
ได้ยินเสียงบ่น เสียงด่า เสียงตำ�หนิ เกิดไม่ชอบใจขึ้นมา นั่นแหละ
กิเลสตัวโทสะพลุกพล่านอยู่ เป็นเหตุให้อารมณ์เสีย เกิดขึ้นรวดเร็ว
เหลือเกิน จนไม่ได้กำ�หนดหรือกำ�หนดไม่ทัน เมื่อไม่แยบคาย โมหะ
ก็เข้าอีก เหมือนเราบริโภคทางตา ทางหู ด้วยความไม่รู้ เราบริโภค
มาตั้งแต่เล็กจนโตในช่วงชีวิตนี้ บริโภคมาหลายภพชาติแล้ว ไม่รู้ภพ
ชาติไหน เมื่อได้มีโอกาสมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรา
จึงเริ่มรู้ว่าเราบริโภคด้วยความไม่รู้มานานแล้ว        ด้วยความหลง
ด้วยความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จากนั้นจะนำ�ไปสู่
กระบวนการเปลี่ยนที่สอดคล้องกับภาวะแห่งความเป็นจริงอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป
	          ความเชื่อแบบไม่ถูกต้องทำ�ให้เรายังหลงยังติดอยู่ ถ้าเป็น
อาหารใจ ถ้าเราไม่พยายามที่จะฝึก ไม่พยายามที่จะเรียนรู้ ในขณะ
ตาเห็น หูได้ยิน จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส อย่าง
ขณะนี้เราได้กลิ่นอยู่ บางคนอาจจะไม่พอใจ อาตมาก็แพ้อากาศ
แบบนี้ กลิ่นแบบนี้ บางครั้งเสียงจะสั่น อยู่ๆเสียงหายไปเลยก็มี
เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย ถ้าเราเผลอขาดสติก็จะตำ�หนิไปเรื่อยว่า
ใครหนอมาจุดเผา แต่ถ้าสติเราทันก็จะรู้ว่า เป็นเรื่องธรรมดา การ
อยู่ในโลกนี้จะเลือกอย่างที่เราอยากจะให้เป็นคงยาก เขาก็มีสิทธิ์ที่
จะเลือกทำ�อย่างที่เขาต้องการ ถ้าเราไม่เข้าใจอย่างนี้ก็จะเป็นทุกข์
ถ้าเราเข้าใจแล้วก็จะรู้สึกดีขึ้น และเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
เฉพาะหน้า หลบได้เราก็หลบ เลี่ยงได้เราก็เลี่ยง เผชิญได้เราก็

                                                                     35
เผชิญ หรือกักขังเอาไว้ถ้าสิ่งนั้นมีพิษ
      	          เมื่อเราไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้และไม่เคยฝึกมาเลย ก็คง
      ไม่สามารถนำ�มาใช้ได้           อย่างบางคนไปเที่ยวในช่วงส่งท้ายปีเก่า
      ต้อนรับปีใหม่ เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น ไฟไหม้ไม่รู้จะทำ�อย่างไร สติ
      สตังไม่รู้หายไปไหน วิ่งหนีตายกัน หาทางออกไม่ได้ บางคนพอ
      ไฟไหม้บ้านก็ไม่รู้จะออกไปทางไหน บ้างก็วิ่งขึ้นไปชั้นบนก็มี แต่
      ถ้าคนที่เคยฝึกปฏิบัติ ก็เหมือนเคยซักซ้อมเตรียมความพร้อมอยู่
      เสมอ เวลาเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นจะไม่ตื่นตระหนกเท่าไร ฉะนั้น
      การที่เราฝึกไว้ปฏิบัติไว้ก็เป็นการเตรียมความพร้อม ไม่เสียหาย
      หรอก ปีหนึ่งเรามาฝึกปฏิบัติก็เหมือนกับมาเติมเต็มสิ่งที่ดีให้ชีวิต
      บางคนก็ปฏิบัติตลอดทั้งปีอยู่แล้ว ฝึกมาตลอด บางคนปีหนึ่งจะมา
      ครั้งหนึ่ง ก็อาจจะรู้สึกว่า การปฏิบัติไม่ค่อยก้าวหน้าเลย อันนั้นเป็น
      ความรู้สึกเดิมๆ ที่เราเคยยึดถือไว้ว่าต้องก้าวหน้า ถ้าเราทิ้งความ
      รู้สึกนั้นไปได้ก็จะรู้สึกสบาย เรามีโอกาสฝึกปฏิบัติเราก็ทำ�ให้ดีที่สุด
      ณ ตรงนั้น นั่นแหละคุณค่าที่จะพึงสัมผัสได้
     	          เรามักไปติดจมอยู่กับอดีต หรือก็ไปเพ้อฝันกับสิ่งที่ยังมา
     ไม่ถึงในอนาคต ที่น่าแปลกคือ อะไรที่น่าจะทุกข์เราก็ไม่ทุกข์ แต่
     เรากลับมาทุกข์กันแบบง่ายๆ ทุกข์กับสิ่งที่เราขีดเอง เขียนเอง
     สร้างเงื่อนไขขึ้นมาเอง ฉะนั้นเราต้องพยายามปลดหรือวางเงื่อนไข
     ต่างๆ มองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นจริง อย่าหลอกตัวเองจนจับ
     ต้นชนปลายไม่ถูก ถึงเวลาหรือยังที่จะยอมรับเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ไข
     ที่สอดคล้องและเท่าทันกับสภาวะที่กำ�ลังดำ�เนินไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
     หลายสิ่งหลายอย่างไม่ควรยึดถือ แต่เราก็ยึดถือด้วยความไม่รู้ เมื่อ

36
อย่าติดจมกับอดีต
อย่าเพ้อฝันกับอนาคต




                      37
รู้อย่างนี้แล้ว คงถึงเวลาที่จะปล่อยวางอย่างมีสติสัมปชัญญะ น้ำ�เก่า
     น้ำ�เน่า ไหลไปกับปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป น้ำ�ใหม่ น้ำ�ใส ที่ทุกคน
     ฝึกฝนอบรมจิตใจกำ�ลังจะไหลเข้ามาทดแทน
     	        การบริโภคอารมณ์ผ่านทางอายตนะทั้ง ๖ เมื่อเผลอขาด
     สติย่อมมีผลกระทบในทางที่จะก่อให้เกิดความทุกข์มากกว่าความ
     สุข แต่เมื่อการบริโภคนั้นเป็นไปอย่างมีสติ         จะมีผลกระทบใน
     ทางที่จะก่อให้เกิดความสุขมากกว่าความทุกข์ ถึงแม้ว่ากิเลสยังมี
     อยู่ แต่กิเลสไม่เป็นเจ้านายเหนือเราก็ใช้ได้ ในบางช่วงเหมือน
     เราขังกิเลสไว้เล่นก่อน บางคนยังขี้เหงาอยู่ก็เลี้ยงกิเลสเอาไว้ดูเล่น
     อุปมาเหมือนคนชอบเลี้ยงงู ก็หยอกล้อเล่นกัน หัวเราะคิกคัก แต่
     ถ้าเผลอจะเป็นเรื่องเลย ต้องฝึกบ่อยๆ เมื่อเราฝึกจนถึงขนาดเท่า
     ทันแล้ว ก็ไม่ต้องเลี้ยงอะไรแล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลอีกเลย ถ้าเรา
     ยังเลี้ยงเอาไว้เมื่อเผลอก็จะถูกฉกกัดเอา เหมือนคนเลี้ยงอสรพิษ
     ไว้แต่ขาดความระมัดระวัง เพราะตราบใดที่เรายังมีกิเลส ก็ยัง
     ต้องท่องเที่ยวในวัฏสงสารอีก การที่จะหมดกิเลสก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
     แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าหากผู้นั้นมีความพากเพียรพยายาม เป็นไปได้
     เสมอ ในเมื่อเป็นไปได้เสมอแล้วเราจะไปทุกข์ทำ�ไม จะปีใหม่แล้ว
     ทำ�ใจให้สบาย เราฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ ในเมื่อมารยังให้โอกาส ขอ
     ให้ใช้เวลาในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่า
     	        จงพยายามทำ�ให้ตัวเองมีประโยชน์ บางคนชอบคิดว่าตัว
     เองอยู่อย่างไม่มีประโยชน์ คนมีจิตใจก็คิดไปเรื่อย แท้จริงทุก
     คนมีประโยชน์ทั้งนั้นแหละ เพียงแต่จะมีประโยชน์มากหรือน้อย
     ประโยชน์ตนหรือผู้อื่น ประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อม ถ้าเรา

38
มองเห็นโทษเราก็ต้องมองในมุมที่มีประโยชน์ด้วย บางคนพอฝึก
ไปปฏิบัติไปก็มีความรู้สึกว่าสังขาร รูป นาม เป็นทุกข์ไม่มีสาระแก่น
สาร แต่ถ้ามองอย่างละเอียดลึกซึ้ง ก็จะเห็นประโยชน์มากมาย
มหาศาล ในสิ่งที่ไม่มีสาระก็มีสาระในตัวเอง อุปมาเหมือนร่างกาย
เป็นซากศพ เราก็จะอาศัยเกาะซากศพนี้ข้ามฟากไป แต่เมื่อข้ามไป
แล้วก็ไม่ต้องแบกต้องถือไปด้วย ต้องพยายามฝึกปฏิบัติกันไป ก็
เหมือนเข้าค่าย มีครูพาเดิน พานั่ง พากำ�หนด การฝึกปฏิบัติแบบ
นี้บางคนอาจจะรู้สึกขำ�ๆว่า เหมือนเด็กเล่นขายของ ก็เหมือนพวก
เราตอนเป็นเด็กเรียนอนุบาล คุณครูพาร้อง พารำ� พาหกคะเมน
ตีลังกา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เรามีวิชาความรู้ มีศิลปะ
วิทยาการที่ใช้ในการดำ�เนินชีวิตเมื่อเติบโตมา อันนี้เป็นการฝึกทาง
ใจก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยฝึกปฏิบัติเพื่อให้ศีล สมาธิ ปัญญา
เจริญไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้น
	        เวลามาฝึกปฏิบัติเราก็อยากจะฝึกให้ได้อย่างที่ใจเราต้องการ
อยากจะให้หมดกิเลสในวันนี้เลย ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างน้อยก็ให้
ทันกิเลสบ้างก็ยังดี ดูอย่างพระพุทธองค์กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า
ต้องเวียนว่ายตายเกิดบำ�เพ็ญบารมีมาเท่าไร เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ก็เคย ตกนรกก็เคย เป็นคนดีก็เคย คนเลวก็เคย เรียนรู้จากสิ่ง
เหล่านั้น จนสุดท้ายก็มาเป็นพระพุทธเจ้าถึงจะบริสุทธิ์บริบูรณ์สั่งสม
บารมีมายาวนาน ฉะนั้นเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดมา
สร้างบุญบารมีก็สร้างกันไป บางคนบารมีเต็มแล้วก็นิพพานไป คน
ที่ยังไม่ถึงก็อย่าไปท้อ อย่าไปคิดว่าเราด้อย ไม่มีใครด้อยกว่าใคร
หรอก พระพุทธองค์ตรัสว่าไม่ตายไม่มี สมัยก่อนเจ้าชายสิทธัตถะ

