SlideShare uma empresa Scribd logo
1 de 55
Baixar para ler offline
ก
การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์นั้น เป็นการย้อนไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีต
มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องรู้ต้องจดจา ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสถานที่ เหตุการณ์
ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่เรียนในวิชาประวัติศาสตร์นั้น ผู้เรียนจาเป็นต้องใช้การสื่อความหมายโดยภาษา
จากการอธิบาย การซักถาม การโต้แย้ง การเสนอแนวคิด การให้เหตุผล จึงได้จัดทาเอกสาร
ประกอบการเรียนประวัติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ โดยจัดทาให้สอดคล้อง
กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์นี้ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา กิจกรรม แบบฝึก และแบบทดสอบ
หลังเรียน พร้อมเฉลย ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจเนื้อหาสาระ และสะดวก
ต่อการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์ มี 4 เล่ม
ประกอบด้วย
เล่มที่ 1 เรื่อง วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เล่มที่ 2 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์
เล่มที่ 3 เรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย
เล่มที่ 4 เรื่อง อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย
ขอขอบคุณเจ้าของตาราที่นามาอ้างอิงไว้ในเอกสาร ท่านผู้อานวยการและคณะครู
โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม และ ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่ให้คาปรึกษาจนเอกสารฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขวัญจิต บุญมาก
คำนำ
ข
เรื่อง หน้า
คานา…………………………………………………………………………………………………………………………………….. ก
สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………………. ข
คาชี้แจง………………………………………………………………………………………………………………………………… ค
เล่มที่ 1 วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์……………………………………………….. 1
แบบทดสอบก่อนเรียน……………………………………………………………………………….. 3
เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน……………………………………………………………. 6
บทที่ 1 เวลาในประวัติศาสตร์…………………………………………………………………………………. 7
ใบงานที่ 1.1 ……………………………………………………………………………………………….. 15
แนวทางการตอบใบงานที่ 1.1…………………………………………………………………….. 17
บทที่ 2 การนับศักราช…………………………………………………………………………………………….. 19
ใบงานที่ 1.2………………………………………………………………………………………………… 24
แนวทางการตอบใบงานที่ 1.2…………………………………………………………………….. 25
บทที่ 3 การเปรียบเทียบศักราช…………………………………………………………………………….. 26
ใบงานที่ 1.3………………………………………………………………………………………………… 29
แนวทางการตอบใบงานที่ 1.3…………………………………………………………………….. 30
บทที่ 4 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์…………………………………………………………………………. 31
ใบงานที่ 1.4………………………………………………………………………………………………… 39
แนวทางการตอบใบงานที่ 1.4…………………………………………………………………….. 40
บทที่ 5 ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัย และศักราช
ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์………………………………………………………………… 41
ใบงานที่ 1.5………………………………………………………………………………………………… 43
แนวทางการตอบใบงานที่ 1.5…………………………………………………………………….. 45
แบบทดสอบหลังเรียน………………………………………………………………………………… 47
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน……………………………………………………………………….. 50
เอกสารอ้างอิง………………………………………………………………………………………………………………………. 51
สำรบัญ
ค
เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ นักเรียนสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านคาชี้แจง ดังนี้
1. ศึกษาหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า
เมื่อจบบทเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง
2. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน จานวน 15 ข้อ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
3. ศึกษาเนื้อหา สาระ รายละเอียดในบทที่ 1 ถึงบทที่ 5
4. ทาใบงานตามที่กาหนดให้ ด้วยตนเอง ถ้าทาไม่ได้หรือสงสัย ให้อ่านทบทวน
เนื้อเรื่องใหม่ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย
ชักชวนให้นักเรียนตอบคาถาม
และติดตามหาคาตอบจากเนื้อหา
แนะนาแหล่งเรียนรู้ แหล่งสืบคืน
เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษามากขึ้น
ความรู้เพิ่มเติม เกร็ดประวัติศาสตร์
ที่เชื่อมโยงกับบทเรียน
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
หน้า 1
หัวข้อเรื่อง
เวลาในประวัติศาสตร์
การนับศักราช
การเปรียบเทียบศักราช
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัย และศักราช
เกริ่นนา
ประวัติศาสตร์ คือการศึกษาเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ โดยให้ความสาคัญ
กับความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม เพราะเวลาที่ผ่านไปสังคมมนุษย์
ก็มีพัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า มิติของเวลา และเลือกศึกษาเฉพาะเรื่องราวสาคัญ ๆ
หรือเหตุการณ์สาคัญที่มีผลต่อสังคมส่วนหนึ่ง ดังนั้น ประวัติศาสตร์ จึงหมายถึงการศึกษา
เหตุการณ์สาคัญของสังคมมนุษย์ในอดีตตามมิติของเวลา นั่นเอง
อดีต หรือวันวาร คือช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วของประวัติศาสตร์ โดยมีเวลากาหนด
เวลาคือสิ่งที่มีอยู่ มีความต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อสังคมมนุษย์ นักประวัติศาสตร์จึงใช้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
กาหนดยุคสมัยประวัติศาสตร์เพื่อบอกเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่เข้าใจได้ตรงกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลามีผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
หน้า 2
สาระสาคัญ
เวลาและช่วงเวลามีความสาคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะทาให้เข้าใจเหตุการณ์
หรือเรื่องราวที่ศึกษา เวลาเป็นตัวกาหนดถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านไปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ตรงกัน นักประวัติศาสตร์จึงมีการนับช่วงเวลาเป็นวัน เดือน ปี ศักราช ยุค สมัย ช่วยเชื่อมโยง
เหตุการณ์ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้
2. อธิบายความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคตได้
3. อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้
4. ยกตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลาและยุคสมัยที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้
5. ยกตัวอย่างการใช้ศักราชต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้
6. บอกที่มาของศักราชที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้
7. นับและเปรียบเทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการบันทึกประวัติศาสตร์ไทยได้
คาสั่ง
หน้า 3
คาชี้แจง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จานวน 15 ข้อ
จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว แล้วกากบาท (X)
ลงในกระดาษคาตอบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. ข้อใดเป็นการแบ่งยุคสมัย
ทางประวัติศาสตร์ไทยตามรัฐบาล
บริหารประเทศ
ก. สมัยทวารวดี
ข. สมัยรัชกาลที่ 5
ค. สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ง. สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
2. สมัยใดที่มีระยะเวลาสั้นที่สุด
ของประวัติศาสตร์ไทยจนถึงปัจจุบัน
ก. สุโขทัย ข. อยุธยา
ค. ธนบุรี ง. รัตนโกสินทร์
3. จงพิจารณาคาที่ถูกต้องลงในช่องว่าง
“การเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310
นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
นานนับ...........”
ก. ทศวรรษ ข. ศตวรรษ
ค. สหัสวรรษ ง. โกฏิวรรษ
4. ปีปัจจุบัน ค.ศ. 2007
จัดอยู่ในศตวรรษอะไร
ก. ศตวรรษที่ 19
ข. ศตวรรษที่ 20
ค. ศตวรรษที่ 21
ง. ศตวรรษที่ 22
5. ข้อใดจัดเป็นศักราชสากล
ก. จุลศักราช ข. มหาศักราช
ค. พุทธศักราช ง. คริสต์ศักราช
6. ข้อใดถูกต้อง
ก. คริสต์ศักราช เริ่มนับ ค.ศ.1
เมื่อพระเยซูประสูติ
ข. พงศาวดารไทยสมัยอยุธยาจารึก
เหตุการณ์ด้วยพุทธศักราช
ค. การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก
เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
ง. พุทธศักราชเริ่มใช้เมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เป็นแบบประชาธิปไตย
หน้า 4
7. ศักราชของศาสนาอิสลาม
ได้แก่ศักราชใด
ก. จุลศักราช
ข. คริสต์ศักราช
ค. ฮิจเราะห์ศักราช
ง. รัตนโกสินทร์ศก
8. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ ทาให้ไทย
ก้าวเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์”
ก. การค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1
ข. การส่งทหารเข้าร่วมในสงครามโลก
ครั้งที่ 1
ค. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในปี พ.ศ. 2475
ง. การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช
9. หากแบ่งยุคสมัยแบบสากล
รัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จัดอยู่ในสมัยใด
ก. สมัยใหม่
ข. สมัยเก่า
ค. สมัยโบราณ
ง. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
10. จัดลาดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
2. เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ
3. สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
4. เปลี่ยนแปลงการปกครอง
เป็นประชาธิปไตย
ก. 1, 2, 3, 4
ข. 2, 3, 4, 1
ค. 3, 1, 2, 4
ง. 4, 2, 3, 1
11. เพราะเหตุใดจึงต้องแบ่งยุคสมัย
ทางประวัติศาสตร์
ก. เพื่อให้เป็นสากล
ข. เพื่อสืบค้นหาอดีต
ค. เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา
ง. มนุษย์มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
12. สมัยใดที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด
ของประวัติศาสตร์ไทยจนถึงปัจจุบัน
ก. สุโขทัย
ข. อยุธยา
ค. ธนบุรี
ง. รัตนโกสินทร์
หน้า 5
.
13. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
โดยแบ่งเป็นสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา
และสมัยรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็น
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ประเภทใด
ก. แบ่งตามรัชกาล
ข. แบ่งตามราชธานี
ค. แบ่งตามอาณาจักร
ง. แบ่งตามระบอบการปกครอง
14. ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
พ.ศ. 2112 ตรงกับ ค.ศ. ใด
ก. ค.ศ. 1569
ข. ค.ศ. 921
ค. ค.ศ. 1491
ง. ค.ศ. 948
15. สิ่งที่เป็นตัวกาหนดในการนับ
พุทธศักราชคือข้อใด
ก. ปีประสูติของพระพุทธเจ้า
ข. ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ค. ปีหลังจากที่พระพุทธเจ้า
ปรินิพพานแล้ว
ง. ปีที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ
พุทธศาสนา
หน้า 6
ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ
1 ง 6 ค 11 ค
2 ค 7 ค 12 ข
3 ข 8 ง 13 ข
4 ค 9 ก 14 ก
5 ง 10 ค 15 ค
จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย : จะเรียนจะสอนกันอย่างไร
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ , พ.ศ. 2543.
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
หน้า 7
เวลาในประวัติศาสตร์
มนุษย์เราได้พยายามทาความเข้าใจเกี่ยวกับ
กาลเวลาแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคติความเชื่อ
ของแต่ละชุมชน สังคม อารยธรรม แต่มนุษย์เราก็เรียนรู้
จากประสบการณ์ว่ากาลเวลาที่ผ่านไปนาความเปลี่ยนแปลง
มาสู่สังคมมนุษย์ และมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและสรรพสิ่ง เช่น
การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล น้าขึ้น – น้าลง
ตาแหน่งของดวงดาวและอื่น ๆ จึงทาให้มนุษย์พยายาม
สร้างแบบแผนหรือระบบการนับเวลา และกาหนด
ช่วงเวลาแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมขึ้นมา
เพื่อประกอบพิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อ
เรื่องความอุดมสมบูรณ์
การสร้างระบบการนับเวลา หมายถึงการกาหนด
หน่วยเวลาต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้อ้างอิง หน่วยเวลานี้มีทั้งสั้น
และยาว ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนหรือประสบการณ์
ของแต่ละสังคม และจุดประสงค์ของการนาไปใช้ประโยชน์
ฉะนั้นนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงมีหน่วยเวลาตั้งแต่ย่อยที่สุด
คือวินาทีไปจนถึงปีแสง การสร้างระบบการนับเวลาทาให้
เกิด “ปฏิทิน” ขึ้นมา คาว่า ปฏิทิน ที่เราใช้อยู่ในภาษาไทย
มาจากคาสันสกฤตว่า “ปรติทิน” แปลว่า เฉพาะวัน,
สาหรับวันในภาษาอังกฤษใช้ว่า Calendar ซึ่งมาจากรากศัพท์
ภาษาละตินว่า calendarium แปลว่า account book
หรือบัญชีวัน เดือน ปี
เสาหินสูง หรือ Obelisk
ในอารยธรรมยุคต้น ใช้เป็นเครื่อง
บอกเวลาโดยสังเกตเงาที่ทอดไป
ที่มา : วิชาการ, กรม
(2546. หน้า 5)
หน้า 8
คนในทุกสังคมมีความเชื่อเหมือนกันว่า กระแสกาลเวลา
ไหลผ่านไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่รั้งรอสิ่งใด ที่เราใช้คาว่า
วันวารหมุนเวียนเปลี่ยนไป การแบ่งกาลเวลาจึงเป็นสาคัญ
สาหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์
ที่ผ่านมาในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามในขณะที่
กาลเวลาผ่านไป สังคมมนุษย์ก็เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือ
กาลเวลาเปลี่ยนไปพร้อมกับเหตุการณ์แอละปรากฏการณ์
ในสังคมมนุษย์ แต่สิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งคือ การยอมรับกันทั่วไป
ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในภายหลัง เพราะฉะนั้น การกาหนดช่วงเวลาจึงเป็นวิธีการ
ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถลาดับเหตุการณ์ได้ว่าเหตุการณ์ใด
เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ขึ้นทีหลังและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
คาที่มีการใช้อ้างอิงถึงกาลเวลา เช่น ยุค (epoch) สมัย (period) ศักราช (era)
และการใช้ปฏิทินแสดงให้เห็นความสาคัญของกาลเวลาและระบบการนับเวลา ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
กับชีวิตมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน
เพราะว่าสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นอดีต ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นอนาคตและปัจจุบันมาก่อน นักประวัติศาสตร์
ศึกษาอดีตด้วยความเชื่อที่ว่า เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งส่งผลกระทบ
ถึงเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ติดตามมา และมองความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
เพราะอาศัยความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับช่วงเวลา
ชนเผ่าที่ยังไม่เจริญนัก
ในนิวกินี เกาะทางตอน
เหนือของออสเตรเลีย
ใช้วิธีตั้งเสาสูงและวัดเงา
แดดเพื่อทราบเวลา
ที่มา : วิชาการ,กรม
(2546.หน้า 6)
ปฏิทินโบราณ
ของชาวแอซเทค (Aztec)
ในอเมริกากลาง
ที่มา : Mythland
(ม.ป.ป. เว็บไซด์)
หน้า 9
ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์
เวลาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คานิยามขอ “เวลา”
ว่า “ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกาหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี”
ช่วงเวลา หมายถึง ระยะของเวลา อาจเป็นช่วงสั้นหรือช่วงยาวก็ได้ หรือเป็นเวลาที่มี
ระยะว่าเป็นเวลาใดถึงเวลาใด เช่น ช่วงต้นเดือน ช่วงปลายเดือน ช่วงปีพุทธศักราช 2556
ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตที่มีความแตกต่างกันตามเวลา สถานที่และ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต นักประวัติศาสตร์
จึงมีวิธีการนับเวลาโดยนับเป็นวัน, เดือน, ปี, ทศวรรษ (รอบ 10 ปี), ศตวรรษ (รอบ 100 ปี), และ
สหัสวรรษ (รอบ 1,000 ปี) นอกจากนี้ยังแบ่งช่วงเวลาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัย
เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
เวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญต่อการศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เพราะช่วยให้
ทาความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ถูกต้องแม่นยา สรุปความสาคัญของเวลา ดังนี้
1. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยุคใด และสิ้นสุดลงเมื่อใด
2. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน
3. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น ๆ
4. เวลาเชื่อมโยงสัมพันธ์เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคตเข้าด้วยกัน
5. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้น
6. ใช้การบันทึกเวลา เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้
เมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม
ชื่อ Captain Loftus จัดทานาฬิกาแดด ไว้เป็นเครื่องกาหนดบอกเวลา
ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางประอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนทุกวันนี้
