SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 61
ประวัติความเป็นมาของ facebook<br />ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.2003 มีเด็กหนุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด นามว่า Mark Zuckerberg และเพื่อนร่วมห้อง Chris Hughes และ Dustin Moskovitz ได้เริ่มเขียนเวบไซต์ Facemash ซึ่ง เป็นเวบไซต์ที่จะลงรูปของนักศึกษาที่ Zuckerberg ได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา โดยลงรูปสองฝ่ายซ้ายขวาเปรียบเทียบกัน และถามว่าใคร “แจ่ม” กว่ากัน Facemash ได้ทำให้มีผู้เข้าชม 450 คน และดูภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชม.แรกที่ออนไลน์ และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น facebook <br />หลังจากนั้นเว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด เขาถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว ทำให้เขาถูกภาคทัณฑ์ และถูกรังเกียจจากเหล่าสาวๆ ที่ถูกเขาขโมยรูปไปลง แต่เมื่อพ้นจากการภาคทัณฑ์ เขาได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัพโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน ในเทอมต่อมาเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ.2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimson (หนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) เกี่ยวกับเรื่อง Facemash และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 Zuckerberg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ quot;
The facebookquot;
 ใน URL ชื่อ thefacebook.com  เมื่อผ่านไป 6 วันหลังจากเปิดเว็บไซต์ รุ่นพี่ 3 คน คือ Cameron Winklevoss, Tyler Winklevoss และ Divya Narendra ได้ฟ้องร้อง Zuckerberg ที่หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่า เขาได้ช่วยที่จะช่วยสร้างเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า HarvardConnection.com ขณะที่เขาใช้แนวคิดพวกเขาในการสร้างเว็บไซต์เพื่อแข่งขัน ทั้ง 3 คนได้บ่นในหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson โดยทางหนังสือพิมพ์เริ่มทำการสอบสวน ต่อมาทั้ง 3 คนได้ยื่นฟ้องทางกฎหมายต่อ Zuckerberg ในภายหลัง<br />แต่เดิม thefacebook.com จะจำกัดสมาชิกเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และภายในเดือนแรก มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบได้ลงทะเบียนใช้บริการ Eduardo Saverin (ดูแลเรื่องธุรกิจ; CFO), Dustin Moskovitz (โปรแกรมเมอร์), Andrew McCollum (ออกแบบกราฟิก) และ Chris Hughes ที่ต่อมาได้ร่วมกับ Zuckerberg เพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ.2004 facebook ได้ขยับขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นอย่าง สแตนฟอร์ด, โคลัมเบีย, และเยล และยังคงขยับขยายต่อสู่กลุ่มไอวีลีกทั้งหมด และมหาวิทยาลัยบอสตัน, มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, เอ็มไอที และสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาไปทีละน้อย<br />Facebook ได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปีค.ศ.2004 และได้นักธุรกิจ Sean Parker (อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Napster) ที่ได้เคยแนะนำ Zuckerberg อย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาร่วมงานด้วย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 facebook ได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ Palo Alto รัฐ California และได้รับเงินทุน $500,000 ในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal ที่ชื่อ Peter Thiel จากนั้นบริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า the ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ facebook.com ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน $200,000<br />ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 facebook ได้เปิดตัวเวอร์ชั่นสำหรับนักเรียนมัธยม ที่ Zuckerberg เรียกว่า ก้าวต่อไป แต่ขณะนั้นเครือข่ายนักเรียนมัธยมจำเป็นต้องได้รับการรับเชิญเท่านั้นถึงจะเข้าร่วมเว็บไซต์ได้ ต่อมา facebook ได้เปิดโอกาสให้กับลูกจ้างบริษัทชั้นนำอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์ เข้าร่วม facebook และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการให้ทุกคนได้ใช้กัน เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 โดยผู้ใช้ต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมลที่แท้จริง<br />ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2007 Microsoft ประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของ facebook เป็นจำนวน 1.6% ด้วยเงิน $2,400,000 ทำให้ facebook มีมูลค่าราว $15,000 ล้าน ซึ่งทำให้ Microsoft มีสิทธิ์ที่จะแขวนป้ายโฆษณาบน facebook ได้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 จากนั้น facebook ประกาศว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 <br />Facebook ได้กล่าวว่า สถานะการเงินเริ่มเป็นตัวเลขบวกเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 จากข้อมูลของ เซคันด์มาร์เก็ต ระบุว่า facebook มีมูลค่า $41,000 ล้าน (แซงหน้า ebay ไปเล็กน้อย) และถือเป็นบริษัทเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 รองจาก Google และ Amazon ส่วนสถิติผู้เข้าชม facebook หลังจากนั้นได้แซงหน้า Google ไปเมื่อ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010 ในปัจจุบัน facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก<br />Facebook Timeline<br />2010<br />สิงหาคม<br />เปิดตัวฟังค์ชั่น Facebook Places<br />กรกฎาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 500 ล้านคน<br />กรกฎาคม <br />ออกตัวทดสอบ (Beta) ของฟังค์ชั่น Facebook Questions<br />กุมภาพันธ์<br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 400 ล้านคน<br />2009<br />ธันวาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 350 ล้านคน<br />กันยายน<br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 300 ล้านคน<br />สิงหาคม <br />Facebook ซื้อกิจการ FriendFeed<br />กรกฎาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 250 ล้านคน<br />มิถุนายน <br />เปิดตัว Facebook Usernames<br />พฤษภาคม <br />Digital Sky Technologies ลงทุน $200 ล้าน เพื่อแลกกับหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวน 1.96% ที่มีราคาประเมิน $10,000 ล้าน<br />เมษายน <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 200 ล้านคน<br />กุมภาพันธ์<br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 175 ล้านคนFacebook เข้าร่วมบอร์ด OpenIDเพิ่มปุ่ม “Like” <br />มกราคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 150 ล้านคนCNN Live เข้ามารวมอยู่ใน Facebook<br />2008<br />ธันวาคม <br />เริ่มให้บริการ Facebook Connect <br />สิงหาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านคน<br />เมษายน<br />เปิดตัว Facebook Chatออก Facebook ในเวอร์ชั่นภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมอีก 21 ภาษา<br />มีนาคม <br />อัพเดทการควบคุมความเป็นส่วนตัว (Privacy Control) รวมถึง Friend List privacyออก Facebook ในเวอร์ชั่นภาษาเยอรมัน<br />กุมภาพันธ์ <br />ออก Facebook ในเวอร์ชั่นภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส<br />มกราคม <br />Facebook เป็นสปอนเซอร์ร่วมกับ Presidential Debates ใน ABC News<br />2007<br />พฤศจิกายน<br />เปิดตัว Facebook Ads<br />ตุลาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 50 ล้านคนออก Facebook Platform สำหรับโทรศัพท์มือถือFacebook และMicrosoft มีข้อตกลงร่วมกันในการขยายโฆษณาเพื่อครอบคลุมตลาดต่างประเทศ โดย Microsoft ขอซื้อหุ้นของ facebook จำนวน $240 ล้าน<br />กรกฎาคม <br />Facebook ซื้อกิจการ Parakey<br />พฤษภาคม<br />เปิดตัว Marketplace สำหรับจัดหมวดหมู่สินค้า<br />Facebook เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนักพัฒนา F8 เพื่อเปิดตัว Facebook Platformเปิดตัว Facebook Platform กับผู้พัฒนา 65 ราย และแอพลิเคชันมากกว่า 85 รายการ<br />เมษายน<br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 20 ล้านคนอัพเดทการออกแบบเว็บไซต์ใหม่ และเพิ่ม network portals<br />มีนาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 2 ล้านคนในแคนาดา และ 1 ล้านคน ในสหราชอาณาจักร<br />กุมภาพันธ์<br />เปิดตัว Virtual gift shop<br />2006<br />ธันวาคม<br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 12 ล้านคน<br />พฤศจิกายน<br />เพิ่มฟีเจอร์ Share โดยร่วมมือกับเว็บไซต์พันธมิตร 20 ราย<br />กันยายน <br />แนะนำ News Feed และ Mini-Feed โดยมี privacy controls เพิ่มเติมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สามารถให้บุคคลทั่วไปสมัครเข้าใช้บริการได้<br />สิงหาคม <br />เปิดตัว Facebook development platform<br />แนะนำแอพลิเคชั่น NotesFacebook และMicrosoft สร้างความสัมพันธ์ทางกลยุทธ์ร่วมกันสำหรับการทำแบนเนอร์โฆษณา<br />พฤษภาคม <br />Facebook ขยายฐานสมาชิกไปยังกลุ่มเครือข่ายคนทำงาน เช่น Microsoft, Apple<br />เมษายน<br />Facebook ได้รับทุนเพิ่ม $27.5 ล้าน จากGreylock Partners, Meritech Capital Partners และอื่นๆเปิดตัวฟีเจอร์ Facebook Mobile<br />2005<br />ธันวาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการมากกว่า 5.5 ล้านคน<br />ตุลาคม <br />เพิ่มแอพลิเคชั่น Photos<br />Facebook เริ่มขยายฐานสมาชิกไปยังกลุ่มโรงเรียนนานาชาติ<br />กันยายน<br />Facebook ขยายฐานสมาชิกไปยังกลุ่มเครือข่ายนักเรียนมัธยม<br />สิงหาคม <br />เปลี่ยนชื่อจาก thefacebook.com เป็น facebook.com อย่างเป็นทางการ<br />พฤษภาคม<br />Facebook ได้รับทุนเพิ่ม $12.7 ล้าน จาก Accel Partners Facebook เติบโตอย่างต่อเนื่อง และรองรับเครือข่ายมหาวิทยาลัยมากกว่า 800 มหาวิทยาลัย <br />2004<br />ธันวาคม <br />Facebook มีผู้ใช้บริการเกือบ 1 ล้านคน<br />กันยายน<br />เพิ่มแอพลิเคชั่น Groups; เพิ่มฟีเจอร์ Wall<br />มิถุนายน <br />Facebook ย้ายสำนักงานไปยัง Palo Alto รัฐ California<br />มีนาคม <br />Facebook ขยายฐานสมาชิกจาก Harvard ไปยัง Stanford, Columbia และ Yale<br />กุมภาพันธ์ <br />Mark Zuckerberg และผู้ก่อตั้งร่วม Dustin Moskovitz, Chris Hughes และ Eduardo Saverin เปิดตัว Facebook จากหอพักในมหาวิทยาลัย Harvard<br />วิเคราะห์ลูกค้า<br />ส่วนตลาดเป้าหมาย<br />ตลาดเป้าหมายของFacebookนั้นได้แก่องค์กรธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบSocial network  โดยผู้ลงโฆษณาสามารถเลือกกลุ่มผู้ที่จะได้เห็นโฆษณาได้ในหลายรูปแบบ สามารถกำหนด Target ว่าจะให้โฆษณาถูกแสดงกับใครบ้าง อาทิเช่น สามารถระบุสถานที่ได้ว่าจะให้โฆษณาแสดงกับคนที่มาจากประเทศไหน , กลุ่มอายุ , เพศ , ความสัมพันธ์ , การศึกษา หรือแม้กระทั่งให้แสดงเฉพาะกับผู้ที่เกิดในวันนั้นๆ เป็นต้น <br />,[object Object]
องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นช่องทางในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สำหรับสินค้าและบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ
ความง่ายของระบบการลงโฆษณา
เป็นการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การสื่อสารแบบปากต่อปากให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นเครื่องมือสำหรับใช้สื่อสารข้อความต่างๆระหว่างองค์กรธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมาย
เป็นการสร้างช่องทางสำหรับแสดงความคิดเห็นและติดตามข้อมูลข่าวสารให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างให้เกิดความ ผูกพันต่อสินค้าและบริการ
ใช้เป็นเครื่องมือในการตอบข้อซักถาม ชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ
องค์กรสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ สร้างผลกำไรให้มากขึ้นเป็นการตลาดแบบอนุญาต หรือ Permission Marketing ทำให้สารการตลาด ที่สื่อออกไปนั้นไม่กลายเป็นตัวน่ารำคาญ จนไม่อยากจะอ่าน<br />ความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง<br />แผนกที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสำหรับFacebookในขณะนี้คือความสัมพันธ์กับเอเจนซี่โฆษณา เหล่าเอเจนซี่ต่างชื่นชมกับศักยภาพของFacebookโดยต่างต้องการจะบรรเลงแนวคิดสร้างสรรค์ของตนลงในหน้าแฟนเพจรวมทั้งการปรับแต่งต่างๆ แต่Facebookไม่ยอมให้ตัวแทนเหล่านี้ละเมิดแนวทางการโฆษณาของตน ซึ่งพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์ควรจะมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้ ในจุดนี้นี่เองที่ลูกค้าของFacebookยังไม่ได้รับการตอบสนอง<br />การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอก (SPELT Analysis)  <br />SPELT analysis                                    <br />1. Social Factors            <br />ปัจจุบันนี้พฤติกรรมของคนในสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอิทธิพลของกระแสสื่อทางสังคม (Social Media) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผู้คนกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนที่ทำงาน และคนใช้ชีวิตอยู่รอบข้างจนทำให้เกิดเครือข่ายทางสังคม (Social Network) หรือสังคมออนไลน์  สำหรับในประเทศไทยนั้น  โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยได้ใช้สังคมออนไลน์เฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งนับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2.5 ชั่วโมง (ข้อมูลจากผลวิจัยจาก TNS) นอกจากนี้ผลการสำรวจเรื่องสื่อทางสังคม จาก Retrevo ที่สามารถสะท้อนพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนรุ่นใหม่อย่างน่าสนใจ ซึ่งแต่เดิมในอดีตจะพบว่าสิ่งแรกในตอนเช้าๆ ผู้คนส่วนใหญ่จะต้องเปิด TV หรืออ่านหนังสือพิมพ์เพื่อ อัพเดทข่าวสาร แต่ขณะนี้จากผลสำรวจเรากลุ่มคนที่ใช้สื่อทางสังคม พบว่าพวกเขา เข้า Facebook หรือ Twitter เพื่อไปดูข่าวสารในตอนเช้ากันถึง 42% นอกจากนี้ระยะเวลาแค่ไหนที่คนส่วนใหญ่จะต้องเข้าไปใช้งานในสื่อทางสังคมคือ ระยะเวลานาน สูงถึงเกือบ 50% ดังรูป                  ที่มา http://iamadisak.wordpress.com/tag/social-media/                          นอกจากนี้วงการธุรกิจก็ได้หันมาให้ความสำคัญกับสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก เพราะนับว่าเป็นสื่อทางสังคมที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และรวดเร็วที่สุด เพียงแค่ส่งข้อความออกไปสั้น ๆ ลูกค้าก็จะได้รับข้อมูลทันที โดยไม่ต้องลงโฆษณาในนิตยสารและไม่ต้องส่งอีเมลล์ให้ทีละคนซ้ำแล้วซ้ำเล่า อีกทั้งการที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการใช้สื่อทางสังคมมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคไม่ค่อยเชื่อข้อมูลข่าวสารจากผู้ประกอบการ แต่จะเชื่อเพื่อนหรือคนดังมากกว่า และหากธุรกิจสามารถสร้างให้เกิดการบอกต่อ ๆ กันได้นั้นจะยิ่งทรงอานุภาพในการประชาสัมพันธ์และการตลาดได้เป็นอย่างดี สำหรับในส่วนของระบบการศึกษาของไทยก็ได้ริเริ่มการนำสื่อทางสังคมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยรณรงค์ให้เด็กไทยเขียนบทความหรือโพสแสดงความคิดเห็นผ่านบล็อกกันมากขึ้น หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านทางสังคมออนไลน์ (ที่มาhttp://do.in.th/)  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงใด้เห็นถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทย ดังนั้นพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถลบภาพของเด็กไทยในอดีตที่ไม่กล้าถาม ไม่กล้าแสดงออก หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน  ในด้านของศาสนาและวัฒนธรรม ปัจจุบันคนไทยเข้าวัดกันน้อยลงมาก แต่ได้มีการใช้สื่อทางสังคมมาช่วยจึงทำให้ศาสนาไม่หายสาปสูญไปเร็วนัก โดยกลุ่มคนที่ตั้งใจจะรักษาศาสนาหรือวัฒนธรรมจะออกมาสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในแง่ศาสนา เช่น เอาคำสอนมาแปลหรือส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกัน  มีการใช้ Facebook เพื่อเผยแพร่บทความหรือคำพูดที่ให้ข้อคิดจาก ท่าน ว.วชิระเมธี มีการตอบคำถามทางพระพุทธศาสนา หรือมีการส่งเสริมให้คนไทยทำความดีผ่านทางสื่อทางสังคมเพื่อเป็นการผลักดันให้สังคมไทยในยุคออนไลน์ได้มีความใกล้ชิดกับศาสนาและวัฒนธรรมอันดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อีกด้วย<br />2. Political Factors <br /> การเมืองไทยกับสื่อทางสังคมเริ่มจะเป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ได้เห็นการปะทะคารมของนักการเมืองผ่านทางสื่อทางสังคมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลทางการเมืองเพิ่มขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้สื่อทางสังคมเพื่อเป็นกลไกแห่งการปฏิรูปทั้งสังคมและประเทศชาติได้ ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนหันมามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ปัจจุบันรัฐาลไทยได้เข้ามามีบทบาทในด้านสังคมออนไลน์มากขึ้น ดังนี้ 1. มีการสร้างระบบเปิดเผยข้อมูลของรัฐ (Open Data) ที่เน้นความโปร่งใส ทำให้เกิดระบบกลางของข้อมูลประเทศ มีเป้าหมายในการเปิดเผยข้อมูล กำหนดมาตรฐานเพื่อการเข้าถึงที่ชัดเจน สร้างระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญ เช่น สถิติ งบประมาณ การประมูล ผลการประชุมที่สำคัญ 2. มีการเปิดพื้นที่นโยบายอย่างกว้างขวางแก่สังคม (Policy Crowd-Sourcing) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต และสื่อทางสังคมในช่องทางสำคัญ และจัดให้มีกระบวนการเพื่อเสริมศักยภาพเชิงรุกในเรื่องนี้ให้มีกลไกรองรับการ เปิดพื้นที่จริง รวมถึงการเชื่อมโยงและหนุนกระบวนการเปลี่ยนประเทศไทย เช่น คณะกรรมการปฏิรูป สมัชชาปฏิรูป กลไกของรัฐ การขับเคลื่อนของกลุ่มประชาสังคมเข้าเป็นระบบข้อมูลเดียวกัน 3. มีการสร้างระบบเชื่อมโยง ระดมอาสาสมัครและการให้ (Volunteer and Giving Matching) ที่เน้นความร่วมมือ โดยต่อยอดเครือข่ายออนไลน์แนวอาสา จัดระบบเชื่อมโยงข้อมูล เชื่อมประเด็นสำคัญ การสร้างรับรู้และผู้สนับสนุนเชิงประเด็น ระดมอาสาสมัคร ทุน ทรัพยากร ร่วมกระบวนการเพื่อนำร่อง เช่น โครงการไอเดียประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้นทั้งภาครัฐ ธุรกิจ ประชาสังคม และภาคกลุ่มสังคมออนไลน์ จะต้องสร้างความร่วมมือระหว่างกัน จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปประเทศไทยได้  นอกจากนี้การเกิดกลุ่มต่อต้านยุบสภาในเฟสบุ๊กถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างจากการใช้สังคมออนไลน์ที่สามารถเป็นช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามบทบาททางการเมืองถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากในบางประเทศ เช่น ประเทศจีนที่รัฐบาลไม่ได้อิสระแก่ประชาชนในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างเสรี มีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล ทำให้สังคมออนไลน์ต่างชาติยากที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศจีน <br />3. Economics Factors <br />สภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐบาล ส่งผลให้หลายธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น สำหรับในส่วนของธุรกิจสื่อทางสังคมก็มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นเช่นกัน การที่เศรษฐกิจดีก็ทำให้ประชาชนมีรายได้หรือเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการบริโภคสูงขึ้น ทำให้ประชาชนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ทำให้ปริมาณการเข้าถึงอินเตอร์เนตมากขึ้นและทำให้ง่ายที่จะเข้าใช้สื่อทางสังคมได้ตลอดเวลา4. Legal Factors<br />ปัจจุบันกฏหมายไทยเรื่องการเข้าไปควบคุมการเข้าถึงหรือการจำกัดสิทธิ์ของสื่อทางสังคมนั้น ยังไม่มีกฏหมายออกมารองรับในส่วนนี้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นแค่เพียงการออกเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ร่วมกันในประเทศแต่เนื้อหาสาระก็มิได้เคร่งครัดเท่าที่ควร สังเกตได้จากแนวปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ. 2553 ไม่ได้เข้มงวดเกี่ยวกับเแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริการจัดการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิเช่น การกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีช่องว่างทางกฏหมายที่เปิดโอกาสให้สื่อออนไลน์ทุกประเภทเข้ามาได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนบางประเทศ เช่น ประเทศจีนที่คนนิยมบริโภคสังคมออนไลน์ท้องถิ่นมากกว่า ทำให้สื่อออนไลน์ต่างชาติมักจะโดนเซ็นเซอร์และยากที่จะเข้ามาบุกตลาดแห่งนี้<br />5. Technology Factors<br /> เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง Personal on Demand ที่ใครก็สามารถสร้างเนื้อหา ควบคุม กำหนดทิศทางได้ เนื่องด้วยเทคโนโลยี Web 2.0 ที่เป็นการรวมเทคโนโลยีและโปรแกรมต่างๆเข้าด้วยกันในการสร้างเว็บไซต์ เช่น AJAX สำหรับสร้าง Userinterface ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นบนเว็บ, Flash ที่เน้น สื่อสารระหว่างกัน (Interactive), บล็อกที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหา, Feed ที่ช่วยในการติดตามข่าวสารข้อมูลความเคลื่อนไหลของเว็บไซต์ต่างๆ ส่งผลทำให้เว็บประเภทนี้กลายเป็นที่สนใจและถูกจับตามองอย่างมากในการใช้เป็นช่องทางธุรกิจในการทำโฆษณาผ่านสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ปัจจุบันที่การเติบโตของสังคมออนไลน์เริ่มมีแรงผลักดันมาจากการเข้าเว็บบนมือถือมากกว่าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอิทธิพลของเทคโนโลยีทางด้านสมาร์ทโฟนที่มีการแข่งขันสูงจนกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยที่มีการเข้าเว็บไซต์สังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยสูงถึง 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยที่เกือบครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าเว็บไซต์สังคมออนไลน์โดยเฉลี่ย 3.