                                                                     39
เห็นคนแล้วเป็นทุกข์ว่า ต้องมาเกิด แล้วต้องมาแก่ แล้วต้องมาตาย
     พระองค์ใช้เวลาถึง ๖ ปี อย่างไรก็ต้องหาให้เจอให้ได้ มีมืดก็ต้อง
     มีสว่าง พระองค์มีความมุ่งมั่นเหลือเกินในอันที่จะหาทางช่วยเหลือ
     สัตว์ให้พ้นจากทุกข์ สุดท้ายก็ทรงเข้าพระทัยด้วยการค้นพบความ
     จริงว่า คนเราเกิดมาก็ต้องเป็นอย่างนี้นี่เอง ตราบใดที่ยังเกิดอยู่ หนี
     ไม่พ้น แล้วสิ่งใดทำ�ให้เกิดล่ะ กิเลสนี่เองที่เป็นเหตุให้เกิดในภพน้อย
     ภพใหญ่ ถ้าตัดกิเลสได้แล้วก็ไม่ต้องเกิดมาในวัฏสงสาร ไม่ต้องถาม
     ว่าจะทุกข์ไหม ไม่ต้องถามว่าจะแก่ไหม ไม่ต้องถามว่าจะตายไหม
     สุดท้ายพระองค์พบแล้วก็เลยทักว่า ตัณหานี่เองก็คือกิเลสที่พาเรา
     ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไปสร้างเรือนที่โน่นที่นี่ บุคคลบาง
     คนพบจากตำ�รา จากการได้ยินได้ฟัง จากครูบาอาจารย์ หรือพบ
     ด้วยตัวเอง แต่ว่าเรายังละไม่ได้ ยังมีคนสร้างเรือนให้เราอยู่ เมื่อ
     จะอยู่ในเรือนให้มีความสุขเราต้องมีความพร้อม ฝึกให้มีสมาธิ ฝึก
     ให้มีปัญญา ฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีบุญมีกุศลอย่างน้อยก็ช่วยเราได้ ถึง
     แม้ตัณหาจะพาไปสร้างเรือนตรงนั้นตรงนี้ แต่เราก็รู้อยู่ว่าสักวันหนึ่ง
     เราจะต้องเป็นนายของตัณหา ตัดตัณหาให้ได้ ในบางช่วงมีอำ�นาจ
     มีสติปัญญาเหนือเขา เราก็กักขังกิเลสเอาไว้ได้ หรือบางครั้งเรามีสติ
     ปัญญาเท่าทันกิเลสได้ ก็สามารถเล่นหัวกันได้โดยไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรา
     เผลอ กิเลสก็เอาเรื่องกับเรา จนบางครั้งก็ท้อแท้กับชีวิตที่เป็นอยู่นี้
     เหลือเกิน นี่แหละรสชาติแห่งชีวิต
     	        ต้องอาศัยกัลยาณมิตร อาศัยเพื่อนดีคอยแนะนำ�ตักเตือน
     บ้าง ชีวิตจะได้ดำ�เนินไปได้ด้วยดี เพราะเราไม่ได้สร้างบารมีมา
     เพื่อการบรรลุธรรมเพียงลำ�พังตนเอง ต้องมีกัลยาณมิตรก็คือคนดี

40
เพื่อนดีช่วยบ้างเป็นครั้งคราว เมื่อเข้าใจก็จะเป็นเพื่อนกันได้ เพราะ
เพื่อนร่วมเกิด ร่วมแก่ ร่วมเจ็บ ร่วมตาย ที่เราแผ่เมตตาบ่อยๆ จะ
เข้าไปถึงจิตใจหรือเปล่าไม่รู้ ถ้าเราเข้าถึงจิตถึงใจเราจะมองไม่ต่าง
กัน สูง ต่ำ� ดำ� ขาว รวย จน เป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น สุดท้ายไม่มี
ใครรวย ไม่มีใครจน ไปกันทุกคน คนจนก็ไป คนรวยก็ไป ทอดทิ้ง
ร่างกายกันไว้ทุกราย ยังไม่มีใครเอาไปด้วยได้ ฉะนั้นเราไม่ต้องกลัว
ตรงนั้น ในช่วงที่เรายังอยู่ พยายามทำ�ให้ดี ควรสร้างอาหารใจ คือ
ต้องมีสติมีปัญญา ในการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เรา
ต้องฝึกเอาไว้
	       ลองย้อนมองในช่วงปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป มีทั้งสิ่งที่เราชอบ
และไม่ชอบ บางคนได้เงินเดือนขึ้น ได้เลื่อนยศตำ�แหน่ง ได้รับคำ�
ยกย่องสรรเสริญเยินยอ ส่วนบางคนก็มีแต่คนตำ�หนิ นินทา ว่าร้าย
ถูกลดขั้น โยกย้าย อุปสรรคมากมายเหลือเกิน ทั้งหมดนี้เป็นความ
จริงของโลก ต้องมีสิ่งที่เราพึงพอใจและไม่พึงพอใจ สิ่งที่เราได้ตาม
ปรารถนาและไม่ได้ตามปรารถนานั้น สติปัญญาที่เราฝึกฝนอบรม
ดีแล้วจะมาช่วยอุดช่องว่างช่องโหว่ตรงนี้ กิเลสก็ไม่สามารถอาศัย
ช่องว่างช่องโหว่ทำ�ร้ายเราได้อีกต่อไป หากเราเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
และใช้สติปัญญาเป็นเครื่องดำ�เนินชีวิต เราจะอยู่อย่างมีทุกข์น้อย
อยู่อย่างประเสริฐก็ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมตัวเอง เราจะเป็นผู้
ประเสริฐได้ยาก หากปราศจากการฝึกตน
	       อาหารกายก็ดี อาหารใจก็ดีเป็นเรื่องสำ�คัญ หากเราเสพ เรา
บริโภคโดยไม่คิดก็เป็นการไปเพิ่มภาระให้แก่ระบบต่างๆ ภายใน
ร่างกายและจิตใจ พอกินเข้าไปก็เป็นภาระของอีกระบบหนึ่ง ทำ�ให้

                                                                       41
คบกัลยาณมิตร
     ชีวิตจะไปได้ดี




42
ทำ�งานไม่สะดวก บางคนบอกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ต้องทำ�ดีท๊อกซ์
กำ�จัดพิษเสียบ้าง        เรื่องนี้ก็เลยเข้ามาเกี่ยวข้อง ดีท๊อกซ์ตับ ไต
ลำ�ไส้ ร่างกายเพื่อให้ระบบต่างๆทำ�งานได้ดีขึ้น นี้ก็เป็นเรื่องของ
ร่างกาย         ส่วนเรื่องจิตใจเรื่องอารมณ์ก็ต้องทำ�ดีท๊อกซ์กันบ่อยๆ
โดยการสวดมนต์ ไหว้พระ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฟังเทศน์ฟัง
ธรรม ใจก็สงบเย็น เพราะไม่ได้อิงสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่
อิงธรรมะ อิงธรรมชาติ เพราะทุกคนเท่ากันหมด
	        ถ้าฟังข่าวการบ้านการเมือง จะมีแต่เรื่องทะเลาะเบาะแว้ง
กัน ฟังแล้วปวดหัว เครียดเลย ต่างกับการฟังธรรม พระพุทธองค์
สอนให้เราเข้าใจตัวเองเข้าใจผู้อื่น ไม่แบ่งเขาแบ่งเราเพราะทุกคน
เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย เมื่อเราเข้าใจตามความเป็นจริงแบบ
นี้ คงไม่ต้องบอกด้วยวาจาว่า รู้จักและเข้าใจกัน ธรรมจะจัดสรร
ให้สามัคคีกันขึ้นมาเอง ภาษาธรรมเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ คำ�พูด
แบบโลกๆ เป็นเพียงเครื่องปลอบใจกันเฉย ๆ เวลาคนเรามีปัญหา
กัน แต่ปัญหาธรรม มองก็รู้ ดูก็ออก บอกก็ได้ ใช้ก็เป็น ตลอด
ปีที่ผ่านมา เรารับสิ่งต่างๆกันมากมาย ต้องพยายามดีท๊อกซ์เสียบ้าง
ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ สิ่งที่รับมาทั้งปี จะเอา
ออกทั้งหมดเลยก็คงไม่ได้ มาเดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่ความคิดก็
พรั่งพรูออกมามากมาย บางคนก็งงๆ ง่วงๆ สะลึมสะลือ เดินไป
ก็จะหลับ เดินเซไปเซมา บางคนไม่อยู่กับขวาย่างหนอ ซ้ายย่าง
หนอ บางคนเดินไปจนถึงก้าวสุดท้ายแล้วเพิ่งได้สติขึ้นมา เดินไป
ไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้เป็นต้น ไม่ต้องตกใจนะแล้วจะค่อยๆ หมดไป
เอง ถ้าเราไม่ยึดไม่ถือ พยายามเท่าทันอารมณ์เหล่านั้น ในการฝึก

                                                                         43
ดีท๊อกซ์อารมณ์เสียบ้าง ใจจะได้สบาย




44
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น อนุสัยกิเลสจะต้องฟูขึ้นมาให้เห็น ให้
รู้ ให้มีโอกาสได้กำ�หนด ก็ให้เขาออกมา ถ้าเขาออกมาในระหว่าง
ที่เราฝึกแปลว่าประสบความสำ�เร็จ            ต่อไปก็จะมีแต่สิ่งดีๆ เมื่อ
ออกจากกรรมฐานไปก็ไปรับอารมณ์มาใหม่                  ถ้าจะให้ดีก็ต้องทำ�
ดีท๊อกซ์อารมณ์บ่อยๆ หลุดพ้นจากกิเลสเป็นพระอรหันต์เมื่อไรก็
ไม่ต้องดีท๊อกซ์อารมณ์แล้ว แต่เรายังมีกิเลสก็ต้องพยายามฝึกไป
สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เจริญสติ ดูใจเวลากระทบอารมณ์ชอบ ไม่
ชอบ ถ้าเราเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงแล้วจะไม่เครียด เพราะทุก
คนมีทางออกเสมอ อย่าไปคิดให้ตัวเองตีบตัน พอมองไปข้างหน้า
ดูเหมือนมืดหมดเลย             เพราะเราคิดไปเองว่าไม่มีทางไป ก้าวไป
สิ ทางเดินมีอยู่แล้ว อยู่ที่ความคิดของเรา ความคิดที่ยังเห็นแก่ตัว
ความคิดที่ยังมีกิเลสอยู่ ถ้าเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อปฏิบัติอยู่เช่น
นี้กิเลสก็จะค่อยๆ หมดไป แต่ต้องอาศัยความพากเพียรพยายาม
ความอดทน แล้วความสงบความเย็นก็จะเกิดขึ้นไม่ยาก ธรรมจะ
เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยฝึกตน ถ้าไม่ฝึกตนเราจะเป็นคนยิ่งกว่าคนไม่
ได้ ประเสริฐกว่าใครๆไม่ได้เลย
	        สมดังพุทธพจน์ที่ยกขึ้นเป็นนิเขปบทในเบื้องต้นว่า
	        “ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ”
	        ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกตนเท่านั้นจึงจะประเสริฐ
	        เทสนาวสาเน            ในการเป็นที่สุดแห่งการแสดงพระธรรม
เทศนา ในวาระการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จึงขอยุติลงคงไว้
ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


                                                                          45
คำ�อำ�นวยพร
                      ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
     	       ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้ผ่านไปตามควรแก่เหตุปัจจัย
     บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมประสบสุขบ้าง ทุกข์บ้าง มีวิกฤตหรือ
     โอกาสบ้างคละเคล้าสลับกันไป ได้มาหรือเสียไปบ้าง เกิดบ้างดับ
     บ้างเคียงข้างกันไป สรรพสิ่งล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายไปตามเหตุ
     ปัจจัย จะเอาอะไรหรือไม่เอาอะไร จะยึดถือหรือปล่อยวางก็ว่ากัน
     ไป ตามวิถีแห่งธรรม
     	       ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ ขออำ�นวยพรให้ท่านทั้งหลาย
     จงประกอบไปด้วยพระธรรมคำ�สั่งสอนขององค์พระชินวรสัมมาสัม
     พุทธเจ้า ดังนี้
46
ถ้ำ�พระโมคคัลลานะ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย




                                               47
๒๒
 ๒
๒๒
๒๒
48
๒๒
๒๒
เลข ๒ ที่นำ�หน้า หมายถึง ธรรมที่มีอุปการะมาก ๒ อย่าง คือ
	
		
		
      ๑. สติ ความระลึกได้ คือ
              ระลึกได้ก่อนที่จะทำ� พูด คิด หรือ ระลึกรู้ไปที่
              กาย เวทนา จิตและธรรม




๒๒
	     ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว คือ
		            รู้ตัวในขณะทำ� พูด คิด




                                                                49
๕๕
 ๕
๕๕
๕๕
50
๕๕
๕๕
เลข ๕ ตัวแรก ได้แก่ ศีลห้า
	     ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี
		           เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน
	     ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี
		           เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้
	     ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี
		           เว้นจากการประพฤติผิดในกาม




๕๕
	     ๔. มุสาวาทา เวรมณี
		           เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
	     ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี
		           เว้นจากการดื่มน้ำ�เมาคือ สุราและเมรัย
		           อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท




                                                            51
๕๕
 ๕
๕๕
๕๕
52
๕๕
๕๕
เลข ๕ ตัวที่สอง ได้แก่ เบญจกัลยาณธรรมห้า คือ ธรรมอันดีงาม	
	     เกื้อกูลแก่ผู้รักษาศีลห้า
	     ๑. เมตตาและกรุณา
		            ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ
		            และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
	     ๒. สัมมาอาชีวะ
		            การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
	     ๓. กามสังวร




๕๕
		            ความสำ�รวมระวัง รู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์	
		            ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
	     ๔. สัจจะ
		            ความสัตย์ ความซื่อตรง
	     ๕. สติสัมปชัญญะ
		            ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ� 	
		            และไม่ควรทำ� ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท




                                                                     53
๕๕
 ๕
๕๕
๕๕
54
๕๕
๕๕
เลข ๕ ตัวที่สาม ได้แก่ นิโรธห้า ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและ
	
	
		
	
		
      ไม่มีทุกข์เกิดขึ้น
      ๑. วิขัมภนนิโรธ
              ดับกิเลสด้วยการข่มไว้
      ๒. ตทังคนิโรธ
              ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงกันข้าม




๕๕
	     ๓. สมุจเฉทนิโรธ
		            ดับกิเลสด้วยตัดขาดด้วยอำ�นาจแห่งโลกุตตรมรรคนั้นๆ
	     ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ
		            ดับด้วยสงบระงับแห่งการบรรลุโลกุตตรผล
	     ๕. นิสสรณนิโรธ
		            ดับด้วยสลัดออกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่กิเลสดับสนิท
		            แล้วยั่งยืนตลอดไป




                                                               55
บริเวณอิสิปตนมฤคทายวันวิหาร
 เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
สุดท้ายนี้ขอกราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงอำ�นวยผล
ดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ประสบสิ่งอันพึงปรารถนา อันได้แก่
อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ พร้อมด้วยธนสาร และธรรม
สารสมบัติ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ เทอญ
ธรรม..พร..ปี..ใหม่..
         ๒๕๕๕




58
ธรรม..พรปีใหม่นี้		      อวยชัย โยคี

พร..เพิ่มพัฒน์พูลผไท		   ทั่วถ้วน

ปี..เก่าจรจากใจ			       สุขสู่ สันติ์แฮ

ใหม่..จงแลเลิศล้วน		     หลั่งล้น พรธรรม

                         ม. โชยุ




                                           59
2555blessing
2555blessing
2555blessing
2555blessing
2555blessing

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดKiat Chaloemkiat
 
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blcเห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blcblcdhamma
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mindAimmary
 
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมTongsamut vorasan
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาThongsawan Seeha
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessAimmary
 

Mais procurados (17)

Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุดการบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นมงคลสูงสุด
 
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blcเห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc
เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mind
 
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรมธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011
 
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sickness
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 

Semelhante a 2555blessing

ธรรมบรรยาย
ธรรมบรรยายธรรมบรรยาย
ธรรมบรรยายWataustin Austin
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
บทความ2
บทความ2บทความ2
บทความ2duenka
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่งพัน พัน
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญาTongsamut vorasan
 
คำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาคำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาSongsarid Ruecha
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาutumporn charoensuk
 
จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์duangdee tung
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์YajokZ
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์guest3650b2
 
Dhamma core
Dhamma coreDhamma core
Dhamma coreYajokZ
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555Panda Jing
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 

Semelhante a 2555blessing (20)

ธรรมบรรยาย
ธรรมบรรยายธรรมบรรยาย
ธรรมบรรยาย
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
 
บทความ2
บทความ2บทความ2
บทความ2
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
Kamnamtham 5
Kamnamtham 5Kamnamtham 5
Kamnamtham 5
 
คำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนาคำนำทำ 3 ภาวนา
คำนำทำ 3 ภาวนา
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
 
จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์จิตที่พ้นจากทุกข์
จิตที่พ้นจากทุกข์
 
Jitpontook
JitpontookJitpontook
Jitpontook
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์
 
Dhamma core
Dhamma coreDhamma core
Dhamma core
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 

Mais de Wat Pasantidhamma

วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November Newsวารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November NewsWat Pasantidhamma
 
Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Wat Pasantidhamma
 
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาWat Pasantidhamma
 
Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Wat Pasantidhamma
 

Mais de Wat Pasantidhamma (6)

วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November Newsวารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
วารสารสันติธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน - November News
 
Watpajounal - October 2011
Watpajounal - October 2011Watpajounal - October 2011
Watpajounal - October 2011
 
Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011Santidhamma Journal, September 2011
Santidhamma Journal, September 2011
 
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกาลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
ลังกากถา ข้อคิด ของดีเมืองศรีลังกา
 
Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011Monthly Journal, August 2011
Monthly Journal, August 2011
 