ที่มา : http://historyofsomethings.blogspot.com/(ม.ป.ป. เว็บไซด์)
หน้า 10
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2472
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=820310 (ม.ป.ป. เว็บไซด์)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ วันที่ 28 ตุลาคม 2554
ที่มา : ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 28 ตุลาคม 2554.(2554.หนังสือพิมพ์)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ วันที่ 20 ตุลาคม 2555
ที่มา : ขวัญจิต บุญมาก (2555. ภาพถ่าย)
๓
๑๕
หน้า 11
การนับเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์
การนับเวลาทางจันทรคติ
คือการนับวันและเดือนโดยถือเอาการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เป็นหลัก ปัจจุบันระบบ
การนับเวลาทางจันทรคติใช้เฉพาะอ้างอิงวันสาคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณี
ดั้งเดิม ซึ่งพบในปฏิทินไทย ปฏิทินจีน ปฏิทินฮินดู ปฏิทินอิสลาม
ข้างขึ้น เดือนเพ็ญ ข้างแรม
คืนเดือนดับ เป็นคืนที่มองไม่เห็นพระจันทร์
คืนข้างขึ้น เป็นคืนที่เราเริ่มมองเห็นพระจันทร์เริ่มมีเสี้ยวเล็ก และค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นในแต่ละวัน
คืนเดือนเพ็ญ เป็นค่าคืนที่เราจะมองเห็นพระจันทร์เต็มดวง
คืนข้างแรม เป็นคืนที่พระจันทร์เริ่มค่อยแหว่งเป็นเสี้ยวเล็กลงไปเรื่อย ๆ จนพระจันทร์มืดหมดไป
การนับวันทางจันทรคติไทย จะอ่านเป็นตัวเลขโดยวันที่ 1 จะเป็นวันอาทิตย์ แล้วนับ
เรื่อยมาจนถึงวันเสาร์ นับ 7 ปฏิทินจันทรคติไทยจะมีดิถีดวงจันทร์กับตัวเลขเดือนกากับย่อ
ตัวอย่างเช่น
๗ ฯ ๓ อ่านว่า วันเสาร์ ขึ้น 3 ค่า เดือน 3
๑ ฯ ๖ อ่านว่า วันอาทิตย์ แรม 15 ค่า เดือน 6
ปฏิทินจันทรคติไทยจะเริ่มนับวันขึ้น 1 ค่า จนถึงขึ้น 15 ค่า แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่า
ถึงวันแรม 14 ค่า ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่า ในเดือนคู่ จึงทาให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่
มี 30 วัน โดยเริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2
เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12
หน้า 12
การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา
29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน
เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่
มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้น
ใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี
เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุก ๆ 3 ปีทางจันทรคติจะมีเดือน 8 สองหนคือจะมี 13 เดือน
เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
ตัวอย่างปฏิทินจันทรคติของไทย
เดือนมกราคม พ.ศ.2556
ที่มา :
http://www.ebooks.in.th/ebook/7483/
ปฏิทินจันทรคติไทย (ม.ป.ป. เว็บไซด์)
ประเทศไทยเริ่มใช้ปีจันทรคติ และวันจันทรคติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงปี พ.ศ.
2460 จึงเปลี่ยนเวลาเริ่มต้นวันเป็นเที่ยงคืนตามแบบสากล ปี พ.ศ.2463 (สมัยรัชกาลที่ 6)
กาหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย เท่ากับ 7 ชั่วโมง ตะวันออกของกรีนิช
ปี พ.ศ.2484 เปลี่ยนวันต้นปีจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม โดยเริ่มตั้งแต่มกราคม
พ.ศ.2483 (สมัยรัชกาลที่ 8)
การแบ่งจักรราศีตามแบบโหราศาสตร์
คือการนับวิถีโคจรของบรรดาดาวพระเคราะห์
บนท้องฟ้า มีพระอาทิตย์(๑)เป็นประธาน
ในเวลากลางวัน และมีพระจันทร์(๒)
เป็นประธานในเวลากลางคืน เมื่อพระอาทิตย์
โคจรไปรอบจักรราศีผ่านกลุ่มดาวประจาราศี
ทั้ง 12 ราศี เป็นเวลา 1 ปี ระยะการโคจร
ของอาทิตย์ที่ผ่านไปตามจักรราศีเรียกว่า
สุริยคติกาล
ที่มา : http://th.wikipedia.org/จักรราศี
(ม.ป.ป. เว็บไซด์)
หน้า 13
การนับเวลาทางสุริยคติ
คือการนับวันและเดือนโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์เป็นหลัก โดยสังเกต
จากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หนึ่งรอบเท่ากับ 1 ปี ประมาณ 364 ¼ วัน
การนับเดือนทางสุริยคติไทยใช้ระบบการอ้างวันเดือนปีตามปฏิทินสุริยคติโดยปรับเปลี่ยน
จากปฏิทินจันทรคติไทยเดิม เมื่อ พ.ศ.2431 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้ง 12 เดือน
ตั้งชื่อโดย กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ทรงใช้ตาราจักรราศีซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์
รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งระบุเดือนที่ลงท้ายว่า “คม” สาหรับเดือนที่มี
31 วัน และเดือนที่ลงท้ายว่า“ยน”มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน รวมทั้งปีได้
365 วัน เรียกปีที่มี 365 วันนี้ว่า ปีปกติ หรือ ปีปกติสุรทิน เวลาในปีปกติจะขาดไป ¼ วัน
จึงมีการทดเศษที่ขาดไป ทุก ๆ 4 ปีจะได้วันเพิ่มมาอีก 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อครบทุก 4 ปี
เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกสุรทิน
ราศี วันที่ครอบคลุมราศี ภาพ สัญลักษณ์
เมษ 13 เม.ย.-13 พ.ค. แกะ
พฤษภ 14 พ.ค.-13 มิ.ย. วัว
เมถุน 14 มิ.ย.-14 ก.ค. คนคู่
กรกฏ 15 ก.ค.-16 ส.ค. ปู
สิงห์ 17 ส.ค.-16 ก.ย. สิงโต
กันย์ 17 ก.ย.-16 ต.ค. หญิงสาว
ตุลย์ 17 ต.ค.-15 พ.ย. คันชั่ง
พิจิก 16 พ.ย.-15 ธ.ค. แมงปุอง
ธนู 16 ธ.ค.-14 ม.ค. คนยิงธนู
มังกร 15 ม.ค.-12 ก.พ. แพะทะเล
กุมภ์ 13 ก.พ.-13 มี.ค. คนแบกหม้อน้า
มีน 14 มี.ค.-12 เม.ย. ปลา
หน้า 14
ช่วงเวลา : ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
วันเวลาที่ผ่านไปทุกวัน มนุษย์มีกิจกรรมที่ใช้เวลายาวนานกว่าหนึ่งปี เมื่อพูดถึงอดีต
หรืออนาคตที่ห่างจากช่วงเวลาปัจจุบันมาก จึงมีการกาหนดช่วงเวลา เช่น 10 ปี 100 ปี 1000 ปี
ให้เข้าใจง่ายและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ได้แก่ ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
ทศวรรษ (decade) หมายถึงระยะเวลา 10 ปี โดยปกติมักใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร s
หลังปีศักราช เช่น 1980s อ่านว่า ทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 1989 คือให้นับปี
ที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 เป็นปีแรกของทศวรรษ และนับไปสิ้นสุดที่ 9 แต่ทศวรรษแรกซึ่งควรจะตรงกับ
ค.ศ. 0 – 9 จะมีเพียง 9 ปี เพราะไม่มี ค.ศ. 0 ดังนั้นทศวรรษที่ 10 คือ ค.ศ. 10 – 19
คริสต์ทศวรรษที่ 1920 หมายถึง ปี ค.ศ. 1920 - 1929
พุทธทศวรรษที่ 2540 หมายถึง ปี พ.ศ. 2540 – 2549
ศตวรรษ (century) หมายถึงช่วงเวลา 100 ปี เริ่มนับปีที่ 1 ไปจนถึง 100 เช่น
พุทธศตวรรษที่ 1 หมายถึง ปี พ.ศ. 1 – 100
พุทธศตวรรษที่ 2 หมายถึง ปี พ.ศ. 101 – 200
พุทธศตวรรษที่ 19 หมายถึง ปี พ.ศ. 1801 - 1900
คริสต์ศตวรรษที่ 21 (21th
century) หมายถึง ปี ค.ศ. 2001 – 2100
สหัสวรรษ (millennium) หมายถึงช่วงเวลา 1,000 ปี เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ขึ้นด้วยเลข 1
เป็นปีแรกของสหัสวรรษ จนถึงปีที่ลงท้ายด้วยหลัก 1000 เช่น
สหัสวรรษที่ 1 (1st
millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 1 – 1000
สหัสวรรษที่ 2 (2nd
millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 1001 – 2000
สหัสวรรษที่ 3 (3rd
millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 2001 – 3000
ปี ค.ศ. อยู่ในช่วงทศวรรษที่ อยู่ในช่วงศตวรรษที่ อยู่ในช่วงสหัสวรรษที่
1 – 9 1 ศตวรรษที่ 1
(ค.ศ. 1 – 100)
สหัสวรรษที่ 1
(ค.ศ. 1 – 1000)10 – 19 10
100 - 109 100
501 500 (ค.ศ. 500 – 509) 6 (ค.ศ. 501 – 600)
1000 1000 (ค.ศ. 1000 - 1009) 10 (ค.ศ. 901 – 1000)
2001 2000 (ค.ศ. 2000 – 2009) 21 (ค.ศ. 2001 – 2100) สหัสวรรษที่ 2
(ค.ศ. 1001 – 2000)
หน้า 15
คาชี้แจง ใบงานนี้มี 2 ตอน
ตอนที่ 1 ให้นักเรียนบอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา
เวลาและช่วงเวลา
ความสาคัญของเวลา ความสาคัญของช่วงเวลา
------------------------------ ------------------------------
------------------------------ ------------------------------
------------------------------ ------------------------------
------------------------------ ------------------------------
------------------------------ ------------------------------
------------------------------ ------------------------------
เวลามีความสาคัญของชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไร
----------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------
เรื่อง เวลาในประวัติศาสตร์
หน้า 16
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
1. นักเรียนเกิด พ.ศ. ……………………………………………………………………………………………………….........
2. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับทศวรรษที่..........................................................ของพุทธศักราช
3. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับพุทธศตวรรษที่…………………………………………………………………………….
4. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับสหัสวรรษที่........................................................ของพุทธศักราช
5. พุทธศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ............................... ถึง พ.ศ.....................................
6. พุทธศตวรรษที่ 26 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ............................ ถึง พ.ศ.....................................
7. คริสต์ศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ.............................. ถึง ค.ศ.....................................
8. คริสต์ศตวรรษที่ 21 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ............................ ถึง ค.ศ....................................
9. สหัสวรรษที่ 1 ของคริสต์ศักราช เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ................. ถึง ค.ศ..............................
10. ค.ศ. ปัจจุบัน ค.ศ............................... เท่ากับสหัสวรรษที่...............................................
จากข้อความด้านล่างนี้ ให้นักเรียนตอบคาถาม 2 ข้อ
ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลง
เรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทาด้วยศิลาทราย 1 แผ่น
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ฝาผนังวิหารหลังเล็กพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึก
อักษรมอญโบราณที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิม ปัจจุบันศาลพระกาฬ
ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้
ที่มา : นิตยสารสารคดี ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
1. พุทธศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วง พ.ศ............................. ถึง พ.ศ.......................................
2. อักษรมอญโบราณ สร้างเมื่อ พ.ศ..................... ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่.................
เรื่อง เวลาในประวัติศาสตร์
หน้า 17
คาชี้แจง ใบงานนี้มี 2 ตอน
ตอนที่ 1 ให้นักเรียนบอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา
เวลาและช่วงเวลา
ความสาคัญของเวลา ความสาคัญของช่วงเวลา
1. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือ 1. เพื่อให้ง่ายแก่การจดจาเหตุการณ์ต่างๆ
สิ้นสุดในเวลาใด ที่เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในช่วงเวลาใด
2. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานาน 2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์ตรงกัน
เท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน ว่าเกิดในช่วงเวลาใด
3. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง 3. เพื่อให้รู้ลักษณะเด่นของยุคสมัยนั้น ๆ
4. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง 4. เป็นการให้ความสาคัญต่อการกาหนดเวลา
ของเหตุการณ์ในเวลาใกล้เคียงกัน ของศักราชต่าง ๆ เช่น พ.ศ./ค.ศ.
เวลามีความสาคัญของชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไร
วันเวลามีความสาคัญและเกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทาให้เรารู้ว่า
เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นหรือดาเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลา
ที่ผ่านไปทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
การกาหนดช่วงเวลาทาให้รู้ว่าเหตุการณ์เกิดมานานเท่าใดแล้ว ทาให้ง่ายต่อการลาดับและ
เปรียบเทียบเหตุการณ์ และเวลายังใช้ในการบันทึกเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
อีกด้วย
หน้า 18
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
1. นักเรียนเกิด พ.ศ. ……………………………………2534………………………………………………………….........
2. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับทศวรรษที่...........2530........................................ของพุทธศักราช
3. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับพุทธศตวรรษที่………26………………………………………………………………….
4. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับสหัสวรรษที่...............3........................................ของพุทธศักราช
5. พุทธศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ................1.............. ถึง พ.ศ........100........................
6. พุทธศตวรรษที่ 26 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ........2501............. ถึง พ.ศ......2600.......................
7. คริสต์ศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ...............1.............. ถึง ค.ศ.........100.......................
8. คริสต์ศตวรรษที่ 21 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ.......2001.............. ถึง ค.ศ......2100.......................
9. สหัสวรรษที่ 1 ของคริสต์ศักราช เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ....1........... ถึง ค.ศ..1000......................
10. ค.ศ. ปัจจุบัน ค.ศ......2013................... เท่ากับสหัสวรรษที่.............3................................
จากข้อความด้านล่างนี้ ให้นักเรียนตอบคาถาม 2 ข้อ
ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลง
เรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทาด้วยศิลาทราย 1 แผ่น
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ฝาผนังวิหารหลังเล็กพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึก
อักษรมอญโบราณที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิม ปัจจุบันศาลพระกาฬ
ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้
ที่มา : นิตยสารสารคดี ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
3. พุทธศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วง พ.ศ........1501............... ถึง พ.ศ.................1600..............
4. อักษรมอญโบราณ สร้างเมื่อ พ.ศ........2496...... ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่......25.......
หน้า 19
การนับศักราช
ศักราช (era) หมายถึง เวลาที่กาหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เหตุการณ์
สาคัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหลักตั้งศักราชและเรียงลาดับต่อกันมา โดยกาหนดจุดเริ่มต้น
จากเหตุการณ์สาคัญที่คนในสังคมเข้าใจตรงกันได้ง่ายที่สุด การนับศักราชต่อกันไปช่วยให้
สามารถลาดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังได้อย่างไม่สับสน
ประโยชน์ของศักราช ศักราชใช้เป็นเกณฑ์ที่ทาให้ทุกคนเข้าใจช่วงเวลาที่ตรงกัน
และสามารถลาดับเวลาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลาดับก่อนหลังไม่สับสน การนับศักราชซึ่งใช้
เป็นเครื่องมือในการลาดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมีการใช้กันอยู่
แบ่งศักราชไว้เป็น 2 แบบ คือ แบบสากล และ แบบไทย
ในปัจจุบันสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่า คริสต์ศักราช เป็นศักราชกลางที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งนี้
เนื่องจากการยอมรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชาวตะวันตก
แต่ขณะเดียวกันในสังคมอื่นก็มีศักราชที่ใช้สืบเนื่องกันมาแต่ดั้งเดิมและยังคงใช้อยู่เช่นกัน เช่น
สังคมไทยใช้พุทธศักราช ด้วยเหตุนี้การรู้วิธีเทียบศักราชแบบต่าง ๆ จึงจาเป็นเพื่อประโยชน์
ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่ใช้ศักราชต่าง ๆ ดังนี้
ศักราชแบบสากล ศักราชแบบไทย
ศักราช ภาษาอังกฤษ อักษรย่อ ศักราช ภาษาอังกฤษ อักษรย่อ
1. คริสต์ศักราช Anno Domini, ค.ศ.(A.D.) 1. พุทธศักราช Buddha Era พ.ศ.(B.E.)
Christian Era 2. มหาศักราช Shaka Era ม.ศ.
2. ฮิจเราะห์ศักราช Anno Hejira, ฮ.ศ.(H.E.) 3. จุลศักราช Minor Era จ.ศ.
Hejira Era 4. รัตนโกสินทร์ศก Rattanakosin Era,
Bangkok Era
ร.ศ.
หน้า 20
การนับศักราชแบบสากล
คริสต์ศักราช (Christian Era) ย่อว่า ค.ศ. (A.D. Anno Domini : เป็นภาษาละติน
