SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 8
Baixar para ler offline
เศรษฐกิจจีนในปี 2557 ... การเติบโตเชิงคุณภาพ
-------------------------------------------------
ในช่วงหลายทศวรรตที่ผ่านมา จีนนับเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าสนใจและพิศวง ไม่
ว่าจะเป็นการเติบโตในอัตราที่สูงต่อเนื่องหลายปี หรือแม้กระทั่งการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพภายใต้ความพยายามในการปรับ
โครงการสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาภาคการค้าระหว่างประเทศ มาสู่ภาคลงทุนและการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ และ
มาเป็นการเน้นภาคการบริโภคและการเร่งขยายการลงทุนออกไปสู่ต่างประเทศในปัจจุบัน
ประการสาคัญ จีนยังไม่เคยหยุดนิ่ง จีนผ่านร้อนผ่านหนาวของวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกและ
ภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและแฝงไว้ซึ่งความเปราะบางที่ดาเนินอยู่ในปัจจุบัน จีน
ยังคงจะพยายามนาเสนอและทดลองใช้นโยบายและมาตรการใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ต่อไปในอนาคต ...
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2556 ... นิ่งแต่สับสน
จีดีพี ... โตสูงกว่าเป้า สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (The National Bureau of Statistics) แถลงข่าว
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของจีนในปี 2556 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น
56.88 ล้านล้านหยวน (9.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) เติบโตร้อยละ 7.7 เมื่อ
เทียบกับของปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่าสุดในรอบ 14 ปี แต่การ
ขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2556 ดังกล่าวก็ยังสูงกว่าที่เป้าหมายที่รัฐบาลจีน
ตั้งไว้ที่ร้อยละ 7.5 อยู่เล็กน้อย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของจีนขยายตัวร้อยละ 7.7
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 7.8 ในช่วงไตรมาสที่
3 ซึ่งสะท้อนถึง การผ่อนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เริ่มดาเนินการ
นับแต่กลางปีที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับปริมาณสินเชื่อใหม่ที่ชะลอตัว
เงินเฟ้อ ... ต่าเกินคาด สานักงานสถิติแห่งชาติจีนยังได้เปิดเผยถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ว่าอยู่ที่
ร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ากว่าอัตราเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.5 อยู่ค่อนข้างมาก โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมอยู่ที่
ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งต่าสุดในรอบ 7 เดือน โดยลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3 ในเดือนตุลาคม และ
พฤศจิกายน ตามลาดับ ทั้งนี้ สาเหตุสาคัญเนื่องจากการชะลอตัวของดัชนีราคาอาหารในจีน ซึ่งมีสินค้าผักและเนื้อหมูเป็นหลัก
ที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนเหลือร้อยละ 4.1 ในเดือนธันวาคม
สัดส่วนอิทธิพลต่อการเติบโตของจีดีพี จาแนกตามภาคเศรษฐกิจ
ระหว่างปี 2555-2556
ปี 2555 ปี 2556
จีดีพี (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 51.93 56.88
การบริโภคสุทธิ (ร้อยละ) 51.8 50.0
การลงทุน (ร้อยละ) 50.4 54.4
การส่งออกสุทธิ (ร้อยละ) -2.2 -4.4
ทั้งนี้ จากการเก็บตัวอย่างข้อมูลจาก 36 เมืองขนาดใหญ่และ
ขนาดกลางของจีนพบว่า ราคาของสินค้าเกษตรและอาหารยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่
2
ราคาของเนื้อวัว แพะ และผักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 ร้อยละ 15.7 และร้อยละ 9.9 ตามลาดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าราคา
ของเนื้อหมูและน้ามันถั่วเหลืองลดลงร้อยละ -1.3 และร้อยละ -0.7 ตามลาดับ
การบริโภคภายในประเทศ ... โตแรง กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการค้าปลีกของจีนในปี
2556 อยู่ที่ 23.44 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อการเติบโตของจีดีพี
ร้อยละ 50 ลดลงจากร้อยละ 51.8 ในปี 2555
ขณะเดียวกัน การค้าปลีกออนไลน์ในจีนยังคงได้รับความนิยมอย่างมาก โดยยอดขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
31.9 เมื่อเทียบกับของปีก่อน และมีมูลค่าอยู่ที่ราว 1.7 ล้านล้านหยวน ทาให้จีนกลายเป็นตลาดการค้าอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุด
ในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในวันที่ 11 เดือน 11 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น “วันคนโสด” กลุ่มธุรกิจอาลิบาบา (Alibaba
Group) ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง tmall.com และ taobao.com ก็ทาสถิติยอดจาหน่ายเพียงวันเดียวถึง 35,000
ล้านหยวน ขณะที่การขายผ่านช่องทางจัดจาหน่ายสมัยใหม่ทางกายภาพก็เติบโตในอัตราที่สูงเช่นกัน โดยห้างสรรพสินค้ามี
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 23.6 และร้านเฉพาะทาง ร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา
การค้าระหว่างประเทศ ... เติบโตในอัตราที่ลดลง กระทรวงพาณิชย์ยังเปิดเผยถึง ตัวเลขการค้าระหว่าง
ประเทศของจีนในปี 2556 ว่ามีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.16 ล้าน
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมาก
ที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐฯ และขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบ
กับของปีก่อน แต่ก็ต่ากว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกาหนดไว้ร้อยละ 8 และพลาด
เป้าต่อเนื่องเป็นปีที่สองติดต่อกัน ทั้งนี้ การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 33.5 ของมูลค่าการค้า
ระหว่างประเทศของจีนในปี 2556 ขณะที่การค้ากับตลาดดาวรุ่งที่มี
ศักยภาพสูงอย่างอาเซียนและแอฟริกาใต้ขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 10.9 และร้อยละ 8.6 ตามลาดับ
ในเชิงภูมิภาค การค้าระหว่างประเทศของมณฑลในตอนกลางและตะวันตกขยายตัวในอัตราที่สูงถึงร้อยละ
13.6 และร้อยละ 17.7 ตามลาดับ ขณะที่การค้าฯ ของเขตเศรษฐกิจด้านซีกตะวันออกมีมูลค่า 3.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79 ของมูลค่าการค้าฯ โดยรวมของจีน และเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา
การส่งออกของจีนกลับมามีชีวิตชีวาในระดับหนึ่งอีกครั้ง โดยมี
มูลค่าถึง 2.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับของปีที่
ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมแรงงานฝีมือ/เทคโนโลยีเป็นพระเอกสาหรับการส่งออกของ
จีน แซงหน้าอุตสาหกรรมดั้งเดิม กล่าวคือ การส่งออกสินค้าเครื่องจักรกล
คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 57.3 ของมูลค่าการค้าฯ
โดยรวม (มูลค่า 1.27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทั้งนี้ สาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งเนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวของตลาดสหรัฐฯ และ
สหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน การส่งออกสุทธิ (สินค้าและบริการ) มีอิทธิพลต่อการเติบโตของจีดีพีลดลงร้อยละ -4.4 ซึ่งชะลอ
ตัวจากสัดส่วนร้อยละ -2.2 ในปี 2555
ขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 1.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับของปีก่อน โดย
การนาเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเติบโตดี โดยมีมูลค่า 0.23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.6 ขณะที่การ
นาเข้าน้ามันดิบ แร่เหล็ก และถ่านหินมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 280 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) 820 ล้านตัน (ร้อยละ 10.2)
และ 330 ล้านตัน (ร้อยละ 13.4)
อย่างไรก็ดี การพยายามผลักดันการส่งออกควบคู่ไปกับการควบคุมการเติบโตของการนาเข้าให้อยู่ในระดับ
ที่ต่ากว่า ทาให้ดุลการค้าของจีนในปี 2556 เกินดุลถึง 259,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบ
กับของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าราว 230,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า การเกินดุลการค้าในปี 2556 ดังกล่าวนับว่า
มีมูลค่าสูงที่สุดนับแต่ปี 2552 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก
3
การค้าบริการ ... แรงต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน การค้าบริการของจีนในปี 2556 ก็ฉายแววสดใสยิ่งขึ้น
กล่าวคือ มูลค่าการค้าภาคบริการยังคงเติบโตในอัตราที่สูงต่อไป โดยมี
มูลค่าทะลุ 520,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทาให้จีนเป็นประเทศที่ทา
ธุรกรรมการค้าบริการรายใหญ่อันดับที่ 3 ของโลก มีสัดส่วนคิดเป็นราวร้อย
ละ 6 ของมูลค่าธุรกรรมการค้าบริการโลก
นอกจากนี้ การค้าภาคบริการของจีนในปี 2556
ดังกล่าวยังขยายตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ขยายตัวใน
อัตรามากกว่าของการค้าสินค้า อย่างไรก็ดี ภาคบริการของจีนยังมีขีด
ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่น้อย โดยจีนยังมีมูลค่าการส่งออกบริการคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 9 ของมูลค่า
การส่งออกโดยรวม ซึ่งต่ามากเมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 20 ของโลก การค้าภาคบริการของจีนจึงยังคงขาดดุลการค้าอยู่
มาก
ขณะเดียวกัน มูลค่าการท่องเที่ยวและบริการขนส่ง ซึ่งถือเป็นสาขาบริการดั้งเดิมที่มีมูลค่าเพิ่มต่า (เมื่อ
เทียบกับสาขาที่มีมูลค่าเพิ่มสูงอย่างบริการการเงินและประกันภัย) มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าบริการโดยรวม
หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนของจีนจึงนับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของการค้าบริการ ทาให้การ
ลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในภาคบริการในปี 2556 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.2 สูงกว่าของการลงทุนฯ ภาคการผลิต
(ต่อเนื่องนับแต่ปี 2554) ซึ่งคาดว่าจะทาให้ภาคบริการจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับทิศทางการปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจของจีนที่ต้องการหันมาเน้นภาคบริการมากขึ้นในอนาคต
อนึ่ง ภาคการค้าบริการครอบคลุมถึงการขายและการจัดส่งสินค้าที่จับต้องไม่ได้ หรือบริการ ซึ่งได้แก่ การ
ท่องเที่ยว บริการการเงินและประกันภัย และบริการโทรคมนาคม ทั้งนี้ เมื่อปี 2544 ที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกนั้น
ภาคการค้าบริการของจีนมีมูลค่าอยู่เพียง 71,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การลงทุน ... เติบโตทั้งเข้าและออก ในปี 2556 การลงทุนมีบทบาทต่อ
การเติบโตของเศรษฐกิจีน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.4 ในปี 2555 เป็นร้อยละ
54.4 ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า สาเหตุสาคัญเนื่องจากการเพิ่มการลงทุนของภาครัฐ และ
การขยายตัวของหนี้สินภาคเอกชน ซึ่งมิได้สร้างมูลค่าเพิ่มเท่าที่ควรและเพิ่มความเสี่ยงต่อ
ภาคเศรษฐกิจโดยรวม และนี่อาจเป็นสาเหตุว่าทาไมรัฐบาลจีนปรับลดระดับสินเชื่อใหม่
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน การลงทุนของต่างชาติในจีนและของจีนในต่างประเทศยังคงมีบทบาทสาคัญในเวทีโลก โดย
เติบโตในอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกทั้งสิ้น กล่าวคือ การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในจีน (FDI) ยังหลั่งไหลเข้าจีน
โดยมีมูลค่า 117,590 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับ
ของปีที่ผ่านมา โดยการลงทุนฯ จากสหภาพยุโรป (กว่า 7,200 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ) และจากสหรัฐฯ (กว่า 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ฟื้นตัวอย่างมี
เสถียรภาพ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และร้อยละ 7.1 ตามลาดับ
จุดแข็งสาคัญของจีนที่มีตลาดภายในประเทศที่ใหญ่และ
เติบโต แรงงานฝีมือจานวนมาก และโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความ
สะดวกที่ดีทาให้จีนยังคงได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยจีน
สามารถยึดตาแหน่งประเทศที่รองรับการลงทุนจากต่างประเทศอันดับที่ 2 ของโลกได้อย่างเหนียวแน่น
ในเชิงภูมิศาสตร์ การลงทุนฯ ในด้านซีกตะวันออกยังคงได้รับความสนใจจากต่างชาติอย่างมาก โดยมี
สัดส่วนถึงร้อยละ 82.4 ของการลงทุนฯ โดยรวม มูลค่าราว 96,880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับ
ของปีที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนฯ ในพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกของจีนนับว่าขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่
4
เล็กน้อย โดยการลงทุนที่เข้าไปยังพื้นที่ทั้งสองมีมูลค่า 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) และมูลค่า 10,610
ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7) ตามลาดับ
ขณะที่การลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศ (ODI) ในปี 2556 ก็ยังคงพุ่งทะยานในอัตราที่สูง โดยมี
มูลค่า 90,170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตในอัตราร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่ออกไป
ลงทุนในต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และหากมองย้อนกลับไปในปี 2550 ก็พบว่า การลงทุนฯ มีมูลค่าเพียง
22,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น หรือเท่ากับขยายตัวกว่า 4 เท่าตัวในช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมา
การลงทุนฯ ดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในฮ่องกง อาเซียน สหภาพยุโรป
สหรัฐฯ รัสเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนรวมอยู่เกือบ 3 ใน 4 ของการลงทุนฯ โดยรวมของ
จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับของปีก่อน นอกจากนี้ การลงทุนฯ ยังเป็นส่วนของ
รัฐวิสาหกิจราวร้อยละ 36.6 ของทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากของปีก่อน โดยมาจาก
3 มณฑลหลักของจีนได้แก่ กวางตุ้ง (Guangdong) ซานตง (Shandong) และเจียงซู
(Jiangsu)