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งการใช้สื่อสังคมออนไลน์บนมือถือนี้มีแรงขับเคลื่อนมาจากความต้องการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันใจและเอื้อต่อการส่งข้อความได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นข้อความสั้นๆหรือแม้แต่การอัพเดทสถานะได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลทำให้วัยรุ่นไทยมีชีวิตที่พร้อมจะเปิดรับ สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมดไปกับสังคมออนไลน์ แต่จะใช้เวลากับโลกออนไลน์ควบคู่ไปกับการหาประสบการณ์ในโลกแห่ง ความเป็นจริงควบคู่ไปด้วย ซึ่งสะท้อนให้ถึงพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างชัดเจน<br />การวิเคราะห์คู่แข่งขัน (Porter’s Five Forces Model)<br />,[object Object],ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจ social network มีสูงมากโดยเฉพาะคู่แข่งรายใหญ่ๆ คือ Facebook MySpace, Twitter, Hi5 และ YouTube เป็นนวัตกรรมสื่อออนไลน์ ที่มีการเข้าถึงสูงสุด และสามารถใช้กลยุทธ์ โดยอาศัยการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสมาชิกหรือเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือการตลาดได้โดยมีหลายรูปแบบ เช่น แบบตรง (Direct) เจาะกลุ่มเป้าหมาย (Target) ปากต่อปาก (Word-of-Mouth) และเรียลไทม์ (Real-Time)  นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์สร้างสังคมแบรนด์ (Brand Community) เพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ขององค์กรอีกด้วย  Social network จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ ที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางการแข่งขันได้ เนื่องจากความนิยมมีสูงขึ้น มีกลุ่มลูกค้าหลากหลายทุกเพศทุกวัย และการกระจายตัวของการใช้ สื่อออนไลน์มีกว้างขวางมากขึ้น และการลดบทบาทของสื่อพื้นฐานต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ประกอบกับการลงทุนในธุรกิจที่ต่ำแต่มีผลตอบแทนที่สูง จึงมีผู้สนใจลงทุนมากมาย แต่รายที่ประสบความสำเร็จมีอยู่ไม่กี่ราย  มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่ารายย่อย อย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น ในตลาดของ USA คือ Facebook MySpace และ YouTube มีส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่ารายอื่นอย่างมาก<br />         <br />เหตุผลสำคัญที่ผู้รับบริการทั่วไปเลือกใช้ Social network เพราะ ต้องการรับข้อมูล หรือสื่อสารในเรื่องที่ตนเองสนใจในกลุ่มของตน  ดังนั้นทุก web จึงมีคุณสมบัติข้อนี้ที่ไม่ต่างกันมาก การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับการสร้าง Application และ Feature ต่างๆ ซึ่งถ้าดูจาก Facebook และ Twitter  ที่มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ทั้งสอง web มีการพัฒนา Application และ Feature ที่ตอบสนองกับผู้ใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น การกด Like    ของ Facebook  แต่ในขณะเดียวกันคู่แข่งต่างๆก็พัฒนาตามมาให้มี Application และ Feature ใกล้เคียงกัน หรืออาจใช้ประโยชน์จาก Application และ Feature ที่สร้าง เช่น ไมโครซอฟท์ ( Bing Search)ที่มี Feature ใหม่เป็นการผสานข้อมูลของ Facebook เข้ามาในค้นหาชื่อบุคคลใน Bing จะบอกด้วยว่า เว็บใดบ้างที่เพื่อนใน Facebook มากด Like เอาไว้ ดังนั้นธุรกิจนี้จึงมีทั้งการแข่งขันที่สูง และการให้ประโยชน์เอื้อกันระหว่างคู่แข่งจากการเชื่อมโยงระหว่างกัน  เพราะผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการได้มากกว่า หนึ่ง  web ควบคู่กันไปตามแต่กลุ่มสังคมของตนเอง<br />ผู้ใช้บริการของ Facebook อีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ประกอบการต่างๆทั้งเล็กใหญ่ที่หันมาทำการตลาดบน  Social network  ที่เติบโตอย่างมากจากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น  และด้วยการลงทุนค่าโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แต่อาจมีต่างกันในรายละเอียดการใช้แต่ละ web เพียงเล็กน้อย ด้วยการลงทุนที่ทุกคนก็สนใจเข้ามาทำให้การทำตลาดใน Social network มีสูงมาก  รายได้ของ Facebook จากการโฆษณามีถึง 55% ของรายได้ทั้งหมด <br />,[object Object],ผู้บริโภคของ Facebook คือผู้ประกอบการที่เข้ามาทำการตลาดกับ Facebook ที่เป็นรายได้โดยตรง และผู้บริโภคทางอ้อมคือผู้ที่เข้ามาใช้บริการทั่วไปของ Facebook เอง<br />ผู้ประกอบการต่างๆเข้ามาทำการตลาดใน Facebook เนื่องจากมีจำนวนผู้นิยมเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก และเจาะจงเฉพาะกับกลุ่มมากกว่า อีกทั้งการลงทุนที่ต่ำทำให้รายย่อยๆก็สามารถเข้ามาได้ง่าย  ซึ่งการทำการตลาดกับ  Facebook มีได้หลายรูปแบบ เช่น การโฆษณา, Fan Page, การทำกิจกรรมผ่านหน้าBusiness Page, การจัดโปรโมชั่นให้กับสมาชิกใน Page เมื่อเปรียบเทียบกับ social media อื่นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการสินค้าและบริการต่างๆต้องการที่จะเข้ามาทำการตลาดเอง อำนาจการต่อรองตอนนี้จึงยังมีไม่มาก<br />ผู้ใช้บริการทั่วไป มีอำนาจการต่อรองมากจากการที่ผู้บริโภครายหลักสนใจ เข้ามาใช้ Face book เพื่อเป็นช่องทางการตลาด เนื่องจาก การแข่งขันของธุรกิจมีสูง แต่ผู้ที่เข้ามาในธุรกิจก่อนมักได้เปรียบจากการที่กลุ่มสังคมของผู้ใช้บริการมีอยู่ก่อนแล้ว ผู้ใช้บริการรายใหม่ๆก็จะเริ่มใช้กับกลุ่มสังคมของตนเองก่อน และเมื่อเริ่มใช้ก็เกิดความสัมพันธ์กับ social network นั้นๆ แต่ถ้าผู้เข้ามารายใหม่ดีกว่าก็จะเกิดการย้ายไปยังผู้เข้ารายใหม่ทันทีเพราะเป็นการให้บริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะทำให้กลุ่มสังคมของคนเหล่านั้นย้ายตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น Hi-5 เมื่อ Facebook มี Application และ Feature ที่ดีกว่าผู้ใช้บริการก็ย้ายมาสื่อสารกันใน Facebook กลุ่มสังคมก็ย้ายตามมา<br />,[object Object],ผู้ผลิตที่ป้อนวัตถุดิบ ให้แก่ธุรกิจก็คือผู้ พัฒนา Application และ Feature ให้กับบริษัท ซึ่งการพึ่งพาผู้ผลิตในธุรกิจนี้มีไม่มากนักเนื่องจากเป็นลักษณะการได้ผลตอบแทนทั้งคู่ ผู้พัฒนา Application และ Feature ได้ค่าตอบแทนและชื่อเสียง     ทำให้ความเสี่ยงในการขาดวัตถุดิบไม่มี แต่การเลือก Application และ Feature ที่นำมาใช้แล้วได้รับความนิยมนั้นมีความเสี่ยงกว่า Facebook เองเสียค่าใช้จ่ายในการสร้าง Application และ Feature ต่างๆมากแต่มีเพียงไม่กี่ Application ที่ได้รับความนิยม  ตอนนี้ Facebook ให้ผู้ใช้บริการมีส่วนในการพัฒนา Function ต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองได้ซึ่งในกรณีนี้ Facebook ก็จะได้ทั้งผู้ผลิตและได้ Application และ Feature ที่ตรงใจผู้ใช้บริการ<br />,[object Object],เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อย เทคโนโลยีไม่ซับซ้อนมาก และได้ผลตอบแทนที่ดี จึงมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในธุรกิจมาก และเป็นไปได้ง่าย โดยเฉพาะในต่างประเทศที่แม้แต่ตอนนี้ Facebook ยังไม่สามารถเข้าถึงประเทศที่กลุ่ม