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “in the year of the Lord” หรือปีแห่งพระเจ้า แปลว่าปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า
เป็นศักราชทางคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูซึ่งเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนาประสูติคือปีที่
พระเยซูประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ. 1) สาหรับการนับศักราชก่อนพระเยซูประสูติ
นับเป็นปีก่อนคริสต์ศักราชหรือปีก่อน ค.ศ. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “B.C.” ซึ่งย่อมาจากคาว่า
“Before Christ” หรือก่อนพระเยซูประสูติ การนับ ค.ศ. เลขปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น 1, 2, 3,
...200, 1560, 2004 แต่การนับปีก่อน ค.ศ. เลขปีจะใกล้เข้ามาหาปีพระเยซูประสูติเรื่อย ๆ เช่น
500 ปีก่อน ค.ศ. , 10 ปี ก่อน ค.ศ. เป็นต้น
ในระยะแรกการใช้คริสต์ศักราชยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งถึงสมัยสันตะปาปาจอห์นที่ 13
(John XIII ค.ศ. 965-972) จึงเริ่มใช้คริสต์ศักราชอย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบันคนทั่วโลกนิยมใช้
คริสต์ศักราชเป็นศักราชกลาง คนส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการนับช่วงเวลาตามแบบคริสต์ศักราช
การเทียบพุทธศักราชเป็นคริสต์ศักราชให้ลบด้วย 543 (2550 - 543 เป็น ค.ศ. 2007)
ฮิจเราะห์ศักราช (Hejira Era) ย่อว่า ฮ.ศ. เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม
โดยยึดปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดกระทาฮิจเราะห์ (Higra แปลว่าการอพยพโยกย้าย) คืออพยพจาก
เมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 เนื่องจากปฏิทินอิสลามนับเป็นปฏิทิน
ทางจันทรคติอย่างแท้จริง ทาให้ฮิจเราะห์ศักราชมีความคลาดเคลื่อนไปจากปฏิทินทางสุริยคติ
การเปรียบเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับศักราชอื่นๆ ทาได้ค่อนข้างยาก เพราะคริสต์ศักราชและ
พุทธศักราชจะใช้ระบบสุริยคติ ปัจจุบันการเทียบพุทธศักราชเป็นฮิจเราะห์ศักราชให้ลบด้วย 1122
(2550 - 1122 เป็น ฮ.ศ. 1428)
ชื่อศักราช มูลเหตุในการตั้งศักราช ความสาคัญ
คริสต์ศักราช
(ค.ศ.)
1. นับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ (ค.ศ. 1)
2. เริ่มนับวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
3. ก่อนพระเยซูประสูติ เรียกว่า ก่อนคริสต์ศักราช
ภาษาอังกฤษใช้คาว่า B.C. (Before Christ)
1. เป็นศักราชสากลที่ใช้กันทั่วโลก
2. บางทีเรียกว่า ศักราชกลาง
(Common Era) เพราะมีความเป็น
สากลที่สุด
ฮิจเราะห์ศักราช
(ฮ.ศ.)
นับตั้งแต่ปีที่ท่านศาสดามุฮัมหมัดอพยพจากเมือง
เมกกะ (เมืองที่ประสูติ) ไปเมืองเมดินะ เพื่อเผยแผ่
และประกาศศาสนาอิสลาม (ฮ.ศ.1)
1. เป็นศักราชของศาสนาอิสลาม
2. เป็นปีที่ทาให้ศาสนาอิสลาม
เป็นที่รู้จักทั่วโลก
หน้า 21
การนับศักราชแบบไทย
พุทธศักราช (Buddhist Era) ใช้ตัวย่อว่า พ.ศ. (B.E.) เป็นศักราชทาง
พระพุทธศาสนา นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติโดยไทยเริ่มนับ
พุทธศักราชที่ 1 (พ.ศ. 1) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี ส่วนบางประเทศ เช่น
พม่า ศรีลังกา จะเริ่มนับพุทธศักราชที่ 1 ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน สาหรับช่วงเวลา
ก่อนพุทธศักราชที่ 1 เรียกว่าสมัยก่อนพุทธกาล หรือ ก่อน พ.ศ.
การใช้พุทธศักราชปรากฏในเอกสารราชการไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แห่งอยุธยา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าฯ
ให้มีการเปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการใหม่ให้สอดคล้องกับสากลนิยม จึงประกาศให้ใช้
พุทธศักราชอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2455 ทรงให้เหตุผลว่าพุทธศักราชสามารถเชื่อมอดีต
ปัจจุบัน และอนาคตได้
มหาศักราช (Shaka Era) ย่อว่า ม.ศ. เป็นศักราชเก่าแก่ที่ใช้อยู่ในสมัยสุโขทัย
จนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น การนับมหาศักราชนี้พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะกษัตริย์ผู้ครอง
คันธาระราฐของอินเดียทรงตั้งขึ้น เริ่มภายหลังพุทธศักราช 621 ปี ภายหลังได้เผยแพร่เข้ามาสู่
บริเวณประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย
ยังดินแดนแถบอาณาจักรในชวา (ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) พม่า กัมพูชา และไทย ทั้งนี้
จะเห็นได้จากจารึกที่พบในดินแดนไทยรุ่นแรก ๆ และจารึกสมัยสุโขทัย สังคมไทยใช้มหาศักราช
ในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมอินเดียผ่านมาทางกัมพูชาจนถึงอยุธยา
การเทียบพุทธศักราชเป็นมหาศักราช ให้ลบด้วย 621 (2550 – 621 เป็น ม.ศ. 1929)
จุลศักราช (Minor Era) ย่อว่า จ.ศ. ผู้ตั้งคือ โปปะสอระหัน หรือบุปผาอรหันต์
หรือบุพโสรหัน ซึ่งภายหลังได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองแผ่นดินพม่า เรียกว่าศักราช
พุกาม จุลศักราชเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ใช้แพร่หลายเข้ามาในดินแดนไทยจากการ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านทางพุกาม ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่สาคัญ
ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุลศักราชจึงได้แพร่หลายอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยต่อมาจนถึง
สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้จุลศักราชเพื่อเปลี่ยนไปใช้รัตนโกสินทร์ศก พร้อมกับการใช้วันทางสุริยคติ
เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากล การเทียบพุทธศักราชเป็นจุลศักราชให้ลบด้วย 1181
(2550 - 1181 เป็น จ.ศ. 1369)
หน้า 22
รัตนโกสินทร์ศก (Rattanakosin Era, Bangkok Era) ย่อว่า ร.ศ. เริ่มนับปี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร
ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของราชอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 ทั้งนี้
ไทยเริ่มใช้การนับศักราชแบบนี้ใน พ.ศ. 2432 กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้จุลศักราช การใช้รัตนโกสินทร์ศกถือว่าเป็นการตั้ง
รัชศักราชใหม่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย โดยถือว่าเป็นการระลึกถึงการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
และอาจมีความหมายว่า เป็นการตั้งราชวงศ์ใหม่
การใช้รัตนโกสินทร์ศก มักใช้ในเอกสารราชการและเป็นศักราชในพระราชนิยม แต่ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก
แล้วใช้พุทธศักราชแทน ดังปรากฏในพระราชบัญญัติเรื่องประกาศวิธีนับ วัน เดือน ปี เมื่อวันที่
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 (ร.ศ.131) การเทียบพุทธศักราชเป็นรัตนโกสินทร์ศก ให้ลบด้วย 2324
(2550 - 2324 เป็น ร.ศ. 226)
ชื่อศักราช มูลเหตุการตั้งศักราช จุดเริ่มต้นในการนับศักราช การใช้ในประเทศไทย
พุทธศักราช
(พ.ศ.)
การเสด็จปรินิพพาน
ของพระพุทธเจ้า
ในวันขึ้น 15 ค่าเดือน 6
1. มี 2 แบบ คือแบบไทย ลาว เขมร
เริ่ม พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ
ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี
2. แบบลังกา-พม่า-อินเดีย
เริ่ม พ.ศ. 1 เมื่อปีที่พระพุทธเจ้า
เสด็จปรินิพพานเลย (จึงมี พ.ศ.
มากกว่า ไทย-ลาว-เขมร)
1. เริ่มต้นนับพุทธศักราช
มาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์
2. ใช้อย่างเป็นทางการ
สมัยรัชกาลที่ 6
3. สมัยจอมพล ป.พิบูล
สงคราม เริ่มพุทธศักราช
วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.
เหมือนคริสต์ศักราช
มหาศักราช
(ม.ศ.)
พระเจ้ากนิษกะ
แห่งอินเดีย ตั้งขึ้น
1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 621
2. ไทยรับมาจากเขมร
3. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์
1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 621
2. ไทยรับมาจากเขมร
3. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์
จุลศักราช
(จ.ศ.)
โปปะสอระหัน
กษัตริย์พม่าตั้งขึ้น
1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1181
2. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์
3. บอกเวลาในจารึก พงศาวดาร
1. ไทยรับมาจากพม่า
2. ใช้ตั้งแต่ล้านนา สุโขทัย
อยุธยา - รัชกาลที่ 5
รัตนโกสินทร์
ศก
(ร.ศ.)
รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งขึ้น ปีที่มีการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325
1. เริ่มใช้สมัย ร.5
2. เลิกใช้สมัย ร.6
3. มีเฉพาะไทยเท่านั้น
หน้า 23
การนับศักราชแบบสากลและแบบไทย
พุทธศักราช
คริสต์ศักราชและ
ฮิจเราะห์ศักราช
ต่างกันอย่างไร?
พุทธศักราช หรือ พ.ศ.นับจากพระพุทธ
เจาปรินิพพานแล้ว เป็น ค.ศ.1
คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ.เริ่มนับตั้งแต่ปีที่
พระเยซูประสูติเป็น ค.ศ.1
ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ.นับจากปีที่
ท่านนบีมูฮัมหมัดทาฮิจเราะห์เป็น ฮ.ศ.1
(ฮิจเราะห์คือการอพยพ)
มหาศักราช จุลศักราช
และรัตนโกสินทร์ศก
ต่างกันอย่างไร?
ทั้งหมดคือการนับศักราชแบบไทย ต่างกันคือ
มหาศักราช หรือ ม.ศ.ใช้คานวณทาง
โหราศาสตร์ เทียบเป็น พ.ศ. ให้ + 621
จุลศักราช หรือ จ.ศ.เป็นศักราชของพม่าเทียบ
เป็น พ.ศ. ให้ + 1181
รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. รัชกาลที่ 5 ตั้งขึ้น
โดยนับจากปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น
ราชธานี เทียบเป็นพ.ศ.ให้ + 2324
ก่อนคริสต์ศักราชคือ
ช่วงเวลาก่อนพระเยซู
ประสูติตรงกับภาษาอังกฤษ
ว่า Before Christ หรือ B.C.
สหัสวรรษ
ศตวรรษ และ
ทศวรรษ คือการ
นับเวลาอย่างไร?
คือการนับช่วงเวลาอย่างกว้างๆ
แตกต่างกันดังนี้
สหัสวรรษ หมายถึงรอบ 1000 ปี
ศตวรรษ หมายถึงรอบ 100 ปี
ทศวรรษ หมายถึงรอบ 10
จาง่ายๆคือนาตัวเลข 2ตัวหน้าของคริสต์ศตวรรษมาบวก
1 เพราะปีที่ 1 นั้นนับเป็นศตวรรษที่ 1 ไม่ได้นับจาก 0
ส่วนพุทธศักราชอยู่ในศตวรรษที่เท่าไหร่ ต้องเอาเลขพ.ศ.
นั้นลบ 543 ให้เป็นคริสต์ศตวรรษก่อน เช่น
คริสต์ศักราช 1901 – 2000 คือศตวรรษที่ 20
คริสต์ศักราช 2001 – 2100 คือศตวรรษที่ 21
คริสต์ศักราช 2101 – 2200 คือศตวรรษที่ 22
หน้า 24
คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
1. ศักราชมีความสาคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
2. เติมชื่อศักราชต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับข้อความ
1) ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย
2) นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารสุโขทัย อยุธยา
3) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ
4) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
5) ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยกษัตริย์พม่า โปปะสอระหัน
6) ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
7) เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี
8) เริ่มนับปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมดินะ
9) ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก
10) ศักราชนี้ใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา
เรื่อง การนับศักราช
หน้า 25
คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
1. ศักราชมีความสาคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์
ศักราช ช่วยบอกเวลาในการเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น ทาให้เราทราบ
ว่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด หรือช่วงเวลาใด
2. เติมชื่อศักราชต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับข้อความ
1) ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย มหาศักราช
2) นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารสุโขทัย อยุธยา จุลศักราช
3) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ คริสต์ศักราช
4) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี รัตนโกสินทร์ศก
5) ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยกษัตริย์พม่า โปปะสอระหัน จุลศักราช
6) ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ฮิจเราะห์ศักราช
7) เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี พุทธศักราช
8) เริ่มนับปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมดินะ ฮิจเราะห์ศักราช
9) ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก คริสต์ศักราช
10) ศักราชนี้ใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา รัตนโกสินทร์ศก
หน้า 26
การเปรียบเทียบศักราช
การใช้ศักราชที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการนับศักราชแบบสากลและแบบไทย มีหลักเกณฑ์
ในการเทียบศักราช เพื่อทาให้เข้าใจเรื่องวันเวลาและสามารถลาดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
สังคมให้ตรงกัน และทาให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้น
การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทาได้ง่าย ๆ จากการกาเนิดศักราชในแต่ละช่วงเวลา
ที่ต่างกัน เช่น คริสต์ศักราช เกิดขึ้นภายหลังพุทธศักราช 544 ปี เมื่อต้องการเปรียบเทียบศักราช
ว่า ปี พ.ศ. 2556 ตรงกับ ปี ค.ศ. ใด ก็ให้นา ปี พ.ศ. 2556 ลบด้วย 543 = ค.ศ. 2013
(ปีที่พระเยซูทรงประสูติครบ 1 ปี นับเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 544 ดังนั้น จานวนปี
คริสต์ศักราช จะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี)
ตารางสรุปการคานวณศักราชต่าง ๆ
การทาให้ศักราชอื่น ๆ เป็นพุทธศักราช การทาให้พุทธศักราชเป็นศักราชอื่น ๆ
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 ม.ศ. = พ.ศ. – 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1181 จ.ศ. = พ.ศ. – 1181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2324 ร.ศ. = พ.ศ. – 2324
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 ค.ศ. = พ.ศ. - 543
พ.ศ. = ฮ.ศ. + 1122 ฮ.ศ. = พ.ศ. - 1122
ยังจาตัวย่อของศักราชต่าง ๆ ได้หรือเปล่า
พ.ศ. ย่อมาจาก พุทธศักราช
ม.ศ. ย่อมาจาก มหาศักราช
จ.ศ. ย่อมาจาก จุลศักราช
ร.ศ. ย่อมาจาก รัตนโกสินทร์ศก
ค.ศ. ย่อมาจาก คริสต์ศักราช
ฮ.ศ. ย่อมาจาก ฮิจเราะห์ศักราช
หน้า 27
การเทียบพุทธศักราชกับศักราชอื่น
ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ม.ศ. = 2555 – 621 = ม.ศ. 1934
ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น จ.ศ. = 2555 – 1181 = จ.ศ. 1374
ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ร.ศ. = 2555 – 2324 = ร.ศ. 231
ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ค.ศ. = 2555 – 543 = ค.ศ. 2012
ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ฮ.ศ. = 2555 – 1122 = ฮ.ศ. 1433
การเทียบศักราชอื่น ๆ เป็นพุทธศักราช
ปี ม.ศ. 1200 เทียบเป็น พ.ศ. = 1200 + 621 = พ.ศ. 1821
ปี จ.ศ. 1365 เทียบเป็น พ.ศ. = 1365 + 1181 = พ.ศ. 2546
ปี ร.ศ. 221 เทียบเป็น พ.ศ. = 221 + 2324 = พ.ศ. 2545
ปี ค.ศ. 1939 เทียบเป็น พ.ศ. = 1939 + 543 = พ.ศ. 2482
ปี ฮ.ศ. 1424 เทียบเป็น พ.ศ. = 1424 + 1122 = พ.ศ. 2546
ตัวอย่างปฏิทินที่ใช้ในประเทศไทย
บอกเดือนและปีพุทธศักราช บอกปีนักษัตรไทย บอกเดือนและปีคริสต์ศักราช
ปฏิทินเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2548
บอกวันและเดือนทางจันทรคติ
เช่น วันที่ 31 ธันวาคม : ขึ้น 1 ค่า เดือน 2
เขียนตัวเลขวันที่เป็นภาษาจีน
เช่น วันที่ 18 :
หน้า 28
ตัวอย่างปฏิทินฮิจเราะห์ หรือปฏิทินอิสลามในเดือนรอมฎอน
เวลาละหมาด (สวดมนต์) ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม)
เวลาเริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว
เวลาเริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดยาวกว่าเท่าตัวของมันเองจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน
เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์คือเวลาพลบค่า
เวลาเริ่มตั้งแต่เวลาค่าจนถึงก่อนฟ้าสาง
รอมะฎอน (อาหรับ‫رمضان‬ ) การสะกดอื่น ๆ รอมดอน รอมาดอน รอมะดอน รอมฎอน
คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้
จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สาคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหาร
เพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็น
เดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนาให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษา
ถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทาตัว
อย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺ คือการละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่าของเดือนนี้
เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้วจะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือวันอีดเล็ก
ในปีพ.ศ. 2552 เดือนรอมะฎอน (ฮ.ศ. 1430) เริ่มเมื่อวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม (ในประเทศไทย)
โดยมีกาหนดถึงวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน
ที่มา : islaminthailand (ม.ป.ป. เว็บไซด์)
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา
เนื้อหา