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สาคัญของจีนในปี 2556
ค่าเศรษฐกิจสาคัญ มูลค่า อัตรา (ร้อยละ)
จีดีพี 56.88 ล้านล้านหยวน 7.7
เงินเฟ้อ - 2.6
การบริโภคภายในประเทศ 23.44 ล้านล้านหยวน 13.1
การค้าระหว่างประเทศ 4.16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.6
การส่งออก 2.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.9
การนาเข้า 1.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.3
ดุลการค้า 0.26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 12.8
การค้าบริการ 0.52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 11.0
การลงทุนของต่างประเทศในจีน 117,590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 5.3
การลงทุนของจีนในต่างประเทศ 90,170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 16.8
นอกจากการขยายตัวของการลงทุนฯ ดังกล่าวจะช่วยให้จีน “สยายปีก” ออกไปยังต่างประเทศได้
กว้างไกลยิ่งขึ้นแล้ว การเติบโตดังกล่าวยังช่วยลดแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าของเงินหยวนอันเนื่องจากการเกินดุลการค้าจานวน
มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2556 ขณะเดียวกัน การย้ายฐานการผลิตของจีนไปยังต่างประเทศยังช่วยบรรเทาการ
ตรวจสอบทางการค้าที่มีต่อบริษัทและสินค้าจีน ซึ่งจีนถูกตรวจสอบเรื่องการทุ่มตลาดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 18 และการอุดหนุน
เป็นปีที่ 8 เข้าให้แล้ว
หลายฝ่ายจึงคาดว่า หากการขยายตัวของ ODI ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดาเนินไปในทิศทางและ
โมเมนตัมที่รัฐบาลจีนกาหนดไว้ดารงอยู่ต่อไป ก็จะส่งผลให้การลงทุนทั้งขาเข้าและออกของจีนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันในช่วง
2-3 ปีข้างหน้านี้
แนวโน้มปี 2557 ... เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
การคาดการณ์ปี 2557 ... อย่างน้อยร้อยละ 7 การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557
ยังมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างตั้งแต่เป้าหมายการขยายตัวร้อยละ 7 ของรัฐบาลจีนไปจนถึงการเติบโตร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับ
ของปีที่ผ่านมา เราลองมาดูกันว่า แต่ละค่ายคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 พร้อมเหตุผลและข้อสังเกต
อย่างไรกันบ้าง ...
5
รัฐบาลจีนยังคงประกาศเดินหน้าปฏิรูประบบ เศรษฐกิจและสังคมในเชิงลึกมากขึ้น โดยรัฐบาลกลางของจีน
มุ่งเน้นการเติบโตในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ โดยให้คามั่นที่จะรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดาเนินนโยบาย
การเงินอย่างระมัดระวัง เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างการเงินและการคลัง และผลักดัน
การพัฒนาชุมชนเมือง เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งนี้
โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2557 ไว้ที่ร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับ
ของปีที่ผ่านมา
ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ (Standard Charter Bank)
ประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ คาดคะเนว่า การปล่อยสินเชื่อ
ใหม่จะมีมูลค่า 8.5 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา
ลดลงจากอัตราการปล่อยสินเชื่อใหม่ของปี 2556 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับของปีก่อน
ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International
Monetary Funds) สานักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) บริษัทที่ปรึกษาพีดับบลิวซี
(PWC) และเมอร์ริลล์ ลินช์ (Merrill Lynch) รวมทั้งหลักทรัพย์เชินยินเหอห
วังกั๋ว (Shenyin and Wanguo Securities) แห่งนครเซี่ยงไฮ้ต่างพร้อมใจกัน
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไว้ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 7.5 โดย
เล็งเห็นถึงปัจจัยเชิงบวกสาคัญได้แก่ การฟื้นตัวของการส่งออก และข้อควรระวัง
เกี่ยวกับความเสี่ยงอันเนื่องจากปัญหาหนี้สินในระบบเศรษฐกิจของจีน
นอกจากนี้ เอกสารที่ตีพิมพ์โดยสถาบันด้านเศรษฐอุตสาหกรรมภายใต้สถาบันด้านสังคมวิทยาแห่งชาติจีน
(Chinese Academy of Social Sciences) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนาของจีน ก็สรุปการ
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวบรวมจาก “ถังความคิด” (Think Tank) ใบใหญ่ของรัฐบาลจีนว่าอยู่ที่ร้อยละ 7.5
เช่นกัน โดยกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า ปัจจัยความต้องการในต่างประเทศจะดีขึ้นจากปีก่อนควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การผลักดันโครงการขยายชุมชนเมืองของจีนก็น่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนก่อสร้างโครงสร้าง
พื้นฐานใหม่ ๆ
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินฯ คาดการณ์การเติบโตของจีนในปี
2557 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เนื่องจากตระหนักถึงความพยายามของรัฐบาลจีนในการควบคุม
เงินเฟ้อและปัญหาฟองสบู่จากภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลจากสัญญาณการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจโลกและระดับเงินเฟ้อในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทาให้ไอเอ็มเอฟได้ปรับเพิ่มตัวการ
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเป็นร้อยละ 7.5
อัตราคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2557
องค์กร อัตรา (ร้อยละ)
รัฐบาลจีน 7.0
ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ 7.4
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ 7.5
สานักข่าวรอยเตอร์ 7.5
บริษัทที่ปรึกษาพีดับบลิวซี 7.5
บริษัทที่ปรึกษาเมอร์ริลลินช์ 7.5
หลักทรัพย์เชินยินเหอหวังกั๋ว 7.5
ถังความคิดของจีน 7.5
6
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย 7.7
ธนาคารโลก 7.7
หลักทรัพย์เอเวอร์ไบ้รท์ซิเคียวริตี้ส์ 7.9
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank) ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเล็กน้อยจาก
ร้อยละ 7.6 เป็นร้อยละ 7.7 เนื่องจากพบว่ารัฐบาลจีนกาลังขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการสาคัญ การ
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนทางกลับการประมาณการของธนาคารโลก (World
Bank) ที่ปรับลดการการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนลงจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 7.7 ด้วยเหตุผลที่ว่า เศรษฐกิจใหญ่อันดับ
ที่สองของโลกอย่างจีนอยู่ระหว่างการปรับลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
โดยหันมามุ่งเน้นภาคการบริโภคภายในประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันหลักทรัพย์เอเวอร์ไบ้รท์ซิเคียวริตี้ส์ (Everbright Securities) มองโลกในแง่ดีและคาดการณ์
การเติบโตของจีดีพีไว้สูงกว่าของปี 2556 ที่ร้อยละ 7.9 เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางความพร้อม