The Study Book
The Study BookThe Study Book
The Study Book
 

2555blessing

  • 1.
  • 2. ส.ค.ส.๒๕๕๕ ฝึกฝนอบรมตนได้แล้ว ประเสริฐกว่า...... โสรโท ภิกขุ
  • 4. ธรรมบรรณาการ น้อมนมัสการคารวะ พระครูภาวนาวราลังการ วิ. (สมศักดิ์ โสรโท) เจ้าอาวาสวัดภัททันตะอาสภาราม บ้านหนองปรือ ตำ�บลหนองไผ่แก้ว อำ�เภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เนื่องในวโรกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๕
  • 7. .ค.ส. สื่อ ความสงบ และสันติ โดย โสรโท ภิกขุ ฉบับปี พุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ นับเป็นสื่อธรรมะลำ�ดับที่สี่ของชุด ที่ได้เรียบเรียงและรวบรวมธรรมบรรยายของ พระครูภาวนาวราลังการ วิ. (สมศักดิ์ โสรโท) ท่านเจ้าอาวาสวัดภัททันตะอาสภาราม ซึ่งได้แสดง โปรดโยคีผู้ปฏิบัติธรรมในวาระส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ส.ค.ส.ฉบับนี้ ท่านพระอาจารย์ได้เมตตาตั้งชื่อเรื่องว่า “ฝึกฝน อบรมตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าใคร” เพื่อเป็นคู่มือในการฝึกฝนอบรม ตนเองของทุกท่าน ตามแนวการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยนัยสติปัฏ ฐานสี่ ท่านเน้นให้มีความสมดุลกันในการดูแลร่างกายและจิตใจ ให้มี การบริโภคอาหารกายและอาหารใจอย่างมีสติ ความแยบคายและเท่าทัน ปัจจุบันในการบริโภคอาหารใจที่เข้ามากระทบทางทวารทั้งหก อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะเป็นทางให้เราพ้นทุกข์ ถึงพระนิพพานได้ ขอน้อมถวาย ส.ค.ส. ฉบับนี้เป็นธรรมบรรณาการ นมัสการ คารวะแด่ ท่านพระอาจารย์สมศักดิ์ โสรโท เนื่องในวโรกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๕ และเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ เป็นสื่อความสงบและ สันติ แด่โยคีผู้ปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผู้ใฝ่ใจในธรรมทั่วไป ขออนุโมทนา บุญแด่ เจ้าภาพผู้ร่วมกันบริจาคในการจัดพิมพ์ ขออนุโมทนาบุญและ ขอบคุณ คณะผู้มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำ�ทุกภาคส่วน หวังเป็นอย่าง ยิ่งว่า ส.ค.ส. ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านตามสมควร นายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์ บรรณาธิการ
  • 9. นวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๕ คณะศิษย์โดย การนำ�ของนายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์ ได้ช่วยกันถอดคำ� เทศนาธรรมในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่ง เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นไปที่การฝึกตนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึก ใจให้มีสติปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืน เมื่อถึงคราวจะเป็นภาระของคนอื่น ก็ขอให้เป็นน้อยที่สุด อาตมาภาพได้อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ระหว่างเรื่องการ ได้รับอาหารกายและอาหารใจที่มีคุณภาพ จะนำ�ไปสู่การพึ่งพากันและ กันอย่างยั่งยืน ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำ�ตนเป็นผู้ให้ มากกว่าเป็นผู้รับ แม้การขยับพลิกเปลี่ยนต้องขับเคลื่อนด้วยพลังแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา อันจะนำ�พาสู่จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน การ จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมตนเอง อย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ตามหลักสติปัฏฐานสี่ เพราะผู้ที่ “ฝึกฝนอบรมตนได้ แล้วประเสริฐกว่าใคร” ขออนุโมทนาบุญนายแพทย์ชยพัทธ์ ชยุพงค์ และผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนรวมทั้งเจ้าภาพผู้ร่วมจัดพิมพ์หนังสือ เพื่อมอบให้เป็นธรรม บรรณาการ สื่อแห่งความสุขสันต์ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ขอกราบ อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงคุ้มครองรักษาให้ทุกท่านมีความสุข สงบร่มเย็นภายใต้ร่มเงาแห่งธรรม จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ พระครูภาวนาวราลังการ วิ. (สมศักดิ์ โสรโท)
  • 10.
  • 11. ส.ค.ส.๒๕๕๕ ฝึกฝนอบรมตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าใคร โสรโท ภิกขุ บรรยาย ค่ำ�วันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ณ ศาลาโพธิปักขิยธรรมเฉลิมราชย์ วัดภัททันตะอาสภาราม
  • 12.
  • 13. ลำ� ดับต่อจากนี้ไปจะได้แสดงพระธรรมเทศนา พอ เป็นเครื่องเพิ่มพูนกุศลและศรัทธาพร้อมยังสัมมา ปฏิบัติให้เกิดขึ้นแก่โยคาวจรโยคีผู้ปฏิบัติธรรม ญาติโยมสาธุชนทั้ง หลายจนกว่าจะยุติลงด้วยเวลาอันสมควร จากนี้ไปให้เรานั่งขัดสมาธิ คู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ระลึกรู้อยู่กับอารมณ์อันเป็นปัจจุบัน นั่งให้ สบาย มีความรู้สึกผ่อนคลายตามสมควร วันนี้เป็นโอกาสส่งท้ายปี เก่าต้อนรับปีใหม่ ทางวัดภัททันตะอาสภารามได้จัดกิจกรรม เพื่อให้ ทุกคนได้มีส่วนร่วมสังเกตการณ์ปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป เป็นการตระ เตรียมบุญกุศลคุณความดีไว้ให้พร้อม เพื่อก้าวตามปีใหม่ที่กำ�ลังจะ มาเยือนในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หลายท่านก็ตั้งใจมาร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ร่วมกันสาธยายพระสูตรและพระ ปริตร เพื่อเป็นขวัญกำ�ลังใจแก่ชีวิตต่อไป เรียกว่ามีโอกาสได้สวด มนต์ข้ามปี ทำ�ความดีเพื่อเป็นทุนสำ�หรับใช้สอยในปีหน้า เพราะสติ ปัญญาที่เราสั่งสมมาอาจจะหายไปกับปีเก่าแล้ว พอปีใหม่ก็จะพบ สิ่งใหม่ๆที่อาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ได้ 13
  • 14. ให้สติปัญญาดูแล สิ่งที่ว่าแย่ๆอาจจะแปรเป็นคุณ เมื่อขาดสติปัญญาสิ่งเหล่านั้นไม่สู้จะเป็นคุณเท่าไร แต่เมื่อมี สติปัญญาเข้ามาดูแลสิ่งนั้นจะเป็นคุณมากขึ้น ดังนั้นในช่วงส่งท้าย ปีเก่าต้อนรับปีใหม่จึงนิยมขวนขวายสะสมบุญกุศลทำ�สิ่งดีๆ คิดดี พูดดี ทำ�ดี ขอให้นั่งกรรมฐานไปด้วย ฟังไปด้วย ถ้าเมื่อยก็ขยับได้ นะไม่ได้ห้าม ประเดี๋ยวปวดมากก็จะฟังเทศน์ไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้สึกสบาย ตัวก็จะสบายใจด้วย ถ้าปวดหนักปวดเบาก็ลุกไปได้ ไม่ต้องทน ทรมานเพราะเป็นปกติ ถ้าเราจะระลึกถึงความเป็นตัวเรา ญาติโยม และพระคุณเจ้าทั้งหลายลองพิจารณาดูว่าในรอบปีหนึ่งเราดูแลขันธ์ ห้ากันอย่างไรบ้าง รับประทานอาหารกี่มื้อ นอนหลับพักผ่อนวัน ละกี่ชั่วโมง ใช้จ่ายกับการดูแลรักษาสุขภาพกายกันไปเท่าไร ใช้เงิน ทองใช้เวลาไปกับการกิน การเที่ยวสนุกสนานกันเท่าไร เราดูแลถึง ขนาดนี้ ถามว่าร่างกายเชื่อฟังเราหรือเปล่า ลองพิจารณาดูตั้งแต่เล็ก จนโตมาจนอายุเท่านี้ ถามว่าร่างกายเชื่อเราบ้างไหม บอกไม่ให้แก่ ก็แก่ บอกไม่ให้เจ็บก็เจ็บ บอกไม่ให้ตายก็ตาย ทุกอย่างไม่ได้อยู่ใน อำ�นาจของเราเลย เราลองพิจารณาดูใกล้ๆ ไม่ต้องดูไกล ดูดีๆ เรามักจะดูโลก ภายนอกจนลืมดูแลโลกภายใน ลืมดูแลกายและใจตัวเอง พอเริ่ม หันมาสนใจตัวเองบ้างก็สนใจแต่เรื่องกาย บางครั้งก็สนใจมากไป ทะนุถนอมมากไป ดูแลดีเกินไป ทำ�ให้ร่างกายอ่อนแอ คำ�ว่าดีเกินไป 14
  • 16. แสดงว่าไม่ดีจริง ถ้าดีจริงจะต้องเป็นคุณมากกว่าเป็นโทษ ส่วนไหน ที่เกินก็จะถูกกำ�จัดออกไป อย่างกลไกร่างกายของเราก็จะขับส่วนที่ ไม่ดี ส่วนเกินออกไปจากร่างกาย เรียกว่ามีระบบกำ�จัดของเสียโดย ทางเหงื่อ ทางปัสสาวะ ทางอุจจาระ หลังจากผ่านเครื่องกรองทั้ง กระเพาะ ลำ�ไส้ ตับ และไต เป็นกระบวนการที่อาศัยซึ่งกันและกัน ทำ�งานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ หากมีส่วนไหนเกินก็จะไปเพิ่ม ภาระให้กับอีกระบบหนึ่งทำ�ให้เสียดุลยภาพ เช่น ถ้าบริโภคมากเกิน ไปเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ไตเริ่มมีปัญหา ตับเริ่มมีปัญหา อวัยวะต่างๆ ก็พลอยมีปัญหาตามมา เพราะไม่ค่อยพอดี ทำ�ให้ต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค บางคนยังทำ�ใจไม่ได้ก็ยังคง บริโภคตามอำ�นาจของกิเลส ตามความโลภ หรือบางคนก็บริโภค ให้สะใจด้วยอำ�นาจของความโกรธ บางคนก็บริโภคด้วยอำ�นาจของ ความหลง คือไม่รู้จริง อาจเป็นค่านิยมที่บริโภคมาตั้งแต่เล็กจน โต ยกตัวอย่างเมื่ออาตมาเป็นเด็กอาศัยอยู่ในชนบท มีน้องหลาย คน นานๆ จะมีอาหารทะเลรับประทานกัน พอแม่ได้ปลาทูเค็มมา ก็จะเอามาห่อใบตองแล้วเอาไปปิ้งไฟ ใช้ขี้เถ้าร้อนๆกลบใบตองที่ห่อ ปลาทูเอาไว้ พอปลาในใบตองสุกก็เอาไปใส่ถ้วย มีกติกาว่า ทุกคน ต้องเอาข้าวเหนียวจิ้มลงไปเท่านั้น ทำ�ให้กินข้าวได้มาก กินกับข้าว นิดเดียว จะเป็นเพราะว่า ไม่สามารถหาได้หรือเป็นเพราะความเชื่อ ว่า กินข้าวมากๆ แล้วจะทำ�ให้โตเร็ว ในข้าวมีแต่แป้ง คุณประโยชน์ อย่างอื่นเช่น โปรตีนมีน้อย น้ำ�ตาลมีมาก สมัยก่อนเราไม่รู้หรอก กินกันมาแบบนั้นจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อันนี้ก็ยกตัวอย่างให้เห็น นานๆทีก็จะมีอาหารโปรตีนจากท้องไร่ท้องนา ห้วยหนองคลองบึง 16