Mais conteúdo relacionado

Mais procurados

บทที่ 5 พอลิเมอร์
บทที่ 5 พอลิเมอร์บทที่ 5 พอลิเมอร์
บทที่ 5 พอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙Nongkran Jarurnphong
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55Decode Ac
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1gchom
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงโรงเรียนเทพลีลา
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบssuserf8d051
 
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความการอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความSurapong Klamboot
 
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยairja
 
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6Thanawut Rattanadon
 
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลManchai
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1montira
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1peter dontoom
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3Jariya Jaiyot
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 

Mais procurados (20)

บทที่ 5 พอลิเมอร์
บทที่ 5 พอลิเมอร์บทที่ 5 พอลิเมอร์
บทที่ 5 พอลิเมอร์
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
 
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความการอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
 
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
 
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
 
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
 
วิทย์ ป.1
วิทย์ ป.1วิทย์ ป.1
วิทย์ ป.1
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 

Semelhante a เนื้อหา

บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์krunumc
 
การเขียนรายงาน58
การเขียนรายงาน58การเขียนรายงาน58
การเขียนรายงาน58Supaporn Khiewwan
 
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้nusabasukyankit
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2sangworn
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1วรรณา ไชยศรี
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1วรรณา ไชยศรี
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์Kruorawan Kongpila
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานteacherhistory
 
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...krunrita
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์พัน พัน
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisPrachoom Rangkasikorn
 

Semelhante a เนื้อหา (20)

History 1
History 1History 1
History 1
 
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
การเขียนรายงาน58
การเขียนรายงาน58การเขียนรายงาน58
การเขียนรายงาน58
 