ของรัฐบาลจีนในการดาเนินนโยบายสนับสนุนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน
แนวโน้มตัวชี้เศรษฐกิจอื่น ... ดูดี แต่แฝงแรงกดดัน
นอกเหนือจากตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557
ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 7-7.9 ดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจสาหรับประเทศที่
มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกและมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ใน
ระดับกลางในปัจจุบันแล้ว รัฐบาลจีนยังคาดการณ์ว่าการบริโภคภายในประเทศใน
ปี 2557 จะเติบโตร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับของปี 2556 โดยการค้าออนไลน์จะ
เป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเบนแอนด์
โค (Bain & Co) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนาของโลกคาดการณ์ว่า จีนจะมีมูลค่าการค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นถึง 3.3 ล้านล้านหยวน
ภายในปี 2558 ขณะที่ในช่วงแรกมีกระแสข่าวว่า การส่งออกและนาเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 8 ตามลาดับ
เนื่องจากสภาพตลาดโลกที่ฟื้นตัวและการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนั่นหมายความว่า การเกินดุลการค้าของ
จีนจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในปีนี้ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมามีข่าววงในหลุดออกมาว่า รัฐบาลจีนปรับลดเป้าหมายการส่งออกเหลือ
เพียงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนยังประสบความสาเร็จในการดาเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สาคัญให้เป็นไปใน
ทิศทางที่วางแผนไว้ อาทิ การผลักดันการลงทุนของจีนออกสู่ต่างประเทศตามนโยบาย “บุกโลก” การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่
ตอนกลางและตะวันตกของจีน และการควบคุมระดับเงินเฟ้อและปัญหาฟองสบู่โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556 ให้ลดต่าลง
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลจีนสามารถใช้จังหวะโอกาสนี้ปล่อย
สินเชื่อระลอกใหม่ในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ต้องกังวลใจกับปัญหาเงินเฟ้อในช่วงต้นปี
2557 มากนัก อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2557 ก็ยังคงต้องเผชิญ
กับความท้าทายและและข้อกังวลใจอยู่หลายประการ
ในประการแรก โดยที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.5 ซึ่งต่ากว่าของปีก่อนเล็กน้อย หากเกิดขึ้นจริงก็
เท่ากับว่าจีดีพีของจีนจะเติบโตในอัตราที่ลดลงเป็นปีที่ 5 ต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นการ
ตอกย้าถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างชัดเจน และอาจส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ต่อความมั่นใจของผู้บริโภคจีนและ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในอนาคต ผมจึงเห็นว่า รัฐบาลจีนควรจะต้องพยายามกระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้
ไม่ให้ต่ากว่าของปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาโมเมนตัมและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมเอาไว้ ซึ่งจะทาให้เศรษฐกิจของจีน ณ
สิ้นปี 2557 มีขนาดราว 61.3 ล้านล้านหยวน
7
ประการที่สอง เศรษฐกิจของจีนในปี 2557 กาลังเผชิญกับความท้าทายและแรงกดดันหลายด้านจนนัก
เศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไม่มั่นใจเท่าที่ควร โดยมีปัจจัยเชิงลบที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีหลังยังอาจเกี่ยวพันไปถึงข้อขัดแย้งทางการเมือง
ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอวันประทุ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนปี 2553-2557
ปี อัตรา (ร้อยละ)
2553 10.4
2554 9.2
2555 7.8
2556 7.7
2557 (คาดการณ์) 7.5
ประการถัดมา การเพิ่มค่าของเงินหยวน ซึ่งทะลุต่ากว่า 6
หยวนต่อเหรียญสหรัฐฯ หลายครั้งนับแต่ต้นปี 2557 ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่อเค้า
ว่าจะกดดันรัฐบาลและกิจการของจีน โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งจะมีขีด
ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ลดลง และอาจกระทบเชิงลบต่อการลงทุน
โดยตรงของต่างชาติในจีน นอกจากนี้ กิจการของจีนยังจะต้องเผชิญกับปัญหา
กาลังการผลิตส่วนเกินที่ขยายวงจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก
อลูมิเนียม กระจก ปูนซิเมนต์ ก่อสร้าง และต่อเรือ ไปสู่อุตสาหกรรมดาวรุ่งพุ่ง
แรง อาทิ เซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลม และคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของ
จีนในระยะยาว
ประการที่สี่ ขณะที่เราสังเกตเห็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการบริโภคภายในประเทศและการ
กระจายความเจริญสู่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีน แต่หากเราพิจารณาจากภาค
เศรษฐกิจที่มีผลต่อการเติบโตของจีพีดีจีนในปี 2556 ก็พบว่า ภาคการลงทุนกลับมี
บทบาทมากขึ้นสวนทาง กับภาคการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบาย
ของรัฐบาลจีนที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาภาคการลงทุนไปสู่ภาค
การบริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการกระจาย
รายได้ที่ยังคงกระจุกตัวทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ (ด้านซีกตะวันออก) ระดับความเจริญ (ใน
เมืองเอกและเมืองรองระดับที่ 2) และกลุ่มประชากร/สาขาอาชีพ (ในเมือง/
ภาคอุตสาหกรรมและบริการ)
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังออกโรงมาเตือนว่า จีนอาจต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอัตราเงิน เฟ้อที่จะเพิ่มขึ้น
หลังจากช่วงตรุษจีน ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน
และสภาพอากาศที่แห้งแล้ง โดยในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือ อาทิ กรุงปักกิ่ง ไม่มีหรือ
มีหิมะตกน้อยมากที่สุดในรอบหลายสิบปี ซึ่งจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
และปริมาณน้าที่ต่ากว่าปกติ อันจะส่งผลกระทบให้ผลิตผลทางการเกษตรของจีนลดลง
ในปีนี้
ประการสุดท้าย ท่ามกลางการขยายตัวของชุมชนเมืองที่พัฒนาไป
อย่างรวดเร็วในจีนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลจีน ก็กาลังนาไปสู่ปัญหา
8
ความไม่สมดุลของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวกทั้งในเมืองเอกและเมืองรองในหลายระดับ แถมปัญหามลพิษใน
หลายเมืองใหญ่ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลจีนไม่อาจเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างที่
ตั้งใจไว้ในอนาคต
หลังจากปัญหาการเมืองภายในประเทศของจีนเริ่มคลายตัว ดูเหมือนผู้บริหารระดับสูงชุดใหม่ของจีนจะ
ยังคงมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมรอให้แก้ไขอยู่อีกเต็มมือ ...
-------------------------------------------------
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร
อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์)
สานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง
23 มกราคม 2557