BRIC (Brazil, Russia, India, China, )ที่มีการใช้ social network local ของตนเอง ซึ่งประเทศเหล่านี้มีประชากรมากมีและการใช้ Internet เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิด social media ใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างมากมาย<br />,[object Object],สินค้าและบริการอื่นที่จะเข้ามาทดแทน Social network และบริการเดิมของ Facebook มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็คือกลุ่ม ธุรกิจออนไลน์ด้วยกันที่จะเข้ามา อาจทำให้รายได้จากการขายพื้นที่โฆษณาลดลงทำให้ส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต ลดลง ไม่ว่าจะเป็น  web สื่อสารต่างๆเช่น Email ต่างๆที่กลับมาสร้างโอกาส ด้วยการพัฒนา  web เพราะผู้ใช้บริการไม่อยากที่จะเปลี่ยน Account บ่อยๆ และ web Search engine ต่างๆที่จากสถิติการใช้ Internet นั้นผู้ใช้เข้ามาใช้ Internet เพื่อหาข้อมูลมากเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะโฆษณาสินค้าย่อมสนใจ webที่มีจำนวนของผู้เข้ามาใช้บริการมาก  ส่วนทางอ้อม คือการสื่อสารอื่นๆ การโทรศัพท์ ส่งข้อความทางมือถือ ที่รวดเร็ว สื่อสารได้ชัดเจนกว่าก็มีโอกาสเข้ามาแทนที่ Facebook<br />Facebook revenue model<br />,[object Object]
Brand ads : ปัจจุบันมีองค์กรเป็นจำนวนมาก ที่ประยุกต์ใช้สังคมแบรนด์ เพื่อพัฒนาและขยายผลของแบรนด์องค์กร  การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาแบรนด์ เพราะสังคมแบรนด์เกิดจากการผลักดัน โดยส่วนใหญ่ ของผู้บริโภค ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ ความเข้าใจร่วมกัน (Shared Consciousness) พิธีและประเภณี (Rituals and Traditions) และความรับผิดชอบ (A Sense of Moral Responsibility)  องค์ประกอบเหล่านี้สนับสนุนให้สังคมแบรนด์สามารถพัฒนามูลค่าของแบรนด์ (Brand Equity) และเพิ่มพูลผลประโยชน์ขององค์กรได้ (Muniz et al., 2001)  ดังนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างสังคมแบรนด์คือการสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีภาวะผู้นำในการผลักดัน มีส่วนร่วม และขยายผลของแบรนด์ โดยอาศัยความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง และผู้บริโภคกับองค์กรภาพที่ 11 : สังคมแบรนด์บน Facebook<br />Social Web ดังในภาพ ได้เริ่มสนับสนุนการพัฒนาสังคมแบรนด์มาระยะหนึ่งแล้ว โดยมี Facebook เป็นตัวอย่างสำคัญ ซึ่งให้บริการแฟนเพจ และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังในตารางที่ 3 และภาพที่ 7 แฟนเพจได้รวบรวมเครื่องมือสำคัญของ Social Web และสื่อออนไลน์อื่นๆเข้าด้วยกัน คือ ฟีด การเลือกติดตาม บทสนทนา ปฏิทิน การแลกเปลี่ยนภาพและคลิปวีดีโอ ฯลฯ โดยที่สังคมผู้ติดตามขององค์กรสามารถถูกประยุกต์เป็นสังคมแบรนด์ และองค์ประกอบหลักของสังคมแบรนด์ถูกประสมประสานเข้ากับความเชื่อมโยงของสมาชิกและการใช้งานแฟนเพจ  ดังนั้นการปฏิสัมพันธ์ของผู้บริโภค ที่ติดตามแฟนเพจร่วมกัน จึงสามารถเป็นการผลักดันเพื่อขยายผลของแบรนด์ได้<br />ในกรณีศึกษาของ Starbucks ได้มีการพัฒนาแฟนเพจ​ซึ่งมีผู้ติดตาม 5.1 ล้านคน และเป็นอันดับหนึ่งบน Facebook  Starbucks ได้ประยุกต์ใช้ Social Web เช่น Twitter และ Facebook เป็นสื่อสำคัญในการสร้างแบรนด์ (Wong, 2009)  กลยุทธ์หลักของ Starbucks คือการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค โดยใช้เครื่องมือต่างๆของแฟนเพจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรกับผู้บริโภค และระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง  ทั้งนี้องค์กรเน้นเนื้อหาที่แสดงถึงความเป็นแบรนด์ของ Starbucks เช่นประวัติและคุณภาพของกาแฟ หรือกระทั่งความรับผิดชอบต่อสังคม  อย่างไรก็ดีความเข้าใจร่วมกันไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารขององค์กรแต่ฝ่ายเดียว  Starbucks ให้ความสำคัญในการเข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง และการสร้างความสัมพันธ์นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาสังคมแบรนด์ ซึ่งจะเกิดได้จากผลักดันของผู้บริโภค  ทั้งนี้เห็นได้จากการแลกเปลี่ยนเรื่องราวของแบรนด์ (Sharing Brand Stories) ซึ่งเป็นพิธีและประเภณีของสังคมแบรนด์ และส่วนใหญ่ถูกผลักดันโดยผู้บริโภค  ในตัวอย่างของการแลกเปลี่ยนภาพถ่ายมี 1,451 ภาพมาจากผู้บริโภค ในขณะที่เพียง 77 ภาพมาจากองค์กร  นอกจากนี้การเขียนฟีดเกี่ยวกับแบรนด์ ดังแสดงในภาพที่ 11 ของผู้บริโภค มีมากกว่า 250 ข้อความต่อวัน ในขณะที่ฟีดขององค์กรมีน้อยกว่า 15 ข้อความต่อเดือน  ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำของผู้บริโภคในการผลักดัน เพื่อขยายผลของแบรนด์  นอกจากนี้เนื้อหา ที่เกิดการแลกเปลี่ยน มีความสอดคล้องกับความเป็นแบรนด์ของ Starbucks ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเข้าใจร่วมกันกับแบรนด์ และพร้อมจะผลักดันการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งสอดคล้องกับพิธีและประเภณีของสังคมแบรนด์  นอกเหนือจากนี้ผู้บริโภคยังมีความรับผิดชอบต่อแบรนด์ โดยให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคด้วยกันเอง และกระทั่งพยายามดึงดูดผู้บริโภคใหม่ๆให้เข้ามาติดตามแฟนเพจ เพื่อเป็นการพัฒนาสังคมแบรนด์ของ Starbucks ต่อไป<br />Virtual Goods : สินค้าเสมือนจริง ตัวอย่างของ Virtual Goods นั้นมีหลายอย่าง เช่น Product หรือ Service  จุดแข็งของ Virtual Goods มีสูงกว่าโลกแห่งความเป็นจริงก็คือ<br />1. ลูกเล่น – ในโลก Internet ยังไงเราก็สามารถสร้างอะไรตามจินตนาการเราได้อยู่แล้ว เราสามารถทำอะไรที่สินค้าทั่วไปในท้องตลาดไม่สามารถทำได้มากมาย แน่นอนละ เราไม่สามารถซื้อ ดาบมายาปีศาจในเกมส์ในโลกแห่งความจริงได้แน่เลย<br />2. ราคา – ผลงานที่เกิดจาก Internet นั้น มันไม่ได้มีต้นทุนที่สูงด้าน Production ขอแค่มีไอเดีย Product สามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องผลิต แค่ Copy Paste Adjust ได้ตามจำนวนเท่าที่ต้องการ ราคาขายก็ย่อมถูกตามไปด้วยเพราะมีแค่ค่า Design<br />3. รวดเร็ว - อยากได้สินค้าเมื่อไหร่ ไม่ต้องรอ แค่เข้าไปใน Internetสามารถซื้อได้ทันที และได้ของทันทีแล้วก็มอบให้คนอื่นได้ทันที ไม่ต้องกลัวของขาด Stock ตัวอย่างง่ายๆก็คือ e-card แค่เลือกรูปแบบ แต่งให้สวยๆ แล้วเขียนอวยพรให้เพื่อน สามารถส่งได้ทันทีไปถึงที่หมายภายในไม่กี่วินาที  <br />,[object Object],วิธีการคิดเงินค่าโฆษณาของ <br />Facebook Ads นั้นมีให้เลือกอยู่ 2 วิธีคือ<br />,[object Object]