Hist m1
Hist m1Hist m1
Hist m1
 
Hist m1
Hist m1Hist m1
Hist m1
 
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้
โครงการพผร.แฟนพันธุ์แท้
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
 
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
 
สังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้นสังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้น
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
อังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้นอังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้น
 
1
11
1
 
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...
Unit1 e0b980e0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a2e0b8b8e0b884e0b8aae0b8a...
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
 

Mais de Kwandjit Boonmak

แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากล
แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากลแนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากล
แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากลKwandjit Boonmak
 
สอนทวีปเอเชีย
สอนทวีปเอเชียสอนทวีปเอเชีย
สอนทวีปเอเชียKwandjit Boonmak
 
แผ่นพับ Copy
แผ่นพับ Copyแผ่นพับ Copy
แผ่นพับ CopyKwandjit Boonmak
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอน
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอนภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอน
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอนKwandjit Boonmak
 
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาKwandjit Boonmak
 
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาKwandjit Boonmak
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
ติวเศรษฐศาสตร์55 copy
ติวเศรษฐศาสตร์55   copyติวเศรษฐศาสตร์55   copy
ติวเศรษฐศาสตร์55 copyKwandjit Boonmak
 
ไบแซนทิอุม
ไบแซนทิอุมไบแซนทิอุม
ไบแซนทิอุมKwandjit Boonmak
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกKwandjit Boonmak
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขKwandjit Boonmak
 
Tutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกTutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกKwandjit Boonmak
 
Tutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกTutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกKwandjit Boonmak
 

Mais de Kwandjit Boonmak (20)

แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากล
แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากลแนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากล
แนวข้อสอบกลางภาคประวัติศาสตร์สากล
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
Earthfrom sky1
Earthfrom sky1Earthfrom sky1
Earthfrom sky1
 
Ocean beauties
Ocean beautiesOcean beauties
Ocean beauties
 
สอนทวีปเอเชีย
สอนทวีปเอเชียสอนทวีปเอเชีย
สอนทวีปเอเชีย
 
แผ่นพับ Copy
แผ่นพับ Copyแผ่นพับ Copy
แผ่นพับ Copy
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอน
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอนภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอน
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สอน
 
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
 
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษาติวสอบ O net สังคมศึกษา
ติวสอบ O net สังคมศึกษา
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
ติวเศรษฐศาสตร์55 copy
ติวเศรษฐศาสตร์55   copyติวเศรษฐศาสตร์55   copy
ติวเศรษฐศาสตร์55 copy
 
Egypt
EgyptEgypt
Egypt
 
ไบแซนทิอุม
ไบแซนทิอุมไบแซนทิอุม
ไบแซนทิอุม
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุข
 
Tutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกTutorอารยธรรมตะวันตก
Tutorอารยธรรมตะวันตก
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 
Tutorอารยธรรมตะวันตก
TutorอารยธรรมตะวันตกTutorอารยธรรมตะวันตก
Tutorอารยธรรมตะวันตก
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 