Mais conteúdo relacionado

Mais de Nopporn Thepsithar

พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4Nopporn Thepsithar
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3Nopporn Thepsithar
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2Nopporn Thepsithar
 
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"Nopporn Thepsithar
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธNopporn Thepsithar
 
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AECNopporn Thepsithar
 
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชนNopporn Thepsithar
 
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556Nopporn Thepsithar
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance IndexNopporn Thepsithar
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsNopporn Thepsithar
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Nopporn Thepsithar
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะNopporn Thepsithar
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน Nopporn Thepsithar
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRINopporn Thepsithar
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06Nopporn Thepsithar
 

Mais de Nopporn Thepsithar (20)

พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
 
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
 
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
 
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
 
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
 
2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
 

2014-01-23 เศรษฐกิจจีนปี 57 โดย ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

  • 1. เศรษฐกิจจีนในปี 2557 ... การเติบโตเชิงคุณภาพ ------------------------------------------------- ในช่วงหลายทศวรรตที่ผ่านมา จีนนับเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าสนใจและพิศวง ไม่ ว่าจะเป็นการเติบโตในอัตราที่สูงต่อเนื่องหลายปี หรือแม้กระทั่งการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพภายใต้ความพยายามในการปรับ โครงการสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาภาคการค้าระหว่างประเทศ มาสู่ภาคลงทุนและการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ และ มาเป็นการเน้นภาคการบริโภคและการเร่งขยายการลงทุนออกไปสู่ต่างประเทศในปัจจุบัน ประการสาคัญ จีนยังไม่เคยหยุดนิ่ง จีนผ่านร้อนผ่านหนาวของวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกและ ภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและแฝงไว้ซึ่งความเปราะบางที่ดาเนินอยู่ในปัจจุบัน จีน ยังคงจะพยายามนาเสนอและทดลองใช้นโยบายและมาตรการใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ต่อไปในอนาคต ... ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2556 ... นิ่งแต่สับสน จีดีพี ... โตสูงกว่าเป้า สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (The National Bureau of Statistics) แถลงข่าว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของจีนในปี 2556 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 56.88 ล้านล้านหยวน (9.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) เติบโตร้อยละ 7.7 เมื่อ เทียบกับของปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่าสุดในรอบ 14 ปี แต่การ ขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2556 ดังกล่าวก็ยังสูงกว่าที่เป้าหมายที่รัฐบาลจีน ตั้งไว้ที่ร้อยละ 7.5 อยู่เล็กน้อย ทั้งนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของจีนขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 7.8 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งสะท้อนถึง การผ่อนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เริ่มดาเนินการ นับแต่กลางปีที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับปริมาณสินเชื่อใหม่ที่ชะลอตัว เงินเฟ้อ ... ต่าเกินคาด สานักงานสถิติแห่งชาติจีนยังได้เปิดเผยถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ว่าอยู่ที่ ร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ากว่าอัตราเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.5 อยู่ค่อนข้างมาก โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมอยู่ที่ ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งต่าสุดในรอบ 7 เดือน โดยลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3 ในเดือนตุลาคม และ พฤศจิกายน ตามลาดับ ทั้งนี้ สาเหตุสาคัญเนื่องจากการชะลอตัวของดัชนีราคาอาหารในจีน ซึ่งมีสินค้าผักและเนื้อหมูเป็นหลัก ที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนเหลือร้อยละ 4.1 ในเดือนธันวาคม สัดส่วนอิทธิพลต่อการเติบโตของจีดีพี จาแนกตามภาคเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2555-2556 ปี 2555 ปี 2556 จีดีพี (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 51.93 56.88 การบริโภคสุทธิ (ร้อยละ) 51.8 50.0 การลงทุน (ร้อยละ) 50.4 54.4 การส่งออกสุทธิ (ร้อยละ) -2.2 -4.4 ทั้งนี้ จากการเก็บตัวอย่างข้อมูลจาก 36 เมืองขนาดใหญ่และ ขนาดกลางของจีนพบว่า ราคาของสินค้าเกษตรและอาหารยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่
  • 2. 2 ราคาของเนื้อวัว แพะ และผักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 ร้อยละ 15.7 และร้อยละ 9.9 ตามลาดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าราคา ของเนื้อหมูและน้ามันถั่วเหลืองลดลงร้อยละ -1.3 และร้อยละ -0.7 ตามลาดับ การบริโภคภายในประเทศ ... โตแรง กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการค้าปลีกของจีนในปี 2556 อยู่ที่ 23.44 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อการเติบโตของจีดีพี ร้อยละ 50 ลดลงจากร้อยละ 51.8 ในปี 2555 ขณะเดียวกัน การค้าปลีกออนไลน์ในจีนยังคงได้รับความนิยมอย่างมาก โดยยอดขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับของปีก่อน และมีมูลค่าอยู่ที่ราว 1.7 ล้านล้านหยวน ทาให้จีนกลายเป็นตลาดการค้าอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุด ในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในวันที่ 11 เดือน 11 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น “วันคนโสด” กลุ่มธุรกิจอาลิบาบา (Alibaba Group) ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง tmall.com และ taobao.com ก็ทาสถิติยอดจาหน่ายเพียงวันเดียวถึง 35,000 ล้านหยวน ขณะที่การขายผ่านช่องทางจัดจาหน่ายสมัยใหม่ทางกายภาพก็เติบโตในอัตราที่สูงเช่นกัน โดยห้างสรรพสินค้ามี มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 23.6 และร้านเฉพาะทาง ร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างประเทศ ... เติบโตในอัตราที่ลดลง กระทรวงพาณิชย์ยังเปิดเผยถึง ตัวเลขการค้าระหว่าง ประเทศของจีนในปี 2556 ว่ามีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.16 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมาก ที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐฯ และขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบ กับของปีก่อน แต่ก็ต่ากว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกาหนดไว้ร้อยละ 8 และพลาด เป้าต่อเนื่องเป็นปีที่สองติดต่อกัน ทั้งนี้ การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 33.5 ของมูลค่าการค้า ระหว่างประเทศของจีนในปี 2556 ขณะที่การค้ากับตลาดดาวรุ่งที่มี ศักยภาพสูงอย่างอาเซียนและแอฟริกาใต้ขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 10.9 และร้อยละ 8.6 ตามลาดับ ในเชิงภูมิภาค การค้าระหว่างประเทศของมณฑลในตอนกลางและตะวันตกขยายตัวในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 13.6 และร้อยละ 17.7 ตามลาดับ ขณะที่การค้าฯ ของเขตเศรษฐกิจด้านซีกตะวันออกมีมูลค่า 3.