  • 17. นั่นแหละ ได้มาก็ต้มซดน้ำ�กันไป พ่อแม่บอกว่า ตับ ไต ไส้ พุงถ้า กินมากจะเป็นตานขโมย เด็กๆก็เชื่อตามๆกันมา และบริโภคกันมา จนเป็นความเคยชิน พอเรามาเปลี่ยนแปลงการบริโภคเราก็จะรู้สึก อึดอัดขัดข้องมากเลย อย่างบางคนเคยกินเผ็ดๆ เปลี่ยนมากินจืดๆ บางคนเคยใส่ผงชูรสถ้าไม่ใส่ก็รู้สึกว่าจืด เคยปรุงแล้วไม่ได้ปรุงก็จะ รู้สึกว่าไม่อร่อย นี้ก็เป็นการบริโภคด้วยความหลงทั้งสิ้น ปีเก่ากำ�ลังจะผ่านไปแล้ว อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะเป็นปีใหม่ ให้ เราลองพิจารณาดูพฤติกรรมการบริโภค ปัจจัยสำ�คัญที่จะทำ�ให้ สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง อาหารของร่างกายที่เราบริโภคกัน อยู่เป็นคุณหรือเป็นโทษ บางทีดูแรกๆเหมือนจะให้คุณ พอนานไป กลับกลายเป็นให้โทษ ไขมันในเส้นเลือดสูงเกิดการอุดตัน เป็นโรค เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ และฮิตที่สุดคือ โรคมะเร็ง และ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่ค่อย ได้ผลเท่าที่ควร หลายคนก็เสาะหาสำ�นักกรรมฐานหรือสถานบำ�บัด ที่ดูแลเรื่องกายและใจไปพร้อมกัน แต่ละแห่งก็กำ�หนดกฎเกณฑ์ให้ ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อย่างเช่น ให้เว้นเนื้อสัตว์ บางประเภท และหันมากินผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้อง กินแบบธรรมชาติ แม้เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้วบางคนก็หาย แต่ บางคนก็ตาย ไม่ได้หายทุกคน ช้าเร็วก็ต้องตายอย่าไปกลัวตรงนั้น แต่ทุกคนอยากอยู่สบาย หากเราเลือกที่จะสบายวันนี้ ก็เหมือน กับกินไปเพื่อรอป่วยรอเจ็บไข้ในวันหน้า แต่ถ้าเรายอมทุกข์บ้าง ทรมานบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสพคุ้นอยู่ มากินอาหารเพื่อ สุขภาพกัน วันหน้าก็จะไม่ลำ�บาก อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า กิน 17
  • 18. 18
  • 19. 19
  • 21. อาหารเพื่อเป็นโอสถ ก็ลองใช้สติปัญญาพิจารณากันดูแล้วกัน ทีนี้ก็เลยคุยกันเรื่องสุขภาพ ลองดูว่า พฤติกรรมการ บริโภคของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือไม่ อย่างบางคนชอบกินของ มันๆ ของทอด บางคนชอบกินรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด อาหารใน กลุ่มเนื้อสัตว์ก็เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ กินพวกผักจะดีต่อสุขภาพ ดีต่อการขับถ่าย เราต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้แล้วปฏิบัติตามแนวทาง อาหารจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยรักษาร่างกายของเรา ถ้าเราบริโภคแต่ สิ่งที่ไม่ช่วยรักษาก็เหมือนเราเตรียมตัวเพื่อเป็นคนป่วย แต่ถ้าเรา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ก็เหมือนว่าเราได้รับการบำ�บัด ดูแลด้วยอาหาร ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ได้ ด้วยอาหาร” จะเกิดในภพภูมิใดต้องมีอาหารเป็นปัจจัยหลัก เราเกิด มาเป็นมนุษย์ เรียกว่า เป็นภพภูมิหยาบ อาหารหยาบ(กวฬิงการา หาร)อาหารคือคำ�ข้าว เพราะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึง จะอยู่ได้ เราจะรู้สึกว่าหิวเมื่อขาดอาหาร รู้สึกอิ่มเมื่อได้อาหารเพียง พอ สิ่งเหล่านี้ก็วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ บางคนปฏิบัติกรรมฐานแล้วจะรู้สึกเบื่อหน่ายว่า วันหนึ่งๆ จะต้องกิน กินแล้วก็ต้องถ่าย หากไม่ถ่ายก็ลำ�บากอีก เดินจงกรม นั่งสมาธิไปก็เริ่มเห็นข้อจำ�กัดเหล่านี้ ทำ�ให้รู้สึกเบื่ออาหาร รู้สึกว่า เป็นภาระที่ต้องดูแลกัน ถ้าไม่ดูแลก็ทุกข์อีก ตั้งแต่เล็กจนโตต้อง คอยป้อนข้าวป้อนน้ำ� ดูแลกันสารพัด แต่ก็ไม่เชื่อฟังเราเลย พอ มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำ�ให้เรารู้ ดูออก บอกได้ จะได้ใช้ให้ เป็น ให้ตรงกับสภาพที่เป็น มิฉะนั้นเราจะหลงอยู่ และใช้ร่างกาย ไม่คุ้มกับที่ได้ถูกเลี้ยงและดูแลมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ฉะนั้นก่อนที่ 21
  • 23. ร่างกายนี้จะแตกสลายหรือจากเราไป เราจะดึงศักยภาพออกมาใช้ ประโยชน์ให้ถึงที่สุดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น สุดท้ายทุก คนก็ต้องทอดทิ้งร่างกายไปอย่างแน่นอน ไม่มีใครหนีพ้น แต่ช่วงที่ ยังอยู่เราจะต้องดูแลให้ดี การเลือกอาหารการบริโภคเป็นสิ่งสำ�คัญ ถ้าเราไม่ฝึกไม่หัดตั้งแต่ตอนนี้ก็ลำ�บาก ฉะนั้นมนุษย์ทั้งหลายจะมี สุขภาพดีหรือประเสริฐกว่าใครๆ ก็อยู่ที่การฝึกตน ถ้าเราไม่ฝึกตน เราก็จะเป็นที่พึ่งของตนไม่ได้ การฝึกตนทำ�ได้ยากหากฝึกได้แล้ว ก็สบาย เวลาที่ฝึกไม่สบายหรอก อย่างฝึกทหารฝึกตำ�รวจนั้นแสน ลำ�บาก บางคนบอกว่า กว่าจะเป็นก็แทบล้มประดาตาย อย่างฝึกให้ เป็นพระจริงๆฝึกเป็นพระอรหันต์ยิ่งยากไปใหญ่ ไม่รู้จะกี่ภพกี่ชาติ จึงจะสำ�เร็จ แค่เราฝึกร่างกายของเราก็ยากพอแล้ว ฝึกใจก็ยิ่งยาก กว่าที่เป็นอยู่นี้อีกหลายเท่า การฝึกใจก็ไม่ใช่สบาย บางคนก็ว่าเมื่อ ไม่สบายก็ไม่อยากฝึก เมื่อไม่อยากฝึกแล้วเราจะเป็นคนที่อยู่ดีมีสุข ได้อย่างไร บางคนเจ็บป่วยแต่สามารถอยู่ได้โดยไม่ป่วย หรือเจ็บน้อย รู้จักวิธีดูแลตัวเอง ทำ�ให้ระบบต่างๆในร่างกายเชื่อมโยงกันได้ดี แต่ ถ้าเราไม่รู้จักพอดี บริโภคด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ด้วยความ เอร็ดอร่อย ก็เป็นการกินเพื่อสะสมโรคหรือสะสมทุกข์ บุคคลบาง คนที่ทำ�เพื่อประโยชน์ตัวเอง หวังผลทางวัตถุเป็นหลัก ก็จะกระตุ้น ให้คนติดในรสอร่อย จะทำ�อย่างไรก็ได้ให้อร่อย ให้คนติด พอติด แล้ว จะอยู่ไกลแค่ไหนก็ไปกิน บางแห่งก็ทำ�การตลาดเพื่อกระตุ้นให้ เกิดการบริโภค ให้ลูกค้าได้ไปกิน ไปดื่ม ไปเสพ ผลที่เป็นกำ�ไร ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำ�ธุรกิจกับเรื่องเหล่านี้ โดยไม่ได้คำ�นึงถึงสุขภาพ 23
  • 24. ฝึกอยู่ย่อมไม่สบาย แต่บั้นปลายสุขแท้ 24
  • 25. ของผู้บริโภค เขาใช้หลักการทางกิเลสคือ กระตุ้นให้เกิดโลภะอยาก เสพบริโภคในสิ่งนั้นๆ มากขึ้น บางแห่งมีการสำ�รวจความต้องการ ความชอบต่อสินค้าแต่ละตัว ก็เป็นเรื่องของความโลภ ถ้าใครเป็น ทาสอยู่ก็จะชักจูงง่าย บางคนพอได้มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เอาใจเขามา ใส่ใจเรา มีจิตเป็นบุญกุศล ทำ�ร้านอาหารที่คำ�นึงถึงสุขภาพของผู้ บริโภคด้วย อันนี้ดีมากน่าอนุโมทนา เรื่องเหล่านี้จะพบในประเทศที่ เจริญแล้ว ในบางประเทศต้องมีกฎหมายบังคับและมีการตรวจสอบ อยู่เสมอว่าเป็นโทษกับผู้บริโภคหรือไม่ แต่ก็มีบางคนทำ�เพื่อสุขภาพ ของตนเองและผู้อื่นด้วย บางคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้ให้ ด้วยจิตที่เป็น บุญกุศลแจกฟรีติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๒๐ ปีจนตายหลับตาลาโลก ก็มี บางคนเข้าใจยึดหลักพอเพียงตามปรัชญาของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คือ ไม่หวังกำ�ไรมาก ทำ�เพื่อให้ตนเองอยู่ได้โดยไม่ ลำ�บากเดือดร้อน ทำ�อย่างมีคุณภาพ สะอาด มีประโยชน์ เราอยาก ได้ของดี บริสุทธิ์ สะอาด มีประโยชน์ฉันใด บุคคลอื่นก็ไม่ต่างอะไร จากเรา เมื่อปรารถนาอย่างนั้น ก็จะทำ�ไปด้วยเจตนาที่ดี อยากให้ เขามีสุขภาพดี เราเองก็มีความสุข อย่างนี้หาได้ยาก ขณะนี้อาจจะ ยังมีไม่มาก แต่ต่อไปจะมีเพิ่มขึ้นๆ ในอนาคตผู้บริโภคก็จะมั่นใจได้ ถึงความสะอาด และประโยชน์ที่จะได้รับ ทำ�ให้สิ่งที่มีโทษลดลงไป เอง เป็นเพราะคนเราเริ่มเข้าใจชีวิต เริ่มเข้าใจธรรมะมากขึ้นนั่นเอง ธรรมะเริ่มแทรกซึมเข้าไป แรกๆ อาจจะทำ�ไม่ได้ แต่พอ นานเข้าก็ทำ�ได้ หลายคนเริ่มคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ ต่อผู้อื่นด้วย อยู่แบบพึ่งพาเป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่เอารัดเอาเปรียบ 25
  • 26. บริโภคอย่างเท่าทัน เพราะปัจจุบันมีธรรม 26
  • 27. กัน เอาบุญร่วมกันปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เป็นเพื่อนร่วมเกิด ร่วมเจ็บ ร่วมตาย เพราะเราอยู่บนโลกนี้ไม่เกินร้อยปี คนที่อายุยืน ที่สุดในโลกนี้ก็ยังไม่ถึง ๒๐๐ ปีสักคน สมัยพุทธกาลมีพระสาวก บางรูปท่านอายุยืนถึง ๑๖๐ ปี แต่สมัยนี้ไม่เกิน ๑๒๐ ปีก็ไปแล้ว ถ้าเข้าใจชีวิตของแต่ละคน เราก็จะไม่เอารัดเอาเปรียบกัน แต่ถ้าเรา ยังถูกความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำ�อยู่ก็จะทำ�ได้ยาก แต่สำ�หรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วจะทำ�ได้ไม่ยาก เพราะรู้จักเท่าทันกิเลส ก็ สามารถที่จะควบคุมหรือกักขังกิเลสเอาไว้ได้ เหมือนคนที่เลี้ยงสัตว์ มีพิษเอาไว้ แต่สัตว์เหล่านั้นไม่มีโอกาสทำ�ร้ายเจ้าของได้ เพราะ เลี้ยงแล้วก็ใส่กรงไว้เป็นที่เป็นทาง แต่ถ้าเผลอเมื่อไรจะถูกทำ�ร้ายได้ เหมือนที่ฝรั่งหลงใหลงู แล้วเอามาเลี้ยง ปล่อยไว้ในห้องนอนตัวเอง งูที่เลี้ยงเป็นงูพิษก็เลยถูกกัดตาย ถ้าเรามีสติปัญญารู้เท่าทันกิเลส เราก็จะสามารถอยู่กับกิเลส โดยกิเลสไม่สามารถทำ�ร้ายเราได้ แล้ว เราก็จะอยู่ร่วมกันในโลกอย่างมีความสุขในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดมาในวัฏสงสาร เรามีชะตากรรมร่วมกันคือ ทุก คนต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเหมือนกันทุกคน หนีไม่พ้น จะเป็น สาว เฒ่า แก่ จะพิการหรือไม่พิการ เราก็จะเข้าใจกัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันโดยไม่ต้องมีกติกาอะไร เกิดจากใจช่วยเหลือกัน เอื้อเฟื้อ ได้ก็เหมือนกับเอื้อเฟื้อตัวเราเอง เพราะวันข้างหน้าเราก็เหมือนกับ เขา เหมือนบางคนที่มีลูกก็หวังว่า ลูกจะดูแลเมื่อแก่เฒ่า แต่พอเอา เข้าจริง ๆ ถ้าไม่ได้ฝึกหัดเป็นตัวอย่างให้ดู คิดแบบใหม่ เกรงใจ ลูกไม่กล้าใช้ลูก เห็นลูกๆมีครอบครัวก็เกรงใจ กลัวว่าลูกจะลำ�บาก เดี๋ยวนี้ลูกไม่ค่อยเลี้ยงพ่อแม่แล้ว เราพึ่งไม่ได้นะ เราต้องพึ่งตัวเอง 27
