SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 6
Baixar para ler offline
Journal of Medicine and Health Sciences
(Vol.21 No.3 December 2014)4
บทความทบทวนผู้ป่วย
(Case review)
อนุพงษ์ สุธรรมนิรันด์1
อมรรัตน์ คงชุบ1
ณัฏฐิณี ชินะจิตพันธ์1
1
หน่วยจิตเวชเด็ก กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลชลบุรี
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
บทคัดย่อ
	
	 โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก เป็นความผิดปกติทางจิตใจภายหลังประสบกับภยันตราย
ที่รุนแรง ในเด็กมักพบโรคนี้ตามหลังการถูกทารุณกรรม อุบัติภัย วินาศภัย การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่งภาวะเฉียดตาย
จากการเจ็บป่วย อาการแสดงของโรค ภายหลัง 1 เดือน จากเหตุการณ์ คือ ยังนึกกลัวถึงเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญ
มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ตระหนกกลัว การรักษาได้ผลดีด้วยการท�ำจิตพฤติกรรมบ�ำบัดมุ่งประเด็นที่เกิดจากภยันตราย
รายงานนี้น�ำเสนอ ผู้ป่วยเด็กเล็ก 1 ราย และ วัยรุ่น 1 ราย ที่ผ่านเหตุการณ์รุนแรงมาเกิน 1 เดือน และยังมีอาการทางจิตใจอยู่
ค�ำส�ำคัญ: ความผิดปกติทางจิตใจ ภยันตราย เด็ก
ผู้นิพนธ์หลัก:
อนุพงษ์ สุธรรมนิรันดร์
หน่วยจิตเวชเด็ก กลุ่มงานจิตเวช
โรงพยาบาลชลบุรี อ�ำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
อีเมล์: anupongmd@yahoo.com
4-9 ��������������.indd 4 12/16/57 BE 2:31 PM
5โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
Posttraumatic stress disorder in children
Anupong Suthamnirand1
, Amonrat Khongchub1
, Nattinee Chinajitpun1
1
Division of Child Psychiatry, Department of Psychiatry, Chonburi Hospital
Abstract
	 Posttraumatic stress disorder (PTSD) is a mental disorder after exposure to severe traumatic or
stressful event. In children the common causes are abused, trauma, disaster, terrorism, and critical illness.
The clinical sign and symptom, one-month-aftermath, are re-experiencing, avoidant, negative in cognition
and arousal. Trauma-focused cognitive behavior therapy is the treatment of choice. This report was
presented the two cases of PTSD, young child and adolescent girl, exposed to severe trauma and
developed PTSD.
Keywords: stress, trauma, child
Corresponding author:
Anupong Suthamnirand
Division of Child Psychiatry, Department of Psychiatry,
Chonburi Hospital, Chonburi
E-mail: anupongmd@yahoo.com
4-9 ��������������.indd 5 12/16/57 BE 2:31 PM
Journal of Medicine and Health Sciences
(Vol.21 No.3 December 2014)6
	 บทน�ำ
	 Posttraumatic Stress Disorder (PTSD) โรคนี้เริ่ม
รู้จักหลังจากพบว่า ทหารที่ผ่านศึกสงคราม มีอาการหวาด
วิตกกังวล กลัว เสมือนยังอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงในสงคราม
เดิมตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค Diagnostic and Statistical
ManualofMentalDisordersฉบับที่4(DSM-4)1
ของสมาคม
จิตแพทย์อเมริกันจัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล ภายหลัง
ปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรค DSM-52
ในปี ค.ศ. 2013 ได้
จัดโรคนี้ใหม่อยู่ในกลุ่ม Trauma and Stressor Related
Disorders การวินิจฉัยโรคประกอบด้วย ผู้ป่วยต้องเผชิญกับ
เหตุการณ์รุนแรงที่กระทบกระเทือน และอาจสูญเสียชีวิตด้วย
ตนเอง โดยไม่นับการประสบกับเหตุการณ์ผ่านทางสื่อ เช่น
โทรทัศน์ หรือ ภาพถ่าย อาการแสดงหลักทางจิตใจ คือ
	 1. ยังจ�ำเหตุการณ์ได้ดีเสมือนเหตุการณ์ยังคงเกิดขึ้น
	 2. พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
	 3. อารมณ์และความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ
	 4. ตื่นตระหนกกลัวโดยปรากฏอาการอยู่นานมากกว่า
	     1 เดือนหลังเหตุการณ์ผ่านไป
	 ในเด็กการเจริญเติบโตพัฒนาของสมอง อารมณ์
ความคิด การรับรู้ยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ มีโอกาสพบเห็น
เหตุการณ์รุนแรงด้วยตนเอง คือ การถูกทารุณกรรมไม่ว่าทาง
เพศ ทางร่างกาย ความรุนแรงในครอบครัว การท�ำร้ายกันเอง
ของพ่อแม่ การพบเห็นการฆาตกรรม การก่อการร้าย อุบัติภัย
ทางรถยนต์  วิบัติภัย น�้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรือแม้แต่
การป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เฉียดตาย สามารถเกิด PTSD ได้
และด้วยวุฒิภาวะ กลไกทางสมอง การปรับตัว ท�ำให้การ
แสดงออกทางอาการ มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เห็นได้จาก
ใน DSM-5 ก�ำหนดให้การวินิจฉัยเด็กอายุต�่ำกว่า 6 ปี รวม
อาการ หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ กับการเปลี่ยนแปลงอารมณ์
ความคิด เชิงลบ อยู่ในเกณฑ์ข้อเดียวกัน2, 3
	 รายงานผู้ป่วยรายที่ 1
      	 เด็กชายไทยอายุ 2 ปี 7 เดือน มารดาพามาพบ
แพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในเหตุการณ์ที่บิดายิงน้องชาย
อายุ 1 ปี เสียชีวิต และยิงผู้ป่วยเฉี่ยวที่ขาไม่รุนแรง บิดาเป็น
โรคจิตเภทมีอาการหวาดระแวง จึงท�ำร้ายลูก แรกพบผู้ป่วย
หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น 1 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการกลัว
เมื่อพูดถึงบิดา บอกว่าน้องมีเลือดที่ตัว การนอนเปลี่ยนแปลง
ผวาตื่น บอกว่าฝันถึงน้อง ติดตามเมื่อหลังเหตุการณ์ 1 เดือน
พบว่าผู้ป่วยจะไม่กล่าวถึงบิดา แต่พูดกับมารดาว่า ได้เล่นของ
เล่นกับน้อง น้องมีเลือดไหล มีอาการนอนผวาแต่ไม่บ่อยเท่า
สัปดาห์แรก ฝันว่าน้องไปไหน น้องไม่อยู่ ด้านอารมณ์จะ
หงุดหงิดกับมารดาบางครั้ง เมื่อพบแพทย์ ได้ประเมินผ่านการ
เล่นโดยใช้ของเล่น คือ ตุ๊กตาพ่อ แม่ และลูก 2 คน อยู่ในบ้าน
จ�ำลอง ระหว่างการเล่นเพื่อประเมินสภาพจิตใจ ผู้ป่วยจะ
หลีกเลี่ยงไม่พูดหรือเล่นตุ๊กตาที่เป็นพ่อ แต่เล่นตุ๊กตา พี่กับน้อง
ส่วนตุ๊กตาแม่ ออกไปนอกบ้าน เด็กจะเล่นลักษณะนี้ซ�้ำ
หลายรอบได้ให้การวินิจฉัยว่าPTSDและรักษาด้วยการเล่นบ�ำบัด
	 ผู้รายงานได้มีการติดตามรักษาอยู่ 1 ปี ผู้ป่วยอาการ
ดีขึ้น ไม่พบอาการฝันร้าย ไม่พบว่ามีการพูดถึงน้องที่มีเลือด
ไหล แต่ยังพูดบ้างว่ามีน้องมาเล่นด้วย ไม่แสดงออกของการ
เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การปรับตัว และการดูแลตนเองได้
ตามปกติ
	 อภิปรายผู้ป่วยรายที่ 1
    	 ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี DSM-5 ได้ก�ำหนด
เกณฑ์การวินิจฉัยเฉพาะเพิ่มเติมที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ โดย
รวมหมวด ความคิดอารมณ์เชิงลบ (negative in cognition)
กับการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ (avoidant) มาอยู่รวมกัน
ผู้ป่วยเด็กเล็ก ไม่จ�ำเป็นต้องมีอาการทั้งสองอาการเหมือนใน
ผู้ใหญ่2
ในผู้ป่วยรายนี้อายุ 2 ปี 7 เดือน เมื่อเทียบกับเกณฑ์
วินิจฉัย พบว่า เด็กประสบกับความรุนแรงที่กระทบกระเทือน
ถึงชีวิต คือ ถูกบิดายิง ทั้งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ที่รุนแรงโดยตรง
คือ บิดายิงน้องเสียชีวิตต่อหน้าผู้ป่วย หลังจากผ่านเหตุการณ์
มา 1 เดือน ผู้ป่วยมีอาการแสดงเสมือนว่าเหตุการณ์นั้นยัง
คงเกิดอยู่ไม่หายไป มีอาการฝัน และพูดถึงเหตุการณ์บ่อยๆ
พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เมื่อเล่นกับผู้รักษา
เพื่อประเมิน ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เล่นตุ๊กตาที่สมมติ
เป็นพ่อ มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม โดยเด็กจะ
มีความกังวลกลัวผวา อาการของผู้ป่วยครบตามเกณฑ์ การ
วินิจฉัย PTSD
	 เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ครั้งแรก 1 สัปดาห์หลัง
เหตุการณ์ ผู้ป่วยมีอาการทางจิตใจที่เกิดจากความรุนแรง
ผู้รายงานได้ให้การรักษาด้วยการเล่นบ�ำบัด (play therapy)