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79 ของมูลค่าการค้าฯ โดยรวมของจีน และเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา การส่งออกของจีนกลับมามีชีวิตชีวาในระดับหนึ่งอีกครั้ง โดยมี มูลค่าถึง 2.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับของปีที่ ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมแรงงานฝีมือ/เทคโนโลยีเป็นพระเอกสาหรับการส่งออกของ จีน แซงหน้าอุตสาหกรรมดั้งเดิม กล่าวคือ การส่งออกสินค้าเครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 57.3 ของมูลค่าการค้าฯ โดยรวม (มูลค่า 1.27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทั้งนี้ สาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งเนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวของตลาดสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน การส่งออกสุทธิ (สินค้าและบริการ) มีอิทธิพลต่อการเติบโตของจีดีพีลดลงร้อยละ -4.4 ซึ่งชะลอ ตัวจากสัดส่วนร้อยละ -2.2 ในปี 2555 ขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 1.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับของปีก่อน โดย การนาเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเติบโตดี โดยมีมูลค่า 0.23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.6 ขณะที่การ นาเข้าน้ามันดิบ แร่เหล็ก และถ่านหินมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 280 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) 820 ล้านตัน (ร้อยละ 10.2) และ 330 ล้านตัน (ร้อยละ 13.4) อย่างไรก็ดี การพยายามผลักดันการส่งออกควบคู่ไปกับการควบคุมการเติบโตของการนาเข้าให้อยู่ในระดับ ที่ต่ากว่า ทาให้ดุลการค้าของจีนในปี 2556 เกินดุลถึง 259,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบ กับของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าราว 230,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า การเกินดุลการค้าในปี 2556 ดังกล่าวนับว่า มีมูลค่าสูงที่สุดนับแต่ปี 2552 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก
  • 3. 3 การค้าบริการ ... แรงต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน การค้าบริการของจีนในปี 2556 ก็ฉายแววสดใสยิ่งขึ้น กล่าวคือ มูลค่าการค้าภาคบริการยังคงเติบโตในอัตราที่สูงต่อไป โดยมี มูลค่าทะลุ 520,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทาให้จีนเป็นประเทศที่ทา ธุรกรรมการค้าบริการรายใหญ่อันดับที่ 3 ของโลก มีสัดส่วนคิดเป็นราวร้อย ละ 6 ของมูลค่าธุรกรรมการค้าบริการโลก นอกจากนี้ การค้าภาคบริการของจีนในปี 2556 ดังกล่าวยังขยายตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ขยายตัวใน อัตรามากกว่าของการค้าสินค้า อย่างไรก็ดี ภาคบริการของจีนยังมีขีด ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่น้อย โดยจีนยังมีมูลค่าการส่งออกบริการคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 9 ของมูลค่า การส่งออกโดยรวม ซึ่งต่ามากเมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 20 ของโลก การค้าภาคบริการของจีนจึงยังคงขาดดุลการค้าอยู่ มาก ขณะเดียวกัน มูลค่าการท่องเที่ยวและบริการขนส่ง ซึ่งถือเป็นสาขาบริการดั้งเดิมที่มีมูลค่าเพิ่มต่า (เมื่อ เทียบกับสาขาที่มีมูลค่าเพิ่มสูงอย่างบริการการเงินและประกันภัย) มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าบริการโดยรวม หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนของจีนจึงนับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของการค้าบริการ ทาให้การ ลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในภาคบริการในปี 2556 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.2 สูงกว่าของการลงทุนฯ ภาคการผลิต (ต่อเนื่องนับแต่ปี 2554) ซึ่งคาดว่าจะทาให้ภาคบริการจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับทิศทางการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจของจีนที่ต้องการหันมาเน้นภาคบริการมากขึ้นในอนาคต อนึ่ง ภาคการค้าบริการครอบคลุมถึงการขายและการจัดส่งสินค้าที่จับต้องไม่ได้ หรือบริการ ซึ่งได้แก่ การ ท่องเที่ยว บริการการเงินและประกันภัย และบริการโทรคมนาคม ทั้งนี้ เมื่อปี 2544 ที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกนั้น ภาคการค้าบริการของจีนมีมูลค่าอยู่เพียง 71,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุน ... เติบโตทั้งเข้าและออก ในปี 2556 การลงทุนมีบทบาทต่อ การเติบโตของเศรษฐกิจีน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.4 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 54.4 ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า สาเหตุสาคัญเนื่องจากการเพิ่มการลงทุนของภาครัฐ และ การขยายตัวของหนี้สินภาคเอกชน ซึ่งมิได้สร้างมูลค่าเพิ่มเท่าที่ควรและเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาคเศรษฐกิจโดยรวม และนี่อาจเป็นสาเหตุว่าทาไมรัฐบาลจีนปรับลดระดับสินเชื่อใหม่ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การลงทุนของต่างชาติในจีนและของจีนในต่างประเทศยังคงมีบทบาทสาคัญในเวทีโลก โดย เติบโตในอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกทั้งสิ้น กล่าวคือ การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในจีน (FDI) ยังหลั่งไหลเข้าจีน โดยมีมูลค่า 117,590 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับ ของปีที่ผ่านมา โดยการลงทุนฯ จากสหภาพยุโรป (กว่า 7,200 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ) และจากสหรัฐฯ (กว่า 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ฟื้นตัวอย่างมี เสถียรภาพ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และร้อยละ 7.1 ตามลาดับ จุดแข็งสาคัญของจีนที่มีตลาดภายในประเทศที่ใหญ่และ เติบโต แรงงานฝีมือจานวนมาก และโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความ สะดวกที่ดีทาให้จีนยังคงได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยจีน สามารถยึดตาแหน่งประเทศที่รองรับการลงทุนจากต่างประเทศอันดับที่ 2 ของโลกได้อย่างเหนียวแน่น ในเชิงภูมิศาสตร์ การลงทุนฯ ในด้านซีกตะวันออกยังคงได้รับความสนใจจากต่างชาติอย่างมาก โดยมี สัดส่วนถึงร้อยละ 82.4 ของการลงทุนฯ โดยรวม มูลค่าราว 96,880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับ ของปีที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนฯ ในพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกของจีนนับว่าขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่