เนื้อหา

  • 1. ก การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์นั้น เป็นการย้อนไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีต มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องรู้ต้องจดจา ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสถานที่ เหตุการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่เรียนในวิชาประวัติศาสตร์นั้น ผู้เรียนจาเป็นต้องใช้การสื่อความหมายโดยภาษา จากการอธิบาย การซักถาม การโต้แย้ง การเสนอแนวคิด การให้เหตุผล จึงได้จัดทาเอกสาร ประกอบการเรียนประวัติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ โดยจัดทาให้สอดคล้อง กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์นี้ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา กิจกรรม แบบฝึก และแบบทดสอบ หลังเรียน พร้อมเฉลย ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจเนื้อหาสาระ และสะดวก ต่อการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์ มี 4 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 เรื่อง วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เล่มที่ 2 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ เล่มที่ 3 เรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย เล่มที่ 4 เรื่อง อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ขอขอบคุณเจ้าของตาราที่นามาอ้างอิงไว้ในเอกสาร ท่านผู้อานวยการและคณะครู โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม และ ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ที่ให้คาปรึกษาจนเอกสารฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขวัญจิต บุญมาก คำนำ
  • 2. ข เรื่อง หน้า คานา…………………………………………………………………………………………………………………………………….. ก สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………………. ข คาชี้แจง………………………………………………………………………………………………………………………………… ค เล่มที่ 1 วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์……………………………………………….. 1 แบบทดสอบก่อนเรียน……………………………………………………………………………….. 3 เฉลยคาตอบแบบทดสอบก่อนเรียน……………………………………………………………. 6 บทที่ 1 เวลาในประวัติศาสตร์…………………………………………………………………………………. 7 ใบงานที่ 1.1 ……………………………………………………………………………………………….. 15 แนวทางการตอบใบงานที่ 1.1…………………………………………………………………….. 17 บทที่ 2 การนับศักราช…………………………………………………………………………………………….. 19 ใบงานที่ 1.2………………………………………………………………………………………………… 24 แนวทางการตอบใบงานที่ 1.2…………………………………………………………………….. 25 บทที่ 3 การเปรียบเทียบศักราช…………………………………………………………………………….. 26 ใบงานที่ 1.3………………………………………………………………………………………………… 29 แนวทางการตอบใบงานที่ 1.3…………………………………………………………………….. 30 บทที่ 4 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์…………………………………………………………………………. 31 ใบงานที่ 1.4………………………………………………………………………………………………… 39 แนวทางการตอบใบงานที่ 1.4…………………………………………………………………….. 40 บทที่ 5 ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัย และศักราช ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์………………………………………………………………… 41 ใบงานที่ 1.5………………………………………………………………………………………………… 43 แนวทางการตอบใบงานที่ 1.5…………………………………………………………………….. 45 แบบทดสอบหลังเรียน………………………………………………………………………………… 47 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน……………………………………………………………………….. 50 เอกสารอ้างอิง………………………………………………………………………………………………………………………. 51 สำรบัญ
  • 3. ค เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ นักเรียนสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านคาชี้แจง ดังนี้ 1. ศึกษาหัวข้อเรื่อง ความนา สาระสาคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า เมื่อจบบทเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง 2. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน จานวน 15 ข้อ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย 3. ศึกษาเนื้อหา สาระ รายละเอียดในบทที่ 1 ถึงบทที่ 5 4. ทาใบงานตามที่กาหนดให้ ด้วยตนเอง ถ้าทาไม่ได้หรือสงสัย ให้อ่านทบทวน เนื้อเรื่องใหม่ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย 5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย ชักชวนให้นักเรียนตอบคาถาม และติดตามหาคาตอบจากเนื้อหา แนะนาแหล่งเรียนรู้ แหล่งสืบคืน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษามากขึ้น ความรู้เพิ่มเติม เกร็ดประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกับบทเรียน คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
  • 4. หน้า 1 หัวข้อเรื่อง เวลาในประวัติศาสตร์ การนับศักราช การเปรียบเทียบศักราช ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัย และศักราช เกริ่นนา ประวัติศาสตร์ คือการศึกษาเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ โดยให้ความสาคัญ กับความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม เพราะเวลาที่ผ่านไปสังคมมนุษย์ ก็มีพัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า มิติของเวลา และเลือกศึกษาเฉพาะเรื่องราวสาคัญ ๆ หรือเหตุการณ์สาคัญที่มีผลต่อสังคมส่วนหนึ่ง ดังนั้น ประวัติศาสตร์ จึงหมายถึงการศึกษา เหตุการณ์สาคัญของสังคมมนุษย์ในอดีตตามมิติของเวลา นั่นเอง อดีต หรือวันวาร คือช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วของประวัติศาสตร์ โดยมีเวลากาหนด เวลาคือสิ่งที่มีอยู่ มีความต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อสังคมมนุษย์ นักประวัติศาสตร์จึงใช้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กาหนดยุคสมัยประวัติศาสตร์เพื่อบอกเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่เข้าใจได้ตรงกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลามีผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
  • 5. หน้า 2 สาระสาคัญ เวลาและช่วงเวลามีความสาคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะทาให้เข้าใจเหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่ศึกษา เวลาเป็นตัวกาหนดถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านไปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตรงกัน นักประวัติศาสตร์จึงมีการนับช่วงเวลาเป็นวัน เดือน ปี ศักราช ยุค สมัย ช่วยเชื่อมโยง เหตุการณ์ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้ 2. อธิบายความสัมพันธ์และความสาคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคตได้ 3. อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้ 4. ยกตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลาและยุคสมัยที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้ 5. ยกตัวอย่างการใช้ศักราชต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้ 6. บอกที่มาของศักราชที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทยได้ 7. นับและเปรียบเทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการบันทึกประวัติศาสตร์ไทยได้
  • 6. คาสั่ง หน้า 3 คาชี้แจง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จานวน 15 ข้อ จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในกระดาษคาตอบ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 1. ข้อใดเป็นการแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ไทยตามรัฐบาล บริหารประเทศ ก. สมัยทวารวดี ข. สมัยรัชกาลที่ 5 ค. สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ง. สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม 2. สมัยใดที่มีระยะเวลาสั้นที่สุด ของประวัติศาสตร์ไทยจนถึงปัจจุบัน ก. สุโขทัย ข. อยุธยา ค. ธนบุรี ง. รัตนโกสินทร์ 3. จงพิจารณาคาที่ถูกต้องลงในช่องว่าง “การเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว นานนับ...........” ก. ทศวรรษ ข. ศตวรรษ ค. สหัสวรรษ ง. โกฏิวรรษ 4. ปีปัจจุบัน ค.ศ. 2007 จัดอยู่ในศตวรรษอะไร ก. ศตวรรษที่ 19 ข. ศตวรรษที่ 20 ค. ศตวรรษที่ 21 ง. ศตวรรษที่ 22 5. ข้อใดจัดเป็นศักราชสากล ก. จุลศักราช ข. มหาศักราช ค. พุทธศักราช ง. คริสต์ศักราช 6. ข้อใดถูกต้อง ก. คริสต์ศักราช เริ่มนับ ค.ศ.1 เมื่อพระเยซูประสูติ ข. พงศาวดารไทยสมัยอยุธยาจารึก เหตุการณ์ด้วยพุทธศักราช ค. การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ง. พุทธศักราชเริ่มใช้เมื่อมี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นแบบประชาธิปไตย
  • 7. หน้า 4 7. ศักราชของศาสนาอิสลาม ได้แก่ศักราชใด ก. จุลศักราช ข. คริสต์ศักราช ค. ฮิจเราะห์ศักราช ง. รัตนโกสินทร์ศก 8. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ ทาให้ไทย ก้าวเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” ก. การค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 ข. การส่งทหารเข้าร่วมในสงครามโลก ครั้งที่ 1 ค. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 ง. การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช 9. หากแบ่งยุคสมัยแบบสากล รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดอยู่ในสมัยใด ก. สมัยใหม่ ข. สมัยเก่า ค. สมัยโบราณ ง. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 10. จัดลาดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 2. เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ 3. สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา 4. เปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นประชาธิปไตย ก. 1, 2, 3, 4 ข. 2, 3, 4, 1 ค. 3, 1, 2, 4 ง. 4, 2, 3, 1 11. เพราะเหตุใดจึงต้องแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ ก. เพื่อให้เป็นสากล ข. เพื่อสืบค้นหาอดีต ค. เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ง. มนุษย์มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ 12. สมัยใดที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด ของประวัติศาสตร์ไทยจนถึงปัจจุบัน ก. สุโขทัย ข. อยุธยา ค. ธนบุรี ง. รัตนโกสินทร์
  • 8. หน้า 5 . 13. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย โดยแบ่งเป็นสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็น การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ประเภทใด ก. แบ่งตามรัชกาล ข. แบ่งตามราชธานี ค. แบ่งตามอาณาจักร ง. แบ่งตามระบอบการปกครอง 14. ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 ตรงกับ ค.ศ. ใด ก. ค.ศ. 1569 ข. ค.ศ. 921 ค. ค.ศ. 1491 ง. ค.ศ. 948 15. สิ่งที่เป็นตัวกาหนดในการนับ พุทธศักราชคือข้อใด ก. ปีประสูติของพระพุทธเจ้า ข. ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ค. ปีหลังจากที่พระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ง. ปีที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ พุทธศาสนา
  • 9. หน้า 6 ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ 1 ง 6 ค 11 ค 2 ค 7 ค 12 ข 3 ข 8 ง 13 ข 4 ค 9 ก 14 ก 5 ง 10 ค 15 ค จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย : จะเรียนจะสอนกันอย่างไร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ , พ.ศ. 2543. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : วันวาร ศักราช และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
  • 10. หน้า 7 เวลาในประวัติศาสตร์ มนุษย์เราได้พยายามทาความเข้าใจเกี่ยวกับ กาลเวลาแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคติความเชื่อ ของแต่ละชุมชน สังคม อารยธรรม แต่มนุษย์เราก็เรียนรู้ จากประสบการณ์ว่ากาลเวลาที่ผ่านไปนาความเปลี่ยนแปลง มาสู่สังคมมนุษย์ และมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและสรรพสิ่ง เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล น้าขึ้น – น้าลง ตาแหน่งของดวงดาวและอื่น ๆ จึงทาให้มนุษย์พยายาม สร้างแบบแผนหรือระบบการนับเวลา และกาหนด ช่วงเวลาแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมขึ้นมา เพื่อประกอบพิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อ เรื่องความอุดมสมบูรณ์ การสร้างระบบการนับเวลา หมายถึงการกาหนด หน่วยเวลาต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้อ้างอิง หน่วยเวลานี้มีทั้งสั้น และยาว ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนหรือประสบการณ์ ของแต่ละสังคม และจุดประสงค์ของการนาไปใช้ประโยชน์ ฉะนั้นนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงมีหน่วยเวลาตั้งแต่ย่อยที่สุด คือวินาทีไปจนถึงปีแสง การสร้างระบบการนับเวลาทาให้ เกิด “ปฏิทิน” ขึ้นมา คาว่า ปฏิทิน ที่เราใช้อยู่ในภาษาไทย มาจากคาสันสกฤตว่า “ปรติทิน” แปลว่า เฉพาะวัน, สาหรับวันในภาษาอังกฤษใช้ว่า Calendar ซึ่งมาจากรากศัพท์ ภาษาละตินว่า calendarium แปลว่า account book หรือบัญชีวัน เดือน ปี เสาหินสูง หรือ Obelisk ในอารยธรรมยุคต้น ใช้เป็นเครื่อง บอกเวลาโดยสังเกตเงาที่ทอดไป ที่มา : วิชาการ, กรม (2546. หน้า 5)
  • 11. หน้า 8 คนในทุกสังคมมีความเชื่อเหมือนกันว่า กระแสกาลเวลา ไหลผ่านไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่รั้งรอสิ่งใด ที่เราใช้คาว่า วันวารหมุนเวียนเปลี่ยนไป การแบ่งกาลเวลาจึงเป็นสาคัญ สาหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ ที่ผ่านมาในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามในขณะที่ กาลเวลาผ่านไป สังคมมนุษย์ก็เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือ กาลเวลาเปลี่ยนไปพร้อมกับเหตุการณ์แอละปรากฏการณ์ ในสังคมมนุษย์ แต่สิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งคือ การยอมรับกันทั่วไป ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในภายหลัง เพราะฉะนั้น การกาหนดช่วงเวลาจึงเป็นวิธีการ ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถลาดับเหตุการณ์ได้ว่าเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ขึ้นทีหลังและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร คาที่มีการใช้อ้างอิงถึงกาลเวลา เช่น ยุค (epoch) สมัย (period) ศักราช (era) และการใช้ปฏิทินแสดงให้เห็นความสาคัญของกาลเวลาและระบบการนับเวลา ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับชีวิตมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน เพราะว่าสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นอดีต ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นอนาคตและปัจจุบันมาก่อน นักประวัติศาสตร์ ศึกษาอดีตด้วยความเชื่อที่ว่า เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งส่งผลกระทบ ถึงเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ติดตามมา และมองความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับช่วงเวลา ชนเผ่าที่ยังไม่เจริญนัก ในนิวกินี เกาะทางตอน เหนือของออสเตรเลีย ใช้วิธีตั้งเสาสูงและวัดเงา แดดเพื่อทราบเวลา ที่มา : วิชาการ,กรม (2546.หน้า 6) ปฏิทินโบราณ ของชาวแอซเทค (Aztec) ในอเมริกากลาง ที่มา : Mythland (ม.ป.ป. เว็บไซด์)
  • 12. หน้า 9 ความสาคัญของเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เวลาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คานิยามขอ “เวลา” ว่า “ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกาหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี” ช่วงเวลา หมายถึง ระยะของเวลา อาจเป็นช่วงสั้นหรือช่วงยาวก็ได้ หรือเป็นเวลาที่มี ระยะว่าเป็นเวลาใดถึงเวลาใด เช่น ช่วงต้นเดือน ช่วงปลายเดือน ช่วงปีพุทธศักราช 2556 ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตที่มีความแตกต่างกันตามเวลา สถานที่และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต นักประวัติศาสตร์ จึงมีวิธีการนับเวลาโดยนับเป็นวัน, เดือน, ปี, ทศวรรษ (รอบ 10 ปี), ศตวรรษ (รอบ 100 ปี), และ สหัสวรรษ (รอบ 1,000 ปี) นอกจากนี้ยังแบ่งช่วงเวลาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัย เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญต่อการศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เพราะช่วยให้ ทาความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ถูกต้องแม่นยา สรุปความสาคัญของเวลา ดังนี้ 1. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยุคใด และสิ้นสุดลงเมื่อใด 2. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน 3. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น ๆ 4. เวลาเชื่อมโยงสัมพันธ์เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคตเข้าด้วยกัน 5. ทาให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้น 6. ใช้การบันทึกเวลา เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้ เมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทานาฬิกาแดด ไว้เป็นเครื่องกาหนดบอกเวลา ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนทุกวันนี้ ที่มา : http://historyofsomethings.blogspot.com/(ม.ป.ป. เว็บไซด์)