ตั้งแต่แรกพบ แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 1 เดือน ก็ไม่สามารถ
ช่วยป้องกันการเกิด PTSD ได้ ผู้รายงานได้ให้การรักษาด้วย
เล่นบ�ำบัดอย่างต่อเนื่องจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยมี
มารดาที่คอยดูแลตั้งแต่เกิดเหตุการณ์และมารดาไม่มีปัญหาทาง
สุขภาพจิต ถือว่าเป็นปัจจัยปกป้องช่วยให้พยากรณ์โรคดีขึ้น
4-9 ��������������.indd 6 12/16/57 BE 2:31 PM
7โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
	 รายงานผู้ป่วยรายที่ 2
	 เด็กหญิงไทยอายุ 14 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่
อายุ 7 ปี โดยบิดาบุญธรรม จนอายุ 13 ปี ได้รับการช่วยเหลือ
แยกออกมาจากครอบครัว และบิดาบุญธรรม โดยเจ้าหน้าที่
ของบ้านพักเด็กและครอบครัวในภูมิล�ำเนาที่ผู้ป่วยอาศัย เมื่อ
อายุ 14 ปี ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือให้ย้ายมาอยู่กับน้าที่
จังหวัดชลบุรี และได้เข้ามารักษากับผู้รายงาน
	 แรกรับพบว่า ผู้ป่วยมีความกลัว ความกังวลมาก
ต่อเหตุการณ์ ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์สิ้นสุดไปแล้ว 1 ปีก่อนมาพบ
แพทย์ ผู้ป่วยมีความคิดผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติว่าตนเองก�ำลัง
ถูกท�ำร้ายทางเพศจากบิดาบุญธรรม ความถี่ 2-3 ครั้งต่อ
สัปดาห์ ตกใจกลัวเมื่อเจอผู้ชายหรือใกล้ผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็น
เพื่อน ครู ทุกครั้งที่ตกใจกลัว จะมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก
ปรับตัวล�ำบากกับเพื่อน และน้าที่ผู้ป่วยมาอยู่ด้วย รู้สึกว่า
ตนเองเป็นคนไม่ดี ท�ำอะไรก็ผิดพลาด คิดว่าเป็นผู้ผิดมี
ส่วนร่วมที่ท�ำให้เกิดเหตุการณ์บิดาบุญธรรมล่วงละเมิดทางเพศ
	 การประเมินสภาพจิต พบว่า ผู้ป่วยมีความคิดว่า
เหตุการณ์ถูกท�ำร้าย ยังสามารถเกิดขึ้นมาอีกได้ มีความกลัว
ใจสั่น เมื่ออยู่ใกล้ผู้ชายทุกคน ไม่สามารถควบคุมความคิด
กลัว ปรับตัวล�ำบากกับเพื่อน ครู และน้าที่มาอาศัยอยู่ด้วย
นอนไม่หลับ และฝันร้ายบ่อย
	 ผู้รายงานได้ให้การวินิจฉัย Chronic PTSD รักษา
ด้วย เภสัชบ�ำบัด ใช้ยาต้านเศร้า Fluoxetine เป็นกลุ่ม
Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRI) และจิต
พฤติกรรมบ�ำบัด หลังรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยมี
อาการดีขึ้น และอยู่ในระหว่างการติดตามต่อเนื่อง
	 อภิปรายผู้ป่วยรายที่ 2     
	 ผู้ป่วยรายนี้มาพบแพทย์เมื่ออายุ14ปีแต่ประสบกับ
เหตุการณ์ที่รุนแรง ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดย บิดาบุญธรรม
ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดในครอบครัว เป็นผู้ที่เลี้ยงดูผู้ป่วย ตั้งแต่
อายุ7ปีต่อเนื่องเป็นระยะยาว5ปีถือว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรง
ทั้งทางกายและใจ ในเด็กวัยรุ่นอายุ 14 ปี เริ่มมีความคิด
เรียนรู้ กลไกทางจิตใจ แบบผู้ใหญ่ การวินิจฉัยโรคกลุ่มนี้
เกณฑ์การวินิจฉัยจึงไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการ
แสดงออกเสมือนว่าเหตุการณ์ยังเกิดขึ้นเสมอ (re-expe-
rience) มีความคิดผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ (flashback) ว่า
ยังถูกบิดาท�ำร้าย หลีกเลี่ยงไม่อยากพูดถึงเหตุการณ์ที่เคย
เกิดขึ้น (avoidant) มีอารมณ์ ความคิดในทางลบ (negative
in cognition) คิดว่าผู้ป่วยเป็นผู้ผิด หงุดหงิดง่าย ไม่อยาก
อยู่กับน้า ไม่อยากคบเพื่อน มีอาการตื่นตระหนกกลัวว่า
จะเกิดเหตุการณ์ซ�้ำ (arousal) อาการทั้งหมดของผู้ป่วย
ยังคงมีอาการหลังเหตุการณ์สิ้นสุดเกิน 1 เดือน ผู้รายงานได้
ให้การวินิจฉัย PTSD ตามเกณฑ์ DSM-5 เป็นแบบ chronic
เนื่องจากมีอาการต่อเนื่องเกิน 3 เดือน
	 การรักษาด้วยจิตพฤติกรรมบ�ำบัด มุ่งประเด็นเน้น
จากภยันตรายที่เกิดกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าอาการ
ทั้งหมดเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนทางใจ เรียนรู้อารมณ์
พฤติกรรมของตนเองที่เกิดขึ้น รู้จักแยกเหตุการณ์ที่ผ่านไป
แล้วกับปัจจุบัน รับรู้ตนเองถึงความปลอดภัย และสามารถ
ควบคุมตนเองได้ เกิดมุมมองใหม่ว่าผู้กระท�ำผิดไม่ใช่ผู้ป่วย
แต่เป็นบิดาบุญธรรม ฝึกจินตนาการความคิดการควบคุม
ปรับตนเองในอนาคตในทางบวก ทั้งด้านการเรียน ความ
สัมพันธ์ กับเพื่อนครู และครอบครัวใหม่ ผู้ป่วยมีอาการ
ดีขึ้น หลังจากบ�ำบัดรักษาได้ 3 เดือน ทั้งการควบคุมตนเอง
อารมณ์ พฤติกรรม ไม่โทษว่าเป็นความผิดของตนเอง ไม่มี
อาการตื่นตระหนก ไม่พบอาการหวนคิดถึงเหตุการณ์โดย
อัตโนมัติ เมื่อพูดหรือนึกถึงอดีตสามารถควบคุมความรู้สึก
ไม่กลัวเหตุการณ์ เข้าใจว่าเป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว อย่างไร
ก็ตามผู้ป่วยรายนี้ยังขาดปัจจัยปกป้องที่ดีจากครอบครัว
อีกทั้งได้รับความรุนแรงต่อเนื่องนาน ผู้รักษาได้วางแผน
ติดตามระยะยาวต่อไป
	ทบทวนข้อมูลทางวิชาการ
	 ระบาดวิทยาของ PTSD พบว่าร้อยละ 80 ของ
ประชากรในสหรัฐอเมริกาเคยประสบกับความรุนแรง และ
แสดงอาการของ PTSD ร้อยละ 10 พบในเพศหญิงมากกว่า
ชาย4
ในขณะที่เป็นวัยรุ่น ร้อยละ 25 เคยเผชิญกับความ
รุนแรงมาแล้วในอดีต5
  ส�ำหรับประเทศไทย มีการศึกษาเด็ก
นักเรียนชั้นประถมปีที่4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่3 จ�ำนวน 470 คน
ที่ประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ พบว่ามีความชุกของ
PTSD ร้อยละ 15.1 6
	 เด็กที่เผชิญกับความรุนแรง แล้วพัฒนาต่อมาเป็น
PTSD พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง คือ เพศหญิง เคยพบความรุนแรง
มาก่อน หรือความรุนแรงที่สูง เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตก่อน
เกิดเหตุการณ์รุนแรงอยู่แล้ว หรือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว
(Resilience) ไม่ดี เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงจะมีความเสี่ยง
น้อยกว่าเด็กที่มีสติปัญญาต�่ำ เด็กที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ
จากครอบครัวจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าเด็กที่บิดามารดามีการ
4-9 ��������������.indd 7 12/16/57 BE 2:31 PM
Journal of Medicine and Health Sciences
(Vol.21 No.3 December 2014)8
กระทบกระเทือนจากความรุนแรง และมีปัญหาทางสุขภาพ
จิต3,7
เด็กที่มีอาการตื่นตระหนก (panic) ในระยะแรกหลัง
เหตุการณ์มีโอกาสเสี่ยงเป็น PTSD ได้บ่อยกว่า8,9
	 สภาวะทางสมองของเด็กที่เป็น PTSD พบว่า มีการ
เพิ่มการหลั่งของสารกลุ่ม adrenaline และ dopamine10
มี
การลดลงของปริมาตรสมองส่วน cerebral cortex และส่วน
corpus callosum11
และมีสมาธิ และความจ�ำลดลง รวมถึง
ระดับสติปัญญา3
	 การวินิจฉัยและอาการแสดงออกของ PTSD ใน
เด็ก จะประกอบไปด้วย ความคิด ความรู้สึกเสมือนเหตุการณ์
ยังเกิดอยู่ ยังไม่สิ้นสุด (Re-experiencing) แสดงออกโดย
การพูด การเล่น การวาดรูป ถึงเหตุการณ์ หรือเรื่องราว
ที่สื่อความหมายถึงการกระทบกระเทือนบ่อยๆ ซ�้ำๆ อาการ
แสดงออกให้เห็นถึงภาวะหลีกเลี่ยง (avoidant) ที่จะนึกถึง
เหตุการณ์ เช่น ไม่ยอมผ่านสถานที่ หรือเจอคนที่เกี่ยวข้องกับ
ความรุนแรง  อาการแสดงออกทางอารมณ์ ความคิดในเชิง
ลบ (negative in cognition) ในเด็กจะแสดงออกโดยไม่สนใจ
ที่จะร่วมเล่น ท�ำกิจกรรม ปรับตัวไม่ดีต่อการเรียน อาการ
ตื่นกลัว(arousal)ตกใจหรือมีปัญหาการนอน2
อย่างไรก็ตาม
ถึงแม้จะมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและสารเคมี
ทางสมองก็ตาม การวินิจฉัย PTSD อาศัยเพียงอาการทาง
คลินิกเป็นหลักในการวินิจฉัย ยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติ-
การที่สามารถน�ำมาช่วยในการวินิจฉัย3
โรคหรือภาวะที่พบ
ร่วมในเด็ก PTSD คือ ภาวะกังวลใจ (anxiety) กลัวการแยก
หรือพลัดพรากจากผู้ดูแล พฤติกรรมถดถอย ถ้าเป็นเด็กเล็ก
ช่วยเหลือตนเองได้ลดลง หรือมีภาวะซึมเศร้า (depression)
ท�ำร้ายตนเอง หงุดหงิด ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง ความสนใจ สมาธิ
ต่อการเรียน และสิ่งแวดล้อมด้อยลง12,13
	