  • 4. 4 เล็กน้อย โดยการลงทุนที่เข้าไปยังพื้นที่ทั้งสองมีมูลค่า 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) และมูลค่า 10,610 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7) ตามลาดับ ขณะที่การลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศ (ODI) ในปี 2556 ก็ยังคงพุ่งทะยานในอัตราที่สูง โดยมี มูลค่า 90,170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตในอัตราร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่ออกไป ลงทุนในต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และหากมองย้อนกลับไปในปี 2550 ก็พบว่า การลงทุนฯ มีมูลค่าเพียง 22,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น หรือเท่ากับขยายตัวกว่า 4 เท่าตัวในช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมา การลงทุนฯ ดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในฮ่องกง อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐฯ รัสเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนรวมอยู่เกือบ 3 ใน 4 ของการลงทุนฯ โดยรวมของ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับของปีก่อน นอกจากนี้ การลงทุนฯ ยังเป็นส่วนของ รัฐวิสาหกิจราวร้อยละ 36.6 ของทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากของปีก่อน โดยมาจาก 3 มณฑลหลักของจีนได้แก่ กวางตุ้ง (Guangdong) ซานตง (Shandong) และเจียงซู (Jiangsu) ตัวเลขเศรษฐกิจที่สาคัญของจีนในปี 2556 ค่าเศรษฐกิจสาคัญ มูลค่า อัตรา (ร้อยละ) จีดีพี 56.88 ล้านล้านหยวน 7.7 เงินเฟ้อ - 2.6 การบริโภคภายในประเทศ 23.44 ล้านล้านหยวน 13.1 การค้าระหว่างประเทศ 4.16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.6 การส่งออก 2.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.9 การนาเข้า 1.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 7.3 ดุลการค้า 0.26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 12.8 การค้าบริการ 0.52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 11.0 การลงทุนของต่างประเทศในจีน 117,590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 5.3 การลงทุนของจีนในต่างประเทศ 90,170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 16.8 นอกจากการขยายตัวของการลงทุนฯ ดังกล่าวจะช่วยให้จีน “สยายปีก” ออกไปยังต่างประเทศได้ กว้างไกลยิ่งขึ้นแล้ว การเติบโตดังกล่าวยังช่วยลดแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าของเงินหยวนอันเนื่องจากการเกินดุลการค้าจานวน มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2556 ขณะเดียวกัน การย้ายฐานการผลิตของจีนไปยังต่างประเทศยังช่วยบรรเทาการ ตรวจสอบทางการค้าที่มีต่อบริษัทและสินค้าจีน ซึ่งจีนถูกตรวจสอบเรื่องการทุ่มตลาดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 18 และการอุดหนุน เป็นปีที่ 8 เข้าให้แล้ว หลายฝ่ายจึงคาดว่า หากการขยายตัวของ ODI ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดาเนินไปในทิศทางและ โมเมนตัมที่รัฐบาลจีนกาหนดไว้ดารงอยู่ต่อไป ก็จะส่งผลให้การลงทุนทั้งขาเข้าและออกของจีนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ แนวโน้มปี 2557 ... เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ การคาดการณ์ปี 2557 ... อย่างน้อยร้อยละ 7 การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 ยังมีขอบข่ายค่อนข้างกว้างตั้งแต่เป้าหมายการขยายตัวร้อยละ 7 ของรัฐบาลจีนไปจนถึงการเติบโตร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับ ของปีที่ผ่านมา เราลองมาดูกันว่า แต่ละค่ายคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 พร้อมเหตุผลและข้อสังเกต อย่างไรกันบ้าง ...
  • 5. 5 รัฐบาลจีนยังคงประกาศเดินหน้าปฏิรูประบบ เศรษฐกิจและสังคมในเชิงลึกมากขึ้น โดยรัฐบาลกลางของจีน มุ่งเน้นการเติบโตในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ โดยให้คามั่นที่จะรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดาเนินนโยบาย การเงินอย่างระมัดระวัง เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างการเงินและการคลัง และผลักดัน การพัฒนาชุมชนเมือง เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2557 ไว้ที่ร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับ ของปีที่ผ่านมา ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ (Standard Charter Bank) ประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ คาดคะเนว่า การปล่อยสินเชื่อ ใหม่จะมีมูลค่า 8.5 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ลดลงจากอัตราการปล่อยสินเชื่อใหม่ของปี 2556 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Funds) สานักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) บริษัทที่ปรึกษาพีดับบลิวซี (PWC) และเมอร์ริลล์ ลินช์ (Merrill Lynch) รวมทั้งหลักทรัพย์เชินยินเหอห วังกั๋ว (Shenyin and Wanguo Securities) แห่งนครเซี่ยงไฮ้ต่างพร้อมใจกัน คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไว้ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 7.5 โดย เล็งเห็นถึงปัจจัยเชิงบวกสาคัญได้แก่ การฟื้นตัวของการส่งออก และข้อควรระวัง เกี่ยวกับความเสี่ยงอันเนื่องจากปัญหาหนี้สินในระบบเศรษฐกิจของจีน นอกจากนี้ เอกสารที่ตีพิมพ์โดยสถาบันด้านเศรษฐอุตสาหกรรมภายใต้สถาบันด้านสังคมวิทยาแห่งชาติจีน (Chinese Academy of Social Sciences) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนาของจีน ก็สรุปการ คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวบรวมจาก “ถังความคิด” (Think Tank) ใบใหญ่ของรัฐบาลจีนว่าอยู่ที่ร้อยละ 7.5 เช่นกัน โดยกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า ปัจจัยความต้องการในต่างประเทศจะดีขึ้นจากปีก่อนควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การผลักดันโครงการขยายชุมชนเมืองของจีนก็น่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนก่อสร้างโครงสร้าง พื้นฐานใหม่ ๆ อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินฯ คาดการณ์การเติบโตของจีนในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เนื่องจากตระหนักถึงความพยายามของรัฐบาลจีนในการควบคุม เงินเฟ้อและปัญหาฟองสบู่จากภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลจากสัญญาณการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลกและระดับเงินเฟ้อในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทาให้ไอเอ็มเอฟได้ปรับเพิ่มตัวการ คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเป็นร้อยละ 7.5 อัตราคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2557 องค์กร อัตรา (ร้อยละ) รัฐบาลจีน 7.0 ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์ตเตอร์ 7.4 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ 7.5 สานักข่าวรอยเตอร์ 7.5 บริษัทที่ปรึกษาพีดับบลิวซี 7.5 บริษัทที่ปรึกษาเมอร์ริลลินช์ 7.5 หลักทรัพย์เชินยินเหอหวังกั๋ว 7.5 ถังความคิดของจีน 7.5