  • 13. หน้า 10 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2472 ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=820310 (ม.ป.ป. เว็บไซด์) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ วันที่ 28 ตุลาคม 2554 ที่มา : ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 28 ตุลาคม 2554.(2554.หนังสือพิมพ์) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ วันที่ 20 ตุลาคม 2555 ที่มา : ขวัญจิต บุญมาก (2555. ภาพถ่าย)
  • 14. ๓ ๑๕ หน้า 11 การนับเวลาและช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ การนับเวลาทางจันทรคติ คือการนับวันและเดือนโดยถือเอาการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เป็นหลัก ปัจจุบันระบบ การนับเวลาทางจันทรคติใช้เฉพาะอ้างอิงวันสาคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณี ดั้งเดิม ซึ่งพบในปฏิทินไทย ปฏิทินจีน ปฏิทินฮินดู ปฏิทินอิสลาม ข้างขึ้น เดือนเพ็ญ ข้างแรม คืนเดือนดับ เป็นคืนที่มองไม่เห็นพระจันทร์ คืนข้างขึ้น เป็นคืนที่เราเริ่มมองเห็นพระจันทร์เริ่มมีเสี้ยวเล็ก และค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นในแต่ละวัน คืนเดือนเพ็ญ เป็นค่าคืนที่เราจะมองเห็นพระจันทร์เต็มดวง คืนข้างแรม เป็นคืนที่พระจันทร์เริ่มค่อยแหว่งเป็นเสี้ยวเล็กลงไปเรื่อย ๆ จนพระจันทร์มืดหมดไป การนับวันทางจันทรคติไทย จะอ่านเป็นตัวเลขโดยวันที่ 1 จะเป็นวันอาทิตย์ แล้วนับ เรื่อยมาจนถึงวันเสาร์ นับ 7 ปฏิทินจันทรคติไทยจะมีดิถีดวงจันทร์กับตัวเลขเดือนกากับย่อ ตัวอย่างเช่น ๗ ฯ ๓ อ่านว่า วันเสาร์ ขึ้น 3 ค่า เดือน 3 ๑ ฯ ๖ อ่านว่า วันอาทิตย์ แรม 15 ค่า เดือน 6 ปฏิทินจันทรคติไทยจะเริ่มนับวันขึ้น 1 ค่า จนถึงขึ้น 15 ค่า แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่า ถึงวันแรม 14 ค่า ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่า ในเดือนคู่ จึงทาให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่ มี 30 วัน โดยเริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12
  • 15. หน้า 12 การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่ มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้น ใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุก ๆ 3 ปีทางจันทรคติจะมีเดือน 8 สองหนคือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส ตัวอย่างปฏิทินจันทรคติของไทย เดือนมกราคม พ.ศ.2556 ที่มา : http://www.ebooks.in.th/ebook/7483/ ปฏิทินจันทรคติไทย (ม.ป.ป. เว็บไซด์) ประเทศไทยเริ่มใช้ปีจันทรคติ และวันจันทรคติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงปี พ.ศ. 2460 จึงเปลี่ยนเวลาเริ่มต้นวันเป็นเที่ยงคืนตามแบบสากล ปี พ.ศ.2463 (สมัยรัชกาลที่ 6) กาหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย เท่ากับ 7 ชั่วโมง ตะวันออกของกรีนิช ปี พ.ศ.2484 เปลี่ยนวันต้นปีจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม โดยเริ่มตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2483 (สมัยรัชกาลที่ 8)
  • 16. การแบ่งจักรราศีตามแบบโหราศาสตร์ คือการนับวิถีโคจรของบรรดาดาวพระเคราะห์ บนท้องฟ้า มีพระอาทิตย์(๑)เป็นประธาน ในเวลากลางวัน และมีพระจันทร์(๒) เป็นประธานในเวลากลางคืน เมื่อพระอาทิตย์ โคจรไปรอบจักรราศีผ่านกลุ่มดาวประจาราศี ทั้ง 12 ราศี เป็นเวลา 1 ปี ระยะการโคจร ของอาทิตย์ที่ผ่านไปตามจักรราศีเรียกว่า สุริยคติกาล ที่มา : http://th.wikipedia.org/จักรราศี (ม.ป.ป. เว็บไซด์) หน้า 13 การนับเวลาทางสุริยคติ คือการนับวันและเดือนโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์เป็นหลัก โดยสังเกต จากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หนึ่งรอบเท่ากับ 1 ปี ประมาณ 364 ¼ วัน การนับเดือนทางสุริยคติไทยใช้ระบบการอ้างวันเดือนปีตามปฏิทินสุริยคติโดยปรับเปลี่ยน จากปฏิทินจันทรคติไทยเดิม เมื่อ พ.ศ.2431 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้ง 12 เดือน ตั้งชื่อโดย กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ทรงใช้ตาราจักรราศีซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์ รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งระบุเดือนที่ลงท้ายว่า “คม” สาหรับเดือนที่มี 31 วัน และเดือนที่ลงท้ายว่า“ยน”มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน รวมทั้งปีได้ 365 วัน เรียกปีที่มี 365 วันนี้ว่า ปีปกติ หรือ ปีปกติสุรทิน เวลาในปีปกติจะขาดไป ¼ วัน จึงมีการทดเศษที่ขาดไป ทุก ๆ 4 ปีจะได้วันเพิ่มมาอีก 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อครบทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกสุรทิน ราศี วันที่ครอบคลุมราศี ภาพ สัญลักษณ์ เมษ 13 เม.ย.-13 พ.ค. แกะ พฤษภ 14 พ.ค.-13 มิ.ย. วัว เมถุน 14 มิ.ย.-14 ก.ค. คนคู่ กรกฏ 15 ก.ค.-16 ส.ค. ปู สิงห์ 17 ส.ค.-16 ก.ย. สิงโต กันย์ 17 ก.ย.-16 ต.ค. หญิงสาว ตุลย์ 17 ต.ค.-15 พ.ย. คันชั่ง พิจิก 16 พ.ย.-15 ธ.ค. แมงปุอง ธนู 16 ธ.ค.-14 ม.ค. คนยิงธนู มังกร 15 ม.ค.-12 ก.พ. แพะทะเล กุมภ์ 13 ก.พ.-13 มี.ค. คนแบกหม้อน้า มีน 14 มี.ค.-12 เม.ย. ปลา
  • 17. หน้า 14 ช่วงเวลา : ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ วันเวลาที่ผ่านไปทุกวัน มนุษย์มีกิจกรรมที่ใช้เวลายาวนานกว่าหนึ่งปี เมื่อพูดถึงอดีต หรืออนาคตที่ห่างจากช่วงเวลาปัจจุบันมาก จึงมีการกาหนดช่วงเวลา เช่น 10 ปี 100 ปี 1000 ปี ให้เข้าใจง่ายและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ได้แก่ ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ ทศวรรษ (decade) หมายถึงระยะเวลา 10 ปี โดยปกติมักใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร s หลังปีศักราช เช่น 1980s อ่านว่า ทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 1989 คือให้นับปี ที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 เป็นปีแรกของทศวรรษ และนับไปสิ้นสุดที่ 9 แต่ทศวรรษแรกซึ่งควรจะตรงกับ ค.ศ. 0 – 9 จะมีเพียง 9 ปี เพราะไม่มี ค.ศ. 0 ดังนั้นทศวรรษที่ 10 คือ ค.ศ. 10 – 19 คริสต์ทศวรรษที่ 1920 หมายถึง ปี ค.ศ. 1920 - 1929 พุทธทศวรรษที่ 2540 หมายถึง ปี พ.ศ. 2540 – 2549 ศตวรรษ (century) หมายถึงช่วงเวลา 100 ปี เริ่มนับปีที่ 1 ไปจนถึง 100 เช่น พุทธศตวรรษที่ 1 หมายถึง ปี พ.ศ. 1 – 100 พุทธศตวรรษที่ 2 หมายถึง ปี พ.ศ. 101 – 200 พุทธศตวรรษที่ 19 หมายถึง ปี พ.ศ. 1801 - 1900 คริสต์ศตวรรษที่ 21 (21th century) หมายถึง ปี ค.ศ. 2001 – 2100 สหัสวรรษ (millennium) หมายถึงช่วงเวลา 1,000 ปี เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ขึ้นด้วยเลข 1 เป็นปีแรกของสหัสวรรษ จนถึงปีที่ลงท้ายด้วยหลัก 1000 เช่น สหัสวรรษที่ 1 (1st millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 1 – 1000 สหัสวรรษที่ 2 (2nd millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 1001 – 2000 สหัสวรรษที่ 3 (3rd millennium) หมายถึง ปี ค.ศ. 2001 – 3000 ปี ค.ศ. อยู่ในช่วงทศวรรษที่ อยู่ในช่วงศตวรรษที่ อยู่ในช่วงสหัสวรรษที่ 1 – 9 1 ศตวรรษที่ 1 (ค.ศ. 1 – 100) สหัสวรรษที่ 1 (ค.ศ. 1 – 1000)10 – 19 10 100 - 109 100 501 500 (ค.ศ. 500 – 509) 6 (ค.ศ. 501 – 600) 1000 1000 (ค.ศ. 1000 - 1009) 10 (ค.ศ. 901 – 1000) 2001 2000 (ค.ศ. 2000 – 2009) 21 (ค.ศ. 2001 – 2100) สหัสวรรษที่ 2 (ค.ศ. 1001 – 2000)
  • 18. หน้า 15 คาชี้แจง ใบงานนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 1 ให้นักเรียนบอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา เวลาและช่วงเวลา ความสาคัญของเวลา ความสาคัญของช่วงเวลา ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ ------------------------------ เวลามีความสาคัญของชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไร ---------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------- เรื่อง เวลาในประวัติศาสตร์
  • 19. หน้า 16 ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ 1. นักเรียนเกิด พ.ศ. ………………………………………………………………………………………………………......... 2. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับทศวรรษที่..........................................................ของพุทธศักราช 3. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับพุทธศตวรรษที่……………………………………………………………………………. 4. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับสหัสวรรษที่........................................................ของพุทธศักราช 5. พุทธศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ............................... ถึง พ.ศ..................................... 6. พุทธศตวรรษที่ 26 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ............................ ถึง พ.ศ..................................... 7. คริสต์ศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ.............................. ถึง ค.ศ..................................... 8. คริสต์ศตวรรษที่ 21 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ............................ ถึง ค.ศ.................................... 9. สหัสวรรษที่ 1 ของคริสต์ศักราช เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ................. ถึง ค.ศ.............................. 10. ค.ศ. ปัจจุบัน ค.ศ............................... เท่ากับสหัสวรรษที่............................................... จากข้อความด้านล่างนี้ ให้นักเรียนตอบคาถาม 2 ข้อ ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลง เรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทาด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ฝาผนังวิหารหลังเล็กพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึก อักษรมอญโบราณที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิม ปัจจุบันศาลพระกาฬ ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้ ที่มา : นิตยสารสารคดี ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 1. พุทธศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วง พ.ศ............................. ถึง พ.ศ....................................... 2. อักษรมอญโบราณ สร้างเมื่อ พ.ศ..................... ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่................. เรื่อง เวลาในประวัติศาสตร์
  • 20. หน้า 17 คาชี้แจง ใบงานนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 1 ให้นักเรียนบอกความสาคัญของเวลาและช่วงเวลา เวลาและช่วงเวลา ความสาคัญของเวลา ความสาคัญของช่วงเวลา 1. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหรือ 1. เพื่อให้ง่ายแก่การจดจาเหตุการณ์ต่างๆ สิ้นสุดในเวลาใด ที่เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในช่วงเวลาใด 2. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานาน 2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์ตรงกัน เท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน ว่าเกิดในช่วงเวลาใด 3. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง 3. เพื่อให้รู้ลักษณะเด่นของยุคสมัยนั้น ๆ 4. บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง 4. เป็นการให้ความสาคัญต่อการกาหนดเวลา ของเหตุการณ์ในเวลาใกล้เคียงกัน ของศักราชต่าง ๆ เช่น พ.ศ./ค.ศ. เวลามีความสาคัญของชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่างไร วันเวลามีความสาคัญและเกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทาให้เรารู้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นหรือดาเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลา ที่ผ่านไปทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การกาหนดช่วงเวลาทาให้รู้ว่าเหตุการณ์เกิดมานานเท่าใดแล้ว ทาให้ง่ายต่อการลาดับและ เปรียบเทียบเหตุการณ์ และเวลายังใช้ในการบันทึกเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว อีกด้วย
  • 21. หน้า 18 ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ 1. นักเรียนเกิด พ.ศ. ……………………………………2534…………………………………………………………......... 2. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับทศวรรษที่...........2530........................................ของพุทธศักราช 3. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับพุทธศตวรรษที่………26…………………………………………………………………. 4. ปีเกิดของนักเรียนตรงกับสหัสวรรษที่...............3........................................ของพุทธศักราช 5. พุทธศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ................1.............. ถึง พ.ศ........100........................ 6. พุทธศตวรรษที่ 26 เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ........2501............. ถึง พ.ศ......2600....................... 7. คริสต์ศตวรรษที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ...............1.............. ถึง ค.ศ.........100....................... 8. คริสต์ศตวรรษที่ 21 เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ.......2001.............. ถึง ค.ศ......2100....................... 9. สหัสวรรษที่ 1 ของคริสต์ศักราช เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ....1........... ถึง ค.ศ..1000...................... 10. ค.ศ. ปัจจุบัน ค.ศ......2013................... เท่ากับสหัสวรรษที่.............3................................ จากข้อความด้านล่างนี้ ให้นักเรียนตอบคาถาม 2 ข้อ ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลง เรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทาด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ฝาผนังวิหารหลังเล็กพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึก อักษรมอญโบราณที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิม ปัจจุบันศาลพระกาฬ ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้ ที่มา : นิตยสารสารคดี ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 3. พุทธศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วง พ.ศ........1501............... ถึง พ.ศ.................1600.............. 4. อักษรมอญโบราณ สร้างเมื่อ พ.ศ........2496...... ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่......25.......
  • 22. หน้า 19 การนับศักราช ศักราช (era) หมายถึง เวลาที่กาหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เหตุการณ์ สาคัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหลักตั้งศักราชและเรียงลาดับต่อกันมา โดยกาหนดจุดเริ่มต้น จากเหตุการณ์สาคัญที่คนในสังคมเข้าใจตรงกันได้ง่ายที่สุด การนับศักราชต่อกันไปช่วยให้ สามารถลาดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังได้อย่างไม่สับสน ประโยชน์ของศักราช ศักราชใช้เป็นเกณฑ์ที่ทาให้ทุกคนเข้าใจช่วงเวลาที่ตรงกัน และสามารถลาดับเวลาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลาดับก่อนหลังไม่สับสน การนับศักราชซึ่งใช้ เป็นเครื่องมือในการลาดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมีการใช้กันอยู่ แบ่งศักราชไว้เป็น 2 แบบ คือ แบบสากล และ แบบไทย ในปัจจุบันสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่า คริสต์ศักราช เป็นศักราชกลางที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งนี้ เนื่องจากการยอมรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชาวตะวันตก แต่ขณะเดียวกันในสังคมอื่นก็มีศักราชที่ใช้สืบเนื่องกันมาแต่ดั้งเดิมและยังคงใช้อยู่เช่นกัน เช่น สังคมไทยใช้พุทธศักราช ด้วยเหตุนี้การรู้วิธีเทียบศักราชแบบต่าง ๆ จึงจาเป็นเพื่อประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่ใช้ศักราชต่าง ๆ ดังนี้ ศักราชแบบสากล ศักราชแบบไทย ศักราช ภาษาอังกฤษ อักษรย่อ ศักราช ภาษาอังกฤษ อักษรย่อ 1. คริสต์ศักราช Anno Domini, ค.ศ.(A.D.) 1. พุทธศักราช Buddha Era พ.ศ.(B.E.) Christian Era 2. มหาศักราช Shaka Era ม.ศ. 2. ฮิจเราะห์ศักราช Anno Hejira, ฮ.ศ.(H.E.) 3. จุลศักราช Minor Era จ.ศ. Hejira Era 4. รัตนโกสินทร์ศก Rattanakosin Era, Bangkok Era ร.ศ.