	 ทีมผู้รักษาควรช่วยเหลือเด็กตั้งแต่แรก ที่ประสบ
กับความรุนแรง ถึงแม้ยังไม่ปรากฏอาการ โดยการคัดกรอง
เด็กที่มีความเสี่ยง เพื่อหาโอกาสในการบ�ำบัดเบื้องต้น แต่
อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการเข้าช่วยเหลือใน
ช่วงแรกด้วยวิธีดังกล่าวจะป้องกันการเกิด PTSD เมื่อผ่าน
เหตุการณ์ไปเป็นระยะเวลา 1 เดือน14,15
   ส่วนเมื่อเกิด PTSD
แล้วการรักษาที่ได้ผล คือ จิตพฤติกรรมบ�ำบัดมุ่งประเด็นจาก
ภยันตราย (Trauma-focused cognitive behavior thera-
py)16
  ในเด็กการใช้ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRI สามารถให้ได้แต่
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าจะมีประโยชน์ในการรักษา17
	 สรุปผล
	 ผู้รายงานได้รายงานผู้ป่วยเด็ก 2 ราย เด็กเล็ก 1 ราย
ประสบกับเหตุการณ์ถูกท�ำร้ายเฉียดเสียชีวิต และวัยรุ่นหญิง
1 ราย ถูกท�ำร้ายทางเพศ หลังเกิดเหตุการณ์ 1 เดือน มีอาการ
ทางจิตใจตามเกณฑ์วินิจฉัย PTSD คือ re-experiencing,
avoidant, negative in cognition, arousal การรักษาด้วย
Trauma-focused cognitive behavioral therapy ได้ผลดี
ส่วนการใช้ยา SSRI ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุน ผู้รักษาควร
ประเมินภาวะร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ซึมเศร้า กังวลใจ
การเรียน ควรหาปัจจัยปกป้อง เพื่อประสิทธิภาพในการ
วางแผนการรักษาและฟื้นฟู
4-9 ��������������.indd 8 12/16/57 BE 2:31 PM
9โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
	 เอกสารอ้างอิง
1.	 	 American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 4th
ed. Washington,
DC: American Psychiatric publishing; 1994.
2.	 	 American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 5th
ed. Washington,
DC: American Psychiatric Publishing; 2013.
3.	 	 Sadock JB, Sadock AV, Ruiz P. Synopsis of Psychiatry. 11th
ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015. p1221-6.
4.	 	 Breslau N. The epidemiology of trauma, PTSD, and other posttraumatic disorders. Trauma Violence Abuse
2009;10:198-210.
5.	 	 Costello EJ, Erkanli A, Fairbank JA, et al. The prevalence of potentially traumatic events in childhood and
adolescence. J Trauma Stress 2002;15:99-112.
6.	 	 พนม เกตุมาน. ความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (PTSD) ในเด็กนักเรียน: ศึกษาหลังเหตุการณ์
สึนามิผ่านไป 23 เดือน. วารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ 2551. หน้า:8-20.
7.	 	 Pine DS, Cohen JA. Trauma in children and adolescents: risk and treatment of psychiatric sequelae. Biol
Psychiatry 2002;51:519-31.
8.	 	 Sinclair E, Salmon K, Bryant R. The role of panic attacks in acute stress disorder in children. J Trauma Stress
2007;20:1069-73.
9.	 	 Pfefferbaum B, Stuber J, Galea S, et al. Panic reaction to terrorist attacks and probable posttraumatic stress
disorder in adolescents. J Trauma Stress 2006;19:217-28.
10. 	 Meiser-Stedman R, Smith P, Glucksman E, et al. The PTSD diagnosis in preschool- and elementary school-
age children exposed to motor vehicle accidents. Am J Psychiatry 2008;165:1326-37.
11. 	 De Bellis MD, Keshevan MS, Clark DB, et al. Developmental traumatology, part II: brain development. Biol
Psychiatry 1999;45:1271-84.
12. 	 Scheeringa MS, Peebles CD, Cook CA, et al. Toward establishing procedural criterion and discriminant
validity for PTSD in early childhood. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2004;40:52-60.
13. 	 Saigh PA, Mroveh M, Bremner JD. Scholastic impairments among traumatized adolescents. Behav Res Ther
1997;35:429-36.
14.		 Litz BT, Gray MJ. Early intervention for trauma in adults: a framework for first aid and secondary prevention. In:
Litz BT, ed. Early Intervention for Trauma and Traumatic Loss. New York: Guilford Press; 2004:87-111.
15.		 Stallard P, Velleman R, Salter E, et al. A randomised controlled trial to determine the effectiveness of an
early psychological intervention with children involved in road traffic accidents. J Child Psychol Psychiatry
2006;47:127-134.
16.		 Cohen JA, Deblinger E, Mannarino AP, et al. A multisite randomized controlled trial for children with sexual
abuse related PTSD symptoms. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2004;43:393-402.
17.		 American Academy of Child and Adolescent Psychiatry. Practice parameter for the assessment and treat-
ment of children and adolescents with posttraumatic stress disorder. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry
2010;49:414-30.
4-9 ��������������.indd 9 12/16/57 BE 2:31 PM