แบบ CPC เมื่อกดเราจ่าย คือเงินค่าโฆษณาจะถูกตัดก็ต่อเมื่อมีการคลิกที่โฆษณา โดยปรกติแล้วโมเดลแบบ CPM จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า แต่ CPC ก็จะเด่นที่การการันตีว่าโฆษณาถูกใช้งานจริงๆถึงจะจ่ายเงิน โดยทางfacebookจะทำการบันทึกบัญชีบัตรเครดิตเอาไว้ และจะตัดบัญชีจากบัตรทุกวันตามการใช้งานจริงแต่ต้องมากกว่า 25 เหรียญขึ้นไป ถ้าต่ำกว่าก็จะตัดเงินอีกทีเมื่อถึงวันที่เกิน 25 เหรียญ ดังนั้นถ้าไม่ได้ระบุวันสิ้นสุดของโฆษณา บัตรเครดิตก็จะถูกตัดไปเรื่อยๆ แต่ก็จะไม่เกินจำนวนวงเงินรายวันที่จะใช้สำหรับโฆษณาที่ได้ถูกระบุเอาไว้<br />Source : Company Reports and NeXt Up Research<br /> Facebook มีแนวโน้มของรายได้ที่เติบโตมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2010 นี้คาดว่ารายได้จะสูงขึ้นถึง 2000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าเป้าหมายที่ทางfacebookตั้งไว้ที่ 1200 ล้านเหรียญสหรัฐ <br />Facebook Strategy<br />Facebook เป็น Social Network ทีประสบความสำเร็จอย่างมาก มีผู้ใช้มากกว่า 550  ล้านคนทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่ทำให้ Face book เป็นระบบ Social Network ที่โดดเด่นจากเครือข่ายอื่นๆคือ การที่ Facebook มีกลยุทธ์ที่โดดเด่นและแตกต่างจากเครือข่ายอื่นๆนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่ใช้ Differentiate Strategy<br />Facebook เป็น Social Network ที่ทำรายได้มากมายจากการโฆษณา โดยโปรแกรมโฆษณาของ Facebook ส่วนใหญ่คือโฆษณาขายสินค้า ซึ่งจะแตกต่างจากโฆษณาป๊อปอัพบน AOL โฆษณาจากการเสิร์ชใน Google รวมถึงแบนเนอร์โฆษณาใน Yahoo ที่โฆษณาให้กับเว็บไซต์ต่างๆโดยนับรายได้จากการคลิกลิงค์นั้นๆ และหากจะเอา Facebook ไปเทียบกับ Amazon.com ที่เป็นเว็บไซต์ขายของโดยตรง ก็จะแตกต่างกันตรงที่ Amazon จะขายของเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้ซื้อไม่ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าใดๆ ซึ่ง Facebook สามารถแก้ปัญหานั้นโดยการใช้ระบบ “Social Graph” คือ ระบบการให้คะแนนโดยผู้ใช้  ที่สำคัญจะเป็นคำแนะนำจากเพื่อน ไม่ใช่คำแนะนำจากคนแปลกหน้า ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้มากกว่า<br />กลยุทธ์การโฆษณาของ Facebook อยู่บนพื้นฐานของ Word-of-Mouth Marketing  โดยที่ Facebook พัฒนาสื่อโฆษณาทีเข้าถึง ตัวตน และ สังคม ของกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าสื่อชนิดอื่นๆ โฆษณาใน Facebook จะอยู่ในตำแหน่งขวามือสุดของหน้าจอ ที่ไม่รบกวนสายตาของผู้ใช้เป็นตำแหน่งที่เราคิดว่าไม่น่าจะมีใครคลิก แต่โฆษณาเหล่านี้จะสามารถพัฒนาขึ้นมาได้จากโฆษณาเล็กๆ ย้ายมาสู่หน้าเนื้อหาหลักของเว็บและย้ายไปอยู่กลางบทสนทนาระหว่างเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นักโฆษณาอยากให้อยู่มากที่สุด หลักการของเว็บคือ ทุกอย่างจะดูมีมูลค่ามากขึ้นเมื่อคุณเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่เพื่อนของคุณกำลังทำหรือสนใจอยู่ Facebook เรียกโฆษณาบนเว็บว่า “โฆษณาแบบมีส่วนร่วม” (Engagement ad) ทั้งนี้เพราะว่า Facebook กระตุ้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับโฆษณา ดังนั้นแม้ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่สนใจคลิกโฆษณาทั้งหลายบน Facebook แต่ก็มีโอกาสที่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งจะคลิกเข้าชมโฆษณาหากผู้ใช้เหล่านั้นเห็นชื่อเพื่อนข้างใต้โฆษณานั้น<br />สิ่งที่ทำให้ Facebook เป็นเครื่องมือโฆษณาที่ดีที่สุด คือ การที่ MySpace ,Yahoo ,Google ยังมีวิธีการโฆษณาแบบเดิมๆคือแยกส่วนระหว่างเนื้อหาและโฆษณาอย่างชัดเจน สื่อสารโดยตรงว่ามันคือโฆษณา ไม่เหมือนกับ Facebook ที่ทุกๆส่วนใน Facebook สามารถทำการโฆษณาได้<br />ความแตกต่างของ Face book<br />Face book Platform<br />Face book เป็น Social Network ที่ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ แต่เป็น Platform ที่ให้ผู้พัฒนาและผู้ใช้ สามารถพัฒนา Application มาใช้ร่วมกับ Facebook ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทแต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถพัฒนา Application ขึ้นมา ซึ่งข้อดีคือนอกจากจะเป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้กับ Facebook แล้ว Application ต่างๆยังเป็นตัวดึงดูดให้หลายๆคนเปลี่ยนมาเล่น Facebook และใช้เวลาอยู่กับ Facebook นานขึ้น ซึ่งเป็นจุดแข็งของ Facebook   อีกทั้ง Platform ของ Facebook สามารถอัพเดท status ,Video ,link ต่างๆได้ง่าย ทั้ง อัพเดทผ่าน e-mail ,SMS และมือถือ ทำให้ผู้ใช้และผู้ลงโฆษณามีความสะดวกในการอัพเดทข่าวสารต่างๆ<br />Fan Page<br />แบรนด์และบริษัทต่างๆ สามารถสร้าง Page ที่มีสินค้าและบริการของตัวเองขึ้นมาได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถสร้างโฆษณา และสื่อสารกับผู้บริโภคที่เป็นแฟนโดยตรง ซึ่งบริษัทสามารถทำ Promotion บน Fanpage ของตัวเอง ทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น <br />NewsFeed<br />หน้า NewsFeed คือ หน้าที่จะแสดงข้อความที่เพื่อนของผู้ใช้กด like หรือ แสดงความคิดเห็นถึง status ของเพื่อนหรือโฆษณาชิ้นหนึ่ง โดยที่เจ้าของสินค้าไม่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมใดๆทั้งสิ้น เพื่อย้ายโฆษณาจากมุมเล็กๆไปอยู่บนหน้าหลัก ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดี่ยวกับการที่เรานั่งคุยกับเพื่อนในเวลาว่าง หน้า NewsFeed นี้ เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปาก (word-of-mouth Marketing) ซึ่งเป็นจุดเด่นในการโฆษณาบน Facebook<br />Engagement Ad <br />Facebook เรียกโฆษณาบนเว็บว่า “โฆษณาแบบมีส่วนร่วม” (Engagement ad) ทั้งนี้เพราะว่า Facebook กระตุ้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับโฆษณา คือผู้ใช้สามารถกดตอบรับกิจกรรม RSVP แสดงความคิดเห็น รวมถึงการกด like  ซึ่งเมื่อเพื่อนมีส่วนร่วมกับโฆษณาเหล่านี้ โฆษณาก็จะไปโผล่ในหน้า NewsFeed มีลักษณะเหมือนกับเนื้อหาทั่วไป ก่อให้เกิดการแนะนำแบบปากต่อปาก จากเพื่อนสู่เพื่อนเกิดวงสนทนาถึงสินค่านั้นๆต่อไป<br />นอกจากนี้ Facebook ยังให้เว็บไซต์ต่างๆนับพันเว็บไซต์ สามารถเชื่อมต่อกับ Facebook โดยการนำปุ่ม like มาติดไว้หรือสามารถ log in ด้วยข้อมูลจาก Facebook ซึ่งนั่นหมายถึงการที่ Facebook สามารถเก็บข้อมูลต่างๆของผู้ใช้ได้ว่า ชอบทำอะไรหรือชอบเข้าเว็บไหน และยังเป็นการโฆษณาให้กับเว็บไซต์เหล่านั้นด้วยเมื่อสิ่งเหล่านี้ไปโผล่บนหน้า NewsFeed และที่สำคัญโดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อย่างชื่อ หรือ เบอร์โทรศัพท์ Facebook จะวิเคราะห์และรายงานพฤติกรรมผู้บริโภคแก่ผู้โฆษณา ให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึง Promotion ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น    <br />User Identity <br />ลักษณะการสมัครสมาชิกของ Facebook ที่สำคัญคือผู้ใช้งานต้องระบุตัวตนที่ชัดเจนใช้ชื่อจริงและ email ที่ใช้จริงในการลงทะเบียน และยังให้ระบุเพิ่มเติมว่า อายุเท่าไหร่ อาศัยอยู่ที่ไหน ทำให้สมาชิกของ Facebook คือ คนที่มีตัวตนอยู่จริงๆบนโลกใบนี้ เป็นการรู้จักเพื่อนในโลกอินเตอร์เน็ตจากคนที่รู้จักกันบนโลกจริง ดังนั้นสมาชิกจึงไม่วุ่นวายและสับสน อย่าง Hi5 หรือ MySpace รวมถึงทำให้ Facebook และผู้ลงโฆษณาสามารถระบุและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น เช่น ถ้าคุณเปลี่ยน Relationship Status เป็น Engaged อาจจะมีโฆษณาของ Wedding Studio ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้บ้านคุณโผล่มาบนหน้า Profile ของคุณ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการที่ Facebook ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้อย่างครบถ้วน<br />Learned  Targeting<br />เป็นเครื่องมือโฆษณาเจาะกลุ่มเป้าหมายจากการศึกษาข้อมูล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อนุญาตให้บริษัทที่ต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการสามารถส่งโฆษณาไปยังเพื่อนของกลุ่มแฟนของตัวเอง หรือสามารถส่งโฆษณาไปยังคนที่ Facebook