  • 23. หน้า 20 การนับศักราชแบบสากล คริสต์ศักราช (Christian Era) ย่อว่า ค.ศ. (A.D. Anno Domini : เป็นภาษาละติน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “in the year of the Lord” หรือปีแห่งพระเจ้า แปลว่าปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นศักราชทางคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูซึ่งเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนาประสูติคือปีที่ พระเยซูประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ. 1) สาหรับการนับศักราชก่อนพระเยซูประสูติ นับเป็นปีก่อนคริสต์ศักราชหรือปีก่อน ค.ศ. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “B.C.” ซึ่งย่อมาจากคาว่า “Before Christ” หรือก่อนพระเยซูประสูติ การนับ ค.ศ. เลขปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น 1, 2, 3, ...200, 1560, 2004 แต่การนับปีก่อน ค.ศ. เลขปีจะใกล้เข้ามาหาปีพระเยซูประสูติเรื่อย ๆ เช่น 500 ปีก่อน ค.ศ. , 10 ปี ก่อน ค.ศ. เป็นต้น ในระยะแรกการใช้คริสต์ศักราชยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งถึงสมัยสันตะปาปาจอห์นที่ 13 (John XIII ค.ศ. 965-972) จึงเริ่มใช้คริสต์ศักราชอย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบันคนทั่วโลกนิยมใช้ คริสต์ศักราชเป็นศักราชกลาง คนส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการนับช่วงเวลาตามแบบคริสต์ศักราช การเทียบพุทธศักราชเป็นคริสต์ศักราชให้ลบด้วย 543 (2550 - 543 เป็น ค.ศ. 2007) ฮิจเราะห์ศักราช (Hejira Era) ย่อว่า ฮ.ศ. เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม โดยยึดปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดกระทาฮิจเราะห์ (Higra แปลว่าการอพยพโยกย้าย) คืออพยพจาก เมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 เนื่องจากปฏิทินอิสลามนับเป็นปฏิทิน ทางจันทรคติอย่างแท้จริง ทาให้ฮิจเราะห์ศักราชมีความคลาดเคลื่อนไปจากปฏิทินทางสุริยคติ การเปรียบเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับศักราชอื่นๆ ทาได้ค่อนข้างยาก เพราะคริสต์ศักราชและ พุทธศักราชจะใช้ระบบสุริยคติ ปัจจุบันการเทียบพุทธศักราชเป็นฮิจเราะห์ศักราชให้ลบด้วย 1122 (2550 - 1122 เป็น ฮ.ศ. 1428) ชื่อศักราช มูลเหตุในการตั้งศักราช ความสาคัญ คริสต์ศักราช (ค.ศ.) 1. นับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ (ค.ศ. 1) 2. เริ่มนับวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 3. ก่อนพระเยซูประสูติ เรียกว่า ก่อนคริสต์ศักราช ภาษาอังกฤษใช้คาว่า B.C. (Before Christ) 1. เป็นศักราชสากลที่ใช้กันทั่วโลก 2. บางทีเรียกว่า ศักราชกลาง (Common Era) เพราะมีความเป็น สากลที่สุด ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นับตั้งแต่ปีที่ท่านศาสดามุฮัมหมัดอพยพจากเมือง เมกกะ (เมืองที่ประสูติ) ไปเมืองเมดินะ เพื่อเผยแผ่ และประกาศศาสนาอิสลาม (ฮ.ศ.1) 1. เป็นศักราชของศาสนาอิสลาม 2. เป็นปีที่ทาให้ศาสนาอิสลาม เป็นที่รู้จักทั่วโลก
  • 24. หน้า 21 การนับศักราชแบบไทย พุทธศักราช (Buddhist Era) ใช้ตัวย่อว่า พ.ศ. (B.E.) เป็นศักราชทาง พระพุทธศาสนา นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติโดยไทยเริ่มนับ พุทธศักราชที่ 1 (พ.ศ. 1) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี ส่วนบางประเทศ เช่น พม่า ศรีลังกา จะเริ่มนับพุทธศักราชที่ 1 ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน สาหรับช่วงเวลา ก่อนพุทธศักราชที่ 1 เรียกว่าสมัยก่อนพุทธกาล หรือ ก่อน พ.ศ. การใช้พุทธศักราชปรากฏในเอกสารราชการไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งอยุธยา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการใหม่ให้สอดคล้องกับสากลนิยม จึงประกาศให้ใช้ พุทธศักราชอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2455 ทรงให้เหตุผลว่าพุทธศักราชสามารถเชื่อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ มหาศักราช (Shaka Era) ย่อว่า ม.ศ. เป็นศักราชเก่าแก่ที่ใช้อยู่ในสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น การนับมหาศักราชนี้พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะกษัตริย์ผู้ครอง คันธาระราฐของอินเดียทรงตั้งขึ้น เริ่มภายหลังพุทธศักราช 621 ปี ภายหลังได้เผยแพร่เข้ามาสู่ บริเวณประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย ยังดินแดนแถบอาณาจักรในชวา (ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) พม่า กัมพูชา และไทย ทั้งนี้ จะเห็นได้จากจารึกที่พบในดินแดนไทยรุ่นแรก ๆ และจารึกสมัยสุโขทัย สังคมไทยใช้มหาศักราช ในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมอินเดียผ่านมาทางกัมพูชาจนถึงอยุธยา การเทียบพุทธศักราชเป็นมหาศักราช ให้ลบด้วย 621 (2550 – 621 เป็น ม.ศ. 1929) จุลศักราช (Minor Era) ย่อว่า จ.ศ. ผู้ตั้งคือ โปปะสอระหัน หรือบุปผาอรหันต์ หรือบุพโสรหัน ซึ่งภายหลังได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองแผ่นดินพม่า เรียกว่าศักราช พุกาม จุลศักราชเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ใช้แพร่หลายเข้ามาในดินแดนไทยจากการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านทางพุกาม ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่สาคัญ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุลศักราชจึงได้แพร่หลายอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยต่อมาจนถึง สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้จุลศักราชเพื่อเปลี่ยนไปใช้รัตนโกสินทร์ศก พร้อมกับการใช้วันทางสุริยคติ เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากล การเทียบพุทธศักราชเป็นจุลศักราชให้ลบด้วย 1181 (2550 - 1181 เป็น จ.ศ. 1369)
  • 25. หน้า 22 รัตนโกสินทร์ศก (Rattanakosin Era, Bangkok Era) ย่อว่า ร.ศ. เริ่มนับปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของราชอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 ทั้งนี้ ไทยเริ่มใช้การนับศักราชแบบนี้ใน พ.ศ. 2432 กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้จุลศักราช การใช้รัตนโกสินทร์ศกถือว่าเป็นการตั้ง รัชศักราชใหม่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย โดยถือว่าเป็นการระลึกถึงการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และอาจมีความหมายว่า เป็นการตั้งราชวงศ์ใหม่ การใช้รัตนโกสินทร์ศก มักใช้ในเอกสารราชการและเป็นศักราชในพระราชนิยม แต่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก แล้วใช้พุทธศักราชแทน ดังปรากฏในพระราชบัญญัติเรื่องประกาศวิธีนับ วัน เดือน ปี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 (ร.ศ.131) การเทียบพุทธศักราชเป็นรัตนโกสินทร์ศก ให้ลบด้วย 2324 (2550 - 2324 เป็น ร.ศ. 226) ชื่อศักราช มูลเหตุการตั้งศักราช จุดเริ่มต้นในการนับศักราช การใช้ในประเทศไทย พุทธศักราช (พ.ศ.) การเสด็จปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่าเดือน 6 1. มี 2 แบบ คือแบบไทย ลาว เขมร เริ่ม พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี 2. แบบลังกา-พม่า-อินเดีย เริ่ม พ.ศ. 1 เมื่อปีที่พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานเลย (จึงมี พ.ศ. มากกว่า ไทย-ลาว-เขมร) 1. เริ่มต้นนับพุทธศักราช มาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ 2. ใช้อย่างเป็นทางการ สมัยรัชกาลที่ 6 3. สมัยจอมพล ป.พิบูล สงคราม เริ่มพุทธศักราช วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. เหมือนคริสต์ศักราช มหาศักราช (ม.ศ.) พระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย ตั้งขึ้น 1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 621 2. ไทยรับมาจากเขมร 3. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์ 1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 621 2. ไทยรับมาจากเขมร 3. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์ จุลศักราช (จ.ศ.) โปปะสอระหัน กษัตริย์พม่าตั้งขึ้น 1. เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1181 2. ใช้คานวณทางโหราศาสตร์ 3. บอกเวลาในจารึก พงศาวดาร 1. ไทยรับมาจากพม่า 2. ใช้ตั้งแต่ล้านนา สุโขทัย อยุธยา - รัชกาลที่ 5 รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งขึ้น ปีที่มีการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 1. เริ่มใช้สมัย ร.5 2. เลิกใช้สมัย ร.6 3. มีเฉพาะไทยเท่านั้น
  • 26. หน้า 23 การนับศักราชแบบสากลและแบบไทย พุทธศักราช คริสต์ศักราชและ ฮิจเราะห์ศักราช ต่างกันอย่างไร? พุทธศักราช หรือ พ.ศ.นับจากพระพุทธ เจาปรินิพพานแล้ว เป็น ค.ศ.1 คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ.เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ พระเยซูประสูติเป็น ค.ศ.1 ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ.นับจากปีที่ ท่านนบีมูฮัมหมัดทาฮิจเราะห์เป็น ฮ.ศ.1 (ฮิจเราะห์คือการอพยพ) มหาศักราช จุลศักราช และรัตนโกสินทร์ศก ต่างกันอย่างไร? ทั้งหมดคือการนับศักราชแบบไทย ต่างกันคือ มหาศักราช หรือ ม.ศ.ใช้คานวณทาง โหราศาสตร์ เทียบเป็น พ.ศ. ให้ + 621 จุลศักราช หรือ จ.ศ.เป็นศักราชของพม่าเทียบ เป็น พ.ศ. ให้ + 1181 รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. รัชกาลที่ 5 ตั้งขึ้น โดยนับจากปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานี เทียบเป็นพ.ศ.ให้ + 2324 ก่อนคริสต์ศักราชคือ ช่วงเวลาก่อนพระเยซู ประสูติตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Before Christ หรือ B.C. สหัสวรรษ ศตวรรษ และ ทศวรรษ คือการ นับเวลาอย่างไร? คือการนับช่วงเวลาอย่างกว้างๆ แตกต่างกันดังนี้ สหัสวรรษ หมายถึงรอบ 1000 ปี ศตวรรษ หมายถึงรอบ 100 ปี ทศวรรษ หมายถึงรอบ 10 จาง่ายๆคือนาตัวเลข 2ตัวหน้าของคริสต์ศตวรรษมาบวก 1 เพราะปีที่ 1 นั้นนับเป็นศตวรรษที่ 1 ไม่ได้นับจาก 0 ส่วนพุทธศักราชอยู่ในศตวรรษที่เท่าไหร่ ต้องเอาเลขพ.ศ. นั้นลบ 543 ให้เป็นคริสต์ศตวรรษก่อน เช่น คริสต์ศักราช 1901 – 2000 คือศตวรรษที่ 20 คริสต์ศักราช 2001 – 2100 คือศตวรรษที่ 21 คริสต์ศักราช 2101 – 2200 คือศตวรรษที่ 22
  • 27. หน้า 24 คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ 1. ศักราชมีความสาคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์ ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ 2. เติมชื่อศักราชต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับข้อความ 1) ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย 2) นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารสุโขทัย อยุธยา 3) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ 4) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี 5) ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยกษัตริย์พม่า โปปะสอระหัน 6) ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม 7) เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี 8) เริ่มนับปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมดินะ 9) ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก 10) ศักราชนี้ใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา เรื่อง การนับศักราช
  • 28. หน้า 25 คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ 1. ศักราชมีความสาคัญอย่างไรในการศึกษาประวัติศาสตร์ ศักราช ช่วยบอกเวลาในการเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น ทาให้เราทราบ ว่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด หรือช่วงเวลาใด 2. เติมชื่อศักราชต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับข้อความ 1) ศักราชที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งอินเดีย มหาศักราช 2) นิยมใช้ในหลักฐานประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารสุโขทัย อยุธยา จุลศักราช 3) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ คริสต์ศักราช 4) เริ่มนับศักราชตั้งแต่ปีสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี รัตนโกสินทร์ศก 5) ศักราชที่ตั้งขึ้นในสมัยกษัตริย์พม่า โปปะสอระหัน จุลศักราช 6) ศักราชที่ใช้กันมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ฮิจเราะห์ศักราช 7) เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี พุทธศักราช 8) เริ่มนับปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมดินะ ฮิจเราะห์ศักราช 9) ศักราชที่นิยมใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตก คริสต์ศักราช 10) ศักราชนี้ใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา รัตนโกสินทร์ศก
  • 29. หน้า 26 การเปรียบเทียบศักราช การใช้ศักราชที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการนับศักราชแบบสากลและแบบไทย มีหลักเกณฑ์ ในการเทียบศักราช เพื่อทาให้เข้าใจเรื่องวันเวลาและสามารถลาดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคมให้ตรงกัน และทาให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้น การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทาได้ง่าย ๆ จากการกาเนิดศักราชในแต่ละช่วงเวลา ที่ต่างกัน เช่น คริสต์ศักราช เกิดขึ้นภายหลังพุทธศักราช 544 ปี เมื่อต้องการเปรียบเทียบศักราช ว่า ปี พ.ศ. 2556 ตรงกับ ปี ค.ศ. ใด ก็ให้นา ปี พ.ศ. 2556 ลบด้วย 543 = ค.ศ. 2013 (ปีที่พระเยซูทรงประสูติครบ 1 ปี นับเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 544 ดังนั้น จานวนปี คริสต์ศักราช จะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี) ตารางสรุปการคานวณศักราชต่าง ๆ การทาให้ศักราชอื่น ๆ เป็นพุทธศักราช การทาให้พุทธศักราชเป็นศักราชอื่น ๆ พ.ศ. = ม.ศ. + 621 ม.ศ. = พ.ศ. – 621 พ.ศ. = จ.ศ. + 1181 จ.ศ. = พ.ศ. – 1181 พ.ศ. = ร.ศ. + 2324 ร.ศ. = พ.ศ. – 2324 พ.ศ. = ค.ศ. + 543 ค.ศ. = พ.ศ. - 543 พ.ศ. = ฮ.ศ. + 1122 ฮ.ศ. = พ.ศ. - 1122 ยังจาตัวย่อของศักราชต่าง ๆ ได้หรือเปล่า พ.ศ. ย่อมาจาก พุทธศักราช ม.ศ. ย่อมาจาก มหาศักราช จ.ศ. ย่อมาจาก จุลศักราช ร.ศ. ย่อมาจาก รัตนโกสินทร์ศก ค.ศ. ย่อมาจาก คริสต์ศักราช ฮ.ศ. ย่อมาจาก ฮิจเราะห์ศักราช
  • 30. หน้า 27 การเทียบพุทธศักราชกับศักราชอื่น ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ม.ศ. = 2555 – 621 = ม.ศ. 1934 ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น จ.ศ. = 2555 – 1181 = จ.ศ. 1374 ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ร.ศ. = 2555 – 2324 = ร.ศ. 231 ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ค.ศ. = 2555 – 543 = ค.ศ. 2012 ปี พ.ศ. 2555 เทียบเป็น ฮ.ศ. = 2555 – 1122 = ฮ.ศ. 1433 การเทียบศักราชอื่น ๆ เป็นพุทธศักราช ปี ม.ศ. 1200 เทียบเป็น พ.ศ. = 1200 + 621 = พ.ศ. 1821 ปี จ.ศ. 1365 เทียบเป็น พ.ศ. = 1365 + 1181 = พ.ศ. 2546 ปี ร.ศ. 221 เทียบเป็น พ.ศ. = 221 + 2324 = พ.ศ. 2545 ปี ค.ศ. 1939 เทียบเป็น พ.ศ. = 1939 + 543 = พ.ศ. 2482 ปี ฮ.ศ. 1424 เทียบเป็น พ.ศ. = 1424 + 1122 = พ.ศ. 2546 ตัวอย่างปฏิทินที่ใช้ในประเทศไทย บอกเดือนและปีพุทธศักราช บอกปีนักษัตรไทย บอกเดือนและปีคริสต์ศักราช ปฏิทินเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2548 บอกวันและเดือนทางจันทรคติ เช่น วันที่ 31 ธันวาคม : ขึ้น 1 ค่า เดือน 2 เขียนตัวเลขวันที่เป็นภาษาจีน เช่น วันที่ 18 :
  • 31. หน้า 28 ตัวอย่างปฏิทินฮิจเราะห์ หรือปฏิทินอิสลามในเดือนรอมฎอน เวลาละหมาด (สวดมนต์) ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เวลาเริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว เวลาเริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดยาวกว่าเท่าตัวของมันเองจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์คือเวลาพลบค่า เวลาเริ่มตั้งแต่เวลาค่าจนถึงก่อนฟ้าสาง รอมะฎอน (อาหรับ‫رمضان‬ ) การสะกดอื่น ๆ รอมดอน รอมาดอน รอมะดอน รอมฎอน คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สาคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหาร เพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็น เดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนาให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษา ถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทาตัว อย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺ คือการละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่าของเดือนนี้ เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้วจะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือวันอีดเล็ก ในปีพ.ศ. 2552 เดือนรอมะฎอน (ฮ.ศ. 1430) เริ่มเมื่อวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม (ในประเทศไทย) โดยมีกาหนดถึงวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน ที่มา : islaminthailand (ม.ป.ป. เว็บไซด์)