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Watcharapong Rintara
 
Case brain tumor ณัฐวุธ 21 ก.ย. 54
Case brain tumor ณัฐวุธ  21 ก.ย. 54Case brain tumor ณัฐวุธ  21 ก.ย. 54
Case brain tumor ณัฐวุธ 21 ก.ย. 54Watcharapong Rintara
 
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยMickey Toon Luffy
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยgeekan
 
Topic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisTopic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisBow Aya
 
ปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตgeekan
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...Utai Sukviwatsirikul
 
6 weekend WHS for community FD in FM in service training
6 weekend WHS for community FD in FM in service training6 weekend WHS for community FD in FM in service training
6 weekend WHS for community FD in FM in service trainingsoftganz
 
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2Fujimarutachibana
 
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะหวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะSaran Yuwanna
 
Case esrd วรงค์วุฒิ 11 ส.ค. 53
Case esrd  วรงค์วุฒิ  11 ส.ค. 53Case esrd  วรงค์วุฒิ  11 ส.ค. 53
Case esrd วรงค์วุฒิ 11 ส.ค. 53Watcharapong Rintara
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Watcharapong Rintara
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปี
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปีคู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปี
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปีUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 Utai Sukviwatsirikul
 

Mais procurados (19)

Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
 
Case brain tumor ณัฐวุธ 21 ก.ย. 54
Case brain tumor ณัฐวุธ  21 ก.ย. 54Case brain tumor ณัฐวุธ  21 ก.ย. 54
Case brain tumor ณัฐวุธ 21 ก.ย. 54
 
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
 
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงานกิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
 
Topic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisTopic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitis
 
ปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิต
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
 
We can do palliative care
We can do palliative careWe can do palliative care
We can do palliative care
 
6 weekend WHS for community FD in FM in service training
6 weekend WHS for community FD in FM in service training6 weekend WHS for community FD in FM in service training
6 weekend WHS for community FD in FM in service training
 
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2
Pdf 2b3b3f0b6ebbc8a2a150721eceec1f1f 2
 
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะหวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
 
ระบาด
ระบาดระบาด
ระบาด
 
Case esrd วรงค์วุฒิ 11 ส.ค. 53
Case esrd  วรงค์วุฒิ  11 ส.ค. 53Case esrd  วรงค์วุฒิ  11 ส.ค. 53
Case esrd วรงค์วุฒิ 11 ส.ค. 53
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
 
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปี
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปีคู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปี
คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยอนุบาล 3 6 ปี
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
 