  • 28. พระพุทธองค์ตรัสว่า อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน การพึ่งตนได้เราต้องมีธรรมะในใจ ในด้านร่างกาย เราก็ต้องพึ่งตัวเราเองได้ ดูแลสุขภาพให้ ดี ดูแลตัวเองให้ดี ทำ�ธุระส่วนตัวเองได้ พอถึงเวลาหมดอายุขัยก็ นั่งสมาธิไปเฉย หรือนอนหลับสบาย ไม่เป็นภาระของใคร บางคน คิดจะพึ่งลูกคนนั้นหลานคนนี้ แต่พฤติกรรมของเราไม่ได้เป็นไปที่ จะพึ่งพา อันนี้พูดให้ฟัง ไหน ๆ ก็จะหมดปีเก่า ปีใหม่กำ�ลังจะมา อย่าไปหวังพึ่งผู้อื่น ถ้าเราพึ่งตัวเองได้แล้ว บางครั้งเราอาจจะเป็นที่ พึ่งให้ผู้อื่นด้วยก็ได้ หรือบางครั้งเราพึ่งตัวเองได้ ผู้อื่นก็ให้เราพึ่งได้ ด้วยเหมือนกัน บ้างก็ว่า ยามเราปกติสมบูรณ์พูนสุขจะมีเพื่อนฝูงห้อมล้อม ยามเราเจ็บป่วยเพื่อนฝูงลูกเต้าหายหมดเลย ก็เป็นเรื่องปกตินะ ลองนึกถึงต้นไม้เมื่อยามที่มีใบ มีดอก มีผล ไม่ว่าคนหรือสัตว์เล็ก สัตว์น้อยทั้งหลายก็ได้อาศัยกินอยู่อย่างสบาย แต่ยามที่ต้นไม้สลัด ใบ สลัดดอกเหลือแต่กิ่งก้าน นกที่เคยอยู่ คนที่เคยอาศัยก็หาย ไปหมด นั่นเป็นธรรมชาติที่แสดงให้เราเห็น อย่าไปคิดมาก ให้ดู ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา ต้นไม้ที่สลัดใบทิ้งออกไป บางต้นทิ้งใบ เหลือแต่กิ่ง แต่พออีกสักเดือนสองเดือนก็เขียวขจีเต็มไปหมด บาง ต้นที่ไม่ทิ้งใบ เราจะเห็นใบอ่อนๆ มีแมลงมากิน ใบไหนพอกินได้ก็ กินเรียบ พอรู้ว่ามีให้กินก็พากันมากินอีก กว่าต้นไม้จะโตได้ก็ต้อง ต่อสู้กันพอสมควร ไปดูต้นไม้ข้างโบสถ์ บางครั้งใบไม่มีเลย เพราะ แมลงพวกนี้มากินบ่อย ทางภาคอีสานเรียกว่า “แมงกีนูน” คนที่รู้ ว่าแมลงพวกนี้กินได้ เขาก็ไปเขย่าต้นเขย่ากิ่งให้แมลงหล่นลงมาใน 28
  • 30. ภาชนะที่เตรียมไว้ จากนั้นก็นำ�ไปคั่วเพื่อเป็นอาหารอะไรก็อีกเรื่อง หนึ่ง พึ่งพาหรือเบียดเบียน มีทั้งความเหมือนความต่าง ชีวิตในบางช่วงดูเหมือนเบียดเบียนกัน บางช่วงพึ่งพากัน ก็ได้ อย่ามองเพียงว่าไม่มีอะไร ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน บางคนจะรู้สึกว่า เหมือนไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ก็เป็นเพียงช่วง หนึ่งเท่านั้นที่เหมือนไม่มี แต่พร้อมที่จะมี ก่อนที่จะมีต้องสะสม ก่อน อย่างต้นไม้บางประเภทพอสลัดใบไปแล้วก็ออกดอก ออก ผลเลย ช่วงที่มีใบหนาๆ จะไม่ค่อยออกดอก ออกผล คนที่เข้าใจ ธรรมชาติก็มาบอกท่านอาจารย์ว่า ต้นมะม่วงที่วัดต้องหาคนมาตัด แต่งกิ่ง เอาใบออกบ้าง ถ้าใบหนาลูกมะม่วงจะน้อย อาตมาเลยมอง ไปถึงธรรมชาติ อะไรที่มีมากไป ทำ�ให้อีกสิ่งหนึ่งน้อยลงไปได้ แต่ ถ้าพอดีกันได้สัดส่วนที่พอเหมาะตามธรรมชาติแล้วผลจะดก ก็เป็น กลไกของธรรมชาติ นี่คือเทคโนโลยีโดยธรรมชาติ ซึ่งเราเรียนรู้ ได้ กลไกของร่างกายเราก็เหมือนกัน บางครั้งเราเจ็บไข้ได้ป่วย เรา ทุกข์ทรมาน ก็เหมือนกับร่างกายของเราซักซ้อมอะไรบางอย่าง พอ เราหายป่วย ร่างกายก็จะดีขึ้นแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานก็ดีขึ้น ไม่ใช่ ป่วยแล้วป่วยเลย ฉะนั้นเราต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริง ปัจจัย หลักก็คือเรื่องอาหาร เราต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์ และช่วย 30
  • 31. ให้เราได้พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นโดยส่วนเดียว อาจจะ พึ่งพากันบ้างเป็นครั้งคราว ทีนี้เรื่องใจที่เราฝึกกันอยู่ โดยฝึกการระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหวของท้องพอง ท้องยุบหรือวิธีอื่นๆ ก็ล้วนแต่ฝึกใจ ให้นิ่งอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน หรือฝึกใจให้มีสติอยู่ที่อากัปกิริยา เคลื่อนไหว ในหลักสติปัฏฐานที่เราฝึก ก็คือฝึกให้เรามีศักยภาพ ที่จะดูแลตัวเอง โดยเฉพาะดูแลใจ อาหารภายในหรืออาหารใจ สำ�คัญมาก เวลาใจกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี ทั้งที่ เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เมื่อมีการกระทบสัมผัสเกิดขึ้น ก็เสมือนหนึ่งเราหยิบยื่นอาหาร(ใจ) เข้าปาก เช่น ตาสัมผัสกับรูป เรียกว่า จักขุสัมผัส หูสัมผัสกับเสียง เรียกว่า โสตสัมผัส จมูกสัมผัส กับกลิ่น เรียกว่า ฆานสัมผัส ลิ้นสัมผัสกับรส เรียกว่า ชิวหาสัมผัส กายสัมผัสกับโผฏฐัพพะ เรียกว่า กายสัมผัส มโน(ใจ)สัมผัสกับ ธัมมารมณ์ เรียกว่า มโนสัมผัส เมื่ออาหารใจนำ�เข้าสู่กระบวนการ โดยผ่านทางทวารทั้ง ๖ ถ้าไม่กำ�หนดหรือแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) ก็จะไม่เกิดกระบวนการคัดสรร ซึ่งจะก่อให้เกิดความชอบหรือไม่ ชอบ เมื่อมีอุปาทานในอาหารใจก็จะก่อให้เกิดความทุกข์ตามมา อาหารใจอีกอย่างคือ มโนสัญเจตนาหาร เมื่อมีเจตนาใน ทางที่ดี ไม่ดี ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายได้ถูกต้องสัมผัส ใจ(นาม)ได้รู้ธัมมารมณ์ คนทั่วไปมีโอกาส น้อยมากที่จะได้กำ�หนดรู้ ส่วนผู้ปฏิบัติมีโอกาสในการกำ�หนดรู้ได้ มากกว่า จึงมีความเป็นไปได้ที่จะบริโภคอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาด้วย ความแยบคาย ความยึดติดจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ 31
  • 32. อาหารดีหนุนส่ง ตรงไปพระนิพพาน 32
  • 33. กำ�หนดเลยก็จะติดยึดความชอบหรือไม่ชอบทางอายตนะหรืออาจ จะบริโภคแบบไม่รู้ก็ได้ อย่างการบริโภคทางตา พอตาเห็นก็ชอบ พอตาเห็นไม่ชอบก็เบื่อเซ็ง โทสะเกิดโดยที่ไม่รู้ ไม่แยบคาย ไม่ ได้กำ�หนด ถ้าบริโภคแบบนี้เรื่อยไป ถามว่าโอกาสป่วยมีไหม ป่วย ในที่นี้ คือป่วยใจ แน่นอนป่วยใจเพราะโลภมากไป ป่วยใจเพราะ โกรธมากไป ป่วยใจเพราะหลงยึดถือหรือมีอุปาทานมากไป อย่าง บางคนไปทานอาหารกายข้างนอก แล้วว่าอาหารไม่ค่อยดีอารมณ์ก็ ไม่ค่อยดีไปด้วย ลำ�บากนะ อาหารไม่ดีด้วย อารมณ์ก็ไม่ดีประกอบ กันด้วยก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ฉะนั้นเรามาที่นี่มาฝึกปฏิบัติ มาฝึกใจ รับประทานอาหารกัน ๒ มื้อ เมื่อเช้าจะเป็นอาหารมังสวิรัติ กลาง วันเป็นอาหารทั่วไปแต่ไม่เน้นพวกเนื้อสัตว์ จะเน้นผักผลไม้เป็น ส่วนใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับสุขภาพกาย ถ้ารับประทานแบบ ตามกิเลสเลยก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าจะได้ประโยชน์น้อย ได้บุญ น้อย เวลาที่เรามาปฏิบัติก็เหมือนจะลำ�บากกันหน่อย ไม่ได้อย่างที่ อยาก อย่างที่ต้องการ รับประทานยากหน่อยแต่ได้บุญมาก เรา มาฝึกใจ เวลาเห็นแทนที่จะปล่อยไปตามเรื่องก็กำ�หนด “เห็นหนอ” หรือแยบคายในขณะที่เห็น โลภะ โทสะ โมหะก็ไม่เข้า ถ้าสิ่งเหล่า นี้ปนเปื้อนมาในอาหารมากเกินไป ในอนาคตก็จะลำ�บาก เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ จะถูกสะสมทุกขณะจิต คนที่เรียนพระอภิธรรม ก็อาจจะนับดวงจิตที่ถูกอกุศลจิตครอบงำ�ว่า มีมากมายไปหมดเลย เมื่อมาปฏิบัติไม่ต้องกังวลนะ แค่ไหนคือแค่นั้น เรียนคือเรียน พอ เรียนแล้วก็แยกแยะว่า น่ากลัวนะ ถ้าเราปล่อยไปแบบนี้ มิน่าล่ะเรา ถึงท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ จิตถึงได้จมติดอยู่ในนี้ไม่ยอมออกไป 33
  • 34. ไหน หากเราไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ไม่ได้มาปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานเราก็ไม่มีโอกาสได้รู้ การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็น เรื่องยาก การเกิดเป็นมนุษย์แล้วจะมีชีวิตต่อไปก็ไม่ใช่ง่าย การจะอยู่เป็นคน ต้องฝึกตนจึงดี ฉะนั้นการที่จะอยู่เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐต้องฝึกตัวเอง การที่ เราจะประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉาน ประเสริฐกว่าคน ยิ่งกว่าคนก็คือ เราฝึกตน มิฉะนั้นเราก็จะเป็นแบบคนธรรมดาสามัญเท่านั้นเอง ผู้ ที่ประสบความสำ�เร็จไม่ว่าด้านใดๆ จะเป็นผู้ที่ฝึกตนมาทั้งนั้น ไม่ใช่ ว่าอยู่ๆ จะสำ�เร็จได้ ผู้ที่มีงาน มีอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว สร้างรายได้ให้กับบริวาร หรือสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติก็ต้อง ฝึกตนมาก่อนทั้งสิ้น ไม่ใช่อยู่ๆแล้วก็มาเป็นเลย ต้องมีมาบ้าง ถ้า ไม่มีมาเลย เป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย มีแต่ในนิทานปรัมปรา ที่เล่ากันมา รออยู่เฉยๆราชรถมาเกย เขาเรียกว่า แต่งไว้เพื่อปลอบ ใจตัวเองเท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริงไม่มีแบบนั้น การพึ่งพาตัว เองได้หรือคนอื่นพึ่งเราได้ก็ต้องฝึก การมาฝึกปฏิบัติ เป็นการสอนให้เรารู้จักอายตนะ อย่างตา เห็นรูป กำ�หนด “เห็นหนอ” หรือแยบคายในขณะที่เห็น หูได้ยิน เสียงกำ�หนด “ได้ยินหนอ” แค่อาการได้ยินหรือแยบคายขณะได้ยิน 34