คิดว่ามีคุณลักษณะใกล้เคียงกับแฟนของบริษัทนั้นๆ ซึ่งข้อมูลจาก Facebook ไม่เหมือนข้อมูลจากบริษัทรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆ เพราะข้อมูลจาก Facebook ไม่ได้มาจากวิเคราะห์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่มาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น<br />ปัญหาเชิงกลยุทธ์ (Strategic problem) <br />จากกลยุทธ์ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นของ facebook ที่ใช้ในการทำตัวเองให้แตกต่างจาก social network อื่นๆนั้น มาจากเครื่องมือต่างๆที่ facebook นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการระบุตัวตน โปรไฟล์ที่ไม่รกหูรกตา การใช้กระดานข้อความ(News feed) วิธีการโฆษณาผ่าน word-of-mouth และ engagement ads รวมถึง แพลทฟอร์มและ แอพพลิเคชั่นต่างๆส่งผลให้ facebook นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ที่ facebook ใช้อยู่นี้อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้จากการใช้งานไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อาจสะสมและส่งผลเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต และส่งผลให้ภาพลักษณ์ของบริษัทตกต่ำลง ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เรามีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบและกำหนดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อที่จะเตรียมแผน หรือปรับกลยุทธ์ใหม่ให้สอดคล้องต่อสถานการณ์นั้นๆ  โดยเราสามารถวิเคราะห์ปัญหาเชิงกลยุทธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องมือต่างๆได้ดังนี้<br />,[object Object]
แม้ว่าระบบการระบุตัวตนของ Facebook จะช่วยให้เข้าถึงข้อมุลของ user ได้ชัดเจนแต่ก็อาจมีปัญหาบ้างถ้าเกิดการใช้ข้อมุลซ้อนทับของบุคคลนั้นๆเช่น บุคคลดังๆอาจมี facebook โปรไฟล์หลายเพจที่เจ้าตัวไม่ได้สร้างขึ้นมา ซึ่งทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคนนั้นๆถูกบิดเบือนและนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยบุคคลอื่น และอาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าตัวบุคคลนั้นๆได้
Learn marketingระบบนี้จะมีประสิทธิภาพมากในการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ใช้ใน facebook แต่หากผู้ใช้คนนั้นไม่ได้เป็นเจ้าตัวตัวบุคคลนั้นจริงๆ (Fake ID) การเก็บข้อมูลที่ได้มาอาจเกิดความผิดพลาดได้ และส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล facebook<br />,[object Object],ระบบที่สำคัญนี้ มีส่วนสำคัญในการโฆณาสิ่งต่างๆของผู้ใช้ก็จริง แต่เนื่องจากอิทธิพลปากต่อปากนี้ ก็สามารถสร้างความเสียหายในเชิงลบต่อ band หรือผู้ใช้ นั้นๆได้เช่นกัน  ถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อ facebook เนื่องจากเป็นการใช้การสื่อสารของตัวผู้ใช้เอง หากไม่มีการควบคุมดูแลและเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็จะทำให้ไม่มีผู้สนใจที่จะใช้ facebook  เป็นสื่อในการติดต่ออีกและอาจทำให้ ภาพรวมของ facebook ย่ำแย่ได้ <br />,[object Object],กลยุทธ์การโฆษณาแบบมีส่วนร่วมนั้นมีประสิทิภาพมากเพราะใช้หลักการแชร์เนื้อหาที่น่าสนใจเป็นรูปภาพ คลิปและเสียง โดยอาศัยเนื้อหาที่แบ่งปันมาจากเพื่อนของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ facebook ค่อนข้างที่จะสนใจเนื้อหาเหล่านั้นว่าเป็นอะไร เพราะว่าเพื่อนของเขาสนใจ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเป็นเรื่องที่ไม่ดีไม่เหมาะสมเช่น เรื่องของการเมือง ผู้ใช้อาจต้องการใช้เพื่อสนับสนุนความคิดที่อาจเป็นอันตรายหรือคุกคามคนส่วนใหญ่ อาจทำให้ facebook เป็นแหล่งรวมคนพวกนี้ด้วยเช่นกัน<br />,[object Object],การเปิดโอกาศให้ผู้สนใจอื่นๆสามารถที่จะพัฒนา แอพพลิเคชั่นมากมายให้แก่ facebook ทำให้คนสนใจที่จะใช้ แอพพลิเคชั่นนี้ผ่านเฟสบุคเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อมีคนใดคนหนึ่งใช้ เพื่อนๆก็จะสามารถและทดลองใช้ตามได้ซึ่งจะแสดงผลในกระดาน แต่ในทางกลับกันเนื้อที่ๆแสดง ใน News feed ก็อาจลดน้อยลงไป ทำให้อาจเกิดการแย่งสัดส่วน Engagement ads และนอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่พัฒนาอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นทำให้ผู้ใช้อาจสับสนในการใช้ได้ <br />กล่าวโดยสรุปปัญหาเชิงกลยุทธ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ของ facebook อาจเป็นเรื่องความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ส่วนตัว (Privacy problems) เกิดจากการที่ผู้ใช้นั้นไม่ระมัดระวังในเรื่องการอนุญาติให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวจนทำให้เกิดปัญหาตามมา จนทำผู้ใช้รู้สึกไม่ปลอดภันในการใช้เครื่องมือต่างๆของ facebook เพราะกลัวว่าอาจสร้างปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ โดยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่ facebook ได้ทำการเก็บไว้นั้น จะถูกเสนอแก่ ผู้สนใจอื่นๆที่ทำข้อตกลงกับเฟสบุคในทางธุรกิจ หรือ ถูกใช้โดยนักโฆษณา ผู้ซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องราวของ มิตรภาพเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การเพิ่มเพื่อนที่เราไม่ได้รู้จัก และทำการใช้เครื่องมือ tag photo ภาพโฆษณาต่างๆผ่านทางเครื่องมือของ facebook ทำให้อาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ และส่งผลของภาพรวมของเฟสบุคดูแย่ลงได้<br />สถิติ Facebook<br />สถิต Facebook ปัจจุบัน<br />,[object Object]
ผู้ใช้งานกว่า 50% log in facebook ทุกวัน
ผู้ใช้กว่า 35 ล้านคน update status ในแต่ละวัน
กว่า 60 ล้าน update status ได้ถูกโพสในแต่ละวัน
มีการ upload รูป กว่า 3 พันรูป ในแต่ละเดือน
มีการ share content ต่างๆ เช่น web links, blog posts, photo albums กว่า 5 พันล้าน content ในแต่ละสัปดาห์
มีการ create event กว่า 3.5 ล้านครั้งในแต่ละเดือน
มีการสร้าง page กว่า 3 ล้าน page บน facebook
ธุรกิจท้องถิ่นกว่า 1.5 ล้านธุรกิจ มี page บน facebook
มีคนกว่า 20 ล้านคน เป็น fan of page ในแต่ละวัน
มี fan of page กว่า 5.3 พันล้านคน บน facebookสถิติเฉลี่ยของผู้ใช้ Facebook ปัจจุบัน<br />,[object Object]
ผู้ใช้แต่ละคนส่ง friend request เฉลี่ย 8 คนต่อเดือน
ผู้ใช้แต่ละคนใช้เลากับ facebook เฉลี่ย 55 นาทีต่อวัน
ผู้ใช้แต่ละคนกด like บน content ใน facebook เฉลี่ย 9 contents ต่อเดือน
ผู้ใช้แต่ละคนเขียน comment บน content เฉลี่ย 25 contents ต่อเดือน
ผู้ใช้แต่ละคนเป็น fan of page เฉลี่ย 4 pages ต่อเดือน
ผู้ใช้แต่ละคนส่ง invite เข้าร่วม event เฉลี่ย 3 events ต่อเดือน
ผู้ใช้แต่ละคนเป็น member of group เฉลี่ย 13 groupsสถิติการเติบโตของ Facebook<br />,[object Object]
United States มี 111,212,840 users
United Kingdom มี 23,499,100 users
Indonesia มี 19,528,560 users
Turkey มี 18,679,460 users
France มี 15,928,000 users
Italy มี 14,931,580 users
Canada มี 13,424,180 users
Philippines มี 10,647,100 users
Spain มี 8,861,140 users
Mexico มี 8,236,020 users
มีภาษาให้เลือกถึง 70 ภาษาบน facebook
ประมาณ 70% ของผู้ใช้ facebook อยู่นอก United States
มีผู้ใช้กว่า 300,000 users ช่วยกันแปล facebook ให้เป็นภาษาข
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy
Facebook Strategy