Destaque

ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศ
ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศ
ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศUtai Sukviwatsirikul
 
มาตรฐานสถานประกอบการสปา
มาตรฐานสถานประกอบการสปามาตรฐานสถานประกอบการสปา
มาตรฐานสถานประกอบการสปาUtai Sukviwatsirikul
 
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรมAEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรมUtai Sukviwatsirikul
 
Methodology of effective analysis of the assortment
Methodology of effective analysis of the assortmentMethodology of effective analysis of the assortment
Methodology of effective analysis of the assortmentOlesya Prokopenko
 

Destaque (8)

ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศ
ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศ
ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก เสริมสมรรถภาพทางเพศ
 
Np2013182
Np2013182Np2013182
Np2013182
 
มาตรฐานสถานประกอบการสปา
มาตรฐานสถานประกอบการสปามาตรฐานสถานประกอบการสปา
มาตรฐานสถานประกอบการสปา
 
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรมAEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม
AEC ผลกระทบต่อวิชาชีพเภสัชกรรม
 
Methodology of effective analysis of the assortment
Methodology of effective analysis of the assortmentMethodology of effective analysis of the assortment
Methodology of effective analysis of the assortment
 
F
FF
F
 
2556 q2 retail space movement
2556 q2 retail space movement2556 q2 retail space movement
2556 q2 retail space movement
 
21 23 (1)
21 23 (1)21 23 (1)
21 23 (1)
 

Semelhante a โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก

Final project.pp
Final project.ppFinal project.pp
Final project.ppmew46716
 
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Angkana Chongjarearn
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf609262
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Tuk Diving
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Tuk Diving
 
คู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชคู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชUtai Sukviwatsirikul
 
Basic concept sararud
Basic concept sararudBasic concept sararud
Basic concept sararudsvuthiarpa
 
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิกโครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิกphurinwisachai
 
punnamjai Present updates
punnamjai Present updatespunnamjai Present updates
punnamjai Present updatesSireetorn Phan
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่Gear Tanatchaporn
 
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุข
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุขกลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุข
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุขfreelance
 

Semelhante a โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก (20)

Final project.pp
Final project.ppFinal project.pp
Final project.pp
 
Psychiatric Emergency
Psychiatric EmergencyPsychiatric Emergency
Psychiatric Emergency
 
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
 
Handbook chapter33 34
Handbook chapter33 34Handbook chapter33 34
Handbook chapter33 34
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
ยาเสพติด
ยาเสพติดยาเสพติด
ยาเสพติด
 
คู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชคู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวช
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Basic concept sararud
Basic concept sararudBasic concept sararud
Basic concept sararud
 
Book club 2
Book club 2Book club 2
Book club 2
 
Work1
Work1Work1
Work1
 
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิกโครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
 
punnamjai Present updates
punnamjai Present updatespunnamjai Present updates
punnamjai Present updates
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
 
แนะนำโรคต่างๆ ศิรินวล สันติรักษ์โยธิน
แนะนำโรคต่างๆ ศิรินวล สันติรักษ์โยธินแนะนำโรคต่างๆ ศิรินวล สันติรักษ์โยธิน
แนะนำโรคต่างๆ ศิรินวล สันติรักษ์โยธิน
 
แนะนำโรคต่างๆ หรือ โรคติดต่อ
แนะนำโรคต่างๆ หรือ โรคติดต่อแนะนำโรคต่างๆ หรือ โรคติดต่อ
แนะนำโรคต่างๆ หรือ โรคติดต่อ
 
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุข
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุขกลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุข
กลุ่มปลาUse --ตายแล้วเกิดอีกกี่ครั้งก็ยังเป็นสุข
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Mais de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก

  • 1. Journal of Medicine and Health Sciences (Vol.21 No.3 December 2014)4 บทความทบทวนผู้ป่วย (Case review) อนุพงษ์ สุธรรมนิรันด์1 อมรรัตน์ คงชุบ1 ณัฏฐิณี ชินะจิตพันธ์1 1 หน่วยจิตเวชเด็ก กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลชลบุรี โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก บทคัดย่อ โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก เป็นความผิดปกติทางจิตใจภายหลังประสบกับภยันตราย ที่รุนแรง ในเด็กมักพบโรคนี้ตามหลังการถูกทารุณกรรม อุบัติภัย วินาศภัย การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่งภาวะเฉียดตาย จากการเจ็บป่วย อาการแสดงของโรค ภายหลัง 1 เดือน จากเหตุการณ์ คือ ยังนึกกลัวถึงเหตุการณ์ หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญ มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ตระหนกกลัว การรักษาได้ผลดีด้วยการท�ำจิตพฤติกรรมบ�ำบัดมุ่งประเด็นที่เกิดจากภยันตราย รายงานนี้น�ำเสนอ ผู้ป่วยเด็กเล็ก 1 ราย และ วัยรุ่น 1 ราย ที่ผ่านเหตุการณ์รุนแรงมาเกิน 1 เดือน และยังมีอาการทางจิตใจอยู่ ค�ำส�ำคัญ: ความผิดปกติทางจิตใจ ภยันตราย เด็ก ผู้นิพนธ์หลัก: อนุพงษ์ สุธรรมนิรันดร์ หน่วยจิตเวชเด็ก กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลชลบุรี อ�ำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อีเมล์: anupongmd@yahoo.com 4-9 ��������������.indd 4 12/16/57 BE 2:31 PM
  • 2. 5โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก Posttraumatic stress disorder in children Anupong Suthamnirand1 , Amonrat Khongchub1 , Nattinee Chinajitpun1 1 Division of Child Psychiatry, Department of Psychiatry, Chonburi Hospital Abstract Posttraumatic stress disorder (PTSD) is a mental disorder after exposure to severe traumatic or stressful event. In children the common causes are abused, trauma, disaster, terrorism, and critical illness. The clinical sign and symptom, one-month-aftermath, are re-experiencing, avoidant, negative in cognition and arousal. Trauma-focused cognitive behavior therapy is the treatment of choice. This report was presented the two cases of PTSD, young child and adolescent girl, exposed to severe trauma and developed PTSD. Keywords: stress, trauma, child Corresponding author: Anupong Suthamnirand Division of Child Psychiatry, Department of Psychiatry, Chonburi Hospital, Chonburi E-mail: anupongmd@yahoo.com 4-9 ��������������.indd 5 12/16/57 BE 2:31 PM
  • 3. Journal of Medicine and Health Sciences (Vol.21 No.3 December 2014)6 บทน�ำ Posttraumatic Stress Disorder (PTSD) โรคนี้เริ่ม รู้จักหลังจากพบว่า ทหารที่ผ่านศึกสงคราม มีอาการหวาด วิตกกังวล กลัว เสมือนยังอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงในสงคราม เดิมตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค Diagnostic and Statistical ManualofMentalDisordersฉบับที่4(DSM-4)1 ของสมาคม จิตแพทย์อเมริกันจัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล ภายหลัง ปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรค DSM-52 ในปี ค.ศ. 2013 ได้ จัดโรคนี้ใหม่อยู่ในกลุ่ม Trauma and Stressor Related Disorders การวินิจฉัยโรคประกอบด้วย ผู้ป่วยต้องเผชิญกับ เหตุการณ์รุนแรงที่กระทบกระเทือน และอาจสูญเสียชีวิตด้วย ตนเอง โดยไม่นับการประสบกับเหตุการณ์ผ่านทางสื่อ เช่น โทรทัศน์ หรือ ภาพถ่าย อาการแสดงหลักทางจิตใจ คือ 1. ยังจ�ำเหตุการณ์ได้ดีเสมือนเหตุการณ์ยังคงเกิดขึ้น 2. พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 3. อารมณ์และความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ 4. ตื่นตระหนกกลัวโดยปรากฏอาการอยู่นานมากกว่า 1 เดือนหลังเหตุการณ์ผ่านไป ในเด็กการเจริญเติบโตพัฒนาของสมอง อารมณ์ ความคิด การรับรู้ยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ มีโอกาสพบเห็น เหตุการณ์รุนแรงด้วยตนเอง คือ การถูกทารุณกรรมไม่ว่าทาง เพศ ทางร่างกาย ความรุนแรงในครอบครัว การท�ำร้ายกันเอง ของพ่อแม่ การพบเห็นการฆาตกรรม การก่อการร้าย อุบัติภัย ทางรถยนต์ วิบัติภัย น�้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรือแม้แต่ การป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เฉียดตาย สามารถเกิด PTSD ได้ และด้วยวุฒิภาวะ กลไกทางสมอง การปรับตัว ท�ำให้การ แสดงออกทางอาการ มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เห็นได้จาก ใน DSM-5 ก�ำหนดให้การวินิจฉัยเด็กอายุต�่ำกว่า 6 ปี รวม อาการ หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ กับการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด เชิงลบ อยู่ในเกณฑ์ข้อเดียวกัน2, 3 รายงานผู้ป่วยรายที่ 1 เด็กชายไทยอายุ 2 ปี 7 เดือน มารดาพามาพบ แพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในเหตุการณ์ที่บิดายิงน้องชาย อายุ 1 ปี เสียชีวิต และยิงผู้ป่วยเฉี่ยวที่ขาไม่รุนแรง บิดาเป็น โรคจิตเภทมีอาการหวาดระแวง จึงท�ำร้ายลูก แรกพบผู้ป่วย หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น 1 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการกลัว เมื่อพูดถึงบิดา บอกว่าน้องมีเลือดที่ตัว การนอนเปลี่ยนแปลง ผวาตื่น บอกว่าฝันถึงน้อง ติดตามเมื่อหลังเหตุการณ์ 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยจะไม่กล่าวถึงบิดา แต่พูดกับมารดาว่า ได้เล่นของ เล่นกับน้อง น้องมีเลือดไหล มีอาการนอนผวาแต่ไม่บ่อยเท่า สัปดาห์แรก ฝันว่าน้องไปไหน น้องไม่อยู่ ด้านอารมณ์จะ หงุดหงิดกับมารดาบางครั้ง เมื่อพบแพทย์ ได้ประเมินผ่านการ เล่นโดยใช้ของเล่น คือ ตุ๊กตาพ่อ แม่ และลูก 2 คน อยู่ในบ้าน จ�ำลอง ระหว่างการเล่นเพื่อประเมินสภาพจิตใจ ผู้ป่วยจะ หลีกเลี่ยงไม่พูดหรือเล่นตุ๊กตาที่เป็นพ่อ แต่เล่นตุ๊กตา พี่กับน้อง ส่วนตุ๊กตาแม่ ออกไปนอกบ้าน เด็กจะเล่นลักษณะนี้ซ�้ำ หลายรอบได้ให้การวินิจฉัยว่าPTSDและรักษาด้วยการเล่นบ�ำบัด ผู้รายงานได้มีการติดตามรักษาอยู่ 1 ปี ผู้ป่วยอาการ ดีขึ้น ไม่พบอาการฝันร้าย ไม่พบว่ามีการพูดถึงน้องที่มีเลือด ไหล แต่ยังพูดบ้างว่ามีน้องมาเล่นด้วย ไม่แสดงออกของการ เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การปรับตัว และการดูแลตนเองได้ ตามปกติ อภิปรายผู้ป่วยรายที่ 1 ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี DSM-5 ได้ก�ำหนด เกณฑ์การวินิจฉัยเฉพาะเพิ่มเติมที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ โดย รวมหมวด ความคิดอารมณ์เชิงลบ (negative in cognition) กับการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ (avoidant) มาอยู่รวมกัน ผู้ป่วยเด็กเล็ก ไม่จ�ำเป็นต้องมีอาการทั้งสองอาการเหมือนใน ผู้ใหญ่2 ในผู้ป่วยรายนี้อายุ 