  • 35. โลภะ โทสะ โมหะจะได้ไม่ทำ�ร้ายเรา การติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะการถูกต้องสัมผัสนั้นก่อให้เกิดกิเลสคือโลภะ การ ได้ยินเสียงบ่น เสียงด่า เสียงตำ�หนิ เกิดไม่ชอบใจขึ้นมา นั่นแหละ กิเลสตัวโทสะพลุกพล่านอยู่ เป็นเหตุให้อารมณ์เสีย เกิดขึ้นรวดเร็ว เหลือเกิน จนไม่ได้กำ�หนดหรือกำ�หนดไม่ทัน เมื่อไม่แยบคาย โมหะ ก็เข้าอีก เหมือนเราบริโภคทางตา ทางหู ด้วยความไม่รู้ เราบริโภค มาตั้งแต่เล็กจนโตในช่วงชีวิตนี้ บริโภคมาหลายภพชาติแล้ว ไม่รู้ภพ ชาติไหน เมื่อได้มีโอกาสมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรา จึงเริ่มรู้ว่าเราบริโภคด้วยความไม่รู้มานานแล้ว ด้วยความหลง ด้วยความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จากนั้นจะนำ�ไปสู่ กระบวนการเปลี่ยนที่สอดคล้องกับภาวะแห่งความเป็นจริงอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ความเชื่อแบบไม่ถูกต้องทำ�ให้เรายังหลงยังติดอยู่ ถ้าเป็น อาหารใจ ถ้าเราไม่พยายามที่จะฝึก ไม่พยายามที่จะเรียนรู้ ในขณะ ตาเห็น หูได้ยิน จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส อย่าง ขณะนี้เราได้กลิ่นอยู่ บางคนอาจจะไม่พอใจ อาตมาก็แพ้อากาศ แบบนี้ กลิ่นแบบนี้ บางครั้งเสียงจะสั่น อยู่ๆเสียงหายไปเลยก็มี เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย ถ้าเราเผลอขาดสติก็จะตำ�หนิไปเรื่อยว่า ใครหนอมาจุดเผา แต่ถ้าสติเราทันก็จะรู้ว่า เป็นเรื่องธรรมดา การ อยู่ในโลกนี้จะเลือกอย่างที่เราอยากจะให้เป็นคงยาก เขาก็มีสิทธิ์ที่ จะเลือกทำ�อย่างที่เขาต้องการ ถ้าเราไม่เข้าใจอย่างนี้ก็จะเป็นทุกข์ ถ้าเราเข้าใจแล้วก็จะรู้สึกดีขึ้น และเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ปัญหา เฉพาะหน้า หลบได้เราก็หลบ เลี่ยงได้เราก็เลี่ยง เผชิญได้เราก็ 35
  • 36. เผชิญ หรือกักขังเอาไว้ถ้าสิ่งนั้นมีพิษ เมื่อเราไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้และไม่เคยฝึกมาเลย ก็คง ไม่สามารถนำ�มาใช้ได้ อย่างบางคนไปเที่ยวในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น ไฟไหม้ไม่รู้จะทำ�อย่างไร สติ สตังไม่รู้หายไปไหน วิ่งหนีตายกัน หาทางออกไม่ได้ บางคนพอ ไฟไหม้บ้านก็ไม่รู้จะออกไปทางไหน บ้างก็วิ่งขึ้นไปชั้นบนก็มี แต่ ถ้าคนที่เคยฝึกปฏิบัติ ก็เหมือนเคยซักซ้อมเตรียมความพร้อมอยู่ เสมอ เวลาเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นจะไม่ตื่นตระหนกเท่าไร ฉะนั้น การที่เราฝึกไว้ปฏิบัติไว้ก็เป็นการเตรียมความพร้อม ไม่เสียหาย หรอก ปีหนึ่งเรามาฝึกปฏิบัติก็เหมือนกับมาเติมเต็มสิ่งที่ดีให้ชีวิต บางคนก็ปฏิบัติตลอดทั้งปีอยู่แล้ว ฝึกมาตลอด บางคนปีหนึ่งจะมา ครั้งหนึ่ง ก็อาจจะรู้สึกว่า การปฏิบัติไม่ค่อยก้าวหน้าเลย อันนั้นเป็น ความรู้สึกเดิมๆ ที่เราเคยยึดถือไว้ว่าต้องก้าวหน้า ถ้าเราทิ้งความ รู้สึกนั้นไปได้ก็จะรู้สึกสบาย เรามีโอกาสฝึกปฏิบัติเราก็ทำ�ให้ดีที่สุด ณ ตรงนั้น นั่นแหละคุณค่าที่จะพึงสัมผัสได้ เรามักไปติดจมอยู่กับอดีต หรือก็ไปเพ้อฝันกับสิ่งที่ยังมา ไม่ถึงในอนาคต ที่น่าแปลกคือ อะไรที่น่าจะทุกข์เราก็ไม่ทุกข์ แต่ เรากลับมาทุกข์กันแบบง่ายๆ ทุกข์กับสิ่งที่เราขีดเอง เขียนเอง สร้างเงื่อนไขขึ้นมาเอง ฉะนั้นเราต้องพยายามปลดหรือวางเงื่อนไข ต่างๆ มองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นจริง อย่าหลอกตัวเองจนจับ ต้นชนปลายไม่ถูก ถึงเวลาหรือยังที่จะยอมรับเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ไข ที่สอดคล้องและเท่าทันกับสภาวะที่กำ�ลังดำ�เนินไปอย่างไม่หยุดนิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างไม่ควรยึดถือ แต่เราก็ยึดถือด้วยความไม่รู้ เมื่อ 36
  • 38. รู้อย่างนี้แล้ว คงถึงเวลาที่จะปล่อยวางอย่างมีสติสัมปชัญญะ น้ำ�เก่า น้ำ�เน่า ไหลไปกับปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป น้ำ�ใหม่ น้ำ�ใส ที่ทุกคน ฝึกฝนอบรมจิตใจกำ�ลังจะไหลเข้ามาทดแทน การบริโภคอารมณ์ผ่านทางอายตนะทั้ง ๖ เมื่อเผลอขาด สติย่อมมีผลกระทบในทางที่จะก่อให้เกิดความทุกข์มากกว่าความ สุข แต่เมื่อการบริโภคนั้นเป็นไปอย่างมีสติ จะมีผลกระทบใน ทางที่จะก่อให้เกิดความสุขมากกว่าความทุกข์ ถึงแม้ว่ากิเลสยังมี อยู่ แต่กิเลสไม่เป็นเจ้านายเหนือเราก็ใช้ได้ ในบางช่วงเหมือน เราขังกิเลสไว้เล่นก่อน บางคนยังขี้เหงาอยู่ก็เลี้ยงกิเลสเอาไว้ดูเล่น อุปมาเหมือนคนชอบเลี้ยงงู ก็หยอกล้อเล่นกัน หัวเราะคิกคัก แต่ ถ้าเผลอจะเป็นเรื่องเลย ต้องฝึกบ่อยๆ เมื่อเราฝึกจนถึงขนาดเท่า ทันแล้ว ก็ไม่ต้องเลี้ยงอะไรแล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลอีกเลย ถ้าเรา ยังเลี้ยงเอาไว้เมื่อเผลอก็จะถูกฉกกัดเอา เหมือนคนเลี้ยงอสรพิษ ไว้แต่ขาดความระมัดระวัง เพราะตราบใดที่เรายังมีกิเลส ก็ยัง ต้องท่องเที่ยวในวัฏสงสารอีก การที่จะหมดกิเลสก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าหากผู้นั้นมีความพากเพียรพยายาม เป็นไปได้ เสมอ ในเมื่อเป็นไปได้เสมอแล้วเราจะไปทุกข์ทำ�ไม จะปีใหม่แล้ว ทำ�ใจให้สบาย เราฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ ในเมื่อมารยังให้โอกาส ขอ ให้ใช้เวลาในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่า จงพยายามทำ�ให้ตัวเองมีประโยชน์ บางคนชอบคิดว่าตัว เองอยู่อย่างไม่มีประโยชน์ คนมีจิตใจก็คิดไปเรื่อย แท้จริงทุก คนมีประโยชน์ทั้งนั้นแหละ เพียงแต่จะมีประโยชน์มากหรือน้อย ประโยชน์ตนหรือผู้อื่น ประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อม ถ้าเรา 38
  • 39. มองเห็นโทษเราก็ต้องมองในมุมที่มีประโยชน์ด้วย บางคนพอฝึก ไปปฏิบัติไปก็มีความรู้สึกว่าสังขาร รูป นาม เป็นทุกข์ไม่มีสาระแก่น สาร แต่ถ้ามองอย่างละเอียดลึกซึ้ง ก็จะเห็นประโยชน์มากมาย มหาศาล ในสิ่งที่ไม่มีสาระก็มีสาระในตัวเอง อุปมาเหมือนร่างกาย เป็นซากศพ เราก็จะอาศัยเกาะซากศพนี้ข้ามฟากไป แต่เมื่อข้ามไป แล้วก็ไม่ต้องแบกต้องถือไปด้วย ต้องพยายามฝึกปฏิบัติกันไป ก็ เหมือนเข้าค่าย มีครูพาเดิน พานั่ง พากำ�หนด การฝึกปฏิบัติแบบ นี้บางคนอาจจะรู้สึกขำ�ๆว่า เหมือนเด็กเล่นขายของ ก็เหมือนพวก เราตอนเป็นเด็กเรียนอนุบาล คุณครูพาร้อง พารำ� พาหกคะเมน ตีลังกา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เรามีวิชาความรู้ มีศิลปะ วิทยาการที่ใช้ในการดำ�เนินชีวิตเมื่อเติบโตมา อันนี้เป็นการฝึกทาง ใจก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยฝึกปฏิบัติเพื่อให้ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้น เวลามาฝึกปฏิบัติเราก็อยากจะฝึกให้ได้อย่างที่ใจเราต้องการ อยากจะให้หมดกิเลสในวันนี้เลย ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างน้อยก็ให้ ทันกิเลสบ้างก็ยังดี ดูอย่างพระพุทธองค์กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเวียนว่ายตายเกิดบำ�เพ็ญบารมีมาเท่าไร เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เคย ตกนรกก็เคย เป็นคนดีก็เคย คนเลวก็เคย เรียนรู้จากสิ่ง เหล่านั้น จนสุดท้ายก็มาเป็นพระพุทธเจ้าถึงจะบริสุทธิ์บริบูรณ์สั่งสม บารมีมายาวนาน ฉะนั้นเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดมา สร้างบุญบารมีก็สร้างกันไป บางคนบารมีเต็มแล้วก็นิพพานไป คน ที่ยังไม่ถึงก็อย่าไปท้อ อย่าไปคิดว่าเราด้อย ไม่มีใครด้อยกว่าใคร หรอก พระพุทธองค์ตรัสว่าไม่ตายไม่มี สมัยก่อนเจ้าชายสิทธัตถะ 39
  • 40. เห็นคนแล้วเป็นทุกข์ว่า ต้องมาเกิด แล้วต้องมาแก่ แล้วต้องมาตาย พระองค์ใช้เวลาถึง ๖ ปี อย่างไรก็ต้องหาให้เจอให้ได้ มีมืดก็ต้อง มีสว่าง พระองค์มีความมุ่งมั่นเหลือเกินในอันที่จะหาทางช่วยเหลือ สัตว์ให้พ้นจากทุกข์ สุดท้ายก็ทรงเข้าพระทัยด้วยการค้นพบความ จริงว่า คนเราเกิดมาก็ต้องเป็นอย่างนี้นี่เอง ตราบใดที่ยังเกิดอยู่ หนี ไม่พ้น แล้วสิ่งใดทำ�ให้เกิดล่ะ กิเลสนี่เองที่เป็นเหตุให้เกิดในภพน้อย ภพใหญ่ ถ้าตัดกิเลสได้แล้วก็ไม่ต้องเกิดมาในวัฏสงสาร ไม่ต้องถาม ว่าจะทุกข์ไหม ไม่ต้องถามว่าจะแก่ไหม ไม่ต้องถามว่าจะตายไหม สุดท้ายพระองค์พบแล้วก็เลยทักว่า ตัณหานี่เองก็คือกิเลสที่พาเรา ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไปสร้างเรือนที่โน่นที่นี่ บุคคลบาง คนพบจากตำ�รา จากการได้ยินได้ฟัง จากครูบาอาจารย์ หรือพบ ด้วยตัวเอง แต่ว่าเรายังละไม่ได้ ยังมีคนสร้างเรือนให้เราอยู่ เมื่อ จะอยู่ในเรือนให้มีความสุขเราต้องมีความพร้อม ฝึกให้มีสมาธิ ฝึก ให้มีปัญญา ฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีบุญมีกุศลอย่างน้อยก็ช่วยเราได้ ถึง แม้ตัณหาจะพาไปสร้างเรือนตรงนั้นตรงนี้ แต่เราก็รู้อยู่ว่าสักวันหนึ่ง เราจะต้องเป็นนายของตัณหา ตัดตัณหาให้ได้ ในบางช่วงมีอำ�นาจ มีสติปัญญาเหนือเขา เราก็กักขังกิเลสเอาไว้ได้ หรือบางครั้งเรามีสติ ปัญญาเท่าทันกิเลสได้ ก็สามารถเล่นหัวกันได้โดยไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรา เผลอ กิเลสก็เอาเรื่องกับเรา จนบางครั้งก็ท้อแท้กับชีวิตที่เป็นอยู่นี้ เหลือเกิน นี่แหละรสชาติแห่งชีวิต ต้องอาศัยกัลยาณมิตร อาศัยเพื่อนดีคอยแนะนำ�ตักเตือน บ้าง ชีวิตจะได้ดำ�เนินไปได้ด้วยดี เพราะเราไม่ได้สร้างบารมีมา เพื่อการบรรลุธรรมเพียงลำ�พังตนเอง ต้องมีกัลยาณมิตรก็คือคนดี 40