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sirintip Kongchanta
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานแบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานPop Cholthicha
 
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4pornnapafang
 
Teenhiphop
TeenhiphopTeenhiphop
TeenhiphopPrint25
 
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
โซเชียลเน็ตเวิร์คโซเชียลเน็ตเวิร์ค
โซเชียลเน็ตเวิร์คprakaytip
 
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์Noo Pui Chi Chi
 

Mais procurados (10)

555555555555
555555555555555555555555
555555555555
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานแบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
 
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4
แบบนำเสนอโครงงานเรื่องไมโครโพรเซสเซอร์5.4
 
Teenhiphop
TeenhiphopTeenhiphop
Teenhiphop
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
โซเชียลเน็ตเวิร์คโซเชียลเน็ตเวิร์ค
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
 
แบบร่างโครงงาน112
แบบร่างโครงงาน112แบบร่างโครงงาน112
แบบร่างโครงงาน112
 
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 

Semelhante a Facebook Strategy

02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องPongtep Treeone
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องTangkwa Tom
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องKittipong Suwannachai
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องTanyarad Chansawang
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2teeraratWI
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องSupaporn Pakdeemee
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2teerarat55
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2She's Ning
 

Semelhante a Facebook Strategy (20)

บทที่ 22
บทที่ 22บทที่ 22
บทที่ 22
 
บทที่ 22
บทที่ 22บทที่ 22
บทที่ 22
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
2
22
2
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Social network nhso
Social network nhsoSocial network nhso
Social network nhso
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
Facebook
FacebookFacebook
Facebook
 
Facebook
FacebookFacebook
Facebook
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 

Facebook Strategy