2 ปี 7 เดือน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ วินิจฉัย พบว่า เด็กประสบกับความรุนแรงที่กระทบกระเทือน ถึงชีวิต คือ ถูกบิดายิง ทั้งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ที่รุนแรงโดยตรง คือ บิดายิงน้องเสียชีวิตต่อหน้าผู้ป่วย หลังจากผ่านเหตุการณ์ มา 1 เดือน ผู้ป่วยมีอาการแสดงเสมือนว่าเหตุการณ์นั้นยัง คงเกิดอยู่ไม่หายไป มีอาการฝัน และพูดถึงเหตุการณ์บ่อยๆ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เมื่อเล่นกับผู้รักษา เพื่อประเมิน ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เล่นตุ๊กตาที่สมมติ เป็นพ่อ มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม โดยเด็กจะ มีความกังวลกลัวผวา อาการของผู้ป่วยครบตามเกณฑ์ การ วินิจฉัย PTSD เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ครั้งแรก 1 สัปดาห์หลัง เหตุการณ์ ผู้ป่วยมีอาการทางจิตใจที่เกิดจากความรุนแรง ผู้รายงานได้ให้การรักษาด้วยการเล่นบ�ำบัด (play therapy) ตั้งแต่แรกพบ แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 1 เดือน ก็ไม่สามารถ ช่วยป้องกันการเกิด PTSD ได้ ผู้รายงานได้ให้การรักษาด้วย เล่นบ�ำบัดอย่างต่อเนื่องจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยมี มารดาที่คอยดูแลตั้งแต่เกิดเหตุการณ์และมารดาไม่มีปัญหาทาง สุขภาพจิต ถือว่าเป็นปัจจัยปกป้องช่วยให้พยากรณ์โรคดีขึ้น 4-9 ��������������.indd 6 12/16/57 BE 2:31 PM
  • 4. 7โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก รายงานผู้ป่วยรายที่ 2 เด็กหญิงไทยอายุ 14 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่ อายุ 7 ปี โดยบิดาบุญธรรม จนอายุ 13 ปี ได้รับการช่วยเหลือ แยกออกมาจากครอบครัว และบิดาบุญธรรม โดยเจ้าหน้าที่ ของบ้านพักเด็กและครอบครัวในภูมิล�ำเนาที่ผู้ป่วยอาศัย เมื่อ อายุ 14 ปี ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือให้ย้ายมาอยู่กับน้าที่ จังหวัดชลบุรี และได้เข้ามารักษากับผู้รายงาน แรกรับพบว่า ผู้ป่วยมีความกลัว ความกังวลมาก ต่อเหตุการณ์ ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์สิ้นสุดไปแล้ว 1 ปีก่อนมาพบ แพทย์ ผู้ป่วยมีความคิดผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติว่าตนเองก�ำลัง ถูกท�ำร้ายทางเพศจากบิดาบุญธรรม ความถี่ 2-3 ครั้งต่อ สัปดาห์ ตกใจกลัวเมื่อเจอผู้ชายหรือใกล้ผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน ครู ทุกครั้งที่ตกใจกลัว จะมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก ปรับตัวล�ำบากกับเพื่อน และน้าที่ผู้ป่วยมาอยู่ด้วย รู้สึกว่า ตนเองเป็นคนไม่ดี ท�ำอะไรก็ผิดพลาด คิดว่าเป็นผู้ผิดมี ส่วนร่วมที่ท�ำให้เกิดเหตุการณ์บิดาบุญธรรมล่วงละเมิดทางเพศ การประเมินสภาพจิต พบว่า ผู้ป่วยมีความคิดว่า เหตุการณ์ถูกท�ำร้าย ยังสามารถเกิดขึ้นมาอีกได้ มีความกลัว ใจสั่น เมื่ออยู่ใกล้ผู้ชายทุกคน ไม่สามารถควบคุมความคิด กลัว ปรับตัวล�ำบากกับเพื่อน ครู และน้าที่มาอาศัยอยู่ด้วย นอนไม่หลับ และฝันร้ายบ่อย ผู้รายงานได้ให้การวินิจฉัย Chronic PTSD รักษา ด้วย เภสัชบ�ำบัด ใช้ยาต้านเศร้า Fluoxetine เป็นกลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRI) และจิต พฤติกรรมบ�ำบัด หลังรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยมี อาการดีขึ้น และอยู่ในระหว่างการติดตามต่อเนื่อง อภิปรายผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยรายนี้มาพบแพทย์เมื่ออายุ14ปีแต่ประสบกับ เหตุการณ์ที่รุนแรง ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดย บิดาบุญธรรม ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดในครอบครัว เป็นผู้ที่เลี้ยงดูผู้ป่วย ตั้งแต่ อายุ7ปีต่อเนื่องเป็นระยะยาว5ปีถือว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรง ทั้งทางกายและใจ ในเด็กวัยรุ่นอายุ 14 ปี เริ่มมีความคิด เรียนรู้ กลไกทางจิตใจ แบบผู้ใหญ่ การวินิจฉัยโรคกลุ่มนี้ เกณฑ์การวินิจฉัยจึงไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการ แสดงออกเสมือนว่าเหตุการณ์ยังเกิดขึ้นเสมอ (re-expe- rience) มีความคิดผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ (flashback) ว่า ยังถูกบิดาท�ำร้าย หลีกเลี่ยงไม่อยากพูดถึงเหตุการณ์ที่เคย เกิดขึ้น (avoidant) มีอารมณ์ ความคิดในทางลบ (negative in cognition) คิดว่าผู้ป่วยเป็นผู้ผิด หงุดหงิดง่าย ไม่อยาก อยู่กับน้า ไม่อยากคบเพื่อน มีอาการตื่นตระหนกกลัวว่า จะเกิดเหตุการณ์ซ�้ำ (arousal) อาการทั้งหมดของผู้ป่วย ยังคงมีอาการหลังเหตุการณ์สิ้นสุดเกิน 1 เดือน ผู้รายงานได้ ให้การวินิจฉัย PTSD ตามเกณฑ์ DSM-5 เป็นแบบ chronic เนื่องจากมีอาการต่อเนื่องเกิน 3 เดือน การรักษาด้วยจิตพฤติกรรมบ�ำบัด มุ่งประเด็นเน้น จากภยันตรายที่เกิดกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าอาการ ทั้งหมดเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนทางใจ เรียนรู้อารมณ์ พฤติกรรมของตนเองที่เกิดขึ้น รู้จักแยกเหตุการณ์ที่ผ่านไป แล้วกับปัจจุบัน รับรู้ตนเองถึงความปลอดภัย และสามารถ ควบคุมตนเองได้ เกิดมุมมองใหม่ว่าผู้กระท�ำผิดไม่ใช่ผู้ป่วย แต่เป็นบิดาบุญธรรม ฝึกจินตนาการความคิดการควบคุม ปรับตนเองในอนาคตในทางบวก ทั้งด้านการเรียน ความ สัมพันธ์ กับเพื่อนครู และครอบครัวใหม่ ผู้ป่วยมีอาการ ดีขึ้น หลังจากบ�ำบัดรักษาได้ 3 เดือน ทั้งการควบคุมตนเอง อารมณ์ พฤติกรรม ไม่โทษว่าเป็นความผิดของตนเอง ไม่มี อาการตื่นตระหนก ไม่พบอาการหวนคิดถึงเหตุการณ์โดย อัตโนมัติ เมื่อพูดหรือนึกถึงอดีตสามารถควบคุมความรู้สึก ไม่กลัวเหตุการณ์ เข้าใจว่าเป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว อย่างไร ก็ตามผู้ป่วยรายนี้ยังขาดปัจจัยปกป้องที่ดีจากครอบครัว อีกทั้งได้รับความรุนแรงต่อเนื่องนาน ผู้รักษาได้วางแผน ติดตามระยะยาวต่อไป ทบทวนข้อมูลทางวิชาการ ระบาดวิทยาของ PTSD พบว่าร้อยละ 80 ของ ประชากรในสหรัฐอเมริกาเคยประสบกับความรุนแรง และ แสดงอาการของ PTSD ร้อยละ 10 พบในเพศหญิงมากกว่า ชาย4 ในขณะที่เป็นวัยรุ่น ร้อยละ 25 เคยเผชิญกับความ รุนแรงมาแล้วในอดีต5 ส�ำหรับประเทศไทย มีการศึกษาเด็ก นักเรียนชั้นประถมปีที่4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่3 จ�ำนวน 470 คน ที่ประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ พบว่ามีความชุกของ PTSD ร้อยละ 15.1 6 เด็กที่เผชิญกับความรุนแรง แล้วพัฒนาต่อมาเป็น PTSD พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง คือ เพศหญิง เคยพบความรุนแรง มาก่อน หรือความรุนแรงที่สูง เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตก่อน เกิดเหตุการณ์รุนแรงอยู่แล้ว หรือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Resilience) ไม่ดี เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงจะมีความเสี่ยง น้อยกว่าเด็กที่มีสติปัญญาต�่ำ เด็กที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ จากครอบครัวจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าเด็กที่บิดามารดามีการ 4-9 ��������������.indd 7 12/16/57 BE 2:31 PM