  • 6. 6 ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย 7.7 ธนาคารโลก 7.7 หลักทรัพย์เอเวอร์ไบ้รท์ซิเคียวริตี้ส์ 7.9 ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank) ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเล็กน้อยจาก ร้อยละ 7.6 เป็นร้อยละ 7.7 เนื่องจากพบว่ารัฐบาลจีนกาลังขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการสาคัญ การ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนทางกลับการประมาณการของธนาคารโลก (World Bank) ที่ปรับลดการการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนลงจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 7.7 ด้วยเหตุผลที่ว่า เศรษฐกิจใหญ่อันดับ ที่สองของโลกอย่างจีนอยู่ระหว่างการปรับลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน โดยหันมามุ่งเน้นภาคการบริโภคภายในประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันหลักทรัพย์เอเวอร์ไบ้รท์ซิเคียวริตี้ส์ (Everbright Securities) มองโลกในแง่ดีและคาดการณ์ การเติบโตของจีดีพีไว้สูงกว่าของปี 2556 ที่ร้อยละ 7.9 เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางความพร้อม ของรัฐบาลจีนในการดาเนินนโยบายสนับสนุนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน แนวโน้มตัวชี้เศรษฐกิจอื่น ... ดูดี แต่แฝงแรงกดดัน นอกเหนือจากตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 7-7.9 ดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจสาหรับประเทศที่ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกและมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ใน ระดับกลางในปัจจุบันแล้ว รัฐบาลจีนยังคาดการณ์ว่าการบริโภคภายในประเทศใน ปี 2557 จะเติบโตร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับของปี 2556 โดยการค้าออนไลน์จะ เป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเบนแอนด์ โค (Bain & Co) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนาของโลกคาดการณ์ว่า จีนจะมีมูลค่าการค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นถึง 3.3 ล้านล้านหยวน ภายในปี 2558 ขณะที่ในช่วงแรกมีกระแสข่าวว่า การส่งออกและนาเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 8 ตามลาดับ เนื่องจากสภาพตลาดโลกที่ฟื้นตัวและการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนั่นหมายความว่า การเกินดุลการค้าของ จีนจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในปีนี้ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมามีข่าววงในหลุดออกมาว่า รัฐบาลจีนปรับลดเป้าหมายการส่งออกเหลือ เพียงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนยังประสบความสาเร็จในการดาเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สาคัญให้เป็นไปใน ทิศทางที่วางแผนไว้ อาทิ การผลักดันการลงทุนของจีนออกสู่ต่างประเทศตามนโยบาย “บุกโลก” การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ตอนกลางและตะวันตกของจีน และการควบคุมระดับเงินเฟ้อและปัญหาฟองสบู่โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556 ให้ลดต่าลง มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลจีนสามารถใช้จังหวะโอกาสนี้ปล่อย สินเชื่อระลอกใหม่ในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ต้องกังวลใจกับปัญหาเงินเฟ้อในช่วงต้นปี 2557 มากนัก อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2557 ก็ยังคงต้องเผชิญ กับความท้าทายและและข้อกังวลใจอยู่หลายประการ ในประการแรก โดยที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 7.5 ซึ่งต่ากว่าของปีก่อนเล็กน้อย หากเกิดขึ้นจริงก็ เท่ากับว่าจีดีพีของจีนจะเติบโตในอัตราที่ลดลงเป็นปีที่ 5 ต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นการ ตอกย้าถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างชัดเจน และอาจส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ต่อความมั่นใจของผู้บริโภคจีนและ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในอนาคต ผมจึงเห็นว่า รัฐบาลจีนควรจะต้องพยายามกระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ ไม่ให้ต่ากว่าของปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาโมเมนตัมและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมเอาไว้ ซึ่งจะทาให้เศรษฐกิจของจีน ณ สิ้นปี 2557 มีขนาดราว 61.3 ล้านล้านหยวน
  • 7. 7 ประการที่สอง เศรษฐกิจของจีนในปี 2557 กาลังเผชิญกับความท้าทายและแรงกดดันหลายด้านจนนัก เศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไม่มั่นใจเท่าที่ควร โดยมีปัจจัยเชิงลบที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีหลังยังอาจเกี่ยวพันไปถึงข้อขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอวันประทุ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนปี 2553-2557 ปี อัตรา (ร้อยละ) 2553 10.4 2554 9.2 2555 7.8 2556 7.7 2557 (คาดการณ์) 7.5 ประการถัดมา การเพิ่มค่าของเงินหยวน ซึ่งทะลุต่ากว่า 6 หยวนต่อเหรียญสหรัฐฯ หลายครั้งนับแต่ต้นปี 2557 ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่อเค้า ว่าจะกดดันรัฐบาลและกิจการของจีน โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งจะมีขีด ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ลดลง และอาจกระทบเชิงลบต่อการลงทุน โดยตรงของต่างชาติในจีน นอกจากนี้ กิจการของจีนยังจะต้องเผชิญกับปัญหา กาลังการผลิตส่วนเกินที่ขยายวงจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม กระจก ปูนซิเมนต์ ก่อสร้าง และต่อเรือ ไปสู่อุตสาหกรรมดาวรุ่งพุ่ง แรง อาทิ เซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลม และคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของ จีนในระยะยาว ประการที่สี่ ขณะที่เราสังเกตเห็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการบริโภคภายในประเทศและการ กระจายความเจริญสู่ตอนกลางและซีกตะวันตกของจีน แต่หากเราพิจารณาจากภาค เศรษฐกิจที่มีผลต่อการเติบโตของจีพีดีจีนในปี 2556 ก็พบว่า ภาคการลงทุนกลับมี บทบาทมากขึ้นสวนทาง กับภาคการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลจีนที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาภาคการลงทุนไปสู่ภาค การบริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการกระจาย รายได้ที่ยังคงกระจุกตัวทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ (ด้านซีกตะวันออก) ระดับความเจริญ (ใน เมืองเอกและเมืองรองระดับที่ 2) และกลุ่มประชากร/สาขาอาชีพ (ในเมือง/ ภาคอุตสาหกรรมและบริการ) นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังออกโรงมาเตือนว่า จีนอาจต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอัตราเงิน เฟ้อที่จะเพิ่มขึ้น หลังจากช่วงตรุษจีน ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน และสภาพอากาศที่แห้งแล้ง โดยในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือ อาทิ กรุงปักกิ่ง ไม่มีหรือ มีหิมะตกน้อยมากที่สุดในรอบหลายสิบปี ซึ่งจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และปริมาณน้าที่ต่ากว่าปกติ อันจะส่งผลกระทบให้ผลิตผลทางการเกษตรของจีนลดลง ในปีนี้ ประการสุดท้าย ท่ามกลางการขยายตัวของชุมชนเมืองที่พัฒนาไป อย่างรวดเร็วในจีนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลจีน ก็กาลังนาไปสู่ปัญหา
  • 8. 8 ความไม่สมดุลของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวกทั้งในเมืองเอกและเมืองรองในหลายระดับ แถมปัญหามลพิษใน หลายเมืองใหญ่ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลจีนไม่อาจเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างที่ ตั้งใจไว้ในอนาคต หลังจากปัญหาการเมืองภายในประเทศของจีนเริ่มคลายตัว ดูเหมือนผู้บริหารระดับสูงชุดใหม่ของจีนจะ ยังคงมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมรอให้แก้ไขอยู่อีกเต็มมือ ... ------------------------------------------------- รวบรวมและเรียบเรียงโดย ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง 23 มกราคม 2557