  • 41. เพื่อนดีช่วยบ้างเป็นครั้งคราว เมื่อเข้าใจก็จะเป็นเพื่อนกันได้ เพราะ เพื่อนร่วมเกิด ร่วมแก่ ร่วมเจ็บ ร่วมตาย ที่เราแผ่เมตตาบ่อยๆ จะ เข้าไปถึงจิตใจหรือเปล่าไม่รู้ ถ้าเราเข้าถึงจิตถึงใจเราจะมองไม่ต่าง กัน สูง ต่ำ� ดำ� ขาว รวย จน เป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น สุดท้ายไม่มี ใครรวย ไม่มีใครจน ไปกันทุกคน คนจนก็ไป คนรวยก็ไป ทอดทิ้ง ร่างกายกันไว้ทุกราย ยังไม่มีใครเอาไปด้วยได้ ฉะนั้นเราไม่ต้องกลัว ตรงนั้น ในช่วงที่เรายังอยู่ พยายามทำ�ให้ดี ควรสร้างอาหารใจ คือ ต้องมีสติมีปัญญา ในการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เรา ต้องฝึกเอาไว้ ลองย้อนมองในช่วงปีเก่าที่กำ�ลังจะผ่านไป มีทั้งสิ่งที่เราชอบ และไม่ชอบ บางคนได้เงินเดือนขึ้น ได้เลื่อนยศตำ�แหน่ง ได้รับคำ� ยกย่องสรรเสริญเยินยอ ส่วนบางคนก็มีแต่คนตำ�หนิ นินทา ว่าร้าย ถูกลดขั้น โยกย้าย อุปสรรคมากมายเหลือเกิน ทั้งหมดนี้เป็นความ จริงของโลก ต้องมีสิ่งที่เราพึงพอใจและไม่พึงพอใจ สิ่งที่เราได้ตาม ปรารถนาและไม่ได้ตามปรารถนานั้น สติปัญญาที่เราฝึกฝนอบรม ดีแล้วจะมาช่วยอุดช่องว่างช่องโหว่ตรงนี้ กิเลสก็ไม่สามารถอาศัย ช่องว่างช่องโหว่ทำ�ร้ายเราได้อีกต่อไป หากเราเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และใช้สติปัญญาเป็นเครื่องดำ�เนินชีวิต เราจะอยู่อย่างมีทุกข์น้อย อยู่อย่างประเสริฐก็ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมตัวเอง เราจะเป็นผู้ ประเสริฐได้ยาก หากปราศจากการฝึกตน อาหารกายก็ดี อาหารใจก็ดีเป็นเรื่องสำ�คัญ หากเราเสพ เรา บริโภคโดยไม่คิดก็เป็นการไปเพิ่มภาระให้แก่ระบบต่างๆ ภายใน ร่างกายและจิตใจ พอกินเข้าไปก็เป็นภาระของอีกระบบหนึ่ง ทำ�ให้ 41
  • 42. คบกัลยาณมิตร ชีวิตจะไปได้ดี 42
  • 43. ทำ�งานไม่สะดวก บางคนบอกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ต้องทำ�ดีท๊อกซ์ กำ�จัดพิษเสียบ้าง เรื่องนี้ก็เลยเข้ามาเกี่ยวข้อง ดีท๊อกซ์ตับ ไต ลำ�ไส้ ร่างกายเพื่อให้ระบบต่างๆทำ�งานได้ดีขึ้น นี้ก็เป็นเรื่องของ ร่างกาย ส่วนเรื่องจิตใจเรื่องอารมณ์ก็ต้องทำ�ดีท๊อกซ์กันบ่อยๆ โดยการสวดมนต์ ไหว้พระ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฟังเทศน์ฟัง ธรรม ใจก็สงบเย็น เพราะไม่ได้อิงสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่ อิงธรรมะ อิงธรรมชาติ เพราะทุกคนเท่ากันหมด ถ้าฟังข่าวการบ้านการเมือง จะมีแต่เรื่องทะเลาะเบาะแว้ง กัน ฟังแล้วปวดหัว เครียดเลย ต่างกับการฟังธรรม พระพุทธองค์ สอนให้เราเข้าใจตัวเองเข้าใจผู้อื่น ไม่แบ่งเขาแบ่งเราเพราะทุกคน เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย เมื่อเราเข้าใจตามความเป็นจริงแบบ นี้ คงไม่ต้องบอกด้วยวาจาว่า รู้จักและเข้าใจกัน ธรรมจะจัดสรร ให้สามัคคีกันขึ้นมาเอง ภาษาธรรมเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ คำ�พูด แบบโลกๆ เป็นเพียงเครื่องปลอบใจกันเฉย ๆ เวลาคนเรามีปัญหา กัน แต่ปัญหาธรรม มองก็รู้ ดูก็ออก บอกก็ได้ ใช้ก็เป็น ตลอด ปีที่ผ่านมา เรารับสิ่งต่างๆกันมากมาย ต้องพยายามดีท๊อกซ์เสียบ้าง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ สิ่งที่รับมาทั้งปี จะเอา ออกทั้งหมดเลยก็คงไม่ได้ มาเดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่ความคิดก็ พรั่งพรูออกมามากมาย บางคนก็งงๆ ง่วงๆ สะลึมสะลือ เดินไป ก็จะหลับ เดินเซไปเซมา บางคนไม่อยู่กับขวาย่างหนอ ซ้ายย่าง หนอ บางคนเดินไปจนถึงก้าวสุดท้ายแล้วเพิ่งได้สติขึ้นมา เดินไป ไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้เป็นต้น ไม่ต้องตกใจนะแล้วจะค่อยๆ หมดไป เอง ถ้าเราไม่ยึดไม่ถือ พยายามเท่าทันอารมณ์เหล่านั้น ในการฝึก 43
  • 45. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น อนุสัยกิเลสจะต้องฟูขึ้นมาให้เห็น ให้ รู้ ให้มีโอกาสได้กำ�หนด ก็ให้เขาออกมา ถ้าเขาออกมาในระหว่าง ที่เราฝึกแปลว่าประสบความสำ�เร็จ ต่อไปก็จะมีแต่สิ่งดีๆ เมื่อ ออกจากกรรมฐานไปก็ไปรับอารมณ์มาใหม่ ถ้าจะให้ดีก็ต้องทำ� ดีท๊อกซ์อารมณ์บ่อยๆ หลุดพ้นจากกิเลสเป็นพระอรหันต์เมื่อไรก็ ไม่ต้องดีท๊อกซ์อารมณ์แล้ว แต่เรายังมีกิเลสก็ต้องพยายามฝึกไป สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เจริญสติ ดูใจเวลากระทบอารมณ์ชอบ ไม่ ชอบ ถ้าเราเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงแล้วจะไม่เครียด เพราะทุก คนมีทางออกเสมอ อย่าไปคิดให้ตัวเองตีบตัน พอมองไปข้างหน้า ดูเหมือนมืดหมดเลย เพราะเราคิดไปเองว่าไม่มีทางไป ก้าวไป สิ ทางเดินมีอยู่แล้ว อยู่ที่ความคิดของเรา ความคิดที่ยังเห็นแก่ตัว ความคิดที่ยังมีกิเลสอยู่ ถ้าเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อปฏิบัติอยู่เช่น นี้กิเลสก็จะค่อยๆ หมดไป แต่ต้องอาศัยความพากเพียรพยายาม ความอดทน แล้วความสงบความเย็นก็จะเกิดขึ้นไม่ยาก ธรรมจะ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยฝึกตน ถ้าไม่ฝึกตนเราจะเป็นคนยิ่งกว่าคนไม่ ได้ ประเสริฐกว่าใครๆไม่ได้เลย สมดังพุทธพจน์ที่ยกขึ้นเป็นนิเขปบทในเบื้องต้นว่า “ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ” ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกตนเท่านั้นจึงจะประเสริฐ เทสนาวสาเน ในการเป็นที่สุดแห่งการแสดงพระธรรม เทศนา ในวาระการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จึงขอยุติลงคงไว้ ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ 45
  • 46. คำ�อำ�นวยพร ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้ผ่านไปตามควรแก่เหตุปัจจัย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมประสบสุขบ้าง ทุกข์บ้าง มีวิกฤตหรือ โอกาสบ้างคละเคล้าสลับกันไป ได้มาหรือเสียไปบ้าง เกิดบ้างดับ บ้างเคียงข้างกันไป สรรพสิ่งล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายไปตามเหตุ ปัจจัย จะเอาอะไรหรือไม่เอาอะไร จะยึดถือหรือปล่อยวางก็ว่ากัน ไป ตามวิถีแห่งธรรม ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ ขออำ�นวยพรให้ท่านทั้งหลาย จงประกอบไปด้วยพระธรรมคำ�สั่งสอนขององค์พระชินวรสัมมาสัม พุทธเจ้า ดังนี้ 46
  • 49. ๒๒ ๒๒ เลข ๒ ที่นำ�หน้า หมายถึง ธรรมที่มีอุปการะมาก ๒ อย่าง คือ ๑. สติ ความระลึกได้ คือ ระลึกได้ก่อนที่จะทำ� พูด คิด หรือ ระลึกรู้ไปที่ กาย เวทนา จิตและธรรม ๒๒ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว คือ รู้ตัวในขณะทำ� พูด คิด 49
  • 51. ๕๕ ๕๕ เลข ๕ ตัวแรก ได้แก่ ศีลห้า ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๕๕ ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มน้ำ�เมาคือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 51
  • 53. ๕๕ ๕๕ เลข ๕ ตัวที่สอง ได้แก่ เบญจกัลยาณธรรมห้า คือ ธรรมอันดีงาม เกื้อกูลแก่ผู้รักษาศีลห้า ๑. เมตตาและกรุณา ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๒. สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ๓. กามสังวร ๕๕ ความสำ�รวมระวัง รู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ๔. สัจจะ ความสัตย์ ความซื่อตรง ๕. สติสัมปชัญญะ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ� และไม่ควรทำ� ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท 53
  • 55. ๕๕ ๕๕ เลข ๕ ตัวที่สาม ได้แก่ นิโรธห้า ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและ ไม่มีทุกข์เกิดขึ้น ๑. วิขัมภนนิโรธ ดับกิเลสด้วยการข่มไว้ ๒. ตทังคนิโรธ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงกันข้าม ๕๕ ๓. สมุจเฉทนิโรธ ดับกิเลสด้วยตัดขาดด้วยอำ�นาจแห่งโลกุตตรมรรคนั้นๆ ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับแห่งการบรรลุโลกุตตรผล ๕. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่กิเลสดับสนิท แล้วยั่งยืนตลอดไป 55
  • 57. สุดท้ายนี้ขอกราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงอำ�นวยผล ดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ประสบสิ่งอันพึงปรารถนา อันได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ พร้อมด้วยธนสาร และธรรม สารสมบัติ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ เทอญ
  • 59. ธรรม..พรปีใหม่นี้ อวยชัย โยคี พร..เพิ่มพัฒน์พูลผไท ทั่วถ้วน ปี..เก่าจรจากใจ สุขสู่ สันติ์แฮ ใหม่..จงแลเลิศล้วน หลั่งล้น พรธรรม ม. โชยุ 59