  • 5. Journal of Medicine and Health Sciences (Vol.21 No.3 December 2014)8 กระทบกระเทือนจากความรุนแรง และมีปัญหาทางสุขภาพ จิต3,7 เด็กที่มีอาการตื่นตระหนก (panic) ในระยะแรกหลัง เหตุการณ์มีโอกาสเสี่ยงเป็น PTSD ได้บ่อยกว่า8,9 สภาวะทางสมองของเด็กที่เป็น PTSD พบว่า มีการ เพิ่มการหลั่งของสารกลุ่ม adrenaline และ dopamine10 มี การลดลงของปริมาตรสมองส่วน cerebral cortex และส่วน corpus callosum11 และมีสมาธิ และความจ�ำลดลง รวมถึง ระดับสติปัญญา3 การวินิจฉัยและอาการแสดงออกของ PTSD ใน เด็ก จะประกอบไปด้วย ความคิด ความรู้สึกเสมือนเหตุการณ์ ยังเกิดอยู่ ยังไม่สิ้นสุด (Re-experiencing) แสดงออกโดย การพูด การเล่น การวาดรูป ถึงเหตุการณ์ หรือเรื่องราว ที่สื่อความหมายถึงการกระทบกระเทือนบ่อยๆ ซ�้ำๆ อาการ แสดงออกให้เห็นถึงภาวะหลีกเลี่ยง (avoidant) ที่จะนึกถึง เหตุการณ์ เช่น ไม่ยอมผ่านสถานที่ หรือเจอคนที่เกี่ยวข้องกับ ความรุนแรง อาการแสดงออกทางอารมณ์ ความคิดในเชิง ลบ (negative in cognition) ในเด็กจะแสดงออกโดยไม่สนใจ ที่จะร่วมเล่น ท�ำกิจกรรม ปรับตัวไม่ดีต่อการเรียน อาการ ตื่นกลัว(arousal)ตกใจหรือมีปัญหาการนอน2 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและสารเคมี ทางสมองก็ตาม การวินิจฉัย PTSD อาศัยเพียงอาการทาง คลินิกเป็นหลักในการวินิจฉัย ยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติ- การที่สามารถน�ำมาช่วยในการวินิจฉัย3 โรคหรือภาวะที่พบ ร่วมในเด็ก PTSD คือ ภาวะกังวลใจ (anxiety) กลัวการแยก หรือพลัดพรากจากผู้ดูแล พฤติกรรมถดถอย ถ้าเป็นเด็กเล็ก ช่วยเหลือตนเองได้ลดลง หรือมีภาวะซึมเศร้า (depression) ท�ำร้ายตนเอง หงุดหงิด ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง ความสนใจ สมาธิ ต่อการเรียน และสิ่งแวดล้อมด้อยลง12,13 ทีมผู้รักษาควรช่วยเหลือเด็กตั้งแต่แรก ที่ประสบ กับความรุนแรง ถึงแม้ยังไม่ปรากฏอาการ โดยการคัดกรอง เด็กที่มีความเสี่ยง เพื่อหาโอกาสในการบ�ำบัดเบื้องต้น แต่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการเข้าช่วยเหลือใน ช่วงแรกด้วยวิธีดังกล่าวจะป้องกันการเกิด PTSD เมื่อผ่าน เหตุการณ์ไปเป็นระยะเวลา 1 เดือน14,15 ส่วนเมื่อเกิด PTSD แล้วการรักษาที่ได้ผล คือ จิตพฤติกรรมบ�ำบัดมุ่งประเด็นจาก ภยันตราย (Trauma-focused cognitive behavior thera- py)16 ในเด็กการใช้ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRI สามารถให้ได้แต่ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าจะมีประโยชน์ในการรักษา17 สรุปผล ผู้รายงานได้รายงานผู้ป่วยเด็ก 2 ราย เด็กเล็ก 1 ราย ประสบกับเหตุการณ์ถูกท�ำร้ายเฉียดเสียชีวิต และวัยรุ่นหญิง 1 ราย ถูกท�ำร้ายทางเพศ หลังเกิดเหตุการณ์ 1 เดือน มีอาการ ทางจิตใจตามเกณฑ์วินิจฉัย PTSD คือ re-experiencing, avoidant, negative in cognition, arousal การรักษาด้วย Trauma-focused cognitive behavioral therapy ได้ผลดี ส่วนการใช้ยา SSRI ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุน ผู้รักษาควร ประเมินภาวะร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ซึมเศร้า กังวลใจ การเรียน ควรหาปัจจัยปกป้อง เพื่อประสิทธิภาพในการ วางแผนการรักษาและฟื้นฟู 4-9 ��������������.indd 8 12/16/57 BE 2:31 PM
  • 6. 9โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก เอกสารอ้างอิง 1. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 4th ed. Washington, DC: American Psychiatric publishing; 1994. 2. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Publishing; 2013. 3. Sadock JB, Sadock AV, Ruiz P. Synopsis of Psychiatry. 11th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015. p1221-6. 4. Breslau N. The epidemiology of trauma, PTSD, and other posttraumatic disorders. Trauma Violence Abuse 2009;10:198-210. 5. Costello EJ, Erkanli A, Fairbank JA, et al. The prevalence of potentially traumatic events in childhood and adolescence. J Trauma Stress 2002;15:99-112. 6. พนม เกตุมาน. ความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (PTSD) ในเด็กนักเรียน: ศึกษาหลังเหตุการณ์ สึนามิผ่านไป 23 เดือน. วารสารสมาคมจิตแพทย์ฯ 2551. หน้า:8-20. 7. Pine DS, Cohen JA. Trauma in children and adolescents: risk and treatment of psychiatric sequelae. Biol Psychiatry 2002;51:519-31. 8. Sinclair E, Salmon K, Bryant R. The role of panic attacks in acute stress disorder in children. J Trauma Stress 2007;20:1069-73. 9. Pfefferbaum B, Stuber J, Galea S, et al. Panic reaction to terrorist attacks and probable posttraumatic stress disorder in adolescents. J Trauma Stress 2006;19:217-28. 10. Meiser-Stedman R, Smith P, Glucksman E, et al. The PTSD diagnosis in preschool- and elementary school- age children exposed to motor vehicle accidents. Am J Psychiatry 2008;165:1326-37. 11. De Bellis MD, Keshevan MS, Clark DB, et al. Developmental traumatology, part II: brain development. Biol Psychiatry 1999;45:1271-84. 12. Scheeringa MS, Peebles CD, Cook CA, et al. Toward establishing procedural criterion and discriminant validity for PTSD in early childhood. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2004;40:52-60. 13. Saigh PA, Mroveh M, Bremner JD. Scholastic impairments among traumatized adolescents. Behav Res Ther 1997;35:429-36. 14. Litz BT, Gray MJ. Early intervention for trauma in adults: a framework for first aid and secondary prevention. In: Litz BT, ed. Early Intervention for Trauma and Traumatic Loss. New York: Guilford Press; 2004:87-111. 15. Stallard P, Velleman R, Salter E, et al. A randomised controlled trial to determine the effectiveness of an early psychological intervention with children involved in road traffic accidents. J Child Psychol Psychiatry 2006;47:127-134. 16. Cohen JA, Deblinger E, Mannarino AP, et al. A multisite randomized controlled trial for children with sexual abuse related PTSD symptoms. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2004;43:393-402. 17. American Academy of Child and Adolescent Psychiatry. Practice parameter for the assessment and treat- ment of children and adolescents with posttraumatic stress disorder. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2010;49:414-30. 4-9 ��������������.indd 9 12/16/57 BE 2:31 PM